xs
xsm
sm
md
lg

“จาเมกา” แก้ปัญหาเด็กหาย เริ่ม “โปรเจกต์อิเล็กทรอนิกส์บอร์ด”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ – รัฐบาลจาเมกาแถลงว่า ทางรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาเด็กหายอย่างเป็นรูปธรรม โดยทางรัฐบาลจะเผยแพร่ข้อมูลของเด็กที่สูญหายผ่านอิเล็กทรอนิกส์บอร์ดที่จะทำการติดตั้งทั่วเกาะ เพื่อผู้พบเห็นได้แจ้งเบาะแสได้ทันท่วงที โดยปัญหาความรุนแรงและการทารุณในเด็กที่ยังติดอันดับอยู่ในประเทศ

เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลเผยว่า เป้าหมาย “โปรเจกต์อิเล็กทรอนิกส์บอร์ด” เพื่อช่วยให้สังคมจาเมการับรู้ถึงรูปพรรณสัณฐานของเด็กผู้สูญหายได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อให้เบาะแสในการช่วยออกมา

จากตัวเลขของทางการ ปรากฏยอดของเด็กชาวจาเมกาที่ได้รับแจ้งว่าสูญหายมีมากถึง 1,100 คน

ซึ่งโปรเจกต์อิเล็กทรอนิกส์บอร์ดนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบแจ้งเตือนภัย “เอนันดา” ที่ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2009

จากสถิติพบว่า ในแต่ละวันจะมีเด็กสูญหายราว 4 คน และ 80% ของจำนวนเด็กที่สูญหายสามารถถูกช่วยกลับมาได้ภายในไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ แต่เป็นที่น่าเสียใจว่าอีก 20% นั้นไม่พบว่ายังมีชีวิตอยู่ รายงานจากผู้สื่อข่าว BBC นิค เดวิส ประจำจาเมกา

“อิเล็กทรอนิกส์บอร์ดควรที่จะช่วยให้ข้อมูลเด็กหายกับสังคมจาเมกาเพื่อให้คนสามารถแจ้งเบาะแสได้ทันท่วงทีที่สำนักงานทะเบียนเด็ก หรือ OCR หรือแจ้งกับสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด” เจ้าหน้าที่ OCR เกร็ก สมิทต์ ให้ความเห็น

ซึ่งโปรเจกต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเตือนภัย “เอนันดา” ทั้งรูปภาพและข้อมูลที่สำคัญของเด็กที่คาดว่าจะสูญหายได้ถูกพิมพ์และแจกจ่ายทั่วจาเมกา

และทางการจาเมกายังได้รับความร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการมือถือ โดยการส่งข้อมูลของผู้สูญหายไปยังลูกค้าของบริษัท

“เราคิดว่าเรากำลังเริ่มก้าวย่างที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายสิ่งที่รอเราอยู่” สมิทต์กล่าวกับผู้สังเกตการณ์จาเมกา

ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ อิเล็กทรอนิกส์บอร์ดจะได้รับการติดตั้งที่มืองหลวงของจาเมกา อย่าง คิงสตัน รวมทั้ง มองโก เบย์ ซาวานนา-ลา-มาร์ โอโค ไรออส และ สแปนิช ทาวน์

นอกจากนี้ ทางยูนิเซฟได้ให้ความเห็นว่า รัฐบาลจาเมกาได้เริ่มก้าวที่สำคัญอย่างน่าประทับใจเพื่อที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเด็ก แต่ทว่าความรุนแรงและการทารุณกรรมในเด็กที่จาเมกายังคงเป็น “ปัญหาที่ร้ายแรง” อยู่

จาเมกามีประชากรมากกว่า 2.7 ล้านคน โดยเกือบ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดมีรายได้ที่ต่ำกว่ามาตรฐานความยากจน
กำลังโหลดความคิดเห็น