เอเอฟพี - องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ) เมื่อวันจันทร์(2) เตือนถึงการล่วงละเมิดต่างๆนานาในอุตสาหกรรมประมงของไทย ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก อย่างเช่นแรงงานบังคับและใช้ความรุนแรง พร้อมระบุปัญหาเหล่านี้ทำให้ต่างชาติเริ่มระมัดระวังในการคบค้าสมาคมกับเหล่าซัพพลายเออร์ของไทย
ผลสำรวจที่จัดทำโดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หน่วยงานของสหประชาชาติ พบว่าราวร้อยละ 17 ของลูกเรือประมงเถื่อนชาวพม่าและกัมพูชา ถูกบังคับใช้ทำงานภายใต้คำขู่ลงโทษทางการเงิน ใช้ความรุนแรงหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่
สำนักงานเอเอฟพีระบุด้วยว่า ไทย ซึ่งเป็นชาติผู้ส่งออกปลารายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลกเมื่อคิดตามมูลค่า ด้วยมียอดส่งออกราว 7,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี กำลังตกอยู่ใต้แรงกดดันของนานาชาติเพื่อให้ตอบสนองต่อรายงานเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานลูกเรือประมงเยี่ยงทาสภายใต้สภาพแวดล้อมที่ทารุณ
"ผลศึกษานี้พบการล่วงละเมิดอย่างทารุณภายในภาคการประมง คนงานส่วนใหญ่อยู่ในสถานะนอกกฎเกณฑ์ ดังนั้นจึงอ่อนแอต่อการแสวงหาผลประโยชน์มากกว่าปกติ" แม็กซ์ ทูนอน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไอแอลโอกล่าว
ในขณะที่ราวร้อยละ 10 ของลูกเรือประมงเหล่านั้น ยอมรับว่าเคยถูกทำร้ายรุนแรงขณะล่องเรือหาปลา ยังมีอีกมากกว่า 1 ใน 4 ที่บอกว่าต้องทำงานกว่า 17 ถึง 24 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้ในกล่มตัวอย่างทั้งหมด 596 คน พบว่าลูกเรือประมงต่างด้าวได้รับเงินเดือนเฉลี่ยแค่คนละ 6,483 บาท แถมในนั้นมีแค่คนเดียวที่มีใบอนุญาตทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มตัวอย่างข้างต้น มีถึง 7 คนที่อายุต่ำกว่า 15 ปีและ 26 คนที่อายุระหว่าง 15-17 ปี
ผลสำรวจพบด้วยว่าลูกเรือที่อยู่บนเรือประมงที่ล่องหาปลากลางทะเลเป็นเวลานานนั้น มีสภาพเลวร้ายกว่าพวกที่ได้กลับสู่ฝั่งเป็นประจำอย่างมาก ซึ่งในนั้นราว 1 ใน 4 อ้างว่าถูกหลอกหรือไม่ก็ถูกบังคับให้ร่วมออกเรือไปด้วย
รายงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ระบุว่าอุตสากรรมประมงโดยรวม ในนั้นรวมถึงฟาร์มเลี้ยงปลาและกุ้ง เช่นเดียวกับภาคบรรจุหีบห่อ คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของเศรษฐกิจโลก แต่ด้วยสต๊อกปลาที่ลดลงเรื่อยๆเป็นผลให้ชาวประมงต้องออกเรือหาปลาไกลกว่าเดิม ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนทางเชื้อเพลิงตามไปด้วย
"ด้วยเหล่าซัพพลายเออร์อาหารทะเลต้องเจอเผชิญแรงกดดันเพื่อลดค่าใช้จ่ายทุกวิถีทางเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงนำมาซึ่งการมุ่งลดต้นทุนด้านแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย" รายงานระบุ "เมื่อปัจจัยข้างต้นประกอบแรงงานต่างดาวที่ไม่ใบอนุญาตการทำงานเข้าสู่แรงงานบังคับมากขึ้นเรื่อยๆ สภาพแวดล้อมต่างๆเกี่ยวกับการล่วงละเมิดจึงกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบในตอนนี้"
องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ระบุว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานของภาคอุตสาหกรรมนี้ราวๆ 50,000 คน เป็นทั้งต้นเหตุและคือผลกระทบจากการละเมิดแนวทางปฏิบัติต่อแรงงาน
นอกจากนี้ไอแอลโอระบุด้วยว่าความย่งยากในกระบวนการขึ้นทะเบียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงใบอนุญาตในการทำงานก็เป็นอีกหนึ่งต้นตอของปัญหา ขณะเดียวกันพวกลูกเรือประมงต่างด้าวเองก็ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนยการยุติธรรมอย่างพอเพียง
อย่างไรก็ตามองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ก็แสดงความยินดีที่ ไทย นำความคิดริเริ่มใหม่ๆมาใช้ในความพยายามตอบสนองอย่างสอดคล้องกับปัญหาล่วงละเมิดในภาคอุตสาหกรรมประมง หลังจากก่อนหน้านี้ทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทย ประกาศร่วมกันต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่ได้รายงานและไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบ
ไทย กำลังร่วงโรยสู่อันดับท้ายๆของตารางในรายงานประจำปีของสหรัฐฯ ด้านสถานการณ์ค้ามนุษย์ และจำเป็นต้องเพิ่มความพยายามต่อสู่กับแรงงานบังคับหรือไม่ก็เสี่ยงถูกลดชั้นลงออกไปอีกในปีหน้า ซึ่งอาจนำมาถึงการตัดลดเงินช่วยเหลือที่ไม่ใช่ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและการค้าที่อเมริกามอบแก่ไทย
องค์กรแรงงานระหว่างประเทศระบุว่าบริษัทนานาชาติ เริ่มมีความระมัดระวังมากขึ้นเรื่อยๆต่อการคบค้าสมาคมกับเหล่าซัพพลายเออร์ที่อาจใช้แรงงานบังคับและค้ามนุษย์ พร้อมยกตัวอย่างกรณีมีหนังสือร้องเรียนพร้อมลายเซนต์เกือบ 100,000 ชื่อ เรียกร้องวอลมาร์ต ปรับปรุงมาตรฐานที่สูงขึ้น หลังจากบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่แห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทอาหารทะเลของไทย ซึ่งเป็นแก่นกลางของข้อกล่าวหาละเมิดแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน
ผลสำรวจที่จัดทำโดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หน่วยงานของสหประชาชาติ พบว่าราวร้อยละ 17 ของลูกเรือประมงเถื่อนชาวพม่าและกัมพูชา ถูกบังคับใช้ทำงานภายใต้คำขู่ลงโทษทางการเงิน ใช้ความรุนแรงหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่
สำนักงานเอเอฟพีระบุด้วยว่า ไทย ซึ่งเป็นชาติผู้ส่งออกปลารายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลกเมื่อคิดตามมูลค่า ด้วยมียอดส่งออกราว 7,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี กำลังตกอยู่ใต้แรงกดดันของนานาชาติเพื่อให้ตอบสนองต่อรายงานเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานลูกเรือประมงเยี่ยงทาสภายใต้สภาพแวดล้อมที่ทารุณ
"ผลศึกษานี้พบการล่วงละเมิดอย่างทารุณภายในภาคการประมง คนงานส่วนใหญ่อยู่ในสถานะนอกกฎเกณฑ์ ดังนั้นจึงอ่อนแอต่อการแสวงหาผลประโยชน์มากกว่าปกติ" แม็กซ์ ทูนอน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไอแอลโอกล่าว
ในขณะที่ราวร้อยละ 10 ของลูกเรือประมงเหล่านั้น ยอมรับว่าเคยถูกทำร้ายรุนแรงขณะล่องเรือหาปลา ยังมีอีกมากกว่า 1 ใน 4 ที่บอกว่าต้องทำงานกว่า 17 ถึง 24 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้ในกล่มตัวอย่างทั้งหมด 596 คน พบว่าลูกเรือประมงต่างด้าวได้รับเงินเดือนเฉลี่ยแค่คนละ 6,483 บาท แถมในนั้นมีแค่คนเดียวที่มีใบอนุญาตทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มตัวอย่างข้างต้น มีถึง 7 คนที่อายุต่ำกว่า 15 ปีและ 26 คนที่อายุระหว่าง 15-17 ปี
ผลสำรวจพบด้วยว่าลูกเรือที่อยู่บนเรือประมงที่ล่องหาปลากลางทะเลเป็นเวลานานนั้น มีสภาพเลวร้ายกว่าพวกที่ได้กลับสู่ฝั่งเป็นประจำอย่างมาก ซึ่งในนั้นราว 1 ใน 4 อ้างว่าถูกหลอกหรือไม่ก็ถูกบังคับให้ร่วมออกเรือไปด้วย
รายงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ระบุว่าอุตสากรรมประมงโดยรวม ในนั้นรวมถึงฟาร์มเลี้ยงปลาและกุ้ง เช่นเดียวกับภาคบรรจุหีบห่อ คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของเศรษฐกิจโลก แต่ด้วยสต๊อกปลาที่ลดลงเรื่อยๆเป็นผลให้ชาวประมงต้องออกเรือหาปลาไกลกว่าเดิม ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนทางเชื้อเพลิงตามไปด้วย
"ด้วยเหล่าซัพพลายเออร์อาหารทะเลต้องเจอเผชิญแรงกดดันเพื่อลดค่าใช้จ่ายทุกวิถีทางเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงนำมาซึ่งการมุ่งลดต้นทุนด้านแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย" รายงานระบุ "เมื่อปัจจัยข้างต้นประกอบแรงงานต่างดาวที่ไม่ใบอนุญาตการทำงานเข้าสู่แรงงานบังคับมากขึ้นเรื่อยๆ สภาพแวดล้อมต่างๆเกี่ยวกับการล่วงละเมิดจึงกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบในตอนนี้"
องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ระบุว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานของภาคอุตสาหกรรมนี้ราวๆ 50,000 คน เป็นทั้งต้นเหตุและคือผลกระทบจากการละเมิดแนวทางปฏิบัติต่อแรงงาน
นอกจากนี้ไอแอลโอระบุด้วยว่าความย่งยากในกระบวนการขึ้นทะเบียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงใบอนุญาตในการทำงานก็เป็นอีกหนึ่งต้นตอของปัญหา ขณะเดียวกันพวกลูกเรือประมงต่างด้าวเองก็ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนยการยุติธรรมอย่างพอเพียง
อย่างไรก็ตามองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ก็แสดงความยินดีที่ ไทย นำความคิดริเริ่มใหม่ๆมาใช้ในความพยายามตอบสนองอย่างสอดคล้องกับปัญหาล่วงละเมิดในภาคอุตสาหกรรมประมง หลังจากก่อนหน้านี้ทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทย ประกาศร่วมกันต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่ได้รายงานและไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบ
ไทย กำลังร่วงโรยสู่อันดับท้ายๆของตารางในรายงานประจำปีของสหรัฐฯ ด้านสถานการณ์ค้ามนุษย์ และจำเป็นต้องเพิ่มความพยายามต่อสู่กับแรงงานบังคับหรือไม่ก็เสี่ยงถูกลดชั้นลงออกไปอีกในปีหน้า ซึ่งอาจนำมาถึงการตัดลดเงินช่วยเหลือที่ไม่ใช่ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและการค้าที่อเมริกามอบแก่ไทย
องค์กรแรงงานระหว่างประเทศระบุว่าบริษัทนานาชาติ เริ่มมีความระมัดระวังมากขึ้นเรื่อยๆต่อการคบค้าสมาคมกับเหล่าซัพพลายเออร์ที่อาจใช้แรงงานบังคับและค้ามนุษย์ พร้อมยกตัวอย่างกรณีมีหนังสือร้องเรียนพร้อมลายเซนต์เกือบ 100,000 ชื่อ เรียกร้องวอลมาร์ต ปรับปรุงมาตรฐานที่สูงขึ้น หลังจากบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่แห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทอาหารทะเลของไทย ซึ่งเป็นแก่นกลางของข้อกล่าวหาละเมิดแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน