(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Kyrgyz workers query Chinese influx
By Bakyt Asanov and Farangis Najibullah
18/11/2013
สารพันเงินทุนจากจีนแห่กันเข้าไปช่วยสร้างทางหลวงสายต่างๆ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานนานาโครงการมากมายในคีร์กีซสถาน กระนั้นก็ตาม นักเคลื่อนไหวด้านแรงงานออกมาเรียกร้องขอคำเฉลยจากภาครัฐว่า ทำไมตำแหน่งงานจำนวนมหาศาลจึงตกไปเป็นของแรงงานจากจีน ขณะที่คนงานคีร์กีซกลับต้องไปเสาะหางานทำในรัสเซีย
ในเมื่อปริมาณงานในประเทศอยู่ในภาวะขาดแคลนหนักหนาขนาดที่ว่าคนคีร์กีซต้องโยกย้ายไปหางานทำในต่างประเทศ แล้วทำไมจึงมีชาวจีนมหาศาลหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดงานของคีร์กีซสถาน ประเด็นความข้อนี้ได้เป็นปุจฉาที่ถูกหยิบยกขึ้นโดยผู้ใช้แรงงานและนักเคลื่อนไหวด้านแรงงานมากมาย ซึ่งกำลังรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศเอเชียกลางแห่งนี้ดำเนินการสงวนรักษาอาชีพให้แก่ประชาชนชาวคีร์กีซ
“ยากครับที่คนคีร์กีซธรรมดาๆ จะเข้าใจได้ว่าทำไมทางการจึงให้โควตางานแก่ต่างชาติ” นายอูร์มัตเบค เชอร์กาซีฟ นักเคลื่อนไหวภาคประชาชนจากเขตโคชคอร์ ในภูมิภาคนาริน ซึ่งอยู่ทางซีกตะวันออกของคีร์กีซสถาน เปิดประเด็นขึ้นมา พร้อมให้ข้อมูลว่า
“ไม่มีหรอกครับเรื่องที่ว่าประเทศเราขาดแคลนคนที่เต็มใจไปทำงานที่รัฐเอาไปแจกแก่ต่างชาติ เรื่องของเรื่องคือบริษัทพวกนี้ไม่ยอมจ้างพวกเราต่างหาก ใครๆ ก็อยากจะมีงานทำอยู่ในประเทศ มากว่าจะต้องไปตระเวนทั่วรัสเซียเพื่อหางานให้ถูกเหยียดหยามว่าต่ำต้อย”
ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และเยาวชนแห่งคีร์กีซสถาน คนจีนมีสัดส่วนราว 70% ของคนต่างด้าวทั้งหมดที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องอยู่ในระบบโควตางานของคีร์กีซสถาน โดยที่ระบบโควตานี้กำหนดขึ้นสำหรับจัดสรรคนงานต่างด้าว เป็นจำนวนราว 13,000 ตำแหน่งต่อปี
สถานเอกอัครราชทูตจีนในกรุงบิชเคกให้ตัวเลขว่า มีผู้อพยพจีนราว 20,000 รายที่ทำงานประเภทต่างๆ อยู่ในบริษัทร่วมลงทุนจีน-คีร์กีซ ตลอดจนในตลาดต่างๆ ในร้านอาหาร และในสารพัดสถานประกอบการของคีร์กีซสถาน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแย้งว่า จำนวนจริงของแรงงานจีนในคีร์กีซสถานสูงกว่านั้นมาก โดยที่ว่าข้อมูลจากนางไอกุล ริสกูโลวา อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และเยาวชน ให้ไว้ที่ประมาณ 50,000 ราย
นักวิจารณ์ฟันธงว่า ตัวเลขดังกล่าวถือว่าสูงมากเกินไปอย่างยิ่ง ในเมื่อคีร์กีซสถานยังไม่สามารถแก้ปัญหาอัตราการว่างงานที่สูงลิ่วควบคู่กับปัญหาค่าจ้างแรงงานต่ำสุดๆ ตัวเลขประมาณการระบุกันว่า จากยอดประชากร 5.5 ล้านคน มีชาวคีร์กีซราว 500,000 คนที่ย้ายถิ่นออกนอกประเทศทุกปี เพื่อไปหางานทำในรัสเซียและคาซัคสถาน
ในขณะที่ อัตราว่างงานของทางการประกาศที่ประมาณ 8% นายอาซามัต อาเคลีฟ นักเศรษฐศาสตร์ในบิชเคกแย้งว่าสถิติดังกล่าวมิได้สะท้อนความเป็นจริง “คนที่มีงานทำแค่ตามฤดูกาล อาทิ ผู้อพยพโยกย้ายไปทำงานในรัสเซีย กลับถูกลงทะเบียนไว้ว่าเป็นแรงงานที่ถูกจ้างเต็มเวลา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาไม่มีงานทำในประเทศ จึงต้องออกไปเป็นแรงงานในต่างชาติ”
กระนั้นก็ตาม ยังมีความคิดต่างที่แย้งไว้ว่า งานที่คนงานต่างด้าวได้ทำภายในคีร์กีซสถานนั้น คืองานประเภทที่คนท้องถิ่นไม่เต็มใจจะทำ ทั้งนี้ นายดอสกูล เบกมูร์ซาเอฟ โฆษกกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และเยาวชน อธิบายว่า คนคีร์กีซมากมายพอใจจะทำงานตามฤดูกาลในรัสเซีย ซึ่งได้เงินสูงกว่า ภายในระยะเวลาทำงานแค่ช่วงสั้นๆ
“ถ้าคุณไปดูโครงการสร้างทางหลวงสายบิชเคก-โตรูการ์ท ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้างภายใต้โครงการความร่วมมือจีน-คีร์กีซ คุณจะเห็นได้ว่าผมไม่ได้พูดเข้าข้างใคร เพราะคนจีนที่ทำงานตรงนั้นจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้ามืด และทำงานกันหนักมาก” เบกมูร์ซาเอฟกล่าว และบอกด้วยว่า “สภาพการทำงานต่างๆ ไม่ใช่ง่ายๆ เลย ดังนั้น พลเมืองของเราจึงพอใจจะไปทำงานในรัสเซียมากกว่า”
**ข้อกำหนดของฝ่ายจีน**
ในท่ามกลางข้อถกเถียงต่างๆ ยังมีงานบางประเภทที่เป็นงานยอดนิยม แต่ถูกมอบให้แก่แรงงานต่างด้าวตามข้อตกลงที่มีขึ้นกับบริษัทต่างประเทศ ทั้งนี้ นายสุลต่าน ซาริกาเอฟ ซึ่งกำกับดูแลกรมการลงทุนต่างประเทศ ในสังกัดกระทรวงขนส่งและสื่อสารคมนาคม บอกว่านักลงทุนจีนจะกำหนดไว้เป็นกฎเลยว่า “จะเอาผู้เชี่ยวชาญของพวกเขามาลงในงานบางสาขาซึ่งต้องการคุณภาพแบบเฉพาะเจาะจง”
“มันไม่ใช่ว่าแค่สักแต่ว่าจะคัดเลือกแรงงานใครก็ได้จากข้างในประเทศ” นายซาริกาเอฟกล่าวขยายความไว้อย่างนั้น โดยบอกว่า “ฝ่ายจีนจะเอาของเขามาทั้งหมด ทั้งเครื่องจักร วิศวกร โฟร์แมน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญที่จะมาคุมเครื่องจักรอุปกรณ์ทั้งปวง”
ตามข้อมูลของนายซาริกาเอฟ โครงการร่วมลงทุนคีร์กีซ-จีน มักถูกกำหนดไว้ว่าต้องสงวนรักษาตำแหน่งงาน 70% ที่เกิดขึ้นในโครงการเหล่านี้ ไว้ให้แก่ประชากรของฝ่ายจีน แล้วให้ตำแหน่งงานแค่ 30% แก่การจ้างงานในประเทศ
ด้านนายอาลียาสเบก อาลิมคูลอฟ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และเยาวชน คนปัจจุบัน ยืนยันว่าข้อตกลงความร่วมมือทุกโครงการที่ทำกับนักลงทุนจีน ล้วนลงนามกันโดยมุ่งสร้างผลประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่แรงงานท้องถิ่น เขากล่าวว่าในการตัดสินใจร่วมโครงการลงทุนกับจีนแต่ละโครงการนั้น ทางการคีร์กีซจะต้องแน่ใจแล้วว่าจะมีการสร้างงานขึ้นมาให้แก่แรงงานในท้องถิ่น อาทิ โครงการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันคารา บัลต้า ทางตะวันตกของกรุงบิชเคก และโครงการสถานีจ่ายไฟฟ้าในตอนเหนือของจังหวัดชุย
รัฐมนตรีคนเดียวกันนี้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในกรณีของโครงการทั้งคู่ดังกล่าว พนักงานท้องถิ่นส่วนใหญ่จะลาออกภายในไม่กี่เดือน โดยบ่นว่าสภาพการทำงานสาหัสมากและค่าจ้างต่ำเหลือเกิน
เขียนและรายงานโดย ฟารันกิส นาจิบูลเลาะห์ จากข้อมูลในรายงานข่าวของ บากีต อาซานอฟ ผู้สื่อข่าว เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ภาคภาษาคีร์กีซ
รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL ทั้งนี้ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง )
Kyrgyz workers query Chinese influx
By Bakyt Asanov and Farangis Najibullah
18/11/2013
สารพันเงินทุนจากจีนแห่กันเข้าไปช่วยสร้างทางหลวงสายต่างๆ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานนานาโครงการมากมายในคีร์กีซสถาน กระนั้นก็ตาม นักเคลื่อนไหวด้านแรงงานออกมาเรียกร้องขอคำเฉลยจากภาครัฐว่า ทำไมตำแหน่งงานจำนวนมหาศาลจึงตกไปเป็นของแรงงานจากจีน ขณะที่คนงานคีร์กีซกลับต้องไปเสาะหางานทำในรัสเซีย
ในเมื่อปริมาณงานในประเทศอยู่ในภาวะขาดแคลนหนักหนาขนาดที่ว่าคนคีร์กีซต้องโยกย้ายไปหางานทำในต่างประเทศ แล้วทำไมจึงมีชาวจีนมหาศาลหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดงานของคีร์กีซสถาน ประเด็นความข้อนี้ได้เป็นปุจฉาที่ถูกหยิบยกขึ้นโดยผู้ใช้แรงงานและนักเคลื่อนไหวด้านแรงงานมากมาย ซึ่งกำลังรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศเอเชียกลางแห่งนี้ดำเนินการสงวนรักษาอาชีพให้แก่ประชาชนชาวคีร์กีซ
“ยากครับที่คนคีร์กีซธรรมดาๆ จะเข้าใจได้ว่าทำไมทางการจึงให้โควตางานแก่ต่างชาติ” นายอูร์มัตเบค เชอร์กาซีฟ นักเคลื่อนไหวภาคประชาชนจากเขตโคชคอร์ ในภูมิภาคนาริน ซึ่งอยู่ทางซีกตะวันออกของคีร์กีซสถาน เปิดประเด็นขึ้นมา พร้อมให้ข้อมูลว่า
“ไม่มีหรอกครับเรื่องที่ว่าประเทศเราขาดแคลนคนที่เต็มใจไปทำงานที่รัฐเอาไปแจกแก่ต่างชาติ เรื่องของเรื่องคือบริษัทพวกนี้ไม่ยอมจ้างพวกเราต่างหาก ใครๆ ก็อยากจะมีงานทำอยู่ในประเทศ มากว่าจะต้องไปตระเวนทั่วรัสเซียเพื่อหางานให้ถูกเหยียดหยามว่าต่ำต้อย”
ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และเยาวชนแห่งคีร์กีซสถาน คนจีนมีสัดส่วนราว 70% ของคนต่างด้าวทั้งหมดที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องอยู่ในระบบโควตางานของคีร์กีซสถาน โดยที่ระบบโควตานี้กำหนดขึ้นสำหรับจัดสรรคนงานต่างด้าว เป็นจำนวนราว 13,000 ตำแหน่งต่อปี
สถานเอกอัครราชทูตจีนในกรุงบิชเคกให้ตัวเลขว่า มีผู้อพยพจีนราว 20,000 รายที่ทำงานประเภทต่างๆ อยู่ในบริษัทร่วมลงทุนจีน-คีร์กีซ ตลอดจนในตลาดต่างๆ ในร้านอาหาร และในสารพัดสถานประกอบการของคีร์กีซสถาน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแย้งว่า จำนวนจริงของแรงงานจีนในคีร์กีซสถานสูงกว่านั้นมาก โดยที่ว่าข้อมูลจากนางไอกุล ริสกูโลวา อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และเยาวชน ให้ไว้ที่ประมาณ 50,000 ราย
นักวิจารณ์ฟันธงว่า ตัวเลขดังกล่าวถือว่าสูงมากเกินไปอย่างยิ่ง ในเมื่อคีร์กีซสถานยังไม่สามารถแก้ปัญหาอัตราการว่างงานที่สูงลิ่วควบคู่กับปัญหาค่าจ้างแรงงานต่ำสุดๆ ตัวเลขประมาณการระบุกันว่า จากยอดประชากร 5.5 ล้านคน มีชาวคีร์กีซราว 500,000 คนที่ย้ายถิ่นออกนอกประเทศทุกปี เพื่อไปหางานทำในรัสเซียและคาซัคสถาน
ในขณะที่ อัตราว่างงานของทางการประกาศที่ประมาณ 8% นายอาซามัต อาเคลีฟ นักเศรษฐศาสตร์ในบิชเคกแย้งว่าสถิติดังกล่าวมิได้สะท้อนความเป็นจริง “คนที่มีงานทำแค่ตามฤดูกาล อาทิ ผู้อพยพโยกย้ายไปทำงานในรัสเซีย กลับถูกลงทะเบียนไว้ว่าเป็นแรงงานที่ถูกจ้างเต็มเวลา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาไม่มีงานทำในประเทศ จึงต้องออกไปเป็นแรงงานในต่างชาติ”
กระนั้นก็ตาม ยังมีความคิดต่างที่แย้งไว้ว่า งานที่คนงานต่างด้าวได้ทำภายในคีร์กีซสถานนั้น คืองานประเภทที่คนท้องถิ่นไม่เต็มใจจะทำ ทั้งนี้ นายดอสกูล เบกมูร์ซาเอฟ โฆษกกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และเยาวชน อธิบายว่า คนคีร์กีซมากมายพอใจจะทำงานตามฤดูกาลในรัสเซีย ซึ่งได้เงินสูงกว่า ภายในระยะเวลาทำงานแค่ช่วงสั้นๆ
“ถ้าคุณไปดูโครงการสร้างทางหลวงสายบิชเคก-โตรูการ์ท ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้างภายใต้โครงการความร่วมมือจีน-คีร์กีซ คุณจะเห็นได้ว่าผมไม่ได้พูดเข้าข้างใคร เพราะคนจีนที่ทำงานตรงนั้นจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้ามืด และทำงานกันหนักมาก” เบกมูร์ซาเอฟกล่าว และบอกด้วยว่า “สภาพการทำงานต่างๆ ไม่ใช่ง่ายๆ เลย ดังนั้น พลเมืองของเราจึงพอใจจะไปทำงานในรัสเซียมากกว่า”
**ข้อกำหนดของฝ่ายจีน**
ในท่ามกลางข้อถกเถียงต่างๆ ยังมีงานบางประเภทที่เป็นงานยอดนิยม แต่ถูกมอบให้แก่แรงงานต่างด้าวตามข้อตกลงที่มีขึ้นกับบริษัทต่างประเทศ ทั้งนี้ นายสุลต่าน ซาริกาเอฟ ซึ่งกำกับดูแลกรมการลงทุนต่างประเทศ ในสังกัดกระทรวงขนส่งและสื่อสารคมนาคม บอกว่านักลงทุนจีนจะกำหนดไว้เป็นกฎเลยว่า “จะเอาผู้เชี่ยวชาญของพวกเขามาลงในงานบางสาขาซึ่งต้องการคุณภาพแบบเฉพาะเจาะจง”
“มันไม่ใช่ว่าแค่สักแต่ว่าจะคัดเลือกแรงงานใครก็ได้จากข้างในประเทศ” นายซาริกาเอฟกล่าวขยายความไว้อย่างนั้น โดยบอกว่า “ฝ่ายจีนจะเอาของเขามาทั้งหมด ทั้งเครื่องจักร วิศวกร โฟร์แมน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญที่จะมาคุมเครื่องจักรอุปกรณ์ทั้งปวง”
ตามข้อมูลของนายซาริกาเอฟ โครงการร่วมลงทุนคีร์กีซ-จีน มักถูกกำหนดไว้ว่าต้องสงวนรักษาตำแหน่งงาน 70% ที่เกิดขึ้นในโครงการเหล่านี้ ไว้ให้แก่ประชากรของฝ่ายจีน แล้วให้ตำแหน่งงานแค่ 30% แก่การจ้างงานในประเทศ
ด้านนายอาลียาสเบก อาลิมคูลอฟ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน การย้ายถิ่น และเยาวชน คนปัจจุบัน ยืนยันว่าข้อตกลงความร่วมมือทุกโครงการที่ทำกับนักลงทุนจีน ล้วนลงนามกันโดยมุ่งสร้างผลประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่แรงงานท้องถิ่น เขากล่าวว่าในการตัดสินใจร่วมโครงการลงทุนกับจีนแต่ละโครงการนั้น ทางการคีร์กีซจะต้องแน่ใจแล้วว่าจะมีการสร้างงานขึ้นมาให้แก่แรงงานในท้องถิ่น อาทิ โครงการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันคารา บัลต้า ทางตะวันตกของกรุงบิชเคก และโครงการสถานีจ่ายไฟฟ้าในตอนเหนือของจังหวัดชุย
รัฐมนตรีคนเดียวกันนี้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในกรณีของโครงการทั้งคู่ดังกล่าว พนักงานท้องถิ่นส่วนใหญ่จะลาออกภายในไม่กี่เดือน โดยบ่นว่าสภาพการทำงานสาหัสมากและค่าจ้างต่ำเหลือเกิน
เขียนและรายงานโดย ฟารันกิส นาจิบูลเลาะห์ จากข้อมูลในรายงานข่าวของ บากีต อาซานอฟ ผู้สื่อข่าว เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ภาคภาษาคีร์กีซ
รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL ทั้งนี้ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง )