(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Afghanistan a minefield for the innocent
By Esmatullah Mayar
11/03/2013
ในอัฟกานิสถานทุกๆ เดือนจะต้องมีผู้คนที่สูญเสียขาไปเพราะทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคลอย่างน้อยที่สุด 45 คนโดยเฉลี่ย ภายใต้อนุสัญญากรุงออตตาวาของสหประชาชาติ ได้มีการวางกำหนดการเอาไว้ว่า ดินแดนแห่งนี้จะต้องปลอดจากเจ้าสัตว์ร้ายนี้แบบที่ยังมีฤทธิ์มีเดชทำให้ผู้คนบาดเจ็บล้มตายอยู่ ให้ได้ภายในสิ้นปี 2013 อย่างไรก็ตาม ดังที่บรรดาเหยื่อซึ่งกำลังทดลองสวมใส่ขาเทียมต่างก็ตระหนักเป็นอันดี กระบวนการของการเก็บกวาดเครื่องมือทำร้ายเข่นฆ่าชนิดนี้ช่างมีความคืบหน้าไปอย่างเชื่องช้าเหลือเกิน ภายในประเทศที่มีทุ่นระเบิดติดตั้งเอาไว้รอคอยผู้เคราะห์ร้ายเป็นจำนวนมากมายที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
คาบูล,อัฟกานิสถาน - ความพยายามที่จะเก็บกวาดทุ่นระเบิดในอัฟกานิสถานช่างเดินหน้าไปได้อย่างเชื่องช้าเหลือเกิน ในแต่ละเดือนโดยเฉลี่ยแล้วมีผู้คนอย่างน้อยที่สุด 45 คนต้องสูญเสียขาของพวกเขาให้แก่ทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคล (anti-personnel mine) ซึ่งมีฤทธิ์มีเดชถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ตามข้อมูลของ ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติการกวาดกู้ทุ่นระเบิดแห่งอัฟกานิสถาน (Mine Action Coordination Center of Afghanistan) ที่เมื่อก่อนเคยเป็นโครงการหนึ่งของสำนักงานปฏิบัติการกวาดกู้ทุ่นระเบิดสหประชาชาติ (UN Mine Action Service) แต่ปัจจุบันมีฐานะเป็นหน่วยงานระดับชาติของอัฟกานิสถาน
ภายใต้สนธิสัญญาห้ามทุ่นระเบิดของสหประชาชาติ มีการวางกำหนดการกันไว้ว่า อัฟกานิสถานควรที่จะปลอดจากดงทุ่นระเบิดภายในสิ้นปี 2013 อย่างไรก็ดีในการประชุมที่นครเจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ประเทศนี้ได้รับการขยายเวลาไปจนถึงปี 2023 ในการเก็บกวาดอาณาบริเวณต่างๆ ให้ปราศจากเจ้าอาวุธร้ายชนิดนี้
ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา กลุ่มรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อการห้ามทุ่นระเบิด (International Campaign to Ban Landmines) อันเป็นเครือข่ายระดับโลกของพวกองค์กรนอกภาครัฐบาล (เอ็นจีโอ) ทั้งหลาย ได้เปิดการรณรงค์เรียกร้องเพื่อทำให้โลกปลอดจากทุ่นระเบิดและระเบิดลูกปราย (cluster ammunition) เวลานี้มีการรณรงค์เช่นนี้อยู่ในประเทศต่างๆ 90 ประเทศ รวมทั้งอัฟกานิสถานด้วย
อัฟกานิสถานเป็นชาติผู้ร่วมลงนามรายหนึ่งของอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการห้ามทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคล (UN Anti-Personnel Mine Ban Convention) หรือ ที่นิยมเรียกขานกันว่า อนุสัญญากรุงออตตาวา (Ottawa Convention) และประเทศนี้ยังคงกลาดเกลื่อนไปด้วยทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคล ซึ่งเป็นอาวุธที่มีจุดมุ่งหมายหลักทำให้เหยื่อกลายเป็นคนพิการ
กิจกรรมเก็บกวาดทุ่นระเบิดในอัฟกานิสถานเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1979 ภารกิจนี้ซึ่งกินเวลามากมายอย่างยิ่ง เมื่อยังไม่แล้วเสร็จก็หมายความว่า ยังมีชาวอัฟกันอีกประมาณ 1 ล้านคนจากประชากรทั่วประเทศที่ประมาณการกันว่าอยู่ในราว 30 ล้านคน ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีเจ้าอาวุธร้ายที่ยังไม่ระเบิดคอยดักรออยู่
ณ ศูนย์แขนขาเทียม ของคณะกรรมการกาชาดสากล (International Committee of the Red Cross หรือ ICRC) ในกรุงคาบูล กูลาม ซิดดิก (Ghulam Siddiq) ชายวัย 36 ปีจากอำเภอโคเกียนี (Khogiani) ของจังหวัดนันการ์ฮาร์ (Nangarhar) ที่อยู่ห่างจากเมืองหลวงไปทางตะวันออกราว 200 กิโลเมตร เป็นผู้หนึ่งซึ่งมาขอรับบริการทำขาเทียม “ผมกำลังตัดหญ้าอยู่บนภูเขาตอนช่วงบ่ายๆ แล้วทันใดนั้นก็เกิดการระเบิดขึ้นมา” เขาเล่า
ซิดดิกบอกว่า ในตอนแรกๆ เขายังทำใจให้เชื่อไม่ได้เลยว่าเขาสูญเสียขาไปข้างหนึ่งแล้วจริงๆ “เมื่อผมฟื้นกลับมีสติขึ้นมา ผมพบว่าตัวเองอยู่ในโรงพยาบาล ขาข้างหนึ่งของผมถูกตัดตั้งแต่ใต้เข่าลงไป มันทำให้ผมเจ็บปวดมาก ผมเริ่มประท้วงโต้แย้งพระเจ้า ก็ในเมื่อด้านหนึ่งผมต้องเจอความยากจนอยู่แล้ว นี่อีกด้านหนึ่งผมยังต้องมาเจอความลำบากกับขาของผมอีก แต่จากนั้นผมก็ระงับอกระงับใจ เรื่องนี้น่าจะเป็นเจตนารมณ์ของพระเจ้า”
บาซ โมฮัมหมัด (Baz Mohammad) ชายวัย 40 ปีที่พำนักอยู่ในอำเภอชาคาร์ดารา (Shakardara) ของกรุงคาบูล ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เดินทางมายังศูนย์ของกาชาดสากลแห่งนี้เพื่อทำขาเทียม ทั้งนี้กาชาดสากลมีศูนย์บริการทำแขนขาเทียมอยู่ทั้งในกรุงคาบูล และเมืองอื่นๆ อย่าง เฮรัต (Herat), มาซาร์-อี-ชาริฟ (Mazar-e-Sharif), กุลบาฮาร์ (Gulbahar), ไฟซาบัด (Faizabad), และ จาลาลาบัด (Jalalabad) เขาเล่าว่าเขาสูญเสียขาทั้งสองข้างไปจากการเหยียบทุ่นระเบิดโดยบังเอิญ “เมื่อตอนที่ผมกำลังขนข้าวสาลีอยู่ ผมก็ไปเหยียบเอาทุ่นระเบิดเข้า ผมไม่รู้หรอกว่ามันอยู่ตรงนั้นได้ยังไง”
ดูเหมือนว่าประชาชนจะไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมงานเก็บกวาดทุ่นระเบิดจึงดำเนินไปอย่างเชื่องช้ามาก นอกจากนั้นพวกเขายังร้องเรียนว่ามีการเก็บกวาดทุ่นระเบิดในบริเวณต่างๆ ที่จริงๆ แล้วไม่มีทุ่นระเบิดเลย บางคนบอกว่า หลายบริเวณที่กำลังสำรวจค้นหาทุ่นระเบิดกันนั้น ไม่ได้มีการวางทุ่นระเบิดกันหรอก
ทางด้าน ดร.โมฮัมหมัด ดาเยม คาคาร์ (Dr Mohammad Dayem Kakar) ผู้อำนวยการองค์การบริหารภัยพิบัติแห่งชาติอัฟกานิสถาน (Afghan National Disaster Management Authority หรือ ANDMA) ได้กล่าวปราศรัยในการประชุมครั้งหนึ่งซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเฮรัตในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนการเริ่มต้นการปฏิบัติการเก็บกวาดทุ่นระเบิดในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอำเภอคาร็อค (Karokh), อำเภอโอบิ (Obi), และอำเภอเชซต์ ซาห์ริฟ (Chesht Sahrif) ของจังหวัดเฮรัต เขาบอกว่ามีทุ่นระเบิดกระจัดกระจายอยู่ในอาณาบริเวณที่กว้างขวางถึง 599 ตารางกิโลเมตร
“มีคนประมาณ 3,000 คนทีเดียวที่ตายหรือบาดเจ็บจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดชนิดอื่นๆ ในแต่ละเดือนในช่วง 3 ปีก่อนหน้านี้” เขากล่าว “แต่ตอนนี้ตัวเลขดังกล่าวลดลงมาเหลือ 45 คนในแต่ละเดือนแล้ว”
คาคาร์แสดงความหวังว่า พื้นที่ต่างๆ ที่ยังมีทุ่นระเบิดอยู่ของจังหวัดเฮรัต จะสามารถเก็บกวาดได้หมดสิ้นภายในปี 2018 และทั่วประเทศอัฟกานิสถานจะปลอดจากทุ่นระเบิดภายในปี 2023 เขากล่าวยกย่องการทำงานอันสุดแสนอันตรายของบรรดาหน่วยงานเก็บกวาดทุ่นระเบิดทั้งหลาย “ทุ่นระเบิดเป็นของอันตรายมากสำหรับมนุษย์ และภารกิจของเราคือการชี้พื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีทุ่นระเบิดอยู่ และจัดการเก็บกวาดมันให้หมด”
ทุ่นระเบิดในอัฟกานิสถานนั้น ถูกวางกันมาตั้งแต่ยุคระบอบปกครองคอมมิวนิสต์ของ ดร.นาจิบุลเลาะห์ (Dr Najibullah) ในระหว่างการสู้รบกับกลุ่มนักรบมุญาฮิดีน (mujahideen) กลุ่มต่างๆ ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯ จากนั้นก็มีการวางทุ่นระเบิดกันอีกในช่วงปี 1996 ถึง 2001 อันเป็นระยะเวลาที่เกิดการขัดแย้งสู้รบกันระหว่างรัฐบาลตอลิบาน กับกลุ่มพันธมิตรภาคเหนือ (Northern Alliance) ซึ่งนำโดย อาหมัด ชาห์ มัสซูด (Ahmad Shah Massoud) ทุ่นระเบิดจำนวนมากถูกวางไว้ตามเขตที่อยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการเกษตรด้วย ทำให้อัฟกานิสถานกลายเป็น 1 ในประเทศที่มีการวางทุ่นระเบิดมากที่สุดของโลก
ฟาริด ฮูมายุน (Farid Humayun) ผู้อำนวยการองค์การเดอะฮาโลทรัสต์ (The HALO Trust) บอกว่า องค์การการกุศลซึ่งทำงานด้านการเก็บกวาดทุ่นระเบิดของเขาแห่งนี้ ได้เก็บกวาดอาวุธอันตรายนี้ออกไปจากพื้นที่ต่างๆ ในอำเภอ 3 แห่งในจังหวัดเฮรัต รวมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 54 ตารางกิโลเมตร โดยต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ตามแผนการที่วางกันไว้ งานนี้ยังจะต้องเดินหน้าทำกันไปในอีก 12 อำเภอ ซึ่งรวมถึงพวกอำเภอติดชายแดนอย่าง โกเรียน (Ghorian), คูห์ซาน (Kuhsan), ชินดันด์ (Shindand), และ อัดรัสคัน (Adraskan) ของจังหวัดเฮรัต ทั้งนี้ ฮาโล เป็นองค์การที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ และเป็นองค์การทำงานด้านเก็บกวาดทุ่นระเบิดที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด
ตามเว็บไซต์ขององค์การแห่งนี้ ฮาโล มีทีมงานเก็บกวาดทุ่นระเบิด 200 ทีมซึ่งกำลังทำงานอยู่ทั้งในจังหวัดเฮรัต และจังหวัดอื่นๆ อีกอีก 9 แห่งทางภาคเหนือและภาคกลางของอัฟกานิสถาน ระหว่างปี 1988 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2010 ฮาโล ได้ทำลายทุ่นระเบิดไปแล้วมากกว่า 736,000 ลูก (เป็นทุ่นระเบิดที่ถูกวางดักรอเหยื่อ 195,000 ลูก และทุ่นระเบิดที่เก็บไว้ในคลังแสง 541,000 ลูก), วัตถุระเบิดและเครื่องกระสุนขนาดใหญ่ 10 ล้านชิ้น, และกระสุน 45.6 ล้านลูก
ในการประชุมที่เฮรัตเมื่อเดือนธันวาคมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ฮูมายุน ผู้อำนวยการของ ฮาโล บอกว่า ทีมงานของพวกเขาไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับพวกระเบิดฝังไว้ข้างถนน (roadside bomb) รุ่นใหม่ๆ ซึ่งเป็นพวกระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Devices หรือ IEDs) ที่พวกกลุ่มติดอาวุธคัดค้านรัฐบาลประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ (Hamid Karzai) ของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน วางเอาไว้ ทั้งนี้ตามรายงานของสหประชาชาติ พวกอาวุธชนิดใหม่เหล่านี้เป็นตัวการของการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนถึงประมาณ 30% ในช่วงครึ่งหลังของปี 2012 รายงานให้ตัวเลขว่า เป็นผู้เสียชีวิต 967 คน และบาดเจ็บ 1,590 คน
ชาฮับ ฮากิมี (Shahab Hakimi) ผู้อำนวยการของศูนย์ตรวจทุ่นระเบิดและสุนัขตรวจทุ่นระเบิด (Mine Detection and Dog Center หรือ MDC) ซึ่งเป็นหน่วยงานฝึกฝนสุนัขให้สามารถทำงานที่อันตรายมากนี้ ออกมาเรียกร้องบรรดาผู้บริจาคให้ช่วยเหลือออกเงินทุนแก่ความพยายามในการเก็บกวาดทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมต่อไป เขาแสดงความหวังว่าทุ่นระเบิดที่ยังคงมีเกลื่อนกลาดในอัฟกานิสถานจะสามารถเคลียร์ให้หมดสิ้นไปได้ด้วยเงินทุนที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และด้วยความพยายามของบรรดาองค์กรเอ็นจีโอที่มุ่งทำงานด้านนี้
ทางด้าน อาบิเกล ฮาร์ตลีย์ (Abigail Hartley) ผู้จัดการโครงการของสำนักงานปฏิบัติการกวาดกู้ทุ่นระเบิดสหประชาชาติ ก็กล่าวแสดงความมั่นใจว่า อัฟกานิสถานจะสามารถทำได้ตามเส้นตายใหม่นั่นคือ การเก็บกวาดทุ่นระเบิดให้หมดสิ้นภายในปี 2023
เอสมาตุลเลาะห์ มายาร์ เป็นนักเขียนซึ่งเขียนเรื่องให้แก่ คิลลิด (Killid) กลุ่มสื่อมวลชนชาวอัฟกันอิสระ ซึ่งร่วมมือกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service หรือ IPS)
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Afghanistan a minefield for the innocent
By Esmatullah Mayar
11/03/2013
ในอัฟกานิสถานทุกๆ เดือนจะต้องมีผู้คนที่สูญเสียขาไปเพราะทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคลอย่างน้อยที่สุด 45 คนโดยเฉลี่ย ภายใต้อนุสัญญากรุงออตตาวาของสหประชาชาติ ได้มีการวางกำหนดการเอาไว้ว่า ดินแดนแห่งนี้จะต้องปลอดจากเจ้าสัตว์ร้ายนี้แบบที่ยังมีฤทธิ์มีเดชทำให้ผู้คนบาดเจ็บล้มตายอยู่ ให้ได้ภายในสิ้นปี 2013 อย่างไรก็ตาม ดังที่บรรดาเหยื่อซึ่งกำลังทดลองสวมใส่ขาเทียมต่างก็ตระหนักเป็นอันดี กระบวนการของการเก็บกวาดเครื่องมือทำร้ายเข่นฆ่าชนิดนี้ช่างมีความคืบหน้าไปอย่างเชื่องช้าเหลือเกิน ภายในประเทศที่มีทุ่นระเบิดติดตั้งเอาไว้รอคอยผู้เคราะห์ร้ายเป็นจำนวนมากมายที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
คาบูล,อัฟกานิสถาน - ความพยายามที่จะเก็บกวาดทุ่นระเบิดในอัฟกานิสถานช่างเดินหน้าไปได้อย่างเชื่องช้าเหลือเกิน ในแต่ละเดือนโดยเฉลี่ยแล้วมีผู้คนอย่างน้อยที่สุด 45 คนต้องสูญเสียขาของพวกเขาให้แก่ทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคล (anti-personnel mine) ซึ่งมีฤทธิ์มีเดชถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ตามข้อมูลของ ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติการกวาดกู้ทุ่นระเบิดแห่งอัฟกานิสถาน (Mine Action Coordination Center of Afghanistan) ที่เมื่อก่อนเคยเป็นโครงการหนึ่งของสำนักงานปฏิบัติการกวาดกู้ทุ่นระเบิดสหประชาชาติ (UN Mine Action Service) แต่ปัจจุบันมีฐานะเป็นหน่วยงานระดับชาติของอัฟกานิสถาน
ภายใต้สนธิสัญญาห้ามทุ่นระเบิดของสหประชาชาติ มีการวางกำหนดการกันไว้ว่า อัฟกานิสถานควรที่จะปลอดจากดงทุ่นระเบิดภายในสิ้นปี 2013 อย่างไรก็ดีในการประชุมที่นครเจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ประเทศนี้ได้รับการขยายเวลาไปจนถึงปี 2023 ในการเก็บกวาดอาณาบริเวณต่างๆ ให้ปราศจากเจ้าอาวุธร้ายชนิดนี้
ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา กลุ่มรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อการห้ามทุ่นระเบิด (International Campaign to Ban Landmines) อันเป็นเครือข่ายระดับโลกของพวกองค์กรนอกภาครัฐบาล (เอ็นจีโอ) ทั้งหลาย ได้เปิดการรณรงค์เรียกร้องเพื่อทำให้โลกปลอดจากทุ่นระเบิดและระเบิดลูกปราย (cluster ammunition) เวลานี้มีการรณรงค์เช่นนี้อยู่ในประเทศต่างๆ 90 ประเทศ รวมทั้งอัฟกานิสถานด้วย
อัฟกานิสถานเป็นชาติผู้ร่วมลงนามรายหนึ่งของอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการห้ามทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคล (UN Anti-Personnel Mine Ban Convention) หรือ ที่นิยมเรียกขานกันว่า อนุสัญญากรุงออตตาวา (Ottawa Convention) และประเทศนี้ยังคงกลาดเกลื่อนไปด้วยทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคล ซึ่งเป็นอาวุธที่มีจุดมุ่งหมายหลักทำให้เหยื่อกลายเป็นคนพิการ
กิจกรรมเก็บกวาดทุ่นระเบิดในอัฟกานิสถานเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1979 ภารกิจนี้ซึ่งกินเวลามากมายอย่างยิ่ง เมื่อยังไม่แล้วเสร็จก็หมายความว่า ยังมีชาวอัฟกันอีกประมาณ 1 ล้านคนจากประชากรทั่วประเทศที่ประมาณการกันว่าอยู่ในราว 30 ล้านคน ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีเจ้าอาวุธร้ายที่ยังไม่ระเบิดคอยดักรออยู่
ณ ศูนย์แขนขาเทียม ของคณะกรรมการกาชาดสากล (International Committee of the Red Cross หรือ ICRC) ในกรุงคาบูล กูลาม ซิดดิก (Ghulam Siddiq) ชายวัย 36 ปีจากอำเภอโคเกียนี (Khogiani) ของจังหวัดนันการ์ฮาร์ (Nangarhar) ที่อยู่ห่างจากเมืองหลวงไปทางตะวันออกราว 200 กิโลเมตร เป็นผู้หนึ่งซึ่งมาขอรับบริการทำขาเทียม “ผมกำลังตัดหญ้าอยู่บนภูเขาตอนช่วงบ่ายๆ แล้วทันใดนั้นก็เกิดการระเบิดขึ้นมา” เขาเล่า
ซิดดิกบอกว่า ในตอนแรกๆ เขายังทำใจให้เชื่อไม่ได้เลยว่าเขาสูญเสียขาไปข้างหนึ่งแล้วจริงๆ “เมื่อผมฟื้นกลับมีสติขึ้นมา ผมพบว่าตัวเองอยู่ในโรงพยาบาล ขาข้างหนึ่งของผมถูกตัดตั้งแต่ใต้เข่าลงไป มันทำให้ผมเจ็บปวดมาก ผมเริ่มประท้วงโต้แย้งพระเจ้า ก็ในเมื่อด้านหนึ่งผมต้องเจอความยากจนอยู่แล้ว นี่อีกด้านหนึ่งผมยังต้องมาเจอความลำบากกับขาของผมอีก แต่จากนั้นผมก็ระงับอกระงับใจ เรื่องนี้น่าจะเป็นเจตนารมณ์ของพระเจ้า”
บาซ โมฮัมหมัด (Baz Mohammad) ชายวัย 40 ปีที่พำนักอยู่ในอำเภอชาคาร์ดารา (Shakardara) ของกรุงคาบูล ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เดินทางมายังศูนย์ของกาชาดสากลแห่งนี้เพื่อทำขาเทียม ทั้งนี้กาชาดสากลมีศูนย์บริการทำแขนขาเทียมอยู่ทั้งในกรุงคาบูล และเมืองอื่นๆ อย่าง เฮรัต (Herat), มาซาร์-อี-ชาริฟ (Mazar-e-Sharif), กุลบาฮาร์ (Gulbahar), ไฟซาบัด (Faizabad), และ จาลาลาบัด (Jalalabad) เขาเล่าว่าเขาสูญเสียขาทั้งสองข้างไปจากการเหยียบทุ่นระเบิดโดยบังเอิญ “เมื่อตอนที่ผมกำลังขนข้าวสาลีอยู่ ผมก็ไปเหยียบเอาทุ่นระเบิดเข้า ผมไม่รู้หรอกว่ามันอยู่ตรงนั้นได้ยังไง”
ดูเหมือนว่าประชาชนจะไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมงานเก็บกวาดทุ่นระเบิดจึงดำเนินไปอย่างเชื่องช้ามาก นอกจากนั้นพวกเขายังร้องเรียนว่ามีการเก็บกวาดทุ่นระเบิดในบริเวณต่างๆ ที่จริงๆ แล้วไม่มีทุ่นระเบิดเลย บางคนบอกว่า หลายบริเวณที่กำลังสำรวจค้นหาทุ่นระเบิดกันนั้น ไม่ได้มีการวางทุ่นระเบิดกันหรอก
ทางด้าน ดร.โมฮัมหมัด ดาเยม คาคาร์ (Dr Mohammad Dayem Kakar) ผู้อำนวยการองค์การบริหารภัยพิบัติแห่งชาติอัฟกานิสถาน (Afghan National Disaster Management Authority หรือ ANDMA) ได้กล่าวปราศรัยในการประชุมครั้งหนึ่งซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเฮรัตในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนการเริ่มต้นการปฏิบัติการเก็บกวาดทุ่นระเบิดในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอำเภอคาร็อค (Karokh), อำเภอโอบิ (Obi), และอำเภอเชซต์ ซาห์ริฟ (Chesht Sahrif) ของจังหวัดเฮรัต เขาบอกว่ามีทุ่นระเบิดกระจัดกระจายอยู่ในอาณาบริเวณที่กว้างขวางถึง 599 ตารางกิโลเมตร
“มีคนประมาณ 3,000 คนทีเดียวที่ตายหรือบาดเจ็บจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดชนิดอื่นๆ ในแต่ละเดือนในช่วง 3 ปีก่อนหน้านี้” เขากล่าว “แต่ตอนนี้ตัวเลขดังกล่าวลดลงมาเหลือ 45 คนในแต่ละเดือนแล้ว”
คาคาร์แสดงความหวังว่า พื้นที่ต่างๆ ที่ยังมีทุ่นระเบิดอยู่ของจังหวัดเฮรัต จะสามารถเก็บกวาดได้หมดสิ้นภายในปี 2018 และทั่วประเทศอัฟกานิสถานจะปลอดจากทุ่นระเบิดภายในปี 2023 เขากล่าวยกย่องการทำงานอันสุดแสนอันตรายของบรรดาหน่วยงานเก็บกวาดทุ่นระเบิดทั้งหลาย “ทุ่นระเบิดเป็นของอันตรายมากสำหรับมนุษย์ และภารกิจของเราคือการชี้พื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีทุ่นระเบิดอยู่ และจัดการเก็บกวาดมันให้หมด”
ทุ่นระเบิดในอัฟกานิสถานนั้น ถูกวางกันมาตั้งแต่ยุคระบอบปกครองคอมมิวนิสต์ของ ดร.นาจิบุลเลาะห์ (Dr Najibullah) ในระหว่างการสู้รบกับกลุ่มนักรบมุญาฮิดีน (mujahideen) กลุ่มต่างๆ ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯ จากนั้นก็มีการวางทุ่นระเบิดกันอีกในช่วงปี 1996 ถึง 2001 อันเป็นระยะเวลาที่เกิดการขัดแย้งสู้รบกันระหว่างรัฐบาลตอลิบาน กับกลุ่มพันธมิตรภาคเหนือ (Northern Alliance) ซึ่งนำโดย อาหมัด ชาห์ มัสซูด (Ahmad Shah Massoud) ทุ่นระเบิดจำนวนมากถูกวางไว้ตามเขตที่อยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการเกษตรด้วย ทำให้อัฟกานิสถานกลายเป็น 1 ในประเทศที่มีการวางทุ่นระเบิดมากที่สุดของโลก
ฟาริด ฮูมายุน (Farid Humayun) ผู้อำนวยการองค์การเดอะฮาโลทรัสต์ (The HALO Trust) บอกว่า องค์การการกุศลซึ่งทำงานด้านการเก็บกวาดทุ่นระเบิดของเขาแห่งนี้ ได้เก็บกวาดอาวุธอันตรายนี้ออกไปจากพื้นที่ต่างๆ ในอำเภอ 3 แห่งในจังหวัดเฮรัต รวมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 54 ตารางกิโลเมตร โดยต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ตามแผนการที่วางกันไว้ งานนี้ยังจะต้องเดินหน้าทำกันไปในอีก 12 อำเภอ ซึ่งรวมถึงพวกอำเภอติดชายแดนอย่าง โกเรียน (Ghorian), คูห์ซาน (Kuhsan), ชินดันด์ (Shindand), และ อัดรัสคัน (Adraskan) ของจังหวัดเฮรัต ทั้งนี้ ฮาโล เป็นองค์การที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ และเป็นองค์การทำงานด้านเก็บกวาดทุ่นระเบิดที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด
ตามเว็บไซต์ขององค์การแห่งนี้ ฮาโล มีทีมงานเก็บกวาดทุ่นระเบิด 200 ทีมซึ่งกำลังทำงานอยู่ทั้งในจังหวัดเฮรัต และจังหวัดอื่นๆ อีกอีก 9 แห่งทางภาคเหนือและภาคกลางของอัฟกานิสถาน ระหว่างปี 1988 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2010 ฮาโล ได้ทำลายทุ่นระเบิดไปแล้วมากกว่า 736,000 ลูก (เป็นทุ่นระเบิดที่ถูกวางดักรอเหยื่อ 195,000 ลูก และทุ่นระเบิดที่เก็บไว้ในคลังแสง 541,000 ลูก), วัตถุระเบิดและเครื่องกระสุนขนาดใหญ่ 10 ล้านชิ้น, และกระสุน 45.6 ล้านลูก
ในการประชุมที่เฮรัตเมื่อเดือนธันวาคมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ฮูมายุน ผู้อำนวยการของ ฮาโล บอกว่า ทีมงานของพวกเขาไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับพวกระเบิดฝังไว้ข้างถนน (roadside bomb) รุ่นใหม่ๆ ซึ่งเป็นพวกระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Devices หรือ IEDs) ที่พวกกลุ่มติดอาวุธคัดค้านรัฐบาลประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ (Hamid Karzai) ของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน วางเอาไว้ ทั้งนี้ตามรายงานของสหประชาชาติ พวกอาวุธชนิดใหม่เหล่านี้เป็นตัวการของการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนถึงประมาณ 30% ในช่วงครึ่งหลังของปี 2012 รายงานให้ตัวเลขว่า เป็นผู้เสียชีวิต 967 คน และบาดเจ็บ 1,590 คน
ชาฮับ ฮากิมี (Shahab Hakimi) ผู้อำนวยการของศูนย์ตรวจทุ่นระเบิดและสุนัขตรวจทุ่นระเบิด (Mine Detection and Dog Center หรือ MDC) ซึ่งเป็นหน่วยงานฝึกฝนสุนัขให้สามารถทำงานที่อันตรายมากนี้ ออกมาเรียกร้องบรรดาผู้บริจาคให้ช่วยเหลือออกเงินทุนแก่ความพยายามในการเก็บกวาดทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมต่อไป เขาแสดงความหวังว่าทุ่นระเบิดที่ยังคงมีเกลื่อนกลาดในอัฟกานิสถานจะสามารถเคลียร์ให้หมดสิ้นไปได้ด้วยเงินทุนที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และด้วยความพยายามของบรรดาองค์กรเอ็นจีโอที่มุ่งทำงานด้านนี้
ทางด้าน อาบิเกล ฮาร์ตลีย์ (Abigail Hartley) ผู้จัดการโครงการของสำนักงานปฏิบัติการกวาดกู้ทุ่นระเบิดสหประชาชาติ ก็กล่าวแสดงความมั่นใจว่า อัฟกานิสถานจะสามารถทำได้ตามเส้นตายใหม่นั่นคือ การเก็บกวาดทุ่นระเบิดให้หมดสิ้นภายในปี 2023
เอสมาตุลเลาะห์ มายาร์ เป็นนักเขียนซึ่งเขียนเรื่องให้แก่ คิลลิด (Killid) กลุ่มสื่อมวลชนชาวอัฟกันอิสระ ซึ่งร่วมมือกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service หรือ IPS)
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)