(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Israel a role model for Japan
By Takahiro Miyao
07/08/2012
ญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวมานานปีเต็มทีในการช่วยเหลือกอบกู้ตนเองให้หลุดพ้นจากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ นี่นับว่าตรงกันข้ามกับอิสราเอลซึ่งหลังจากที่ติดแหง็กอยู่ในช่วงเวลาอันน่าหดหู่ใจของตนในยุคทศวรรษ 1980 แล้ว ก็กลับมาประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นคำตอบสำหรับแดนอาทิตย์อุทัยจึงอาจจะอยู่ที่การสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ที่น่าจะเป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ก้าวออกไปทำกิจการกันที่ต่างประเทศ และหลังจากมั่งคั่งร่ำรวยกันแล้วจึงกลับมาช่วยเหลือบ้านเกิดเมืองนอนอีกทอดหนึ่ง
วลี “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” เคยเป็นวลีที่ถูกใช้ผูกโยงแนบชิดกับสภาพการณ์ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทว่าในปัจจุบันที่แดนอาทิตย์อุทัยกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและภาวะเงินฝืดตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงไม่มีใครเชื่อมต่อวลีนี้กับญี่ปุ่นอีกต่อไปแล้ว สำหรับชาวญี่ปุ่นจำนวนมากที่บากบั่นอุตสาหะทำงานหนักเหลือเกิน ทั้งเพื่อพวกเขาเอง เพื่อบริษัทของพวกเขา และเพื่อประเทศชาติของพวกเขามาอย่างยาวนานแล้ว นี่ย่อมเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็นฝันร้ายที่พาให้อกสั่นขวัญหายและหดหู่ทดท้อ
ทั้งๆ ที่ได้มีการใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในญี่ปุ่นเพื่อหาทางผลักดันหมุนเปลี่ยนสภาพการณ์ให้กระเตื้องดีขึ้น ตั้งแต่การใช้นโยบายต่างๆ ในทางกระตุ้นเศรษฐกิจ (การเพิ่มงบประมาณรายจ่าย, การใช้อัตราดอกเบี้ยระดับ 0%, และการผ่อนคลายในเชิงปริมาณ quantitative easing), การปฏิรูปในเชิงโครงการสร้าง (การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ, การลดเลิกระเบียบกฎเกณฑ์, และการเปิดตลาดให้มีความเสรียิ่งขึ้น), การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง (จากการมีพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ ที่มีแนวทางอนุรักษนิยม เป็นผู้ปกครองประเทศ มาเป็นการมีพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน เป็นแกนนำรัฐบาล), ตลอดจนอย่างอื่นๆ อีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงประมาณ 10 ปีหลังมานี้ กระนั้นก็ไม่มีอะไรเอาเสียเลยที่ทำท่าจะได้ผล และสถานการณ์กำลังย่ำแย่เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ ไม่เพียงในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ทางด้านการเมืองและทางด้านสังคมด้วย
มีนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่ยังคงพยายามโต้แย้งว่า ญี่ปุ่นยังใช้นโยบายกระตุ้นไม่มากเพียงพอแก่การช่วยเหลือเศรษฐกิจให้หลุดพ้นออกจากภาวะซบเซา แต่ข้อโต้แย้งเหล่านั้นกำลังก่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นหลักตรรกะที่กลวงเปล่า ในเมื่อเวลานี้ญี่ปุ่นทำท่าว่าจะติดแหง็กอย่างสิ้นเชิงอยู่ในวงจรอุบาทว์แห่งความเสื่อมถอยทั้งทางเศรษฐกิจ, สังคม, และประชากร แถมยังประสบกับความห่อเหี่ยวจากค่าเงินเยนที่เอาแต่แข็งขึ้น และหนี้สินภาคสาธารณะที่เบ่งบานขยายตัวยิ่งกว่าดอกเห็ดในฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิครั้งมโหฬารตลอดจนอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงในปี 2011
ระยะหลังๆ มานี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงกำลังหันไปใช้พวกมาตรการรัดเข็มขัดเข้มงวด แทนที่มาตรการกระตุ้นส่งเสริม และกำลังส่งผลให้เกิดการปรับองค์กรทางการเมืองกันใหม่อีกรอบหนึ่ง รวมทั้งเป็นไปได้ว่าจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง
ในเวลาเดียวกันนี้เอง ราวกับว่ามันเป็นภาพสะท้อนในกระจกที่ข้างซ้ายกลายเป็นข้างขวาและข้างขวากลับเป็นข้างซ้าย สำหรับให้ญี่ปุ่นได้พินิจพิจารณาโดยถนัดถนี่ เพราะมีชาติเล็กๆ ชาติหนึ่งกลับสามารถผงาดก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าของเศรษฐกิจโลกได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 ภายหลังที่มีประสบการณ์ผ่าน “ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า” (lost decade) ซึ่งเศรษฐกิจอยู่ในความยุ่งเหยิงอลหม่านในยุคทศวรรษ 1980 ประเทศที่ว่านี้แลดูเหมือนกับบริษัทก่อร่างสร้างตัวใหม่ขนาดเล็กๆ ทว่ากำลังตีแจ๊กพอตแห่งความสำเร็จจนแตกโพละได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอันชุลมุนวุ่นวาย
ประเทศดังกล่าวนี้คืออิสราเอล ซึ่งถูกจัดให้เป็น “ประเทศที่กำลังก่อร่างสร้างตัว” (start-up nation) แต่กำลังเข้าเทคโอเวอร์วลี “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” จากญี่ปุ่น ดังที่ แดน เซนญอร์ (Dan Senor) และ ซอล ซิงเกอร์ (Saul Singer) อธิบายเอาไว้ในหนังสือเรื่อง Start-Up Nation: The Story of Israel's Economic Miracle ที่จัดพิมพ์เมื่อปี 2009 นอกจากนั้น โจนาห์ เลเฮอร์ (Jonah Lehrer) ยังชี้เอาไว้เมื่อเร็วๆ นี้ในหนังสือขายดีของเขาที่ชื่อ Imagine: How Creativity Works จัดพิมพ์ในปี 2012 นี้เอง โดยที่ เลเฮอร์ เขียนเอาไว้ว่า “ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อิสราเอลสามารถผลิตกิจการประเภทไฮเทคซึ่งเป็นกิจการระดับก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่ๆ แต่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ได้มากกว่าญี่ปุ่น, อินเดีย, เกาหลี, ตลอดจนสหราชอาณาจักร”
ตามความคิดเห็นของผู้เขียนหนังสือเหล่านี้ การที่อิสราเอลประสบความสำเร็จในทางเศรษฐกิจในระยะ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ข้อใหญ่ใจความเลยมาจากความเป็นผู้ประกอบการที่กล้าเสี่ยงในภาคไฮเทคและในภาคที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งหลาย อีกทั้งได้รับการหนุนหลังจากภาคการธนาคารที่มั่นคง ตลอดจนเทคโนโลยีการทหารที่ก้าวหน้า ทั้งนี้ความสำเร็จอย่างมากมายมโหฬารจากความพยายามในแบบผู้ประกอบการเช่นนี้ น่าจะมาจากคุณสมบัติพิเศษเฉพาะบางอย่างบางประการของชาวอิสราเอลและสังคมอิสราเอล อันได้แก่ “การผสมผสานกันอย่างค่อนข้างผิดธรรมดาของนิสัยที่ให้ความสำคัญแก่ความเสมอกัน flat (ไม่ให้ความสำคัญแก่เรื่องฐานะลำดับชั้น not hierarchical), นิสัยที่มุ่งเน้นเรื่องการอบรมบ่มเพาะ nurturing (ไม่บังคับให้ยินยอม not assertive), และนิสัยที่นิยมความเป็นปัจเจกบุคคล individualistic (ไม่ใช่พวกนิยมลัทธิรวมหมู่ not collectivist)”
นิสัยทั้ง 3 ประการที่ดูเหมือนขัดแย้งกันเองเหล่านี้ อาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จในการดำเนินการสู้รบของกองทหาร เฉกเช่นเดียวกับในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของพวกกิจการที่กำลังก่อร่างสร้างตัวในระบบเศรษฐกิจ (เซนญอร์ และ ซิงเกอร์) การที่อิสราเอลใช้ระบบบังคับให้เข้ารับราชการทหาร ก็ดูเหมือนจะช่วยให้ผู้คนที่มีความแตกต่างกันหลายหลาก สามารถที่จะคบหารวมกลุ่มกันได้ ซึ่งนำไปสู่แนวความคิดใหม่ๆ และการสร้างนวัตกรรม (เลเฮอร์)
เรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมากสำหรับแดนอาทิตย์อุทัยก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่านิสัยต่างๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะการผสมผสานระหว่างความเสมอกัน กับ ความนิยมในความเป็นปัจเจกบุคคลนั้น เป็นสิ่งที่แทบไม่ได้พบไม่ได้เห็นกันเลยในญี่ปุ่น ซึ่งยังคงถูกครอบงำด้วยนิสัยที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างการถือฐานะลำดับชั้นและความนิยมลัทธิรวมหมู่ อย่างน้อยที่สุดก็ในหมู่พวกบริษัทใหญ่ๆ และองค์การสาธารณะใหญ่ๆ ทั้งหลาย
นอกจากนั้นชาวญี่ปุ่นยังมีความโน้มเอียงอย่างเข้มข้นที่ปรารถนาจะใช้ชีวิตอยู่แต่ภายในกลุ่มผู้คนละม้ายคล้ายคลึงกับพวกตนซึ่งทำให้รู้สึก “สบายอกสบายใจ” และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ “ไม่ชวนให้สบายอกสบายใจ” เมื่อต้องคบหารวมตัวกับผู้คนผิดแผกหลากหลายซึ่งมีภูมิหลังแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ญี่ปุ่นมีชื่อลือเลื่องในเรื่องที่มีความเป็นผู้ประกอบการน้อยที่สุดในบรรดาชาติที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าทั้งหลายของโลก
เมื่อถึงตรงนี้ ก็คงเกิดคำถามขึ้นมาว่า มันสายเกินไปหรือยังที่ญี่ปุ่นจะเรียนรู้จากอิสราเอลหรือจากประเทศอื่นๆ เกี่ยวกับนิสัยและคุณสมบัติเหล่านี้ คำตอบดูจะออกมาว่าสำหรับญี่ปุ่นในฐานะที่เป็นประเทศชาติแล้ว มันคงจะสายเกินไปเสียแล้ว แต่แน่นอนว่ามันยังไม่ได้สายเกินไปเลยสำหรับปัจเจกบุคคลชาวญี่ปุ่นบางคน หรือบริษัทญี่ปุ่นบางแห่ง
สิ่งที่บุคคลและบริษัทเหล่านี้ควรจะกระทำ น่าจะได้แก่การโยกย้ายออกจากญี่ปุ่นไปเริ่มต้นธุรกิจหรือเริ่มต้นกิจกรรมใดๆ ก็ตามซึ่งพวกเขาปรารถนาที่จะกระทำ ในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกับในอิสราเอล
สำหรับญี่ปุ่นในฐานะที่เป็นประเทศชาติ ความหวังเพียงอย่างเดียวที่มีอยู่ก็คือการยินยอมปล่อยให้ผู้คนเหล่านี้และธุรกิจเหล่านี้ไปอยู่ในต่างแดน และประสบความสำเร็จในสิ่งที่พวกเขากระทำนอกญี่ปุ่นไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตามที แล้วจากนั้นก็ใช้ประโยชน์จากความสำเร็จต่างๆ ของพวกเขา ด้วยการใช้ความเชื่อมโยงที่ญี่ปุ่นมีอยู่กับคนเหล่านี้ ก็เหมือนๆ กับที่ชาวอิสราเอลและชาวยิวในต่างแดนสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศอิสราเอล โดยผ่านความเชื่อมโยงนานารูปแบบตลอดจนปฏิสัมพันธ์อันมีอยู่อย่างมากมายหลากหลายนั่นเอง
ทากาฮิโร มิยาโอะ เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ (Emeritus Professor) ของมหาวิทยาลัยสึคุบะ (University of Tsukuba) และศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) ของมหาวิทยาลัยนานาชาติอาคิตะ (Akita International University) ประเทศญี่ปุ่น
บทความนี้ปรากฏอยู่ในส่วน Speaking Freely ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดให้นักเขียนรับเชิญจากภายนอกเขียนแสดงทัศนะความคิดเห็น โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานทางด้านบรรณาธิการในระดับเดียวกับพวกนักเขียนที่เขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นประจำ
Israel a role model for Japan
By Takahiro Miyao
07/08/2012
ญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวมานานปีเต็มทีในการช่วยเหลือกอบกู้ตนเองให้หลุดพ้นจากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ นี่นับว่าตรงกันข้ามกับอิสราเอลซึ่งหลังจากที่ติดแหง็กอยู่ในช่วงเวลาอันน่าหดหู่ใจของตนในยุคทศวรรษ 1980 แล้ว ก็กลับมาประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นคำตอบสำหรับแดนอาทิตย์อุทัยจึงอาจจะอยู่ที่การสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ที่น่าจะเป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ก้าวออกไปทำกิจการกันที่ต่างประเทศ และหลังจากมั่งคั่งร่ำรวยกันแล้วจึงกลับมาช่วยเหลือบ้านเกิดเมืองนอนอีกทอดหนึ่ง
วลี “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” เคยเป็นวลีที่ถูกใช้ผูกโยงแนบชิดกับสภาพการณ์ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทว่าในปัจจุบันที่แดนอาทิตย์อุทัยกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและภาวะเงินฝืดตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงไม่มีใครเชื่อมต่อวลีนี้กับญี่ปุ่นอีกต่อไปแล้ว สำหรับชาวญี่ปุ่นจำนวนมากที่บากบั่นอุตสาหะทำงานหนักเหลือเกิน ทั้งเพื่อพวกเขาเอง เพื่อบริษัทของพวกเขา และเพื่อประเทศชาติของพวกเขามาอย่างยาวนานแล้ว นี่ย่อมเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็นฝันร้ายที่พาให้อกสั่นขวัญหายและหดหู่ทดท้อ
ทั้งๆ ที่ได้มีการใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในญี่ปุ่นเพื่อหาทางผลักดันหมุนเปลี่ยนสภาพการณ์ให้กระเตื้องดีขึ้น ตั้งแต่การใช้นโยบายต่างๆ ในทางกระตุ้นเศรษฐกิจ (การเพิ่มงบประมาณรายจ่าย, การใช้อัตราดอกเบี้ยระดับ 0%, และการผ่อนคลายในเชิงปริมาณ quantitative easing), การปฏิรูปในเชิงโครงการสร้าง (การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ, การลดเลิกระเบียบกฎเกณฑ์, และการเปิดตลาดให้มีความเสรียิ่งขึ้น), การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง (จากการมีพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ ที่มีแนวทางอนุรักษนิยม เป็นผู้ปกครองประเทศ มาเป็นการมีพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน เป็นแกนนำรัฐบาล), ตลอดจนอย่างอื่นๆ อีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงประมาณ 10 ปีหลังมานี้ กระนั้นก็ไม่มีอะไรเอาเสียเลยที่ทำท่าจะได้ผล และสถานการณ์กำลังย่ำแย่เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ ไม่เพียงในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ทางด้านการเมืองและทางด้านสังคมด้วย
มีนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่ยังคงพยายามโต้แย้งว่า ญี่ปุ่นยังใช้นโยบายกระตุ้นไม่มากเพียงพอแก่การช่วยเหลือเศรษฐกิจให้หลุดพ้นออกจากภาวะซบเซา แต่ข้อโต้แย้งเหล่านั้นกำลังก่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นหลักตรรกะที่กลวงเปล่า ในเมื่อเวลานี้ญี่ปุ่นทำท่าว่าจะติดแหง็กอย่างสิ้นเชิงอยู่ในวงจรอุบาทว์แห่งความเสื่อมถอยทั้งทางเศรษฐกิจ, สังคม, และประชากร แถมยังประสบกับความห่อเหี่ยวจากค่าเงินเยนที่เอาแต่แข็งขึ้น และหนี้สินภาคสาธารณะที่เบ่งบานขยายตัวยิ่งกว่าดอกเห็ดในฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิครั้งมโหฬารตลอดจนอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงในปี 2011
ระยะหลังๆ มานี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงกำลังหันไปใช้พวกมาตรการรัดเข็มขัดเข้มงวด แทนที่มาตรการกระตุ้นส่งเสริม และกำลังส่งผลให้เกิดการปรับองค์กรทางการเมืองกันใหม่อีกรอบหนึ่ง รวมทั้งเป็นไปได้ว่าจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง
ในเวลาเดียวกันนี้เอง ราวกับว่ามันเป็นภาพสะท้อนในกระจกที่ข้างซ้ายกลายเป็นข้างขวาและข้างขวากลับเป็นข้างซ้าย สำหรับให้ญี่ปุ่นได้พินิจพิจารณาโดยถนัดถนี่ เพราะมีชาติเล็กๆ ชาติหนึ่งกลับสามารถผงาดก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าของเศรษฐกิจโลกได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 ภายหลังที่มีประสบการณ์ผ่าน “ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า” (lost decade) ซึ่งเศรษฐกิจอยู่ในความยุ่งเหยิงอลหม่านในยุคทศวรรษ 1980 ประเทศที่ว่านี้แลดูเหมือนกับบริษัทก่อร่างสร้างตัวใหม่ขนาดเล็กๆ ทว่ากำลังตีแจ๊กพอตแห่งความสำเร็จจนแตกโพละได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอันชุลมุนวุ่นวาย
ประเทศดังกล่าวนี้คืออิสราเอล ซึ่งถูกจัดให้เป็น “ประเทศที่กำลังก่อร่างสร้างตัว” (start-up nation) แต่กำลังเข้าเทคโอเวอร์วลี “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” จากญี่ปุ่น ดังที่ แดน เซนญอร์ (Dan Senor) และ ซอล ซิงเกอร์ (Saul Singer) อธิบายเอาไว้ในหนังสือเรื่อง Start-Up Nation: The Story of Israel's Economic Miracle ที่จัดพิมพ์เมื่อปี 2009 นอกจากนั้น โจนาห์ เลเฮอร์ (Jonah Lehrer) ยังชี้เอาไว้เมื่อเร็วๆ นี้ในหนังสือขายดีของเขาที่ชื่อ Imagine: How Creativity Works จัดพิมพ์ในปี 2012 นี้เอง โดยที่ เลเฮอร์ เขียนเอาไว้ว่า “ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อิสราเอลสามารถผลิตกิจการประเภทไฮเทคซึ่งเป็นกิจการระดับก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่ๆ แต่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ได้มากกว่าญี่ปุ่น, อินเดีย, เกาหลี, ตลอดจนสหราชอาณาจักร”
ตามความคิดเห็นของผู้เขียนหนังสือเหล่านี้ การที่อิสราเอลประสบความสำเร็จในทางเศรษฐกิจในระยะ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ข้อใหญ่ใจความเลยมาจากความเป็นผู้ประกอบการที่กล้าเสี่ยงในภาคไฮเทคและในภาคที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งหลาย อีกทั้งได้รับการหนุนหลังจากภาคการธนาคารที่มั่นคง ตลอดจนเทคโนโลยีการทหารที่ก้าวหน้า ทั้งนี้ความสำเร็จอย่างมากมายมโหฬารจากความพยายามในแบบผู้ประกอบการเช่นนี้ น่าจะมาจากคุณสมบัติพิเศษเฉพาะบางอย่างบางประการของชาวอิสราเอลและสังคมอิสราเอล อันได้แก่ “การผสมผสานกันอย่างค่อนข้างผิดธรรมดาของนิสัยที่ให้ความสำคัญแก่ความเสมอกัน flat (ไม่ให้ความสำคัญแก่เรื่องฐานะลำดับชั้น not hierarchical), นิสัยที่มุ่งเน้นเรื่องการอบรมบ่มเพาะ nurturing (ไม่บังคับให้ยินยอม not assertive), และนิสัยที่นิยมความเป็นปัจเจกบุคคล individualistic (ไม่ใช่พวกนิยมลัทธิรวมหมู่ not collectivist)”
นิสัยทั้ง 3 ประการที่ดูเหมือนขัดแย้งกันเองเหล่านี้ อาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จในการดำเนินการสู้รบของกองทหาร เฉกเช่นเดียวกับในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของพวกกิจการที่กำลังก่อร่างสร้างตัวในระบบเศรษฐกิจ (เซนญอร์ และ ซิงเกอร์) การที่อิสราเอลใช้ระบบบังคับให้เข้ารับราชการทหาร ก็ดูเหมือนจะช่วยให้ผู้คนที่มีความแตกต่างกันหลายหลาก สามารถที่จะคบหารวมกลุ่มกันได้ ซึ่งนำไปสู่แนวความคิดใหม่ๆ และการสร้างนวัตกรรม (เลเฮอร์)
เรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมากสำหรับแดนอาทิตย์อุทัยก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่านิสัยต่างๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะการผสมผสานระหว่างความเสมอกัน กับ ความนิยมในความเป็นปัจเจกบุคคลนั้น เป็นสิ่งที่แทบไม่ได้พบไม่ได้เห็นกันเลยในญี่ปุ่น ซึ่งยังคงถูกครอบงำด้วยนิสัยที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างการถือฐานะลำดับชั้นและความนิยมลัทธิรวมหมู่ อย่างน้อยที่สุดก็ในหมู่พวกบริษัทใหญ่ๆ และองค์การสาธารณะใหญ่ๆ ทั้งหลาย
นอกจากนั้นชาวญี่ปุ่นยังมีความโน้มเอียงอย่างเข้มข้นที่ปรารถนาจะใช้ชีวิตอยู่แต่ภายในกลุ่มผู้คนละม้ายคล้ายคลึงกับพวกตนซึ่งทำให้รู้สึก “สบายอกสบายใจ” และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ “ไม่ชวนให้สบายอกสบายใจ” เมื่อต้องคบหารวมตัวกับผู้คนผิดแผกหลากหลายซึ่งมีภูมิหลังแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ญี่ปุ่นมีชื่อลือเลื่องในเรื่องที่มีความเป็นผู้ประกอบการน้อยที่สุดในบรรดาชาติที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าทั้งหลายของโลก
เมื่อถึงตรงนี้ ก็คงเกิดคำถามขึ้นมาว่า มันสายเกินไปหรือยังที่ญี่ปุ่นจะเรียนรู้จากอิสราเอลหรือจากประเทศอื่นๆ เกี่ยวกับนิสัยและคุณสมบัติเหล่านี้ คำตอบดูจะออกมาว่าสำหรับญี่ปุ่นในฐานะที่เป็นประเทศชาติแล้ว มันคงจะสายเกินไปเสียแล้ว แต่แน่นอนว่ามันยังไม่ได้สายเกินไปเลยสำหรับปัจเจกบุคคลชาวญี่ปุ่นบางคน หรือบริษัทญี่ปุ่นบางแห่ง
สิ่งที่บุคคลและบริษัทเหล่านี้ควรจะกระทำ น่าจะได้แก่การโยกย้ายออกจากญี่ปุ่นไปเริ่มต้นธุรกิจหรือเริ่มต้นกิจกรรมใดๆ ก็ตามซึ่งพวกเขาปรารถนาที่จะกระทำ ในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกับในอิสราเอล
สำหรับญี่ปุ่นในฐานะที่เป็นประเทศชาติ ความหวังเพียงอย่างเดียวที่มีอยู่ก็คือการยินยอมปล่อยให้ผู้คนเหล่านี้และธุรกิจเหล่านี้ไปอยู่ในต่างแดน และประสบความสำเร็จในสิ่งที่พวกเขากระทำนอกญี่ปุ่นไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตามที แล้วจากนั้นก็ใช้ประโยชน์จากความสำเร็จต่างๆ ของพวกเขา ด้วยการใช้ความเชื่อมโยงที่ญี่ปุ่นมีอยู่กับคนเหล่านี้ ก็เหมือนๆ กับที่ชาวอิสราเอลและชาวยิวในต่างแดนสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศอิสราเอล โดยผ่านความเชื่อมโยงนานารูปแบบตลอดจนปฏิสัมพันธ์อันมีอยู่อย่างมากมายหลากหลายนั่นเอง
ทากาฮิโร มิยาโอะ เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ (Emeritus Professor) ของมหาวิทยาลัยสึคุบะ (University of Tsukuba) และศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) ของมหาวิทยาลัยนานาชาติอาคิตะ (Akita International University) ประเทศญี่ปุ่น
บทความนี้ปรากฏอยู่ในส่วน Speaking Freely ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดให้นักเขียนรับเชิญจากภายนอกเขียนแสดงทัศนะความคิดเห็น โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานทางด้านบรรณาธิการในระดับเดียวกับพวกนักเขียนที่เขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นประจำ