(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Laos falls short of rice target
By Radio Free Asia
05/02/2014
ลาวกำลังปลูกข้าวได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับฤดูนี้ไปมากทีเดียว สาเหตุที่สำคัญเนื่องมาจากระบบชลประทานที่ย่ำแย่ รวมทั้งการที่พวกพืชเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้ราคาดีกว่า จึงผลักดันให้ชาวนาลดการปลูกข้าวลงไป
ลาวกำลังปลูกข้าวได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับฤดูนี้ไปมากทีเดียว สาเหตุที่สำคัญเนื่องมาจากระบบชลประทานที่ย่ำแย่ รวมทั้งการที่พวกพืชเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้ราคาดีกว่า จึงผลักดันให้ชาวนาลดการปลูกข้าวลงไป ทั้งนี้ตามรายงานของพวกเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน
กระทรวงเกษตรและป่าไม้ ได้เร่งเร้าให้ชาวนาทั่วประเทศลงมือปลูกข้าวให้ได้เป็นจำนวน 126,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 787,500 ไร่) ในหน้าแล้งนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน
ทว่าชาวนากลับหลีกหนีการปลูกข้าวที่ต้องอาศัยน้ำเป็นอันมาก และหันไปปลูกพวกพืชผักพืชไร่แทน จึงทำให้มีการปลูกข้าวกันจริงๆ เพียงแค่ 44,100 เฮกตาร์ (ราว 275,625 ไร่) หรือเท่ากับ 35% ของเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้เท่านั้น ทั้งนี้ตามตัวเลขสถิติของรัฐบาล
สภาพเช่นนี้จะทำให้ลาวเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูนี้ได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดถึงราวๆ 500,000 ตัน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ผู้หนึ่งบอกกับวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาลาว (RFA’s Lao Service)
“แผนการสำหรับการปลูกข้าวในฤดูแล้งนี้ สามารถทำได้เพียงแค่ 35% ของเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้เท่านั้น เพราะมีชาวนาจำนวนมากหันไปปลูกพวกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ กัน” เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าว โดยที่ขอให้สงวนนาม
“เมื่อเป็นอย่างนี้ ผลผลิตข้าวสำหรับฤดูนี้ก็จะได้ไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนด” เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวต่อ
**ลดลงอย่างฮวบฮาบ**
ทางด้านหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์ (Vientiane Times) ของทางการลาวก็รายงานว่า เนื้อที่เพาะปลูกข้าวในปีนี้ ลดลงอย่างฮวบฮาบ จากระดับ 96,200 เฮกตาร์ (ราว 601,250 ไร่) ในหน้าแล้งของปี 2013 ซึ่งก็ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของปีนั้นอยู่แล้ว
กระทรวงเกษตรและป่าไม้เชื่อว่า การที่ชาวนาไม่ค่อยอยากจะปลูกข้าวกัน เป็นเพราะว่าราคาข้าวต่ำมาก ตลอดจนการที่ระบบชลประทานทางภาคเหนือของประเทศจ่ายน้ำให้ไม่เพียงพอ ทั้งนี้การปลูกข้าวทางภาคเหนือต้องพึ่งพาอาศัยการชลประทานอย่างมากมายยิ่งกว่าทางภาคใต้นัก เวียงจันทน์ไทมส์ระบุ
แทนที่จะปลูกข้าว เวลานี้พวกชาวนาในภาคเหนือต่างกำลังใช้พื้นที่ไร่นามาปลูกผักและพืชไร่อื่นๆ อย่างเช่น แตงโม, ถั่ว, มะเขือยาว, มะเขือเทศ, และพริก รายงานของเวียงจันทน์ไทมส์บอก
ทางกระทรวงเกษตรและป่าไม้เองได้ใช้ความพยายามอยู่มากในเรื่องระบบชลประทาน เป็นต้นว่า การส่งเสริมสนับสนุนให้พวกเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการเรื่องการชลประทานได้ดีขึ้น, การสถาปนา “วันชลประทานแห่งชาติ” ขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว, และการเรียกร้องให้มีการบังคับใช้ระเบียบกฎหมายว่าด้วยเรื่องการใช้น้ำอย่างกวดขันเคร่งครัดยิ่งขึ้น หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงานเรื่องนี้เอาไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
**ปัญหางบประมาณ**
ทางฝ่ายชาวนาเองพากันบ่นว่า ระบบชลประทานถูกปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม โดยที่ทางการบอกว่าเนื่องจากปัญหาขาดแคลนงบประมาณ
เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว พวกเจ้าหน้าที่เคยระบุว่า มีระบบชลประทานจำนวนถึง 42 แห่งในแขวง (จังหวัด) เวียงจันทน์ ซึ่งยังถูกปล่อยทิ้งเอาไว้โดยไม่มีการซ่อมแซมภายหลังได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2011 และปี 2012 จนกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นการเพาะปลูกข้าวให้ได้ตามเป้าหมายในแขวงแห่งนี้ สำนักข่าวสานปะเทดลาว (KPL Lao news agency) รายงานเอาไว้เช่นนี้
ประเทศยากจนแห่งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมเทียมบ่าเทียมไหล่กลายเป็นชาติผู้ส่งออกข้าวเช่นเดียวกับพวกประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายภายในทศวรรษนี้ ทว่ากลับเพาะปลูกข้าวได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงปีหลังๆ มานี้
ตามรายงานของเวียงจันทน์ไทมส์ รายงานตัวเลขสถิติของรัฐบาลที่เผยแพร่ในเดือนที่แล้วระบุว่า ลาวผลิตข้าวได้ 3.52 ล้านตันสำหรับฤดูกาลปี 2012-2013 เท่ากับประมาณ 93% ของเป้าหมายซึ่งวางแผนเอาไว้ว่าจะทำให้ได้ 3.8 ล้านตัน
รายงานโดย วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาลาว (Radio Free Asia's Lao Service) มี สมเนต อินทะพันหนา (Somnet Inthapannha) แปลเป็นภาษาอังกฤษ และ ราเชล แวนเดนบริงก์ (Rachel Vandenbrink) เป็นผู้เขียนรายงานข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษ
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
Laos falls short of rice target
By Radio Free Asia
05/02/2014
ลาวกำลังปลูกข้าวได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับฤดูนี้ไปมากทีเดียว สาเหตุที่สำคัญเนื่องมาจากระบบชลประทานที่ย่ำแย่ รวมทั้งการที่พวกพืชเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้ราคาดีกว่า จึงผลักดันให้ชาวนาลดการปลูกข้าวลงไป
ลาวกำลังปลูกข้าวได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้สำหรับฤดูนี้ไปมากทีเดียว สาเหตุที่สำคัญเนื่องมาจากระบบชลประทานที่ย่ำแย่ รวมทั้งการที่พวกพืชเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้ราคาดีกว่า จึงผลักดันให้ชาวนาลดการปลูกข้าวลงไป ทั้งนี้ตามรายงานของพวกเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชน
กระทรวงเกษตรและป่าไม้ ได้เร่งเร้าให้ชาวนาทั่วประเทศลงมือปลูกข้าวให้ได้เป็นจำนวน 126,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 787,500 ไร่) ในหน้าแล้งนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน
ทว่าชาวนากลับหลีกหนีการปลูกข้าวที่ต้องอาศัยน้ำเป็นอันมาก และหันไปปลูกพวกพืชผักพืชไร่แทน จึงทำให้มีการปลูกข้าวกันจริงๆ เพียงแค่ 44,100 เฮกตาร์ (ราว 275,625 ไร่) หรือเท่ากับ 35% ของเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้เท่านั้น ทั้งนี้ตามตัวเลขสถิติของรัฐบาล
สภาพเช่นนี้จะทำให้ลาวเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูนี้ได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดถึงราวๆ 500,000 ตัน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ผู้หนึ่งบอกกับวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาลาว (RFA’s Lao Service)
“แผนการสำหรับการปลูกข้าวในฤดูแล้งนี้ สามารถทำได้เพียงแค่ 35% ของเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้เท่านั้น เพราะมีชาวนาจำนวนมากหันไปปลูกพวกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ กัน” เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าว โดยที่ขอให้สงวนนาม
“เมื่อเป็นอย่างนี้ ผลผลิตข้าวสำหรับฤดูนี้ก็จะได้ไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนด” เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวต่อ
**ลดลงอย่างฮวบฮาบ**
ทางด้านหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์ (Vientiane Times) ของทางการลาวก็รายงานว่า เนื้อที่เพาะปลูกข้าวในปีนี้ ลดลงอย่างฮวบฮาบ จากระดับ 96,200 เฮกตาร์ (ราว 601,250 ไร่) ในหน้าแล้งของปี 2013 ซึ่งก็ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของปีนั้นอยู่แล้ว
กระทรวงเกษตรและป่าไม้เชื่อว่า การที่ชาวนาไม่ค่อยอยากจะปลูกข้าวกัน เป็นเพราะว่าราคาข้าวต่ำมาก ตลอดจนการที่ระบบชลประทานทางภาคเหนือของประเทศจ่ายน้ำให้ไม่เพียงพอ ทั้งนี้การปลูกข้าวทางภาคเหนือต้องพึ่งพาอาศัยการชลประทานอย่างมากมายยิ่งกว่าทางภาคใต้นัก เวียงจันทน์ไทมส์ระบุ
แทนที่จะปลูกข้าว เวลานี้พวกชาวนาในภาคเหนือต่างกำลังใช้พื้นที่ไร่นามาปลูกผักและพืชไร่อื่นๆ อย่างเช่น แตงโม, ถั่ว, มะเขือยาว, มะเขือเทศ, และพริก รายงานของเวียงจันทน์ไทมส์บอก
ทางกระทรวงเกษตรและป่าไม้เองได้ใช้ความพยายามอยู่มากในเรื่องระบบชลประทาน เป็นต้นว่า การส่งเสริมสนับสนุนให้พวกเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการเรื่องการชลประทานได้ดีขึ้น, การสถาปนา “วันชลประทานแห่งชาติ” ขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว, และการเรียกร้องให้มีการบังคับใช้ระเบียบกฎหมายว่าด้วยเรื่องการใช้น้ำอย่างกวดขันเคร่งครัดยิ่งขึ้น หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงานเรื่องนี้เอาไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
**ปัญหางบประมาณ**
ทางฝ่ายชาวนาเองพากันบ่นว่า ระบบชลประทานถูกปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม โดยที่ทางการบอกว่าเนื่องจากปัญหาขาดแคลนงบประมาณ
เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว พวกเจ้าหน้าที่เคยระบุว่า มีระบบชลประทานจำนวนถึง 42 แห่งในแขวง (จังหวัด) เวียงจันทน์ ซึ่งยังถูกปล่อยทิ้งเอาไว้โดยไม่มีการซ่อมแซมภายหลังได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2011 และปี 2012 จนกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นการเพาะปลูกข้าวให้ได้ตามเป้าหมายในแขวงแห่งนี้ สำนักข่าวสานปะเทดลาว (KPL Lao news agency) รายงานเอาไว้เช่นนี้
ประเทศยากจนแห่งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมเทียมบ่าเทียมไหล่กลายเป็นชาติผู้ส่งออกข้าวเช่นเดียวกับพวกประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายภายในทศวรรษนี้ ทว่ากลับเพาะปลูกข้าวได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงปีหลังๆ มานี้
ตามรายงานของเวียงจันทน์ไทมส์ รายงานตัวเลขสถิติของรัฐบาลที่เผยแพร่ในเดือนที่แล้วระบุว่า ลาวผลิตข้าวได้ 3.52 ล้านตันสำหรับฤดูกาลปี 2012-2013 เท่ากับประมาณ 93% ของเป้าหมายซึ่งวางแผนเอาไว้ว่าจะทำให้ได้ 3.8 ล้านตัน
รายงานโดย วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาลาว (Radio Free Asia's Lao Service) มี สมเนต อินทะพันหนา (Somnet Inthapannha) แปลเป็นภาษาอังกฤษ และ ราเชล แวนเดนบริงก์ (Rachel Vandenbrink) เป็นผู้เขียนรายงานข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษ
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต