(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
India scores in space
By Siddharth Srivastava
13/09/2012
องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organization) สาธิตให้เห็นว่ามีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ยังคงมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ด้วยผลงานความสำเร็จในภารกิจชิ้นที่ 100 ซึ่งก็คือการส่งดาวเทียมของฝรั่งเศสและของญี่ปุ่นเข้าสู่วงโคจร จากศูนย์อวกาศของตนที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองเชนไน ปัจจุบันหน่วยงานแห่งนี้ยังวางแผนการปฏิบัติภารกิจที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีก 58 ภารกิจแล้วด้วย แต่เป้าหมายใหญ่นั้นอยู่ที่ดาวอังคาร
นิวเดลี – องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organization ใช้อักษรย่อว่า ISRO) เป็นหน่วยงานของภาครัฐชนิดที่หาได้ยากยิ่งในประเทศนี้ จากความสามารถในการประกอบธุรกิจและการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนได้อย่างแท้จริง เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การแห่งนี้เพิ่งปฏิบัติภารกิจชิ้นที่ 100 ของตน ด้วยการจัดส่งดาวเทียมสังเกตการณ์โลกของฝรั่งเศส และดาวเทียมขนาดจิ๋วของญี่ปุ่น ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ โดยใช้จรวดตัวเก่งแบบใช้ยิงได้ครั้งเดียวของตน ที่มีชื่อเรียกขานว่า ยานส่งดาวเทียม โพลาร์ แซตเทิลไลต์ ลอนช์ เวฮิเคิล (Polar Satellite Launch Vehicle ใช้อักษรย่อว่า PSLV)
“ในฐานะที่เป็นภารกิจในอวกาศชิ้นที่ 100 ของ ISRO การส่งดาวเทียมในวันนี้จึงถือเป็นหลักหมายสำคัญหลักหนึ่งในด้านสมรรถนะทางอวกาศของประเทศของเรา” นายกรัฐมนตรีมานโมหัน ซิงห์ กล่าวเช่นนี้ ในระหว่างไปชมการส่งดาวเทียมกันสดๆ ที่ศูนย์อวกาศของหน่วยงานแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตศรีหริโคตา (Sriharikota) ทางตอนเหนือของเมืองเชนไน (Chennai) รัฐอานธรประเทศ อันอยู่ทางภาคใต้ของอินเดีย
มานโมหันยังได้กล่าวปกป้องโครงการอวกาศของอินเดีย ตลอดจนงบประมาณจำนวนไม่น้อยที่ทุ่มให้แก่โครงการนี้ โดยเขาบอกว่า “มีผู้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า ประเทศที่ยากจนเฉกเช่นอินเดีย สามารถที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอวกาศไหวหรือ คำถามเช่นนี้มีความผิดพลาดตรงที่ไม่เข้าใจว่า สภาพการณ์แห่งการพัฒนาของประเทศชาติๆ หนึ่งนั้น ในท้ายที่สุดแล้วย่อมเป็นผลผลิตของความสามารถอันยอดเยี่ยมในทางเทคโนโลยีของประเทศนั้นนั่นเอง”
ประมาณการกันว่า ISRO ได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณของผู้เสียภาษีไปเป็นจำนวน 200,000 ล้านรูปี (3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ในกิจกรรมและการวิจัยอันหลายหลากเกี่ยวกับอวกาศ
องค์การแห่งนี้มีความก้าวหน้าไปไกลทีเดียว นับตั้งแต่ปี 1975 เมื่อตอนที่เริ่มส่งดาวเทียมดวงแรกของตนที่มีชื่อว่า อารยะภัตตะ (Aryabhatta) โดยใช้จรวดของทางรัสเซีย หลังจากนั้นมา ISRO ก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาจรวดรวม 2 ประเภท ได้แก่ PSLV ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในภารกิจส่งดาวเทียมเพื่อการสังเกตการณ์โลกและการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก ส่วนจรวดอีกประเภทหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่ามีชื่อว่า ยานส่งดาวเทียม จีโอซินโครนัส แซตเทิลไลต์ ลอนช์ เวฮิคัล (Geosynchronous Satellite Launch Vehicle ใช้อักษาย่อว่า GSLV) ใช้เพื่อส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารที่มีน้ำหนักมาก เข้าสู่วงโคจรแบบโคจรค้างฟ้า (geostationary orbit) ในระยะที่อยู่เหนือพื้นโลก 36,000 กิโลเมตร ในสภาพที่เสมือนกับลอยค้างอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา
ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ISRO ตกอยู่ในสภาพเหมือนกับต้องเดินโขยกเขยกแบบคนพิการ สืบเนื่องจากการที่สหรัฐฯใช้มาตรการห้ามส่งเทคโนโลยีแบบที่สามารถนำไปใช้ทั้งในทางทหารและในทางพลเรือน ให้แก่แดนภารตะ แม้กระนั้น องค์การนี้ก็ประสบความสำเร็จในการลอกเลียนพิมพ์เขียวต่างๆ จากหุ้นส่วนในยุคสงครามเย็นของอินเดีย ซึ่งก็คือสหภาพโซเวียตในยุคนั้นนั่นเอง
แต่ในช่วง 7-8 ปีหลังมานี้ เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับสหรัฐฯได้กระเตื้องดีขึ้นอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง วอชิงตันจึงได้มีการยกเลิกข้อห้ามข้อจำกัดต่อ ISRO ทำให้หน่วยงานนี้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีล่าสุดต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นมาก และจากการที่รัสเซียไม่ได้มีฐานะเป็นมหาอำนาจอย่างที่เคยเป็นแล้ว ISRO ก็ได้พยายามที่จะขวนขวายสร้างหลักทรัพย์ให้แก่ตนเองอย่างเป็นอิสระในตลาด
เริ่มตั้งแต่ปี 1999 ISRO เริ่มสถาปนาตนเองให้กลายเป็นผู้เล่นระดับโลกรายหนึ่งในธุรกิจการปล่อยดาวเทียมที่มีการแข่งขันกันสูง ถึงแม้องค์การนี้ยังคงต้องปรับปรุงยกระดับความสามารถในการส่งดาวเทียมที่มีน้ำหนักมากๆ ต่อไปอีก โดยในปัจจุบันก็ยังคงต้องพึ่งพาอาศัยรัสเซียหรือยุโรปในเรื่องนี้
จวบจนถึงเวลานี้ ISRO ได้ส่งดาวเทียมให้ต่างชาติไปแล้ว 29 ดวง รวมทั้ง 2 ดวงล่าสุดเมื่อตอนต้นเดือนนี้ และสร้างรายได้ให้แก่ตนเองเป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์ นายกรัฐมนตรีมานโมหันชี้ว่า “การส่งดาวเทียม (2 ดวง) เหล่านี้ โดยใช้ยานส่งที่เป็นของอินเดียเอง คือหลักฐานยืนยันให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอวกาศของอินเดีย และก็เป็นการสร้างคุณูปการให้แก่นวัตกรรม และความช่างประดิษฐ์คิดค้นของชาวอินเดีย”
อินเดียนั้นมีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีขีปนาวุธ เคียงคู่ไปกับฝีก้าวในการวิจัยทางอวกาศ เนื่องจากพวกเครื่องยนต์ที่ใช้ในยานส่งดาวเทียม ก็เป็นเครื่องทำนองเดียวกับที่บรรจุเข้าไปในขีปนาวุธนั่นเอง ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ของจรวดประเภท GSLV ได้มีบทบาทเป็นขั้นตอนอันสำคัญยิ่งสำหรับการปฏิบัติการของขีปนาวุธพิสัยไกลแบบ “อัคนี” (Agni ) ที่มีศักยภาพในการส่งหัวรบนิวเคลียร์ไปสู่เป้าหมายได้
ความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนาระบบขีปนาวุธนำวิถีของ อินเดีย, ปากีสถาน, และจีน ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบขีปนาวุธแบบโจมตีและแบบป้องกัน ยังคงมีความแตกต่างห่างชั้นกันอยู่ โดยที่จีนซึ่งมีความสามารถเหนือล้ำกว่ามากมาย ได้เข้าไปเกี่ยวข้องช่วยเหลือการพัฒนาสมรรถนะด้านกลาโหมของปากีสถานอย่างแข็งขัน ทางฝ่ายอินเดียจึงต้องพยายามหาความช่วยเหลือจากสหรัฐฯและอิสราเอล เพื่อยกระดับความรู้ทางด้าน โนว-ฮาว ของตนเอง
ความช่วยเหลือเช่นนี้น่าจะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากอินเดียมีประวัติอันออกจะย่ำแย่ในเรื่องการวิจัยพัฒนาระบบอาวุธอื่นๆ ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรถถัง หรือเครื่องบินขับไล่
ปัจจุบัน ตารางเวลาของ ISRO แน่นเอี๊ยดไปด้วยกำหนดการส่งจรวดและดาวเทียมมากมาย ทั้งที่เป็นจรวดและดาวเทียมของอินเดียเอง และการปล่อยดาวเทียมให้ต่างประเทศ เค ราธากฤษณัน (K Radhakrishnan) ประธานขององค์การนี้บอกกับพวกผู้สื่อข่าวตอนต้นเดือนนี้ว่า ทาง ISRO วางแผนการเอาไว้ว่าตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2017 จะปฏิบัติภารกิจรวม 58 ชิ้น (เป็นการปล่อยจรวด 25 ลูก และดาวเทียม 33 ดวง)
“จรวด 25 ลูกดังกล่าวนี้ จะมีทั้งจรวดประเภท PSLV, GSLV, และ GSLV Mark III ส่วนดาวเทียมที่จะปล่อยนั้น จะเป็นดาวเทียมเพื่อการนำทาง 7 ดวง จากนั้นก็จะเป็นดาวเทียมชุดเพื่อการรับส่งสัญญาณจากระยะไกล, ดาวเทียมคลื่นไมโครเวฟ, และดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร” ประธานราธากฤษณัน กล่าวต่อ
ไม่เพียงเท่านั้น ISRO ยังกำลังวางแผนการสำหรับการปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ครั้งที่ 2 ด้วยโครงการ “จันทรายาน-2” (Chandrayan-2) ที่จะร่วมมือกับรัสเซีย หลังจากความสำเร็จของโครงการจันทรายาน-1 ซึ่งส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์และจากนั้นก็ปล่อยยานปะทะ ออกจากดาวเทียมเข้าพุ่งชนดาวบริวารของโลกดวงนี้เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2008 สำหรับจุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการจันทรายาน-2 ได้แก่การนำเอายานที่สร้างโดยรัสเซียขึ้นไปสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม นิวเดลีได้เคยแสดงท่าทีอย่างชัดเจนไปแล้วว่า ไม่ได้รู้สึกว่าจะต้องรีบร้อนดำเนินภารกิจการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ซึ่งข้อนี้นับว่าแตกต่างไปจากจีน ทั้งนี้คาดการณ์กันว่ากว่าที่จะมีมนุษย์อวกาศของอินเดียไปดวงจันทร์ได้ ก็คงต้องหลังจากปี 2020 ไปแล้ว
“แผนการที่เราจัดทำขึ้นมามักจะต้องมีโครงการเดินทางสู่อวกาศที่มีมนุษย์ขึ้นไปด้วยอยู่เสมอ โดยที่วาดหวังกันไว้ว่าควรจะเริ่มต้นได้ประมาณปี 2015 แต่เราไม่คาดคิดหรอกว่าภารกิจส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์จะสามารถทำได้ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากยังมีสิ่งต่างๆ มากมายเหลือเกินที่จะต้องทำให้สำเร็จก่อนที่จะไปถึงจุดนั้นได้” ประธานราธากฤษณัน บอก
ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลอินเดียได้อนุมัติโครงการมุ่งไปยังดาวอังคาร ภารกิจนี้จะเป็น 1 ในภาระหน้าที่อันยากลำบากและท้าทายที่สุดเท่าที่ ISRO จะดำเนินการทีเดียว โดยที่มีเป้าหมายจะปล่อยดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบดาวอังคารเพื่อการสำรวจวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเดือนพฤศจิกายนปีหน้า
“ภารกิจในการส่งดาวเทียมไปยังดาวอังคารนั้น เป็นเรื่องลำบากและท้าทายยิ่งกว่าภารกิจของจันทรายาน-1 เสียอีก เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการเดินทางไปในอวกาศอยู่ 300 วัน อีกทั้งต้องคอยติดตามดาวเทียมดวงนี้ด้วยเครือข่ายอวกาศห้วงลึก (deep space network)” ราธากฤษณัน กล่าว
เมื่อพิจารณาจากการที่จีนให้ความสนใจเป็นอันมากในเรื่องการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์ต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อการสำรวจวิจัยในด้านพลเรือน, ความมั่นคง, หรือด้านกลาโหม อินเดียเองก็ย่อมไม่ปรารถนาที่จะถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง
สิทธารถ ศรีวัสตาวา เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงนิวเดลี สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ sidsri@yahoo.com
India scores in space
By Siddharth Srivastava
13/09/2012
องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organization) สาธิตให้เห็นว่ามีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ยังคงมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ด้วยผลงานความสำเร็จในภารกิจชิ้นที่ 100 ซึ่งก็คือการส่งดาวเทียมของฝรั่งเศสและของญี่ปุ่นเข้าสู่วงโคจร จากศูนย์อวกาศของตนที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองเชนไน ปัจจุบันหน่วยงานแห่งนี้ยังวางแผนการปฏิบัติภารกิจที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีก 58 ภารกิจแล้วด้วย แต่เป้าหมายใหญ่นั้นอยู่ที่ดาวอังคาร
นิวเดลี – องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organization ใช้อักษรย่อว่า ISRO) เป็นหน่วยงานของภาครัฐชนิดที่หาได้ยากยิ่งในประเทศนี้ จากความสามารถในการประกอบธุรกิจและการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนได้อย่างแท้จริง เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การแห่งนี้เพิ่งปฏิบัติภารกิจชิ้นที่ 100 ของตน ด้วยการจัดส่งดาวเทียมสังเกตการณ์โลกของฝรั่งเศส และดาวเทียมขนาดจิ๋วของญี่ปุ่น ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ โดยใช้จรวดตัวเก่งแบบใช้ยิงได้ครั้งเดียวของตน ที่มีชื่อเรียกขานว่า ยานส่งดาวเทียม โพลาร์ แซตเทิลไลต์ ลอนช์ เวฮิเคิล (Polar Satellite Launch Vehicle ใช้อักษรย่อว่า PSLV)
“ในฐานะที่เป็นภารกิจในอวกาศชิ้นที่ 100 ของ ISRO การส่งดาวเทียมในวันนี้จึงถือเป็นหลักหมายสำคัญหลักหนึ่งในด้านสมรรถนะทางอวกาศของประเทศของเรา” นายกรัฐมนตรีมานโมหัน ซิงห์ กล่าวเช่นนี้ ในระหว่างไปชมการส่งดาวเทียมกันสดๆ ที่ศูนย์อวกาศของหน่วยงานแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตศรีหริโคตา (Sriharikota) ทางตอนเหนือของเมืองเชนไน (Chennai) รัฐอานธรประเทศ อันอยู่ทางภาคใต้ของอินเดีย
มานโมหันยังได้กล่าวปกป้องโครงการอวกาศของอินเดีย ตลอดจนงบประมาณจำนวนไม่น้อยที่ทุ่มให้แก่โครงการนี้ โดยเขาบอกว่า “มีผู้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า ประเทศที่ยากจนเฉกเช่นอินเดีย สามารถที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอวกาศไหวหรือ คำถามเช่นนี้มีความผิดพลาดตรงที่ไม่เข้าใจว่า สภาพการณ์แห่งการพัฒนาของประเทศชาติๆ หนึ่งนั้น ในท้ายที่สุดแล้วย่อมเป็นผลผลิตของความสามารถอันยอดเยี่ยมในทางเทคโนโลยีของประเทศนั้นนั่นเอง”
ประมาณการกันว่า ISRO ได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณของผู้เสียภาษีไปเป็นจำนวน 200,000 ล้านรูปี (3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ในกิจกรรมและการวิจัยอันหลายหลากเกี่ยวกับอวกาศ
องค์การแห่งนี้มีความก้าวหน้าไปไกลทีเดียว นับตั้งแต่ปี 1975 เมื่อตอนที่เริ่มส่งดาวเทียมดวงแรกของตนที่มีชื่อว่า อารยะภัตตะ (Aryabhatta) โดยใช้จรวดของทางรัสเซีย หลังจากนั้นมา ISRO ก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาจรวดรวม 2 ประเภท ได้แก่ PSLV ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในภารกิจส่งดาวเทียมเพื่อการสังเกตการณ์โลกและการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก ส่วนจรวดอีกประเภทหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่ามีชื่อว่า ยานส่งดาวเทียม จีโอซินโครนัส แซตเทิลไลต์ ลอนช์ เวฮิคัล (Geosynchronous Satellite Launch Vehicle ใช้อักษาย่อว่า GSLV) ใช้เพื่อส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารที่มีน้ำหนักมาก เข้าสู่วงโคจรแบบโคจรค้างฟ้า (geostationary orbit) ในระยะที่อยู่เหนือพื้นโลก 36,000 กิโลเมตร ในสภาพที่เสมือนกับลอยค้างอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา
ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ISRO ตกอยู่ในสภาพเหมือนกับต้องเดินโขยกเขยกแบบคนพิการ สืบเนื่องจากการที่สหรัฐฯใช้มาตรการห้ามส่งเทคโนโลยีแบบที่สามารถนำไปใช้ทั้งในทางทหารและในทางพลเรือน ให้แก่แดนภารตะ แม้กระนั้น องค์การนี้ก็ประสบความสำเร็จในการลอกเลียนพิมพ์เขียวต่างๆ จากหุ้นส่วนในยุคสงครามเย็นของอินเดีย ซึ่งก็คือสหภาพโซเวียตในยุคนั้นนั่นเอง
แต่ในช่วง 7-8 ปีหลังมานี้ เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับสหรัฐฯได้กระเตื้องดีขึ้นอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง วอชิงตันจึงได้มีการยกเลิกข้อห้ามข้อจำกัดต่อ ISRO ทำให้หน่วยงานนี้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีล่าสุดต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นมาก และจากการที่รัสเซียไม่ได้มีฐานะเป็นมหาอำนาจอย่างที่เคยเป็นแล้ว ISRO ก็ได้พยายามที่จะขวนขวายสร้างหลักทรัพย์ให้แก่ตนเองอย่างเป็นอิสระในตลาด
เริ่มตั้งแต่ปี 1999 ISRO เริ่มสถาปนาตนเองให้กลายเป็นผู้เล่นระดับโลกรายหนึ่งในธุรกิจการปล่อยดาวเทียมที่มีการแข่งขันกันสูง ถึงแม้องค์การนี้ยังคงต้องปรับปรุงยกระดับความสามารถในการส่งดาวเทียมที่มีน้ำหนักมากๆ ต่อไปอีก โดยในปัจจุบันก็ยังคงต้องพึ่งพาอาศัยรัสเซียหรือยุโรปในเรื่องนี้
จวบจนถึงเวลานี้ ISRO ได้ส่งดาวเทียมให้ต่างชาติไปแล้ว 29 ดวง รวมทั้ง 2 ดวงล่าสุดเมื่อตอนต้นเดือนนี้ และสร้างรายได้ให้แก่ตนเองเป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์ นายกรัฐมนตรีมานโมหันชี้ว่า “การส่งดาวเทียม (2 ดวง) เหล่านี้ โดยใช้ยานส่งที่เป็นของอินเดียเอง คือหลักฐานยืนยันให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมอวกาศของอินเดีย และก็เป็นการสร้างคุณูปการให้แก่นวัตกรรม และความช่างประดิษฐ์คิดค้นของชาวอินเดีย”
อินเดียนั้นมีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีขีปนาวุธ เคียงคู่ไปกับฝีก้าวในการวิจัยทางอวกาศ เนื่องจากพวกเครื่องยนต์ที่ใช้ในยานส่งดาวเทียม ก็เป็นเครื่องทำนองเดียวกับที่บรรจุเข้าไปในขีปนาวุธนั่นเอง ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ของจรวดประเภท GSLV ได้มีบทบาทเป็นขั้นตอนอันสำคัญยิ่งสำหรับการปฏิบัติการของขีปนาวุธพิสัยไกลแบบ “อัคนี” (Agni ) ที่มีศักยภาพในการส่งหัวรบนิวเคลียร์ไปสู่เป้าหมายได้
ความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนาระบบขีปนาวุธนำวิถีของ อินเดีย, ปากีสถาน, และจีน ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบขีปนาวุธแบบโจมตีและแบบป้องกัน ยังคงมีความแตกต่างห่างชั้นกันอยู่ โดยที่จีนซึ่งมีความสามารถเหนือล้ำกว่ามากมาย ได้เข้าไปเกี่ยวข้องช่วยเหลือการพัฒนาสมรรถนะด้านกลาโหมของปากีสถานอย่างแข็งขัน ทางฝ่ายอินเดียจึงต้องพยายามหาความช่วยเหลือจากสหรัฐฯและอิสราเอล เพื่อยกระดับความรู้ทางด้าน โนว-ฮาว ของตนเอง
ความช่วยเหลือเช่นนี้น่าจะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากอินเดียมีประวัติอันออกจะย่ำแย่ในเรื่องการวิจัยพัฒนาระบบอาวุธอื่นๆ ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรถถัง หรือเครื่องบินขับไล่
ปัจจุบัน ตารางเวลาของ ISRO แน่นเอี๊ยดไปด้วยกำหนดการส่งจรวดและดาวเทียมมากมาย ทั้งที่เป็นจรวดและดาวเทียมของอินเดียเอง และการปล่อยดาวเทียมให้ต่างประเทศ เค ราธากฤษณัน (K Radhakrishnan) ประธานขององค์การนี้บอกกับพวกผู้สื่อข่าวตอนต้นเดือนนี้ว่า ทาง ISRO วางแผนการเอาไว้ว่าตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2017 จะปฏิบัติภารกิจรวม 58 ชิ้น (เป็นการปล่อยจรวด 25 ลูก และดาวเทียม 33 ดวง)
“จรวด 25 ลูกดังกล่าวนี้ จะมีทั้งจรวดประเภท PSLV, GSLV, และ GSLV Mark III ส่วนดาวเทียมที่จะปล่อยนั้น จะเป็นดาวเทียมเพื่อการนำทาง 7 ดวง จากนั้นก็จะเป็นดาวเทียมชุดเพื่อการรับส่งสัญญาณจากระยะไกล, ดาวเทียมคลื่นไมโครเวฟ, และดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร” ประธานราธากฤษณัน กล่าวต่อ
ไม่เพียงเท่านั้น ISRO ยังกำลังวางแผนการสำหรับการปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ครั้งที่ 2 ด้วยโครงการ “จันทรายาน-2” (Chandrayan-2) ที่จะร่วมมือกับรัสเซีย หลังจากความสำเร็จของโครงการจันทรายาน-1 ซึ่งส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์และจากนั้นก็ปล่อยยานปะทะ ออกจากดาวเทียมเข้าพุ่งชนดาวบริวารของโลกดวงนี้เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2008 สำหรับจุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการจันทรายาน-2 ได้แก่การนำเอายานที่สร้างโดยรัสเซียขึ้นไปสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม นิวเดลีได้เคยแสดงท่าทีอย่างชัดเจนไปแล้วว่า ไม่ได้รู้สึกว่าจะต้องรีบร้อนดำเนินภารกิจการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ซึ่งข้อนี้นับว่าแตกต่างไปจากจีน ทั้งนี้คาดการณ์กันว่ากว่าที่จะมีมนุษย์อวกาศของอินเดียไปดวงจันทร์ได้ ก็คงต้องหลังจากปี 2020 ไปแล้ว
“แผนการที่เราจัดทำขึ้นมามักจะต้องมีโครงการเดินทางสู่อวกาศที่มีมนุษย์ขึ้นไปด้วยอยู่เสมอ โดยที่วาดหวังกันไว้ว่าควรจะเริ่มต้นได้ประมาณปี 2015 แต่เราไม่คาดคิดหรอกว่าภารกิจส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์จะสามารถทำได้ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากยังมีสิ่งต่างๆ มากมายเหลือเกินที่จะต้องทำให้สำเร็จก่อนที่จะไปถึงจุดนั้นได้” ประธานราธากฤษณัน บอก
ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลอินเดียได้อนุมัติโครงการมุ่งไปยังดาวอังคาร ภารกิจนี้จะเป็น 1 ในภาระหน้าที่อันยากลำบากและท้าทายที่สุดเท่าที่ ISRO จะดำเนินการทีเดียว โดยที่มีเป้าหมายจะปล่อยดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบดาวอังคารเพื่อการสำรวจวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเดือนพฤศจิกายนปีหน้า
“ภารกิจในการส่งดาวเทียมไปยังดาวอังคารนั้น เป็นเรื่องลำบากและท้าทายยิ่งกว่าภารกิจของจันทรายาน-1 เสียอีก เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการเดินทางไปในอวกาศอยู่ 300 วัน อีกทั้งต้องคอยติดตามดาวเทียมดวงนี้ด้วยเครือข่ายอวกาศห้วงลึก (deep space network)” ราธากฤษณัน กล่าว
เมื่อพิจารณาจากการที่จีนให้ความสนใจเป็นอันมากในเรื่องการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์ต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อการสำรวจวิจัยในด้านพลเรือน, ความมั่นคง, หรือด้านกลาโหม อินเดียเองก็ย่อมไม่ปรารถนาที่จะถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง
สิทธารถ ศรีวัสตาวา เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงนิวเดลี สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ sidsri@yahoo.com