(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
No victors or vanquished in Gaza conflict
By Thalif Deen
14/08/2014
ภาพความเป็นจริงภายหลังความขัดแย้งสู้รบกันซึ่งยังความวินาศสันตะโรในฉนวนกาซา ปรากฏออกมาให้เห็นชัดมากขึ้นๆ รายงานหลายๆ ชิ้นของยูเอ็นระบุว่ามีเด็กๆ ถูกสังหารไปในระหว่างการทำศึกระยะเวลาประมาณ 1 เดือนคราวนี้ มากยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ในดินแดนนี้ 2 ครั้งก่อนรวมกันเสียอีก ฝ่ายอิสราเอลนั้นพลาดเป้าที่ตนเองตั้งเอาไว้ในเรื่องการกำจัดกวาดล้างกลุ่มฮามาสให้สิ้นซาก มิหนำซ้ำกลับกระทำการเข่นฆ่าผู้คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือน อันเป็นพฤติการณ์ซึ่งสมควรที่จะถูกสอบสวนฟ้องร้องในฐานะเป็นอาชญากรรมสงคราม ขณะเดียวกัน การรณรงค์ของกลุ่มนักรบฮามาส ที่กระทำกับกองทหารภาคพื้นดินอิสราเอล ก็ก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายอย่างน้อย 5 เท่าตัวของจำนวนที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้
สหประชาชาติ – พร้อมๆ กับที่ฝุ่นละอองผงคลี ตลอดจนดินปืนควันระเบิด ซึ่งเคยกระจายลอยฟุ้งคละคลุ้ง กำลังจางหายไป จนทำให้มองเห็นภาพความเป็นจริงภายหลังความขัดแย้งสู้รบกันซึ่งยังความวินาศสันตะโรในฉนวนกาซา ได้อย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เราย่อมสามารถพูดได้ว่า ดูเหมือนมันจะไม่มีทั้งมีผู้ชัยและผู้ปราชัยในศึกหนนี้
ฝ่ายอิสราเอลนั้น ถึงแม้มีกำลังทหารที่แสนจะเกรียงไกรไฮเทค และดำเนินการรุกรบชนิดที่คุยอวดอ้างว่าเป็น “การทิ้งระเบิดถล่มโจมตีอย่างแม่นยำราวจับวาง” แต่ก็ประสบความล้มเหลวไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์อันสำคัญสูงสุดของตน ซึ่งก็คือ การกำจัดกวาดล้างกลุ่มนักรบฮามาสให้สิ้นซาก ตรงกันข้าม ผู้ที่ถูกอิสราเอลเข่นฆ่าไปส่วนใหญ่ที่สุดแล้วกลับเป็นพลเรือน ขณะเดียวกันก็ทำลายทั้งบ้านช่อง, โรงเรียน, โรงพยาบาล, มหาวิทยาลัย, และที่พำนักพักพิงที่ดูแลโดยสหประชาชาติ - พฤติการณ์เหล่านี้เข้าข่ายเป็นอาชญากรรมสงครามซึ่งควรที่จะถูกสอบสวนฟ้องร้องดำเนินคดีโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court ใช้อักษย่อว่า ICC) ในกรุงเฮก
บัน คีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ พูดถึงจำนวนผู้เสียชีวิตและความเสียหายอย่างย่อยยับที่เกิดขึ้นมาว่า ถึงขั้น “ทำให้ตื่นตะลึง”
เขากล่าวต่อไปว่า ตามข้อมูลข่าวสารเบื้องต้นที่ปรากฏออกมา มีชาวปาเลสไตน์เกือบๆ 2,000 คนถูกสังหาร ในจำนวนนี้เกือบๆ 75% เป็นพลเรือน และที่เป็นเด็กมีอยู่ 459 คน
“มีเด็กๆ ถูกฆ่าตายในความขัดแย้งสู้รบกันในกาซาคราวนี้ มากกว่าในวิกฤตการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่นั่น 2 ครั้งก่อนรวมกันเสียอีก” เขากล่าวในระหว่างการประชุมแถลงข่าวของยูเอ็นเมื่อวันอังคาร (12 ส.ค.)
ตรงกันข้าม ตัวเลขการตายของฝ่ายอิสราเอลคือ ทหาร 64 คน และพลเรือน 3 คน ทั้งนี้ตามตัวเลขของกองทัพอิสราเอล
“การสู้รบคราวนี้ก่อให้เกิดคุณค่าทางการเมืองอะไรขึ้นมาบ้างล่ะ” เป็นคำถามของ วิชัย ปราสาด (Vijay Prashad) ศาสตราภิชาน จอร์จ และ มาร์ธา เคลล์เนอร์ ทางด้านประวัติศาสตร์เอเชียใต้ (George and Martha Kellner Chair of South Asian History) และศาสตราจารย์ด้านการระหว่างประเทศศึกษา แห่ง วิทยาลัยตรินิติ (Trinity College) ในมลรัฐคอนเนตทิคัต, สหรัฐอเมริกา
เขาแจกแจงให้สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) ฟังว่า การสู้รบคราวนี้ทำให้อิสราเอลพบว่าตนเองอยู่ในสภาพโดดเดี่ยว และคนส่วนใหญ่ในโลกต่างรู้สึกขยะแขยงกับการเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยม ทำให้ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจกับการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ อยู่ในกระแสสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย
อย่างไรก็ตาม “ผลลัพธ์ในระดับที่เป็นผลในทางการเมืองนั้น ยังไม่ได้ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนในขณะนี้ โดยมันจะขึ้นต่ออย่างสิ้นเชิง กับเรื่องที่ว่าคณะผู้นำของปาเลสไตน์จะแสดงพฤติกรรมอย่างไรต่อไป” ปราสาด กล่าว ทั้งนี้เขาเป็นนักวิเคราะห์การเมืองตะวันออกกลางผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Arab Spring, Libyan Winter”
ทางด้าน เอช แอล ดี มหินทปาละ (H L D Mahindapala) อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชาวศรีลังกา และนักวิเคราะห์การเมืองซึ่งตั้งฐานอยู่ในนครเมลเบิร์น, ออสเตรเลีย บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า เมื่อก่อนอิสราเอลเคยมีฐานะเป็นผู้ผูกขาดอำนาจในการกำหนดบงการเงื่อนไขต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทว่าในตอนนี้อิสราเอลได้สูญเสียฐานะดังกล่าวไปแล้ว
เขากล่าวว่า การที่ฝ่ายปาเลสไตน์สามารถทำการตอบโต้อิสราเอล โดยอาศัยอุโมงค์ที่ขุดขึ้นมาอย่างหยาบๆ จำนวนมาก เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาเป็นพลังที่จะต้องนำมาคำนึงถึง ไม่อาจที่จะเพิกเฉยละเลยได้ ตัวอย่างเช่น อิสราเอลได้คว่ำบาตรไม่ยอมเข้าร่วมการเจรจาสงบศึกในอียิปต์อยู่หลายครั้ง แต่กลุ่มฮามาสก็สามารถบีบคั้นให้พวกเขากลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาด้วยการยิงจรวดและคุกคามความมั่นคงของอิสราเอล เขาชี้
“อิสราเอลตกอยู่ในความงวยงงและถูกเล่นงานด้วยเครือข่ายพวกอุโมงค์จำนวนมากนี่เอง” มหินทปาละบอก
เครือข่ายอุโมงค์อันชาญฉลาดหลักแหลมเหล่านี้ ตอนแรกทีเดียวถูกสร้างขึ้นมาในฐานะเป็นเครื่องมือป้องกันตนเอง เพื่อเอาชนะคำสั่งห้ามของอิสราเอลซึ่งไม่ให้นำสินค้าต่างๆ เข้าสู่ดินแดนฉนวนกาซา ต่อมาอุโมงค์เหล่านี้ก็ได้กลายเป็นกลไกการป้องกัน/การรุกโจมตีชั้นเยี่ยมที่สุด ซึ่งอิสราเอลล้มเหลวไม่สามารถกำจัดกวาดล้างไปได้ ถึงแม้พวกเขาประกาศกล่าวอ้างว่ากระทำภารกิจในเรื่องนี้ “สำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว” มหินทปาละ ระบุ ทั้งนี้เขาเป็นผู้ที่เฝ้าติดตามการเมืองของตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว
กระทั่ง มีร์ ชีริต (Meir Sheerit) อดีตสมาชิกรายหนึ่งในคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศและกลาโหมของรัฐสภาอิสราเอล ยังออกมากล่าว ดังปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลว่า เครือข่ายอุโมงค์เหล่านี้ เมื่อมองจากทางฝ่ายอิสราเอลแล้ว มันคือภาพสะท้อนความบกพร่องล้มเหลวทางด้านการข่าวกรอง
“ผมไม่คิดว่าฝ่ายข่าวกรองของเราทราบหรอกว่ามีการขุดอุโมงค์เป็นจำนวนเท่าไหร่ ตลอดจนที่ตั้งของอุโมงค์เหล่านี้ หรือมีอุโมงค์จำนวนเท่าไหร่ที่พวกเขาวางแผนเอาไว้ว่าจะใช้สำหรับทำการโจมตี” เขากล่าว
ตามคำแถลงของ บัน เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ยังคงมีผู้คนมากกว่า 300,000 คนที่ต้องพำนักพักพิงอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งดำเนินการโดย UNRWA องค์กรบรรเทาทุกข์สำหรับภูมิภาคดังกล่าวของสหประชาชาติ ตลอดจนตามโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนแห่งอื่นๆ รวมทั้งสถานที่สาธารณะอื่นๆ หรือไม่ก็ไปอยู่กับครอบครัวของญาติมิตร เขากล่าวต่อไปว่า มีผู้คนอย่างน้อย 100,000 คนทีเดียวต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน เพราะบ้านช่องของพวกเขาถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก
และตามข้อมูลของพวกแหล่งข่าวฝ่ายทหารอิสราเอล ตั้งแต่ที่การสู้รบขัดแย้งคราวนี้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 8 กรกฎาคม พวกฮามาสได้ยิงจรวดและกระสุนปืนครกเข้าใส่อิสราเอลประมาณ 3,488 ครั้ง เปรียบเทียบกับอิสราเอลที่ทำการโจมตีทางทหาร 4,929 ครั้งต่อเป้าหมายต่างๆ ในกาซา การถล่มโจมตีเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ได้รับมาจากสหรัฐฯ
ในบทความชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์อยู่ในหน้าทัศนะ-ความเห็น ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โรเนน เบิร์กแมน (Ronen Bergman) นักวิเคราะห์อาวุโสทางด้านการเมืองและการทหาร ของหนังสือพิมพ์อิสราเอลที่ชื่อ “เยดิออต อาฮาโรนอต” (Yediot Aharonot) เขียนเอาไว้ว่า “ถ้าหากจำนวนคนตายและปริมาณอาวุธที่ถูกทำลายไป คือหลักเกณฑ์สำคัญที่สุดในการวัดชัยชนะแล้ว อิสราเอลก็เป็นผู้ชนะอย่างใสสะอาดที่สุดในการเผชิญหน้ากับกลุ่มฮามาสครั้งล่าสุดนี้
“แต่จำนวนคนตายย่อมไม่ใช่เกณฑ์สำคัญที่สุดในการตัดสินว่า ใครควรได้รับการประกาศเป็นผู้มีชัย” เขาบอก และระบุว่า สิ่งที่ทรงความสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ “การเปรียบเทียบเป้าหมายต่างๆ ซึ่งแต่ละฝ่ายวางเอาไว้ก่อนการสู้รบ กับสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้สำเร็จจริงๆ เมื่อพิจารณากันในแง่นี้แล้ว ฮามาสต่างหากเป็นผู้ชนะ”
เบิร์กแมนชี้อีกว่า กลุ่มฮามาสยังเปิดการสู้รบในเขตเมืองต่อกองทหารภาคพื้นดินของอิสราเอล และทำให้ฝ่ายอิสราเอลบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนอย่างน้อย 5 เท่าตัวของที่เคยเกิดขึ้นในการสู้รบขัดแย้งครั้งสุดท้ายก่อนหน้านี้ รวมทั้งประสบความสำเร็จในการใช้เครือข่ายอุโมงค์เพื่อแทรกซึมเข้าสู่ดินแดนของอิสราเอล และก่อให้เกิดความหวาดกลัวและการเสียขวัญกำลังใจ ทั้งนี้นักวิเคราะห์อาวุโสผู้นี้กำลังเขียนหนังสือว่าด้วยประวัติของ “มอสสาด” (Mossad) องค์การข่าวกรองชื่อโด่งดังของอิสราเอล
คำตัดสินสุดท้ายจริงๆ ว่าใครคือผู้ชนะนั้น ที่สำคัญแล้วน่าจะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของข้อตกลงที่อาจจะเกิดขึ้น ภายหลังการเจรจาสันติภาพในอียิปต์
ปราสาด บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า สงครามกาซาเป็นสงครามแบบ “อสมมาตร (asymmetrical) และไม่สมส่วน (disproportionate)”
เขาอธิบายขยายความว่า นี่หมายความว่าในทางยุทธวิธีแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยฝ่ายที่ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนมากที่สุดและประสบความเสียหายหนักหน่วงที่สุด ก็คือประชาชนชาวปาเลสไตน์และดินแดนของพวกเขาในกาซา
ทั้งนี้ สหประชาชาติแถลงออกมาอย่างชัดเจนว่า โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของดินแดนกาซาถูกทำลายอย่างแหลกลาญราบคาบ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล, โรงเรียน, ธุรกิจต่างๆ, โรงไฟฟ้า, คลังอาหาร และคลังซัปพลายต่างๆ
“มันเป็นความวิบัติหายนะในทางมนุษยธรรมโดยแท้ ดังนั้นเมื่อมองกันในระดับนี้แล้ว อิสราเอลคือผู้ชนะ เพราะได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปาเลสไตน์ตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะอยู่กันได้” เขาบอก
เขากล่าวต่อไปว่า อิสราเอลระบุเอาไว้ว่าจุดมุ่งหมายในการทำสงครามของตนคือทำลายล้างกลุ่มฮามาส ทว่าสิ่งที่ออกมาคืออิสราเอลได้ทำลายล้างดินแดนกาซาอีกครั้งหนึ่ง
ปราสาดบอกด้วยว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องแสดงท่าทีเห็นชอบกับการดำเนินงานของศาลอาญาระหว่างประเทศ และให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการสอบสวนเกี่ยวกับลักษณะขอบเขตของสงครามคราวนี้ โดยที่เมื่อมีการประเมินผลในเรื่องนี้ออกมาแล้ว ก็น่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวปาเลสไตน์
ขณะที่ มหินทปาละ บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า “สิ่งที่พวกนักยุทธศาสตร์การทหารจะต้องตระหนักเอาไว้ก็คือ มันไม่ใช่แต่เฉพาะอิสราเอลเท่านั้นที่กำลังเผชิญหน้ากับความปราชัยพ่ายแพ้ หากแต่อเมริกาผู้เป็นพันธมิตรยิ่งใหญ่ที่สุดของอิสราเอลด้วย” เขาทำนายต่อไปว่า ถ้าหากอิสราเอลพ่ายแพ้ล้มครืน สหรัฐฯก็จะพ่ายแพ้ล้มครืนตามอิสราเอลไป
“แรงกดดันทั้งด้านการทหาร, เศรษฐกิจ, การเมือง, และการทูตของอิสราเอล สามารถกำจัดสกัดกั้น ‘คลื่นสึนามิอาหรับ’ เอาไว้ระยะหนึ่งแล้ว แต่จะทำอย่างนั้นได้อีกไม่นานหรอก” เขากล่าวต่อ
เขาบอกว่าสหรัฐฯและอิสราเอลต่างกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมทรามตกต่ำลงทั้งคู่ และพวกเขาวางแผนจะรับมือจะจัดการกับความเป็นจริงใหม่เช่นนี้อย่างไร โดยที่ไม่ก่อให้เกิดการการเข่นฆ่าทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมา นี่แหละเป็นคำถามอันฉกาจฉกรรจ์ข้อต่อไป
มหินทปาละระบุว่า พวกเสรีนิยมปีกซ้ายของอิสราเอลนั้น มีจำนวนน้อยนิดและอ่อนแอเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาเหยี่ยวอนุรักษนิยมทั้งหลาย และประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องที่ว่าชาวปาเลสไตน์จะมีชีวิตอยู่อย่างไรต่อไปในดินแดนที่ถูกอิสราเอลยึดครอง หากแต่เป็นเรื่องที่ว่าอิสราเอลจะมีชีวิตอยู่อย่างไรต่อไปในท่ามกลางวงล้อมของทะเลแห่งชาวอาหรับ
เขาชี้ด้วยว่า ทางด้านโลกอาหรับก็จะต้องเผชิญกับความเป็นจริงอย่างใหม่ๆ เช่นกัน รวมทั้งอิสลามก็กำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายใหญ่ที่สุดด้วย
วิกฤตการณ์ของโลกอิสลาม คือวิกฤตการณ์แห่งการปรับตนเองให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 โลกอิสลามกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน และปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” เป็นสัญญาณประการแรกของการแตกแยกออกไปจาก “ความเป็นอาหรับแห่งยุคสมัยกลาง” (Arabic medievalism) ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับความเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จที่มุ่งกดขี่ โดยที่ทั้งสองอย่างนี้ต่างเดินเคียงคู่ไปด้วยกัน
“วิกฤตการณ์นี้คือการปะทะกันระหว่าง ลัทธินิยมประเพณีแบบยุคสมัยกลาง (traditional medievalism) กับ ลัทธินิยมแห่งยุคสมัยใหม่ (modernism)” มหินทปาละระบุ
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนเรื่องนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ซึ่งมองจากแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา
No victors or vanquished in Gaza conflict
By Thalif Deen
14/08/2014
ภาพความเป็นจริงภายหลังความขัดแย้งสู้รบกันซึ่งยังความวินาศสันตะโรในฉนวนกาซา ปรากฏออกมาให้เห็นชัดมากขึ้นๆ รายงานหลายๆ ชิ้นของยูเอ็นระบุว่ามีเด็กๆ ถูกสังหารไปในระหว่างการทำศึกระยะเวลาประมาณ 1 เดือนคราวนี้ มากยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ในดินแดนนี้ 2 ครั้งก่อนรวมกันเสียอีก ฝ่ายอิสราเอลนั้นพลาดเป้าที่ตนเองตั้งเอาไว้ในเรื่องการกำจัดกวาดล้างกลุ่มฮามาสให้สิ้นซาก มิหนำซ้ำกลับกระทำการเข่นฆ่าผู้คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือน อันเป็นพฤติการณ์ซึ่งสมควรที่จะถูกสอบสวนฟ้องร้องในฐานะเป็นอาชญากรรมสงคราม ขณะเดียวกัน การรณรงค์ของกลุ่มนักรบฮามาส ที่กระทำกับกองทหารภาคพื้นดินอิสราเอล ก็ก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายอย่างน้อย 5 เท่าตัวของจำนวนที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้
สหประชาชาติ – พร้อมๆ กับที่ฝุ่นละอองผงคลี ตลอดจนดินปืนควันระเบิด ซึ่งเคยกระจายลอยฟุ้งคละคลุ้ง กำลังจางหายไป จนทำให้มองเห็นภาพความเป็นจริงภายหลังความขัดแย้งสู้รบกันซึ่งยังความวินาศสันตะโรในฉนวนกาซา ได้อย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เราย่อมสามารถพูดได้ว่า ดูเหมือนมันจะไม่มีทั้งมีผู้ชัยและผู้ปราชัยในศึกหนนี้
ฝ่ายอิสราเอลนั้น ถึงแม้มีกำลังทหารที่แสนจะเกรียงไกรไฮเทค และดำเนินการรุกรบชนิดที่คุยอวดอ้างว่าเป็น “การทิ้งระเบิดถล่มโจมตีอย่างแม่นยำราวจับวาง” แต่ก็ประสบความล้มเหลวไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์อันสำคัญสูงสุดของตน ซึ่งก็คือ การกำจัดกวาดล้างกลุ่มนักรบฮามาสให้สิ้นซาก ตรงกันข้าม ผู้ที่ถูกอิสราเอลเข่นฆ่าไปส่วนใหญ่ที่สุดแล้วกลับเป็นพลเรือน ขณะเดียวกันก็ทำลายทั้งบ้านช่อง, โรงเรียน, โรงพยาบาล, มหาวิทยาลัย, และที่พำนักพักพิงที่ดูแลโดยสหประชาชาติ - พฤติการณ์เหล่านี้เข้าข่ายเป็นอาชญากรรมสงครามซึ่งควรที่จะถูกสอบสวนฟ้องร้องดำเนินคดีโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court ใช้อักษย่อว่า ICC) ในกรุงเฮก
บัน คีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ พูดถึงจำนวนผู้เสียชีวิตและความเสียหายอย่างย่อยยับที่เกิดขึ้นมาว่า ถึงขั้น “ทำให้ตื่นตะลึง”
เขากล่าวต่อไปว่า ตามข้อมูลข่าวสารเบื้องต้นที่ปรากฏออกมา มีชาวปาเลสไตน์เกือบๆ 2,000 คนถูกสังหาร ในจำนวนนี้เกือบๆ 75% เป็นพลเรือน และที่เป็นเด็กมีอยู่ 459 คน
“มีเด็กๆ ถูกฆ่าตายในความขัดแย้งสู้รบกันในกาซาคราวนี้ มากกว่าในวิกฤตการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่นั่น 2 ครั้งก่อนรวมกันเสียอีก” เขากล่าวในระหว่างการประชุมแถลงข่าวของยูเอ็นเมื่อวันอังคาร (12 ส.ค.)
ตรงกันข้าม ตัวเลขการตายของฝ่ายอิสราเอลคือ ทหาร 64 คน และพลเรือน 3 คน ทั้งนี้ตามตัวเลขของกองทัพอิสราเอล
“การสู้รบคราวนี้ก่อให้เกิดคุณค่าทางการเมืองอะไรขึ้นมาบ้างล่ะ” เป็นคำถามของ วิชัย ปราสาด (Vijay Prashad) ศาสตราภิชาน จอร์จ และ มาร์ธา เคลล์เนอร์ ทางด้านประวัติศาสตร์เอเชียใต้ (George and Martha Kellner Chair of South Asian History) และศาสตราจารย์ด้านการระหว่างประเทศศึกษา แห่ง วิทยาลัยตรินิติ (Trinity College) ในมลรัฐคอนเนตทิคัต, สหรัฐอเมริกา
เขาแจกแจงให้สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) ฟังว่า การสู้รบคราวนี้ทำให้อิสราเอลพบว่าตนเองอยู่ในสภาพโดดเดี่ยว และคนส่วนใหญ่ในโลกต่างรู้สึกขยะแขยงกับการเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยม ทำให้ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจกับการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ อยู่ในกระแสสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย
อย่างไรก็ตาม “ผลลัพธ์ในระดับที่เป็นผลในทางการเมืองนั้น ยังไม่ได้ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนในขณะนี้ โดยมันจะขึ้นต่ออย่างสิ้นเชิง กับเรื่องที่ว่าคณะผู้นำของปาเลสไตน์จะแสดงพฤติกรรมอย่างไรต่อไป” ปราสาด กล่าว ทั้งนี้เขาเป็นนักวิเคราะห์การเมืองตะวันออกกลางผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Arab Spring, Libyan Winter”
ทางด้าน เอช แอล ดี มหินทปาละ (H L D Mahindapala) อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชาวศรีลังกา และนักวิเคราะห์การเมืองซึ่งตั้งฐานอยู่ในนครเมลเบิร์น, ออสเตรเลีย บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า เมื่อก่อนอิสราเอลเคยมีฐานะเป็นผู้ผูกขาดอำนาจในการกำหนดบงการเงื่อนไขต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทว่าในตอนนี้อิสราเอลได้สูญเสียฐานะดังกล่าวไปแล้ว
เขากล่าวว่า การที่ฝ่ายปาเลสไตน์สามารถทำการตอบโต้อิสราเอล โดยอาศัยอุโมงค์ที่ขุดขึ้นมาอย่างหยาบๆ จำนวนมาก เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาเป็นพลังที่จะต้องนำมาคำนึงถึง ไม่อาจที่จะเพิกเฉยละเลยได้ ตัวอย่างเช่น อิสราเอลได้คว่ำบาตรไม่ยอมเข้าร่วมการเจรจาสงบศึกในอียิปต์อยู่หลายครั้ง แต่กลุ่มฮามาสก็สามารถบีบคั้นให้พวกเขากลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาด้วยการยิงจรวดและคุกคามความมั่นคงของอิสราเอล เขาชี้
“อิสราเอลตกอยู่ในความงวยงงและถูกเล่นงานด้วยเครือข่ายพวกอุโมงค์จำนวนมากนี่เอง” มหินทปาละบอก
เครือข่ายอุโมงค์อันชาญฉลาดหลักแหลมเหล่านี้ ตอนแรกทีเดียวถูกสร้างขึ้นมาในฐานะเป็นเครื่องมือป้องกันตนเอง เพื่อเอาชนะคำสั่งห้ามของอิสราเอลซึ่งไม่ให้นำสินค้าต่างๆ เข้าสู่ดินแดนฉนวนกาซา ต่อมาอุโมงค์เหล่านี้ก็ได้กลายเป็นกลไกการป้องกัน/การรุกโจมตีชั้นเยี่ยมที่สุด ซึ่งอิสราเอลล้มเหลวไม่สามารถกำจัดกวาดล้างไปได้ ถึงแม้พวกเขาประกาศกล่าวอ้างว่ากระทำภารกิจในเรื่องนี้ “สำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว” มหินทปาละ ระบุ ทั้งนี้เขาเป็นผู้ที่เฝ้าติดตามการเมืองของตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว
กระทั่ง มีร์ ชีริต (Meir Sheerit) อดีตสมาชิกรายหนึ่งในคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศและกลาโหมของรัฐสภาอิสราเอล ยังออกมากล่าว ดังปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลว่า เครือข่ายอุโมงค์เหล่านี้ เมื่อมองจากทางฝ่ายอิสราเอลแล้ว มันคือภาพสะท้อนความบกพร่องล้มเหลวทางด้านการข่าวกรอง
“ผมไม่คิดว่าฝ่ายข่าวกรองของเราทราบหรอกว่ามีการขุดอุโมงค์เป็นจำนวนเท่าไหร่ ตลอดจนที่ตั้งของอุโมงค์เหล่านี้ หรือมีอุโมงค์จำนวนเท่าไหร่ที่พวกเขาวางแผนเอาไว้ว่าจะใช้สำหรับทำการโจมตี” เขากล่าว
ตามคำแถลงของ บัน เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ยังคงมีผู้คนมากกว่า 300,000 คนที่ต้องพำนักพักพิงอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งดำเนินการโดย UNRWA องค์กรบรรเทาทุกข์สำหรับภูมิภาคดังกล่าวของสหประชาชาติ ตลอดจนตามโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนแห่งอื่นๆ รวมทั้งสถานที่สาธารณะอื่นๆ หรือไม่ก็ไปอยู่กับครอบครัวของญาติมิตร เขากล่าวต่อไปว่า มีผู้คนอย่างน้อย 100,000 คนทีเดียวต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน เพราะบ้านช่องของพวกเขาถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก
และตามข้อมูลของพวกแหล่งข่าวฝ่ายทหารอิสราเอล ตั้งแต่ที่การสู้รบขัดแย้งคราวนี้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 8 กรกฎาคม พวกฮามาสได้ยิงจรวดและกระสุนปืนครกเข้าใส่อิสราเอลประมาณ 3,488 ครั้ง เปรียบเทียบกับอิสราเอลที่ทำการโจมตีทางทหาร 4,929 ครั้งต่อเป้าหมายต่างๆ ในกาซา การถล่มโจมตีเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ได้รับมาจากสหรัฐฯ
ในบทความชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์อยู่ในหน้าทัศนะ-ความเห็น ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โรเนน เบิร์กแมน (Ronen Bergman) นักวิเคราะห์อาวุโสทางด้านการเมืองและการทหาร ของหนังสือพิมพ์อิสราเอลที่ชื่อ “เยดิออต อาฮาโรนอต” (Yediot Aharonot) เขียนเอาไว้ว่า “ถ้าหากจำนวนคนตายและปริมาณอาวุธที่ถูกทำลายไป คือหลักเกณฑ์สำคัญที่สุดในการวัดชัยชนะแล้ว อิสราเอลก็เป็นผู้ชนะอย่างใสสะอาดที่สุดในการเผชิญหน้ากับกลุ่มฮามาสครั้งล่าสุดนี้
“แต่จำนวนคนตายย่อมไม่ใช่เกณฑ์สำคัญที่สุดในการตัดสินว่า ใครควรได้รับการประกาศเป็นผู้มีชัย” เขาบอก และระบุว่า สิ่งที่ทรงความสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ “การเปรียบเทียบเป้าหมายต่างๆ ซึ่งแต่ละฝ่ายวางเอาไว้ก่อนการสู้รบ กับสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้สำเร็จจริงๆ เมื่อพิจารณากันในแง่นี้แล้ว ฮามาสต่างหากเป็นผู้ชนะ”
เบิร์กแมนชี้อีกว่า กลุ่มฮามาสยังเปิดการสู้รบในเขตเมืองต่อกองทหารภาคพื้นดินของอิสราเอล และทำให้ฝ่ายอิสราเอลบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนอย่างน้อย 5 เท่าตัวของที่เคยเกิดขึ้นในการสู้รบขัดแย้งครั้งสุดท้ายก่อนหน้านี้ รวมทั้งประสบความสำเร็จในการใช้เครือข่ายอุโมงค์เพื่อแทรกซึมเข้าสู่ดินแดนของอิสราเอล และก่อให้เกิดความหวาดกลัวและการเสียขวัญกำลังใจ ทั้งนี้นักวิเคราะห์อาวุโสผู้นี้กำลังเขียนหนังสือว่าด้วยประวัติของ “มอสสาด” (Mossad) องค์การข่าวกรองชื่อโด่งดังของอิสราเอล
คำตัดสินสุดท้ายจริงๆ ว่าใครคือผู้ชนะนั้น ที่สำคัญแล้วน่าจะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของข้อตกลงที่อาจจะเกิดขึ้น ภายหลังการเจรจาสันติภาพในอียิปต์
ปราสาด บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า สงครามกาซาเป็นสงครามแบบ “อสมมาตร (asymmetrical) และไม่สมส่วน (disproportionate)”
เขาอธิบายขยายความว่า นี่หมายความว่าในทางยุทธวิธีแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยฝ่ายที่ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนมากที่สุดและประสบความเสียหายหนักหน่วงที่สุด ก็คือประชาชนชาวปาเลสไตน์และดินแดนของพวกเขาในกาซา
ทั้งนี้ สหประชาชาติแถลงออกมาอย่างชัดเจนว่า โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของดินแดนกาซาถูกทำลายอย่างแหลกลาญราบคาบ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล, โรงเรียน, ธุรกิจต่างๆ, โรงไฟฟ้า, คลังอาหาร และคลังซัปพลายต่างๆ
“มันเป็นความวิบัติหายนะในทางมนุษยธรรมโดยแท้ ดังนั้นเมื่อมองกันในระดับนี้แล้ว อิสราเอลคือผู้ชนะ เพราะได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปาเลสไตน์ตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะอยู่กันได้” เขาบอก
เขากล่าวต่อไปว่า อิสราเอลระบุเอาไว้ว่าจุดมุ่งหมายในการทำสงครามของตนคือทำลายล้างกลุ่มฮามาส ทว่าสิ่งที่ออกมาคืออิสราเอลได้ทำลายล้างดินแดนกาซาอีกครั้งหนึ่ง
ปราสาดบอกด้วยว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องแสดงท่าทีเห็นชอบกับการดำเนินงานของศาลอาญาระหว่างประเทศ และให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการสอบสวนเกี่ยวกับลักษณะขอบเขตของสงครามคราวนี้ โดยที่เมื่อมีการประเมินผลในเรื่องนี้ออกมาแล้ว ก็น่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวปาเลสไตน์
ขณะที่ มหินทปาละ บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า “สิ่งที่พวกนักยุทธศาสตร์การทหารจะต้องตระหนักเอาไว้ก็คือ มันไม่ใช่แต่เฉพาะอิสราเอลเท่านั้นที่กำลังเผชิญหน้ากับความปราชัยพ่ายแพ้ หากแต่อเมริกาผู้เป็นพันธมิตรยิ่งใหญ่ที่สุดของอิสราเอลด้วย” เขาทำนายต่อไปว่า ถ้าหากอิสราเอลพ่ายแพ้ล้มครืน สหรัฐฯก็จะพ่ายแพ้ล้มครืนตามอิสราเอลไป
“แรงกดดันทั้งด้านการทหาร, เศรษฐกิจ, การเมือง, และการทูตของอิสราเอล สามารถกำจัดสกัดกั้น ‘คลื่นสึนามิอาหรับ’ เอาไว้ระยะหนึ่งแล้ว แต่จะทำอย่างนั้นได้อีกไม่นานหรอก” เขากล่าวต่อ
เขาบอกว่าสหรัฐฯและอิสราเอลต่างกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมทรามตกต่ำลงทั้งคู่ และพวกเขาวางแผนจะรับมือจะจัดการกับความเป็นจริงใหม่เช่นนี้อย่างไร โดยที่ไม่ก่อให้เกิดการการเข่นฆ่าทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมา นี่แหละเป็นคำถามอันฉกาจฉกรรจ์ข้อต่อไป
มหินทปาละระบุว่า พวกเสรีนิยมปีกซ้ายของอิสราเอลนั้น มีจำนวนน้อยนิดและอ่อนแอเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาเหยี่ยวอนุรักษนิยมทั้งหลาย และประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องที่ว่าชาวปาเลสไตน์จะมีชีวิตอยู่อย่างไรต่อไปในดินแดนที่ถูกอิสราเอลยึดครอง หากแต่เป็นเรื่องที่ว่าอิสราเอลจะมีชีวิตอยู่อย่างไรต่อไปในท่ามกลางวงล้อมของทะเลแห่งชาวอาหรับ
เขาชี้ด้วยว่า ทางด้านโลกอาหรับก็จะต้องเผชิญกับความเป็นจริงอย่างใหม่ๆ เช่นกัน รวมทั้งอิสลามก็กำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายใหญ่ที่สุดด้วย
วิกฤตการณ์ของโลกอิสลาม คือวิกฤตการณ์แห่งการปรับตนเองให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 โลกอิสลามกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน และปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” เป็นสัญญาณประการแรกของการแตกแยกออกไปจาก “ความเป็นอาหรับแห่งยุคสมัยกลาง” (Arabic medievalism) ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับความเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จที่มุ่งกดขี่ โดยที่ทั้งสองอย่างนี้ต่างเดินเคียงคู่ไปด้วยกัน
“วิกฤตการณ์นี้คือการปะทะกันระหว่าง ลัทธินิยมประเพณีแบบยุคสมัยกลาง (traditional medievalism) กับ ลัทธินิยมแห่งยุคสมัยใหม่ (modernism)” มหินทปาละระบุ
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนเรื่องนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ซึ่งมองจากแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา