เอเจนซีส์ - รัสเซียมีแผนที่จะเริ่มใช้พลังไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีโรงงานตั้งอยู่บนเรือ “อคาเดมิก โลโมโนโซฟ” เพื่อแจกจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปยังพื้นที่ห่างไกลและน้ำสะอาดจำนวน 240,000ลูกบาศเมตร์ทุกวันเพื่อหล่อเลี้ยงคนได้มากถึง 200,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการใช้สถานีไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำในการผลิตกระแสไฟ
รัสเซียต้องการใช้เรือ “อเคาเดมิก โลโมโนโซฟ” ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ มุ่งที่จะแจกจ่ายไฟฟ้า น้ำสะอาด และความร้อน ไปยังพื้นที่ห่างไกลของรัสเซีย ในอีก 3 ปี ข้างหน้า
โดยผู้อำนวยการโครงการสร้างเรือสถานีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บริษัทอู่ต่อเรือแถวทะเลบอลติกได้ประกาศว่า เรือลำนี้จะสามารถเดินเครื่องได้ภายในปี 2016 ซึ่งจะเปิดตัวที่งานแสดงเรือนานาชาติครั้งที่ 6 ที่กรุงเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก
เรือ “อคาเดมิก โลโมโนโซฟ” ลำนี้จะเป็นเรือลำแรกของฝูงที่จะเป็นโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำในรัสเซีย เพื่อที่จะจ่ายพลังงานให้กับบริษัทขนาดใหญ่ เมืองท่าที่อยู่ห่างไกล และสถานีขุดเจาะพลังงานที่อยู่นอกชายฝั่ง
โดยที่เรือลำนี้จะผลิตกระแสไฟฟ้าที่มาจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อยู่บนเรือ ซึ่งการมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์บนเรือในรัสเซียนั้นมีมากว่าครึ่งทศวรรษแล้ว เพราะเรือตัดน้ำแข็งรัสเซียนั้นใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการขับเคลื่อน
จากการเปิดเผยข้อมูล เรือ“อคาเดมิก โลโมโนโซฟ”ลำนี้หนัก 21,500 ตัน และคาดว่าจะมีลูกเรืออยู่ทั้งหมดราว 69 คน การที่เรือ“อคาเดมิก โลโมโนโซฟ”สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆกันนั้นต้องใช้เรือลากจูงไป เหตุเพราะเรือลำนี้ไม่มีระบบขับเคลื่อนยนต์ในตัว อ้างอิงจากโกลบอล นิวส์ เซอร์วิส อาร์ที
และบนเรือ“อคาเดมิก โลโมโนโซฟ” จะติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ KLT-40 ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วจำนวน 2 เครื่อง เพื่อแจกจ่ายพลังงานไฟฟ้าขนาด70 mw หรือ ความร้อนขนาด 300 mw ให้กับเมืองที่มีขนาดประชากรราว 200,000 คน
และเหตุเพราะมีเครื่องกรองน้ำทะเลติดตั้งอยู่บนเรือ เพราะฉะนั้น เรือ “อคาเดมิก โลโมโนโซฟ” สามารถผลิตน้ำจืดได้ 240,000 ลูกบาศเมตร์ต่อวัน
จากที่ผ่านมา เมืองทางด้านชายฝั่งทางตอนเหนือของรัสเซียและทางภาคตะวันออกที่อยู่ห่างไกลยังขาดการการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สาเหตุบางส่วนมาจากการขาดแหล่งพลังงาน
ดังนั้นแหล่งพลังงานลอยน้ำแห่งใหม่นี้จะเป็นความหวังที่จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเขตนี้ และนอกไปกว่านี้ รัสเซียยังสามารถใช้มันใกล้กับแหล่งแร่และเขตฐานทัพนอกประเทศได้อีกด้วย
จากการรายงานข่าว ปรากฏว่ามี 15 ประเทศให้ความสนใจในการใช้สถานีพลังงานนิวเคลียร์ลอยน้ำ ที่รวมไปถึง จีน อินโดนีคเซีย และอาร์เจนตินา
ส่วนด้านความปลอดภัย บริษัทต่อเรือยืนยันว่าเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์บนเรือ“อคาเดมิก โลโมโนโซฟ” มีมาตรฐานความปลอดภัยตามที่สถาบันพลังงานนิวเคลียร์นานาชาติ หรือ IAE กำหนดไว้
เพราะผู้ออกแบบโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ลอยน้ำนี้ได้คำนึงถึงความปลอดภัยเหมือนอย่างที่โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ตั้งบนบกต้องมี กล่าวคือ ผู้สร้างได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อาทิ การประสานงากับเรือลำอื่น ชนเข้ากับเกาะ หรือกระทั่งต้องผจญกับคลื่นสึนามิ
และผู้สร้างยืนยันอีกว่า เตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์จะถูกเปลี่ยนหลังมีอายุการใช้งานได้ 40 ปีแล้ว
นอกจากนี้ ผู้สร้างเรือ“อคาเดมิก โลโมโนโซฟ” ยังอ้างอีกว่าระบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่จะติดตั้งบนเรือนั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มันจะไม่ปล่อยสารพิษออกมาขณะเครื่องทำงานอยู่
โปรเจคโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำของรัสเซียนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2007 มันถูกผลิตที่โรงงานผลิตเรือดำน้ำเซวาชในเซโวรอดวินสค์ หลังจากนั้นเรือลำนี้ได้ถูกย้ายไปที่โรงงานแถบทะเลบอลติก และอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากไม่มีเงินทุนดำเนินการต่อ แต่ทว่าโครงการเรือลำนี้ได้กลับมาเริ่มคืบหน้าอีกครั้ง หลังจากมีการทำข้อตกลงระหว่างโรงงานแถบทะเลบอลติกและบริษัทที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว