เอเจนซีส์ - “ไอเอ็มเอฟ” ชี้เศรษฐกิจโลกปีนี้ฟื้นตัวอย่างกว้างขวางและมั่นคงมากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีภัยคุกคามจากผลพวงวิกฤตยูเครนและการชะลอตัวในประเทศตลาดเกิดใหม่รายสำคัญ สืบเนื่องจากเงินทุนไหลออก หลัง “เฟด” ชะลอมาตรการกระตุ้น แต่กระนั้น ไอเอ็มเอฟเชื่อแบงก์ชาติแดนอินทรีจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงไตรมาส 3 ของปีหน้า
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอังคาร (8 เม.ย.) ว่า คาดการณ์ว่าอัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะอยู่ที่ 3.6% ในปีนี้ และ 3.9% ในปีหน้า ซึ่งเป็นการลดลงจากการคาดการณ์ของไอเอ็มเอฟเมื่อเดือนมกราคมประมาณ 0.1% ทั้งนี้สืบเนื่องจากยูเครนเผชิญวิกฤตการประท้วงต่อต้านรัฐบาลและจากนั้นรัสเซียก็เข้าผนวกไครเมีย ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจแดนหมีขาวชะลอลงอย่างรุนแรง รวมทั้งอาจถูกโลกตะวันตกใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ และอาจลุกลามออกไปสู่ประเทศโดยรอบ ขัดขวางการค้าและการเงิน ซึ่งรวมถึงตลาดน้ำมัน ก๊าซ อาหาร สินค้าโภคภัณฑ์
กระนั้น โอลิวิเยร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้ยังคงดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว การฟื้นตัวซึ่งเริ่มยืนหยัดมาได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่กำลังเข้มแข็งขึ้นเท่านั้น หากการฟื้นตัวยังมีลักษณะครอบคลุมทั่วถึงมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดี รายงานล่าสุดของไอเอ็มเอฟเตือนว่า การชะลอตัวรุนแรงของพวกประเทศตลาดเกิดใหม่รายสำคัญ เช่น บราซิล แอฟริกาใต้ และตุรกี ยังอาจจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจโลก โดยพัฒนาการที่น่าเป็นห่วงเช่นนี้มีสาเหตุทั้งจากการขาดแคลนนโยบายภายในประเทศที่เหมาะสม ภาวะการเงินตึงตัวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และภาวะเงินทุนไหลออก
ประเทศตลาดเกิดใหม่รายสำคัญเหล่านี้ ยังคงเผชิญความเสี่ยงจากความปั่นป่วนอันเป็นผลจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ที่กำลังทำให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกขยับขึ้น และดูดเงินทุนออกจากตลาดที่มีความเสี่ยงมากกว่า
รายงานฉบับล่าสุดนี้ก็เช่นเดียวกับรายงานปีก่อนๆ มีการเผยแพร่ออกมาขึ้นก่อนหน้าการประชุมประจำฤดูใบไม้ผลิของไอเอ็มเอฟ-ธนาคารโลกที่กรุงวอชิงตัน ที่จะเริ่มต้นในวันพฤหัสบดี (10)
ในรายงานนี้ ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลาง รัฐมนตรีคลัง และผู้วางแผนด้านเศรษฐกิจของหลายประเทศกำลังรู้สึกวิตก ขณะที่พยายามต้านทานแนวโน้มความขัดแย้งทั่วโลกจากมาตรการคุมเข้มของอเมริกา และกำลังกังวลว่า ยุโรปและญี่ปุ่นจะมีการเติบโตน้อยเกินไปและยังไม่อาจหลุดออกจากภาวะเงินฝืด
ทั้งนี้ รายงานเน้นย้ำให้เห็นว่า ธนาคารกลางในพวกประเทศใหญ่ๆ ไร้ความสามารถในการกระตุ้นการลงทุนและการจ้างงาน อันนำไปสู่คำถามอ่อนไหวที่ว่า รัฐบาลที่กำลังเผชิญสถานการณ์ตึงเครียดเหล่านี้ ควรหรือไม่ที่จะยกเลิกมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดยอดขาดดุลไปก่อน และหันมาเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ
เมื่อแยกเป็นรายๆ รายงานบอกว่าหากเทียบกับปีที่ผ่านมาแล้ว เวลานี้อเมริกากำลังกลายเป็นความหวังเพิ่มมากขึ้นที่จะสามารถแสดงบทบาทเป็นผู้ลากจูงเศรษฐกิจโลก โดยไอเอ็มเอฟคาดว่า แดนอินทรีจะมีอัตราเติบโต 2.8% ในปีนี้ และ 3.0% ในปีหน้า เท่ากับการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว นอกจากนั้นรายงานยังคาดว่า เฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงไตรมาส 3 ปีหน้า
ปัจจัยบวกของอเมริกา คือ การยุติศึกการเมืองเรื่องงบประมาณที่ทำให้ลุงแซมเกือบผิดนัดชำระหนี้ และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกไร้ความแน่นอนไปด้วย
สำหรับจีน รายงานของไอเอ็มเอฟยังคงคาดการณ์การเติบโตอยู่ที่ 7.5% สำหรับปีปัจจุบัน และ 7.3% ในปีต่อไป เนื่องจากไอเอ็มเอฟเชื่อว่า ปักกิ่งจะต่อสู้กับภาวะขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อด้วยการเพิ่มมาตรการควบคุมอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งมีความความคืบหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม รายงานเตือนว่าหากจีนไม่สามารถจัดการปัญหาในระบบการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจส่งผลลุกลามสู่เศรษฐกิจโลก อาทิ ผ่านทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ในส่วนของยูโรโซนนั้น รายงานบอกว่ากำลังต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยมีลู่ทางในการพลิกแพลงนโยบายการเงินน้อยมาก ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ไอเอ็มเอฟเคยเตือนว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นบางอย่างบางประการ
เนื่องจากอุปสงค์มีอัตราการขยายตัวลดต่ำ ขณะที่ภาคเอกชนยังมีหนิ้สินมากมาย สินเชื่อและความต้องการสินเชื่อก็ซบเซา ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ไอเอ็มเอฟทำนายว่าแนวโน้มการเติบโตของยูโรโซนจะอยู่ที่เพียง 1.2% ในปีนี้ และ 1.5% ในปีหน้า
ทางด้านญี่ปุ่นก็เผชิญสถานการณ์เดียวกัน มาตรการกระตุ้นที่รัฐบาลใช้อยู่ยังคงเผชิญความท้าทายอันหนักหน่วง ซึ่งรวมถึงภาวะเงินฝืด ตลอดจนการที่ญี่ปุ่นเดินหน้าขึ้นอัตราภาษีการขาย ตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ จนอาจเป็นตัวฉุดให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสนี้ ดังนั้น รายงานไอเอ็มเอฟจึงปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่น จาก 1.7% อยู่ที่ 1.4% ในปีนี้ และ 1.0% ในปีหน้า
ทั้งนี้ สำหรับพวกประเทศตลาดเกิดใหม่โดยรวมนั้น ไอเอ็มเอฟคาดหมายว่าจะเติบโต 4.9% ในปีนี้ ลดลง 0.2% จากการคาดการณ์เมื่อตอนต้นปี
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอังคาร (8 เม.ย.) ว่า คาดการณ์ว่าอัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะอยู่ที่ 3.6% ในปีนี้ และ 3.9% ในปีหน้า ซึ่งเป็นการลดลงจากการคาดการณ์ของไอเอ็มเอฟเมื่อเดือนมกราคมประมาณ 0.1% ทั้งนี้สืบเนื่องจากยูเครนเผชิญวิกฤตการประท้วงต่อต้านรัฐบาลและจากนั้นรัสเซียก็เข้าผนวกไครเมีย ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจแดนหมีขาวชะลอลงอย่างรุนแรง รวมทั้งอาจถูกโลกตะวันตกใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ และอาจลุกลามออกไปสู่ประเทศโดยรอบ ขัดขวางการค้าและการเงิน ซึ่งรวมถึงตลาดน้ำมัน ก๊าซ อาหาร สินค้าโภคภัณฑ์
กระนั้น โอลิวิเยร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้ยังคงดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว การฟื้นตัวซึ่งเริ่มยืนหยัดมาได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่กำลังเข้มแข็งขึ้นเท่านั้น หากการฟื้นตัวยังมีลักษณะครอบคลุมทั่วถึงมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดี รายงานล่าสุดของไอเอ็มเอฟเตือนว่า การชะลอตัวรุนแรงของพวกประเทศตลาดเกิดใหม่รายสำคัญ เช่น บราซิล แอฟริกาใต้ และตุรกี ยังอาจจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจโลก โดยพัฒนาการที่น่าเป็นห่วงเช่นนี้มีสาเหตุทั้งจากการขาดแคลนนโยบายภายในประเทศที่เหมาะสม ภาวะการเงินตึงตัวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และภาวะเงินทุนไหลออก
ประเทศตลาดเกิดใหม่รายสำคัญเหล่านี้ ยังคงเผชิญความเสี่ยงจากความปั่นป่วนอันเป็นผลจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ที่กำลังทำให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกขยับขึ้น และดูดเงินทุนออกจากตลาดที่มีความเสี่ยงมากกว่า
รายงานฉบับล่าสุดนี้ก็เช่นเดียวกับรายงานปีก่อนๆ มีการเผยแพร่ออกมาขึ้นก่อนหน้าการประชุมประจำฤดูใบไม้ผลิของไอเอ็มเอฟ-ธนาคารโลกที่กรุงวอชิงตัน ที่จะเริ่มต้นในวันพฤหัสบดี (10)
ในรายงานนี้ ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลาง รัฐมนตรีคลัง และผู้วางแผนด้านเศรษฐกิจของหลายประเทศกำลังรู้สึกวิตก ขณะที่พยายามต้านทานแนวโน้มความขัดแย้งทั่วโลกจากมาตรการคุมเข้มของอเมริกา และกำลังกังวลว่า ยุโรปและญี่ปุ่นจะมีการเติบโตน้อยเกินไปและยังไม่อาจหลุดออกจากภาวะเงินฝืด
ทั้งนี้ รายงานเน้นย้ำให้เห็นว่า ธนาคารกลางในพวกประเทศใหญ่ๆ ไร้ความสามารถในการกระตุ้นการลงทุนและการจ้างงาน อันนำไปสู่คำถามอ่อนไหวที่ว่า รัฐบาลที่กำลังเผชิญสถานการณ์ตึงเครียดเหล่านี้ ควรหรือไม่ที่จะยกเลิกมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดยอดขาดดุลไปก่อน และหันมาเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ
เมื่อแยกเป็นรายๆ รายงานบอกว่าหากเทียบกับปีที่ผ่านมาแล้ว เวลานี้อเมริกากำลังกลายเป็นความหวังเพิ่มมากขึ้นที่จะสามารถแสดงบทบาทเป็นผู้ลากจูงเศรษฐกิจโลก โดยไอเอ็มเอฟคาดว่า แดนอินทรีจะมีอัตราเติบโต 2.8% ในปีนี้ และ 3.0% ในปีหน้า เท่ากับการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว นอกจากนั้นรายงานยังคาดว่า เฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงไตรมาส 3 ปีหน้า
ปัจจัยบวกของอเมริกา คือ การยุติศึกการเมืองเรื่องงบประมาณที่ทำให้ลุงแซมเกือบผิดนัดชำระหนี้ และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกไร้ความแน่นอนไปด้วย
สำหรับจีน รายงานของไอเอ็มเอฟยังคงคาดการณ์การเติบโตอยู่ที่ 7.5% สำหรับปีปัจจุบัน และ 7.3% ในปีต่อไป เนื่องจากไอเอ็มเอฟเชื่อว่า ปักกิ่งจะต่อสู้กับภาวะขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อด้วยการเพิ่มมาตรการควบคุมอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งมีความความคืบหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม รายงานเตือนว่าหากจีนไม่สามารถจัดการปัญหาในระบบการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจส่งผลลุกลามสู่เศรษฐกิจโลก อาทิ ผ่านทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ในส่วนของยูโรโซนนั้น รายงานบอกว่ากำลังต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยมีลู่ทางในการพลิกแพลงนโยบายการเงินน้อยมาก ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ไอเอ็มเอฟเคยเตือนว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นบางอย่างบางประการ
เนื่องจากอุปสงค์มีอัตราการขยายตัวลดต่ำ ขณะที่ภาคเอกชนยังมีหนิ้สินมากมาย สินเชื่อและความต้องการสินเชื่อก็ซบเซา ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ไอเอ็มเอฟทำนายว่าแนวโน้มการเติบโตของยูโรโซนจะอยู่ที่เพียง 1.2% ในปีนี้ และ 1.5% ในปีหน้า
ทางด้านญี่ปุ่นก็เผชิญสถานการณ์เดียวกัน มาตรการกระตุ้นที่รัฐบาลใช้อยู่ยังคงเผชิญความท้าทายอันหนักหน่วง ซึ่งรวมถึงภาวะเงินฝืด ตลอดจนการที่ญี่ปุ่นเดินหน้าขึ้นอัตราภาษีการขาย ตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ จนอาจเป็นตัวฉุดให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสนี้ ดังนั้น รายงานไอเอ็มเอฟจึงปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่น จาก 1.7% อยู่ที่ 1.4% ในปีนี้ และ 1.0% ในปีหน้า
ทั้งนี้ สำหรับพวกประเทศตลาดเกิดใหม่โดยรวมนั้น ไอเอ็มเอฟคาดหมายว่าจะเติบโต 4.9% ในปีนี้ ลดลง 0.2% จากการคาดการณ์เมื่อตอนต้นปี