(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Canberra risks more by crossing China
By Brendan O'Reilly
16/12/2013
ออสเตรเลียว่องไวมากในการออกมาวิพากษ์โจมตี การที่จีนประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศในทะเลจีนตะวันออก สมกับที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “นายอำเภอ” ของอเมริกาในภูมิภาคแถบนี้ทีเดียว แต่ถ้าหากแดนจิงโจ้ต้องการที่จะอยู่ในฐานะเช่นนั้นต่อไป ตลอดจนพออกพอใจกับการเป็น “เพื่อนมิตรที่ดีที่สุด” ของญี่ปุ่นแล้ว ก็คงจะต้องพบว่าตนเองมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดเขม็งเกลียวกับจีน ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีความมุ่งมาดปรารถนาในทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างสูง แคนเบอร์รากับปักกิ่งคงจะต้องมีบาดเจ็บเสียหาย เมื่อเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันขึ้นมา ทว่า ความเป็นจริงย่อมมีอยู่ว่า ออสเตรเลียนั่นแหละจะเป็นฝ่ายสูญเสียมากกว่า
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**แดนจิงโจ้จะร่วมหัวจมท้ายกับแผน “ปักหมุด” แน่หรือ ?**
ความสัมพันธ์จีน-ออสเตรเลียนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในตัวของมันเองอยู่แล้ว นอกจากนั้นความสัมพันธ์นี้ยังอาจจะใช้เป็นภาพจำลองของสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับหลายๆ ชาติพันธมิตรของอเมริกาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอีกด้วย
ออสเตรเลียนั้นมีความสัมพันธ์ชนิดพิเศษมากๆ กับสหรัฐอเมริกา ความผูกพันใกล้ชิดกันทั้งทางด้านวัฒนธรรม, การเมือง, และการทหาร ได้โยงใยหุ้มห่อประเทศทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน อดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯ เป็นผู้ที่กล่าวบรรยายถึงความสัมพันธ์พิเศษสุดระหว่างแดนอินทรีกับแดนจิงโจ้ ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นที่ฮือฮามากและได้รับการอ้างอิงต่อๆ มา โดยเขาบอกว่า ออสเตรเลียคือ “นายอำเภอ” (sheriff) ของอเมริกา ในเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นนายอำเภอชนิดที่ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือกับอเมริกาอย่างดีเยี่ยม [9] เราควรที่จะกล่าวเพิ่มเติมต่อไปด้วยว่า ในขณะที่พูดถึงญี่ปุ่น ที่เป็นคู่แข่งตัวสำคัญที่สุดในเอเชียของจีนเมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีแอบบ็อตต์ก็ได้พูดออกมาอย่างตรงไปตรงมามากว่า “ญี่ปุ่นคือเพื่อนมิตรที่ดีที่สุดในเอเชียของออสเตรเลีย” [10]
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านยุทธศาสตร์ของภูมิภาคแถบนี้ในปัจจุบันแล้ว ความสัมพันธ์เช่นนี้ของออสเตรเลียก็กำลังก่อให้เกิดคำถามฉกาจฉกรรจ์ขึ้นมา ทหารออสเตรเลียหลายร้อยคนทีเดียวเสียชีวิตไปในการสนับสนุนความพยายามทางทหารของอเมริกันในเวียดนาม ส่วนการที่ออสเตรเลียเข้าร่วมกับการที่อเมริการุกรานและยึดครองอิรัก กลายเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับความนิยมเลยในหมู่ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ แล้วถ้าหากเกิดเหตุการณ์สงครามขึ้นในทะเลจีนตะวันออก (ซึ่งเป็นการสมมุติที่ยังมีความเป็นไปได้น้อยมาก) ออสเตรเลียจะส่งทหารนาวิกโยธินของตนไปเปิดศึกสู้รบล้มตาย กับชาติที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของตน เพื่อแสดงการสนับสนุนญี่ปุ่นในการมีอำนาจควบคุมเหนือกลุ่มหมู่เกาะเล็กๆ ที่ไร้ผู้คนพำนักอาศัยจริงๆ หรือ?
จีนไม่ได้เป็นเพียงประเทศเดียวเลย ที่ทอดสายตาระแวงสงสัยไปยังออสเตรเลีย จากการที่แคนเบอร์ราแสดงท่าทีสนับสนุนอย่างหนักแน่นแข็งขัน ต่อการที่สหรัฐฯยืนกรานจะดำรงฐานะครอบงำอยู่ในเอเชีย ภายหลังที่แดนจิงโจ้และแดนอินทรีประกาศแผนการ ที่ทหารนาวิกโยธินอเมริกันจำนวนหลายพันคน จะไปตั้งฐานแบบ (ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทว่าอยู่กันอย่าง) ต่อเนื่องถาวร ในบริเวณภาคเหนือของออสเตรเลียแล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์ตี นาตาเลกาวา (Marty Natalegawa) ของอินโดนีเซีย ได้ออกมากล่าวเตือนว่า “สิ่งที่ผมรังเกียจไม่ต้องการเห็นเลยก็คือ ถ้าหากพัฒนาการดังกล่าวนี้ จะกลายเป็นตัวกระตุ้นยั่วยุให้เกิดปฏิกิริยา และการตอบโต้ปฏิกิริยา ไปในทางสร้างวงจรอุบาทว์แห่งความตึงเครียดและความไม่ไว้วางใจเชื่อถือกัน หรือความคลางแคลงระแวงสงสัยกันขึ้นมา ... นี่จึงเป็นเหตุผลอธิบายว่า ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญนักหนาที่เมื่อมีการตัดสินใจประเภทอย่างนี้ขึ้นมาแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีการระบุภาพจำลองสถานการณ์ที่กำลังคาดการณ์กันอยู่ออกมาให้ชัดเจนโปร่งใส และต้องไม่ให้บังเกิดผลในทางที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นมาเลย” [11]
ความวิตกกังวลของอินโดนีเซียเช่นนี้ เป็นการสะท้อนความห่วงใยของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมาก ซึ่งสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะในแง่กายภาพหรือในแง่การเมือง ล้วนอยู่ในระหว่างกลางของจีนกับพันธมิตรออสเตรเลีย-อเมริกัน อันที่จริงแล้วเมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของการที่ทั่วโลกอยู่ในสภาพต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ตลอดจนการมีอาวุธนิวเคลียร์ชนิดรัศมีทำการระดับยิงข้ามทวีปกันได้อยู่แล้ว การจับกลุ่มรวมตัวทางทหารระดับภูมิภาคในปัจจุบันก็ดูเป็นเรื่องที่ทั้งอันตรายและทั้งน่าหัวเราะเยาะ
นอกเหนือจากเหตุผลในเรื่องเสรีภาพในการเดินเรือทะเล หรือการบังเกิดความหวาดผวาอย่างไร้สติเกี่ยวกับ “ทฤษฎีโดมิโน” (dominoes theory) แห่งการแผ่ขยายอำนาจของจีนแล้ว มันยากที่จะมองเห็นได้ว่าออสเตรเลียมีผลประโยชน์อะไรอยู่ในทะเลจีนตะวันออก แน่นอนทีเดียว เสรีภาพในการเดินเรือทะเลในอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งต่อเชื่อมครอบคลุมถึงทะเลจีนตะวันออกด้วยนั้น มีความสำคัญถึงขั้นเป็นตายทีเดียวสำหรับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ในทางกลับกัน เสรีภาพดังกล่าวนี้ก็ยิ่งทรงความสำคัญสำหรับปักกิ่ง เราต้องไม่ลืมว่าจีนนั้นกำลังทำการค้าขายมากยิ่งกว่าประเทศใดๆ ในโลก การค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ที่สุดทีเดียวต้องลำเลียงขนส่งผ่านแปซิฟิกตะวันตก ภายใต้การเฝ้าจับตาอย่างระแวดระวังของกองทัพเรือซึ่งทรงพลานุภาพยิ่งของอเมริกา คณะผู้นำจีนจะต้องไร้ความสามารถอย่างชนิดพิลึกพิลั่นทีเดียว จึงจะนำเอาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นระยะเวลาหลายสิบปีของตน ไปเสี่ยงแลกกับหมู่เกาะจิ๋วๆ ไร้ผู้คนเพียงไม่กี่แห่งเหล่านี้
ฮิว ไวต์ (Hugh White) อาจารย์ทางด้านการศึกษาการป้องกันประเทศในเชิงยุทธศาสตร์ (strategic defense studies) ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ได้กล่าวเตือนว่า เหล่าผู้นำแดนจิงโจ้ “ ... ยังไม่ได้บังเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับอำนาจและความเชื่อมั่นที่กำลังเพิ่มพูนขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ของจีน ... พวกเขายังคงต้องการที่จะเชื่อว่า เอเชียนั้นสามารถที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจนถึงระดับรากฐานในทางเศรษฐกิจ แต่จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลยในทางยุทธศาสตร์ โดยที่อำนาจบารมีของอเมริกันจะยังคงสามารถบงการสั่งการทุกสิ่งทุกอย่างได้ ... เนื่องจากเรากำลังมั่งคั่งร่ำรวยเพิ่มขึ้นมา จากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตของจีน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธีที่จะอยู่กับอำนาจซึ่งเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ของแดนมังกร” [12]
คำกล่าวของอาจารย์ผู้นี้ เป็นการระบุถึงจุดสำคัญที่สุดอย่างแท้จริงของประเด็นปัญหานี้เลย กล่าวคือ นโยบายต่อภูมิภาคเอเชียทั้งของอเมริกาและของญี่ปุ่น (และดังนั้นเมื่อพิจารณากันในวงกว้างออกไป ย่อมหมายถึงนโยบายของออสเตรเลียด้วย) ยังคงปฏิบัติต่อจีนราวกับว่าแดนมังกรเป็นมหาอำนาจชั้นสองที่แทบไม่มีศักยภาพในด้านพลังทางเศรษฐกิจและพลังทางยุทธศาสตร์อันควรค่าแก่การคำนึงถึง เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นโยบายเช่นนี้อิงอยู่กับโลกทัศน์ที่แสนจะเร่อร่าตกยุคตกสมัย
พวกสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ต่างพากันคาดหมายว่า จีนจะสามารถแซงหน้าสหรัฐฯและกลายเป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกได้ภายในอนาคตอันไม่ไกลนักนี้ – ถึงแม้ยังมีอีกหลายแห่งข้องใจสงสัยว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นภายในศตวรรษนี้แน่ๆ หรือเปล่า ความพยายามที่จะจำกัดขีดวงให้สมรรถนะทางทหารของจีน ดำรงอยู่เพียงแค่รอบๆ พื้นที่ชายฝั่งของแดนมังกรนั้น ไม่เพียงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเท่านั้น หากยังมีอันตรายจริงๆ อีกด้วย ในเมื่อการเติบใหญ่ทางเศรษฐกิจของจีน กำลังแปรเปลี่ยนไปเป็นสมรรถนะทางนาวีที่ขยายตัวออกไปไม่หยุดยั้ง การเผชิญหน้ากันเมื่อเร็วๆ นี้ระหว่างเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ลำแรกของจีน กับเรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธของกองทัพเรือสหรัฐฯ คือตัวอย่างตอกย้ำให้เห็นความเสี่ยงที่ว่ามานี้ [13]
ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังมีฐานะเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของอเมริกาในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกทุกๆ ราย จะมียกเว้นก็เพียงฟิลิปปินส์เท่านั้น ทั้งออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ จะต้องประสบกับความขัดแย้งภายในประเทศในระดับใดระดับหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าพากเขายังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อยุทธศาสตร์หวนกลับมา “ปักหมุดในเอเชีย” (pivot to Asia) ของอเมริกา ในเวลาเดียวกับที่กำลังพึ่งพาอาศัยการค้าขายกับจีนเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ปักกิ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อออสเตรเลีย ก็ในแง่การขบคิดคาดการณ์เชิงสมมุติฐานเสียมากกว่า ทำนองเดียวกับที่ออสเตรเลียก็แทบไม่มีศักยภาพอะไร ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในดุลแห่งอำนาจในทะเลจีนตะวันออก การที่ออสเตรเลียประณามการจัดตั้งเขต ADIZ ของจีน ก็ทำนองเดียวกับการที่ปักกิ่งแสดงปฏิกิริยาตอบโต้อย่างขุ่นเคือง นั่นคือมันเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งมุ่งผลในทางการเมืองภายในประเทศของแต่ละฝ่าย มากกว่าเนื่องจากความจำเป็นในทางภูมิรัฐศาสตร์
กระนั้นก็ตาม ถ้อยคำโวหารทางการทูตยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากออสเตรเลียยังเลือกที่จะทำตัวเป็นนายอำเภอของอเมริกา และเป็นเพื่อนมิตรที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นต่อไป แดนจิงโจ้อาจจะต้องพบว่า ตนเองมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดเขม็งเกลียวกับจีน ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีความมุ่งมาดปรารถนาในทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างสูง
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Beijing blocks bananas from Philippines as dispute continues, Want China Times, May 11, 2012.
[2] ดูเรื่อง Australia summons Chinese ambassador over airspace announcement, Reuters, November 26, 2013.
[3] ดูเรื่อง Tony Abbott refused to back down over China comments, The Age, November 28, 2013.
[4] ดูที่เว็บเพจนี้ http://www.nanaimodailynews.com/business/australian-foreign-minister-economic-matters-overshadow-air-defence-zone-in-talks-with-china-1.750243
[5] ดูที่เว็บเพจนี้ http://www.nanaimodailynews.com/business/australian-foreign-minister-economic-matters-overshadow-air-defence-zone-in-talks-with-china-1.750243
[6] ดูที่เว็บเพจนี้ http://www.businessspectator.com.au/news/2013/12/9/australian-news/aust-nears-china-fta-bishop
[7] ดูเรื่อ ง Australian tourists flock to China, The Sydney Morning Herald, December 15, 2013.
[8] ดูเรื่อง Our trade with China is worth $14,480 to average household, The Australian, August 13, 2013.
[9] ดูเรื่อง Anger as US pins sheriff badge on Australia, The Telegraph, October 17, 2003.
[10] ดูเรื่อง Tony Abbott invites Shinzo Abe, saying Japan is Australia's 'best friend' in Asia, The Guardian, October 9, 2013.
[11] ดูเรื่อง China, Indonesia wary of US troops in Darwin, Australia Broadcasting Corporation, April 26, 2011.
[12] ดูเรื่อง The Australian government doesn't appreciate China's growing confidence, The Guardian, November 28, 2013.
[13] ดูเรื่อง US Navy China Showdown, Washington Times, December 13, 2013.
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ oreillyasia@gmail.com.
Canberra risks more by crossing China
By Brendan O'Reilly
16/12/2013
ออสเตรเลียว่องไวมากในการออกมาวิพากษ์โจมตี การที่จีนประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศในทะเลจีนตะวันออก สมกับที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “นายอำเภอ” ของอเมริกาในภูมิภาคแถบนี้ทีเดียว แต่ถ้าหากแดนจิงโจ้ต้องการที่จะอยู่ในฐานะเช่นนั้นต่อไป ตลอดจนพออกพอใจกับการเป็น “เพื่อนมิตรที่ดีที่สุด” ของญี่ปุ่นแล้ว ก็คงจะต้องพบว่าตนเองมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดเขม็งเกลียวกับจีน ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีความมุ่งมาดปรารถนาในทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างสูง แคนเบอร์รากับปักกิ่งคงจะต้องมีบาดเจ็บเสียหาย เมื่อเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันขึ้นมา ทว่า ความเป็นจริงย่อมมีอยู่ว่า ออสเตรเลียนั่นแหละจะเป็นฝ่ายสูญเสียมากกว่า
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**แดนจิงโจ้จะร่วมหัวจมท้ายกับแผน “ปักหมุด” แน่หรือ ?**
ความสัมพันธ์จีน-ออสเตรเลียนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในตัวของมันเองอยู่แล้ว นอกจากนั้นความสัมพันธ์นี้ยังอาจจะใช้เป็นภาพจำลองของสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับหลายๆ ชาติพันธมิตรของอเมริกาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอีกด้วย
ออสเตรเลียนั้นมีความสัมพันธ์ชนิดพิเศษมากๆ กับสหรัฐอเมริกา ความผูกพันใกล้ชิดกันทั้งทางด้านวัฒนธรรม, การเมือง, และการทหาร ได้โยงใยหุ้มห่อประเทศทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน อดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯ เป็นผู้ที่กล่าวบรรยายถึงความสัมพันธ์พิเศษสุดระหว่างแดนอินทรีกับแดนจิงโจ้ ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นที่ฮือฮามากและได้รับการอ้างอิงต่อๆ มา โดยเขาบอกว่า ออสเตรเลียคือ “นายอำเภอ” (sheriff) ของอเมริกา ในเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นนายอำเภอชนิดที่ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือกับอเมริกาอย่างดีเยี่ยม [9] เราควรที่จะกล่าวเพิ่มเติมต่อไปด้วยว่า ในขณะที่พูดถึงญี่ปุ่น ที่เป็นคู่แข่งตัวสำคัญที่สุดในเอเชียของจีนเมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีแอบบ็อตต์ก็ได้พูดออกมาอย่างตรงไปตรงมามากว่า “ญี่ปุ่นคือเพื่อนมิตรที่ดีที่สุดในเอเชียของออสเตรเลีย” [10]
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านยุทธศาสตร์ของภูมิภาคแถบนี้ในปัจจุบันแล้ว ความสัมพันธ์เช่นนี้ของออสเตรเลียก็กำลังก่อให้เกิดคำถามฉกาจฉกรรจ์ขึ้นมา ทหารออสเตรเลียหลายร้อยคนทีเดียวเสียชีวิตไปในการสนับสนุนความพยายามทางทหารของอเมริกันในเวียดนาม ส่วนการที่ออสเตรเลียเข้าร่วมกับการที่อเมริการุกรานและยึดครองอิรัก กลายเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับความนิยมเลยในหมู่ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ แล้วถ้าหากเกิดเหตุการณ์สงครามขึ้นในทะเลจีนตะวันออก (ซึ่งเป็นการสมมุติที่ยังมีความเป็นไปได้น้อยมาก) ออสเตรเลียจะส่งทหารนาวิกโยธินของตนไปเปิดศึกสู้รบล้มตาย กับชาติที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของตน เพื่อแสดงการสนับสนุนญี่ปุ่นในการมีอำนาจควบคุมเหนือกลุ่มหมู่เกาะเล็กๆ ที่ไร้ผู้คนพำนักอาศัยจริงๆ หรือ?
จีนไม่ได้เป็นเพียงประเทศเดียวเลย ที่ทอดสายตาระแวงสงสัยไปยังออสเตรเลีย จากการที่แคนเบอร์ราแสดงท่าทีสนับสนุนอย่างหนักแน่นแข็งขัน ต่อการที่สหรัฐฯยืนกรานจะดำรงฐานะครอบงำอยู่ในเอเชีย ภายหลังที่แดนจิงโจ้และแดนอินทรีประกาศแผนการ ที่ทหารนาวิกโยธินอเมริกันจำนวนหลายพันคน จะไปตั้งฐานแบบ (ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทว่าอยู่กันอย่าง) ต่อเนื่องถาวร ในบริเวณภาคเหนือของออสเตรเลียแล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์ตี นาตาเลกาวา (Marty Natalegawa) ของอินโดนีเซีย ได้ออกมากล่าวเตือนว่า “สิ่งที่ผมรังเกียจไม่ต้องการเห็นเลยก็คือ ถ้าหากพัฒนาการดังกล่าวนี้ จะกลายเป็นตัวกระตุ้นยั่วยุให้เกิดปฏิกิริยา และการตอบโต้ปฏิกิริยา ไปในทางสร้างวงจรอุบาทว์แห่งความตึงเครียดและความไม่ไว้วางใจเชื่อถือกัน หรือความคลางแคลงระแวงสงสัยกันขึ้นมา ... นี่จึงเป็นเหตุผลอธิบายว่า ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญนักหนาที่เมื่อมีการตัดสินใจประเภทอย่างนี้ขึ้นมาแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีการระบุภาพจำลองสถานการณ์ที่กำลังคาดการณ์กันอยู่ออกมาให้ชัดเจนโปร่งใส และต้องไม่ให้บังเกิดผลในทางที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นมาเลย” [11]
ความวิตกกังวลของอินโดนีเซียเช่นนี้ เป็นการสะท้อนความห่วงใยของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมาก ซึ่งสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะในแง่กายภาพหรือในแง่การเมือง ล้วนอยู่ในระหว่างกลางของจีนกับพันธมิตรออสเตรเลีย-อเมริกัน อันที่จริงแล้วเมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของการที่ทั่วโลกอยู่ในสภาพต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ตลอดจนการมีอาวุธนิวเคลียร์ชนิดรัศมีทำการระดับยิงข้ามทวีปกันได้อยู่แล้ว การจับกลุ่มรวมตัวทางทหารระดับภูมิภาคในปัจจุบันก็ดูเป็นเรื่องที่ทั้งอันตรายและทั้งน่าหัวเราะเยาะ
นอกเหนือจากเหตุผลในเรื่องเสรีภาพในการเดินเรือทะเล หรือการบังเกิดความหวาดผวาอย่างไร้สติเกี่ยวกับ “ทฤษฎีโดมิโน” (dominoes theory) แห่งการแผ่ขยายอำนาจของจีนแล้ว มันยากที่จะมองเห็นได้ว่าออสเตรเลียมีผลประโยชน์อะไรอยู่ในทะเลจีนตะวันออก แน่นอนทีเดียว เสรีภาพในการเดินเรือทะเลในอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งต่อเชื่อมครอบคลุมถึงทะเลจีนตะวันออกด้วยนั้น มีความสำคัญถึงขั้นเป็นตายทีเดียวสำหรับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ในทางกลับกัน เสรีภาพดังกล่าวนี้ก็ยิ่งทรงความสำคัญสำหรับปักกิ่ง เราต้องไม่ลืมว่าจีนนั้นกำลังทำการค้าขายมากยิ่งกว่าประเทศใดๆ ในโลก การค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ที่สุดทีเดียวต้องลำเลียงขนส่งผ่านแปซิฟิกตะวันตก ภายใต้การเฝ้าจับตาอย่างระแวดระวังของกองทัพเรือซึ่งทรงพลานุภาพยิ่งของอเมริกา คณะผู้นำจีนจะต้องไร้ความสามารถอย่างชนิดพิลึกพิลั่นทีเดียว จึงจะนำเอาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นระยะเวลาหลายสิบปีของตน ไปเสี่ยงแลกกับหมู่เกาะจิ๋วๆ ไร้ผู้คนเพียงไม่กี่แห่งเหล่านี้
ฮิว ไวต์ (Hugh White) อาจารย์ทางด้านการศึกษาการป้องกันประเทศในเชิงยุทธศาสตร์ (strategic defense studies) ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ได้กล่าวเตือนว่า เหล่าผู้นำแดนจิงโจ้ “ ... ยังไม่ได้บังเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับอำนาจและความเชื่อมั่นที่กำลังเพิ่มพูนขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ของจีน ... พวกเขายังคงต้องการที่จะเชื่อว่า เอเชียนั้นสามารถที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจนถึงระดับรากฐานในทางเศรษฐกิจ แต่จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลยในทางยุทธศาสตร์ โดยที่อำนาจบารมีของอเมริกันจะยังคงสามารถบงการสั่งการทุกสิ่งทุกอย่างได้ ... เนื่องจากเรากำลังมั่งคั่งร่ำรวยเพิ่มขึ้นมา จากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตของจีน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธีที่จะอยู่กับอำนาจซึ่งเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ของแดนมังกร” [12]
คำกล่าวของอาจารย์ผู้นี้ เป็นการระบุถึงจุดสำคัญที่สุดอย่างแท้จริงของประเด็นปัญหานี้เลย กล่าวคือ นโยบายต่อภูมิภาคเอเชียทั้งของอเมริกาและของญี่ปุ่น (และดังนั้นเมื่อพิจารณากันในวงกว้างออกไป ย่อมหมายถึงนโยบายของออสเตรเลียด้วย) ยังคงปฏิบัติต่อจีนราวกับว่าแดนมังกรเป็นมหาอำนาจชั้นสองที่แทบไม่มีศักยภาพในด้านพลังทางเศรษฐกิจและพลังทางยุทธศาสตร์อันควรค่าแก่การคำนึงถึง เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นโยบายเช่นนี้อิงอยู่กับโลกทัศน์ที่แสนจะเร่อร่าตกยุคตกสมัย
พวกสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ต่างพากันคาดหมายว่า จีนจะสามารถแซงหน้าสหรัฐฯและกลายเป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกได้ภายในอนาคตอันไม่ไกลนักนี้ – ถึงแม้ยังมีอีกหลายแห่งข้องใจสงสัยว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นภายในศตวรรษนี้แน่ๆ หรือเปล่า ความพยายามที่จะจำกัดขีดวงให้สมรรถนะทางทหารของจีน ดำรงอยู่เพียงแค่รอบๆ พื้นที่ชายฝั่งของแดนมังกรนั้น ไม่เพียงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเท่านั้น หากยังมีอันตรายจริงๆ อีกด้วย ในเมื่อการเติบใหญ่ทางเศรษฐกิจของจีน กำลังแปรเปลี่ยนไปเป็นสมรรถนะทางนาวีที่ขยายตัวออกไปไม่หยุดยั้ง การเผชิญหน้ากันเมื่อเร็วๆ นี้ระหว่างเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ลำแรกของจีน กับเรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธของกองทัพเรือสหรัฐฯ คือตัวอย่างตอกย้ำให้เห็นความเสี่ยงที่ว่ามานี้ [13]
ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังมีฐานะเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของอเมริกาในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกทุกๆ ราย จะมียกเว้นก็เพียงฟิลิปปินส์เท่านั้น ทั้งออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ จะต้องประสบกับความขัดแย้งภายในประเทศในระดับใดระดับหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าพากเขายังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อยุทธศาสตร์หวนกลับมา “ปักหมุดในเอเชีย” (pivot to Asia) ของอเมริกา ในเวลาเดียวกับที่กำลังพึ่งพาอาศัยการค้าขายกับจีนเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ปักกิ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อออสเตรเลีย ก็ในแง่การขบคิดคาดการณ์เชิงสมมุติฐานเสียมากกว่า ทำนองเดียวกับที่ออสเตรเลียก็แทบไม่มีศักยภาพอะไร ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในดุลแห่งอำนาจในทะเลจีนตะวันออก การที่ออสเตรเลียประณามการจัดตั้งเขต ADIZ ของจีน ก็ทำนองเดียวกับการที่ปักกิ่งแสดงปฏิกิริยาตอบโต้อย่างขุ่นเคือง นั่นคือมันเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งมุ่งผลในทางการเมืองภายในประเทศของแต่ละฝ่าย มากกว่าเนื่องจากความจำเป็นในทางภูมิรัฐศาสตร์
กระนั้นก็ตาม ถ้อยคำโวหารทางการทูตยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากออสเตรเลียยังเลือกที่จะทำตัวเป็นนายอำเภอของอเมริกา และเป็นเพื่อนมิตรที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นต่อไป แดนจิงโจ้อาจจะต้องพบว่า ตนเองมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดเขม็งเกลียวกับจีน ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีความมุ่งมาดปรารถนาในทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างสูง
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Beijing blocks bananas from Philippines as dispute continues, Want China Times, May 11, 2012.
[2] ดูเรื่อง Australia summons Chinese ambassador over airspace announcement, Reuters, November 26, 2013.
[3] ดูเรื่อง Tony Abbott refused to back down over China comments, The Age, November 28, 2013.
[4] ดูที่เว็บเพจนี้ http://www.nanaimodailynews.com/business/australian-foreign-minister-economic-matters-overshadow-air-defence-zone-in-talks-with-china-1.750243
[5] ดูที่เว็บเพจนี้ http://www.nanaimodailynews.com/business/australian-foreign-minister-economic-matters-overshadow-air-defence-zone-in-talks-with-china-1.750243
[6] ดูที่เว็บเพจนี้ http://www.businessspectator.com.au/news/2013/12/9/australian-news/aust-nears-china-fta-bishop
[7] ดูเรื่อ ง Australian tourists flock to China, The Sydney Morning Herald, December 15, 2013.
[8] ดูเรื่อง Our trade with China is worth $14,480 to average household, The Australian, August 13, 2013.
[9] ดูเรื่อง Anger as US pins sheriff badge on Australia, The Telegraph, October 17, 2003.
[10] ดูเรื่อง Tony Abbott invites Shinzo Abe, saying Japan is Australia's 'best friend' in Asia, The Guardian, October 9, 2013.
[11] ดูเรื่อง China, Indonesia wary of US troops in Darwin, Australia Broadcasting Corporation, April 26, 2011.
[12] ดูเรื่อง The Australian government doesn't appreciate China's growing confidence, The Guardian, November 28, 2013.
[13] ดูเรื่อง US Navy China Showdown, Washington Times, December 13, 2013.
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ oreillyasia@gmail.com.