(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China soybean needs shaping West’s farms
By Lester R Brown
09/01/2013
ประเทศจีนตัดสินใจชะลอการปลูกถั่วเหลือง เพื่อหันไปเน้นเรื่องการผลิตธัญญาหารให้เพียงพอเลี้ยงตัวเองได้ ทว่าการที่แดนมังกรยังคงใช้สินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็กำลังกลายเป็นแรงขับดันให้เกิดการเพิ่มการผลิตในหมู่ประเทศซีกโลกตะวันตก (อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้) โดยที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นการบุกเบิกขยายการเพาะปลูกในพื้นที่ใหม่ๆ มากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อเอเคอร์ให้สูงขึ้น และในเมื่อที่ดินซึ่งเหมาะสมกำลังเหลือน้อยลง ผืนดินอย่างลุ่มแม่น้ำอะเมซอนจึงถูกนำมาใช้ปลูกถั่วเหลืองมากขึ้นทุกที ถ้าหากอุปสงค์ยังไม่หดด้อยถอยลงไป
วอชิงตัน – ถั่วเหลืองกลายเป็นที่ต้องการของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาไม่กี่สิบปีหลังมานี้ โดยที่ประเทศจีนคือผู้นำในการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนี้ ปัจจุบันถั่วเหลืองที่เข้าสู่แวดวงการค้าระหว่างประเทศถึงประมาณเกือบๆ 60% ทีเดียว มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่จีน ทำให้แดนมังกรกลายเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกชนิดทิ้งห่างไกลลิบจากชาติผู้นำเข้ารายอื่นๆ
ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกกันครั้งแรกๆ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว โดยพวกชาวนาในบริเวณภาคตะวันออกของจีนในปัจจุบัน ทว่าต้องรอจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองไปแล้วนั่นแหละ พืชชนิดนี้จึงกลายเป็นพืชสำคัญทางการเกษตร และสามารถเข้าร่วมสมทบกับ ข้าวสาลี, ข้าว, และข้าวโพด กลายเป็นพืชชั้นนำ 4 ชนิดซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดของโลก
การที่ความต้องการถั่วเหลืองพุ่งพรวดขึ้นมาเช่นนี้ เป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยของพวกนักโภชนาการสัตว์ ซึ่งได้ค้นพบว่า การนำเอากากถั่วเหลือง 1 ส่วนมาผสมกับเมล็ดธัญญาหาร (ปกติใช้ข้าวโพด) 4 ส่วน ทำเป็นอาหารสัตว์ จะสามารถเพิ่มพูนประสิทธิภาพได้อย่างสูงลิ่ว ในการทำให้ปศุสัตว์และสัตว์ปีกเปลี่ยนธัญญาหารให้กลายเป็นโปรตีนสัตว์
ปัจจุบัน ขณะที่ประเทศจีนกำลังมีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์, นม, และไข่ มากขึ้นอย่างรวดเร็ว อุปสงค์ในการใช้กากถั่วเหลืองของแดนมังกรก็ทะยานลิ่วเช่นเดียวกัน และเนื่องจากหมูเกือบๆ ครึ่งหนึ่งของโลกเลี้ยงกันในประเทศจีน ถั่วเหลืองจึงถูกใช้ไปมากที่สุดในฐานะที่เป็นอาหารหมู นอกจากนั้น อุตสาหกรรมสัตว์ปีกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของแดนมังกร ก็กำลังต้องพึ่งพาอาศัยกากถั่วเหลืองด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น เวลานี้จีนยังกำลังใช้ถั่วเหลืองเป็นปริมาณมากทีเดียว เพื่อเป็นอาหารสำหรับปลาที่เพาะเลี้ยงเอาไว้เพื่อการบริโภคอีกด้วย
ตัวเลข 4 ตัวต่อไปนี้ สามารถบอกเล่าเรื่องราวการขยายตัวอย่างมโหฬารของการบริโภคถั่วเหลืองในประเทศจีนได้อย่างชัดเจนที่สุด กล่าวคือ เมื่อปี 1995 จีนเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองออกมาทั้งสิ้น 14 ล้านตัน และก็เป็นผู้บริโภคจำนวนทั้งสิ้น 14 ล้านตันเช่นกัน แต่พอมาถึงปี 2011 แดนมังกรยังคงผลิตถั่วเหลืองได้ 14 ล้านตันเท่าเดิม ทว่ากลับบริโภคสูงถึง 70 ล้านตัน นี่หมายความว่าจะต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศอีก 56 ล้านตัน
การที่ประเทศจีนชะลอไม่ผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเช่นนี้ สะท้อนถึงการตัดสินใจทางการเมืองของปักกิ่งในปี 1995 ที่จะทุ่มเทให้น้ำหนักไปที่การผลิตธัญญาหารประเภทข้าวทั้งหลายให้เพียงพอแก่การบริโภคภายในประเทศ สำหรับประชาชนชาวจีนในเวลานั้น ซึ่งจำนวนมากเป็นพวกที่รอดชีวิตมาจากยุคทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในช่วงปี 1959-61 แล้ว เรื่องนี้คือเรื่องสำคัญที่สุด ทั้งนี้ พวกเขาไม่ต้องการพึ่งพาอาศัยโลกภายนอกเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เป็นอาหารหลักของพวกเขา
จากการกระตุ้นส่งเสริมการผลิตธัญญาหารอย่างแข็งขัน ทั้งด้วยการอุดหนุนในด้านต่างๆ อย่างใจกว้าง และทั้งด้วยการดำเนินการซึ่งเท่ากับเป็นการทอดทิ้งละเลยการผลิตถั่วเหลือง ประเทศจีนก็สามารถเพิ่มปริมาณการเก็บเกี่ยวธัญญาหารได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผลผลิตถั่วเหลืองอยู่ในสภาพหยุดนิ่ง
ในทางทฤษฎีแล้ว ถ้าหากประเทศจีนเลือกที่จะผลิตถั่วเหลือง 70 ล้านตันที่บริโภคไปในปี 2011 ด้วยตนเองทั้งหมดแล้ว ก็จะต้องเปลี่ยนเอาที่ดินซึ่งใช้ปลูกข้าวชนิดต่างๆ อยู่ในเวลานี้ถึงประมาณ 1 ใน 3 ทีเดียวมาใช้ปลูกถั่วเหลือง ทว่านี่ก็จะบังคับให้แดนมังกรต้องนำเข้าธัญญาหารจากต่างประเทศเป็นจำนวน 160 ล้านตัน หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของการบริโภคธัญญาหารทั้งหมดของตน เนื่องจากในปัจจุบันประชาชน 1,350 ล้านคนของจีนกำลังเลื่อนระดับสูงขึ้นไปในสายโซ่แห่งอาหาร เป็นต้นว่า บริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ จึงแทบจะเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า แดนมังกรยังจะนำเข้าถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นต่อไปอีก
ผลกระทบสำคัญที่สุดซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพการณ์ที่การบริโภคถั่วเหลืองของโลกกำลังทะยานขึ้นไปราวกับติดจรวดเช่นนี้ ก็คือภาคการเกษตรในซีกโลกตะวันตก (ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้) เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกันใหม่ ในสหรัฐอเมริกา เวลานี้มีที่ดินที่ใช้เพาะปลูกถั่วเหลืองมากกว่าที่ดินที่ใช้ปลูกข้าวสาลีแล้ว ส่วนในบราซิล พื้นที่สำหรับถั่วเหลืองถึงขนาดแซงหน้าพื้นที่ซึ่งใช้ปลูกธัญญาหารต่างๆ ทุกชนิดรวมกันด้วยซ้ำ ยิ่งสำหรับอาร์เจนตินาด้วยแล้ว เวลานี้เนื้อที่ปลูกถั่วเหลืองมีปริมาณเกือบเป็นสองเท่าตัวของเนื้อที่ใช้ปลูกธัญญาหารทุกๆ ชนิดรวมกัน จึงทำให้ประเทศนี้ใกล้จะตกอยู่ในบ่วงอันตรายของการกลายเป็นประเทศผู้ปลูกถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ทั้ง 3 ประเทศเหล่านี้รวมกันแล้วเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองมากกว่า 4 ใน 5 ของโลก โดยที่เมื่อก่อนสหรัฐฯเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกถั่วเหลืองอันดับหนึ่งอยู่เป็นเวลาราว 6 ทศวรรษ ทว่าในปี 2011 ยอดส่งออกของบราซิลสามารถแซงหน้าปริมาณส่งออกของสหรัฐฯไปเล็กน้อย
ถึงแม้ในกรณีของธัญญาหาร การที่ผลการเก็บเกี่ยวของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากนับตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่แล้วเนื่องมาจากการทำผลผลิตต่อเอเคอร์ได้สูงขึ้นในระดับสามเท่าตัวของเมื่อก่อน ทว่าสำหรับถั่วเหลืองแล้ว การที่ผลการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองของโลกเพิ่มขึ้นเป็น 16 เท่าตัวนั้น เหตุผลใหญ่ที่บดบังเหตุผลข้ออื่นๆ จนมิด ก็คือ เป็นเพราะมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชชนิดนี้ ดังจะเห็นได้ว่าขณะที่พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเกือบๆ เป็น 7 เท่าตัว แต่ผลผลิตต่อเอเคอร์กลับทำได้สูงเพียงแค่เป็นสองเท่าตัวนิดๆ เท่านั้น การที่โลกเรามีถั่วเหลืองบริโภคกันมากขึ้น จึงมีสาเหตุมาจากการขยายพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ตรงนี้เองที่ถือว่าเป็นปัญหา
เพราะทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า จะไปปลูกถั่วเหลืองเพิ่มเติมกันที่ไหนอีก? สหรัฐฯเวลานี้กำลังใช้พื้นที่เพาะปลูกที่สามารถใช้ได้ของตนไปหมดสิ้นแล้ว และไม่มีที่ดินเพิ่มเติมที่สามารถใช้ปลูกถั่วเหลืองได้อีกแล้ว หนทางเดียวที่จะขยายไร่ถั่วเหลืองออกไปอีก ก็คือต้องเปลี่ยนที่ดินที่เคยใช้เพาะปลูกพืชอย่างอื่น เป็นต้นว่า ข้าวโพด และ ข้าวสาลี มาใช้ปลูกถั่วเหลือง สำหรับในบราซิลนั้น ที่ดินใหม่ๆ สำหรับการผลิตถั่วเหลืองมาจากบริเวณลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ตลอดจนเขตเซร์ราโด (cerrado) อันเป็นบริเวณที่อยู่ถัดลงไปทางใต้และมีลักษณะคล้ายๆ กับเขตทุ่งหญ้าซาวันนาห์
พูดง่ายๆ ก็คือ การที่จะรักษาป่าฝนเมืองร้อนของแถบอะเมซอนเอาไว้ได้หรือไม่ เวลานี้มันขึ้นอยู่กับการสกัดกั้นไม่ให้อุปสงค์ในการบริโภคถั่วเหลืองมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และทำให้พื้นที่การปลูกพืชชนิดนี้ในทั่วโลกอยู่ในภาวะเสถียรให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับผู้คนที่อยู่ในฐานะมั่งคั่งสามารถจับจ่ายใช้สอยได้มากกว่าคนอื่นๆ ในโลกแล้ว เรื่องนี้หมายความถึงการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะช่วยชะลออัตราการขยายตัวในอุปสงค์สำหรับถั่วเหลือง เมื่อพิจารณาจากภูมิหลังเช่นนี้แล้ว การที่ในสหรัฐฯมีอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์ลดต่ำลงในระยะหลังๆ นี้ก็ควรถือว่าเป็นข่าวที่น่ายินดี
เลสเตอร์ บราวน์ เป็นประธานของสถาบันนโยบายโลก (Earth Policy Institute) หากสนใจที่จะอ่านเพิ่มเติมเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านอาหารของโลก โปรดดูหนังสือเรื่อง Full Planet, Empty Plates: The New Geopolitics of Food Scarcity, by Lester R Brown (W.W. Norton: October 2012). สำหรับข้อมูลสนับสนุนตลอดจนพรีเซนเทชั่นในรูปไฟล์พาวเวอร์พอยต์ มีเผยแพร่ทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.earth-policy.org/books/fpep.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
China soybean needs shaping West’s farms
By Lester R Brown
09/01/2013
ประเทศจีนตัดสินใจชะลอการปลูกถั่วเหลือง เพื่อหันไปเน้นเรื่องการผลิตธัญญาหารให้เพียงพอเลี้ยงตัวเองได้ ทว่าการที่แดนมังกรยังคงใช้สินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็กำลังกลายเป็นแรงขับดันให้เกิดการเพิ่มการผลิตในหมู่ประเทศซีกโลกตะวันตก (อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้) โดยที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นการบุกเบิกขยายการเพาะปลูกในพื้นที่ใหม่ๆ มากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อเอเคอร์ให้สูงขึ้น และในเมื่อที่ดินซึ่งเหมาะสมกำลังเหลือน้อยลง ผืนดินอย่างลุ่มแม่น้ำอะเมซอนจึงถูกนำมาใช้ปลูกถั่วเหลืองมากขึ้นทุกที ถ้าหากอุปสงค์ยังไม่หดด้อยถอยลงไป
วอชิงตัน – ถั่วเหลืองกลายเป็นที่ต้องการของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาไม่กี่สิบปีหลังมานี้ โดยที่ประเทศจีนคือผู้นำในการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนี้ ปัจจุบันถั่วเหลืองที่เข้าสู่แวดวงการค้าระหว่างประเทศถึงประมาณเกือบๆ 60% ทีเดียว มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่จีน ทำให้แดนมังกรกลายเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกชนิดทิ้งห่างไกลลิบจากชาติผู้นำเข้ารายอื่นๆ
ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกกันครั้งแรกๆ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว โดยพวกชาวนาในบริเวณภาคตะวันออกของจีนในปัจจุบัน ทว่าต้องรอจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองไปแล้วนั่นแหละ พืชชนิดนี้จึงกลายเป็นพืชสำคัญทางการเกษตร และสามารถเข้าร่วมสมทบกับ ข้าวสาลี, ข้าว, และข้าวโพด กลายเป็นพืชชั้นนำ 4 ชนิดซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดของโลก
การที่ความต้องการถั่วเหลืองพุ่งพรวดขึ้นมาเช่นนี้ เป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยของพวกนักโภชนาการสัตว์ ซึ่งได้ค้นพบว่า การนำเอากากถั่วเหลือง 1 ส่วนมาผสมกับเมล็ดธัญญาหาร (ปกติใช้ข้าวโพด) 4 ส่วน ทำเป็นอาหารสัตว์ จะสามารถเพิ่มพูนประสิทธิภาพได้อย่างสูงลิ่ว ในการทำให้ปศุสัตว์และสัตว์ปีกเปลี่ยนธัญญาหารให้กลายเป็นโปรตีนสัตว์
ปัจจุบัน ขณะที่ประเทศจีนกำลังมีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์, นม, และไข่ มากขึ้นอย่างรวดเร็ว อุปสงค์ในการใช้กากถั่วเหลืองของแดนมังกรก็ทะยานลิ่วเช่นเดียวกัน และเนื่องจากหมูเกือบๆ ครึ่งหนึ่งของโลกเลี้ยงกันในประเทศจีน ถั่วเหลืองจึงถูกใช้ไปมากที่สุดในฐานะที่เป็นอาหารหมู นอกจากนั้น อุตสาหกรรมสัตว์ปีกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของแดนมังกร ก็กำลังต้องพึ่งพาอาศัยกากถั่วเหลืองด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น เวลานี้จีนยังกำลังใช้ถั่วเหลืองเป็นปริมาณมากทีเดียว เพื่อเป็นอาหารสำหรับปลาที่เพาะเลี้ยงเอาไว้เพื่อการบริโภคอีกด้วย
ตัวเลข 4 ตัวต่อไปนี้ สามารถบอกเล่าเรื่องราวการขยายตัวอย่างมโหฬารของการบริโภคถั่วเหลืองในประเทศจีนได้อย่างชัดเจนที่สุด กล่าวคือ เมื่อปี 1995 จีนเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองออกมาทั้งสิ้น 14 ล้านตัน และก็เป็นผู้บริโภคจำนวนทั้งสิ้น 14 ล้านตันเช่นกัน แต่พอมาถึงปี 2011 แดนมังกรยังคงผลิตถั่วเหลืองได้ 14 ล้านตันเท่าเดิม ทว่ากลับบริโภคสูงถึง 70 ล้านตัน นี่หมายความว่าจะต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศอีก 56 ล้านตัน
การที่ประเทศจีนชะลอไม่ผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเช่นนี้ สะท้อนถึงการตัดสินใจทางการเมืองของปักกิ่งในปี 1995 ที่จะทุ่มเทให้น้ำหนักไปที่การผลิตธัญญาหารประเภทข้าวทั้งหลายให้เพียงพอแก่การบริโภคภายในประเทศ สำหรับประชาชนชาวจีนในเวลานั้น ซึ่งจำนวนมากเป็นพวกที่รอดชีวิตมาจากยุคทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในช่วงปี 1959-61 แล้ว เรื่องนี้คือเรื่องสำคัญที่สุด ทั้งนี้ พวกเขาไม่ต้องการพึ่งพาอาศัยโลกภายนอกเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เป็นอาหารหลักของพวกเขา
จากการกระตุ้นส่งเสริมการผลิตธัญญาหารอย่างแข็งขัน ทั้งด้วยการอุดหนุนในด้านต่างๆ อย่างใจกว้าง และทั้งด้วยการดำเนินการซึ่งเท่ากับเป็นการทอดทิ้งละเลยการผลิตถั่วเหลือง ประเทศจีนก็สามารถเพิ่มปริมาณการเก็บเกี่ยวธัญญาหารได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผลผลิตถั่วเหลืองอยู่ในสภาพหยุดนิ่ง
ในทางทฤษฎีแล้ว ถ้าหากประเทศจีนเลือกที่จะผลิตถั่วเหลือง 70 ล้านตันที่บริโภคไปในปี 2011 ด้วยตนเองทั้งหมดแล้ว ก็จะต้องเปลี่ยนเอาที่ดินซึ่งใช้ปลูกข้าวชนิดต่างๆ อยู่ในเวลานี้ถึงประมาณ 1 ใน 3 ทีเดียวมาใช้ปลูกถั่วเหลือง ทว่านี่ก็จะบังคับให้แดนมังกรต้องนำเข้าธัญญาหารจากต่างประเทศเป็นจำนวน 160 ล้านตัน หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของการบริโภคธัญญาหารทั้งหมดของตน เนื่องจากในปัจจุบันประชาชน 1,350 ล้านคนของจีนกำลังเลื่อนระดับสูงขึ้นไปในสายโซ่แห่งอาหาร เป็นต้นว่า บริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ จึงแทบจะเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า แดนมังกรยังจะนำเข้าถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นต่อไปอีก
ผลกระทบสำคัญที่สุดซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพการณ์ที่การบริโภคถั่วเหลืองของโลกกำลังทะยานขึ้นไปราวกับติดจรวดเช่นนี้ ก็คือภาคการเกษตรในซีกโลกตะวันตก (ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้) เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกันใหม่ ในสหรัฐอเมริกา เวลานี้มีที่ดินที่ใช้เพาะปลูกถั่วเหลืองมากกว่าที่ดินที่ใช้ปลูกข้าวสาลีแล้ว ส่วนในบราซิล พื้นที่สำหรับถั่วเหลืองถึงขนาดแซงหน้าพื้นที่ซึ่งใช้ปลูกธัญญาหารต่างๆ ทุกชนิดรวมกันด้วยซ้ำ ยิ่งสำหรับอาร์เจนตินาด้วยแล้ว เวลานี้เนื้อที่ปลูกถั่วเหลืองมีปริมาณเกือบเป็นสองเท่าตัวของเนื้อที่ใช้ปลูกธัญญาหารทุกๆ ชนิดรวมกัน จึงทำให้ประเทศนี้ใกล้จะตกอยู่ในบ่วงอันตรายของการกลายเป็นประเทศผู้ปลูกถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ทั้ง 3 ประเทศเหล่านี้รวมกันแล้วเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองมากกว่า 4 ใน 5 ของโลก โดยที่เมื่อก่อนสหรัฐฯเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกถั่วเหลืองอันดับหนึ่งอยู่เป็นเวลาราว 6 ทศวรรษ ทว่าในปี 2011 ยอดส่งออกของบราซิลสามารถแซงหน้าปริมาณส่งออกของสหรัฐฯไปเล็กน้อย
ถึงแม้ในกรณีของธัญญาหาร การที่ผลการเก็บเกี่ยวของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากนับตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่แล้วเนื่องมาจากการทำผลผลิตต่อเอเคอร์ได้สูงขึ้นในระดับสามเท่าตัวของเมื่อก่อน ทว่าสำหรับถั่วเหลืองแล้ว การที่ผลการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองของโลกเพิ่มขึ้นเป็น 16 เท่าตัวนั้น เหตุผลใหญ่ที่บดบังเหตุผลข้ออื่นๆ จนมิด ก็คือ เป็นเพราะมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชชนิดนี้ ดังจะเห็นได้ว่าขณะที่พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเกือบๆ เป็น 7 เท่าตัว แต่ผลผลิตต่อเอเคอร์กลับทำได้สูงเพียงแค่เป็นสองเท่าตัวนิดๆ เท่านั้น การที่โลกเรามีถั่วเหลืองบริโภคกันมากขึ้น จึงมีสาเหตุมาจากการขยายพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ตรงนี้เองที่ถือว่าเป็นปัญหา
เพราะทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า จะไปปลูกถั่วเหลืองเพิ่มเติมกันที่ไหนอีก? สหรัฐฯเวลานี้กำลังใช้พื้นที่เพาะปลูกที่สามารถใช้ได้ของตนไปหมดสิ้นแล้ว และไม่มีที่ดินเพิ่มเติมที่สามารถใช้ปลูกถั่วเหลืองได้อีกแล้ว หนทางเดียวที่จะขยายไร่ถั่วเหลืองออกไปอีก ก็คือต้องเปลี่ยนที่ดินที่เคยใช้เพาะปลูกพืชอย่างอื่น เป็นต้นว่า ข้าวโพด และ ข้าวสาลี มาใช้ปลูกถั่วเหลือง สำหรับในบราซิลนั้น ที่ดินใหม่ๆ สำหรับการผลิตถั่วเหลืองมาจากบริเวณลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ตลอดจนเขตเซร์ราโด (cerrado) อันเป็นบริเวณที่อยู่ถัดลงไปทางใต้และมีลักษณะคล้ายๆ กับเขตทุ่งหญ้าซาวันนาห์
พูดง่ายๆ ก็คือ การที่จะรักษาป่าฝนเมืองร้อนของแถบอะเมซอนเอาไว้ได้หรือไม่ เวลานี้มันขึ้นอยู่กับการสกัดกั้นไม่ให้อุปสงค์ในการบริโภคถั่วเหลืองมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และทำให้พื้นที่การปลูกพืชชนิดนี้ในทั่วโลกอยู่ในภาวะเสถียรให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับผู้คนที่อยู่ในฐานะมั่งคั่งสามารถจับจ่ายใช้สอยได้มากกว่าคนอื่นๆ ในโลกแล้ว เรื่องนี้หมายความถึงการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะช่วยชะลออัตราการขยายตัวในอุปสงค์สำหรับถั่วเหลือง เมื่อพิจารณาจากภูมิหลังเช่นนี้แล้ว การที่ในสหรัฐฯมีอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์ลดต่ำลงในระยะหลังๆ นี้ก็ควรถือว่าเป็นข่าวที่น่ายินดี
เลสเตอร์ บราวน์ เป็นประธานของสถาบันนโยบายโลก (Earth Policy Institute) หากสนใจที่จะอ่านเพิ่มเติมเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านอาหารของโลก โปรดดูหนังสือเรื่อง Full Planet, Empty Plates: The New Geopolitics of Food Scarcity, by Lester R Brown (W.W. Norton: October 2012). สำหรับข้อมูลสนับสนุนตลอดจนพรีเซนเทชั่นในรูปไฟล์พาวเวอร์พอยต์ มีเผยแพร่ทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.earth-policy.org/books/fpep.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)