(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Abe tunes up to militant beat
By Nancy Snow
13/02/2014
การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันกับพวกหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ๆ ในเอเชีย ไม่ใช่แนวทางสำคัญของคณะรัฐบาลชินโซ อาเบะ ในกรุงโตเกียวแต่อย่างใด ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการเพิ่มพูนความไว้วางใจกันกับประชาคมระหว่างประเทศ สไตล์ของเขานั้นคือการกระหน่ำตีกลองศึกให้คำรามกึกก้องเข้าไว้มากกว่า ดังมีตัวอย่างให้เห็นจากการที่นายกรัฐมนตรีผู้นี้เดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิ และการที่เขาเคารพเลื่อมใสในตัว โนบุซุเกะ คิชิ คุณตาของเขา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**เร่งเครื่องในเชิงปริมาณ**
กลไกสร้างความฮิตฮอตให้แก่ตนเองของอาเบะนั้น มุ่งร่ายมนตร์สร้างภาพลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นว่า กำลังมุ่งเสาะแสวงหา “ที-โซน” (T-zone ปกติหมายถึงส่วนของใบหน้าที่จะมันมากกว่าส่วนอื่นๆ โดยเริ่มตั้งแต่หน้าผากลงมาที่จมูก, ปาก, และสิ้นสุดที่คาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนตัวอักษร T แต่ในที่นี้ผู้เขียนน่าจะหมายถึงหน้าตา, อิทธิพลบารมี ของประเทศ -ผู้แปล) ของตนเอง ภายหลังที่ต้องจมถลำอยู่ในช่วงเวลาหลายทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน –ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองแล้ว ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจอย่างยาวนานเช่นนี้ ย่อมเท่ากับการมีมีฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน ในระดับต่ำ หรือ “โลว์ ที” (Low T) นั่นเอง แล้วเมื่อมองกันต่อไปอีกจากแง่นี้ แรงขับดันของอาเบะในเรื่องการมุ่งขยายความยอดเยี่ยมเหนือชั้นของญี่ปุ่น ทั้งในทางการทหารและทางเศรษฐกิจนั้น ในทางปฏิบัติแล้วมันก็คือการบำรุงเสริมสร้างการเมืองแบบที่มีธาตุของเพศชาย (masculine politics) ให้แข็งแกร่ง
สำหรับการพร่ำพูดเกี่ยวกับเรื่อง การเพิ่มบทบาทของผู้หญิงในด้านเศรษฐกิจ (Womenomics) โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของ “อาเบะโนมิกส์” (Abenomics) นั้น เอาเข้าจริงก็อยู่ในลักษณะเอาไว้อวดโชว์มากกว่าจะมีการดำเนินการอะไรอย่างจริงจัง ถึงแม้ อาเบะ ได้เคยพูดในที่สาธารณะยืนยันรับรองถึงบทบาทความสำคัญของผู้หญิงในการฟื้นฟูชุบชีวิตเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็จริงอยู่ แต่ในสังคมญี่ปุ่นนั้น ไม่มีใครหน้าไหนหรอกที่ยินดีต่อสู้อย่างชนิดพร้อมยอมตายถวายชีวิตให้เพื่อให้มีการยอมรับคุณค่าของสตรีอย่างเป็นระบบ
เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum) จัดให้ญี่ปุ่นรั้งอยู่ในอันดับ 105 ทีเดียว จากจำนวนทั้งหมด 136 ชาติซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานว่าด้วยช่องว่างทางเพศภาวะทั่วโลก (Global Gender Gap Report) ประจำปี 2013 ของตน โดยที่การจัดอันดับของรายงานฉบับนี้ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาจากความแตกต่างระหว่างชายกับหญิง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, การศึกษา, และสุขภาพ ทั้งนี้ในแดนอาทิตย์อุทัย ผู้บริหารที่เป็นสตรีมีสัดส่วนเพียงแค่เท่ากับ 11% ของผู้ดำรงตำแหน่งระดับผู้จัดการในแวดวงธุรกิจภาคเอกชนทั้งหมด และผู้หญิงชาวญี่ปุ่นถึงเกือบๆ สองในสามทีเดียวจะลาออกจากการงานอาชีพของพวกเธออย่างสิ้นเชิงหลังจากคลอดบุตรคนแรก
ในสังคมซึ่งเน้นหนักที่ผู้ชายเฉกเช่นญี่ปุ่น ตลอดจนในวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของทุกวันนี้ การเมืองล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของการครอบงำ, การแข่งขัน, และการมีผลงานที่เหนือกว่า อาเบะนั้นเป็นคนที่เชื่อในเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่แบบโบร่ำโบราณทีเดียว เขามีความต้องการที่จะเป็นผู้ทรงอำนาจที่ถือไพ่เหนือกว่าคนอื่นๆ แบบเดียวกับ บุช, ปูติน, หรือพวกนักเรียนชายผู้มีพรสวรรค์ทางด้านกีฬาซึ่งกำลังเรียนอยู่ในเกรด 11 แทบทุกคน ผู้หญิงนั้นจะได้รับการต้อนรับด้วยความยินดีให้ร่วมเดินทางไปด้วย ตราบเท่าที่พวกเธอยังไม่ได้แสดงอาการหืออือ กล้าท้าทายสถานะเดิม
**การโจมตีตอบโต้กลับในวันบ็อกซิ่งเดย์**
อาเบะเลือกเอาวันหลังจากคริสต์มาส มาเป็นฤกษ์ในการไปสักการะสุสานแห่งสงครามซึ่งขาดไร้ความถูกต้องชอบธรรมทางการเมืองอย่างศาลเจ้ายาสุคุนิ ที่นั่นนอกจากเป็นที่สถิตป้ายวิญญาณของบุคคลผู้เสียชีวิตไปในสงครามครั้งต่างๆ ของญี่ปุ่นจำนวนราว 2.5 ล้านคนแล้ว ยังเป็นสถานที่ซึ่งเชิดชูให้เกียรติอาชญากรสงครามและฆาตกรจอมสังหารมวลชนระดับ “คลาส เอ” รวม 14 คน ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายๆ กรณี รวมทั้งกรณีที่ฉาวโฉ่โด่งดังอย่าง การฆ่าข่มขืนสุดโหดที่เมืองนานกิง แม้กระทั่งเถ้าถ่านหลังฌาปนกิจศพของ ฮิเดกิ โตโจ (Hideki Tojo) อดีตนายกรัฐมนตรีสมัยสงครามก็ถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่นั่น ซึ่งเฉพาะเพียงแค่กรณีนี้กรณีเดียวก็เพียงพอที่จะเป็นเหตุผลให้หลีกเลี่ยงการไปแสดงการคารวะศาลเจ้าแห่งนี้ได้แล้ว นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในช่วงหลังๆ ก็พากันหลีกเลี่ยงไม่ไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิระหว่างที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ รวมแล้วไม่มีหัวหน้าฝ่ายบริหารของแดนอาทิตย์อุทัยไปโค้งคำนับคารวะที่นั่นเป็นระยะเวลา 7 ปีทีเดียว การไปยังศาลเจ้าแห่งนี้กำลังเหมือนกับการเปิดตัวเองให้ถูกฉายด้วยกัมมันตภาพรังสีทางการเมืองเข้าไปทุกทีๆ แม้กระทั่งรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ยังใช้เวลาราว 1 ชั่วโมงในการพูดคุยทางโทรศัพท์เพื่อโน้มน้าวเกลี้ยกล่อมอาเบะ อย่าได้ก้าวข้ามธรณีประตูของยาสุคุนิ ทว่าอย่างที่ทราบกันแล้ว ไบเดนประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
ในทางเป็นจริงแล้ว อาเบะเดินทางไปยังศาลเจ้ายาสุคุนิ เนื่องจากจังหวะกลองศึกแห่งจิตวิญญาณบรรพบุรุษของเขา พวกนักเฝ้าจับตามองอาเบะต่างทราบกันดีว่า ชินโซ อาเบะ นั้น เคารพเลื่อมใสในตัว โนบุซุเกะ คิชิ (Nobusuke Kishi) ผู้เป็นคุณตาแท้ๆ ของเขา ถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรีผู้นี้เชื่อมโยงผูกพันตนเองเข้ากับคุณตา ยิ่งกว่ากับ ชินตาโร อาเบะ (Shintaro Abe) คุณพ่อของเขาเองเสียอีก ทั้งนี้อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ชินตาโร อาเบะ คือผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิด“กองทุนวิจัยอาเบะ” (Abe Fellowship) ซึ่งเป็นสปอนเซอร์ให้แก่การทำงานวิจัยของดิฉันอยู่ในขณะนี้ คิชิ ผู้ถึงแก่อสัญกรรมไปในปี 1987 เมื่อตอนที่ ชินโซ อายุ 33 ปี มีความสำคัญในฐานะที่เป็นผู้ส่งทอดมรดกให้แก่หลานชาย ทำนองเดียวกับที่ จอร์จ มาร์ติน (George Martin) มีความสำคัญต่อเดอะบีทเทิลส์ทีเดียว คิชิ ยังดูเหมือนกับปรากฏตัวอย่างเงียบๆ มั่นคงสม่ำเสมอเบื้องหลังก้าวเดินทุกๆ ก้าวของอาเบะในปัจจุบัน
ประวัติชีวิตของ คิชิ นับว่าเด่นล้ำผิดธรรมดา จนกระทั่งบดบังรัศมีของ ชินโซ อาเบะ ที่จัดว่าชีวิตมีความโลดโผนไม่ใช่น้อยๆ อยู่แล้ว จากการที่เขาเคยตกต่ำถูกหยามเหยียดในทางการเมือง และต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากนั่งเก้าอี้ตัวนี้ไปได้ 12 เดือนเมื่อปี 2007 สำหรับ คิชิ นั้นถึงขนาดเคยถูกประทับตราว่าเป็นอาชญากรสงครามระดับคลาส เอ มาแล้ว และถูกจำคุกเป็นเวลา 3 ปีในระหว่างที่กองทัพสหรัฐฯเข้ายึดครองญี่ปุ่นผู้พ่ายแพ้สงคราม แต่หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระเช่นเดียวกับจำเลยคนอื่นๆ สืบเนื่องจากความพยายามของสหรัฐฯที่จะสร้างญี่ปุ่นภายหลังสงครามให้กลายเป็นชาติที่หลุดออกจากระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ในอดีต ขณะเดียวกันก็ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างแข็งกร้าว
ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรมในคณะรัฐมนตรีของฮิเดกิ โตโจ ตัว คิชิ ย่อมต้องอยู่ร่วมในการตัดสินใจให้เข้าโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) และจุดชนวนให้อเมริกาเข้าสู่สงคราม แม้กระทั่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คิชิ ก็ยังคงเป็นก็อดฟาเธอร์ของ ลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party) พรรคการเมืองอนุรักษนิยมซึ่งสามารถกุมอำนาจเหนือวงการเมืองญี่ปุ่นอย่างยาวนานต่อเนื่องเป็นเวลาร่วมๆ 60 ปี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่นเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะฟื้นฟูชื่อเสียงเกียรติคุณของคุณตาของเขา ในฐานะที่เป็นบุรุษผู้มีความรักชาติอันยิ่งใหญ่ และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อรัฐญี่ปุ่น
จากที่เคยเป็นนักโทษต้องคดีอาชญากรสงคราม คิชิสามารถกลับพลิกฟื้นผงาดขึ้นมาจากกองขี้เถ้าได้ราวกับปาฏิหาริย์ จนได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ผลักดันสนธิสัญญาความมั่นคงสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น (U.S.-Japan Security Treaty) ให้ผ่านรัฐสภาของแดนอาทิตย์อุทัยในเดือนพฤษภาคม 1960 แรกเริ่มเดิมทีนั้น คิชิ คัดค้านสนธิสัญญาความมั่นคงฉบับนี้ซึ่งฝ่ายอเมริกันบังคับให้ญี่ปุ่นต้องยอมรับ ทว่าฉบับแก้ไขปรับปรุงกลายเป็นเวอร์ชั่นปี 1960 นั้นเห็นกันว่าเป็นการประนีประนอมที่ควรต้องยินยอม เพื่อเอาชนะใจวอชิงตัน ถึงแม้มันจะนำไปสู่การประท้วงใหญ่ของพวกนักชาตินิยมปีกขวา ซึ่งในที่สุดแล้วก็ส่งผลเร่งรัดให้ คิชิ ต้องยื่นใบลาออกในอีก 2 เดือนถัดมา สนธิสัญญาฉบับนี้ก็คือฉบับเดียวกับที่หลานชาย ชินโซ อาเบ เวลานี้กำลังพยายามผลักดันให้มีการปรับปรุงแก้ไขสาระสำคัญ จากที่กำหนดให้ญี่ปุ่นแสดงบทบาทด้านการป้องกันประเทศ ในลักษณะของ “การป้องกันที่มุ่งเพื่อการป้องกันจริงๆ เท่านั้น” อีกทั้งต้องคอยซุกปีกอยู่ใต้การพิทักษ์คุ้มครองของสหรัฐฯ ก็จะให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนไปในทางที่มีอิสระเพิ่มมากขึ้น กระทั่งในการเป็นฝ่ายรุกทางการทหาร
เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ อาเบะอาจจะมีด้านที่คำนึงถึงผลในทางปฏิบัติ ดังที่ได้แสดงบทบาทกระตุ้นส่งเสริมเศรษฐกิจของญี่ปุ่นตลอดช่วงปี 2013 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของเขาแล้ว มันไม่มีการยอมรับให้คงความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ เอาไว้ ไม่มีการลดหย่อนโดยคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติ มีแต่การเบ่งกล้ามโอ่อวดความหน้าใหญ่หน้าโต มีแต่การขยายอิทธิพลบารมี
ตอนที่วงเดอะบีทเทิลส์ออกอัลบั้ม “แอบบีย์ โรด” ในปี 1969 นั้น ปรากฏว่ามันกลายเป็นอัลบั้มที่จัดทำในสตูดิโออัลบั้มสุดท้ายของพวกเขา และน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในผลงานดีเยี่ยมที่สุดของพวกเขาด้วย เพลงซิงเกิลหนึ่งในอัลบั้มนี้คือเพลง “Come Together” อีก 1 ปีถัดมา วงก็แตกเป็นเสี่ยงๆ ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของโลกดนตรี “ความฮิตฮอต” ของ “อาเบะ โรด” นั้น ก็คล้ายคลึงกับลูกศรพิษถึงตายที่กำลังปักอยู่บนกลางแผ่นหลังแห่งความอดกลั้น, ความไม่ยินยอมเห็นพ้อง, ตลอดจนการเข้ามีส่วนร่วมของสาธารณชน ถ้าหากประชาชนพลเมืองในญี่ปุ่นยังคงไม่พร้อมที่จะเปล่งเสียงของพวกตนออกมาให้ดังกัมปนาทแล้ว นับวันความฮิตฮอตเช่นนี้ก็จะเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ
แนนซี สโนว์ เป็นนักวิจัยทุนอาเบะ และศาสตราจารย์อาคันตุกะที่มหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ในกรุงโตเกียว เธอกำลังเขียนหนังสือว่าด้วยแบรนด์ภาพลักษณ์ประเทศของญี่ปุ่นนับแต่มหาภัยพิบัติเดือนมีนาคม 2011 ซึ่งใกล้ที่จะเสร็จแล้ว เธอเป็นศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท (California State University) เมืองฟุลเลอร์ตัน (Fullerton), เป็นผู้เขียน/บรรณาธิการหนังสือรวม 9 เล่ม ปัจจุบันพำนักอาศัยด้วยการทำงานพาร์ตไทมส์อยู่ในโตเกียว สามารถติดต่อเธอได้ที่ www.nancysnow.com
ข้อเขียนนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน “ฟอเรนจ์ โพลิซี อิน โฟกัส” (Foreign Policy in Focus หรือ FPIF เว็บไซต์ http://fpif.org/) ซึ่งมุ่งเสนอบทวิเคราะห์อันทันการณ์ในด้านนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯและด้านกิจการระหว่างประเทศ ตลอดจนเสนอแนะทางเลือกต่างๆ ทางนโยบาย ทั้งนี้ FPIF เป็นโครงการหนึ่งของสถาบันเพื่อนโยบายศึกษา (Institute for Policy Studies) กลุ่มคลังสมองซึ่งมีแนวทางความคิดแบบก้าวหน้า ที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตัน
Abe tunes up to militant beat
By Nancy Snow
13/02/2014
การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันกับพวกหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ๆ ในเอเชีย ไม่ใช่แนวทางสำคัญของคณะรัฐบาลชินโซ อาเบะ ในกรุงโตเกียวแต่อย่างใด ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการเพิ่มพูนความไว้วางใจกันกับประชาคมระหว่างประเทศ สไตล์ของเขานั้นคือการกระหน่ำตีกลองศึกให้คำรามกึกก้องเข้าไว้มากกว่า ดังมีตัวอย่างให้เห็นจากการที่นายกรัฐมนตรีผู้นี้เดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิ และการที่เขาเคารพเลื่อมใสในตัว โนบุซุเกะ คิชิ คุณตาของเขา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**เร่งเครื่องในเชิงปริมาณ**
กลไกสร้างความฮิตฮอตให้แก่ตนเองของอาเบะนั้น มุ่งร่ายมนตร์สร้างภาพลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นว่า กำลังมุ่งเสาะแสวงหา “ที-โซน” (T-zone ปกติหมายถึงส่วนของใบหน้าที่จะมันมากกว่าส่วนอื่นๆ โดยเริ่มตั้งแต่หน้าผากลงมาที่จมูก, ปาก, และสิ้นสุดที่คาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนตัวอักษร T แต่ในที่นี้ผู้เขียนน่าจะหมายถึงหน้าตา, อิทธิพลบารมี ของประเทศ -ผู้แปล) ของตนเอง ภายหลังที่ต้องจมถลำอยู่ในช่วงเวลาหลายทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน –ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองแล้ว ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจอย่างยาวนานเช่นนี้ ย่อมเท่ากับการมีมีฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน ในระดับต่ำ หรือ “โลว์ ที” (Low T) นั่นเอง แล้วเมื่อมองกันต่อไปอีกจากแง่นี้ แรงขับดันของอาเบะในเรื่องการมุ่งขยายความยอดเยี่ยมเหนือชั้นของญี่ปุ่น ทั้งในทางการทหารและทางเศรษฐกิจนั้น ในทางปฏิบัติแล้วมันก็คือการบำรุงเสริมสร้างการเมืองแบบที่มีธาตุของเพศชาย (masculine politics) ให้แข็งแกร่ง
สำหรับการพร่ำพูดเกี่ยวกับเรื่อง การเพิ่มบทบาทของผู้หญิงในด้านเศรษฐกิจ (Womenomics) โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของ “อาเบะโนมิกส์” (Abenomics) นั้น เอาเข้าจริงก็อยู่ในลักษณะเอาไว้อวดโชว์มากกว่าจะมีการดำเนินการอะไรอย่างจริงจัง ถึงแม้ อาเบะ ได้เคยพูดในที่สาธารณะยืนยันรับรองถึงบทบาทความสำคัญของผู้หญิงในการฟื้นฟูชุบชีวิตเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็จริงอยู่ แต่ในสังคมญี่ปุ่นนั้น ไม่มีใครหน้าไหนหรอกที่ยินดีต่อสู้อย่างชนิดพร้อมยอมตายถวายชีวิตให้เพื่อให้มีการยอมรับคุณค่าของสตรีอย่างเป็นระบบ
เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum) จัดให้ญี่ปุ่นรั้งอยู่ในอันดับ 105 ทีเดียว จากจำนวนทั้งหมด 136 ชาติซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานว่าด้วยช่องว่างทางเพศภาวะทั่วโลก (Global Gender Gap Report) ประจำปี 2013 ของตน โดยที่การจัดอันดับของรายงานฉบับนี้ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาจากความแตกต่างระหว่างชายกับหญิง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ, การเมือง, การศึกษา, และสุขภาพ ทั้งนี้ในแดนอาทิตย์อุทัย ผู้บริหารที่เป็นสตรีมีสัดส่วนเพียงแค่เท่ากับ 11% ของผู้ดำรงตำแหน่งระดับผู้จัดการในแวดวงธุรกิจภาคเอกชนทั้งหมด และผู้หญิงชาวญี่ปุ่นถึงเกือบๆ สองในสามทีเดียวจะลาออกจากการงานอาชีพของพวกเธออย่างสิ้นเชิงหลังจากคลอดบุตรคนแรก
ในสังคมซึ่งเน้นหนักที่ผู้ชายเฉกเช่นญี่ปุ่น ตลอดจนในวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของทุกวันนี้ การเมืองล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของการครอบงำ, การแข่งขัน, และการมีผลงานที่เหนือกว่า อาเบะนั้นเป็นคนที่เชื่อในเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่แบบโบร่ำโบราณทีเดียว เขามีความต้องการที่จะเป็นผู้ทรงอำนาจที่ถือไพ่เหนือกว่าคนอื่นๆ แบบเดียวกับ บุช, ปูติน, หรือพวกนักเรียนชายผู้มีพรสวรรค์ทางด้านกีฬาซึ่งกำลังเรียนอยู่ในเกรด 11 แทบทุกคน ผู้หญิงนั้นจะได้รับการต้อนรับด้วยความยินดีให้ร่วมเดินทางไปด้วย ตราบเท่าที่พวกเธอยังไม่ได้แสดงอาการหืออือ กล้าท้าทายสถานะเดิม
**การโจมตีตอบโต้กลับในวันบ็อกซิ่งเดย์**
อาเบะเลือกเอาวันหลังจากคริสต์มาส มาเป็นฤกษ์ในการไปสักการะสุสานแห่งสงครามซึ่งขาดไร้ความถูกต้องชอบธรรมทางการเมืองอย่างศาลเจ้ายาสุคุนิ ที่นั่นนอกจากเป็นที่สถิตป้ายวิญญาณของบุคคลผู้เสียชีวิตไปในสงครามครั้งต่างๆ ของญี่ปุ่นจำนวนราว 2.5 ล้านคนแล้ว ยังเป็นสถานที่ซึ่งเชิดชูให้เกียรติอาชญากรสงครามและฆาตกรจอมสังหารมวลชนระดับ “คลาส เอ” รวม 14 คน ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายๆ กรณี รวมทั้งกรณีที่ฉาวโฉ่โด่งดังอย่าง การฆ่าข่มขืนสุดโหดที่เมืองนานกิง แม้กระทั่งเถ้าถ่านหลังฌาปนกิจศพของ ฮิเดกิ โตโจ (Hideki Tojo) อดีตนายกรัฐมนตรีสมัยสงครามก็ถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่นั่น ซึ่งเฉพาะเพียงแค่กรณีนี้กรณีเดียวก็เพียงพอที่จะเป็นเหตุผลให้หลีกเลี่ยงการไปแสดงการคารวะศาลเจ้าแห่งนี้ได้แล้ว นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในช่วงหลังๆ ก็พากันหลีกเลี่ยงไม่ไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิระหว่างที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ รวมแล้วไม่มีหัวหน้าฝ่ายบริหารของแดนอาทิตย์อุทัยไปโค้งคำนับคารวะที่นั่นเป็นระยะเวลา 7 ปีทีเดียว การไปยังศาลเจ้าแห่งนี้กำลังเหมือนกับการเปิดตัวเองให้ถูกฉายด้วยกัมมันตภาพรังสีทางการเมืองเข้าไปทุกทีๆ แม้กระทั่งรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ยังใช้เวลาราว 1 ชั่วโมงในการพูดคุยทางโทรศัพท์เพื่อโน้มน้าวเกลี้ยกล่อมอาเบะ อย่าได้ก้าวข้ามธรณีประตูของยาสุคุนิ ทว่าอย่างที่ทราบกันแล้ว ไบเดนประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
ในทางเป็นจริงแล้ว อาเบะเดินทางไปยังศาลเจ้ายาสุคุนิ เนื่องจากจังหวะกลองศึกแห่งจิตวิญญาณบรรพบุรุษของเขา พวกนักเฝ้าจับตามองอาเบะต่างทราบกันดีว่า ชินโซ อาเบะ นั้น เคารพเลื่อมใสในตัว โนบุซุเกะ คิชิ (Nobusuke Kishi) ผู้เป็นคุณตาแท้ๆ ของเขา ถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรีผู้นี้เชื่อมโยงผูกพันตนเองเข้ากับคุณตา ยิ่งกว่ากับ ชินตาโร อาเบะ (Shintaro Abe) คุณพ่อของเขาเองเสียอีก ทั้งนี้อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ชินตาโร อาเบะ คือผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิด“กองทุนวิจัยอาเบะ” (Abe Fellowship) ซึ่งเป็นสปอนเซอร์ให้แก่การทำงานวิจัยของดิฉันอยู่ในขณะนี้ คิชิ ผู้ถึงแก่อสัญกรรมไปในปี 1987 เมื่อตอนที่ ชินโซ อายุ 33 ปี มีความสำคัญในฐานะที่เป็นผู้ส่งทอดมรดกให้แก่หลานชาย ทำนองเดียวกับที่ จอร์จ มาร์ติน (George Martin) มีความสำคัญต่อเดอะบีทเทิลส์ทีเดียว คิชิ ยังดูเหมือนกับปรากฏตัวอย่างเงียบๆ มั่นคงสม่ำเสมอเบื้องหลังก้าวเดินทุกๆ ก้าวของอาเบะในปัจจุบัน
ประวัติชีวิตของ คิชิ นับว่าเด่นล้ำผิดธรรมดา จนกระทั่งบดบังรัศมีของ ชินโซ อาเบะ ที่จัดว่าชีวิตมีความโลดโผนไม่ใช่น้อยๆ อยู่แล้ว จากการที่เขาเคยตกต่ำถูกหยามเหยียดในทางการเมือง และต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากนั่งเก้าอี้ตัวนี้ไปได้ 12 เดือนเมื่อปี 2007 สำหรับ คิชิ นั้นถึงขนาดเคยถูกประทับตราว่าเป็นอาชญากรสงครามระดับคลาส เอ มาแล้ว และถูกจำคุกเป็นเวลา 3 ปีในระหว่างที่กองทัพสหรัฐฯเข้ายึดครองญี่ปุ่นผู้พ่ายแพ้สงคราม แต่หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระเช่นเดียวกับจำเลยคนอื่นๆ สืบเนื่องจากความพยายามของสหรัฐฯที่จะสร้างญี่ปุ่นภายหลังสงครามให้กลายเป็นชาติที่หลุดออกจากระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ในอดีต ขณะเดียวกันก็ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างแข็งกร้าว
ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีพาณิชย์และอุตสาหกรรมในคณะรัฐมนตรีของฮิเดกิ โตโจ ตัว คิชิ ย่อมต้องอยู่ร่วมในการตัดสินใจให้เข้าโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) และจุดชนวนให้อเมริกาเข้าสู่สงคราม แม้กระทั่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คิชิ ก็ยังคงเป็นก็อดฟาเธอร์ของ ลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party) พรรคการเมืองอนุรักษนิยมซึ่งสามารถกุมอำนาจเหนือวงการเมืองญี่ปุ่นอย่างยาวนานต่อเนื่องเป็นเวลาร่วมๆ 60 ปี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่นเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะฟื้นฟูชื่อเสียงเกียรติคุณของคุณตาของเขา ในฐานะที่เป็นบุรุษผู้มีความรักชาติอันยิ่งใหญ่ และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อรัฐญี่ปุ่น
จากที่เคยเป็นนักโทษต้องคดีอาชญากรสงคราม คิชิสามารถกลับพลิกฟื้นผงาดขึ้นมาจากกองขี้เถ้าได้ราวกับปาฏิหาริย์ จนได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ผลักดันสนธิสัญญาความมั่นคงสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น (U.S.-Japan Security Treaty) ให้ผ่านรัฐสภาของแดนอาทิตย์อุทัยในเดือนพฤษภาคม 1960 แรกเริ่มเดิมทีนั้น คิชิ คัดค้านสนธิสัญญาความมั่นคงฉบับนี้ซึ่งฝ่ายอเมริกันบังคับให้ญี่ปุ่นต้องยอมรับ ทว่าฉบับแก้ไขปรับปรุงกลายเป็นเวอร์ชั่นปี 1960 นั้นเห็นกันว่าเป็นการประนีประนอมที่ควรต้องยินยอม เพื่อเอาชนะใจวอชิงตัน ถึงแม้มันจะนำไปสู่การประท้วงใหญ่ของพวกนักชาตินิยมปีกขวา ซึ่งในที่สุดแล้วก็ส่งผลเร่งรัดให้ คิชิ ต้องยื่นใบลาออกในอีก 2 เดือนถัดมา สนธิสัญญาฉบับนี้ก็คือฉบับเดียวกับที่หลานชาย ชินโซ อาเบ เวลานี้กำลังพยายามผลักดันให้มีการปรับปรุงแก้ไขสาระสำคัญ จากที่กำหนดให้ญี่ปุ่นแสดงบทบาทด้านการป้องกันประเทศ ในลักษณะของ “การป้องกันที่มุ่งเพื่อการป้องกันจริงๆ เท่านั้น” อีกทั้งต้องคอยซุกปีกอยู่ใต้การพิทักษ์คุ้มครองของสหรัฐฯ ก็จะให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนไปในทางที่มีอิสระเพิ่มมากขึ้น กระทั่งในการเป็นฝ่ายรุกทางการทหาร
เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ อาเบะอาจจะมีด้านที่คำนึงถึงผลในทางปฏิบัติ ดังที่ได้แสดงบทบาทกระตุ้นส่งเสริมเศรษฐกิจของญี่ปุ่นตลอดช่วงปี 2013 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของเขาแล้ว มันไม่มีการยอมรับให้คงความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ เอาไว้ ไม่มีการลดหย่อนโดยคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติ มีแต่การเบ่งกล้ามโอ่อวดความหน้าใหญ่หน้าโต มีแต่การขยายอิทธิพลบารมี
ตอนที่วงเดอะบีทเทิลส์ออกอัลบั้ม “แอบบีย์ โรด” ในปี 1969 นั้น ปรากฏว่ามันกลายเป็นอัลบั้มที่จัดทำในสตูดิโออัลบั้มสุดท้ายของพวกเขา และน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในผลงานดีเยี่ยมที่สุดของพวกเขาด้วย เพลงซิงเกิลหนึ่งในอัลบั้มนี้คือเพลง “Come Together” อีก 1 ปีถัดมา วงก็แตกเป็นเสี่ยงๆ ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของโลกดนตรี “ความฮิตฮอต” ของ “อาเบะ โรด” นั้น ก็คล้ายคลึงกับลูกศรพิษถึงตายที่กำลังปักอยู่บนกลางแผ่นหลังแห่งความอดกลั้น, ความไม่ยินยอมเห็นพ้อง, ตลอดจนการเข้ามีส่วนร่วมของสาธารณชน ถ้าหากประชาชนพลเมืองในญี่ปุ่นยังคงไม่พร้อมที่จะเปล่งเสียงของพวกตนออกมาให้ดังกัมปนาทแล้ว นับวันความฮิตฮอตเช่นนี้ก็จะเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ
แนนซี สโนว์ เป็นนักวิจัยทุนอาเบะ และศาสตราจารย์อาคันตุกะที่มหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ในกรุงโตเกียว เธอกำลังเขียนหนังสือว่าด้วยแบรนด์ภาพลักษณ์ประเทศของญี่ปุ่นนับแต่มหาภัยพิบัติเดือนมีนาคม 2011 ซึ่งใกล้ที่จะเสร็จแล้ว เธอเป็นศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท (California State University) เมืองฟุลเลอร์ตัน (Fullerton), เป็นผู้เขียน/บรรณาธิการหนังสือรวม 9 เล่ม ปัจจุบันพำนักอาศัยด้วยการทำงานพาร์ตไทมส์อยู่ในโตเกียว สามารถติดต่อเธอได้ที่ www.nancysnow.com
ข้อเขียนนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน “ฟอเรนจ์ โพลิซี อิน โฟกัส” (Foreign Policy in Focus หรือ FPIF เว็บไซต์ http://fpif.org/) ซึ่งมุ่งเสนอบทวิเคราะห์อันทันการณ์ในด้านนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯและด้านกิจการระหว่างประเทศ ตลอดจนเสนอแนะทางเลือกต่างๆ ทางนโยบาย ทั้งนี้ FPIF เป็นโครงการหนึ่งของสถาบันเพื่อนโยบายศึกษา (Institute for Policy Studies) กลุ่มคลังสมองซึ่งมีแนวทางความคิดแบบก้าวหน้า ที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตัน