xs
xsm
sm
md
lg

ผลวิจัยเผย “การหย่าร้าง” อาจมีส่วนให้ลูกเป็น “โรคอ้วน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - เด็กที่พ่อแม่หย่าร้างกันอาจมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าเด็กที่พ่อแม่ใช้ชีวิตสมรสร่วมกัน การวิจัยของนอร์เวย์ระบุวันนี้ (5)

รายงานจากการวิจัยระบุว่า แนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง แต่ถึงกระนั้นก็ยังเร็วเกินไปที่จะใช้ผลการวิจัยนี้ตัดสินถึงสาเหตุหลักของปัญหา เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ไม่ควรถูกมองข้าม

กลุ่มนักวิจัยใช้ข้อมูลจากส่วนสูง น้ำหนัก และเส้นรอบเอว ของนักเรียนมากกว่า 3,000 คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วม 127 แห่งทั่วทั้งนอร์เวย์ และนำมาเปรียบเทียบกับสถานภาพการสมรสของพ่อแม่เด็กเหล่านั้น ซึ่งประกอบด้วย สถานะแต่งงานแล้ว ไม่เคยแต่ง อยู่กินด้วยกัน โสด แยกกันอยู่ หรือหย่าร้าง

รายงานซึ่งเผยแพร่ทาง บีเอ็มเจ โอเพน นิตยสารออนไลน์ทางการแพทย์ ระบุว่า ราว 1 ใน 5 ของเด็กทั้งหมดมีภาวะน้ำหนักเกิน ทั้งนี้ มาจากการคำนวณอัตราส่วนสูงต่อน้ำหนัก หรือ “ค่าบีเอ็มไอ” ของเด็กที่ได้เท่ากับ 25 หรือมากกว่า และมีเด็กประมาณ 1 ใน 10 ที่อ้วนมาก จากค่าบีเอ็มไอของพวกเขาที่เท่ากับ 30 ขึ้นไป

เมื่อเทียบกับเด็กที่พ่อแม่ยังใช้ชีวิตสมรสด้วยกัน เด็กที่พ่อแม่หย่าร้างมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะน้ำหนักเกินถึงอ้วนมากกว่า 54 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะอ้วนมากกว่า 89 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มนักวิจัยกล่าวในถ้อยแถลงผ่านสื่อ

“ความแพร่หลายของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในกลุ่มเด็กที่พ่อแม่ยังไม่เคยแต่งงานมีพอๆ กับกลุ่มเด็กที่พ่อแม่แต่งงานแล้ว”

เมื่อเทียบเด็กชายที่มีพ่อแม่อยู่ในสถานะอื่นๆ เด็กชายที่พ่อแม่หย่าร้างมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะน้ำหนักเกินมากกว่า 63 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะอ้านมากมากกว่า 104 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ความแตกต่างดังกล่าวในหมู่เด็กผู้หญิงแทบจะไม่มีนัยสำคัญเลย

ทีมนักวิจัยได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบ อย่างเช่น พื้นฐานทางการศึกษาของผู้เป็นแม่ พื้นเพทางด้านชาติพันธุ์ แหล่งที่พักอาศัย แต่ไม่พิจารณาปัจจัยทางด้านโภชนาการของเด็กและการดูแลรักษาสุขภาพ

ทีมวิจัยคาดการณ์ว่าการหันไปทานอาหารสำเร็จรูปราคาถูกที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือการรับประทานอาหารเพื่อแก้เครียด อาจให้คำอธิบายต่อแนวโน้มเช่นนี้ได้

เควิน แมคคอนเวย์ ศาสตราจารย์ด้านสถิติประยุกต์ จากมหาวิทยาลัยสำหรับการเรียนทางไกลในอังกฤษ (The Open University in England) ได้ให้ความคิดเห็นว่า ผลวิจัยนี้อาจไม่จริงในสังคมอื่นๆนอกจากนอร์เวย์
กำลังโหลดความคิดเห็น