เอเจนซีส์ - วันอาทิตย์ (22) เป็นวันเลือกตั้งใหญ่ในเยอรมนี ในขณะที่จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงครั้งแรกในการเลือกตั้งวันนี้ (22) ราว 3 ล้านคน แต่การเมืองเยอรมนีที่ขาดสีสัน แคมเปญที่ทำเพื่อเอาใจคนกลุ่มอื่น ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ชาวเยอรมันไม่กระตือรือร้นการเลือกตั้ง ในขณะที่องค์กรคนรุ่นใหม่หลายแห่งในเยอรมนี เช่น โครงการ “Du hast die Macht” ได้ออกโรงกระตุ้นให้ข้อมูลกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกผ่านช่องทางโซเชียล มีเดีย และหลายส่วนคาดว่า นักการเมืองคนสำคัญ ทั้งอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีรักษาการ จะสามารถใช้ปัญหาซีเรียและวิกฤตยูโร เป็นตัวกระตุ้นให้ออกไปใช้สิทธิมากขึ้นในวันนี้ ซึ่งพบว่าคนรุ่นใหม่ในเยอรมนีสนใจใน “นโยบายต่างประเทศ สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย และการแต่งงานของกลุ่มเกย์”
อาร์มิน โวล์กกิง วัย 19 ปี ยังไม่ได้ตัดสินใจจะเลือกพรรคไหนในการลงคะแนนหย่อนบัตรในการเลือกตั้งทั่วไปของเยอรมนีที่จะมีขึ้นในเช้าวันอาทิตย์ (22) นี้ นี่เป็นครั้งแรกที่ โวล์กกิงมีสิทธิในการเลือกตั้งทั่วไป และเขาไม่รุ้สึกตื่นเต้นในการหย่อนบัตรครั้งแรกนี้
“การเลือกตั้งมันสำคัญสำหรับผม แต่ผมไม่รู้สึกชอบพรรคการเมืองไหนเป็นพิเศษ” โวล์กกิง เผยกับสื่อเยอรมนี DW “ผมไม่สามารถพูดได้เลยว่า นี่เป็นพรรคที่ใช่สำหรับผม หรือนี่เป็นผู้แทนที่เป็นปากเป็นเสียงให้ผม เพราะฉะนั้นมันถึงไม่สำคัญ” อาร์มินยืนยันกับ DW ว่า เขาสนใจในการเมือง แต่ทว่าปัญหาที่เขาสนใจนั้นเกี่ยวกับ “นโยบายต่างประเทศ สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย และการแต่งานของกลุ่มเกย์” นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่พรรคการเมืองใหญ่ในเยอรมนีให้ความสนใจนักในการทำแคมเปญหาเสียง
จากสถิติพบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเยอรมนีมีอายุโดยเฉลี่ยที่ 45 ปี และกลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงครั้งแรกนั้นมีช่วงอายุระหว่าง 18-21 ปี ซึ่งถือว่ามีจำนวนน้อยกว่า 4% ในจำนวนของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า เหตุใดแคมเปญหาเสียงของพรรคการเมืองใหญ่ในเยอรมนีจึงไม่ให้ความสนใจในสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการ
ดังนั้นที่ผ่านมา องค์กรเยาวชนและคนรุ่นใหม่ของเยอรมนีได้เริ่มโครงการเพื่อกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ในเยอรมนีที่ไม่มีความสนใจออกไปเลือกตั้ง “ส่วนใหญ่แล้ว การเมืองไม่ใช่เรื่องที่หวือหวาเหมือน “เซ็กซ์” และมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ในเยอรมนีสนใจ” ฟรานซิสกา วอน เคมปิส บก.ของโครงการ “Du hast die Macht” หรือ “คุณมีพลัง” เผยกับ DW
“คุณมีประเด็นมากมาย คุณมีปัญหาสหภาพยุโรป ปัญหาเงินยูโร ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาภาษี เรื่องพวกนี้มันไม่เร้าใจ และมันดูไกลตัวจากชีวิตประจำวันของคนทั่วไปในเยอรมนี” เคมปิส ให้ความเห็น
โดยทางองค์กรของเคมปิสได้ใช้สื่อ เช่น วิดีโอคลิป โซเชียลมีเดีย เกมออนไลน์ และทอล์กโชว์ออนไลน์ เพื่อให้ข้อมูลลการเลือกตั้งกับผู้มีสิทธิออกเสียงครั้งแรก สื่อทุกอย่าง ที่รวมถึงทอล์กโชว์ทางยูทิวบ์ควรจะเป็นเรื่องสนุกสนาน และมีผุ้ดำเนินรายการที่น่าสนใจ เช่น นักร้องแรปเปอร์ วีซา วี คุณหมอแอลวีสเซนด์ และคุณแทรชแพ็ค
โดยจากสถิติการเลือกตั้งในปี 2009 พบว่า จำนวนของผู้ออกเสียงอายุไม่เกิน 25 ปี นั้นใช้สิทธิการออกเสียงเพียง 61%เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุของผู้มีสิทธิออกเสียงที่มากกว่า 25 ปี ที่ออกมาลงคะแนนถึง 71% และจากการสำรวจที่จัดทำโดยนิตยสาร Stern ในเดือนสิงหาคมพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มอายุ 18-29 ปีเท่านั้นที่รู้วันเลือกตั้งในปีนี้ ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงกลุ่มอายุอื่นต่างรู้ว่า การเลือกตั้งใหญ่จัดขึ้นในเดือนกันยายน
และในโลกยุคโซเชียลมีเดียที่ทั้งนัการเมืองคนสำคัญ เช่น อังเกลา แมร์เคิล และพรรคการเมืองต่างใช้เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เพื่อพยายามสื่อไปถึงคนรุ่นใหม่ในเยอรมนี ซึ่ง วูล์ฟกัง ไกเซอร์ จากสถาบันคนรุ่นใหม่ของเยอรมนีในเมืองมิวนิก ให้ความเห็นว่า อาจเป็นไปได้ที่จะมีจำนวนของคนรุ่นใหม่หย่อนบัตรในคูหาเลือกตั้งเพิ่มขึ้นในปีนี้ เพราะมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่น ปัญหาซีเรีย และปัญหาวิกฤตการเงินยุโรป