(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
UN panel warns North Korean leader on abuses
By Parameswaran Ponnudurai
18/02/2014
คณะทำงานชุดหนึ่งของสหประชาชาติ ได้ส่งหนังสือไปถึง คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยมีเนื้อหาเตือนเขาว่า เขาอาจจะถูกนำตัวมาดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศ จากการละเมิดสิทธิของประชาชนในด้านต่างๆ อย่างใหญ่โตกว้างขวางในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ คณะทำงานชุดนี้ซึ่งก็คือ คณะกรรมการสหประชาชาติเพื่อการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ ระบุว่า คิมน่าที่จะเป็น 1 ในบรรดาผู้นำ “หลายร้อยคน” ซึ่งอยู่เบื้องหลังการละเมิดอันมโหฬารชนิดเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติทีเดียว
คณะทำงานชุดหนึ่งของสหประชาชาติ ได้ส่งหนังสือไปถึง คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยมีเนื้อหาเตือนเขาว่า เขาอาจจะถูกนำตัวมาดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศ จากการละเมิดสิทธิของประชาชนในด้านต่างๆ อย่างใหญ่โตกว้างขวางในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ยุคใหม่
คณะทำงานชุดนี้ซึ่งก็คือ คณะกรรมการสหประชาชาติเพื่อการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ (U.N. commission of inquiry of human rights abuses in North Korea) ระบุภายหลังดำเนินการสืบสวนสอบสวนมาเป็นเวลา 1 ปี ว่ามีผู้นำในรัฐคอมมิวนิสต์แนวทางแข็งกร้าวแห่งนี้จำนวน “หลายร้อยคน” โดยเป็นไปได้ว่าน่าจะรวมถึง คิม จองอึน ด้วย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้ ซึ่งถือว่าเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติทีเดียว
ไมเคิล เคอร์บี (Michael Kirby) ประธานของคณะทำงานที่มีสมาชิกรวม 3 คนชุดนี้ กล่าวเตือนในหนังสือส่งไปถึงคิมว่า เขาอาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court ใช้อักษรย่อว่า ICC) ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายหลังการสืบสวนสอบสวนของคณะทำงาน ซึ่งรวบรวบเรียบเรียงเอาไว้ในรายงานความยาวร่วมๆ 400 หน้าที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ที่ผ่านมา
ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งรัฐ และเป็นผู้บังคับบัญชาใหญ่โตสูงสุดของฝ่ายทหารของประเทศ คิมจึงต้องแบกรับความผิดส่วนบุคคลสำหรับอาชญากรรมเหล่านี้ด้วย เคอร์บี ระบุ
ในหนังสือลงวันที่ 20 มกราคม ซึ่งส่งไปพร้อมกับรายงานเล่มหนาเตอะฉบับนี้ เคอร์บี ซึ่งเป็นผู้พิพากษาชาวออสเตรเลียที่เกษียณอายุแล้ว ได้แจ้งกับคิมว่า จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการฟ้องร้องกล่าวโทษระดับระหว่างประเทศ “เพื่อไล่เรียงเอาผิดกับผู้ที่อาจจะต้องรับผิดชอบสำหรับการประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเหล่านี้ทุกๆ คน ซึ่งก็เป็นไปได้ว่ารวมทั้งตัวคุณเองด้วย”
ตัวเลขพวกเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือที่ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมดังกล่าวนี้ “รวมๆ กันแล้วอาจจะอยู่ระดับหลายร้อยทีเดียว” เคอร์บี กล่าวในอีกที่หนึ่ง
รายงานเล่มหนาฉบับนี้ ซึ่งรวบรวมเรียบเรียงขึ้นมาภายหลังคณะทำงานได้จัดการรับฟังปากคำของผู้เกี่ยวข้องทั้งในกรุงโซล, โตเกียว, ลอนดอน, และวอชิงตัน ระบุว่า “ได้มีและกำลังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกันอย่างเป็นระบบ, อย่างกว้างขวาง, และอย่างเบ็ดเสร็จ” กันอยู่ในเกาหลีเหนือ โดย “พวกสถาบันและพวกเจ้าหน้าที่” ของประเทศนี้
มีตัวอย่างเป็นจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นว่า การละเมิดเช่นนี้ “จัดอยู่ในลักษณะของการประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” รายงานบอก
“สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงการใช้อำนาจอย่างเกินเลยของรัฐ หากแต่เป็นส่วนประกอบหลักๆ ของระบบการเมืองหนึ่งซึ่งได้เคลื่อนห่างออกมาไกลโพ้นจากบรรดาอุดมคติทั้งหลายที่รัฐแห่งนี้อวดอ้างว่าเป็นรากฐานแห่งการถือกำเนิดของตน” รายงานกล่าว “ระดับความร้ายแรง, ขนาดขอบเขต, และธรรมชาติของการละเมิดเหล่านี้ ได้เปิดเผยให้เห็นถึงรัฐๆ หนึ่งซึ่งไม่มีรัฐอื่นใดเทียบเคียงได้เลยในโลกร่วมสมัยของเรานี้”
**ชวนให้หวนนึกถึงอาชญากรรมของพวกนาซี**
เคอร์บีบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า อาชญากรรมต่างๆ ที่คณะทำงานของเขารวบรวมและจำแนกแยกประเภทมาได้นั้น ชวนให้หวนระลึกไปถึงอาชญากรรมที่กระทำโดยพวกนาซีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
“อาชญากรรมบางอย่างนั้นช่างละม้ายคล้ายคลึงกันอย่างน่าตกใจ” เขากล่าว
รายงานฉบับนี้อธิบายแจกแจงถึงการประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในเกาหลีเหนือ ว่าประกอบไปด้วย “การทำลายให้สิ้นซาก, ฆาตกรรม, การเอาตัวมาเป็นทาส, การทรมาน, การคุมขัง, การข่มขืน, การบังคับทำแท้ง และความรุนแรงทางเพศลักษณะอื่นๆ, การกล่าวหาฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยเหตุผลทางด้านการเมือง ศาสนา เผ่าพันธุ์ และเพศภาวะ, การถ่ายเทโยกย้ายประชากรด้วยวิธีบังคับ, การทำให้บุคคลหายสาบสูญไปด้วยวิธีบังคับ, และการกระทำอันไร้ความเป็นมนุษย์ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่ากำลังทำให้ภาวะความอดอยากยิ่งยาวนานออกไป”
คณะทำงานชุดนี้ได้ยกตัวอย่างหลักฐานที่มอบให้โดยบรรดาเหยื่อบุคคลและพยานบุคคล ซึ่งระบุว่ามีการใช้ “วิธีปฏิบัติแบบทรมานย่ำยี” พวกนักโทษการเมือง โดยที่มีบางคนให้ปากคำว่าพวกเขาจะต้องจับงูและหนูมาป้อนให้เด็กทารกซึ่งอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร
คนอื่นๆ เล่าว่าต้องเฝ้าดูสมาชิกในครอบครัวที่กำลังถูกสังหารในค่ายเรือนจำ และได้เห็นนักโทษที่ป้องกันตนเองไม่ได้กำลังถูกใช้เป็นเป้าสำหรับการฝึกซ้อมศิลปะการป้องกันตัว
ผลการสืบสวนสอบสวนของคณะทำงานยูเอ็นชุดนี้ อิงอาศัยการให้ปากคำของพยาน 80 ปากในระหว่างการไต่สวนสาธารณะรวม 4 ครั้งเมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา และในการสัมภาษณ์บรรดาเหยื่อและคนอื่นๆ แบบปิดลับอีกกว่า 240 ครั้ง
รายงานฉบับนี้ประมาณการว่า ในเกาหลีเหนือมีนักโทษการเมืองระหว่าง 80,000 – 120,000 คน
ทางด้านเกาหลีเหนือนั้น ก็เป็นไปตามที่คาดหมายกันไว้ นั่นคือได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง โดยบอกว่ารายงานฉบับนี้เป็นเพียง “เครื่องมือของแผนกโลบายทางการเมืองซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะบ่อนทำลายระบบสังคมนิยม (ของเกาหลีเหนือ)” ตลอดจนมีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายชื่อเสียงของโสมแดง
การละเมิดสิทธิต่างๆ ตามที่ระบุเอาไว้ในรายงานฉบับนี้ “ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศของเรา” เกาหลีเหนือประกาศเอาไว้ในคำแถลง
โสมแดงนั้นปฏิเสธไม่ยอมเข้าร่วมในการสืบสวนสอบสวนคราวนี้ อีกทั้งปฏิเสธไม่ยินยอมอนุญาตให้สมาชิกของคณะทำงานเดินทางไปเยือนประเทศของตน
**จีนจะคัดค้านการยื่นฟ้องเกาหลีเหนือ**
ในส่วนของจีน ซึ่งเป็นพันธมิตรรายสำคัญที่สุดของเกาหลีเหนือนั้น ได้แถลงในวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า ตนจะคัดค้านความเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามในสหประชาชาติ ที่จะเสนอให้ส่งตัวพวกผู้นำของเกาหลีเหนือไปดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยแดนมังกรอ้างว่าการแก้ไขปัญหาด้านสิทธินั้นจะกระทำได้ก็ด้วยการพูดจาสนทนากัน
“ตัวดิฉันเองยังไม่ได้เห็นรายงานฉบับนี้ แต่จุดยืนของเราเกี่ยวกับเรื่องเช่นนี้นั้นมีความกระจ่างชัดเจนอยู่แล้ว นั่นก็คือ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ควรที่จะแก้ไขคลี่คลายโดยผ่านการพูดจาสนทนากันอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน” หวา ชุนอิง (Hua Chunying) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงต่อผู้สื่อข่าวในกรุงปักกิ่ง ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี
“การยื่นรายงานฉบับนี้ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ จะไม่ช่วยแก้ไขคลี่ตคลายสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไหนเลย” เธอกล่าวต่อ
อันที่จริง ในรายงานฉบับนี้ คณะทำงานของยูเอ็นได้เตือนจีนเอาไว้ด้วยว่า การที่แดนมังกรบังคับส่งผู้อพยพและผู้แปรพักตร์ชาวเกาหลีเหนือกลับคืนประเทศไปนั้น อาจจะเท่ากับ “การช่วยเหลือและการสนับสนุนการประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ”
ทว่าปักกิ่งแถลงตอบโต้ว่า จากข้อเท็จจริงที่ว่ามีผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือบางคนสามารถที่จะหาทางกลับเข้ามาในจีนได้อยู่เรื่อยๆ หลังจากที่พวกเขาถูกส่งตัวกลับไปแล้ว คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ในเรื่องการทรมานนั้นไม่เป็นความจริง
แต่สำหรับกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย ต่างพากันแสดงความยินดีต้อนรับรายงานสืบสวนสอบสวนฉบับนี้ โดยกล่าวว่าเป็นผลงานในระดับที่ถือเป็นหลักหมายใหม่ทีเดียว
“เป็นครั้งแรกที่องค์กรหนึ่งของสหประชาชาติยอมรับรู้รับทราบว่า รัฐบาลของเกาหลีเหนือกำลังประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และควรต้องไล่เรียงเอาความผิดกับพวกผู้นำของเกาหลีเหนือ” โรเบอร์โต โคเฮน (Roberta Cohen) ผู้เป็นประธานร่วมของคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ (Committee for Human Rights in North Korea ใช้อักษรย่อว่า HRNK) ซึ่งตั้งฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง
“ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับประชาคมโลกแล้วที่จะต้องลงมือทำ เพื่อพิทักษ์คุ้มครองพวกที่ถูกฟ้องร้องกล่าวโทษ และนำเอาตัวผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษตามระบบยุติธรรม” โคเฮน บอก
** “ภัยคุกคามจากนิวเคลียร์” บดบังเรื่อง “การละเมิดสิทธิ”**
ทางด้านองค์การฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch) ซึ่งตั้งฐานอยู่ในนิวยอร์ก บอกว่า รายงานที่ “ชวนให้ตื่นตะลึง” ฉบับนี้ ควรที่จะเปิดตาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติ ให้เห็นถึง “การกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อน” ที่ประชาชนของเกาหลีเหนือต้องแบกรับ อีกทั้งยังเป็นสิ่งซึ่งกำลังคุกคามเสถียรภาพในภูมิภาคแถบนี้ด้วย
“ด้วยการมุ่งเน้นไปเพียงแค่เรื่องภัยคุกคามทางด้านนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือเท่านั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็กำลังละเลยอาชญากรรมต่างๆ ของพวกผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งกำลังเป็นผู้กำกับตรวจสอบทั้ง ระบบค่ายแรงงานอันป่าเถื่อนเหี้ยมโหด, การประหารชีวิตผู้คนต่อหน้าสาธารณชน, การหายสาบสูญ, และภาวะอดอยากของมวลชน” เคนเนธ รอธ (Kenneth Roth) ผู้อำนวยการบริหารของฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ระบุ
สำหรับ เกร็ก สคาร์ลาโตอิว (Greg Scarlatoiu) ผู้อำนวยการบริหารของคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ เขาจงใจกล่าวพาดพิงถึงจีนอย่างชัดเจน เมื่อพูดว่า “พวกสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ซึ่งกำลังพยายามที่จะสกัดกั้นการไล่เรียงเอาผิดกับผู้ที่ต้องรับผิดชอบในเกาหลีเหนือนั้น จะพบว่าราคาที่พวกเขาต้องจ่าย กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในระยะยาว”
แต่สำหรับในระยะสั้นแล้ว โอกาสดูมีเพียงน้อยนิดที่จะนำเอาตัว คิม และผู้นำเกาหลีเหนือคนอื่นๆ มาดำเนินคดีที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ
นอกเหนือจากที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่าจีนจะต้องใช้อำนาจวีโต้ยับยั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแล้ว สหรัฐฯก็อาจจะไม่กระตือรือร้นที่จะสนับสนุนความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ถึงแม้วอชิงตันให้การหนุนหลังอย่างเต็มที่ในตอนที่จัดตั้งและกำหนดภารกิจของคณะทำงานสืบสวนสอบสวนของสหประชาชาติชุดนี้ สคาร์ลาโตอิว บอก
เขาแจกแจงว่า เหตุผลประการหนึ่งก็คือ สหรัฐฯอาจจะ “มองว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่สร้างสรรค์ในทางการเมือง” เพราะมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จีนจะใช้อำนาจวีโต้กันตั้งแต่ในขั้นการพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคง
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอีกประการหนึ่ง นั่นคือ สหรัฐฯนั้นไม่ได้เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ เพราะถึงแม้จะได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาที่จัดตั้งศาลแห่งนี้ขึ้นมา ทว่าไม่ได้รับรองให้สัตยาบัน เขาบอก
ข้อเขียนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ทั้งนี้วิทยุเอเชียเสรีก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
UN panel warns North Korean leader on abuses
By Parameswaran Ponnudurai
18/02/2014
คณะทำงานชุดหนึ่งของสหประชาชาติ ได้ส่งหนังสือไปถึง คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยมีเนื้อหาเตือนเขาว่า เขาอาจจะถูกนำตัวมาดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศ จากการละเมิดสิทธิของประชาชนในด้านต่างๆ อย่างใหญ่โตกว้างขวางในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ คณะทำงานชุดนี้ซึ่งก็คือ คณะกรรมการสหประชาชาติเพื่อการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ ระบุว่า คิมน่าที่จะเป็น 1 ในบรรดาผู้นำ “หลายร้อยคน” ซึ่งอยู่เบื้องหลังการละเมิดอันมโหฬารชนิดเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติทีเดียว
คณะทำงานชุดหนึ่งของสหประชาชาติ ได้ส่งหนังสือไปถึง คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ โดยมีเนื้อหาเตือนเขาว่า เขาอาจจะถูกนำตัวมาดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศ จากการละเมิดสิทธิของประชาชนในด้านต่างๆ อย่างใหญ่โตกว้างขวางในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ยุคใหม่
คณะทำงานชุดนี้ซึ่งก็คือ คณะกรรมการสหประชาชาติเพื่อการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ (U.N. commission of inquiry of human rights abuses in North Korea) ระบุภายหลังดำเนินการสืบสวนสอบสวนมาเป็นเวลา 1 ปี ว่ามีผู้นำในรัฐคอมมิวนิสต์แนวทางแข็งกร้าวแห่งนี้จำนวน “หลายร้อยคน” โดยเป็นไปได้ว่าน่าจะรวมถึง คิม จองอึน ด้วย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้ ซึ่งถือว่าเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติทีเดียว
ไมเคิล เคอร์บี (Michael Kirby) ประธานของคณะทำงานที่มีสมาชิกรวม 3 คนชุดนี้ กล่าวเตือนในหนังสือส่งไปถึงคิมว่า เขาอาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court ใช้อักษรย่อว่า ICC) ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายหลังการสืบสวนสอบสวนของคณะทำงาน ซึ่งรวบรวบเรียบเรียงเอาไว้ในรายงานความยาวร่วมๆ 400 หน้าที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ที่ผ่านมา
ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งรัฐ และเป็นผู้บังคับบัญชาใหญ่โตสูงสุดของฝ่ายทหารของประเทศ คิมจึงต้องแบกรับความผิดส่วนบุคคลสำหรับอาชญากรรมเหล่านี้ด้วย เคอร์บี ระบุ
ในหนังสือลงวันที่ 20 มกราคม ซึ่งส่งไปพร้อมกับรายงานเล่มหนาเตอะฉบับนี้ เคอร์บี ซึ่งเป็นผู้พิพากษาชาวออสเตรเลียที่เกษียณอายุแล้ว ได้แจ้งกับคิมว่า จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการฟ้องร้องกล่าวโทษระดับระหว่างประเทศ “เพื่อไล่เรียงเอาผิดกับผู้ที่อาจจะต้องรับผิดชอบสำหรับการประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเหล่านี้ทุกๆ คน ซึ่งก็เป็นไปได้ว่ารวมทั้งตัวคุณเองด้วย”
ตัวเลขพวกเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือที่ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมดังกล่าวนี้ “รวมๆ กันแล้วอาจจะอยู่ระดับหลายร้อยทีเดียว” เคอร์บี กล่าวในอีกที่หนึ่ง
รายงานเล่มหนาฉบับนี้ ซึ่งรวบรวมเรียบเรียงขึ้นมาภายหลังคณะทำงานได้จัดการรับฟังปากคำของผู้เกี่ยวข้องทั้งในกรุงโซล, โตเกียว, ลอนดอน, และวอชิงตัน ระบุว่า “ได้มีและกำลังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกันอย่างเป็นระบบ, อย่างกว้างขวาง, และอย่างเบ็ดเสร็จ” กันอยู่ในเกาหลีเหนือ โดย “พวกสถาบันและพวกเจ้าหน้าที่” ของประเทศนี้
มีตัวอย่างเป็นจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นว่า การละเมิดเช่นนี้ “จัดอยู่ในลักษณะของการประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” รายงานบอก
“สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงการใช้อำนาจอย่างเกินเลยของรัฐ หากแต่เป็นส่วนประกอบหลักๆ ของระบบการเมืองหนึ่งซึ่งได้เคลื่อนห่างออกมาไกลโพ้นจากบรรดาอุดมคติทั้งหลายที่รัฐแห่งนี้อวดอ้างว่าเป็นรากฐานแห่งการถือกำเนิดของตน” รายงานกล่าว “ระดับความร้ายแรง, ขนาดขอบเขต, และธรรมชาติของการละเมิดเหล่านี้ ได้เปิดเผยให้เห็นถึงรัฐๆ หนึ่งซึ่งไม่มีรัฐอื่นใดเทียบเคียงได้เลยในโลกร่วมสมัยของเรานี้”
**ชวนให้หวนนึกถึงอาชญากรรมของพวกนาซี**
เคอร์บีบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า อาชญากรรมต่างๆ ที่คณะทำงานของเขารวบรวมและจำแนกแยกประเภทมาได้นั้น ชวนให้หวนระลึกไปถึงอาชญากรรมที่กระทำโดยพวกนาซีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
“อาชญากรรมบางอย่างนั้นช่างละม้ายคล้ายคลึงกันอย่างน่าตกใจ” เขากล่าว
รายงานฉบับนี้อธิบายแจกแจงถึงการประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในเกาหลีเหนือ ว่าประกอบไปด้วย “การทำลายให้สิ้นซาก, ฆาตกรรม, การเอาตัวมาเป็นทาส, การทรมาน, การคุมขัง, การข่มขืน, การบังคับทำแท้ง และความรุนแรงทางเพศลักษณะอื่นๆ, การกล่าวหาฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยเหตุผลทางด้านการเมือง ศาสนา เผ่าพันธุ์ และเพศภาวะ, การถ่ายเทโยกย้ายประชากรด้วยวิธีบังคับ, การทำให้บุคคลหายสาบสูญไปด้วยวิธีบังคับ, และการกระทำอันไร้ความเป็นมนุษย์ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่ากำลังทำให้ภาวะความอดอยากยิ่งยาวนานออกไป”
คณะทำงานชุดนี้ได้ยกตัวอย่างหลักฐานที่มอบให้โดยบรรดาเหยื่อบุคคลและพยานบุคคล ซึ่งระบุว่ามีการใช้ “วิธีปฏิบัติแบบทรมานย่ำยี” พวกนักโทษการเมือง โดยที่มีบางคนให้ปากคำว่าพวกเขาจะต้องจับงูและหนูมาป้อนให้เด็กทารกซึ่งอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร
คนอื่นๆ เล่าว่าต้องเฝ้าดูสมาชิกในครอบครัวที่กำลังถูกสังหารในค่ายเรือนจำ และได้เห็นนักโทษที่ป้องกันตนเองไม่ได้กำลังถูกใช้เป็นเป้าสำหรับการฝึกซ้อมศิลปะการป้องกันตัว
ผลการสืบสวนสอบสวนของคณะทำงานยูเอ็นชุดนี้ อิงอาศัยการให้ปากคำของพยาน 80 ปากในระหว่างการไต่สวนสาธารณะรวม 4 ครั้งเมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา และในการสัมภาษณ์บรรดาเหยื่อและคนอื่นๆ แบบปิดลับอีกกว่า 240 ครั้ง
รายงานฉบับนี้ประมาณการว่า ในเกาหลีเหนือมีนักโทษการเมืองระหว่าง 80,000 – 120,000 คน
ทางด้านเกาหลีเหนือนั้น ก็เป็นไปตามที่คาดหมายกันไว้ นั่นคือได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง โดยบอกว่ารายงานฉบับนี้เป็นเพียง “เครื่องมือของแผนกโลบายทางการเมืองซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะบ่อนทำลายระบบสังคมนิยม (ของเกาหลีเหนือ)” ตลอดจนมีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายชื่อเสียงของโสมแดง
การละเมิดสิทธิต่างๆ ตามที่ระบุเอาไว้ในรายงานฉบับนี้ “ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศของเรา” เกาหลีเหนือประกาศเอาไว้ในคำแถลง
โสมแดงนั้นปฏิเสธไม่ยอมเข้าร่วมในการสืบสวนสอบสวนคราวนี้ อีกทั้งปฏิเสธไม่ยินยอมอนุญาตให้สมาชิกของคณะทำงานเดินทางไปเยือนประเทศของตน
**จีนจะคัดค้านการยื่นฟ้องเกาหลีเหนือ**
ในส่วนของจีน ซึ่งเป็นพันธมิตรรายสำคัญที่สุดของเกาหลีเหนือนั้น ได้แถลงในวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า ตนจะคัดค้านความเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามในสหประชาชาติ ที่จะเสนอให้ส่งตัวพวกผู้นำของเกาหลีเหนือไปดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยแดนมังกรอ้างว่าการแก้ไขปัญหาด้านสิทธินั้นจะกระทำได้ก็ด้วยการพูดจาสนทนากัน
“ตัวดิฉันเองยังไม่ได้เห็นรายงานฉบับนี้ แต่จุดยืนของเราเกี่ยวกับเรื่องเช่นนี้นั้นมีความกระจ่างชัดเจนอยู่แล้ว นั่นก็คือ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ควรที่จะแก้ไขคลี่คลายโดยผ่านการพูดจาสนทนากันอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน” หวา ชุนอิง (Hua Chunying) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงต่อผู้สื่อข่าวในกรุงปักกิ่ง ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี
“การยื่นรายงานฉบับนี้ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ จะไม่ช่วยแก้ไขคลี่ตคลายสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไหนเลย” เธอกล่าวต่อ
อันที่จริง ในรายงานฉบับนี้ คณะทำงานของยูเอ็นได้เตือนจีนเอาไว้ด้วยว่า การที่แดนมังกรบังคับส่งผู้อพยพและผู้แปรพักตร์ชาวเกาหลีเหนือกลับคืนประเทศไปนั้น อาจจะเท่ากับ “การช่วยเหลือและการสนับสนุนการประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ”
ทว่าปักกิ่งแถลงตอบโต้ว่า จากข้อเท็จจริงที่ว่ามีผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือบางคนสามารถที่จะหาทางกลับเข้ามาในจีนได้อยู่เรื่อยๆ หลังจากที่พวกเขาถูกส่งตัวกลับไปแล้ว คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ในเรื่องการทรมานนั้นไม่เป็นความจริง
แต่สำหรับกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย ต่างพากันแสดงความยินดีต้อนรับรายงานสืบสวนสอบสวนฉบับนี้ โดยกล่าวว่าเป็นผลงานในระดับที่ถือเป็นหลักหมายใหม่ทีเดียว
“เป็นครั้งแรกที่องค์กรหนึ่งของสหประชาชาติยอมรับรู้รับทราบว่า รัฐบาลของเกาหลีเหนือกำลังประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และควรต้องไล่เรียงเอาความผิดกับพวกผู้นำของเกาหลีเหนือ” โรเบอร์โต โคเฮน (Roberta Cohen) ผู้เป็นประธานร่วมของคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ (Committee for Human Rights in North Korea ใช้อักษรย่อว่า HRNK) ซึ่งตั้งฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง
“ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับประชาคมโลกแล้วที่จะต้องลงมือทำ เพื่อพิทักษ์คุ้มครองพวกที่ถูกฟ้องร้องกล่าวโทษ และนำเอาตัวผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษตามระบบยุติธรรม” โคเฮน บอก
** “ภัยคุกคามจากนิวเคลียร์” บดบังเรื่อง “การละเมิดสิทธิ”**
ทางด้านองค์การฮิวแมน ไรต์ วอตช์ (Human Rights Watch) ซึ่งตั้งฐานอยู่ในนิวยอร์ก บอกว่า รายงานที่ “ชวนให้ตื่นตะลึง” ฉบับนี้ ควรที่จะเปิดตาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติ ให้เห็นถึง “การกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อน” ที่ประชาชนของเกาหลีเหนือต้องแบกรับ อีกทั้งยังเป็นสิ่งซึ่งกำลังคุกคามเสถียรภาพในภูมิภาคแถบนี้ด้วย
“ด้วยการมุ่งเน้นไปเพียงแค่เรื่องภัยคุกคามทางด้านนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือเท่านั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็กำลังละเลยอาชญากรรมต่างๆ ของพวกผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งกำลังเป็นผู้กำกับตรวจสอบทั้ง ระบบค่ายแรงงานอันป่าเถื่อนเหี้ยมโหด, การประหารชีวิตผู้คนต่อหน้าสาธารณชน, การหายสาบสูญ, และภาวะอดอยากของมวลชน” เคนเนธ รอธ (Kenneth Roth) ผู้อำนวยการบริหารของฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ระบุ
สำหรับ เกร็ก สคาร์ลาโตอิว (Greg Scarlatoiu) ผู้อำนวยการบริหารของคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ เขาจงใจกล่าวพาดพิงถึงจีนอย่างชัดเจน เมื่อพูดว่า “พวกสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ซึ่งกำลังพยายามที่จะสกัดกั้นการไล่เรียงเอาผิดกับผู้ที่ต้องรับผิดชอบในเกาหลีเหนือนั้น จะพบว่าราคาที่พวกเขาต้องจ่าย กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในระยะยาว”
แต่สำหรับในระยะสั้นแล้ว โอกาสดูมีเพียงน้อยนิดที่จะนำเอาตัว คิม และผู้นำเกาหลีเหนือคนอื่นๆ มาดำเนินคดีที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ
นอกเหนือจากที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่าจีนจะต้องใช้อำนาจวีโต้ยับยั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแล้ว สหรัฐฯก็อาจจะไม่กระตือรือร้นที่จะสนับสนุนความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ถึงแม้วอชิงตันให้การหนุนหลังอย่างเต็มที่ในตอนที่จัดตั้งและกำหนดภารกิจของคณะทำงานสืบสวนสอบสวนของสหประชาชาติชุดนี้ สคาร์ลาโตอิว บอก
เขาแจกแจงว่า เหตุผลประการหนึ่งก็คือ สหรัฐฯอาจจะ “มองว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่สร้างสรรค์ในทางการเมือง” เพราะมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จีนจะใช้อำนาจวีโต้กันตั้งแต่ในขั้นการพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคง
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอีกประการหนึ่ง นั่นคือ สหรัฐฯนั้นไม่ได้เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ เพราะถึงแม้จะได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาที่จัดตั้งศาลแห่งนี้ขึ้นมา ทว่าไม่ได้รับรองให้สัตยาบัน เขาบอก
ข้อเขียนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ทั้งนี้วิทยุเอเชียเสรีก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต