xs
xsm
sm
md
lg

เปิดหลักฐานลับแฉ “ปากีสถาน” แอบอนุญาต “ซีไอเอ”ใช้ “โดรน” ถล่มก่อการร้ายในประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานในวันพุธ(23) ได้แสดงหลักฐานข้อตกลงลับระหว่างรัฐบาลปากีสถานและหน่วยงานซีไอเอของสหรัฐฯในการอนุญาตให้มีปฎิบัติการโดรนภายในประเทศ ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนชาสปากีสถาน และล่าสุดนายกรัฐมนตรีปากีสถาน นาวาซ ชารีฟ เรียกร้องให้สหรัฐฯยุติโครงการนี้ในระหว่างการเยือนสหรัฐฯ

หลักฐานที่ทางหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานเมื่อวานนี้(23)มาจากท่าทีของนายกรัฐมนตรีปากีสถาน นาวาซ ชารีฟ ระหว่างการเยือนสหรัฐฯและกรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯยุติปฎิบัติการโดรนในปากีสถาน

โดยทางโพสต์ได้รายงานถึงเอกสารลับของหน่วยงานซีไอเอและบันทึกความเข้าใจทางการทูตของปากีถาน ที่ไม่ได้เพีแสดงเพียงว่าปากีสถานรับรู้ถึงโครงการนี้เท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้มีปฎิบัติการทหารทางอากาศในประเทศท่ามกลางเสียงต่อต้านจากประชาชนปากีสถาน ซึ่งเอกสารของซีไอเอนั้นบรรยายถึงการโจมตีของโดรนจำนวนหลายสิบครั้งอย่างหนักหน่วงในแถบที่อยู่ห่างไกลของปากีสถาน รวมไปถึงแผนที่ และภาพถ่ายทางอากาศแสดงถึงความแตกต่างระหว่างก่อนปฎิบัติการและหลังมีปฎิบัติการในเป้าหมายตลอดระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ ปลายปี 2007 จนถึงปลายปี 2011

โดยทางสื่อโพสต์ได้กล่าวว่า ดูเหมือนปากีสถานจะมีความสามารถต่ำในการเก็บความลับด้านความมั่นคงระดับชาติในการอนุมัติโครงการโดรนนี้ทั้งที่ในสถานทูตประจำสหรัฐฯ และที่กรุงอิสลามาบัด โดยเห็นได้จากในช่วงแรกๆของโครงการ ซีไอเอถึงกับใช้ลานบินของปากีสถานในการขึ้นลงของยานโดรน

จากเอกสารยืนยันได้ว่า มีจำนวนอย่างน้อย 65 ครั้ง ที่ทางสหรัฐฯได้ปรึกษาหารือกับปากีสถานในปฎิบัติการต่อต้านก่อการร้ายด้วยโดรน รวมไปถึงที่รองผู้อำนวยการซีไอเอที่กำลังจะเกษียณในปีนี้ ไมเคิล เจ. โมเรลล์ ได้สรุปทำความเข้าใจปฎิบัติการกับเอกอัคราชทูตปากีสถานในวอชิงตัน และนอกจากนี้ทางหน่วยงานยังส่งข้อมูลมายังรัฐบาลปากีสถานในกรุงอิสลามาบัด เป็นแผนที่ ภาพถ่ายของปฎิบัติการโดรนที่ไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณชน โดยในรายละเอียดนั้นแสดงว่าแผนที่ชี้ถึงจุดโจมตี รวมไปถึงภาพถ่ายทางอากาศที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพก่อนและหลังการโจมตี และมีบางภาพแสดงลูกศรชี้ร่างผู้เสียชีวิตท่ามกลางสิ่งปรักหักพัง และมีหนึ่งตัวอย่างในปี 2010 เอกสารลับได้อธิบายถึงการโจมตีและสถานที่เป้าหมาย “ตามที่รัฐบาลของท่านร้องขอ” แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานซีไอเอและปากีสถานในการเลือกเป้าหมาย

บ็อบ วูดวาร์ด เป็นหนึ่งในสองที่เขียนของบทความบนวอชิงตันที่ได้รายงานข่าวฉาว”วอเตอร์เกต” ในยุค 70 กล่าวว่า จากเอกสารพบว่ารัฐบาลสหรัฐฯเพิ่มความวิตกกังวลที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มมุสลิมสุดโต่งและหน่วยงานการข่าวของปากีสถานISI แสดงได้จากกรณีที่อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลาลี คลินตันได้เผชิญหน้ากับปากีสถานเพื่อตั้งคำถามถึงหลักฐานการใช้โทรศัพท์และเอกสารที่อยู่บนร่างของสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายที่เสียชีวิตนั้นเชื่อมโยงไปถึงหน่วยงานข่าวกรองปากีสถาน ISI อ้างจากเอกสารการทูตปากีสถานเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2011

และนอกจากนี้โพสต์ยังรายงานต่อไปว่า อ้างจากบันทึกความเข้าใจทางการทูตของปากีสถาน กระทรวงการต่างประเทศปากีสถานในขณะนั้นได้เปิดเผยถึงรายชื่อ 38 คนของพลเมืองสหรัฐฯที่เข้าใจว่าจะเป็นสายลับซีไอเอและจะเดินทางมายังปากีสถานเพื่อปฎิบัติภาระกิจพิเศษ พร้อมกันนั้นทางกระทรวงได้สั่งให้สถานทูตปากีสถานประจำวอชิงตันไม่ให้อนุมัติวีซ่าให้กับคนเหล่านั้น

นอกจากนี้โพสต์ยังพบว่า ปฎิบัติการของซีไอเอที่ในชั้นแรกมีเป้าหมายเพื่อสังหารหัวหน้าระดับสูงของกลุ่มก่อการร้ายเท่านั้น แต่ต่อมาปรับเปลี่ยนให้สังหารนักรบปฎิบัติการระดับต่ำลงมาด้วย โดยปฎิบัติการโดรนที่ซีไอเอใช้ ซึ่งเรียกว่า “signature strike” นั้นจะจับเป้าหมายด้วยCCTV จากรูปแบบพฤติกรรมของเป้าหมายเป็นสำคัญ และเมื่อพบจะถูกสั่งการให้ลงมือสังหารถึงแม้ว่าจะไม่ทราบถึงข้อมูลส่วนตัวของเป้าหมายก็ตาม แต่ถึงจะขาดข้อมูลรายละเอียดส่วนบุคคลแต่ทางซีไอเอยืนยันถึงความมั่นใจในความถูกต้อง โดยยืนยันว่ามั่นใจว่าจะไม่มีผู้บริสุทธิเป็นเหยื่อสังหารภายใต้ “signature strike”

อย่างไรก็ตามหลังจากมีรายงานนี้ออกมาบนเวปไซต์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ นักท่องเวปชาวอเมริกันได้แสดงความเห็นหลังจากอ่านรายงานพิเศษฉบับนี้ เช่น ผู้ใช้ชื่อว่า พีเอ็น กล่าวว่า “เรียน นายกรัฐมนตรีนาวาซ ชารีฟ ทางสหรัฐฯจะยกเลิกปฎิบัติการโครงการโดรนในประเทศของท่าน พร้อมกับ “เงินช่วยเหลือจำนวน 1.8 พันล้านดอลลาร์” ที่ประเทศของท่านได้รับในแต่ละปี และหากมีข้อสงสัยถึงเงินช่วยเหลือในอนาคต โปรดปรึกษากลุ่มตอลีบาน” ในขณะที่นามแฝง แมงโกซาลซ่า กล่าวว่า “นี่เป็นปฎิบัติการตอบโต้ทางการข่าวของซีไอเอโดยการแอบให้ข้อมูลกับวูดวาร์ดและวอชิงตันโพสต์เพื่อจะแก้ข้อกล่าวหาในรายงานของยูเอ็นและจากกลุ่มฮิวแมนไรท์วอช ถ้าหากปากีสถานแอบอนุญาตในปฎิบัติการนี้ ดังนั้นจึงไม่ถือว่าปฎิบัติการโดรนเป็นการละเมิดอธิปไตยปากีสถานแต่อย่างไร ซึ่งปากีสถานมีทั้งกองทัพและอาวุธที่มีประสิทธิภาพที่จะสามารถยิงยานโดรนให้ตกเมื่อไรก็ได้ แต่โครงการนี้ดำเนินมานับสิบปี จึงเป็นคำถามที่ต้องตั้งถึงจรรยาบรรณของผู้สื่อข่าวและสำนักพิมพ์ ที่ตามจริงแล้วทางสำนักพิมพ์ต้องมีการตรวจสอบว่า เหตุใดทั้งทำเนียบขาวและซีไอเอจึงแอบให้ข้อมูลลับนี้ โปรดอย่ากังวลว่าจะสูญเสียโอกาสในการหาแหล่งข่าว เพราะหากพวกเขาต้องการปล่อยข้อมูลอื่นอีกครั้ง พวกเขาก็จะเดินเข้ามาหาเอง”


 ภาพถ่ายทางอากาศจากยานโดรนที่โจมตีในเขตทางตอนเหนือของวาซิริสถาน ปากีสถาน เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2010 แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนทางกายภาพด้านซ้ายก่อนโจมตีและภาพด้านขวาหลังการโจมตี
แผนภาพแสดงปฎิบัติการโจมตีของโดรน
“สหรัฐฯ”โต้ “ฮิวแมนไรท์วอช” อ้าง “ปฎิบัติการโดรน” ไม่ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ - “ชารีฟ” ร้องให้ยุติใช้โดรนโจมตีในปากีสถาน
“สหรัฐฯ”โต้ “ฮิวแมนไรท์วอช” อ้าง “ปฎิบัติการโดรน” ไม่ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ - “ชารีฟ” ร้องให้ยุติใช้โดรนโจมตีในปากีสถาน
สหรัฐฯได้กล่าวปฎิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า “ปฎิบัติการโดรน” ในเยเมนและปากีสถานหรือที่อื่นที่สหรัฐฯได้ใช้เพื่อสังหารเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์นั้น “ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ” ตามที่องค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้กล่าวหาก่อนหน้านี้ และในวันอังคาร(22) นายกรัฐมนตรีปากีสถาน นาวาซ ชารีฟ เรียกร้องให้สหรัฐฯยุติปฎิบัติการโดรนในปากีสถาน อ้างหากดำเนินต่อจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ ในการขึ้นพูดที่ US Institute of Peace (USIP)
กำลังโหลดความคิดเห็น