(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
US gives, China withholds in Philippine crisis
By Noel Tarrazona
13/11/2013
ตัวเลขเงินบริจาคช่วยเหลือที่ให้แก่ฟิลิปปินส์ซึ่งต้องเผชิญความเดือดร้อนหนักจากฤทธิ์เดชมหาพายุไต้ฝุ่น “ไห่เยี่ยน” เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าจีนกับสหรัฐฯใช้วิธีการอย่างไรในการสร้างโอกาสจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การที่สหรัฐฯเร่งประกาศตั้งแต่แรกๆ ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมเป็นมูลค่า 20 ล้านดอลลาร์ สามารถที่จะมองได้ว่าเป็นความพยายามที่จะเอาชนะหัวจิตหัวใจของผู้คนแดนตากาล็อก เพื่อที่แดนอินทรีจะได้ปักหลักมั่นคงยิ่งขึ้นในการนำเอากำลังทางทหารมาเคลื่อนไหวในบริเวณนี้ ขณะที่จีนในตอนต้นให้สัญญาจะช่วยเหลือเป็นมูลค่าอันน้อยนิดน่าหัวเราะเพียง 100,000 ดอลลาร์ คือการส่งสัญญาณให้เห็นถึงความไม่พอใจของปักกิ่ง จากการที่มะนิลาประกาศอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งแดนมังกรถือว่าเป็นของตน
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**การตอบสนองอย่างแตกต่าง**
เหตุผลทางภูมิรัฐศาสตร์คือสิ่งที่อยู่เบื้องลึกลงไปและทำให้สหรัฐฯกับจีนแสดงการตอบสนองที่แตกต่างกันไปคนละทิศในการรับมือกับวิกฤตทางด้านมนุษยธรรมครั้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ในระยะหลังๆ นี้ การที่วอชิงตันตอบสนองอย่างรวดเร็ว ด้วยความเต็มอกเต็มใจ และมีขนาดใหญ่โต มาจากพื้นภูมิหลังที่ว่า การกระทำเช่นนี้จะเปิดทางให้กองทหาร, เครื่องบิน, และเรือรบของสหรัฐฯ สามารถเข้าไปใช้ฐานทัพทางทหารต่างๆ ที่ฟิลิปปินส์เป็นผู้ควบคุมอยู่ตลอดทั่วแดนตากาล็อก ได้อย่างสะดวกง่ายดายมากขึ้น
สหรัฐฯกับฟิลิปปินส์กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากัน เพื่อจัดทำข้อตกลงแม่บทซึ่งจะครอบคลุมเรื่องดังกล่าวนี้ นักวิเคราะห์จำนวนมากมีความเห็นว่า ข้อตกลงแม่บทฉบับนี้น่าที่จะกลายเป็น “หัวหาด” อันสำคัญยิ่งสำหรับนโยบายหวนกลับมาเน้นหนักเอเชียของสหรัฐฯ ซึ่งได้รับการเรียกขานว่า นโยบาย “การปักหมุด” (pivot) สู่เอเชีย-แปซิฟิก โดยที่วอชิงตันวางแผนกำหนดออกมาแล้วว่า จะโยกย้ายทรัพย์สินทางด้านกองทัพเรือทั้งหมดของตนในอัตราส่วน 60% มาประจำอยู่ทางแถบเอเชีย-แปซิฟิก ความหมายสำคัญเบื้องหลังนโยบายนี้ถึงแม้มิได้มีการแถลงระบุออกมา แต่ก็เป็นที่กระจ่างแจ่มแจ้งแก่ฝ่ายต่างๆ ว่าคือการมุ่งถ่วงดุลคานอำนาจจีน ที่กำลังสร้างเสริมเพิ่มอิทธิพลในภูมิภาค ตลอดจนแสดงความมุ่งมั่นแข็งกร้าวในการอ้างสิทธิเหนือดินแดนพิพาทมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งในพื้นที่ซึ่งอยู่ตรงช่องทางการเดินเรืออันสำคัญยิ่งยวดในทะเลจีนใต้
ก่อนที่มหาพายุลูกนี้จะพัดถล่มแดนตากาล็อก การเจรจาระหว่างสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์ต้องชะงักงันลงเนื่องจากมีประเด็นปัญหาที่รอมชอมกันไม่ได้หลายประการ โดยนอกเหนือจากประเด็นต่างๆ ที่มิได้มีการเปิดเผยกันออกมาแล้ว เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ยังไม่อาจตกลงกัน ได้แก่ประเด็นที่ว่า ใครจะเป็นเจ้าของผู้ถือครองกรรมสิทธิ์สูงสุดเหนือเครื่องมืออุปกรณ์และสิ่งปลูกสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งสหรัฐฯจะเป็นผู้ก่อสร้างและนำเข้ามาติดตั้งในฟิลิปปินส์ตามกรอบของข้อตกลงแม่บท นอกจากนั้นแล้ว ระหว่างที่มีการหารือเกี่ยวกับข้อตกลงฉบับนี้ ในฟิลิปปินส์ยังเกิดการประท้วงคัดค้านในลักษณะชาตินิยมขึ้นมาไม่ขาดสาย โดยการคัดค้านเช่นนี้มุ่งแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้กองทัพอเมริกันเข้ามาปรากฏตัวและแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้นในแดนตากาล็อก ผู้ประท้วงเหล่านี้พยายามชี้ให้เห็นถึงผลด้านลบต่างๆ นานา ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เป็นต้นว่า ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ยินยอมให้สหรัฐฯเข้าไปตั้งฐานทัพ ไม่เพียงเท่านั้น พวกเขายังหยิบยกสิ่งที่คนฟิลิปปินส์เห็นกันว่าเป็นการล่วงละเมิดและถืออำนาจบาตรใหญ่อย่างเลวร้ายของสหรัฐฯ เมื่อครั้งที่แดนอินทรียังมาตั้งฐานทัพขนาดใหญ่ 2 แห่งในฟิลิปปินส์ นั่นคือ ฐานทัพเรืออ่าวซูบิก และฐานทัพอากาศคลาร์ก พวกเขาโต้แย้งว่าเวลานี้วอชิงตันกำลังฉกฉวยหาประโยชน์จากการที่มะนิลากำลังเกิดกรณีพิพาททางดินแดนอยู่กับปักกิ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของอเมริกันเองเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่ามีความปรารถนาดีอะไรต่อฟิลิปปินส์อย่างจริงจัง
ฝ่ายที่สนับสนุนให้ทำข้อตกลงแม่บท ได้เคยวาดหวังเอาไว้ว่า จากการที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ มีกำหนดการเดินทางมาเยือนมะนิลาในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เขาจะอาศัยอิทธิพลบารมีดึงดูดใจของเขามาผ่าทางตันที่ติดแหง็กกันอยู่ได้สำเร็จ แต่แล้วโอบามาก็กลับต้องประกาศยกเลิกการเยือน สืบเนื่องจากวิกฤตปิดหน่วยงานรัฐบาลอเมริกัน (วิกฤตชัตดาวน์) จากความเป็นปรปักษ์กันระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันในวอชิงตัน จึงยิ่งทำให้การเจรจาเรื่องข้อตกลงแม่บทนี้ดูลำบากยากเย็นมากขึ้นอีก ตั้งแต่บัดนั้นมาพวกเจ้าหน้าที่ยังคงเปิดปากพูดแต่เพียงว่า การเจรจากำลังอยู่ในขั้นตอน “สำคัญยิ่งยวด” ทว่าก็ไม่ได้มีการบ่งชี้ใดๆ ว่า การที่ยังไม่อาจรอมชอมกันในประเด็นปัญหาซึ่งค้างคาอยู่ จะถึงขั้นเป็นการคุกคามทำให้ดีลเรื่องนี้ต้องล้มเลิกไปเลยหรือไม่
ขณะที่ความช่วยเหลือของสหรัฐฯในการบรรเทาทุกข์ร้อนจากมหาพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ ได้รับการประโคมข่าวอย่างเอิกเกริกนั้น อันที่จริงแล้วรัฐบาลอเมริกันยังได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการตอบสนองทางด้านมนุษยธรรมในฟิลิปปินส์อีกกรณีหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ถึงแม้มีลักษณะเป็นการช่วยอยู่หลังฉากมากกว่าคราวล่าสุดนี้ นั่นก็คือ กรณีที่พวกกบฏมุสลิมได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองซัมบวงกาซิตี้ (Zamboanga City) ทั้งนี้ ยูเสดได้บริจาคความช่วยเหลือทั้งในรูปของน้ำ, อุปกรณ์ในการนอน, อาหาร, และส้วมเคลื่อนที่ รวมเป็นมูลค่าอย่างน้อยที่สุด 600,000 ดอลลาร์ เพื่อช่วยพวกผู้ลี้ภัยกว่า 100,000 คน ซึ่งต้องหลบหนีออกจากบ้านเนื่องจากตกอยู่ท่ามกลางการยิงต่อสู้กันระหว่างกองกำลังความมั่นคงของฟิลิปปินส์ กับกองกำลังของกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (Moro National Liberation Front ใช้อักษรย่อว่า MNLF)
“สหรัฐฯนั้นยืนอยู่เคียงข้างเสมอมา ในเวลาที่ฟิลิปปินส์เกิดมีความจำเป็นขึ้น และเราก็จะสืบต่อประเพณีดังกล่าวนี้ในวันนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ร้อนในซัมบวงกา” เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำฟิลิปปินส์ แฮร์รี โธมัส (Harry Thomas) กล่าวเอาไว้เช่นนี้ในเวลานั้น
สิ่งหนึ่งที่อาจจะเป็นร่องรอยบ่งบอกให้เห็นว่า ข้อตกลงแม่บทด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์ซึ่งกำลังเจรจากันอยู่ จะสามารถใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง ได้แก่ตอนที่กำลังเกิดกรณีปิดล้อมเมืองซัมบวงกา นอกเหนือจากความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแล้ว สหรัฐฯยังได้จัดหาเรือตรวจการณ์ลำน้ำขนาดเล็กความเร็วสูง ที่เรียกว่า small unit riverine craft (SURC) จำนวนรวม 6 ลำ มาให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ใช้ในการสู้รบกับกองกำลังฝ่ายกบฎซึ่งเป็นพวกที่มีประสบการณ์ผ่านการสู้รบมาแล้ว โดยที่การต่อสู้ชิงเมืองซัมบวงกาซิตี้ จะต้องพันตูกันในบริเวณพื้นที่ลุ่มริมชายฝั่งซึ่งเต็มไปด้วยป่าโกงกาง มีรายงานว่าเรือของสหรัฐฯเหล่านี้ช่วยให้กองกำลังความมั่นคงสามารถจับกุมมือซุ่มยิงที่เป็นกำลังสำคัญของพวกกบฏเอาไว้ได้หลายสิบคน และนั่นคือกุญแจสำคัญที่สุดที่ทำให้ปราบปรามการก่อกบฎคราวนั้นลงได้อย่างราบคาบ
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯกำลังพยายามที่จะอาศัยการให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมของตน มาเอาชนะหัวจิตหัวใจของประชาชนท้องถิ่น ให้ยอมรับอเมริกันเข้าไปปรากฏตัวเข้าไปมีบทบาทในทางทหารในแดนตากาล็อกเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ก่อนหน้าภัยพิบัติจากไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน และการยึดเมืองซัมบวงกาซิตี้ แรงต่อต้านของคนท้องถิ่นต่อการที่ทหารอเมริกันจำนวนหนึ่งตั้งประจำอยู่ในเกาะมินดาเนา (Mindanao) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกทีๆ เมื่อปีที่แล้วมีผู้ประท้วงจำนวนมากถึงราว 10,000 คน ออกมาเดินขบวนในเมืองซัมบวงกาซิตี้ เพื่อเรียกร้องให้ขับไล่ทหารสหรัฐฯเหล่านี้ออกไป โดยพวกประท้วงระบุว่า ตั้งแต่ที่ทหารสหรัฐฯจำนวนเพิ่มมากขึ้นเข้ามาประจำอยู่ในบริเวณแถบนี้ ในรูปแบบของการหมุนเวียนอยู่กันคราวละ 6 เดือนตามที่ได้ตกลงกันไว้กับมะนิลานั้น สถานการณ์การขัดแย้งสู้รบด้วยอาวุธและการก่อการร้ายในมินดาเนาไม่ได้ดีขึ้นเลย หากแต่กลับย่ำแย่เลวร้ายลงเรื่อยๆ
พวกคอมเมนเตเตอร์ของสื่ออเมริกันซึ่งมีฐานอยู่ในวอชิงตัน หลายๆ ราย แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า เบื้องหลังของการปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติอย่างรวดเร็วและแข็งขันของสหรัฐฯ ก็คือเหตุผลการคิดคำนวณในเรื่องผลประโยชน์รูปธรรมในทางภูมิรัฐศาสตร์
“การนำเอาทรัพยากรต่างๆ ทางการทหารไปช่วยบรรเทาภัยพิบัติ คือการลงทุนสำหรับอนาคตที่มีประสิทธิภาพอย่างโดดเด่น และก็ราคาไม่แพงด้วย” โจนาห์ แบลงก์ (Jonah Blank) อดีตผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ของคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐฯ เขียนเอาไว้ชัดๆ เช่นนี้ “ความนิยมและมิตรไมตรีที่การช่วยบรรเทาทุกข์เมื่อครั้งเกิดภัยพิบัติสึนามิ ช่วยนำมาให้แก่สหรัฐฯนั้น เป็นสิ่งที่ล้ำค่าจนไม่อาจคำนวณราคาได้ หลังจากเวลาผ่านไปเกือบ 1 ทศวรรษ การปฏิบัติการของสหรัฐฯในคราวนั้นก็ยังคงสามารถจัดให้เป็นหนึ่งในเหตุผลรูปธรรมที่สุด ซึ่งทำให้บรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเชื่อถือไว้วางใจสหรัฐฯ เมื่อสหรัฐฯประกาศคำมั่นสัญญาระยะยาวในการดำเนินยุทธศาสตร์แห่ง ‘การกลับมาสร้างความสมดุลในเอเชีย’(Asian rebalancing ยุทธศาสตร์นี้ก็คือนโยบาย “ปักหมุด” Pivot นั่นเอง เพียงแต่ว่าในตอนแรกวอชิงตันใช้คำว่า Pivot แล้วต่อมาจึงเปลี่ยนไปใช้คำว่า Rebalancing -ผู้แปล)”
การตอบโต้รับมือของสหรัฐฯต่อมหาพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน จะก่อให้เกิดผลกำไรทางการทูตในทำนองเดียวกันได้หรือไม่ ดูจะยังไม่ค่อยมีความชัดเจนนักในยุคสมัยนี้ซึ่งปักกิ่งกับวอชิงตันแข่งขันกันอย่างดุเดือดเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วงชิงฐานะความเป็นใหญ่ในภูมิภาค จีนอาจจะตระหนักดีว่าตนเองไม่สามารถแข่งขันกับสมรรถนะของกองทัพสหรัฐฯได้ในเรื่องการลำเลียงขนส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปให้ถึงมือผู้ประสบภัย และยิ่งเมื่อบวกกับการที่เวลานี้แดนมังกรกำลังมีความตึงเครียดทวิภาคีอยู่กับแดนตากาล็อกด้วยแล้ว ปักกิ่งจึงตัดสินใจที่จะปล่อยให้สหรัฐฯเป็นฝ่ายทำคะแนนในการเข้าไปลงแรงเป็นผู้นำดำเนินการบรรเทาทุกข์ในฟิลิปปินส์ โดยที่ยอมรับว่าจีนต้องตกเป็นเสียแต้มในทางยุทธศาสตร์ในกรณีนี้
อย่างไรก็ดี จากการที่สหรัฐฯมีจุดมุ่งหมายที่จะอาศัยภัยพิบัติคราวนี้มาส่งเสริมสนับสนุนเป้าหมายทางยุทธศาสตร์อันกว้างไกลยิ่งขึ้นของตนในฟิลิปปินส์ จึงย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าพายุลูกใหญ่แห่งการปะทะกับจีนต่อไปอีกในอนาคต กำลังก่อตัวสะสมกำลังอยู่ที่โค้งขอบฟ้า
หมายเหตุ:
[1] กองทัพเรือสหรัฐฯออกคำแถลงฉบับหนึ่งมีข้อความว่า เรือบรรทุกเครื่องบิน “ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ซึ่งมีลูกเรือประจำการอยู่ 5,000 คน และเครื่องบินอีกว่า 60 ลำ จะสมทบด้วยเรืออื่นๆ ในหมู่เรือโจมตีเดียวกัน อันประกอบด้วย เรือประจัญบาน (2 ลำ คือ) ยูเอสเอส แอนทีแทม USS Antietam (CG 54) และ ยูเอสเอส คาวเพนส์ USS Cowpens (CG 63), และเรือพิฆาต ยูเอสเอส มัสติน USS Mustin (DDG 89) สำหรับเรือ ยูเอสเอส แลสเสน USS Lassen (DDG 82) ได้ออกเดินทางจากฮ่องกงแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ ทั้งนี้กองบินที่ประจำบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน นั้น คือ กองบินเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 5 Carrier Air Wing Five (CVW-5) ส่วนเรือสนับสนุน ยูเอสเอ็นเอส ชาร์ลส์ ดริว (T-AKE-10) ก็กำลังอยู่ระหว่างการเดินทาง และจะนัดพบกับหมู่เรือนี้เมื่อแล่นเข้ามาใกล้กันมากกว่านี้ ...
“หมู่เรือโจมตีนี้พร้อมด้วยกองบินในสังกัด ซึ่งยังประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์จำนวน 21 ลำนั้น ก่อให้เกิดศักยภาพอันสำคัญทางด้านการแพทย์ ตลอดจนมีความสามารถในการทำน้ำสะอาดและในการลำเลียงขนส่งน้ำสะอาด
“สำหรับกองบินเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 5 ประกอบด้วยเครื่องบินซึ่งออกแบบมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ กันหลายหลาก รวมถึงการบรรเทาทุกข์ภัยพิบัติด้วย โดยที่กองบินนี้มีฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ในสังกัด คือ ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์สู้รบทางทะเลที่ 12 (Helicopter Sea Combat Squadron 12) เจ้าของฉายา “เหยี่ยวสีทอง” (Golden Falcons) ซึ่งใช้เฮลิคอปเตอร์ เอ็มเอช-60เอส ซีฮอว์ก (MH-60S Seahawk), และ ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีทางน้ำที่ 77 (Helicopter Maritime Strike Squadron 77) เจ้าของฉายา “เหยี่ยวติดดาบ” (Saberhawks) ที่ใช้เฮลิคอปเตอร์ เอ็มเอช-60อาร์ ซีฮอว์ก (MH-60R Seahawk)
ดูคำแถลงเรื่อง USS George Washington Now Underway for the Philippines, โดย U.S. 7th Fleet Public Affairs, November 12, 2013. (http://www.c7f.navy.mil/news/2013/005.htm)
โนเอล ที ตาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์และศาสตราจารย์อาคันตุกะของมหาวิทยาลัยซัมบวงกา (Universidad de Zamboanga) โครงการปริญญาโทด้านบริหารรัฐกิจ (Master of Public Administration Program) สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ noeljobstreet@yahoo.com
US gives, China withholds in Philippine crisis
By Noel Tarrazona
13/11/2013
ตัวเลขเงินบริจาคช่วยเหลือที่ให้แก่ฟิลิปปินส์ซึ่งต้องเผชิญความเดือดร้อนหนักจากฤทธิ์เดชมหาพายุไต้ฝุ่น “ไห่เยี่ยน” เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าจีนกับสหรัฐฯใช้วิธีการอย่างไรในการสร้างโอกาสจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การที่สหรัฐฯเร่งประกาศตั้งแต่แรกๆ ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมเป็นมูลค่า 20 ล้านดอลลาร์ สามารถที่จะมองได้ว่าเป็นความพยายามที่จะเอาชนะหัวจิตหัวใจของผู้คนแดนตากาล็อก เพื่อที่แดนอินทรีจะได้ปักหลักมั่นคงยิ่งขึ้นในการนำเอากำลังทางทหารมาเคลื่อนไหวในบริเวณนี้ ขณะที่จีนในตอนต้นให้สัญญาจะช่วยเหลือเป็นมูลค่าอันน้อยนิดน่าหัวเราะเพียง 100,000 ดอลลาร์ คือการส่งสัญญาณให้เห็นถึงความไม่พอใจของปักกิ่ง จากการที่มะนิลาประกาศอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งแดนมังกรถือว่าเป็นของตน
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**การตอบสนองอย่างแตกต่าง**
เหตุผลทางภูมิรัฐศาสตร์คือสิ่งที่อยู่เบื้องลึกลงไปและทำให้สหรัฐฯกับจีนแสดงการตอบสนองที่แตกต่างกันไปคนละทิศในการรับมือกับวิกฤตทางด้านมนุษยธรรมครั้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ในระยะหลังๆ นี้ การที่วอชิงตันตอบสนองอย่างรวดเร็ว ด้วยความเต็มอกเต็มใจ และมีขนาดใหญ่โต มาจากพื้นภูมิหลังที่ว่า การกระทำเช่นนี้จะเปิดทางให้กองทหาร, เครื่องบิน, และเรือรบของสหรัฐฯ สามารถเข้าไปใช้ฐานทัพทางทหารต่างๆ ที่ฟิลิปปินส์เป็นผู้ควบคุมอยู่ตลอดทั่วแดนตากาล็อก ได้อย่างสะดวกง่ายดายมากขึ้น
สหรัฐฯกับฟิลิปปินส์กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากัน เพื่อจัดทำข้อตกลงแม่บทซึ่งจะครอบคลุมเรื่องดังกล่าวนี้ นักวิเคราะห์จำนวนมากมีความเห็นว่า ข้อตกลงแม่บทฉบับนี้น่าที่จะกลายเป็น “หัวหาด” อันสำคัญยิ่งสำหรับนโยบายหวนกลับมาเน้นหนักเอเชียของสหรัฐฯ ซึ่งได้รับการเรียกขานว่า นโยบาย “การปักหมุด” (pivot) สู่เอเชีย-แปซิฟิก โดยที่วอชิงตันวางแผนกำหนดออกมาแล้วว่า จะโยกย้ายทรัพย์สินทางด้านกองทัพเรือทั้งหมดของตนในอัตราส่วน 60% มาประจำอยู่ทางแถบเอเชีย-แปซิฟิก ความหมายสำคัญเบื้องหลังนโยบายนี้ถึงแม้มิได้มีการแถลงระบุออกมา แต่ก็เป็นที่กระจ่างแจ่มแจ้งแก่ฝ่ายต่างๆ ว่าคือการมุ่งถ่วงดุลคานอำนาจจีน ที่กำลังสร้างเสริมเพิ่มอิทธิพลในภูมิภาค ตลอดจนแสดงความมุ่งมั่นแข็งกร้าวในการอ้างสิทธิเหนือดินแดนพิพาทมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งในพื้นที่ซึ่งอยู่ตรงช่องทางการเดินเรืออันสำคัญยิ่งยวดในทะเลจีนใต้
ก่อนที่มหาพายุลูกนี้จะพัดถล่มแดนตากาล็อก การเจรจาระหว่างสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์ต้องชะงักงันลงเนื่องจากมีประเด็นปัญหาที่รอมชอมกันไม่ได้หลายประการ โดยนอกเหนือจากประเด็นต่างๆ ที่มิได้มีการเปิดเผยกันออกมาแล้ว เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ยังไม่อาจตกลงกัน ได้แก่ประเด็นที่ว่า ใครจะเป็นเจ้าของผู้ถือครองกรรมสิทธิ์สูงสุดเหนือเครื่องมืออุปกรณ์และสิ่งปลูกสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งสหรัฐฯจะเป็นผู้ก่อสร้างและนำเข้ามาติดตั้งในฟิลิปปินส์ตามกรอบของข้อตกลงแม่บท นอกจากนั้นแล้ว ระหว่างที่มีการหารือเกี่ยวกับข้อตกลงฉบับนี้ ในฟิลิปปินส์ยังเกิดการประท้วงคัดค้านในลักษณะชาตินิยมขึ้นมาไม่ขาดสาย โดยการคัดค้านเช่นนี้มุ่งแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้กองทัพอเมริกันเข้ามาปรากฏตัวและแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้นในแดนตากาล็อก ผู้ประท้วงเหล่านี้พยายามชี้ให้เห็นถึงผลด้านลบต่างๆ นานา ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เป็นต้นว่า ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ยินยอมให้สหรัฐฯเข้าไปตั้งฐานทัพ ไม่เพียงเท่านั้น พวกเขายังหยิบยกสิ่งที่คนฟิลิปปินส์เห็นกันว่าเป็นการล่วงละเมิดและถืออำนาจบาตรใหญ่อย่างเลวร้ายของสหรัฐฯ เมื่อครั้งที่แดนอินทรียังมาตั้งฐานทัพขนาดใหญ่ 2 แห่งในฟิลิปปินส์ นั่นคือ ฐานทัพเรืออ่าวซูบิก และฐานทัพอากาศคลาร์ก พวกเขาโต้แย้งว่าเวลานี้วอชิงตันกำลังฉกฉวยหาประโยชน์จากการที่มะนิลากำลังเกิดกรณีพิพาททางดินแดนอยู่กับปักกิ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของอเมริกันเองเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่ามีความปรารถนาดีอะไรต่อฟิลิปปินส์อย่างจริงจัง
ฝ่ายที่สนับสนุนให้ทำข้อตกลงแม่บท ได้เคยวาดหวังเอาไว้ว่า จากการที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ มีกำหนดการเดินทางมาเยือนมะนิลาในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เขาจะอาศัยอิทธิพลบารมีดึงดูดใจของเขามาผ่าทางตันที่ติดแหง็กกันอยู่ได้สำเร็จ แต่แล้วโอบามาก็กลับต้องประกาศยกเลิกการเยือน สืบเนื่องจากวิกฤตปิดหน่วยงานรัฐบาลอเมริกัน (วิกฤตชัตดาวน์) จากความเป็นปรปักษ์กันระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันในวอชิงตัน จึงยิ่งทำให้การเจรจาเรื่องข้อตกลงแม่บทนี้ดูลำบากยากเย็นมากขึ้นอีก ตั้งแต่บัดนั้นมาพวกเจ้าหน้าที่ยังคงเปิดปากพูดแต่เพียงว่า การเจรจากำลังอยู่ในขั้นตอน “สำคัญยิ่งยวด” ทว่าก็ไม่ได้มีการบ่งชี้ใดๆ ว่า การที่ยังไม่อาจรอมชอมกันในประเด็นปัญหาซึ่งค้างคาอยู่ จะถึงขั้นเป็นการคุกคามทำให้ดีลเรื่องนี้ต้องล้มเลิกไปเลยหรือไม่
ขณะที่ความช่วยเหลือของสหรัฐฯในการบรรเทาทุกข์ร้อนจากมหาพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ ได้รับการประโคมข่าวอย่างเอิกเกริกนั้น อันที่จริงแล้วรัฐบาลอเมริกันยังได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการตอบสนองทางด้านมนุษยธรรมในฟิลิปปินส์อีกกรณีหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ถึงแม้มีลักษณะเป็นการช่วยอยู่หลังฉากมากกว่าคราวล่าสุดนี้ นั่นก็คือ กรณีที่พวกกบฏมุสลิมได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองซัมบวงกาซิตี้ (Zamboanga City) ทั้งนี้ ยูเสดได้บริจาคความช่วยเหลือทั้งในรูปของน้ำ, อุปกรณ์ในการนอน, อาหาร, และส้วมเคลื่อนที่ รวมเป็นมูลค่าอย่างน้อยที่สุด 600,000 ดอลลาร์ เพื่อช่วยพวกผู้ลี้ภัยกว่า 100,000 คน ซึ่งต้องหลบหนีออกจากบ้านเนื่องจากตกอยู่ท่ามกลางการยิงต่อสู้กันระหว่างกองกำลังความมั่นคงของฟิลิปปินส์ กับกองกำลังของกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (Moro National Liberation Front ใช้อักษรย่อว่า MNLF)
“สหรัฐฯนั้นยืนอยู่เคียงข้างเสมอมา ในเวลาที่ฟิลิปปินส์เกิดมีความจำเป็นขึ้น และเราก็จะสืบต่อประเพณีดังกล่าวนี้ในวันนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ร้อนในซัมบวงกา” เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำฟิลิปปินส์ แฮร์รี โธมัส (Harry Thomas) กล่าวเอาไว้เช่นนี้ในเวลานั้น
สิ่งหนึ่งที่อาจจะเป็นร่องรอยบ่งบอกให้เห็นว่า ข้อตกลงแม่บทด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์ซึ่งกำลังเจรจากันอยู่ จะสามารถใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง ได้แก่ตอนที่กำลังเกิดกรณีปิดล้อมเมืองซัมบวงกา นอกเหนือจากความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแล้ว สหรัฐฯยังได้จัดหาเรือตรวจการณ์ลำน้ำขนาดเล็กความเร็วสูง ที่เรียกว่า small unit riverine craft (SURC) จำนวนรวม 6 ลำ มาให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ใช้ในการสู้รบกับกองกำลังฝ่ายกบฎซึ่งเป็นพวกที่มีประสบการณ์ผ่านการสู้รบมาแล้ว โดยที่การต่อสู้ชิงเมืองซัมบวงกาซิตี้ จะต้องพันตูกันในบริเวณพื้นที่ลุ่มริมชายฝั่งซึ่งเต็มไปด้วยป่าโกงกาง มีรายงานว่าเรือของสหรัฐฯเหล่านี้ช่วยให้กองกำลังความมั่นคงสามารถจับกุมมือซุ่มยิงที่เป็นกำลังสำคัญของพวกกบฏเอาไว้ได้หลายสิบคน และนั่นคือกุญแจสำคัญที่สุดที่ทำให้ปราบปรามการก่อกบฎคราวนั้นลงได้อย่างราบคาบ
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯกำลังพยายามที่จะอาศัยการให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมของตน มาเอาชนะหัวจิตหัวใจของประชาชนท้องถิ่น ให้ยอมรับอเมริกันเข้าไปปรากฏตัวเข้าไปมีบทบาทในทางทหารในแดนตากาล็อกเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ก่อนหน้าภัยพิบัติจากไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน และการยึดเมืองซัมบวงกาซิตี้ แรงต่อต้านของคนท้องถิ่นต่อการที่ทหารอเมริกันจำนวนหนึ่งตั้งประจำอยู่ในเกาะมินดาเนา (Mindanao) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกทีๆ เมื่อปีที่แล้วมีผู้ประท้วงจำนวนมากถึงราว 10,000 คน ออกมาเดินขบวนในเมืองซัมบวงกาซิตี้ เพื่อเรียกร้องให้ขับไล่ทหารสหรัฐฯเหล่านี้ออกไป โดยพวกประท้วงระบุว่า ตั้งแต่ที่ทหารสหรัฐฯจำนวนเพิ่มมากขึ้นเข้ามาประจำอยู่ในบริเวณแถบนี้ ในรูปแบบของการหมุนเวียนอยู่กันคราวละ 6 เดือนตามที่ได้ตกลงกันไว้กับมะนิลานั้น สถานการณ์การขัดแย้งสู้รบด้วยอาวุธและการก่อการร้ายในมินดาเนาไม่ได้ดีขึ้นเลย หากแต่กลับย่ำแย่เลวร้ายลงเรื่อยๆ
พวกคอมเมนเตเตอร์ของสื่ออเมริกันซึ่งมีฐานอยู่ในวอชิงตัน หลายๆ ราย แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า เบื้องหลังของการปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติอย่างรวดเร็วและแข็งขันของสหรัฐฯ ก็คือเหตุผลการคิดคำนวณในเรื่องผลประโยชน์รูปธรรมในทางภูมิรัฐศาสตร์
“การนำเอาทรัพยากรต่างๆ ทางการทหารไปช่วยบรรเทาภัยพิบัติ คือการลงทุนสำหรับอนาคตที่มีประสิทธิภาพอย่างโดดเด่น และก็ราคาไม่แพงด้วย” โจนาห์ แบลงก์ (Jonah Blank) อดีตผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ของคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐฯ เขียนเอาไว้ชัดๆ เช่นนี้ “ความนิยมและมิตรไมตรีที่การช่วยบรรเทาทุกข์เมื่อครั้งเกิดภัยพิบัติสึนามิ ช่วยนำมาให้แก่สหรัฐฯนั้น เป็นสิ่งที่ล้ำค่าจนไม่อาจคำนวณราคาได้ หลังจากเวลาผ่านไปเกือบ 1 ทศวรรษ การปฏิบัติการของสหรัฐฯในคราวนั้นก็ยังคงสามารถจัดให้เป็นหนึ่งในเหตุผลรูปธรรมที่สุด ซึ่งทำให้บรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเชื่อถือไว้วางใจสหรัฐฯ เมื่อสหรัฐฯประกาศคำมั่นสัญญาระยะยาวในการดำเนินยุทธศาสตร์แห่ง ‘การกลับมาสร้างความสมดุลในเอเชีย’(Asian rebalancing ยุทธศาสตร์นี้ก็คือนโยบาย “ปักหมุด” Pivot นั่นเอง เพียงแต่ว่าในตอนแรกวอชิงตันใช้คำว่า Pivot แล้วต่อมาจึงเปลี่ยนไปใช้คำว่า Rebalancing -ผู้แปล)”
การตอบโต้รับมือของสหรัฐฯต่อมหาพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน จะก่อให้เกิดผลกำไรทางการทูตในทำนองเดียวกันได้หรือไม่ ดูจะยังไม่ค่อยมีความชัดเจนนักในยุคสมัยนี้ซึ่งปักกิ่งกับวอชิงตันแข่งขันกันอย่างดุเดือดเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วงชิงฐานะความเป็นใหญ่ในภูมิภาค จีนอาจจะตระหนักดีว่าตนเองไม่สามารถแข่งขันกับสมรรถนะของกองทัพสหรัฐฯได้ในเรื่องการลำเลียงขนส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปให้ถึงมือผู้ประสบภัย และยิ่งเมื่อบวกกับการที่เวลานี้แดนมังกรกำลังมีความตึงเครียดทวิภาคีอยู่กับแดนตากาล็อกด้วยแล้ว ปักกิ่งจึงตัดสินใจที่จะปล่อยให้สหรัฐฯเป็นฝ่ายทำคะแนนในการเข้าไปลงแรงเป็นผู้นำดำเนินการบรรเทาทุกข์ในฟิลิปปินส์ โดยที่ยอมรับว่าจีนต้องตกเป็นเสียแต้มในทางยุทธศาสตร์ในกรณีนี้
อย่างไรก็ดี จากการที่สหรัฐฯมีจุดมุ่งหมายที่จะอาศัยภัยพิบัติคราวนี้มาส่งเสริมสนับสนุนเป้าหมายทางยุทธศาสตร์อันกว้างไกลยิ่งขึ้นของตนในฟิลิปปินส์ จึงย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าพายุลูกใหญ่แห่งการปะทะกับจีนต่อไปอีกในอนาคต กำลังก่อตัวสะสมกำลังอยู่ที่โค้งขอบฟ้า
หมายเหตุ:
[1] กองทัพเรือสหรัฐฯออกคำแถลงฉบับหนึ่งมีข้อความว่า เรือบรรทุกเครื่องบิน “ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ซึ่งมีลูกเรือประจำการอยู่ 5,000 คน และเครื่องบินอีกว่า 60 ลำ จะสมทบด้วยเรืออื่นๆ ในหมู่เรือโจมตีเดียวกัน อันประกอบด้วย เรือประจัญบาน (2 ลำ คือ) ยูเอสเอส แอนทีแทม USS Antietam (CG 54) และ ยูเอสเอส คาวเพนส์ USS Cowpens (CG 63), และเรือพิฆาต ยูเอสเอส มัสติน USS Mustin (DDG 89) สำหรับเรือ ยูเอสเอส แลสเสน USS Lassen (DDG 82) ได้ออกเดินทางจากฮ่องกงแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ ทั้งนี้กองบินที่ประจำบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน นั้น คือ กองบินเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 5 Carrier Air Wing Five (CVW-5) ส่วนเรือสนับสนุน ยูเอสเอ็นเอส ชาร์ลส์ ดริว (T-AKE-10) ก็กำลังอยู่ระหว่างการเดินทาง และจะนัดพบกับหมู่เรือนี้เมื่อแล่นเข้ามาใกล้กันมากกว่านี้ ...
“หมู่เรือโจมตีนี้พร้อมด้วยกองบินในสังกัด ซึ่งยังประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์จำนวน 21 ลำนั้น ก่อให้เกิดศักยภาพอันสำคัญทางด้านการแพทย์ ตลอดจนมีความสามารถในการทำน้ำสะอาดและในการลำเลียงขนส่งน้ำสะอาด
“สำหรับกองบินเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 5 ประกอบด้วยเครื่องบินซึ่งออกแบบมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ กันหลายหลาก รวมถึงการบรรเทาทุกข์ภัยพิบัติด้วย โดยที่กองบินนี้มีฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ในสังกัด คือ ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์สู้รบทางทะเลที่ 12 (Helicopter Sea Combat Squadron 12) เจ้าของฉายา “เหยี่ยวสีทอง” (Golden Falcons) ซึ่งใช้เฮลิคอปเตอร์ เอ็มเอช-60เอส ซีฮอว์ก (MH-60S Seahawk), และ ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีทางน้ำที่ 77 (Helicopter Maritime Strike Squadron 77) เจ้าของฉายา “เหยี่ยวติดดาบ” (Saberhawks) ที่ใช้เฮลิคอปเตอร์ เอ็มเอช-60อาร์ ซีฮอว์ก (MH-60R Seahawk)
ดูคำแถลงเรื่อง USS George Washington Now Underway for the Philippines, โดย U.S. 7th Fleet Public Affairs, November 12, 2013. (http://www.c7f.navy.mil/news/2013/005.htm)
โนเอล ที ตาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์และศาสตราจารย์อาคันตุกะของมหาวิทยาลัยซัมบวงกา (Universidad de Zamboanga) โครงการปริญญาโทด้านบริหารรัฐกิจ (Master of Public Administration Program) สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ noeljobstreet@yahoo.com