เอเจนซีส์ - ไอเอ็มเอฟปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงอีก พร้อมเตือนแนวโน้มอาจอึมครึมหนักขึ้น หากยูโรโซนไม่เร่งคลี่คลายวิกฤตหนี้ ซึ่งขณะนี้ก็ฉุดจีดีพีของพวกเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ให้ลดต่ำตามไปด้วยแล้ว
ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกรอบครึ่งปีที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันจันทร์ (16) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่าการส่งออกที่ดิ่งลงของบรรดาประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ ประกอบกับนโยบายก่อนหน้านี้ของพวกเขาในการป้องกันภาวะเติบโตร้อนแรงเกินไป น่าจะส่งผลให้การขยายตัวของชาติเหล่านี้ชะลอลงมากกว่าที่คาดไว้
ในรายงานล่าสุดฉบับนี้ ไอเอ็มเอฟปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกปีหน้าลงมาอยู่ที่ 3.9% จากระดับ 4.1% ที่ให้ไว้ในเดือนเมษายน รวมทั้งยังลดตัวเลขคาดการณ์ปี 2013 ทั้งของพวกประเทศก้าวหน้าและชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่อีกด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับตัวเลขคาดการณ์ของโลกในปีนี้ ไอเอ็มเอฟยังคงเดิมที่ 3.5%
ไอเอ็มเอฟบอกว่า เศรษฐกิจโลกซึ่งมีแนวโน้มอ่อนแอลลงมานี้ ยังคงมีความเสี่ยงขาลงอยู่มาก โดยความเสี่ยงเฉพาะหน้าที่สุดนั้น มาจากการดำเนินนโยบายที่ล่าช้าและไม่เพียงพอจนอาจทำให้วิกฤตยูโรลุกลามกว่าเดิมและส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม ทั้งนี้รายงานสำทับว่า สถานการณ์ในสเปนและอิตาลีอาจเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วท่ามกลางความกังวลของตลาดที่ว่าพวกผู้นำยุโรปยังคงมีปัญหาในการดำเนินการปฏิรูปให้แล้วเสร็จตามที่ประกาศ
รายงานฉบับนี้หั่นตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของยูโรโซนลงเหลือ 0.7% ในปีหน้า สำหรับปีนี้ยังคงเดิมคือติดลบ 0.3% โดยเฉพาะสเปนนั้น ไอเอ็มเอฟคิดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวทั้งปีนี้และปี 2013
ส่วนเศรษฐกิจของพวกประเทศก้าวหน้าโดยรวม ไอเอ็มเอฟคาดหมายว่าจะขยายตัวเพียง 1.4% ในปีนี้ และ 1.9% ในปีหน้า ขณะที่ตลาดเกิดใหม่จะเติบโต 5.9% ในปีหน้า และ 5.6% ในปีปัจจุบัน หรือลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว 0.1% เท่าๆ กัน
ไอเอ็มเอฟกล่าวชมเชยมาตรการซึ่งพวกผู้นำยุโรปตกลงกันได้ในระหว่างการประชุมสุดยอดเดือนมิถุนายน โดยระบุว่าเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม แต่ก็เรียกร้องให้ยุโรปมีการรวมตัวทางการคลังและการธนาคารมากขึ้น รวมทั้งให้จัดทำระบบรับประกันเงินฝากและกลไกแก้ปัญหาธนาคารที่อ่อนแอของทั่วทั้งยุโรป ตลอดจนกระตุ้นให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อัดฉีดสภาพคล่องซึ่งมีเงื่อนไขผ่อนปรนอย่างเพียงพอ เพื่อสนับสนุนฐานะของธนาคารต่างๆ
แต่รายงานฉบับนี้ก็ชี้ชัดว่า ไม่เพียงยุโรปเท่านั้นที่เผชิญความเสี่ยง โดยนอกจากลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจอเมริกาลงเล็กน้อยแล้ว ไอเอ็มเอฟยังชี้ว่าขณะนี้มีความกังวลเกี่ยวกับการประลองกำลังทางการเมืองในวอชิงตันซึ่งกำลังดุเดือดยิ่งขึ้น ซึ่งจะกระทบกระเทือนการมองหาวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องเสียหายหนักจากการต้องใช้แผนการลดการใช้จ่ายและขึ้นภาษีแบบอัตโนมัติต้นปีหน้า
โอลิวิเยร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ แจกแจงว่าสหรัฐฯ กำลังยืนอยู่ที่ “ริมหน้าผาทางการคลัง” จากการที่มาตรการลดภาษีสมัยอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชกำลังจะหมดอายุลง และการที่ในต้นปีหน้าจะต้องลดการใช้จ่ายอัตโนมัติ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมากพอที่จะน็อคเศรษฐกิจแดนอินทรีกลับสู่ภาวะถดถอย รวมทั้งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าอื่นๆ ถ้าหากรัฐสภาอเมริกันยังไม่สามารถหาหนทางประนีประนอมเพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องนี้
สำหรับตลาดเกิดใหม่นั้น ไอเอ็มเอฟระบุว่า แม้ไม่สามารถขยายตัวในอัตราตัวเลขสองหลักต่อปีได้อีกต่อไป แต่การเติบโตของประเทศในกลุ่มนี้ยังถือว่าเข้มแข็งดี รวมถึงมีช่องทางในการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาอัตราเติบโต
ไอเอ็มเอฟยังระบุว่า ตลาดเกิดใหม่โดยรวมดำเนินมาตรการรับมือภาวะทรุดตัวอย่างถูกต้อง แม้หลายประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากการที่นักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นตกและเงินทุนไหลออก รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง
ในรายงานนี้ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจจีนปีนี้เป็น 8% ในปีนี้ และ 8.5% ในปีหน้า จากที่คาดไว้เดิม ณ 8.2% และ 8.8% ตามลำดับ เช่นเดียวกับอินเดียที่ถูกลดจาก 6.9% เหลือ 6.1% ในปีนี้ และจาก 7.3% ก็เหลือ 6.5% ในปี 2013
ตรงข้ามกับเยอรมนีและญี่ปุ่นที่ได้รับการปรับเพิ่มแนวโน้มการเติบโตปีนี้เป็น 1% และ 2.4% ตามลำดับ แม้อัตราเติบโตปีหน้าขยับลงเล็กน้อยทั้งสองประเทศก็ตาม
ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกรอบครึ่งปีที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันจันทร์ (16) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่าการส่งออกที่ดิ่งลงของบรรดาประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ ประกอบกับนโยบายก่อนหน้านี้ของพวกเขาในการป้องกันภาวะเติบโตร้อนแรงเกินไป น่าจะส่งผลให้การขยายตัวของชาติเหล่านี้ชะลอลงมากกว่าที่คาดไว้
ในรายงานล่าสุดฉบับนี้ ไอเอ็มเอฟปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกปีหน้าลงมาอยู่ที่ 3.9% จากระดับ 4.1% ที่ให้ไว้ในเดือนเมษายน รวมทั้งยังลดตัวเลขคาดการณ์ปี 2013 ทั้งของพวกประเทศก้าวหน้าและชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่อีกด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับตัวเลขคาดการณ์ของโลกในปีนี้ ไอเอ็มเอฟยังคงเดิมที่ 3.5%
ไอเอ็มเอฟบอกว่า เศรษฐกิจโลกซึ่งมีแนวโน้มอ่อนแอลลงมานี้ ยังคงมีความเสี่ยงขาลงอยู่มาก โดยความเสี่ยงเฉพาะหน้าที่สุดนั้น มาจากการดำเนินนโยบายที่ล่าช้าและไม่เพียงพอจนอาจทำให้วิกฤตยูโรลุกลามกว่าเดิมและส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม ทั้งนี้รายงานสำทับว่า สถานการณ์ในสเปนและอิตาลีอาจเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วท่ามกลางความกังวลของตลาดที่ว่าพวกผู้นำยุโรปยังคงมีปัญหาในการดำเนินการปฏิรูปให้แล้วเสร็จตามที่ประกาศ
รายงานฉบับนี้หั่นตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของยูโรโซนลงเหลือ 0.7% ในปีหน้า สำหรับปีนี้ยังคงเดิมคือติดลบ 0.3% โดยเฉพาะสเปนนั้น ไอเอ็มเอฟคิดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวทั้งปีนี้และปี 2013
ส่วนเศรษฐกิจของพวกประเทศก้าวหน้าโดยรวม ไอเอ็มเอฟคาดหมายว่าจะขยายตัวเพียง 1.4% ในปีนี้ และ 1.9% ในปีหน้า ขณะที่ตลาดเกิดใหม่จะเติบโต 5.9% ในปีหน้า และ 5.6% ในปีปัจจุบัน หรือลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว 0.1% เท่าๆ กัน
ไอเอ็มเอฟกล่าวชมเชยมาตรการซึ่งพวกผู้นำยุโรปตกลงกันได้ในระหว่างการประชุมสุดยอดเดือนมิถุนายน โดยระบุว่าเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม แต่ก็เรียกร้องให้ยุโรปมีการรวมตัวทางการคลังและการธนาคารมากขึ้น รวมทั้งให้จัดทำระบบรับประกันเงินฝากและกลไกแก้ปัญหาธนาคารที่อ่อนแอของทั่วทั้งยุโรป ตลอดจนกระตุ้นให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อัดฉีดสภาพคล่องซึ่งมีเงื่อนไขผ่อนปรนอย่างเพียงพอ เพื่อสนับสนุนฐานะของธนาคารต่างๆ
แต่รายงานฉบับนี้ก็ชี้ชัดว่า ไม่เพียงยุโรปเท่านั้นที่เผชิญความเสี่ยง โดยนอกจากลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจอเมริกาลงเล็กน้อยแล้ว ไอเอ็มเอฟยังชี้ว่าขณะนี้มีความกังวลเกี่ยวกับการประลองกำลังทางการเมืองในวอชิงตันซึ่งกำลังดุเดือดยิ่งขึ้น ซึ่งจะกระทบกระเทือนการมองหาวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องเสียหายหนักจากการต้องใช้แผนการลดการใช้จ่ายและขึ้นภาษีแบบอัตโนมัติต้นปีหน้า
โอลิวิเยร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ แจกแจงว่าสหรัฐฯ กำลังยืนอยู่ที่ “ริมหน้าผาทางการคลัง” จากการที่มาตรการลดภาษีสมัยอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชกำลังจะหมดอายุลง และการที่ในต้นปีหน้าจะต้องลดการใช้จ่ายอัตโนมัติ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมากพอที่จะน็อคเศรษฐกิจแดนอินทรีกลับสู่ภาวะถดถอย รวมทั้งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าอื่นๆ ถ้าหากรัฐสภาอเมริกันยังไม่สามารถหาหนทางประนีประนอมเพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องนี้
สำหรับตลาดเกิดใหม่นั้น ไอเอ็มเอฟระบุว่า แม้ไม่สามารถขยายตัวในอัตราตัวเลขสองหลักต่อปีได้อีกต่อไป แต่การเติบโตของประเทศในกลุ่มนี้ยังถือว่าเข้มแข็งดี รวมถึงมีช่องทางในการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาอัตราเติบโต
ไอเอ็มเอฟยังระบุว่า ตลาดเกิดใหม่โดยรวมดำเนินมาตรการรับมือภาวะทรุดตัวอย่างถูกต้อง แม้หลายประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากการที่นักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นตกและเงินทุนไหลออก รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง
ในรายงานนี้ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจจีนปีนี้เป็น 8% ในปีนี้ และ 8.5% ในปีหน้า จากที่คาดไว้เดิม ณ 8.2% และ 8.8% ตามลำดับ เช่นเดียวกับอินเดียที่ถูกลดจาก 6.9% เหลือ 6.1% ในปีนี้ และจาก 7.3% ก็เหลือ 6.5% ในปี 2013
ตรงข้ามกับเยอรมนีและญี่ปุ่นที่ได้รับการปรับเพิ่มแนวโน้มการเติบโตปีนี้เป็น 1% และ 2.4% ตามลำดับ แม้อัตราเติบโตปีหน้าขยับลงเล็กน้อยทั้งสองประเทศก็ตาม