(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Kabul property boom bursts
By Frud Bezhan
02/08/2012
ประชากรที่พุ่งพรวดขึ้นมาในกรุงคาบูล, ความช่วยเหลือจากต่างประเทศอันมากมายมหาศาล, และความต้องการของพวกนักการทูตและองค์การระหว่างประเทศ ช่วยเป็นแรงขับดันทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหลวงของอัฟกานิสถานพุ่งพรวดพราด และสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้แก่พวกซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ชาวอัฟกัน แต่เมื่อทหารต่างชาติกำลังทยอยถอนตัวกลับบ้านดังเช่นในปัจจุบันนี้ ก็ย่อมหมายความว่าวันเวลาแห่งความสุขสำราญกำลังปิดฉากลงแล้ว
คาบูล – เงินทองหลายพันหลายหมื่นล้านดอลลาร์ในรูปของความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตลอดจนสัญญาจัดซื้อจัดจ้างราคาแพงเพื่อทำการฟื้นฟูบูรณะด้านต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงที่หล่อเลี้ยงให้ภาคบ้านและที่ดินในกรุงคาบูลรุ่งเรืองเฟื่องฟูมากในระยะเวลาหลายๆ ปีของช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทว่าอาคารสูงและแมนชั่นหรูหราที่แต่งแต้มแนวขอบฟ้าอันเต็มไปด้วยหมอกควันของเมืองหลวงของอัฟกานิสถานอยู่ในเวลานี้ กำลังกลายเป็นเครื่องปกปิดอำพรางความวิตกหวาดหวั่นที่ว่า คาบูลกำลังบ่ายหน้าไปสู่ความพังพินาศ
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ระดับไฮเอนด์ ซึ่งเคยฟูฟ่องขึ้นมาจากการที่พวกพ่อค้าชาวอัฟกันผู้มั่งคั่ง, สถานทูตต่างประเทศ, ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศต่างๆ พากันกระโจนเข้าไปซื้อหาหรือเช่าอาคารบ้านพักอาศัย มาในวันนี้ยากที่จะเรียกขานว่าคึกคักสดใสได้อีกแล้ว
อับดุล ซามี มีร์ซา (Abdul Sami Mirza) หนึ่งในนักซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในคาบูล เล่าว่าตัวเขาสร้างความมั่งคั่งได้พอประมาณทีเดียว จากการขายและการปล่อยเช่าบ้านพักอาศัยระดับเลิศในเขตคาร์เต-เซห์ (Karte-Seh) อันหรูหราของคาบูล ทว่าวันเวลาอันแสนอู้ฟู่เช่นนั้นจบสิ้นลงแล้ว
“เวลานี้ไม่มีคนซื้อเลย คนซื้อหายวับไปหมดแล้ว” เขาบอก “สถานการณ์ทางการเมืองกำลังย่ำแย่ ดังนั้นผู้คนจึงไม่กล้าซื้อ (ปีที่แล้ว) ตลาดยังดีมากๆ อยู่เลย แต่แล้วสถานการณ์ทางการเมืองก็ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างร้ายแรงต่อพวกที่กำลังคิดซื้อหรือคิดขายบ้านของพวกเขา พวกที่เป็นเจ้าของบ้านหรูๆ จำนวนมากกำลังเดินทางกลับไปเมืองนอก และกำลังออกไปจากอัฟกานิสถานกันหมดแล้ว”
ขณะที่กองทหารพันธมิตรที่นำโดยองค์การนาโต้จำนวนนับหมื่นนับแสนคน เตรียมตัวที่จะถอนตัวออกไปครั้งใหญ่ในปี 2014 ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในอนาคต ตลอดจนความวิตกกังวลในเรื่องที่ประเทศชาติยังต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือต่างประเทศอย่างมากมาย กำลังเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการเดินทางออกไปจากอัฟกานิสถาน ความต้องการที่อยู่อาศัยตลอดจนราคาคาที่อยู่อาศัยจึงต่างก็หล่นฮวบฮาบลงมาถึง 50% ทีเดียวในย่านคนรวยซึ่งเป็นที่พำนักของนักธุรกิจชาวอัฟกันและเจ้าหน้าที่ต่างชาติ
มีร์ซายกตัวอย่างว่า เพียงเมื่อ 12 เดือนที่แล้วนี้เอง เขาสามารถปล่อยเช่าบ้านหลังใหญ่ซึ่งมีเนื้อที่ราว 240 ตารางเมตรหลังหนึ่งในย่านคาร์เต-เซห์ ในราคาค่าเช่าเดือนละ 21,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เมื่อสัญญาเช่าหมดอายุลง และองค์การเอ็นจีโอสัญชาติอังกฤษที่เคยใช้บ้านดังกล่าวเป็นทั้งบ้านพักรับรองและออฟฟิศสำนักงานได้ถอนตัวออกไปจากอัฟกานิสถาน เขาก็ต้องประสบกับปัญหาหาคนเช่าต่อไม่ได้ มีร์ซาคร่ำครวญว่า แม้กระทั่งเมื่อเขายอมหั่นค่าเช่าลงไปเหลือเดือนละ 9,000 ดอลลาร์แล้วก็ไม่มีใครมาเช่าเลย
** “เมืองนี้ไม่มีเงินแล้ว”**
อับดุล ฮามิด (Abdul Hamid) นักธุรกิจชาวอัฟกันอีกคนหนึ่งบอกว่า เขาย้ายจากบ้านเดิมของเขาในจังหวัดกอซนี (Ghazni Province) ที่อยู่ทางภาคใต้ มายังกรุงคาบูลเมื่อ 5 ปีก่อน ตอนที่ภาคที่อยู่อาศัยกำลังรุ่งเรืองเฟื่องฟูมาก แล้วเขาก็จัดแจงสร้างบ้านขึ้นมาหลายสิบหลังทีเดียว แต่ตอนนี้เขากำลังติดหนี้สินรุงรัง และจะออกจากประเทศในทันทีที่เขาขายทรัพย์สินที่ยังมีเหลืออยู่ได้
“ทุกๆ คืน พวกเราเฝ้าแต่ขบคิดกันว่าควรจะอยู่ในอัฟกานิสถานต่อไปหรือไม่ ผมกำลังขายทรัพย์สินของผมเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ ทุกๆ วันมีแต่คนที่บอกว่ากำลังขาดทุนจากการลงทุนของพวกเขา” ฮามิดกล่าว “ในเมืองนี้ไม่มีงาน และไม่มีเงินแล้ว เมื่อก่อน คนเรายังเชื่อมั่นไว้วางใจในตลาดบ้านพักอาศัย แต่ตอนนี้หมดแล้วไม่มีใครเชื่อถือกันแล้ว แต่ละคนต่างก็กำเงินที่มีอยู่เอาไว้แน่น ขณะที่ขบคิดว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้นมาอีก”
โดยข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่ใช่ว่าในกรุงคาบูลไม่มีความต้องการที่อยู่อาศัยกันอีกแล้วหรอก ความต้องการอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้มีรายได้น้อยและผู้มีรายได้ระดับกลาง กลับกำลังสูงลิบลิ่วอย่างไม่เคยมีมาก่อนเสียด้วยซ้ำ
การขาดไร้ที่พักอาศัยอันเหมาะสมในระดับราคาที่พอซื้อพอเช่าไว้ คือปัญหาสังคมเร่งด่วนประการหนึ่งของกรุงคาบูลในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ ขณะที่ประชากรในเมืองหลวงของอัฟกานิสถานแห่งนี้พุ่งขึ้นพรวดพราด จากการที่ชาวอัฟกันในชนบทพากันบ่ายหน้าเข้าสู่กรุงคาบูลเพื่อหางานทำ ค่าเช่าบ้านและราคาบ้านที่บวมเป่งขึ้นมา หมายความว่าประชาชนคนธรรมดามากมายในกรุงคาบูล (ซึ่งจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากระดับ 1 ล้านคนเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเป็นมากกว่า 5 ล้านคนในทุกวันนี้) แทบไม่มีทางเลือกอะไรเลยในการหาสถานที่สำหรับซุกหัวนอน
ผู้คนเรือนพันเรือนหมื่นพากันสร้างที่อาศัยอย่างผิดกฎหมายขึ้นในที่ดินของรัฐบาล ส่วนคนอื่นๆ ก็ปลูกบ้านทำด้วยดินโคลนขึ้นตามพื้นที่ไหล่เขานอกคาบูล ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าไม่มีความแข็งแรงมั่นคงเพียงพอ พวกที่เสียเปรียบที่สุดของสังคมก็ต้องเสาะแสวงหาที่ซุกหัวนอนในสลัมและค่ายพักชั่วคราว โดยที่พวกเขาแทบไม่มีโอกาสได้ใช้น้ำสะอาดและไฟฟ้ากันเลย
ผู้คนเหล่านี้ไม่เคยได้รับประโยชน์จากโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยต่างๆ ที่ดำเนินการกันก่อนหน้านี้ในนครหลวงแห่งนี้ โดยมองกันว่าโครงการพวกนี้มุ่งอำนวยประโยชน์ให้แก่คนร่ำคนรวยมากกว่า และแม้ในตอนนี้เมื่อพวกเขามองเห็นอสังหาริมทรัพย์หรูหราจำนวนมากกำลังว่างลงไม่มีผู้พำนักอาศัย เจ้าของบ้านเช่าเหล่านี้ก็ยังคงเรียกร้องต้องการค่าเช่าในระดับที่สูงเกินกว่าที่ชาวอัฟกันโดยเฉลี่ยจะจ่ายไหวอยู่นั่นเอง
**ต้องพึ่งพาคนภายนอก**
โทมัส รุตติก (Thomas Ruttig) ผู้อำนวยการร่วมของ อัฟกานิสถาน อะนาลิสต์ เน็ตเวิร์ก (Afghanistan Analysts Network) อันเป็นองค์การวิจัยอิสระในกรุงคาบูล ให้ความเห็นว่า ความช่วยเหลือของต่างประเทศ ตลอดจนการก่อกำเนิด “เศรษฐกิจแบบทหารและเศรษฐกิจสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง” คือมนตร์เสน่ห์ที่ดึงดูดชาวอัฟกันที่ไปพำนักอาศัยในต่างแดน ตลอดจนพวกผู้ประกอบการที่มั่งคั่งร่ำรวย ให้หวนกลับคืนประเทศ
รุตติกอธิบายต่อไปว่า สภาพแวดล้อมเช่นนี้ส่งผลทำให้ภาคเศรษฐกิจจำนวนมากเจริญเติบโตขึ้นมา รวมทั้งภาคบ้านและที่ดินด้วย ทว่ามันเป็นการขยายตัวแบบที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และนำไปสู่สภาพเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุล
ฐานะที่อ่อนแอปวกเปียกของอัฟกานิสถาน ทำให้ประเทศนี้ต้องพึ่งพาอาศัยภายนอกแทบจะโดยสิ้นเชิง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประมาณการว่า ในปี 2010 ความช่วยเหลือจากต่างประเทศคิดเป็นประมาณ 97% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทั้งหมดของอัฟกานิสถานทีเดียว
(รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL)
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง
Kabul property boom bursts
By Frud Bezhan
02/08/2012
ประชากรที่พุ่งพรวดขึ้นมาในกรุงคาบูล, ความช่วยเหลือจากต่างประเทศอันมากมายมหาศาล, และความต้องการของพวกนักการทูตและองค์การระหว่างประเทศ ช่วยเป็นแรงขับดันทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหลวงของอัฟกานิสถานพุ่งพรวดพราด และสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้แก่พวกซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ชาวอัฟกัน แต่เมื่อทหารต่างชาติกำลังทยอยถอนตัวกลับบ้านดังเช่นในปัจจุบันนี้ ก็ย่อมหมายความว่าวันเวลาแห่งความสุขสำราญกำลังปิดฉากลงแล้ว
คาบูล – เงินทองหลายพันหลายหมื่นล้านดอลลาร์ในรูปของความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตลอดจนสัญญาจัดซื้อจัดจ้างราคาแพงเพื่อทำการฟื้นฟูบูรณะด้านต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงที่หล่อเลี้ยงให้ภาคบ้านและที่ดินในกรุงคาบูลรุ่งเรืองเฟื่องฟูมากในระยะเวลาหลายๆ ปีของช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทว่าอาคารสูงและแมนชั่นหรูหราที่แต่งแต้มแนวขอบฟ้าอันเต็มไปด้วยหมอกควันของเมืองหลวงของอัฟกานิสถานอยู่ในเวลานี้ กำลังกลายเป็นเครื่องปกปิดอำพรางความวิตกหวาดหวั่นที่ว่า คาบูลกำลังบ่ายหน้าไปสู่ความพังพินาศ
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ระดับไฮเอนด์ ซึ่งเคยฟูฟ่องขึ้นมาจากการที่พวกพ่อค้าชาวอัฟกันผู้มั่งคั่ง, สถานทูตต่างประเทศ, ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศต่างๆ พากันกระโจนเข้าไปซื้อหาหรือเช่าอาคารบ้านพักอาศัย มาในวันนี้ยากที่จะเรียกขานว่าคึกคักสดใสได้อีกแล้ว
อับดุล ซามี มีร์ซา (Abdul Sami Mirza) หนึ่งในนักซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในคาบูล เล่าว่าตัวเขาสร้างความมั่งคั่งได้พอประมาณทีเดียว จากการขายและการปล่อยเช่าบ้านพักอาศัยระดับเลิศในเขตคาร์เต-เซห์ (Karte-Seh) อันหรูหราของคาบูล ทว่าวันเวลาอันแสนอู้ฟู่เช่นนั้นจบสิ้นลงแล้ว
“เวลานี้ไม่มีคนซื้อเลย คนซื้อหายวับไปหมดแล้ว” เขาบอก “สถานการณ์ทางการเมืองกำลังย่ำแย่ ดังนั้นผู้คนจึงไม่กล้าซื้อ (ปีที่แล้ว) ตลาดยังดีมากๆ อยู่เลย แต่แล้วสถานการณ์ทางการเมืองก็ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างร้ายแรงต่อพวกที่กำลังคิดซื้อหรือคิดขายบ้านของพวกเขา พวกที่เป็นเจ้าของบ้านหรูๆ จำนวนมากกำลังเดินทางกลับไปเมืองนอก และกำลังออกไปจากอัฟกานิสถานกันหมดแล้ว”
ขณะที่กองทหารพันธมิตรที่นำโดยองค์การนาโต้จำนวนนับหมื่นนับแสนคน เตรียมตัวที่จะถอนตัวออกไปครั้งใหญ่ในปี 2014 ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในอนาคต ตลอดจนความวิตกกังวลในเรื่องที่ประเทศชาติยังต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือต่างประเทศอย่างมากมาย กำลังเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการเดินทางออกไปจากอัฟกานิสถาน ความต้องการที่อยู่อาศัยตลอดจนราคาคาที่อยู่อาศัยจึงต่างก็หล่นฮวบฮาบลงมาถึง 50% ทีเดียวในย่านคนรวยซึ่งเป็นที่พำนักของนักธุรกิจชาวอัฟกันและเจ้าหน้าที่ต่างชาติ
มีร์ซายกตัวอย่างว่า เพียงเมื่อ 12 เดือนที่แล้วนี้เอง เขาสามารถปล่อยเช่าบ้านหลังใหญ่ซึ่งมีเนื้อที่ราว 240 ตารางเมตรหลังหนึ่งในย่านคาร์เต-เซห์ ในราคาค่าเช่าเดือนละ 21,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เมื่อสัญญาเช่าหมดอายุลง และองค์การเอ็นจีโอสัญชาติอังกฤษที่เคยใช้บ้านดังกล่าวเป็นทั้งบ้านพักรับรองและออฟฟิศสำนักงานได้ถอนตัวออกไปจากอัฟกานิสถาน เขาก็ต้องประสบกับปัญหาหาคนเช่าต่อไม่ได้ มีร์ซาคร่ำครวญว่า แม้กระทั่งเมื่อเขายอมหั่นค่าเช่าลงไปเหลือเดือนละ 9,000 ดอลลาร์แล้วก็ไม่มีใครมาเช่าเลย
** “เมืองนี้ไม่มีเงินแล้ว”**
อับดุล ฮามิด (Abdul Hamid) นักธุรกิจชาวอัฟกันอีกคนหนึ่งบอกว่า เขาย้ายจากบ้านเดิมของเขาในจังหวัดกอซนี (Ghazni Province) ที่อยู่ทางภาคใต้ มายังกรุงคาบูลเมื่อ 5 ปีก่อน ตอนที่ภาคที่อยู่อาศัยกำลังรุ่งเรืองเฟื่องฟูมาก แล้วเขาก็จัดแจงสร้างบ้านขึ้นมาหลายสิบหลังทีเดียว แต่ตอนนี้เขากำลังติดหนี้สินรุงรัง และจะออกจากประเทศในทันทีที่เขาขายทรัพย์สินที่ยังมีเหลืออยู่ได้
“ทุกๆ คืน พวกเราเฝ้าแต่ขบคิดกันว่าควรจะอยู่ในอัฟกานิสถานต่อไปหรือไม่ ผมกำลังขายทรัพย์สินของผมเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ ทุกๆ วันมีแต่คนที่บอกว่ากำลังขาดทุนจากการลงทุนของพวกเขา” ฮามิดกล่าว “ในเมืองนี้ไม่มีงาน และไม่มีเงินแล้ว เมื่อก่อน คนเรายังเชื่อมั่นไว้วางใจในตลาดบ้านพักอาศัย แต่ตอนนี้หมดแล้วไม่มีใครเชื่อถือกันแล้ว แต่ละคนต่างก็กำเงินที่มีอยู่เอาไว้แน่น ขณะที่ขบคิดว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้นมาอีก”
โดยข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่ใช่ว่าในกรุงคาบูลไม่มีความต้องการที่อยู่อาศัยกันอีกแล้วหรอก ความต้องการอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้มีรายได้น้อยและผู้มีรายได้ระดับกลาง กลับกำลังสูงลิบลิ่วอย่างไม่เคยมีมาก่อนเสียด้วยซ้ำ
การขาดไร้ที่พักอาศัยอันเหมาะสมในระดับราคาที่พอซื้อพอเช่าไว้ คือปัญหาสังคมเร่งด่วนประการหนึ่งของกรุงคาบูลในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ ขณะที่ประชากรในเมืองหลวงของอัฟกานิสถานแห่งนี้พุ่งขึ้นพรวดพราด จากการที่ชาวอัฟกันในชนบทพากันบ่ายหน้าเข้าสู่กรุงคาบูลเพื่อหางานทำ ค่าเช่าบ้านและราคาบ้านที่บวมเป่งขึ้นมา หมายความว่าประชาชนคนธรรมดามากมายในกรุงคาบูล (ซึ่งจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากระดับ 1 ล้านคนเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเป็นมากกว่า 5 ล้านคนในทุกวันนี้) แทบไม่มีทางเลือกอะไรเลยในการหาสถานที่สำหรับซุกหัวนอน
ผู้คนเรือนพันเรือนหมื่นพากันสร้างที่อาศัยอย่างผิดกฎหมายขึ้นในที่ดินของรัฐบาล ส่วนคนอื่นๆ ก็ปลูกบ้านทำด้วยดินโคลนขึ้นตามพื้นที่ไหล่เขานอกคาบูล ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าไม่มีความแข็งแรงมั่นคงเพียงพอ พวกที่เสียเปรียบที่สุดของสังคมก็ต้องเสาะแสวงหาที่ซุกหัวนอนในสลัมและค่ายพักชั่วคราว โดยที่พวกเขาแทบไม่มีโอกาสได้ใช้น้ำสะอาดและไฟฟ้ากันเลย
ผู้คนเหล่านี้ไม่เคยได้รับประโยชน์จากโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยต่างๆ ที่ดำเนินการกันก่อนหน้านี้ในนครหลวงแห่งนี้ โดยมองกันว่าโครงการพวกนี้มุ่งอำนวยประโยชน์ให้แก่คนร่ำคนรวยมากกว่า และแม้ในตอนนี้เมื่อพวกเขามองเห็นอสังหาริมทรัพย์หรูหราจำนวนมากกำลังว่างลงไม่มีผู้พำนักอาศัย เจ้าของบ้านเช่าเหล่านี้ก็ยังคงเรียกร้องต้องการค่าเช่าในระดับที่สูงเกินกว่าที่ชาวอัฟกันโดยเฉลี่ยจะจ่ายไหวอยู่นั่นเอง
**ต้องพึ่งพาคนภายนอก**
โทมัส รุตติก (Thomas Ruttig) ผู้อำนวยการร่วมของ อัฟกานิสถาน อะนาลิสต์ เน็ตเวิร์ก (Afghanistan Analysts Network) อันเป็นองค์การวิจัยอิสระในกรุงคาบูล ให้ความเห็นว่า ความช่วยเหลือของต่างประเทศ ตลอดจนการก่อกำเนิด “เศรษฐกิจแบบทหารและเศรษฐกิจสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง” คือมนตร์เสน่ห์ที่ดึงดูดชาวอัฟกันที่ไปพำนักอาศัยในต่างแดน ตลอดจนพวกผู้ประกอบการที่มั่งคั่งร่ำรวย ให้หวนกลับคืนประเทศ
รุตติกอธิบายต่อไปว่า สภาพแวดล้อมเช่นนี้ส่งผลทำให้ภาคเศรษฐกิจจำนวนมากเจริญเติบโตขึ้นมา รวมทั้งภาคบ้านและที่ดินด้วย ทว่ามันเป็นการขยายตัวแบบที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และนำไปสู่สภาพเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุล
ฐานะที่อ่อนแอปวกเปียกของอัฟกานิสถาน ทำให้ประเทศนี้ต้องพึ่งพาอาศัยภายนอกแทบจะโดยสิ้นเชิง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประมาณการว่า ในปี 2010 ความช่วยเหลือจากต่างประเทศคิดเป็นประมาณ 97% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทั้งหมดของอัฟกานิสถานทีเดียว
(รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL)
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง