เอเจนซีส์ - ข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้สถานการณ์มหาอำนาจโลก ทั้งสหรัฐฯ จีน ไล่ไปถึงยุโรป อยู่ในอาการไม่น่าไว้วางใจ และอาจต้องมีการออกมาตรการทางการเงินมากระตุ้นเร็วๆ นี้
วันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา (23) ธนาคารเอชเอสบีซีรายงานว่า ตัวเลขเบื้องต้นดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ที่เป็นมาตรวัดกิจกรรมการผลิตของจีน ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ในเดือนปัจจุบันอยู่ที่ 47.8 ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน บ่งชี้ว่าผู้ผลิตแดนมังกรยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะอุปสงค์ตกต่ำในต่างแดนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ทั้งนี้ ดัชนีพีเอ็มไอถ้าหากสูงกว่า 50 จะบ่งบอกถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงต่อไป แต่ถ้าต่ำกว่า 50 ก็เป็นสัญญาณถึงการหดตัวในอนาคต
นอกจากนี้ เอชเอสบีซีบอกว่า ยอดส่งออกใหม่ยังลดลงแรงที่สุดนับจากเดือนมีนาคม 2009 ทว่าไม่ได้ให้ตัวเลขแต่อย่างใด
ชีว์ หงปิน นักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซีประจำฮ่องกง ชี้ว่า หากต้องการบรรลุเป้าหมายการฟื้นเสถียรภาพการเติบโตและตลาดแรงงานตามที่ประกาศไว้ ปักกิ่งจะต้องผ่อนคลายนโยบายเพื่อกระตุ้นการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานในอีกไม่เดือนนี้
ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัว 7.6% ต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจประจำเดือนกรกฎาคมล้วนบ่งชี้ว่า ภาวะชะลอตัวจะยังคงอยู่ต่อไป และกระตุ้นความหวังของตลาดการเงินที่ว่าทางการจะมีนโยบายผ่อนคลายทางการเงินออกมาเพิ่มเติม
ทว่า นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่ายังคงแสดงความมั่นใจว่า เศรษฐกิจปีนี้จะเติบโตตามเป้าคืออย่างน้อย 7.5%
ที่ผ่านมาปักกิ่งลดดอกเบี้ยและสัดส่วนทุนสำรองแบงก์พาณิชน์เพื่อกระตุ้นการกู้ยืม รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐ ทว่า ไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีกเลยนับจากคลอดแผนรับมือวิกฤตการเงินโลกปี 2008
ขณะเดียวกัน รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 31 ก.ค. - 1 ส.ค. ที่เผยแพร่ออกมาในวันพุธ (22) ระบุว่า สมาชิกผู้วางนโยบายของเฟดหลายคนเชื่อว่า ควรออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินรอบใหม่เร็วๆ นี้ เว้นแต่เศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้นอย่างชัดเจน
เฟดได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืนของตนมาอยู่ที่เกือบๆ เป็น 0% ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2008 และเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อบ้าน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อดึงต้นทุนการกู้ยืมให้ต่ำลง ทั้งยังประกาศว่า จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปลายปี 2014
แม้ในการประชุมล่าสุดจะไม่มีการประกาศนโยบายใหม่ออกมา แต่เฟดส่งสัญญาณว่า พร้อมดำเนินการหากเศรษฐกิจชะลอลงกว่าเดิม โดยรายงานการประชุมชี้ว่า เฟดกำลังพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับโครงการซื้อพันธบัตรและหุ้นกู้ แต่จะไม่ประกาศมูลค่าล่วงหน้าเหมือนที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่เฟดตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ โดยขยายตัวเพียง 1.5% ในไตรมาส 2 ความเสี่ยงนี้รวมถึงแนวโน้มการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นและการขึ้นภาษีภายในประเทศ แต่ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือหากวิกฤตการเงินยุโรปรุนแรงยิ่งขึ้น
ในส่วนยุโรปนั้น บริษัทวิจัยตลาด มาร์กิต เปิดเผยว่าดัชนีพีเอ็มไอประจำเดือนสิงหาคมตกต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อยู่ที่ 46.6
สำหรับภาคการผลิตนั้น ดัชนีกระเตื้องขึ้นจาก 44.0 ในเดือนกรกฏาคม เป็น 45.3 แต่ภาคบริการลดเหลือ 47.5 จาก 47.9
มาร์กิตแจงว่า ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ภาวะขาลงครอบคลุมทั่วทั้งยูโรโซน ขณะที่อัตราการหดตัวเพิ่มขึ้นในเยอรมนี แม้กระเตื้องขึ้นบ้างสำหรับฝรั่งเศส
ร็อบ ด็อบสัน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของมาร์กิตเสริมว่า ความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจเยอรมนีแข็งแกร่งและช่วยฟื้นยูโรโซน มีอันดับวูบลงจากสถิติการติดลบในภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้น และสัญญาณที่ชี้ชัดว่า การส่งออกของเมืองเบียร์เริ่มทรุดลง
จากข้อมูลในเดือนที่ผ่านมาและเดือนนี้ ด็อบสันคาดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจติดลบ 0.5-0.6% ในไตรมาสปัจจุบัน
วันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา (23) ธนาคารเอชเอสบีซีรายงานว่า ตัวเลขเบื้องต้นดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ที่เป็นมาตรวัดกิจกรรมการผลิตของจีน ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ในเดือนปัจจุบันอยู่ที่ 47.8 ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน บ่งชี้ว่าผู้ผลิตแดนมังกรยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะอุปสงค์ตกต่ำในต่างแดนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ทั้งนี้ ดัชนีพีเอ็มไอถ้าหากสูงกว่า 50 จะบ่งบอกถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงต่อไป แต่ถ้าต่ำกว่า 50 ก็เป็นสัญญาณถึงการหดตัวในอนาคต
นอกจากนี้ เอชเอสบีซีบอกว่า ยอดส่งออกใหม่ยังลดลงแรงที่สุดนับจากเดือนมีนาคม 2009 ทว่าไม่ได้ให้ตัวเลขแต่อย่างใด
ชีว์ หงปิน นักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซีประจำฮ่องกง ชี้ว่า หากต้องการบรรลุเป้าหมายการฟื้นเสถียรภาพการเติบโตและตลาดแรงงานตามที่ประกาศไว้ ปักกิ่งจะต้องผ่อนคลายนโยบายเพื่อกระตุ้นการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานในอีกไม่เดือนนี้
ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัว 7.6% ต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจประจำเดือนกรกฎาคมล้วนบ่งชี้ว่า ภาวะชะลอตัวจะยังคงอยู่ต่อไป และกระตุ้นความหวังของตลาดการเงินที่ว่าทางการจะมีนโยบายผ่อนคลายทางการเงินออกมาเพิ่มเติม
ทว่า นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่ายังคงแสดงความมั่นใจว่า เศรษฐกิจปีนี้จะเติบโตตามเป้าคืออย่างน้อย 7.5%
ที่ผ่านมาปักกิ่งลดดอกเบี้ยและสัดส่วนทุนสำรองแบงก์พาณิชน์เพื่อกระตุ้นการกู้ยืม รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐ ทว่า ไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีกเลยนับจากคลอดแผนรับมือวิกฤตการเงินโลกปี 2008
ขณะเดียวกัน รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 31 ก.ค. - 1 ส.ค. ที่เผยแพร่ออกมาในวันพุธ (22) ระบุว่า สมาชิกผู้วางนโยบายของเฟดหลายคนเชื่อว่า ควรออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินรอบใหม่เร็วๆ นี้ เว้นแต่เศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้นอย่างชัดเจน
เฟดได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืนของตนมาอยู่ที่เกือบๆ เป็น 0% ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2008 และเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อบ้าน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อดึงต้นทุนการกู้ยืมให้ต่ำลง ทั้งยังประกาศว่า จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปลายปี 2014
แม้ในการประชุมล่าสุดจะไม่มีการประกาศนโยบายใหม่ออกมา แต่เฟดส่งสัญญาณว่า พร้อมดำเนินการหากเศรษฐกิจชะลอลงกว่าเดิม โดยรายงานการประชุมชี้ว่า เฟดกำลังพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับโครงการซื้อพันธบัตรและหุ้นกู้ แต่จะไม่ประกาศมูลค่าล่วงหน้าเหมือนที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่เฟดตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ โดยขยายตัวเพียง 1.5% ในไตรมาส 2 ความเสี่ยงนี้รวมถึงแนวโน้มการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นและการขึ้นภาษีภายในประเทศ แต่ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือหากวิกฤตการเงินยุโรปรุนแรงยิ่งขึ้น
ในส่วนยุโรปนั้น บริษัทวิจัยตลาด มาร์กิต เปิดเผยว่าดัชนีพีเอ็มไอประจำเดือนสิงหาคมตกต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อยู่ที่ 46.6
สำหรับภาคการผลิตนั้น ดัชนีกระเตื้องขึ้นจาก 44.0 ในเดือนกรกฏาคม เป็น 45.3 แต่ภาคบริการลดเหลือ 47.5 จาก 47.9
มาร์กิตแจงว่า ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ภาวะขาลงครอบคลุมทั่วทั้งยูโรโซน ขณะที่อัตราการหดตัวเพิ่มขึ้นในเยอรมนี แม้กระเตื้องขึ้นบ้างสำหรับฝรั่งเศส
ร็อบ ด็อบสัน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของมาร์กิตเสริมว่า ความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจเยอรมนีแข็งแกร่งและช่วยฟื้นยูโรโซน มีอันดับวูบลงจากสถิติการติดลบในภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้น และสัญญาณที่ชี้ชัดว่า การส่งออกของเมืองเบียร์เริ่มทรุดลง
จากข้อมูลในเดือนที่ผ่านมาและเดือนนี้ ด็อบสันคาดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจติดลบ 0.5-0.6% ในไตรมาสปัจจุบัน