(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Cambodia denies 'territory loss' to Vietnam
By Radio Free Asia
09/06/2014
คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน แห่งกัมพูชา ออกมาโจมตีเล่นงานพวกผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งได้ไปกล่าวหารัฐบาลว่า สมยอมเสียดินแดนให้แก่เวียดนามเพิ่มเติมขึ้นอีก ในระหว่างเข้าร่วมพิธีรำลึกวาระครบรอบ 65 ปีแห่งการต้องสละอาณาเขตที่เป็นของคนชาติพันธุ์ส่วนน้อย “ขะแมร์ กรอม” ให้แก่ฮานอย
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (6 มิ.ย.) คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน แห่งกัมพูชา ได้ออกมาโจมตีเล่นงานพวกผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งได้กล่าวหารัฐบาลว่า สมยอมเสียดินแดนให้แก่เวียดนามเพิ่มเติมขึ้นอีก ในระหว่างเข้าร่วมพิธีรำลึกวาระครบรอบ 65 ปีแห่งการต้องสละอาณาเขตที่เป็นของคนชาติพันธุ์ส่วนน้อย “ขะแมร์ กรอม” ให้แก่ฮานอย
โฆษกรัฐบาลกัมพูชา เขียว เรมี (Keo Remy) ออกมาแถลงว่า สม รังสี (Sam Rainsy) หัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party ใช้อักษรย่อว่า CNRP) ที่เป็นฝ่ายค้าน และ แกม โสภา (Kem Sokha) รองหัวหน้าพรรค กำลัง “พยายามเล่นการเมือง” ด้วยการตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว
“ข้อกล่าวหาของพวกเขาไม่มีมูลความจริงเลย” โฆษกผู้นี้บอกในระหว่างการแถลงข่าวที่กรุงพนมเปญเมื่อวันศุกร์ (6 มิ.ย.) โดยเป็นการพาดพิงถึงการกล่าวอ้างของผู้นำฝ่ายค้านที่ว่า นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ยินยอมสละเกาะต่างๆ อย่างเช่น เกาะฝูก๊วก (Phu Quoc) ซึ่งในภาษาเขมรเรียกว่า เกาะตรัล (Koh Tral) ตลอดจนดินแดนอื่นๆ ให้แก่ทางเวียดนาม
ทั้งนี้เมื่อวันพุธที่แล้ว (4 มิ.ย.) ขณะไปเข้าร่วมพิธีรำลึกวาระที่ฝรั่งเศสส่งมอบอาณานิคม “โคชินไชน่า” (Cochinchina) ของตน ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมรวมไปถึงจังหวัดต่างๆ ที่เป็นดินแดนกัมปูเจีย กรอม (Kampuchea Krom) ของชาวขะแมร์ กรอม ไปให้แก่ฮานอยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1949 สม รังสี ได้กล่าวหาพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party ใช้อักษรย่อว่า CPP) ของฮุนเซน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปกครองกัมพูชาอยู่ในเวลานี้ ว่าช่วยเหลืออำนวยความสะดวก ในลักษณะของการให้สิทธิสัมปทานในการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จนส่งผลทำให้แผ่นดินกัมพูชาต้องสูญเสียให้แก่เวียดนามเพิ่มมากขึ้นอีก
“รัฐบาลฮุนเซนกำลังออกใบอนุญาตให้สิทธิสัมปทานการใช้ที่ดินแก่เวียดนาม” สม รังสี กล่าว ขณะพาดพิงถึงกรณีที่มีบริษัทของชาวเวียดนามจำนวนมาก เข้ามาทำสวนยางพาราตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ในกัมพูชา
“พวกเขากำลังอนุญาตให้เวียดนามรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของเรา” เขากล่าว
สม รังสี โยงใยการอนุญาตให้สิทธิสัมปทานเช่นนี้ว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของ “กระบวนการแปรให้กลายเป็นอาณานิคม” (colonization) ซึ่งเขาระบุว่าเป็นกระบวนการที่เคยนำมาใช้จนกระทั่งทำให้ชาวเวียดนามสามารถควบคุมดินแดนกัมปูเจีย กรอม เอาไว้ได้มาแล้ว
“สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในกัมพูชาเวลานี้ ทำให้ต้องหวนนึกถึงกระบวนการแปรให้กลายเป็นอาณานิคม ซึ่งชาวเวียดนามใช้อยู่ในกัมปูเจีย กรอม [โดยที่กระบวนการนี้ดำเนินต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20] เมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวต่างชาติจำนวนมากขึ้นๆ เรื่อยๆ เข้ามายึดครองดินแดนของชาวขะแมร์ แล้วในที่สุดดินแดนเหล่านั้นก็ถูกเวียดนามผนวกเอาไป หลังจากที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมดุลทางด้านสัดส่วนประชากรไปอย่างมากมายแล้ว” เขาบอก
สม รังสี และ แกม โสภา เข้าร่วมงานรำลึกคราวนี้ซึ่งจัดขึ้นที่วัดสามัคคี เรงเซย์ (Wat Samakki Raingsey) ในกรุงพนมเปญ ตามคำเชิญของพวกนักเคลื่อนไหวชาวขะแมร์ กรอม โดยที่เขาได้ให้คำมั่นสัญญาต่อหน้าผู้คนประมาณ 600 คนที่เข้าร่วมพิธีคราวนี้ว่า ถ้าหากพรรคกู้ชาติกัมพูชาของเขาได้รับเลือกตั้งจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว เขาจะให้ออกบัตรประจำตัวประชาชนและให้สิทธิความเป็นพลเมือง แก่บรรดาสมาชิกของชาติพันธุ์ส่วนน้อยนี้ ที่ได้อพยพออกจากเวียดนามและโยกย้ายเข้ามาอยู่ในกัมพูชา
ก่อนหน้านี้ แกม โสภา รองหัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา ก็กล่าวว่า หากพรรคของเขาชนะการเลือกตั้ง เขาจะทำให้วันที่ 4 มิถุนายนของทุกๆ ปีกลายเป็นวันหยุดแห่งชาติ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์การสูญเสียดินแดนกัมปูเจีย กรอม นอกจากนั้นเขายังให้คำมั่นที่จะเพิ่มมาตรการในการรักษาสิทธิของชาวขะแมร์ กรอม ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ในดินแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน
ตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์กัมพูชาเดลี่ (Cambodia Daily) เจ้าหญิง ศรีโสวัฒน์ ปอง เนียรี มุนีปอง (Princess Sisowath Pong Neary Monipong) ซึ่งเป็นผู้แทนของทางพระราชวังหลวงที่เข้าร่วมพิธีคราวนี้ รวมทั้งพระองค์เองก็ทรงเป็นชาวขะแมร์ กรอม ด้วย ได้มีพระดำรัสปิดงานโดยระบุว่า พระองค์เอง “ไม่ขอยกย่องชมเชยและก็ไม่ขอตำหนิประณาม” ผู้ที่ขึ้นพูด หรือประเด็นต่างๆ ที่มีการอภิปรายถกเถียงกันในงานคราวนี้
ไม่กี่วันก่อนที่จะมีงานรำลึกครั้งนี้ พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลกรุงพนมเปญ ได้เคยพยายามที่จะออกประกาศห้ามไม่ให้วัดสามัคคี เรงเซย์ เป็นเจ้าภาพจัดงานซึ่งจะมีการให้ผู้คนออกมาอภิปรายแสดงความคิดเห็น ด้วยความหวาดกลัวว่าจะทำให้เกิดความตึงเครียดทางด้านเชื้อชาติรุนแรงมากขึ้น โดยที่วัดแห่งนี้มีพระสงฆ์ประมาณ 60% เป็นชาวขะแมร์ กรอม อีกทั้งมักถูกมองว่าเป็นสถานที่พึ่งพิงแห่งสุดท้ายสำหรับสมาชิกของชาวชาติพันธุ์ส่วนน้อยนี้
**ดินแดนของชาวขะแมร์ กรอม**
อาณานิคม “โคคินไชน่า” ของฝรั่งเศส ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่เคยเป็นจังหวัดต่างๆ ของดินแดนกัมปูเจีย กรอม ด้วยนั้น ได้ถูกยกให้แก่เวียดนามอย่างเป็นทางการในปี 1949 แต่อันที่จริงแล้วมันได้ตกอยู่ใต้การควบคุมของชาวเวียดนามมาตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 แล้วด้วยซ้ำ
เมืองท่าทางทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของดินแดนกัมปูเจีย กรอม ครั้งหนึ่งเคยได้รับการขนานนามว่า “เปรย นอคอร์” (Prey Nokor) แต่บัดนี้รู้จักกันในชื่อว่านครโฮจิมินห์ –ศูนย์กลางทางการเงินของเวียดนาม และหนึ่งในมหานครที่คึกคักที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งแต่ที่ฮานอยเข้าควบคุมดินแดนเหล่านี้ ชาวขะแมร์ กรอม ที่พำนักอาศัยอยู่ในเวียดนาม (ซึ่งเชื่อกันว่ามีจำนวนเกินกว่า 1 ล้านคน และเป็นผู้ซึ่งในทางชาติพันธุ์แล้วมีความละม้ายคล้ายคลึงกับชาวกัมพูชาส่วนใหญ่) ก็ต้องเผชิญกับการถูกข่มเหงรังแกทางสังคมและการถูกควบคุมในทางศาสนาอย่างเข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของกลุ่มสิทธิต่างๆ
ธัจ เศรษฐา (Thach Setha) กรรมการของสมาคมเพื่อนมิตรขะแมร์กัมปูเจีย (Khmer Kampuchea Friends Association) บอกกับวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมร (RFA’s Khmer Service) ว่า ชาวขะแมร์ กรอม ในเวียดนาม ไม่ได้กำลังเรียกร้องต้องการดินแดนของพวกเขากลับคืนไปแต่อย่างใด หากแต่เพียงแค่กำลังขอร้องฮานอยมอบสิทธิต่างๆ ในฐานะที่เป็นชนพื้นถิ่นให้แก่พวกเขา
“เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและของพระเจ้าอยู่หัว [นโรดมสีหมุนี Norodom Sihamoni] ที่จะตัดสินใจว่าต้องการเรียกร้องดินแดนกลับคืนมาหรือไม่” เขากล่าว
เมื่อเร็วๆ นี้มี ชาวขะแมร์ กรอม บางกลุ่ม เรียกร้องให้ชาวกัมพูชาทั่วโลกเดินทางไปยังอดีตจังหวัดต่างๆ ของกัมปูเจีย กรอม เพื่อ “ปิดช่องว่าง” เพิ่มความชิดใกล้กับคนชาติพันธุ์ส่วนน้อยเหล่านี้
ทางด้าน ตรัน วัน จอง (Tran Van Thong) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโฆษกให้สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามในกรุงพนมเปญ บอกกับวิทยุเอเชียเสรีว่า ฮานอยยินดีต้อนรับอาคันตุกะทุกๆ คนเดินทางมายังเวียดนาม แต่ก็เตือนด้วยว่าถ้าหากมีการรณรงค์ก่อความไม่สงบใดๆ ขึ้นมาแล้ว จะถูกจัดการตามกฎหมายของเวียดนามและกฎหมายระหว่างประเทศ
“คนอเมริกัน, คนลาว, คนไทย, หรือคนกัมพูชา ที่เดินทางไปเวียดนามด้วยความสงบ จะได้รับการต้อนรับอย่างดี แต่ถ้าพวกเขาไปเวียดนามเพื่อทำผิดกฎหมายใดๆ ก็ตามที เราก็จะจัดการกับการละเมิดเหล่านั้นตามกฎหมาย” เขาบอก
เขาปฏิเสธว่า กัมพูชาไม่ได้ “สูญเสีย” กัมปูเจีย กรอม ให้แก่เวียดนาม พร้อมกับกล่าวต่อไปว่า ดินแดนตรงนั้น “ไม่เคยตกเป็นของ” ราชอาณาจักรเขมรมาตั้งแต่แรกแล้ว
“การกล่าวอ้างว่ากัมพูชาสูญเสียดินแดนให้แก่เวียดนามนั้นเป็นการกล่าวอ้างอย่างไม่มีมูล” เขาบอก และย้ำว่า “ไม่มีหลักฐานใดๆ เลย” ที่สนับสนุนเรื่องนี้
**ถูกจำกัดสิทธิ**
องค์การฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในสหรัฐฯ ระบุว่า ชาวขะแมร์ กรอม ต้องเผชิญกับการถูกจำกัดสิทธิต่างๆ อย่างร้ายแรงในเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็น, สิทธิในการรวมตัวกัน, สิทธิในการสมาคม, สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร, และสิทธิในการเดินทาง
รัฐบาลเวียดนามนั้นได้สั่งห้ามไม่ให้ออกสิ่งพิมพ์ด้านสิทธิมนุษยชนของชาวขะแมร์ กรอม และควบคุมการปฏิบัติตามหลักศาสนาพุทธนิกายเถรวาทของคนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้อย่างเข้มงวด โดยที่ชาวขะแมร์ กรอม ถือเอาศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เป็นรากฐานของวัฒนธรรมอันโดดเด่นของพวกตน และเป็นรากฐานแห่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของพวกตน
อย่างไรก็ดี เมื่อข้ามมาทางอีกฟากหนึ่งของพรมแดน ชาวขะแมร์ กรอม ผู้อพยพออกจากเวียดนามมาอยู่ในกัมพูชา ก็ยังคงตกอยู่ในสภาพที่เป็น “กลุ่มผู้ไร้สิทธิไร้เสียงอย่างที่สุด” กลุ่มหนึ่งของประเทศอยู่นั่นเอง ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ระบุ
เนื่องจากชาวขะแมร์ กรอม มักถูกคนกัมพูชามองว่าเป็นชาวเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ ชาวขะแมร์ กรอม จำนวนมากในกัมพูชา จึงเผชิญกับการถูกแบ่งแยกกีดกันทั้งในทางสังคมและในทางเศรษฐกิจ
พวกเขายังประสบกับอุปสรรคนานาชนิดในการขอให้มีฐานะทางกฎหมายในกัมพูชา เนื่องจากเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทั้งหลายยังไม่ยอมที่จะให้ฐานะความเป็นพลเมืองหรือให้สิทธิในการพำนักอาศัยแก่ชาวขะแมร์ กรอม จำนวนมากอยู่นั่นเอง ทั้งๆ ที่ได้เคยสัญญาไว้ว่าจะปฏิบัติต่อพวกเขาในฐานะที่เป็นพลเมืองของกัมพูชา ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ บอก
ข่าวนี้รายงานโดย มอร์ม มุนีโรธ (Morm Moniroth) และ เสมียน ยุน (Samean Yun) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมร (RFA’s Khmer Service) และแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย เสมียน ยุน เขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย โจชัว ลิปส์ (Joshua Lipes)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
Cambodia denies 'territory loss' to Vietnam
By Radio Free Asia
09/06/2014
คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน แห่งกัมพูชา ออกมาโจมตีเล่นงานพวกผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งได้ไปกล่าวหารัฐบาลว่า สมยอมเสียดินแดนให้แก่เวียดนามเพิ่มเติมขึ้นอีก ในระหว่างเข้าร่วมพิธีรำลึกวาระครบรอบ 65 ปีแห่งการต้องสละอาณาเขตที่เป็นของคนชาติพันธุ์ส่วนน้อย “ขะแมร์ กรอม” ให้แก่ฮานอย
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (6 มิ.ย.) คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน แห่งกัมพูชา ได้ออกมาโจมตีเล่นงานพวกผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งได้กล่าวหารัฐบาลว่า สมยอมเสียดินแดนให้แก่เวียดนามเพิ่มเติมขึ้นอีก ในระหว่างเข้าร่วมพิธีรำลึกวาระครบรอบ 65 ปีแห่งการต้องสละอาณาเขตที่เป็นของคนชาติพันธุ์ส่วนน้อย “ขะแมร์ กรอม” ให้แก่ฮานอย
โฆษกรัฐบาลกัมพูชา เขียว เรมี (Keo Remy) ออกมาแถลงว่า สม รังสี (Sam Rainsy) หัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party ใช้อักษรย่อว่า CNRP) ที่เป็นฝ่ายค้าน และ แกม โสภา (Kem Sokha) รองหัวหน้าพรรค กำลัง “พยายามเล่นการเมือง” ด้วยการตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว
“ข้อกล่าวหาของพวกเขาไม่มีมูลความจริงเลย” โฆษกผู้นี้บอกในระหว่างการแถลงข่าวที่กรุงพนมเปญเมื่อวันศุกร์ (6 มิ.ย.) โดยเป็นการพาดพิงถึงการกล่าวอ้างของผู้นำฝ่ายค้านที่ว่า นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ยินยอมสละเกาะต่างๆ อย่างเช่น เกาะฝูก๊วก (Phu Quoc) ซึ่งในภาษาเขมรเรียกว่า เกาะตรัล (Koh Tral) ตลอดจนดินแดนอื่นๆ ให้แก่ทางเวียดนาม
ทั้งนี้เมื่อวันพุธที่แล้ว (4 มิ.ย.) ขณะไปเข้าร่วมพิธีรำลึกวาระที่ฝรั่งเศสส่งมอบอาณานิคม “โคชินไชน่า” (Cochinchina) ของตน ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมรวมไปถึงจังหวัดต่างๆ ที่เป็นดินแดนกัมปูเจีย กรอม (Kampuchea Krom) ของชาวขะแมร์ กรอม ไปให้แก่ฮานอยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1949 สม รังสี ได้กล่าวหาพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party ใช้อักษรย่อว่า CPP) ของฮุนเซน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปกครองกัมพูชาอยู่ในเวลานี้ ว่าช่วยเหลืออำนวยความสะดวก ในลักษณะของการให้สิทธิสัมปทานในการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จนส่งผลทำให้แผ่นดินกัมพูชาต้องสูญเสียให้แก่เวียดนามเพิ่มมากขึ้นอีก
“รัฐบาลฮุนเซนกำลังออกใบอนุญาตให้สิทธิสัมปทานการใช้ที่ดินแก่เวียดนาม” สม รังสี กล่าว ขณะพาดพิงถึงกรณีที่มีบริษัทของชาวเวียดนามจำนวนมาก เข้ามาทำสวนยางพาราตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ในกัมพูชา
“พวกเขากำลังอนุญาตให้เวียดนามรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของเรา” เขากล่าว
สม รังสี โยงใยการอนุญาตให้สิทธิสัมปทานเช่นนี้ว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของ “กระบวนการแปรให้กลายเป็นอาณานิคม” (colonization) ซึ่งเขาระบุว่าเป็นกระบวนการที่เคยนำมาใช้จนกระทั่งทำให้ชาวเวียดนามสามารถควบคุมดินแดนกัมปูเจีย กรอม เอาไว้ได้มาแล้ว
“สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในกัมพูชาเวลานี้ ทำให้ต้องหวนนึกถึงกระบวนการแปรให้กลายเป็นอาณานิคม ซึ่งชาวเวียดนามใช้อยู่ในกัมปูเจีย กรอม [โดยที่กระบวนการนี้ดำเนินต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20] เมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวต่างชาติจำนวนมากขึ้นๆ เรื่อยๆ เข้ามายึดครองดินแดนของชาวขะแมร์ แล้วในที่สุดดินแดนเหล่านั้นก็ถูกเวียดนามผนวกเอาไป หลังจากที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมดุลทางด้านสัดส่วนประชากรไปอย่างมากมายแล้ว” เขาบอก
สม รังสี และ แกม โสภา เข้าร่วมงานรำลึกคราวนี้ซึ่งจัดขึ้นที่วัดสามัคคี เรงเซย์ (Wat Samakki Raingsey) ในกรุงพนมเปญ ตามคำเชิญของพวกนักเคลื่อนไหวชาวขะแมร์ กรอม โดยที่เขาได้ให้คำมั่นสัญญาต่อหน้าผู้คนประมาณ 600 คนที่เข้าร่วมพิธีคราวนี้ว่า ถ้าหากพรรคกู้ชาติกัมพูชาของเขาได้รับเลือกตั้งจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว เขาจะให้ออกบัตรประจำตัวประชาชนและให้สิทธิความเป็นพลเมือง แก่บรรดาสมาชิกของชาติพันธุ์ส่วนน้อยนี้ ที่ได้อพยพออกจากเวียดนามและโยกย้ายเข้ามาอยู่ในกัมพูชา
ก่อนหน้านี้ แกม โสภา รองหัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา ก็กล่าวว่า หากพรรคของเขาชนะการเลือกตั้ง เขาจะทำให้วันที่ 4 มิถุนายนของทุกๆ ปีกลายเป็นวันหยุดแห่งชาติ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์การสูญเสียดินแดนกัมปูเจีย กรอม นอกจากนั้นเขายังให้คำมั่นที่จะเพิ่มมาตรการในการรักษาสิทธิของชาวขะแมร์ กรอม ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ในดินแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน
ตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์กัมพูชาเดลี่ (Cambodia Daily) เจ้าหญิง ศรีโสวัฒน์ ปอง เนียรี มุนีปอง (Princess Sisowath Pong Neary Monipong) ซึ่งเป็นผู้แทนของทางพระราชวังหลวงที่เข้าร่วมพิธีคราวนี้ รวมทั้งพระองค์เองก็ทรงเป็นชาวขะแมร์ กรอม ด้วย ได้มีพระดำรัสปิดงานโดยระบุว่า พระองค์เอง “ไม่ขอยกย่องชมเชยและก็ไม่ขอตำหนิประณาม” ผู้ที่ขึ้นพูด หรือประเด็นต่างๆ ที่มีการอภิปรายถกเถียงกันในงานคราวนี้
ไม่กี่วันก่อนที่จะมีงานรำลึกครั้งนี้ พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลกรุงพนมเปญ ได้เคยพยายามที่จะออกประกาศห้ามไม่ให้วัดสามัคคี เรงเซย์ เป็นเจ้าภาพจัดงานซึ่งจะมีการให้ผู้คนออกมาอภิปรายแสดงความคิดเห็น ด้วยความหวาดกลัวว่าจะทำให้เกิดความตึงเครียดทางด้านเชื้อชาติรุนแรงมากขึ้น โดยที่วัดแห่งนี้มีพระสงฆ์ประมาณ 60% เป็นชาวขะแมร์ กรอม อีกทั้งมักถูกมองว่าเป็นสถานที่พึ่งพิงแห่งสุดท้ายสำหรับสมาชิกของชาวชาติพันธุ์ส่วนน้อยนี้
**ดินแดนของชาวขะแมร์ กรอม**
อาณานิคม “โคคินไชน่า” ของฝรั่งเศส ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่เคยเป็นจังหวัดต่างๆ ของดินแดนกัมปูเจีย กรอม ด้วยนั้น ได้ถูกยกให้แก่เวียดนามอย่างเป็นทางการในปี 1949 แต่อันที่จริงแล้วมันได้ตกอยู่ใต้การควบคุมของชาวเวียดนามมาตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 แล้วด้วยซ้ำ
เมืองท่าทางทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของดินแดนกัมปูเจีย กรอม ครั้งหนึ่งเคยได้รับการขนานนามว่า “เปรย นอคอร์” (Prey Nokor) แต่บัดนี้รู้จักกันในชื่อว่านครโฮจิมินห์ –ศูนย์กลางทางการเงินของเวียดนาม และหนึ่งในมหานครที่คึกคักที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งแต่ที่ฮานอยเข้าควบคุมดินแดนเหล่านี้ ชาวขะแมร์ กรอม ที่พำนักอาศัยอยู่ในเวียดนาม (ซึ่งเชื่อกันว่ามีจำนวนเกินกว่า 1 ล้านคน และเป็นผู้ซึ่งในทางชาติพันธุ์แล้วมีความละม้ายคล้ายคลึงกับชาวกัมพูชาส่วนใหญ่) ก็ต้องเผชิญกับการถูกข่มเหงรังแกทางสังคมและการถูกควบคุมในทางศาสนาอย่างเข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของกลุ่มสิทธิต่างๆ
ธัจ เศรษฐา (Thach Setha) กรรมการของสมาคมเพื่อนมิตรขะแมร์กัมปูเจีย (Khmer Kampuchea Friends Association) บอกกับวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมร (RFA’s Khmer Service) ว่า ชาวขะแมร์ กรอม ในเวียดนาม ไม่ได้กำลังเรียกร้องต้องการดินแดนของพวกเขากลับคืนไปแต่อย่างใด หากแต่เพียงแค่กำลังขอร้องฮานอยมอบสิทธิต่างๆ ในฐานะที่เป็นชนพื้นถิ่นให้แก่พวกเขา
“เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและของพระเจ้าอยู่หัว [นโรดมสีหมุนี Norodom Sihamoni] ที่จะตัดสินใจว่าต้องการเรียกร้องดินแดนกลับคืนมาหรือไม่” เขากล่าว
เมื่อเร็วๆ นี้มี ชาวขะแมร์ กรอม บางกลุ่ม เรียกร้องให้ชาวกัมพูชาทั่วโลกเดินทางไปยังอดีตจังหวัดต่างๆ ของกัมปูเจีย กรอม เพื่อ “ปิดช่องว่าง” เพิ่มความชิดใกล้กับคนชาติพันธุ์ส่วนน้อยเหล่านี้
ทางด้าน ตรัน วัน จอง (Tran Van Thong) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโฆษกให้สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามในกรุงพนมเปญ บอกกับวิทยุเอเชียเสรีว่า ฮานอยยินดีต้อนรับอาคันตุกะทุกๆ คนเดินทางมายังเวียดนาม แต่ก็เตือนด้วยว่าถ้าหากมีการรณรงค์ก่อความไม่สงบใดๆ ขึ้นมาแล้ว จะถูกจัดการตามกฎหมายของเวียดนามและกฎหมายระหว่างประเทศ
“คนอเมริกัน, คนลาว, คนไทย, หรือคนกัมพูชา ที่เดินทางไปเวียดนามด้วยความสงบ จะได้รับการต้อนรับอย่างดี แต่ถ้าพวกเขาไปเวียดนามเพื่อทำผิดกฎหมายใดๆ ก็ตามที เราก็จะจัดการกับการละเมิดเหล่านั้นตามกฎหมาย” เขาบอก
เขาปฏิเสธว่า กัมพูชาไม่ได้ “สูญเสีย” กัมปูเจีย กรอม ให้แก่เวียดนาม พร้อมกับกล่าวต่อไปว่า ดินแดนตรงนั้น “ไม่เคยตกเป็นของ” ราชอาณาจักรเขมรมาตั้งแต่แรกแล้ว
“การกล่าวอ้างว่ากัมพูชาสูญเสียดินแดนให้แก่เวียดนามนั้นเป็นการกล่าวอ้างอย่างไม่มีมูล” เขาบอก และย้ำว่า “ไม่มีหลักฐานใดๆ เลย” ที่สนับสนุนเรื่องนี้
**ถูกจำกัดสิทธิ**
องค์การฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในสหรัฐฯ ระบุว่า ชาวขะแมร์ กรอม ต้องเผชิญกับการถูกจำกัดสิทธิต่างๆ อย่างร้ายแรงในเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็น, สิทธิในการรวมตัวกัน, สิทธิในการสมาคม, สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร, และสิทธิในการเดินทาง
รัฐบาลเวียดนามนั้นได้สั่งห้ามไม่ให้ออกสิ่งพิมพ์ด้านสิทธิมนุษยชนของชาวขะแมร์ กรอม และควบคุมการปฏิบัติตามหลักศาสนาพุทธนิกายเถรวาทของคนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้อย่างเข้มงวด โดยที่ชาวขะแมร์ กรอม ถือเอาศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เป็นรากฐานของวัฒนธรรมอันโดดเด่นของพวกตน และเป็นรากฐานแห่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของพวกตน
อย่างไรก็ดี เมื่อข้ามมาทางอีกฟากหนึ่งของพรมแดน ชาวขะแมร์ กรอม ผู้อพยพออกจากเวียดนามมาอยู่ในกัมพูชา ก็ยังคงตกอยู่ในสภาพที่เป็น “กลุ่มผู้ไร้สิทธิไร้เสียงอย่างที่สุด” กลุ่มหนึ่งของประเทศอยู่นั่นเอง ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ระบุ
เนื่องจากชาวขะแมร์ กรอม มักถูกคนกัมพูชามองว่าเป็นชาวเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ ชาวขะแมร์ กรอม จำนวนมากในกัมพูชา จึงเผชิญกับการถูกแบ่งแยกกีดกันทั้งในทางสังคมและในทางเศรษฐกิจ
พวกเขายังประสบกับอุปสรรคนานาชนิดในการขอให้มีฐานะทางกฎหมายในกัมพูชา เนื่องจากเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทั้งหลายยังไม่ยอมที่จะให้ฐานะความเป็นพลเมืองหรือให้สิทธิในการพำนักอาศัยแก่ชาวขะแมร์ กรอม จำนวนมากอยู่นั่นเอง ทั้งๆ ที่ได้เคยสัญญาไว้ว่าจะปฏิบัติต่อพวกเขาในฐานะที่เป็นพลเมืองของกัมพูชา ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ บอก
ข่าวนี้รายงานโดย มอร์ม มุนีโรธ (Morm Moniroth) และ เสมียน ยุน (Samean Yun) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมร (RFA’s Khmer Service) และแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย เสมียน ยุน เขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย โจชัว ลิปส์ (Joshua Lipes)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต