(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Xi faces juggling act in India
By Francesco Sisci
09/09/2014
สี จิ้นผิง กำลังจะต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านนโยบายการต่างประเทศครั้งยากเย็นที่สุดครั้งหนึ่ง ในระหว่างไปเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการในวันพุธ (18 ก.ย.) และวันพฤหัสบดี (19 ก.ย.) ประธานาธิบดีของจีนผู้นี้จะต้องพยายามเพิ่มพูนสายสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ในเวลาเดียวกันนั้นก็จะต้องหาทางเพิ่มน้ำหนักเพื่อถ่วงดุลกับความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับญี่ปุ่นที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัว ทั้งนี้แดนอาทิตย์อุทัยเป็นประเทศที่มีความเชื่อมโยงพัวพันอย่างสลับซับซ้อนกับแดนมังกร และก็มีการลงทุนอันใหญ่โตมหึมาในแดนภารตะด้วย ปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ว่า สี มีอะไรเสนอต่ออินเดีย มากกว่าที่ญี่ปุ่น ปวารณาไว้หรือเปล่า
ปักกิ่ง - ในวันพุธ (18 ก.ย.) และวันพฤหัสบดี (19 ก.ย.) นี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน จะต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านนโยบายการต่างประเทศครั้งยากเย็นที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เขาเคยประสบมา ทั้งนี้ในระหว่างการเดินทางไปเยือนแดนภารตะของเขาคราวนี้ สีจะต้องพยายามเพิ่มพูนความผูกพันที่มีจีนมีอยู่กับอินเดียผู้เป็นชาติเพื่อนบ้านรายยักษ์ของตน ในเวลาเดียวกันนั้นก็จะต้องหาทางเพิ่มน้ำหนักเพื่อถ่วงดุลกับความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับญี่ปุ่นที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัว โดยที่เวลานี้แดนอาทิตย์อุทัยเป็นประเทศที่มีความเชื่อมโยงพัวพันอย่างสลับซับซ้อนเหลือเกินกับแดนมังกร
เมื่อมองกันในทางบวก มันก็ดูจะเป็นผลประโยชน์ของ นเรนทรา โมดี (Narendra Modi) นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอินเดียเช่นกัน ถ้าหากสายสัมพันธ์ระหว่างแดนภารตะกับแดนมังกรจะได้รับการปรับปรุงยกระดับให้สูงขึ้น อันที่จริงแล้ว เมื่อตอนย่างเข้าเดือนกันยายน ในช่วงระยะเดียวกันกับที่ โมดี อยู่ในกรุงโตเกียวเพื่อการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นรัฐพิธีนั้น รัฐมนตรีพาณิชย์อินเดีย นิรมาลา สิธารามาน (Nirmala Sitharaman) ก็กำลังอยู่ในกรุงปักกิ่ง เพื่อเตรียมการสำหรับทริปการเดินทางไปแดนภารตะของสี ถ้าหากบอกว่าอินเดีย “เสนอขาย” ตนเองให้แก่ญี่ปุ่นแล้ว ในทำนองเดียวกัน แดนภารตะก็ย่อมสามารถขึ้นราคาตนเองให้เป็นที่สนใจของจีน ขณะเดียวกับที่จีนก็ขึ้นราคาตนเองให้เป็นที่สนใจของอินเดียเช่นกัน ในกระบวนการแห่งการที่ทุกๆ ฝ่ายต่างกำลังพยายามแสดงบทบาทอันถูกต้องสำหรับการแข่งขันในระดับระหว่างประเทศของพวกตน ตรงกันข้าม ถ้าหากอินเดียเกิดสูญเสียอิทธิพลที่มีต่อชาติใดชาติหนึ่งใน 2 ชาตินี้ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือญี่ปุ่นก็ตามที “ราคา” ที่ยังเหลืออยู่ของแดนภารตะ และแต้มต่อที่จะเอาไว้ใช้รับมือกับอีกชาติหนึ่งที่เหลือ ก็ย่อมจะต้องลดต่ำลงไป
สถานการณ์ในทางภววิสัย (objective) เช่นนี้เอง กำลังเป็นตัวผลักดันทุกๆ ประเทศในภูมิภาคแถบนี้ ให้ทวีความตึงเครียดกับเหล่าประเทศเพื่อนบ้านจนขึ้นไปถึงขีดๆ หนึ่ง แล้วก็ลดระดับการก่อกวนต่างๆ ลงมาจนถึงขีดๆ หนึ่ง ดังนั้น การที่ภายในภูมิภาค มีความวิตกกังวลในระดับที่พอเหมาะพอควร อันที่จริงแล้วกลับเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้แก่การหาประโยชน์ชิงความได้เปรียบจากแต่ละฝ่าย ตลอดจนเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้แก่การหาประโยชน์ชิงความได้เปรียบจากสหรัฐฯและจีน ผู้เป็น 2 มหาอำนาจในภูมิภาค และก็เป็นคู่แข่งขันกันในภูมิภาคด้วย นี่แหละคือปัจจัยภววิสัยซึ่งปราศจากอคติใดๆ ที่กำลังผลักดันให้ทุกๆ ชาติในพื้นที่แถบนี้ ยังคงปรารถนาที่จะหาทางทำให้มหาอำนาจทั้งสองรายนี้ ปรากฏตัวอยู่ในเอเชียต่อไป และก็เป็นคู่แข่งขันกันในเอเชียต่อไปด้วย
ด้วยความตระหนักถึงความเป็นจริงดังที่กล่าวมานี้ สีจึงจำเป็นต้องแข่งขันและกระทั่งต้องเสนอสิ่งซึ่งเหนือล้ำกว่าอะไรๆ ที่ โมดี ได้รับมาจากการไปเยือนโตเกียวตอนต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในเวลาเดียวกันนั้น การที่แดนมังกรกับแดนภารตะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ใกล้ชิดติดกัน จัดว่าเป็นปัจจัยซึ่งทั้งสร้างความได้เปรียบและความเสียเปรียบ สำหรับการที่ผู้นำจีนจะเพิ่มน้ำหนักให้แก่สายสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่ง-นิวเดลี เพื่อคานกับความสัมพันธ์นิวเดลี-โตเกียว
อาเบะนั้นเสนอแพกเกจทางเศรษฐกิจมูลค่ามหึมาทีเดียวให้แก่โมดี นั่นคือ เม็ดเงินลงทุนรวมมูลค่ามากกว่า 33,000 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป โดยที่ในเวลา 2 ปี ญี่ปุ่นจะลงทุนในอินเดียเป็นมูลค่ามากกว่าที่ได้ทำไว้นับจากปี 2000 จนถึงปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น โตเกียวยังให้คำมั่นที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งทางพลเรือนและทางการทหารอย่างใหญ่โตมโหฬาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะช่วยอัปเกรดอุตสาหกรรมของอินเดียได้อย่างรวดเร็ว สำหรับสิ่งที่อินเดียต้องกระทำเป็นการตอบแทน คือ ยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ ในเรื่องกรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานในอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบรางรถไฟ เพื่อเป็นการเปิดทางสะดวกให้แก่การสร้างเครือข่าย “รถไฟหัวกระสุน” เครือข่ายใหม่ทั่วทั้งแดนภารตะ ในโมเดลเดียวกับระบบของญี่ปุ่น
มองกันเฉพาะในทางทฤษฎี สี ดูจะมีความสามารถยื่นข้อเสนอที่จูงใจยิ่งกว่าของอาเบะเสียอีก เนื่องจากเวลานี้จีนมีทรัพยากรทางด้านเงินสดมากมายมหาศาลกว่าที่ญี่ปุ่นมี ประสบการณ์ด้านรางรถไฟของแดนมังกรซึ่งเพิ่มพูนขึ้นอย่างพรวดพราดด้วยการสนับสนุนจากฮาร์ดแวร์ของเยอรมนี อาจจะไม่เป็นรองของญี่ปุ่นเลย และถึงแม้เทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมของจีนโดยทั่วไปแล้วยังคงล้าหลังของญี่ปุ่น ทว่าลู่ทางโอกาสภายในตลาดอันมหึมาของแดนมังกรก็อาจจะเป็นเสน่ห์จูงใจพวกบริษัทอินเดียจำนวนมากให้เข้าสู่จีน อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติแล้ว สิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินความเป็นความตายของสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอินเดีย ย่อมได้แก่ การทำความตกลงกันในเรื่องพรมแดนซึ่งสองประเทศยังคงพิพาทกันอยู่
ไม่ใช่เรื่องลี้ลับอะไรเลยที่ว่า จีนกับอินเดียกำลังเกี้ยวพาต่อรองกันมาเป็นแรมปีแล้ว เกี่ยวกับแนวความคิดที่จะเชื่อมโยงประเทศของพวกเขาทั้งสองด้วยเส้นทางรถไฟ ไม่ใช่เส้นทางเดียว แต่เป็น 2 เส้นทางด้วยซ้ำ เส้นทางหนึ่งนั้นจากอินเดียจะพุ่งตรงขึ้นเหนือเข้าทิเบตและส่วนอื่นๆ ของแดนมังกร ขณะที่อีกเส้นทางหนึ่งออกจากอินเดียไปทางตะวันออก ข้ามพม่าเข้าสู่ไทย จากนั้นจึงขึ้นเหนือเข้าสู่มณฑลหยุนหนาน (ยุนนาน) ของจีน แต่การที่จะเดินหน้าก่อสร้างเส้นทางรถไฟทั้ง 2 เส้นนี้ได้ อภิมหาอำนาจของโลก (เมื่อวัดจากจำนวนประชากร) ทั้ง 2 รายนี้ จำเป็นที่จะต้องแก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหาเรื่องพรมแดน ซึ่งเป็นปัจจัยที่คอยทำให้สายสัมพันธ์ทวิภาคีต้องเครียดเค้นอยู่เป็นระยะๆ ตลอดช่วงเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา
ประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้ เรื่องการวาดแผนที่ลากเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างกัน ยังเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสน้อยกว่าการที่แต่ละฝ่ายจะต้องเตรียมตัวรับมือกับมติมหาชนของประเทศตนเอง ซึ่งต่างก็มีความเป็นชาตินิยมสูงมากๆ ในปี 1962 ฝ่ายจีนเป็นผู้ชนะในการทำสงครามช่วงสั้นๆ กับอินเดีย และยกกองทัพบุกยึดหลายส่วนของดินแดนที่ 2 ประเทศโต้แย้งกันอยู่ได้แล้วด้วยซ้ำ ทว่าแม้ยังคงประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ดินแดนเหล่านี้อยู่เช่นเดิม กองทัพจีนกลับถอยกลับมาสู่แนวเส้นพรมแดนก่อนสงคราม เหมา เจ๋อตงเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้ และด้วยเหตุฉะนี้จึงเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้นำจีนคนอื่นๆ ในอนาคตที่จะประกาศให้การตัดสินใจดังกล่าวกลายเป็นโมฆะ มันเลยกลายเป็นงานสุดหินสำหรับปักกิ่งที่จะยืนกรานในทางทฤษฎีว่า จะต้องกลับเข้าไปพิชิตดินแดนที่พวกเขายึดมาได้แต่ละทิ้งไปแล้วในปี 1962 (ดินแดนดังกล่าวนี้ปัจจุบันคือ รัฐอรุณาจัลประเทศ ของอินเดีย) ทว่ามันก็เป็นความลำบากพอๆ กันที่ปักกิ่งจะยกเลิกการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ทางทฤษฎีดังกล่าว โดยไม่ทำให้เกิดภาพลักษณ์ขึ้นมาว่าทำตัวอ่อนปวกเปียกกับต่างชาติ ยิ่งในเวลานี้ด้วยแล้ว สี จะเปิดช่องให้ผู้คนเข้าใจไปในทิศทางนี้ไม่ได้เลย ในเมื่อเขากำลังพยายามตัดหัวกลไกทางความมั่นคงและการทหาร โดยอาศัยการสอบสวนกรณีทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
สำหรับจีนแล้ว ประเด็นปัญหาไม่ได้เป็นเพียงเรื่องรถไฟและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเท่านั้น
ในบทความที่นำออกเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ หวัง จือสือ (Wang Jisi) [1] ได้กล่าวเตือนว่า จีนกำลังเสี่ยงมากจากการเข้าสู้รบปรบมือกับทั้งสหรัฐฯและทั้งญี่ปุ่นในเวลาเดียวกัน ในขณะที่สายสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่กับทั้งคู่ก็กำลังย่ำแย่ลงไปพร้อมๆ กัน สภาวการณ์เช่นนี้นับว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ที่ เหมา เปิดประตูให้อเมริกาในปี 1971 หวัง นับว่ามีความกล้าหาญมากที่เสนอแนวคิดเช่นนี้ออกมา ในเวลาที่แวดวงของคนจีนบางแวดวง เต็มไปด้วยนักคุยโม้โอ้อวดที่แสดงตนเป็นนักชาตินิยม ซึ่งเทมี่ยวยกยอปอปั้นผลสำเร็จของจีนในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านอย่างสูงส่งเกินความเป็นจริงไปมาก ขณะที่ดูเบามองเมินความบกพร่องผิดพลาดเยอะแยะที่ประเทศนี้ยังมีอยู่
กล่าวสำหรับอินเดียแล้ว ปักกิ่งก็ไม่สามารถที่จะแช่แข็งสายสัมพันธ์ที่มีกับนิวเดลีเอาไว้ในแบบเดิมๆ ได้อีกต่อไปเช่นกัน ในทางทฤษฎี อินเดียถูกถ่วงดุลคานอำนาจเอาไว้หลายสิบปี ด้วยภัยคุกคามจากปากีสถาน ซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของจีน อย่างไรก็ตาม สงครามในอัฟกานิสถานที่ดำเนินมาอย่างยืดเยื้อ ได้ลดทอนฐานะของปากีสถานจนแทบจะอยู่ในสภาพของรัฐที่ล้มเหลวไปแล้ว ความสนับสนุนช่วยเหลือที่ปากีสถานเคยให้แก่จีนในการคอยสกัดกั้นชาวอุยกูร์ที่อาจจะกลายเป็นผู้ก่อการร้าย เวลานี้กำลังมลายสูญหายไปเสียแล้ว เนื่องจากปากีสถานกำลังหมดความสามารถทั้งในการควบคุมดินแดนและในการควบคุมหน่วยงานความมั่นคงของตนเอง หน่วยงานเหล่านี้กำลังเป็นอิสระจากเจตนารมณ์ของรัฐบาลมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยที่แต่ละหน่วยงานต่างก็มีวาระของตนเอง
เป็นไปได้ทีเดียวว่า ความวิตกกังวลของอินเดียในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องของการหาทางปิดล้อมปากีสถาน หรือการการต้านทานไม่ให้ถูกปากีสถานปิดล้อมอะไรนักหรอก หากแต่เป็นเรื่องการหาทางป้องกันไม่ให้เพื่อนบ้านรายนี้ของตนต้องสลายตัวไปอย่างสิ้นเชิงมากกว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ อินเดียย่อมมีช่องทางมากขึ้นกว่าเดิม ที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงที่กางกั้นปิดล้อมทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจต่อจีน และด้วยจำนวนประชากรตลอดจนขนาดของประเทศ เวลานี้ในทางเป็นจริงแล้ว ในภูมิภาคนี้จึงมีเพียงอินเดียเท่านั้น ซึ่งสามารถที่จะดึงดูดจับใจจีนได้ นี่จึงควรทำให้จีนเกิดความตระหนักอย่างเต็มที่ว่า ควรที่จะก้าวออกจากกรอบของตนเอง เพื่อมาสร้างความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านแบบใหม่กับแดนภารตะ
ในทางเป็นจริงแล้ว ความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านแบบใหม่ ก็น่าจะเป็นที่สนใจและเป็นผลประโยชน์ของนิวเดลีด้วยเช่นกัน จากประวัติศาสตร์, ขนาดประเทศ, และจำนวนประชากร ล้วนเป็นปัจจัยที่หนุนส่งให้อินเดียบังเกิดความทะเยอทะยาน ชนิดที่ไปไกลเกินกว่าจะยอมเป็นเพียงแค่หุ่นให้คนอื่นๆ คอยชักใยเพื่อทำการปิดล้อมจีน และในทางกลับกันมันก็ควรเป็นข้อเตือนใจสำหรับจีนตลอดจนเหล่าปรปักษ์ของแดนมังกรว่า อินเดียมีอะไรอยู่มากมาย เกินกว่าจะเป็นเพียงแค่เบี้ยตัวหนึ่งในกระดานหมากรุกยุทธศาสตร์แห่งการปิดล้อม
ตัว โมดี นั้นดูเหมือนต้องการที่จะใช้ความตึงเครียดและความเป็นปรปักษ์กันภายในภูมิภาคที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ๆ เหล่านี้ ให้กลายเป็นปัจจัยหนุนส่งความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอินเดีย ถ้าหากเขาเพียรพยายามทำเช่นนี้ได้สำเร็จ และลดช่องว่างเรื่องขนาดจีดีพีที่ยังห่างไกลจากจีนแม้เพียงสักนิดสักหน่อย ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีถัดจากนี้ไป ก็น่าจะเป็นอะไรซึ่งสลับซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมมากมายนัก มันจะไม่ใช่โลกที่ใครๆ ก็เพียงแค่จับตาด้วยความสนใจและวิตกกังวล เกี่ยวกับความทะเยอทะยานและการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนเท่านั้น หากแต่มันจะมีรัฐขนาดมหึมามโหฬารในทางประชากรถึง 2 รัฐพร้อมๆ กันทีเดียว ที่กำลังมีความทะเยอทะยานในระดับโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกำลังท้าทายระเบียบโลกเก่ามากขึ้นทุกวัน
ทัศนะมุมมองเช่นนี้ ควรที่จะส่งผลทำให้เกิดความร่วมมือกันและการปรึกษาหารือกันเพิ่มมากขึ้นในระหว่างจีน, อเมริกา, และญี่ปุ่น ทว่าความตึงเครียดซึ่งดำรงอยู่ในปัจจุบันย่อมปิดกั้นไม่ให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาได้ และดังนั้น สี จึงถูกปล่อยให้ทำหน้าที่เพียงลำพัง ในการเลี้ยงตัวไต่เส้นลวดสร้างความสมดุลในสายสัมพันธ์ต่างๆ ของภูมิภาค ในเวลาที่เขาไปเยือนอินเดีย
หมายเหตุ
[1] ดูรายละเอียดของข้อเขียน (ภาษาจีน) นี้ได้ที่ http://www.21ccom.net/articles/world/zlwj/20140901112316.html?from=timeline&isappinstalled=0
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสที่ทำงานอยู่กับ ศูนย์เพื่อยุโรปศึกษา (Center for European Studies) ของ มหาวิทยาลัยประชาชน (People's University) ในกรุงปักกิ่ง ความคิดเห็นที่แสดงไว้ในที่นี่เป็นของเขาเอง และมิได้มีความเกี่ยวข้องในทางใดๆ กับที่ทำงานของเขา
Xi faces juggling act in India
By Francesco Sisci
09/09/2014
สี จิ้นผิง กำลังจะต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านนโยบายการต่างประเทศครั้งยากเย็นที่สุดครั้งหนึ่ง ในระหว่างไปเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการในวันพุธ (18 ก.ย.) และวันพฤหัสบดี (19 ก.ย.) ประธานาธิบดีของจีนผู้นี้จะต้องพยายามเพิ่มพูนสายสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ในเวลาเดียวกันนั้นก็จะต้องหาทางเพิ่มน้ำหนักเพื่อถ่วงดุลกับความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับญี่ปุ่นที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัว ทั้งนี้แดนอาทิตย์อุทัยเป็นประเทศที่มีความเชื่อมโยงพัวพันอย่างสลับซับซ้อนกับแดนมังกร และก็มีการลงทุนอันใหญ่โตมหึมาในแดนภารตะด้วย ปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ว่า สี มีอะไรเสนอต่ออินเดีย มากกว่าที่ญี่ปุ่น ปวารณาไว้หรือเปล่า
ปักกิ่ง - ในวันพุธ (18 ก.ย.) และวันพฤหัสบดี (19 ก.ย.) นี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน จะต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านนโยบายการต่างประเทศครั้งยากเย็นที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เขาเคยประสบมา ทั้งนี้ในระหว่างการเดินทางไปเยือนแดนภารตะของเขาคราวนี้ สีจะต้องพยายามเพิ่มพูนความผูกพันที่มีจีนมีอยู่กับอินเดียผู้เป็นชาติเพื่อนบ้านรายยักษ์ของตน ในเวลาเดียวกันนั้นก็จะต้องหาทางเพิ่มน้ำหนักเพื่อถ่วงดุลกับความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับญี่ปุ่นที่กำลังเติบใหญ่ขยายตัว โดยที่เวลานี้แดนอาทิตย์อุทัยเป็นประเทศที่มีความเชื่อมโยงพัวพันอย่างสลับซับซ้อนเหลือเกินกับแดนมังกร
เมื่อมองกันในทางบวก มันก็ดูจะเป็นผลประโยชน์ของ นเรนทรา โมดี (Narendra Modi) นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอินเดียเช่นกัน ถ้าหากสายสัมพันธ์ระหว่างแดนภารตะกับแดนมังกรจะได้รับการปรับปรุงยกระดับให้สูงขึ้น อันที่จริงแล้ว เมื่อตอนย่างเข้าเดือนกันยายน ในช่วงระยะเดียวกันกับที่ โมดี อยู่ในกรุงโตเกียวเพื่อการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นรัฐพิธีนั้น รัฐมนตรีพาณิชย์อินเดีย นิรมาลา สิธารามาน (Nirmala Sitharaman) ก็กำลังอยู่ในกรุงปักกิ่ง เพื่อเตรียมการสำหรับทริปการเดินทางไปแดนภารตะของสี ถ้าหากบอกว่าอินเดีย “เสนอขาย” ตนเองให้แก่ญี่ปุ่นแล้ว ในทำนองเดียวกัน แดนภารตะก็ย่อมสามารถขึ้นราคาตนเองให้เป็นที่สนใจของจีน ขณะเดียวกับที่จีนก็ขึ้นราคาตนเองให้เป็นที่สนใจของอินเดียเช่นกัน ในกระบวนการแห่งการที่ทุกๆ ฝ่ายต่างกำลังพยายามแสดงบทบาทอันถูกต้องสำหรับการแข่งขันในระดับระหว่างประเทศของพวกตน ตรงกันข้าม ถ้าหากอินเดียเกิดสูญเสียอิทธิพลที่มีต่อชาติใดชาติหนึ่งใน 2 ชาตินี้ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือญี่ปุ่นก็ตามที “ราคา” ที่ยังเหลืออยู่ของแดนภารตะ และแต้มต่อที่จะเอาไว้ใช้รับมือกับอีกชาติหนึ่งที่เหลือ ก็ย่อมจะต้องลดต่ำลงไป
สถานการณ์ในทางภววิสัย (objective) เช่นนี้เอง กำลังเป็นตัวผลักดันทุกๆ ประเทศในภูมิภาคแถบนี้ ให้ทวีความตึงเครียดกับเหล่าประเทศเพื่อนบ้านจนขึ้นไปถึงขีดๆ หนึ่ง แล้วก็ลดระดับการก่อกวนต่างๆ ลงมาจนถึงขีดๆ หนึ่ง ดังนั้น การที่ภายในภูมิภาค มีความวิตกกังวลในระดับที่พอเหมาะพอควร อันที่จริงแล้วกลับเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้แก่การหาประโยชน์ชิงความได้เปรียบจากแต่ละฝ่าย ตลอดจนเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้แก่การหาประโยชน์ชิงความได้เปรียบจากสหรัฐฯและจีน ผู้เป็น 2 มหาอำนาจในภูมิภาค และก็เป็นคู่แข่งขันกันในภูมิภาคด้วย นี่แหละคือปัจจัยภววิสัยซึ่งปราศจากอคติใดๆ ที่กำลังผลักดันให้ทุกๆ ชาติในพื้นที่แถบนี้ ยังคงปรารถนาที่จะหาทางทำให้มหาอำนาจทั้งสองรายนี้ ปรากฏตัวอยู่ในเอเชียต่อไป และก็เป็นคู่แข่งขันกันในเอเชียต่อไปด้วย
ด้วยความตระหนักถึงความเป็นจริงดังที่กล่าวมานี้ สีจึงจำเป็นต้องแข่งขันและกระทั่งต้องเสนอสิ่งซึ่งเหนือล้ำกว่าอะไรๆ ที่ โมดี ได้รับมาจากการไปเยือนโตเกียวตอนต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในเวลาเดียวกันนั้น การที่แดนมังกรกับแดนภารตะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ใกล้ชิดติดกัน จัดว่าเป็นปัจจัยซึ่งทั้งสร้างความได้เปรียบและความเสียเปรียบ สำหรับการที่ผู้นำจีนจะเพิ่มน้ำหนักให้แก่สายสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่ง-นิวเดลี เพื่อคานกับความสัมพันธ์นิวเดลี-โตเกียว
อาเบะนั้นเสนอแพกเกจทางเศรษฐกิจมูลค่ามหึมาทีเดียวให้แก่โมดี นั่นคือ เม็ดเงินลงทุนรวมมูลค่ามากกว่า 33,000 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป โดยที่ในเวลา 2 ปี ญี่ปุ่นจะลงทุนในอินเดียเป็นมูลค่ามากกว่าที่ได้ทำไว้นับจากปี 2000 จนถึงปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น โตเกียวยังให้คำมั่นที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งทางพลเรือนและทางการทหารอย่างใหญ่โตมโหฬาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะช่วยอัปเกรดอุตสาหกรรมของอินเดียได้อย่างรวดเร็ว สำหรับสิ่งที่อินเดียต้องกระทำเป็นการตอบแทน คือ ยกเลิกข้อจำกัดต่างๆ ในเรื่องกรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานในอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบรางรถไฟ เพื่อเป็นการเปิดทางสะดวกให้แก่การสร้างเครือข่าย “รถไฟหัวกระสุน” เครือข่ายใหม่ทั่วทั้งแดนภารตะ ในโมเดลเดียวกับระบบของญี่ปุ่น
มองกันเฉพาะในทางทฤษฎี สี ดูจะมีความสามารถยื่นข้อเสนอที่จูงใจยิ่งกว่าของอาเบะเสียอีก เนื่องจากเวลานี้จีนมีทรัพยากรทางด้านเงินสดมากมายมหาศาลกว่าที่ญี่ปุ่นมี ประสบการณ์ด้านรางรถไฟของแดนมังกรซึ่งเพิ่มพูนขึ้นอย่างพรวดพราดด้วยการสนับสนุนจากฮาร์ดแวร์ของเยอรมนี อาจจะไม่เป็นรองของญี่ปุ่นเลย และถึงแม้เทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมของจีนโดยทั่วไปแล้วยังคงล้าหลังของญี่ปุ่น ทว่าลู่ทางโอกาสภายในตลาดอันมหึมาของแดนมังกรก็อาจจะเป็นเสน่ห์จูงใจพวกบริษัทอินเดียจำนวนมากให้เข้าสู่จีน อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติแล้ว สิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินความเป็นความตายของสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอินเดีย ย่อมได้แก่ การทำความตกลงกันในเรื่องพรมแดนซึ่งสองประเทศยังคงพิพาทกันอยู่
ไม่ใช่เรื่องลี้ลับอะไรเลยที่ว่า จีนกับอินเดียกำลังเกี้ยวพาต่อรองกันมาเป็นแรมปีแล้ว เกี่ยวกับแนวความคิดที่จะเชื่อมโยงประเทศของพวกเขาทั้งสองด้วยเส้นทางรถไฟ ไม่ใช่เส้นทางเดียว แต่เป็น 2 เส้นทางด้วยซ้ำ เส้นทางหนึ่งนั้นจากอินเดียจะพุ่งตรงขึ้นเหนือเข้าทิเบตและส่วนอื่นๆ ของแดนมังกร ขณะที่อีกเส้นทางหนึ่งออกจากอินเดียไปทางตะวันออก ข้ามพม่าเข้าสู่ไทย จากนั้นจึงขึ้นเหนือเข้าสู่มณฑลหยุนหนาน (ยุนนาน) ของจีน แต่การที่จะเดินหน้าก่อสร้างเส้นทางรถไฟทั้ง 2 เส้นนี้ได้ อภิมหาอำนาจของโลก (เมื่อวัดจากจำนวนประชากร) ทั้ง 2 รายนี้ จำเป็นที่จะต้องแก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหาเรื่องพรมแดน ซึ่งเป็นปัจจัยที่คอยทำให้สายสัมพันธ์ทวิภาคีต้องเครียดเค้นอยู่เป็นระยะๆ ตลอดช่วงเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา
ประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้ เรื่องการวาดแผนที่ลากเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างกัน ยังเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสน้อยกว่าการที่แต่ละฝ่ายจะต้องเตรียมตัวรับมือกับมติมหาชนของประเทศตนเอง ซึ่งต่างก็มีความเป็นชาตินิยมสูงมากๆ ในปี 1962 ฝ่ายจีนเป็นผู้ชนะในการทำสงครามช่วงสั้นๆ กับอินเดีย และยกกองทัพบุกยึดหลายส่วนของดินแดนที่ 2 ประเทศโต้แย้งกันอยู่ได้แล้วด้วยซ้ำ ทว่าแม้ยังคงประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ดินแดนเหล่านี้อยู่เช่นเดิม กองทัพจีนกลับถอยกลับมาสู่แนวเส้นพรมแดนก่อนสงคราม เหมา เจ๋อตงเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้ และด้วยเหตุฉะนี้จึงเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้นำจีนคนอื่นๆ ในอนาคตที่จะประกาศให้การตัดสินใจดังกล่าวกลายเป็นโมฆะ มันเลยกลายเป็นงานสุดหินสำหรับปักกิ่งที่จะยืนกรานในทางทฤษฎีว่า จะต้องกลับเข้าไปพิชิตดินแดนที่พวกเขายึดมาได้แต่ละทิ้งไปแล้วในปี 1962 (ดินแดนดังกล่าวนี้ปัจจุบันคือ รัฐอรุณาจัลประเทศ ของอินเดีย) ทว่ามันก็เป็นความลำบากพอๆ กันที่ปักกิ่งจะยกเลิกการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ทางทฤษฎีดังกล่าว โดยไม่ทำให้เกิดภาพลักษณ์ขึ้นมาว่าทำตัวอ่อนปวกเปียกกับต่างชาติ ยิ่งในเวลานี้ด้วยแล้ว สี จะเปิดช่องให้ผู้คนเข้าใจไปในทิศทางนี้ไม่ได้เลย ในเมื่อเขากำลังพยายามตัดหัวกลไกทางความมั่นคงและการทหาร โดยอาศัยการสอบสวนกรณีทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
สำหรับจีนแล้ว ประเด็นปัญหาไม่ได้เป็นเพียงเรื่องรถไฟและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเท่านั้น
ในบทความที่นำออกเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ หวัง จือสือ (Wang Jisi) [1] ได้กล่าวเตือนว่า จีนกำลังเสี่ยงมากจากการเข้าสู้รบปรบมือกับทั้งสหรัฐฯและทั้งญี่ปุ่นในเวลาเดียวกัน ในขณะที่สายสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่กับทั้งคู่ก็กำลังย่ำแย่ลงไปพร้อมๆ กัน สภาวการณ์เช่นนี้นับว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ที่ เหมา เปิดประตูให้อเมริกาในปี 1971 หวัง นับว่ามีความกล้าหาญมากที่เสนอแนวคิดเช่นนี้ออกมา ในเวลาที่แวดวงของคนจีนบางแวดวง เต็มไปด้วยนักคุยโม้โอ้อวดที่แสดงตนเป็นนักชาตินิยม ซึ่งเทมี่ยวยกยอปอปั้นผลสำเร็จของจีนในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านอย่างสูงส่งเกินความเป็นจริงไปมาก ขณะที่ดูเบามองเมินความบกพร่องผิดพลาดเยอะแยะที่ประเทศนี้ยังมีอยู่
กล่าวสำหรับอินเดียแล้ว ปักกิ่งก็ไม่สามารถที่จะแช่แข็งสายสัมพันธ์ที่มีกับนิวเดลีเอาไว้ในแบบเดิมๆ ได้อีกต่อไปเช่นกัน ในทางทฤษฎี อินเดียถูกถ่วงดุลคานอำนาจเอาไว้หลายสิบปี ด้วยภัยคุกคามจากปากีสถาน ซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของจีน อย่างไรก็ตาม สงครามในอัฟกานิสถานที่ดำเนินมาอย่างยืดเยื้อ ได้ลดทอนฐานะของปากีสถานจนแทบจะอยู่ในสภาพของรัฐที่ล้มเหลวไปแล้ว ความสนับสนุนช่วยเหลือที่ปากีสถานเคยให้แก่จีนในการคอยสกัดกั้นชาวอุยกูร์ที่อาจจะกลายเป็นผู้ก่อการร้าย เวลานี้กำลังมลายสูญหายไปเสียแล้ว เนื่องจากปากีสถานกำลังหมดความสามารถทั้งในการควบคุมดินแดนและในการควบคุมหน่วยงานความมั่นคงของตนเอง หน่วยงานเหล่านี้กำลังเป็นอิสระจากเจตนารมณ์ของรัฐบาลมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยที่แต่ละหน่วยงานต่างก็มีวาระของตนเอง
เป็นไปได้ทีเดียวว่า ความวิตกกังวลของอินเดียในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องของการหาทางปิดล้อมปากีสถาน หรือการการต้านทานไม่ให้ถูกปากีสถานปิดล้อมอะไรนักหรอก หากแต่เป็นเรื่องการหาทางป้องกันไม่ให้เพื่อนบ้านรายนี้ของตนต้องสลายตัวไปอย่างสิ้นเชิงมากกว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ อินเดียย่อมมีช่องทางมากขึ้นกว่าเดิม ที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงที่กางกั้นปิดล้อมทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจต่อจีน และด้วยจำนวนประชากรตลอดจนขนาดของประเทศ เวลานี้ในทางเป็นจริงแล้ว ในภูมิภาคนี้จึงมีเพียงอินเดียเท่านั้น ซึ่งสามารถที่จะดึงดูดจับใจจีนได้ นี่จึงควรทำให้จีนเกิดความตระหนักอย่างเต็มที่ว่า ควรที่จะก้าวออกจากกรอบของตนเอง เพื่อมาสร้างความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านแบบใหม่กับแดนภารตะ
ในทางเป็นจริงแล้ว ความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านแบบใหม่ ก็น่าจะเป็นที่สนใจและเป็นผลประโยชน์ของนิวเดลีด้วยเช่นกัน จากประวัติศาสตร์, ขนาดประเทศ, และจำนวนประชากร ล้วนเป็นปัจจัยที่หนุนส่งให้อินเดียบังเกิดความทะเยอทะยาน ชนิดที่ไปไกลเกินกว่าจะยอมเป็นเพียงแค่หุ่นให้คนอื่นๆ คอยชักใยเพื่อทำการปิดล้อมจีน และในทางกลับกันมันก็ควรเป็นข้อเตือนใจสำหรับจีนตลอดจนเหล่าปรปักษ์ของแดนมังกรว่า อินเดียมีอะไรอยู่มากมาย เกินกว่าจะเป็นเพียงแค่เบี้ยตัวหนึ่งในกระดานหมากรุกยุทธศาสตร์แห่งการปิดล้อม
ตัว โมดี นั้นดูเหมือนต้องการที่จะใช้ความตึงเครียดและความเป็นปรปักษ์กันภายในภูมิภาคที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ๆ เหล่านี้ ให้กลายเป็นปัจจัยหนุนส่งความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอินเดีย ถ้าหากเขาเพียรพยายามทำเช่นนี้ได้สำเร็จ และลดช่องว่างเรื่องขนาดจีดีพีที่ยังห่างไกลจากจีนแม้เพียงสักนิดสักหน่อย ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีถัดจากนี้ไป ก็น่าจะเป็นอะไรซึ่งสลับซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมมากมายนัก มันจะไม่ใช่โลกที่ใครๆ ก็เพียงแค่จับตาด้วยความสนใจและวิตกกังวล เกี่ยวกับความทะเยอทะยานและการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนเท่านั้น หากแต่มันจะมีรัฐขนาดมหึมามโหฬารในทางประชากรถึง 2 รัฐพร้อมๆ กันทีเดียว ที่กำลังมีความทะเยอทะยานในระดับโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกำลังท้าทายระเบียบโลกเก่ามากขึ้นทุกวัน
ทัศนะมุมมองเช่นนี้ ควรที่จะส่งผลทำให้เกิดความร่วมมือกันและการปรึกษาหารือกันเพิ่มมากขึ้นในระหว่างจีน, อเมริกา, และญี่ปุ่น ทว่าความตึงเครียดซึ่งดำรงอยู่ในปัจจุบันย่อมปิดกั้นไม่ให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาได้ และดังนั้น สี จึงถูกปล่อยให้ทำหน้าที่เพียงลำพัง ในการเลี้ยงตัวไต่เส้นลวดสร้างความสมดุลในสายสัมพันธ์ต่างๆ ของภูมิภาค ในเวลาที่เขาไปเยือนอินเดีย
หมายเหตุ
[1] ดูรายละเอียดของข้อเขียน (ภาษาจีน) นี้ได้ที่ http://www.21ccom.net/articles/world/zlwj/20140901112316.html?from=timeline&isappinstalled=0
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสที่ทำงานอยู่กับ ศูนย์เพื่อยุโรปศึกษา (Center for European Studies) ของ มหาวิทยาลัยประชาชน (People's University) ในกรุงปักกิ่ง ความคิดเห็นที่แสดงไว้ในที่นี่เป็นของเขาเอง และมิได้มีความเกี่ยวข้องในทางใดๆ กับที่ทำงานของเขา