(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Last shoe yet to fall in North Korea
By Ralph A Cossa
17/12/2013
ขณะนี้ยังเร็วเกินกว่าที่เราจะสามารถสรุปได้ว่า ภายหลังจาก คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ใช้วิธีการที่ผิดธรรมดามากำจัดกวาดล้างผู้ที่เป็นทั้งอาเขยและอาจารย์ผู้ชี้แนะของเขาไปแล้ว เขากลายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือแท้ที่จริงเขาไม่มีความมั่นคงเอาเสียเลย ทั้งนี้เรายังจำเป็นต้องติดตามดูกันต่อไปอีกว่า มีใครบ้างที่ถูกกวาดล้าง หรือใครบ้างที่ได้รับการกอบกู้ฟื้นคืนฐานะ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มีความสำคัญที่สุด อาจจะเป็น ความเปลี่ยนแปลงที่เราคงจะไม่ได้เห็นกันเสียแล้ว
ผู้ที่กำลังวาดหวังให้เกาหลีเหนือเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองนั้น อาจจะเพิ่งได้รับสิ่งที่พวกเขาหมายมั่นปรารถนา ... เพียงแต่คงจะไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงอย่างชนิดที่พวกเขาต้องการจะเห็น
การกวาดล้าง จาง ซองเต็ก (Jang Song-thaek) ผู้นำหมายเลข 2 ในทางพฤตินัยของเกาหลีเหนือ ให้ตกลงจากอำนาจทุกอย่าง แล้วติดตามด้วยการนำตัวเขาไปประหารชีวิตอย่างรวดเร็วรวบรัด เป็นหลักฐานพิสูจน์อันแสนชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่า มีอันตรายขนาดไหนในการเป็นผู้นำลำดับถัดมาในสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จ แม้กระทั่งการมีฐานะเป็นญาติเป็นอาเขยของผู้นำหมายเลข 1 ก็ยังไม่สามารถช่วยให้คุณอยู่รอดได้
ทั้งหมดนี้มีความความอย่างไรต่อเสถียรภาพของระบอบปกครองเกาหลีเหนือ ตลอดจนต่อนโยบายในอนาคตของระบอบปกครองนี้ นี่เป็นสิ่งที่แล้วแต่ใครจะคาดเดากันไป ทั้งนี้มีความสำคัญที่เราจะต้องคอยระลึกเอาไว้ว่า เมื่อพูดถึงเกาหลีเหนือแล้ว เราทุกๆ คนต่างก็กำลังคาดเดากันทั้งสิ้น ในการวิเคราะห์การกระทำของเกาหลีเหนือนั้น ส่วนที่สร้างความปวดใจให้แก่เราเสมอมาก็คือ ทุกๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะต้องมีคำอธิบายซึ่งอาจจะเป็นไปได้อย่างน้อยที่สุด 2 อย่าง แถมคำอธิบายทั้ง 2 อย่างนั้นยังดูมีน้ำหนักน่าเชื่อถือพอๆ กันทว่ากลับขัดแย้งกันเอง
พวกผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเวลานี้ดูเหมือนจะมีความคิดเห็นแตกแยกกันเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งนั้นคิดว่าการปลด จาง ออกจากอำนาจ คือการสะท้อนให้เห็นว่า คิม จองอึน มีอำนาจควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด –เวลานี้เขามีความมั่นคงมากเพียงพอแล้วที่จะปลดบุคคลซึ่งบิดาของเขาเลือกสรรวางตัวให้ป็นอาจารย์ผู้คอยชี้แนะประคับประคองเขา— ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพวกที่เชื่อว่ามันเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าจริงๆ แล้วผู้นำหนุ่มวัย 20 ปีเศษๆ ผู้นี้ขาดเสถียรภาพและไร้ความมั่นคงถึงขนาดไหนต่างหาก ตัวผมเองนั้นโน้มเอียงไปทางเห็นด้วยกับฝ่ายหลัง ทว่าเรายังจำเป็นที่จะต้องติดตามดูต่อไปอีก เพื่อให้ทราบว่ามีใครบ้างที่ถูกกวาดล้างตกจากอำนาจไป และใครบ้างที่ได้รับการกอบกู้ฟื้นฟูฐานะขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 2 ปีดีนักนับตั้งแต่ที่ คิม จองอึน ก้าวขึ้นสู่อำนาจ กว่า 40% ของคณะผู้นำอาวุโสทีเดียวได้ถูกปลดถูกโยกย้ายหรือไม่ก็เกษียณอายุ ในจำนวนนี้มีทั้งบางคนซึ่งน่าจะเป็นปรปักษ์ของจาง และเวลานี้อาจจะได้หวนกลับคืนสู่อำนาจใหม่ สิ่งที่ชัดเจนมากก็คือความปั่นป่วนคราวนี้ยังไม่ได้สิ้นสุดลงหรอก
ความแน่นอนอาจจะมีอยู่อย่างเดียว นั่นคือจางที่ถูกกวาดล้างตกลงจากอำนาจไปแล้วนั้น จะไม่มีทางได้หวนกลับคืนมาอีก การเล่นงานเขาถึงตาย –ซึ่งแม้ถือเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับบุคคลที่อยู่ในระดับต่ำๆ ทว่ากลายเป็นกรณีที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นเมื่อเป็นผู้นำอาวุโส โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังเป็นสมาชิกของครอบครัวผู้ปกครองประเทศอีกด้วย— อาจจะแสดงให้เห็นว่าคิมไร้ความมั่นคงถึงขนาดที่ไม่มีความสามารถในการสยบอาเขยผู้เคยทรงอำนาจของเขาผู้นี้ ให้หมดพิษสงโดยไม่ต้องฆ่า ยังจำได้ไหมครับถึงคำพังเพยที่ว่า “เชือดไก่ให้ลิงดู” นี่คิมกลับตรงเข้าเล่นงานลิง คุณคงพอจะจินตนาการได้นะครับว่าตอนนี้พวกไก่ทั้งหลายจะหวาดกลัวกันถึงขนาดไหนแล้ว?
ขณะที่ยังมีอะไรอีกมากที่ต้องเฝ้าติดตามเฝ้ารอคอยให้ได้ร่องรอยและข้อมูลที่จะทำให้เกิดความกระจ่างกันต่อไป แต่สิ่งที่ดูจะกระจ่างชัดแล้ว (อย่างน้อยที่สุดก็สำหรับผม) ก็คือ “การปฏิรูปในแบบของจีน” กำลังยิ่งกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในเกาหลีเหนือ จางนั้นถูกจับตามองมานานแล้วว่าเป็นคนที่สนับสนุนเรื่องนี้มากที่สุดยิ่งกว่าใครๆ ฝ่ายจีนเคยปฏิบัติต่อเจียงเสมือนเขาเป็นประมุขแห่งรัฐที่ไปเยือนทีเดียว เมื่อตอนที่เขาเดินทางไปกรุงปักกิ่งในปี 2012 ขณะที่อยู่ที่นั่น มีรายงานว่าเขาไปพูดให้คณะผู้นำจีนบังเกิดความมั่นใจว่า หากฝ่ายจีนให้การสนับสนุนผู้นำคนใหม่ที่ยังเด็กมากผู้นี้แล้ว เพื่อเป็นการตอบแทน คิม จองอึน ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนและการกำกับตรวจสอบของจาง ในที่สุดแล้วก็จะนำพาเกาหลีเหนือเดินไปตามเส้นทางที่ฝ่ายจีนเคยเดินมาก่อน
พิจารณาถึงความเป็นไปได้ทุกๆ อย่างในปัจจุบัน การขบคิดไปในแนวนี้ย่อมไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไปแล้วอย่างน้อยที่สุดก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง กระทั่งสมมุติว่าการที่ จาง ถูกกวาดล้าง เป็นเหตุผลเกี่ยวกับอำนาจและเกี่ยวกับบุคลิกภาพส่วนตัวล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องนโยบาย มันก็ยังอันตรายมากอยู่นั่นเองสำหรับคนอื่นๆ ที่คิดจะทำตัวจนทำให้ถูกมองว่าแสดงตัวสนับสนุนนโยบายที่จางผลักดันเสนอแนะ
ถ้าหากเป็นความจริงตามรายงาน ที่ว่าจีนไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าใดๆ เลยเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ และที่ว่ามีผู้สนับสนุนจางบางคนกำลังขอลี้ภัยอยู่ในจีน มันก็จะเป็นลางร้ายไม่เพียงแค่สำหรับโมเดลการปฏิรูปแบบจีนเท่านั้น หากแต่สำหรับความสัมพันธ์จีน-เกาหลีเหนือโดยรวมอีกด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าในบรรดาความผิดยาวเหยียดเป็นหางว่าวที่จางถูกกล่าวหาว่ากระทำนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งคือการที่เขาขายทรัพย์สินของเกาหลีเหนือให้จีนในราคาที่ถูกเกินไป ข้อนี้ย่อมต้องทำให้ฝ่ายจีนรู้สึกเจ็บแสบเหมือนเอาเกลือมาขยี้ใส่แผล
เพื่อนร่วมงานชาวจีนหลายคน บางครั้งก็พูดกับผมแบบกึ่งๆ ปล่อยมุกวา พวกเขาต้องการนำลูกๆ ของพวกเขาไปยังเกาหลีเหนือ เพื่อให้เด็กๆ รุ่นหลังเหล่านี้ได้เห็นว่าจีนมีสภาพอย่างไรในอดีตที่ผ่านมา ก่อนหน้าที่ เติ้ง เสี่ยวผิง จะนำพาประเทศให้ก้าวเดินไปตามหนทางการปฏิรูป ผู้คนจำนวนมากในประเทศจีนดูเหมือนจะเชื่อ (หรืออย่างน้อยที่สุดก็ดูเหมือนจะหวัง) ว่า จาง ซองเต็ก จะกลายเป็น เติ้ง เสี่ยวผิง ของเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมด้วยว่า เติ้งนั้นเคยถูกกวาดล้างตกจากอำนาจถึง 2 ครั้ง 2 ครา ก่อนที่เขาจะดำเนินการรัฐประหารยึดอำนาจจากภายในเมื่อปี 1976 และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในจีน โดยที่มีการกวาดขับกลุ่มซึ่งได้รับฉายาว่า “แก๊ง 4 คน” ที่นำโดย เจียง ชิง ภริยาหม้ายของเหมาเจ๋อตง ให้ตกลงจากอำนาจ
ในเวลาที่คนอื่นๆ จะคอยเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดว่านโยบายของเกาหลีเหนือเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นผลจากการกวาดล้างและการประหารชีวิตจาง แต่สิ่งที่มีความสำคัญที่สุด อาจจะเป็น ความเปลี่ยนแปลงที่เราคงจะไม่ได้เห็นกันเแล้ว โอกาสที่จะเกิดการปฏิรูปในสไตล์แบบเติ้งขึ้นในเกาหลีเหนือนั้น อาจจะเพิ่งดับสูญไปพร้อมๆ กับการสิ้นชีวิตของจาง ลองคิดจินตนาการดูเถอะ ชะตากรรมของประเทศจีนจะเป็นอย่างไร ถ้าหากพวกแก๊ง 4 คนเป็นฝ่ายชนะ? นี่แหละอาจจะเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นในกรุงเปียงยาง
ราล์ฟ เอ คอสซา (Ralph@pacforum.org) เป็นประธานโปรแกรม แปซิฟิกฟอรัม (Pacific Forum) ของ ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS) กรุงวอชิงตัน
ข้อเขียนนี้มาจาก “แพกเน็ต” (PacNet) จดหมายข่าวของ แปซิฟิกฟอรัม CSIS
Last shoe yet to fall in North Korea
By Ralph A Cossa
17/12/2013
ขณะนี้ยังเร็วเกินกว่าที่เราจะสามารถสรุปได้ว่า ภายหลังจาก คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ใช้วิธีการที่ผิดธรรมดามากำจัดกวาดล้างผู้ที่เป็นทั้งอาเขยและอาจารย์ผู้ชี้แนะของเขาไปแล้ว เขากลายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือแท้ที่จริงเขาไม่มีความมั่นคงเอาเสียเลย ทั้งนี้เรายังจำเป็นต้องติดตามดูกันต่อไปอีกว่า มีใครบ้างที่ถูกกวาดล้าง หรือใครบ้างที่ได้รับการกอบกู้ฟื้นคืนฐานะ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มีความสำคัญที่สุด อาจจะเป็น ความเปลี่ยนแปลงที่เราคงจะไม่ได้เห็นกันเสียแล้ว
ผู้ที่กำลังวาดหวังให้เกาหลีเหนือเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองนั้น อาจจะเพิ่งได้รับสิ่งที่พวกเขาหมายมั่นปรารถนา ... เพียงแต่คงจะไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงอย่างชนิดที่พวกเขาต้องการจะเห็น
การกวาดล้าง จาง ซองเต็ก (Jang Song-thaek) ผู้นำหมายเลข 2 ในทางพฤตินัยของเกาหลีเหนือ ให้ตกลงจากอำนาจทุกอย่าง แล้วติดตามด้วยการนำตัวเขาไปประหารชีวิตอย่างรวดเร็วรวบรัด เป็นหลักฐานพิสูจน์อันแสนชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่า มีอันตรายขนาดไหนในการเป็นผู้นำลำดับถัดมาในสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จ แม้กระทั่งการมีฐานะเป็นญาติเป็นอาเขยของผู้นำหมายเลข 1 ก็ยังไม่สามารถช่วยให้คุณอยู่รอดได้
ทั้งหมดนี้มีความความอย่างไรต่อเสถียรภาพของระบอบปกครองเกาหลีเหนือ ตลอดจนต่อนโยบายในอนาคตของระบอบปกครองนี้ นี่เป็นสิ่งที่แล้วแต่ใครจะคาดเดากันไป ทั้งนี้มีความสำคัญที่เราจะต้องคอยระลึกเอาไว้ว่า เมื่อพูดถึงเกาหลีเหนือแล้ว เราทุกๆ คนต่างก็กำลังคาดเดากันทั้งสิ้น ในการวิเคราะห์การกระทำของเกาหลีเหนือนั้น ส่วนที่สร้างความปวดใจให้แก่เราเสมอมาก็คือ ทุกๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะต้องมีคำอธิบายซึ่งอาจจะเป็นไปได้อย่างน้อยที่สุด 2 อย่าง แถมคำอธิบายทั้ง 2 อย่างนั้นยังดูมีน้ำหนักน่าเชื่อถือพอๆ กันทว่ากลับขัดแย้งกันเอง
พวกผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเวลานี้ดูเหมือนจะมีความคิดเห็นแตกแยกกันเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งนั้นคิดว่าการปลด จาง ออกจากอำนาจ คือการสะท้อนให้เห็นว่า คิม จองอึน มีอำนาจควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด –เวลานี้เขามีความมั่นคงมากเพียงพอแล้วที่จะปลดบุคคลซึ่งบิดาของเขาเลือกสรรวางตัวให้ป็นอาจารย์ผู้คอยชี้แนะประคับประคองเขา— ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพวกที่เชื่อว่ามันเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าจริงๆ แล้วผู้นำหนุ่มวัย 20 ปีเศษๆ ผู้นี้ขาดเสถียรภาพและไร้ความมั่นคงถึงขนาดไหนต่างหาก ตัวผมเองนั้นโน้มเอียงไปทางเห็นด้วยกับฝ่ายหลัง ทว่าเรายังจำเป็นที่จะต้องติดตามดูต่อไปอีก เพื่อให้ทราบว่ามีใครบ้างที่ถูกกวาดล้างตกจากอำนาจไป และใครบ้างที่ได้รับการกอบกู้ฟื้นฟูฐานะขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 2 ปีดีนักนับตั้งแต่ที่ คิม จองอึน ก้าวขึ้นสู่อำนาจ กว่า 40% ของคณะผู้นำอาวุโสทีเดียวได้ถูกปลดถูกโยกย้ายหรือไม่ก็เกษียณอายุ ในจำนวนนี้มีทั้งบางคนซึ่งน่าจะเป็นปรปักษ์ของจาง และเวลานี้อาจจะได้หวนกลับคืนสู่อำนาจใหม่ สิ่งที่ชัดเจนมากก็คือความปั่นป่วนคราวนี้ยังไม่ได้สิ้นสุดลงหรอก
ความแน่นอนอาจจะมีอยู่อย่างเดียว นั่นคือจางที่ถูกกวาดล้างตกลงจากอำนาจไปแล้วนั้น จะไม่มีทางได้หวนกลับคืนมาอีก การเล่นงานเขาถึงตาย –ซึ่งแม้ถือเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับบุคคลที่อยู่ในระดับต่ำๆ ทว่ากลายเป็นกรณีที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นเมื่อเป็นผู้นำอาวุโส โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังเป็นสมาชิกของครอบครัวผู้ปกครองประเทศอีกด้วย— อาจจะแสดงให้เห็นว่าคิมไร้ความมั่นคงถึงขนาดที่ไม่มีความสามารถในการสยบอาเขยผู้เคยทรงอำนาจของเขาผู้นี้ ให้หมดพิษสงโดยไม่ต้องฆ่า ยังจำได้ไหมครับถึงคำพังเพยที่ว่า “เชือดไก่ให้ลิงดู” นี่คิมกลับตรงเข้าเล่นงานลิง คุณคงพอจะจินตนาการได้นะครับว่าตอนนี้พวกไก่ทั้งหลายจะหวาดกลัวกันถึงขนาดไหนแล้ว?
ขณะที่ยังมีอะไรอีกมากที่ต้องเฝ้าติดตามเฝ้ารอคอยให้ได้ร่องรอยและข้อมูลที่จะทำให้เกิดความกระจ่างกันต่อไป แต่สิ่งที่ดูจะกระจ่างชัดแล้ว (อย่างน้อยที่สุดก็สำหรับผม) ก็คือ “การปฏิรูปในแบบของจีน” กำลังยิ่งกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในเกาหลีเหนือ จางนั้นถูกจับตามองมานานแล้วว่าเป็นคนที่สนับสนุนเรื่องนี้มากที่สุดยิ่งกว่าใครๆ ฝ่ายจีนเคยปฏิบัติต่อเจียงเสมือนเขาเป็นประมุขแห่งรัฐที่ไปเยือนทีเดียว เมื่อตอนที่เขาเดินทางไปกรุงปักกิ่งในปี 2012 ขณะที่อยู่ที่นั่น มีรายงานว่าเขาไปพูดให้คณะผู้นำจีนบังเกิดความมั่นใจว่า หากฝ่ายจีนให้การสนับสนุนผู้นำคนใหม่ที่ยังเด็กมากผู้นี้แล้ว เพื่อเป็นการตอบแทน คิม จองอึน ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนและการกำกับตรวจสอบของจาง ในที่สุดแล้วก็จะนำพาเกาหลีเหนือเดินไปตามเส้นทางที่ฝ่ายจีนเคยเดินมาก่อน
พิจารณาถึงความเป็นไปได้ทุกๆ อย่างในปัจจุบัน การขบคิดไปในแนวนี้ย่อมไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไปแล้วอย่างน้อยที่สุดก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง กระทั่งสมมุติว่าการที่ จาง ถูกกวาดล้าง เป็นเหตุผลเกี่ยวกับอำนาจและเกี่ยวกับบุคลิกภาพส่วนตัวล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องนโยบาย มันก็ยังอันตรายมากอยู่นั่นเองสำหรับคนอื่นๆ ที่คิดจะทำตัวจนทำให้ถูกมองว่าแสดงตัวสนับสนุนนโยบายที่จางผลักดันเสนอแนะ
ถ้าหากเป็นความจริงตามรายงาน ที่ว่าจีนไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าใดๆ เลยเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ และที่ว่ามีผู้สนับสนุนจางบางคนกำลังขอลี้ภัยอยู่ในจีน มันก็จะเป็นลางร้ายไม่เพียงแค่สำหรับโมเดลการปฏิรูปแบบจีนเท่านั้น หากแต่สำหรับความสัมพันธ์จีน-เกาหลีเหนือโดยรวมอีกด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าในบรรดาความผิดยาวเหยียดเป็นหางว่าวที่จางถูกกล่าวหาว่ากระทำนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งคือการที่เขาขายทรัพย์สินของเกาหลีเหนือให้จีนในราคาที่ถูกเกินไป ข้อนี้ย่อมต้องทำให้ฝ่ายจีนรู้สึกเจ็บแสบเหมือนเอาเกลือมาขยี้ใส่แผล
เพื่อนร่วมงานชาวจีนหลายคน บางครั้งก็พูดกับผมแบบกึ่งๆ ปล่อยมุกวา พวกเขาต้องการนำลูกๆ ของพวกเขาไปยังเกาหลีเหนือ เพื่อให้เด็กๆ รุ่นหลังเหล่านี้ได้เห็นว่าจีนมีสภาพอย่างไรในอดีตที่ผ่านมา ก่อนหน้าที่ เติ้ง เสี่ยวผิง จะนำพาประเทศให้ก้าวเดินไปตามหนทางการปฏิรูป ผู้คนจำนวนมากในประเทศจีนดูเหมือนจะเชื่อ (หรืออย่างน้อยที่สุดก็ดูเหมือนจะหวัง) ว่า จาง ซองเต็ก จะกลายเป็น เติ้ง เสี่ยวผิง ของเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมด้วยว่า เติ้งนั้นเคยถูกกวาดล้างตกจากอำนาจถึง 2 ครั้ง 2 ครา ก่อนที่เขาจะดำเนินการรัฐประหารยึดอำนาจจากภายในเมื่อปี 1976 และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในจีน โดยที่มีการกวาดขับกลุ่มซึ่งได้รับฉายาว่า “แก๊ง 4 คน” ที่นำโดย เจียง ชิง ภริยาหม้ายของเหมาเจ๋อตง ให้ตกลงจากอำนาจ
ในเวลาที่คนอื่นๆ จะคอยเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดว่านโยบายของเกาหลีเหนือเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นผลจากการกวาดล้างและการประหารชีวิตจาง แต่สิ่งที่มีความสำคัญที่สุด อาจจะเป็น ความเปลี่ยนแปลงที่เราคงจะไม่ได้เห็นกันเแล้ว โอกาสที่จะเกิดการปฏิรูปในสไตล์แบบเติ้งขึ้นในเกาหลีเหนือนั้น อาจจะเพิ่งดับสูญไปพร้อมๆ กับการสิ้นชีวิตของจาง ลองคิดจินตนาการดูเถอะ ชะตากรรมของประเทศจีนจะเป็นอย่างไร ถ้าหากพวกแก๊ง 4 คนเป็นฝ่ายชนะ? นี่แหละอาจจะเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นในกรุงเปียงยาง
ราล์ฟ เอ คอสซา (Ralph@pacforum.org) เป็นประธานโปรแกรม แปซิฟิกฟอรัม (Pacific Forum) ของ ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS) กรุงวอชิงตัน
ข้อเขียนนี้มาจาก “แพกเน็ต” (PacNet) จดหมายข่าวของ แปซิฟิกฟอรัม CSIS