(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Migrants’ woes on display in Singapore
By Megawati Wijaya
12/12/2012
การสไตรก์นัดหยุดงานของคนงานอพยพชาวจีนในสิงคโปร์เมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ชะตากรรมของพวกเขาในนครรัฐอันมั่งคั่งร่ำรวยแห่งนี้ ได้เป็นที่รับรู้และเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น หลังจากที่มักไม่ค่อยได้รับความสนใจนำเสนอสู่สายตาสู่โลกภายนอก ถึงแม้กฎหมายที่บังคับใช้กันอย่างเข้มงวดของสิงคโปร์ ยังคงเป็นตัวจำกัดกีดกั้นความสามารถของพวกเขาที่จะทำการประท้วงโดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกตอบโต้คิดบัญชีแก้เผ็ด แต่กระนั้นข้อพิพาทช่วงสั้นๆ ที่เกิดขึ้นคราวนี้ ก็ทำให้รัฐบาลต้องเร่งมีปฏิบัติการในทางบวกบางอย่างบางประการ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
สิงคโปร์ – การสไตรก์นัดหยุดงานของพวกคนงานชาวจีนในสิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้ชะตากรรมของพวกแรงงานอพยพในนครรัฐอันมั่งคั่งร่ำรวยแห่งนี้ ซึ่งจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผู้คนที่จากมาจีนแผ่นดินใหญ่ ได้เป็นที่รับรู้และเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น หลังจากมักไม่ค่อยได้รับความสนใจนำเสนอต่อสายตาโลกภายนอก ถึงแม้ในปัจจุบันคนงานต่างชาติจะมีสัดส่วนคิดเป็นกว่า 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานของประเทศนี้ แต่พวกนักเคลื่อนไหวสิทธิแรงงานบอกว่า ยังจำเป็นจะต้องทำอะไรกันอีกมากมายนักเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้แรงงานเหล่านี้จากบรรดานายจ้างที่ยังมักประพฤติตนอย่างไร้จริยธรรม
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คนขับรถโดยสารชาวจีนแผ่นดินใหญ่จำนวน 171 คน ซึ่งทำงานอยู่กับ เอสเอ็มอาร์ที (SMRT) บริษัททางด้านคมนาคมขนส่งที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับรัฐสิงคโปร์ ได้ปฏิเสธไม่ยอมขึ้นรถโดยสารของพวกเขา เพื่อประท้วงสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นสภาพการครองชีพที่ย่ำแย่และค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้คนขับรถที่เป็นแรงงานอพยพชาวจีนเหล่านี้ ได้รับค่าแรงเฉลี่ยแล้วตกเดือนละ 1,075 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 27,200 บาท) ขณะที่คนขับรถที่เป็นชาวมาเลเซียได้รับ 1,400 ดอลลาร์สิงคโปร์ ยิ่งถ้าเป็นคนสิงคโปร์เองจะได้ 1,600 ดอลลาร์สิงคโปร์ ผู้อพยพชาวจีนเหล่านี้ยังประท้วงสภาพที่อยู่อาศัยอันเลวร้ายของพวกเขา โดยที่คนขับรถ 8 คนซึ่งอยู่กะต่างๆ กัน ถูกบังคับให้ต้องพักในห้องที่เต็มไปด้วยแมลงต่างๆ ห้องเดียวกัน
รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงกำลังแรงงาน (Acting Manpower Minister) ตัน ฉวนจิน (Tan Chuan Jin) พูดถึงการประท้วงครั้งนี้ว่า เป็น “การนัดหยุดงานอย่างผิดกฎหมาย” เพราะตามรัฐบัญญัติกฎหมายอาญาเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยชั่วคราว (Criminal Law (Temporary Provisions) Act) ของสิงคโปร์ กำหนดให้บริการขนส่งสาธารณะอย่างเช่นการเดินรถโดยสาร อยู่ในประเภท “บริการที่จำเป็น” คนงานที่อยู่ในกิจการประเภทนี้จะนัดหยุดงานได้โดยไม่ถูกถือว่าผิดกฎหมาย ต่อเมื่อมีการแสดงความจำนงให้นายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 14 วันว่าพวกเขาจะทำการสไตรก์ อีกทั้งต้องทำตามเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ของการแสดงความจำนงนี้
ในเวลาต่อมาปรากฏว่ามีคนขับรถรวม 4 คน ได้แก่ เหอ จุนหลิง (He Jun Ling), เกา เย่ว์เฉียง (Gao Yue Qiang), หลิว เซียงอิง (Liu Xiangying), และ เวิน เซียนเจี๋ย (Wen Xianjie) ถูกตั้งข้อหากระทำความผิดฐานก่อการนัดหยุดงาน ขณะที่ เหอ จุนหลง ยังเจอข้อหา “ยุยง” ให้คนงานก่อการนัดหยุดงานเพิ่มขึ้นอีกข้อหาหนึ่ง ทั้ง 4 คนบอกว่าพวกเขาจะสู้คดีในศาล ทั้งนี้ถ้าหากพวกเขาถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิดจริง ก็จะต้องถูกลงโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี และ/หรือ ปรับอีกไม่เกิน 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จากการกระทำผิดฐานดำเนินการนัดหยุดงานอย่างผิดกฎหมายตามมาตรา 9 (1) ของ รัฐบัญญัติกฎหมายอาญาเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยชั่วคราว
สำหรับคนขับรถรายที่ 5 ที่ชื่อ เปา เฟิงซาน (Bao Feng Shan) ไปปรากฏตัวในศาลโดยไม่มีทนายความช่วยแก้ต่าง เขาถูกลงโทษจำคุกทันทีเป็นเวลา 6 สัปดาห์ นอกจากนั้นยังมีคนขับรถอื่นๆ อีก 29 คนซึ่งเข้าร่วมการสไตรก์ด้วย ถูกคุมขังและถูกเนรเทศออกจากสิงคโปร์ไปในทันที
ในสังคมที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดกวดขันเฉกเช่นนครรัฐแห่งนี้ การนัดหยุดงานเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นอยู่แล้ว ยิ่งเป็นการสไตรก์ของผู้อพยพก็ยิ่งผิดปกติ และเรื่องนี้ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดความบาดหมางทางการทูตระหว่างจีนกับสิงคโปร์ ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน หง เหล่ย (Hong Lei) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้เรียกร้องให้ฝ่ายสิงคโปร์พิจารณาถึงเงื่อนไขพิเศษและการร้องเรียนอย่างถูกต้องชอบธรรมของคนงานชาวจีน รวมทั้งขอให้จัดการกับคดีนี้อย่างสุขุมรอบคอบและถูกต้องเหมาะสม โดยที่จะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายของคนงานชาวจีนที่ถูกจับกุม
ขณะเดียวกัน ในฮ่องกง สมาชิกประมาณ 20 คนของสมาพันธ์แห่งสหภาพแรงงานฮ่องกง (Hong Kong Confederation of Trade Unions) ได้จัดการประท้วงขึ้นที่สถานกงสุลสิงคโปร์ เพื่อเป็นการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนขับรถที่ถูกคุมขังและที่ถูกเนรเทศ พวกเขายังเรียกร้องให้รัฐบาลสิงคโปร์รับเอาคนขับรถทั้ง 29 คนซึ่งถูกส่งตัวไปยังจีน กลับเข้าไปทำงานตามเดิม และยกเลิกข้อหาต่างๆ ที่กล่าวโทษคนขับรถอีก 5 คนซึ่งถูกคุมขังอยู่
ขณะที่เรื่องการนัดหยุดงานคราวนี้กำลังกลายเป็นพาดหัวข่าวไปทั่วโลกนั้นเอง ก็มีคนงานก่อสร้างชาวจีนแผ่นดินใหญ่ 2 คน ชื่อ จู กุ่ยเหลย (Zhu Guilei) และ อู๋ เสี่ยวหลิน (Wu Xiaolin) ปีนขึ้นไปบนยอดของเครนยักษ์ที่มีความสูงเท่ากับตึก 10 ชั้น 2 ตัว ณ สถานที่ก่อสร้างในเขตจูร่ง (Jurong) ทางด้านตะวันตกของสิงคโปร์ เพื่อประท้วงเรื่องที่พวกเขามีข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างกับนายจ้างของพวกเขา ซึ่งก็คือ บริษัทจงเจียงอินเตอร์เนชั่นแนล (Zhong Jiang International) ตำรวจได้รีบเข้าจับกุมคนงานชาวจีนทั้ง 2 คนนี้ในข้อหาเจตนาก่อให้เกิดความแตกตื่น และบุกรุกในลักษณะที่เป็นความผิดทางอาญา
เมื่อมองกันในแง่มุมที่กว้างขวางออกไปแล้ว เหตุการณ์ทั้ง 2 กรณีนี้เน้นย้ำให้เห็นถึงชะตากรรมของคนงานอพยพจำนวนมากในสิงคโปร์ จอห์น กี (John Gee) นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของผู้อพยพ และอดีตประธานผู้เพิ่งพ้นตำแหน่งหมาดๆ ของ “ทรานเซียนต์ เวิร์กเกอร์ส เคาต์ ทู” (Transient Workers Count Too ใช้อักษรย่อว่า TWC2 ) องค์การไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิและสวัสดิภาพของคนงานอพยพ บอกว่าเมื่อปีที่แล้วองค์การของเขาเข้าไปดูแลกรณีที่คนงานอพยพร้องเรียนเข้ามามากกว่า 2,000 กรณี โดยมีตั้งแต่เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ไปจนถึงการทำร้ายร่างกาย เขาคาดหมายว่า สำหรับปีนี้เมื่อถึงตอนสิ้นปี จะมีคำร้องเรียนเข้ามาไม่น้อยกว่า 2,500 กรณี
โหล ข่าเส็ง (Loh Kah Seng) นักประวัติศาสตร์ผู้ซึ่งเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับคนงานอพยพและสหภาพแรงงานในสิงคโปร์เอาไว้อย่างมากมายกว้างขวาง ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านพ้นไปไม่นาน คือในระหว่างทศวรรษ 1940 จนถึงทศวรรษ 1960 นั้น การนัดหยุดงานในสิงคโปร์เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่กระทั่งในช่วงที่มีการสไตรก์ถี่ขนาดนั้น เขาก็ชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่คนงานในสิงคโปร์จะตัดสินใจนัดหยุดงาน
“การสไตรก์เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก (สำหรับคนขับรถที่เป็นคนงานอพยพชาวจีน) เมื่อพิจารณาจากผลต่อเนื่องต่างๆ ที่พวกเขาต้องประสบ เป็นต้นว่า มีความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะต้องออกจากงานและต้องสูญเสียรายได้” โหล แจกแจง และกล่าวต่อไปว่า “ข้อเท็จจริงที่ว่ายังคงมีคนงานสไตรก์นัดหยุดงานกันในอดีตที่ผ่านมาทั้งๆ ที่พวกเขามีอะไรที่จะต้องสูญเสียมากมายเหลือเกิน คือสิ่งที่บ่งบอกให้ทราบเป็นอย่างดีเกี่ยวกับชะตากรรมทางด้านเศรษฐกิจสังคมอันไร้ความหวังของพวกเขา”
**สิงคโปร์ต้องพึ่งคนงานอพยพ**
เนื่องจากอัตราเกิดกำลังลดต่ำลงไปเรื่อยๆ สิงคโปร์จึงต้องพึ่งพาอาศัยคนงานอพยพเพิ่มมากขึ้นทุกที เพื่อผลักดันการเติบโตขยายตัวในทางเศรษฐกิจ
เมื่อปี 1970 จำนวนคนงานต่างชาติในสิงคโปร์ยังมีเพียง 20,828 คน ซึ่งเท่ากับแค่ 3.2% ของกำลังแรงงานทั้งหมดของนครรัฐแห่งนี้ในเวลานั้น แต่ตัวเลขนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกทีๆ จนกระทั่งกลายเป็น 248,200 คน หรือเท่ากับ 16.1% ของกำลังแรงงานทั้งหมดในปี 1990 แล้วก็เป็น 615,700 คน หรือ 28.1% ของกำลังแรงงานทั้งหมดในปี 2000 และเป็น 1.09 ล้านคน หรือ 34.7% ของผู้ทำงานทั้งหมดในปี 2010 นับถึงเดือนมิถุนายน 2012 ปรากฏว่ามีคนงานต่างชาติในสิงคโปร์รวมทั้งสิ้น 1.23 ล้านคน คิดเป็น 36.7% ของกำลังแรงงานทั้งหมด
เบรนดา เหยียว (Brenda Yeoh) อาจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) และหัวหน้านักวิจัย (Principal Investigator) ของศูนย์รวบรวมเชิงปริมาณแห่งเอเชีย เพื่อการวิเคราะห์ทางประชากรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Asian Metacentre for Population and Sustainable Development Analysis) ณ สถาบันวิจัยเอเชีย (Asia Research Institute) ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในรายงานการวิจัยซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า ประมาณ 80% ของผู้เดินทางเข้ามาในสิงคโปร์หน้าใหม่ๆ ในช่วงทศวรรษ 2000 เป็นคนงานทักษะต่ำ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, คนทำงานบ้าน, การบริการด้านต่างๆ, อุตสาหกรรมการผลิต, และอุตสาหกรรมทางทะเล
โดยที่ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา สิงคโปร์ยังมีการรับคนงานต่างชาติบางส่วนเข้าประเทศในฐานะเป็นผู้ทำงานตามบาร์, ดิสโกเธค, ค็อกเทลเลาจ์, ไนต์คลับ, โรงแรม, และภัตตาคารต่างๆ ขณะที่อีก 20% ที่เหลือนั้นถือกันว่าเป็นคนงาน “มีทักษะ” โดยทั่วไปแล้วคนกลุ่มนี้มีการศึกษาที่ดีกว่าพวก 80% แรก และเป็นผู้ถือใบอนุญาตทำงานสำหรับนักวิชาชีพ หรือไม่ก็เป็นผู้ประกอบการจำนวนน้อยจำนวนหนึ่งผู้ซึ่งมักจะถูกเรียกขานว่าเป็น “ชาวต่างชาติผู้มีความรู้ความสามารถ” (foreign talent)
แหล่งข่าวในแวดวงแรงงานหลายรายอธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า กลุ่มคนต่างชาติซึ่งได้รับเงินเดือนผลตอบแทนสูงๆ เหล่านี้ ได้รับใบอนุญาตให้พำนักอาศัยในสิงคโปร์ เพื่อช่วยเหลืองานสร้างสิงคโปร์ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินและศูนย์กลางทางชีวเวช (biomedical hub) ขณะที่พวกผู้อพยพทักษะต่ำโดยทั่วไปแล้วถูกนำเข้ามาในนครรัฐแห่งนี้ในฐานะแรงงานราคาถูกเพื่อการตัดลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
เมกาวาตี วิจายา เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในสิงคโปร์ สามารถติดต่อกับเธอทางอีเมลได้ที่ megawati.wijaya@gmail.com
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Migrants’ woes on display in Singapore
By Megawati Wijaya
12/12/2012
การสไตรก์นัดหยุดงานของคนงานอพยพชาวจีนในสิงคโปร์เมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ชะตากรรมของพวกเขาในนครรัฐอันมั่งคั่งร่ำรวยแห่งนี้ ได้เป็นที่รับรู้และเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น หลังจากที่มักไม่ค่อยได้รับความสนใจนำเสนอสู่สายตาสู่โลกภายนอก ถึงแม้กฎหมายที่บังคับใช้กันอย่างเข้มงวดของสิงคโปร์ ยังคงเป็นตัวจำกัดกีดกั้นความสามารถของพวกเขาที่จะทำการประท้วงโดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกตอบโต้คิดบัญชีแก้เผ็ด แต่กระนั้นข้อพิพาทช่วงสั้นๆ ที่เกิดขึ้นคราวนี้ ก็ทำให้รัฐบาลต้องเร่งมีปฏิบัติการในทางบวกบางอย่างบางประการ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
สิงคโปร์ – การสไตรก์นัดหยุดงานของพวกคนงานชาวจีนในสิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้ชะตากรรมของพวกแรงงานอพยพในนครรัฐอันมั่งคั่งร่ำรวยแห่งนี้ ซึ่งจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผู้คนที่จากมาจีนแผ่นดินใหญ่ ได้เป็นที่รับรู้และเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น หลังจากมักไม่ค่อยได้รับความสนใจนำเสนอต่อสายตาโลกภายนอก ถึงแม้ในปัจจุบันคนงานต่างชาติจะมีสัดส่วนคิดเป็นกว่า 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานของประเทศนี้ แต่พวกนักเคลื่อนไหวสิทธิแรงงานบอกว่า ยังจำเป็นจะต้องทำอะไรกันอีกมากมายนักเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้แรงงานเหล่านี้จากบรรดานายจ้างที่ยังมักประพฤติตนอย่างไร้จริยธรรม
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คนขับรถโดยสารชาวจีนแผ่นดินใหญ่จำนวน 171 คน ซึ่งทำงานอยู่กับ เอสเอ็มอาร์ที (SMRT) บริษัททางด้านคมนาคมขนส่งที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับรัฐสิงคโปร์ ได้ปฏิเสธไม่ยอมขึ้นรถโดยสารของพวกเขา เพื่อประท้วงสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นสภาพการครองชีพที่ย่ำแย่และค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้คนขับรถที่เป็นแรงงานอพยพชาวจีนเหล่านี้ ได้รับค่าแรงเฉลี่ยแล้วตกเดือนละ 1,075 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 27,200 บาท) ขณะที่คนขับรถที่เป็นชาวมาเลเซียได้รับ 1,400 ดอลลาร์สิงคโปร์ ยิ่งถ้าเป็นคนสิงคโปร์เองจะได้ 1,600 ดอลลาร์สิงคโปร์ ผู้อพยพชาวจีนเหล่านี้ยังประท้วงสภาพที่อยู่อาศัยอันเลวร้ายของพวกเขา โดยที่คนขับรถ 8 คนซึ่งอยู่กะต่างๆ กัน ถูกบังคับให้ต้องพักในห้องที่เต็มไปด้วยแมลงต่างๆ ห้องเดียวกัน
รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงกำลังแรงงาน (Acting Manpower Minister) ตัน ฉวนจิน (Tan Chuan Jin) พูดถึงการประท้วงครั้งนี้ว่า เป็น “การนัดหยุดงานอย่างผิดกฎหมาย” เพราะตามรัฐบัญญัติกฎหมายอาญาเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยชั่วคราว (Criminal Law (Temporary Provisions) Act) ของสิงคโปร์ กำหนดให้บริการขนส่งสาธารณะอย่างเช่นการเดินรถโดยสาร อยู่ในประเภท “บริการที่จำเป็น” คนงานที่อยู่ในกิจการประเภทนี้จะนัดหยุดงานได้โดยไม่ถูกถือว่าผิดกฎหมาย ต่อเมื่อมีการแสดงความจำนงให้นายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 14 วันว่าพวกเขาจะทำการสไตรก์ อีกทั้งต้องทำตามเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ของการแสดงความจำนงนี้
ในเวลาต่อมาปรากฏว่ามีคนขับรถรวม 4 คน ได้แก่ เหอ จุนหลิง (He Jun Ling), เกา เย่ว์เฉียง (Gao Yue Qiang), หลิว เซียงอิง (Liu Xiangying), และ เวิน เซียนเจี๋ย (Wen Xianjie) ถูกตั้งข้อหากระทำความผิดฐานก่อการนัดหยุดงาน ขณะที่ เหอ จุนหลง ยังเจอข้อหา “ยุยง” ให้คนงานก่อการนัดหยุดงานเพิ่มขึ้นอีกข้อหาหนึ่ง ทั้ง 4 คนบอกว่าพวกเขาจะสู้คดีในศาล ทั้งนี้ถ้าหากพวกเขาถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิดจริง ก็จะต้องถูกลงโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี และ/หรือ ปรับอีกไม่เกิน 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จากการกระทำผิดฐานดำเนินการนัดหยุดงานอย่างผิดกฎหมายตามมาตรา 9 (1) ของ รัฐบัญญัติกฎหมายอาญาเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยชั่วคราว
สำหรับคนขับรถรายที่ 5 ที่ชื่อ เปา เฟิงซาน (Bao Feng Shan) ไปปรากฏตัวในศาลโดยไม่มีทนายความช่วยแก้ต่าง เขาถูกลงโทษจำคุกทันทีเป็นเวลา 6 สัปดาห์ นอกจากนั้นยังมีคนขับรถอื่นๆ อีก 29 คนซึ่งเข้าร่วมการสไตรก์ด้วย ถูกคุมขังและถูกเนรเทศออกจากสิงคโปร์ไปในทันที
ในสังคมที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดกวดขันเฉกเช่นนครรัฐแห่งนี้ การนัดหยุดงานเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นอยู่แล้ว ยิ่งเป็นการสไตรก์ของผู้อพยพก็ยิ่งผิดปกติ และเรื่องนี้ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดความบาดหมางทางการทูตระหว่างจีนกับสิงคโปร์ ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน หง เหล่ย (Hong Lei) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้เรียกร้องให้ฝ่ายสิงคโปร์พิจารณาถึงเงื่อนไขพิเศษและการร้องเรียนอย่างถูกต้องชอบธรรมของคนงานชาวจีน รวมทั้งขอให้จัดการกับคดีนี้อย่างสุขุมรอบคอบและถูกต้องเหมาะสม โดยที่จะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายของคนงานชาวจีนที่ถูกจับกุม
ขณะเดียวกัน ในฮ่องกง สมาชิกประมาณ 20 คนของสมาพันธ์แห่งสหภาพแรงงานฮ่องกง (Hong Kong Confederation of Trade Unions) ได้จัดการประท้วงขึ้นที่สถานกงสุลสิงคโปร์ เพื่อเป็นการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนขับรถที่ถูกคุมขังและที่ถูกเนรเทศ พวกเขายังเรียกร้องให้รัฐบาลสิงคโปร์รับเอาคนขับรถทั้ง 29 คนซึ่งถูกส่งตัวไปยังจีน กลับเข้าไปทำงานตามเดิม และยกเลิกข้อหาต่างๆ ที่กล่าวโทษคนขับรถอีก 5 คนซึ่งถูกคุมขังอยู่
ขณะที่เรื่องการนัดหยุดงานคราวนี้กำลังกลายเป็นพาดหัวข่าวไปทั่วโลกนั้นเอง ก็มีคนงานก่อสร้างชาวจีนแผ่นดินใหญ่ 2 คน ชื่อ จู กุ่ยเหลย (Zhu Guilei) และ อู๋ เสี่ยวหลิน (Wu Xiaolin) ปีนขึ้นไปบนยอดของเครนยักษ์ที่มีความสูงเท่ากับตึก 10 ชั้น 2 ตัว ณ สถานที่ก่อสร้างในเขตจูร่ง (Jurong) ทางด้านตะวันตกของสิงคโปร์ เพื่อประท้วงเรื่องที่พวกเขามีข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างกับนายจ้างของพวกเขา ซึ่งก็คือ บริษัทจงเจียงอินเตอร์เนชั่นแนล (Zhong Jiang International) ตำรวจได้รีบเข้าจับกุมคนงานชาวจีนทั้ง 2 คนนี้ในข้อหาเจตนาก่อให้เกิดความแตกตื่น และบุกรุกในลักษณะที่เป็นความผิดทางอาญา
เมื่อมองกันในแง่มุมที่กว้างขวางออกไปแล้ว เหตุการณ์ทั้ง 2 กรณีนี้เน้นย้ำให้เห็นถึงชะตากรรมของคนงานอพยพจำนวนมากในสิงคโปร์ จอห์น กี (John Gee) นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของผู้อพยพ และอดีตประธานผู้เพิ่งพ้นตำแหน่งหมาดๆ ของ “ทรานเซียนต์ เวิร์กเกอร์ส เคาต์ ทู” (Transient Workers Count Too ใช้อักษรย่อว่า TWC2 ) องค์การไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิและสวัสดิภาพของคนงานอพยพ บอกว่าเมื่อปีที่แล้วองค์การของเขาเข้าไปดูแลกรณีที่คนงานอพยพร้องเรียนเข้ามามากกว่า 2,000 กรณี โดยมีตั้งแต่เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ไปจนถึงการทำร้ายร่างกาย เขาคาดหมายว่า สำหรับปีนี้เมื่อถึงตอนสิ้นปี จะมีคำร้องเรียนเข้ามาไม่น้อยกว่า 2,500 กรณี
โหล ข่าเส็ง (Loh Kah Seng) นักประวัติศาสตร์ผู้ซึ่งเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับคนงานอพยพและสหภาพแรงงานในสิงคโปร์เอาไว้อย่างมากมายกว้างขวาง ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านพ้นไปไม่นาน คือในระหว่างทศวรรษ 1940 จนถึงทศวรรษ 1960 นั้น การนัดหยุดงานในสิงคโปร์เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่กระทั่งในช่วงที่มีการสไตรก์ถี่ขนาดนั้น เขาก็ชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่คนงานในสิงคโปร์จะตัดสินใจนัดหยุดงาน
“การสไตรก์เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก (สำหรับคนขับรถที่เป็นคนงานอพยพชาวจีน) เมื่อพิจารณาจากผลต่อเนื่องต่างๆ ที่พวกเขาต้องประสบ เป็นต้นว่า มีความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะต้องออกจากงานและต้องสูญเสียรายได้” โหล แจกแจง และกล่าวต่อไปว่า “ข้อเท็จจริงที่ว่ายังคงมีคนงานสไตรก์นัดหยุดงานกันในอดีตที่ผ่านมาทั้งๆ ที่พวกเขามีอะไรที่จะต้องสูญเสียมากมายเหลือเกิน คือสิ่งที่บ่งบอกให้ทราบเป็นอย่างดีเกี่ยวกับชะตากรรมทางด้านเศรษฐกิจสังคมอันไร้ความหวังของพวกเขา”
**สิงคโปร์ต้องพึ่งคนงานอพยพ**
เนื่องจากอัตราเกิดกำลังลดต่ำลงไปเรื่อยๆ สิงคโปร์จึงต้องพึ่งพาอาศัยคนงานอพยพเพิ่มมากขึ้นทุกที เพื่อผลักดันการเติบโตขยายตัวในทางเศรษฐกิจ
เมื่อปี 1970 จำนวนคนงานต่างชาติในสิงคโปร์ยังมีเพียง 20,828 คน ซึ่งเท่ากับแค่ 3.2% ของกำลังแรงงานทั้งหมดของนครรัฐแห่งนี้ในเวลานั้น แต่ตัวเลขนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกทีๆ จนกระทั่งกลายเป็น 248,200 คน หรือเท่ากับ 16.1% ของกำลังแรงงานทั้งหมดในปี 1990 แล้วก็เป็น 615,700 คน หรือ 28.1% ของกำลังแรงงานทั้งหมดในปี 2000 และเป็น 1.09 ล้านคน หรือ 34.7% ของผู้ทำงานทั้งหมดในปี 2010 นับถึงเดือนมิถุนายน 2012 ปรากฏว่ามีคนงานต่างชาติในสิงคโปร์รวมทั้งสิ้น 1.23 ล้านคน คิดเป็น 36.7% ของกำลังแรงงานทั้งหมด
เบรนดา เหยียว (Brenda Yeoh) อาจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) และหัวหน้านักวิจัย (Principal Investigator) ของศูนย์รวบรวมเชิงปริมาณแห่งเอเชีย เพื่อการวิเคราะห์ทางประชากรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Asian Metacentre for Population and Sustainable Development Analysis) ณ สถาบันวิจัยเอเชีย (Asia Research Institute) ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในรายงานการวิจัยซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า ประมาณ 80% ของผู้เดินทางเข้ามาในสิงคโปร์หน้าใหม่ๆ ในช่วงทศวรรษ 2000 เป็นคนงานทักษะต่ำ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, คนทำงานบ้าน, การบริการด้านต่างๆ, อุตสาหกรรมการผลิต, และอุตสาหกรรมทางทะเล
โดยที่ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา สิงคโปร์ยังมีการรับคนงานต่างชาติบางส่วนเข้าประเทศในฐานะเป็นผู้ทำงานตามบาร์, ดิสโกเธค, ค็อกเทลเลาจ์, ไนต์คลับ, โรงแรม, และภัตตาคารต่างๆ ขณะที่อีก 20% ที่เหลือนั้นถือกันว่าเป็นคนงาน “มีทักษะ” โดยทั่วไปแล้วคนกลุ่มนี้มีการศึกษาที่ดีกว่าพวก 80% แรก และเป็นผู้ถือใบอนุญาตทำงานสำหรับนักวิชาชีพ หรือไม่ก็เป็นผู้ประกอบการจำนวนน้อยจำนวนหนึ่งผู้ซึ่งมักจะถูกเรียกขานว่าเป็น “ชาวต่างชาติผู้มีความรู้ความสามารถ” (foreign talent)
แหล่งข่าวในแวดวงแรงงานหลายรายอธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า กลุ่มคนต่างชาติซึ่งได้รับเงินเดือนผลตอบแทนสูงๆ เหล่านี้ ได้รับใบอนุญาตให้พำนักอาศัยในสิงคโปร์ เพื่อช่วยเหลืองานสร้างสิงคโปร์ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินและศูนย์กลางทางชีวเวช (biomedical hub) ขณะที่พวกผู้อพยพทักษะต่ำโดยทั่วไปแล้วถูกนำเข้ามาในนครรัฐแห่งนี้ในฐานะแรงงานราคาถูกเพื่อการตัดลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
เมกาวาตี วิจายา เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในสิงคโปร์ สามารถติดต่อกับเธอทางอีเมลได้ที่ megawati.wijaya@gmail.com
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)