(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China’s shake-up to shape foreign policy
By Brendan O'Reilly
10/10/2012
ในขณะที่จีนกำลังเตรียมการสำหรับการเปลี่ยนถ่ายคณะผู้นำแบบยกชุดซึ่งกระทำกันทุกสิบปีครั้งอยู่นั้น ก็ต้องถูกกระทบกระเทือนจากความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งปรากฏขึ้นมาสืบเนื่องจากความท้าทายอันน่าหวั่นวิตกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการเมือง ถึงแม้ความท้าทายต่างๆ เหล่านี้ที่สำคัญแล้วเป็นเรื่องภายในประเทศ ทว่ามันก็จะต้องส่งผลกระทบต่อนโยบายด้านการต่างประเทศของคณะผู้นำชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามารับตำแหน่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ทั้งนี้ การที่ประเทศอื่นๆ ในโลกจะมีปฏิกิริยาต่อนโยบายนี้อย่างไร จะกลายเป็นตัวตัดสินว่าการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนจะยังคงเป็นไปอย่างสันติได้หรือไม่
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
การที่เศรษฐกิจจีนยังส่งสัญญาณของการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อบวกกับเรื่องที่การประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 (สมัชชา 18) ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในกรุงปักกิ่ง จะเริ่มต้นขึ้นในกำหนดเวลาซึ่งล่าช้ากว่าที่เคยคาดหมายกันเอาไว้ เหล่านี้ล้วนแต่บ่งชี้ให้เห็นว่า แดนมังกรกำลังเกิดความไม่แน่นอนอันสาหัสในระดับของระบบทั้งระบบขึ้นมาแล้ว และจากการที่จีนเผชิญหน้ากับการท้าทายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการเมืองเช่นนี้ เป็นที่คาดหมายได้ว่าแดนมังกรคงจะต้องหาทางทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หลักๆ ในนโยบายด้านการต่างประเทศของตน โดยใช้วิธีการใหม่ๆ ที่ผิดแผกไปจากเดิม
ภาวะความไม่แน่นอนในทางการเมือง, ความปั่นป่วนย่ำแย่ในทางเศรษฐกิจ, และการที่จีนกำลังมีอำนาจเพิ่มขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ เหล่านี้จะส่งผลอย่างสำคัญและอย่างยืนยาวต่อความสัมพันธ์ที่แดนมังกรมีอยู่กับชาติเพื่อนบ้านทั้งหลาย และที่แดนมังกรมีกับเหล่ามหาอำนาจของโลกซึ่งเกี่ยวข้องพัวพันกันอยู่ ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่า การที่จีนจะสามารถ “ก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” ได้นั้น จะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ภายในประเทศมีเสถียรภาพ ส่วนในระดับระหว่างประเทศก็ได้รับการยอมรับนับถือ
พรรคคอมมิวนิสต์จีนประกาศออกมาแล้วว่าจะเริ่มการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ของตนในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งล่าช้ากว่าช่วงเวลาที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวางว่าจะจัดขึ้นตั้งแต่ราวๆ กลางเดือนตุลาคม เรื่องนี้ตลอดจนกรณีอื้อฉาวที่กำลังสั่นคลอนคณะผู้นำระดับบนของพรรคอยู่ในขณะนี้ น่าที่จะเป็นสัญญาณอันส่อแสดงให้เห็นว่าพรรคกำลังอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมืองจริงๆ เรื่องราวความฉาวโฉ่เกี่ยวกับ ป๋อ ซีไหล กำลังสร้างรอยมลทินให้แก่ภาพลักษณ์ที่ว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่นในระหว่างช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงถ่ายโอนอำนาจจากคณะผู้นำรุ่นหนึ่งไปสู่คณะผู้นำอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ 10 ปีจึงจะมีขึ้นสักครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เมื่อต้นเดือนตุลาคมนี้ มีประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระบุว่า ป๋อได้ถูกขับไล่ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาความผิดทางอาญาหลายๆ กระทง แต่ในอีกด้านหนึ่งเราก็ต้องไม่ลืมว่า แนวทางการบริหารการปกครองที่ ป๋อ นำมาใช้ในระหว่างดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่ง ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ฉงชิ่ง โมเดล” (Chongqing model) โดยมีลักษณะโดดเด่นตรงที่พยายามเน้นเรื่องการกระจายความร่ำรวยมั่งคั่งกันเสียใหม่นั้น เป็นสิ่งที่ประชาชนจีนจำนวนไม่น้อยเลยให้ความนิยมยกย่องและความสนับสนุน ในสภาพที่ทั่วทั้งประเทศจีนเวลานี้กำลังเกิดช่องว่างทางรายได้ถ่างกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าหากเกิดมีสัญญาณใดๆ อันแสดงถึงความแตกแยกไม่ลงรอยกันภายในพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมา มันก็ย่อมจะต้องส่งผลกระเทือนกระเทือนต่อนโยบายการต่างประเทศของแดนมังกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ยิ่งไปกว่านั้น การที่อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวลงอย่างสำคัญ ก็อาจจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อการวางจุดเน้นหนักในด้านนโยบายการต่างประเทศของจีนได้เช่นเดียวกัน
การที่เราจะสามารถเข้าใจได้ว่า เมื่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงพลิกผันแล้ว จะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในนโยบายการต่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้องด้วยอย่างไรบ้างนั้น จำเป็นที่จะต้องระบุกันออกมาให้ชัดเจนว่าวัตถุประสงค์หลักๆ ของนโยบายการต่างประเทศของแดนมังกรนี้มีอะไรบ้าง ทั้งนี้สำหรับสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว เรื่องที่ถือเป็นจุดเน้นหนักทางด้านนโยบายการต่างประเทศเสมอมานั้นมีอยู่ 3 เรื่อง เรื่องแรกที่สุดและถือว่าสำคัญที่สุด คือการที่จีนจะเดินหน้าทำการบูรณาการทางเศรษฐกิจกับทุกๆ ประเทศในโลก เรื่องที่สองได้แก่การที่จีนจะใช้ความพยายามเพื่อขยายสมรรถนะทางทหารด้านต่างๆ ของตนตามอำนาจอิทธิพลที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวความคิดแผ่อำนาจอิทธิพลแบบคลาสสิก และเรื่องที่สาม จีนจะมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการพิทักษ์ปกป้องการอ้างสิทธิในทางอธิปไตยทั้งหลายทั้งปวง นอกจากจุดโฟกัสเน้นหนักทางด้านนโยบายการต่างประเทศทั้ง 3 เรื่องนี้แล้ว ยังมีสิ่งที่ดำเนินคู่ขนานไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ กรอบโครงใหญ่เกี่ยวกับ “การก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” ของจีน
ในช่วงเวลาประมาณ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ดำเนินการก้าวหน้าไปมากมายในการบูรณาการตลาดของตนให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจของโลก ปัจจุบันจีนกลายเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศต่างๆ หลายสิบประเทศ ตั้งแต่ญี่ปุ่นและอินเดียไปจนถึงเปรูและแองโกลา การบูรณาการเศรษฐกิจของตนกับประเทศต่างๆ ในโลกเช่นนี้ มีส่วนสำคัญมากในการช่วยเหลือการพัฒนาภายในประเทศของจีนเอง ในเวลาเดียวกันนั้นก็ทำให้คณะผู้นำแดนมังกรมีอิทธิพลบารมีทางการทูตอันสำคัญยิ่ง
ไชน่าเดลี่ (China Daily) หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการจีน ได้เผยแพร่บทความชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีเนื้อหามุ่งส่งเสริมสนับสนุนภาพลักษณ์ของประเทศจีนในฐานะที่เป็นผู้ช่วยชีวิตเศรษฐกิจโลก บทความดังกล่าวเขียนเอาไว้เช่นนี้:
“ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของโลกกำลังตกอยู่สภาพเป็นอัมพาตจากวิกฤตทางการเงินซึ่งมีต้นตอมาจากวอลล์สตรีทนั้น ประเทศจีนได้เร่งรีบออกแพกเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ารวม 4 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 570,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งเท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นพลังขับดันอันสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของทั่วโลก ยิ่งกว่านั้นจีนยังให้คำมั่นสัญญาที่จะร่วมส่วนให้เงินทุนเป็นจำนวน 43,000 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้ในการเพิ่มทุนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งกำลังมีความต้องการเงินทุนอย่างเร่งด่วนเพื่อนำมาช่วยเหลือยุโรปที่ตกอยู่ในวิกฤตร้ายแรง” [1]
ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ในวิกฤตทางการเงินที่แผ่ลามไปทั่วโลกระลอกแล้วระลอกเล่าในปัจจุบัน จีนกำลังก้าวขึ้นเป็นเครื่องจักรแห่งการเจริญเติบโตอันไม่อาจขาดหายไปได้เครื่องหนึ่ง ตลอดจนเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกรกำลังเชื่องช้าลงอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นผลโดยตรงของการที่จีนเร่งรัดขยายการบูรณาการกับตลาดโลกด้วยนั่นเอง ในขณะที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกาประสบกับความป่วยไข้ทางเศรษฐกิจอย่างยืดเยื้ออยู่นี้ พวกผู้ส่งออกของจีนก็ได้รับบาดเจ็บไปตามๆ กัน แล้วก็สร้างแรงกระเพื่อมต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ จนกระทบกระเทือนภาคอื่นๆ ของเศรษฐกิจแดนมังกร แต่กระนั้นจีนก็ยังมีช่องทางอีกมากเพื่อพยายามทำให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของตนกลับฟื้นตัวสู่อัตราอันรวดเร็วต่อไปอีก เป็นต้นว่าด้วยการเพิ่มพูนอำนาจซื้อของคนยากจนทั้งที่อยู่ในเขตชนบทและในเขตเมืองจำนวนรวมหลายร้อยล้านคน อำนาจซื้อที่สูงขึ้นของประชาชนมากมายเหล่านี้สามารถที่จะก่อให้เกิดตลาดขนาดยักษ์สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตสมัยใหม่ เป็นต้นว่า เครื่องซักผ้า, รถสกูตเตอร์พลังงานไฟฟ้า, และ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าระดับหลายล้านล้านดอลลาร์ ที่จะช่วยผลักดันอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกร
แต่ภาวะไม่แน่นอนทางการเมืองและทางเศรษฐกิจที่ทำท่าจะเกิดขึ้นในประเทศจีนเช่นนี้ อย่างไรเสียก็จะต้องส่งผลอย่างรุนแรงต่อนโยบายการต่างประเทศในปัจจุบันซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจ ไม่น่าเป็นไปได้เลยที่จีนจะถึงกับล่าถอยตัดขาดออกจากตลาดโลกเหมือนอย่างที่ประเทศนี้ได้เคยกระทำมาในยุคอดีตเมื่อหลายร้อยปีก่อน อย่างไรก็ตาม ถ้าหากภาวะความไม่แน่นอนจะส่งผลทำให้คณะผู้นำของจีนมีความโน้มเอียงไปในทางประชานิยมมากขึ้น หรือมีความเป็นไปได้ที่จะมีการดำเนินการปฏิรูปในทางประชาธิปไตยอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจริงจังแล้ว ก็ย่อมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางใหญ่โตในวิธีการที่รัฐบาลแดนมังกรดำเนินการกับบรรดาสินทรัพย์ปริมาณมากมายมหาศาลซึ่งสั่งสมขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
นโยบายในเรื่องนี้ของรัฐบาลแดนมังกรในปัจจุบัน คือการนำเอาทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเหล่านี้จำนวนมหึมา ไปลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ทว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่เป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนจีนเอาเลย นอกจากนั้นคนจีนจำนวนมากก็รู้สึกไม่ชอบใจในทำนองเดียวกันต่อการที่รัฐบาลมีนโยบายปล่อยเงินกู้ปริมาณมโหฬารให้แก่พวกชาติยากจน ผู้ใช้แรงงานและชาวนาจีนย่อมพออกพอใจมากกว่าที่จะเห็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนเป็นพันล้านหมื่นล้านดอลลาร์ ถูกนำไปลงทุนภายในแดนมังกรเอง เพื่อปรับปรุงยกระดับด้านการศึกษา, โครงสร้างพื้นฐาน, และสาธารณสุข ถ้าหากความเป็นจริงทางการเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปจะบังคับให้พวกผู้นำจีนต้องเอาใจใส่ต่ออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนในประเทศให้มากขึ้นแล้ว ชาติอื่นๆ ในโลกไม่ว่าในฝ่ายยากจนหรือฝ่ายร่ำรวย ย่อมคาดหวังได้น้อยลงว่าแดนมังกรจะเป็นแหล่งที่มาอันเชื่อถือได้ของสภาพคล่องทางการเงินซึ่งชาติเหล่านี้กำลังต้องการอย่างเหลือเกิน
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
China’s shake-up to shape foreign policy
By Brendan O'Reilly
10/10/2012
ในขณะที่จีนกำลังเตรียมการสำหรับการเปลี่ยนถ่ายคณะผู้นำแบบยกชุดซึ่งกระทำกันทุกสิบปีครั้งอยู่นั้น ก็ต้องถูกกระทบกระเทือนจากความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งปรากฏขึ้นมาสืบเนื่องจากความท้าทายอันน่าหวั่นวิตกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการเมือง ถึงแม้ความท้าทายต่างๆ เหล่านี้ที่สำคัญแล้วเป็นเรื่องภายในประเทศ ทว่ามันก็จะต้องส่งผลกระทบต่อนโยบายด้านการต่างประเทศของคณะผู้นำชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามารับตำแหน่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ทั้งนี้ การที่ประเทศอื่นๆ ในโลกจะมีปฏิกิริยาต่อนโยบายนี้อย่างไร จะกลายเป็นตัวตัดสินว่าการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนจะยังคงเป็นไปอย่างสันติได้หรือไม่
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
การที่เศรษฐกิจจีนยังส่งสัญญาณของการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อบวกกับเรื่องที่การประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 (สมัชชา 18) ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในกรุงปักกิ่ง จะเริ่มต้นขึ้นในกำหนดเวลาซึ่งล่าช้ากว่าที่เคยคาดหมายกันเอาไว้ เหล่านี้ล้วนแต่บ่งชี้ให้เห็นว่า แดนมังกรกำลังเกิดความไม่แน่นอนอันสาหัสในระดับของระบบทั้งระบบขึ้นมาแล้ว และจากการที่จีนเผชิญหน้ากับการท้าทายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการเมืองเช่นนี้ เป็นที่คาดหมายได้ว่าแดนมังกรคงจะต้องหาทางทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หลักๆ ในนโยบายด้านการต่างประเทศของตน โดยใช้วิธีการใหม่ๆ ที่ผิดแผกไปจากเดิม
ภาวะความไม่แน่นอนในทางการเมือง, ความปั่นป่วนย่ำแย่ในทางเศรษฐกิจ, และการที่จีนกำลังมีอำนาจเพิ่มขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ เหล่านี้จะส่งผลอย่างสำคัญและอย่างยืนยาวต่อความสัมพันธ์ที่แดนมังกรมีอยู่กับชาติเพื่อนบ้านทั้งหลาย และที่แดนมังกรมีกับเหล่ามหาอำนาจของโลกซึ่งเกี่ยวข้องพัวพันกันอยู่ ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่า การที่จีนจะสามารถ “ก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” ได้นั้น จะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ภายในประเทศมีเสถียรภาพ ส่วนในระดับระหว่างประเทศก็ได้รับการยอมรับนับถือ
พรรคคอมมิวนิสต์จีนประกาศออกมาแล้วว่าจะเริ่มการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 ของตนในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งล่าช้ากว่าช่วงเวลาที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวางว่าจะจัดขึ้นตั้งแต่ราวๆ กลางเดือนตุลาคม เรื่องนี้ตลอดจนกรณีอื้อฉาวที่กำลังสั่นคลอนคณะผู้นำระดับบนของพรรคอยู่ในขณะนี้ น่าที่จะเป็นสัญญาณอันส่อแสดงให้เห็นว่าพรรคกำลังอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมืองจริงๆ เรื่องราวความฉาวโฉ่เกี่ยวกับ ป๋อ ซีไหล กำลังสร้างรอยมลทินให้แก่ภาพลักษณ์ที่ว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่นในระหว่างช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงถ่ายโอนอำนาจจากคณะผู้นำรุ่นหนึ่งไปสู่คณะผู้นำอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ 10 ปีจึงจะมีขึ้นสักครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เมื่อต้นเดือนตุลาคมนี้ มีประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระบุว่า ป๋อได้ถูกขับไล่ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาความผิดทางอาญาหลายๆ กระทง แต่ในอีกด้านหนึ่งเราก็ต้องไม่ลืมว่า แนวทางการบริหารการปกครองที่ ป๋อ นำมาใช้ในระหว่างดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่ง ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ฉงชิ่ง โมเดล” (Chongqing model) โดยมีลักษณะโดดเด่นตรงที่พยายามเน้นเรื่องการกระจายความร่ำรวยมั่งคั่งกันเสียใหม่นั้น เป็นสิ่งที่ประชาชนจีนจำนวนไม่น้อยเลยให้ความนิยมยกย่องและความสนับสนุน ในสภาพที่ทั่วทั้งประเทศจีนเวลานี้กำลังเกิดช่องว่างทางรายได้ถ่างกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าหากเกิดมีสัญญาณใดๆ อันแสดงถึงความแตกแยกไม่ลงรอยกันภายในพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมา มันก็ย่อมจะต้องส่งผลกระเทือนกระเทือนต่อนโยบายการต่างประเทศของแดนมังกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ยิ่งไปกว่านั้น การที่อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวลงอย่างสำคัญ ก็อาจจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อการวางจุดเน้นหนักในด้านนโยบายการต่างประเทศของจีนได้เช่นเดียวกัน
การที่เราจะสามารถเข้าใจได้ว่า เมื่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงพลิกผันแล้ว จะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในนโยบายการต่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้องด้วยอย่างไรบ้างนั้น จำเป็นที่จะต้องระบุกันออกมาให้ชัดเจนว่าวัตถุประสงค์หลักๆ ของนโยบายการต่างประเทศของแดนมังกรนี้มีอะไรบ้าง ทั้งนี้สำหรับสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว เรื่องที่ถือเป็นจุดเน้นหนักทางด้านนโยบายการต่างประเทศเสมอมานั้นมีอยู่ 3 เรื่อง เรื่องแรกที่สุดและถือว่าสำคัญที่สุด คือการที่จีนจะเดินหน้าทำการบูรณาการทางเศรษฐกิจกับทุกๆ ประเทศในโลก เรื่องที่สองได้แก่การที่จีนจะใช้ความพยายามเพื่อขยายสมรรถนะทางทหารด้านต่างๆ ของตนตามอำนาจอิทธิพลที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวความคิดแผ่อำนาจอิทธิพลแบบคลาสสิก และเรื่องที่สาม จีนจะมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการพิทักษ์ปกป้องการอ้างสิทธิในทางอธิปไตยทั้งหลายทั้งปวง นอกจากจุดโฟกัสเน้นหนักทางด้านนโยบายการต่างประเทศทั้ง 3 เรื่องนี้แล้ว ยังมีสิ่งที่ดำเนินคู่ขนานไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ กรอบโครงใหญ่เกี่ยวกับ “การก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” ของจีน
ในช่วงเวลาประมาณ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ดำเนินการก้าวหน้าไปมากมายในการบูรณาการตลาดของตนให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจของโลก ปัจจุบันจีนกลายเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศต่างๆ หลายสิบประเทศ ตั้งแต่ญี่ปุ่นและอินเดียไปจนถึงเปรูและแองโกลา การบูรณาการเศรษฐกิจของตนกับประเทศต่างๆ ในโลกเช่นนี้ มีส่วนสำคัญมากในการช่วยเหลือการพัฒนาภายในประเทศของจีนเอง ในเวลาเดียวกันนั้นก็ทำให้คณะผู้นำแดนมังกรมีอิทธิพลบารมีทางการทูตอันสำคัญยิ่ง
ไชน่าเดลี่ (China Daily) หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการจีน ได้เผยแพร่บทความชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีเนื้อหามุ่งส่งเสริมสนับสนุนภาพลักษณ์ของประเทศจีนในฐานะที่เป็นผู้ช่วยชีวิตเศรษฐกิจโลก บทความดังกล่าวเขียนเอาไว้เช่นนี้:
“ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของโลกกำลังตกอยู่สภาพเป็นอัมพาตจากวิกฤตทางการเงินซึ่งมีต้นตอมาจากวอลล์สตรีทนั้น ประเทศจีนได้เร่งรีบออกแพกเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ารวม 4 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 570,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งเท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นพลังขับดันอันสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของทั่วโลก ยิ่งกว่านั้นจีนยังให้คำมั่นสัญญาที่จะร่วมส่วนให้เงินทุนเป็นจำนวน 43,000 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้ในการเพิ่มทุนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งกำลังมีความต้องการเงินทุนอย่างเร่งด่วนเพื่อนำมาช่วยเหลือยุโรปที่ตกอยู่ในวิกฤตร้ายแรง” [1]
ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ในวิกฤตทางการเงินที่แผ่ลามไปทั่วโลกระลอกแล้วระลอกเล่าในปัจจุบัน จีนกำลังก้าวขึ้นเป็นเครื่องจักรแห่งการเจริญเติบโตอันไม่อาจขาดหายไปได้เครื่องหนึ่ง ตลอดจนเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกรกำลังเชื่องช้าลงอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นผลโดยตรงของการที่จีนเร่งรัดขยายการบูรณาการกับตลาดโลกด้วยนั่นเอง ในขณะที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกาประสบกับความป่วยไข้ทางเศรษฐกิจอย่างยืดเยื้ออยู่นี้ พวกผู้ส่งออกของจีนก็ได้รับบาดเจ็บไปตามๆ กัน แล้วก็สร้างแรงกระเพื่อมต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ จนกระทบกระเทือนภาคอื่นๆ ของเศรษฐกิจแดนมังกร แต่กระนั้นจีนก็ยังมีช่องทางอีกมากเพื่อพยายามทำให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของตนกลับฟื้นตัวสู่อัตราอันรวดเร็วต่อไปอีก เป็นต้นว่าด้วยการเพิ่มพูนอำนาจซื้อของคนยากจนทั้งที่อยู่ในเขตชนบทและในเขตเมืองจำนวนรวมหลายร้อยล้านคน อำนาจซื้อที่สูงขึ้นของประชาชนมากมายเหล่านี้สามารถที่จะก่อให้เกิดตลาดขนาดยักษ์สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตสมัยใหม่ เป็นต้นว่า เครื่องซักผ้า, รถสกูตเตอร์พลังงานไฟฟ้า, และ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าระดับหลายล้านล้านดอลลาร์ ที่จะช่วยผลักดันอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกร
แต่ภาวะไม่แน่นอนทางการเมืองและทางเศรษฐกิจที่ทำท่าจะเกิดขึ้นในประเทศจีนเช่นนี้ อย่างไรเสียก็จะต้องส่งผลอย่างรุนแรงต่อนโยบายการต่างประเทศในปัจจุบันซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจ ไม่น่าเป็นไปได้เลยที่จีนจะถึงกับล่าถอยตัดขาดออกจากตลาดโลกเหมือนอย่างที่ประเทศนี้ได้เคยกระทำมาในยุคอดีตเมื่อหลายร้อยปีก่อน อย่างไรก็ตาม ถ้าหากภาวะความไม่แน่นอนจะส่งผลทำให้คณะผู้นำของจีนมีความโน้มเอียงไปในทางประชานิยมมากขึ้น หรือมีความเป็นไปได้ที่จะมีการดำเนินการปฏิรูปในทางประชาธิปไตยอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจริงจังแล้ว ก็ย่อมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางใหญ่โตในวิธีการที่รัฐบาลแดนมังกรดำเนินการกับบรรดาสินทรัพย์ปริมาณมากมายมหาศาลซึ่งสั่งสมขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
นโยบายในเรื่องนี้ของรัฐบาลแดนมังกรในปัจจุบัน คือการนำเอาทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเหล่านี้จำนวนมหึมา ไปลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ทว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่เป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนจีนเอาเลย นอกจากนั้นคนจีนจำนวนมากก็รู้สึกไม่ชอบใจในทำนองเดียวกันต่อการที่รัฐบาลมีนโยบายปล่อยเงินกู้ปริมาณมโหฬารให้แก่พวกชาติยากจน ผู้ใช้แรงงานและชาวนาจีนย่อมพออกพอใจมากกว่าที่จะเห็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนเป็นพันล้านหมื่นล้านดอลลาร์ ถูกนำไปลงทุนภายในแดนมังกรเอง เพื่อปรับปรุงยกระดับด้านการศึกษา, โครงสร้างพื้นฐาน, และสาธารณสุข ถ้าหากความเป็นจริงทางการเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปจะบังคับให้พวกผู้นำจีนต้องเอาใจใส่ต่ออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนในประเทศให้มากขึ้นแล้ว ชาติอื่นๆ ในโลกไม่ว่าในฝ่ายยากจนหรือฝ่ายร่ำรวย ย่อมคาดหวังได้น้อยลงว่าแดนมังกรจะเป็นแหล่งที่มาอันเชื่อถือได้ของสภาพคล่องทางการเงินซึ่งชาติเหล่านี้กำลังต้องการอย่างเหลือเกิน
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)