xs
xsm
sm
md
lg

สื่อนอกประโคมข่าว “รัฐบาลไทยยอมรับ” ขาดทุน 4.4 พันล้าน ดอลลาร์ จาก “นโยบายจำนำข้าว”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - วันอังคาร(18) ที่ผ่านมานี้ รัฐบาลไทยยอมรับว่าขาดทุนมากกว่า4.46 พันล้าน ดอลลาร์ ภายใน 1 ปี ในนโยบายจำนำข้าวอันอื้อฉาว ที่มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ข้าวที่ชาวนาขายมีราคาสูงขึ้น ทำให้ประเทศไทยหล่นจากการเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับต้นๆในตลาดโลก นโยบายจำนำข้าวนี้เปรียบเมือนการอุดหนุนจากภาครัฐเพื่อลดการขาดทุนของชาวนา รัฐมนตรีพานิชย์กล่าว

รัฐมนตรีประจำสำนักนายก วราเทพ รัตนากร กล่าว่า รัฐบาลขายข้าวที่ได้รับซื้อมาจากชาวนาจากโครงการจำนำข้าวในปี 2011-2012 รัฐบาลไทยถูกตำหนิ
เพราะปฎิเสธที่จะเปิดเผยตัวเลขการขาดทุนและข้าวที่รัฐบาลรับซื้อมานั้นเพิ่มมากขึ้นในสต๊อกเก็บข้าว

ภายใต้นโยบายนี้ รัฐบาลซื้อข้าวจากชาวนา ที่ราคา 490 ดอลลาร์ ต่อ ตัน ราคาสูงกว่าราคาตลาดราวร้อยกว่าดอลลาร์ และเป็นเพราะรัฐบาลไทยไม่สามารถขายราคาที่สูงมากนักในตลาดโลก ทำให้ทั้งอินเดียและเวียดนามที่ขายข้าวราคาต่ำกว่าแซงหน้าไทยไป

คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ (กขช.) ได้ประกาศแผนการในวันจันทร์(17) ว่า จะลดราคาจำนำที่จะต้องจ่ายให้ชาวนาลงเพื่อให้เหมาะสม

รัฐมนตรีพานิชย์ บุณทรง เตริยาภิรมณ์ กล่าวว่า ทาง ครม.ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ คาดหวังว่าที่จะอนุมัติการเปลี่ยนแผนในครั้งนี้และมันจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน

“ การปรับเปลี่ยนจะแสดงให้เห็นว่าถึงแม้รัฐบาลไทยจะพยายามที่จะออกนโยบายหลายอย่างเพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่ทว่าก็ต้องอยู่ในวินัยการคลัง” บุญทรงกล่าว

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แห่ง ประเทศไทย เผยว่า รัฐบาลของเธอพยายามที่จะลดการขาดทุนโดยการตัดรายจ่าย แต่ก็ต้องพยายามให้ชาวนาได้ประโยชน์สูงสุด

โครงการนโยบายจำนำข้าวนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2004 ภายใต้การนำของพี่ชายของ น.ส ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งเป็นผู้นำการเมืองแบบประชานิยม นโยบายจำนำข้าวนี้ถูกตำหนิอย่างกว้างขวางเพราะ ปัญหาการสวมสิทธิ์และต้นทุนค่าดำเนินการที่สูง และทักษิณถูกบังคับให้ออกนอกประเทศไป
โดยการปฎิวัติในปี 2006 หลังจากการประท้วงในเมืองหลวง ต่อต้านการคอรัปชันและการใช้อำนาจในทางมิชอบของเขา

ยิ่งลักษณ์เริ่มนำนโยบายจำนำข้าวนี้กลับมาใช้อีกครั้งในเดือนตุลาคม ปี 2011 โดยไม่จำกัดจำนวนของการรับซื้อจากชาวนา ดังนั้น ประมาณได้ว่ารัฐบาลได้รับซื้อข้าวจากชาวนาไปแล้วราว 35.2 ล้าน ตัน โดยจ่ายเงินให้ชาวนาไปราว 11 พันล้าน ดอลลาร์ ในขณะที่สามารถนำบางส่วนไปขายต่อในตลาดต่างประเทศได้เพียง 1.9 พันล้าน ดอลลาร์ วราเทพ กล่าว

ค่าใช้จ่ายของโครงการนี้รวมไปถึง ค่าจัดการโดยผ่านธนาคารเพื่อการเกษตร และค่าใช้จ่ายที่ต้องเก็บข้าวในโกดัง ประมาณ 482 ล้านดอลลาร์

“ถ้าจะคิดถึงตัวเลขตามบัญชี คงต้องบอกว่าขาดทุน” ยิ่งลักษณ์ กล่าว แต่เธอย้ำว่า การขาดทุนนั้นแท้จริงคือกำไรที่บรรดาชาวนาไทยจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น