(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The murder of Yasser Arafat
By Sami Moubayed
13/07/2012
หลักฐานกำลังปรากฏเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาเกือบๆ 8 ปีที่ผ่านมาภายหลังการถึงแก่มรณกรรมของเขา ว่าแท้ที่จริงแล้ว ยัสเซอร์ อาราฟัต เสียชีวิตด้วยการถูกฆาตกรรม โดยน่าจะถูกวางยาพิษด้วยสารกัมมันตรังสีพอโลเนียม สำหรับตัวการสำคัญที่น่าสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อเหตุคราวนี้ คนหนึ่งคืออดีตนายกรัฐมนตรี เอเรียล ชารอน ของอิสราเอล ส่วนอีกคนหนึ่งคือ โมฮัมหมัด ดาห์ลัน อดีตหัวหน้าใหญ่ฝ่ายความมั่นคงของปาเลสไตน์ ทว่าก็มีคนอื่นๆ อีกไม่ใช่น้อย ซึ่งรู้สึกยินดีปรีดาที่ได้เห็นการสิ้นชีพของบุรุษผู้มีคุณสมบัติอันค่อนข้างหายากประการหนึ่งในโลกอาหรับ นั่นก็คือ ความเป็นผู้นิยมชมชื่นประชาธิปไตย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ในเดือนกรกฎาคม 2009 ฟารุค อัล-คัดดูมิ (Farouk al-Kaddoumi) สมาชิกอาวุโสของพรรคฟาตาห์ ได้กล่าวหา โมฮัมหมัด ดาห์ลัน อดีตหัวหน้าใหญ่ด้านความมั่นคงปลอดภัยขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) อย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนว่า เป็นผู้สังหาร ยัสเซอร์ อาราฟัต ในการให้สัมภาษณ์ อัล-ญะซีเราะห์ จากประเทศจอร์แดน คัดดูมิ ได้เปิดเผยเนื้อหาของเอกสารลับฉบับหนึ่ง (ซึ่งเขาอ้างว่าอาราฟัตเป็นผู้นำออกมาให้เขาดูด้วยตนเอง) ระบุถึงการพบปะหารือกันระหว่าง เอเรียล ชารอน, มาหมุด อับบาส, ดาห์ลัน, ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ วิลเลียม เบิร์นส์ (William Burns), และเจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) อีกจำนวนหนึ่ง การประชุมหารือกันคราวนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อพูดถึงการกำจัดอาราฟัต และ อับดุล อาซิส รันติซี (Abdul Aziz Rantisi) ผู้นำของกลุ่มฮามาส (รันติซี ถูกอิสราเอลลอบสังหารไปในที่สุดในเดือนเมษายน 2004)
คัดดูมิ บอกว่าเขาได้แนะนำอาราฟัตให้หลบหนีออกไปจากเมืองรามัลเลาะห์ เนื่องจากเห็นว่าภัยคุกคามชีวิตของผู้นำปาเลสไตน์ผู้นี้เป็นเรื่องจริงจังที่ไม่ควรประมาท แต่อาราฟัตผู้ชราตอบปฏิเสธอย่างห้วนๆ เหนือสิ่งอื่นใดเลยอาราฟัตเป็นผู้ที่มีศรัทธาอย่างแน่วแน่มั่นคงในเรื่องชะตากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เขารอดชีวิตมาได้ราวกับปาฏิหาริย์จากเหตุการณ์เครื่องบินตกในลิเบีย ทั้งๆ ที่บุคคลอื่นๆ ทั้งหมดที่อยู่บนเครื่องบินลำนั้นต่างเสียชีวิต ในการแถลงตอบโต้ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว ซึ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วตลอดทั่วทั้งอาณาบริเวณที่มีชาวปาเลสไตน์พำนักอาศัยอยู่ อับบาสบอกว่า “คัดดูมิอ้างว่ามีเอกสารที่มีอายุ 5 ปีแล้วอยู่ในความครอบครอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ (ว่าข้อกล่าวหาของเขาเป็นความจริง) แล้วทำไมเขาจึงไม่เปิดเผยหลักฐานเหล่านี้ในทันทีเลยล่ะ”
อับบาส ซึ่งมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดทั้งกับ คัดดูมิ และ อาราฟัต มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 แล้ว ระบุว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้เป็น “การโกหกหลอกลวง” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อบิดเบือนภาพลักษณ์ของเขา ทางด้าน คัดดูมิ นั้นยังได้เรียกร้องให้จัดตั้งคณะสอบสวนระหว่างประเทศชุดหนึ่งขึ้นมาดำเนินการติดตามสืบสวนการถึงแก่มรณกรรมของอาราฟัต ทำนองเดียวกับคณะสอบสวนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อติดตามสืบสวนการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี ราฟิค ฮาริรี (Rafik Hariri) ของเลบานอนในปี 2005
ในเรื่องการลอบวางยาพิษอาราฟัตนั้น น่าจะไม่ใช่เป็นงานยากลำบากอะไรนัก พวกที่รู้จักเขาดีต่างสามารถหยิบยกเล่าขานเรื่องราวจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรักษาความปลอดภัยของเขามีความหย่อนยานหละหลวมขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เขามักรับประทานอาหารที่คนแปลกหน้าหยิบยื่นให้อยู่เป็นประจำ และพร้อมเข้าจุมพิตหรือสวมกอดใครก็ตามซึ่งพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ ระหว่างติดอยู่ในกรุงเบรุตซึ่งถูกปิดล้อมในปี 1982 อาราฟัตมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องการไปหาที่นอนใกล้ๆ กับพวกด่านตรวจค้นของอิสราเอล ด้วยความเชื่อว่า ชารอน จะต้องไม่ติดตามค้นหาเขาในบริเวณที่ใกล้ๆ กับสถานที่พำนักอาศัยของศัตรูถึงขนาดนั้น
ท่านผู้อ่านหลายๆ คนอาจตั้งคำถามขึ้นมาว่า ทำไมกรณีของอาราฟัตจึงกลับมาถือกันว่ามีความสำคัญอย่างมากมายขนาดนี้ในทุกวันนี้ ในเมื่อมีชาวอาหรับนับพันๆ กำลังล้มตายลงไปในแต่ละวันในการลุกฮือก่อกบฏที่ซีเรีย (ถ้าหากจะต้องหยิบยกอะไรขึ้นมาเป็นตัวอย่าง) รวมทั้งยังมีคนอื่นๆ อีกมากมายที่ถูกสังหารด้วยน้ำมือของระบอบปกครองลิเบียในเดือนกุมภาพันธ์ 2011
คำตอบที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ ยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นผู้นำชาวอาหรับเพียงคนเดียวซึ่งหากยังคงมีชีวิตอยู่จนถึงวันนี้ ก็จะรักษาตัวให้รอดพ้นจากกระแส “อาหรับสปริง” (Arab Spring) ได้อย่างสบายๆ ในยุคสมัยที่มีแต่ทรราชชาวอาหรับและผู้เผด็จการทางทหาร เขาเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการประชาธิปไตยเพียงคนเดียวในโลกอาหรับ (แน่นอนล่ะ อาจจะมีข้อยกเว้นในกรณีของเลบานอน) ซึ่งเป็นคำอธิบายว่าทำไมบุคคลร่วมสมัยของเขาทั้งหลายทั้งปวงจึงพากันจงเกลียดจงชังเขา และปรารถนาที่จะเห็นวาระสิ้นสุดของประธานองค์การปลดแอกปาเลสไตน์รายนี้
ขณะที่พวกเขาต่างพากันรีดเค้นเอาจากคนร่ำรวยในประเทศของพวกเขา และฉวยโอกาสใช้ประโยชน์เอาจากอุดมการณ์การต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์จนเหือดแห้ง อาราฟัตกลับเป็นบุคคลที่โดดเด่นในเรื่องไม่มีความเห็นแก่ตัว เขาอุทิศชีวิตทั้งชีวิตของเขาให้แก่อุดมการณ์ที่เขาเชื่อมั่นยึดถืออย่างมั่นคง เขาไม่คิดที่จะยกอำนาจให้เป็นมรดกสืบทอดแก่ทายาทที่ตัวเขาเป็นผู้ทำการเลือกสรร และไม่เคยเลยที่เขาจะทำการปราบปรามเล่นงานพวกที่วิพากษ์วิจารณ์เขา หรือยิงทิ้งพลเมืองชาวปาเลสไตน์แม้แต่คนเดียว ในช่วงเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีภายหลังข้อตกลงออสโล (Oslo Accords) ปี 1993
ไม่มีรูปปั้นอนุสาวรีย์ของอาราฟัตตั้งตระหง่านประดับประดาภูมิทัศน์ในดินแดนฉนวนกาซาหรือดินแดนฝั่งตะวันตกแม่น้ำจอร์แดน (เวสต์แบงก์) เลยแม้แต่รูปเดียวในห้วงวาระแห่งการครองอำนาจของเขาในทศวรรษ 1990 ไม่เหมือนกับพวกผู้นำอาหรับคนอื่นๆ ซึ่งมีกองทัพอันใหญ่โตมหึมาเอาไว้พึ่งพาอาศัยในยามสงคราม, มีกองกำลังตำรวจลับเอาไว้ใช้ในยามสันติ, และมีกลไกลสื่อมวลชนของรัฐอันใหญ่โตมโหฬาร อาราฟัตกลับไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย เขาไม่มีกองกำลังอาวุธที่เป็นกองทัพอย่างแท้จริง, ไม่มีคุกมืดใต้ดินเอาไว้กักขังจองจำเหล่าปรปักษ์ของเขา, และในยุคสมัยของสื่อสารมวลชนตลอดจนโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เขาคือภัยพิบัติที่เดินได้และพูดได้
ขณะที่ผู้นำอาหรับที่ร่วมสมัยเดียวกับเขา ต่างสวมชุดสูทแบบตะวันตกซึ่งรีดเรียบ และร่างกายหน้าตาดูสะอาดสะอ้านโกนเคราเกลี้ยงเกลา แลดูเหมือนๆ กับพวกผู้นำของประเทศยุโรปทั้งหลาย อาราฟัตกลับมีหน้าตาท่าทางของผู้นำขบวนการต่อต้านอย่างชัดเจน เขาสวมชุดเครื่องแบบทหารสีกากีที่ยับยู่ยี่อยู่เป็นประจำ และมักมีปืนพกซุกอยู่ที่ข้างเอว เขาเป็นกระจกสะท้อนภาพลักษณ์แห่งประชาชนของเขาที่สมบูรณ์แบบจริงๆ เป็นตัวแทนของการปฏิวัติและการต้านทานศัตรูต่างชาติผู้ยึดครอง
ในจอร์แดน เขาเคยรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับเหล่าทหารของเขาตามค่ายทหารแห่งต่างๆ , นอนหลับนิทราในแคมป์ของพวกเขา, และใช้เวลาอย่างมีคุณภาพกับพวกเขา ในกรุงเบรุต เขาเข้าร่วมงานแต่งงาน, งานศพ, และใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับพวกเขา แม้กระทั่งเมื่อมีตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐอยู่ในเมืองรามัลเลาะห์ และนครกาซา เขาก็ไม่เคยเปลี่ยนสีแปรธาตุทรยศต่อชาวปาเลสไตน์ เขาจะปรากฏตัวตามโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยที่ในภาพซึ่งปรากฏทางโทรทัศน์ครั้งหนึ่ง เขาก้มตัวลงจูบเท้าของเด็กชายชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับบาดเจ็บผู้หนึ่ง พวกที่วิพากษ์วิจารณ์เขาโต้แย้งว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเพียงการแสดงละคร ไม่ได้แตกต่างอะไรจากการที่เขาออกมาบริจาคเลือดให้แก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายในเหตุการณ์โจมตีในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001
เป็นความจริงทีเดียวว่าพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะเป็นการแสดง แต่มันก็มีมนตร์ขลังสะกดประชาชนของเขา แล้วเขาเป็นคนทุจริตคอร์รัปชั่นหรือเปล่า อาราฟัตนั้นคือนักคอร์รัปชั่นชั้นเลิศทีเดียว เขาทราบดีว่าจะต้องใช้อะไรมาล่อหลอกให้ผู้คนตกเข้าไปในวงโคจรทางการเมืองของเขา และต้องจ่ายกันสักขนาดไหนจึงจะทำให้พวกเขาปิดปากเงียบกริบไปตลอดกาล แต่ความชำนาญช่ำชองเช่นนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นคุณสมบัติของภรรยาของเขาด้วย เธอผู้นี้ใช้ชีวิตแบบไลฟ์สไตล์ฟุ่มเฟือยหรูหราในตูนีเซียและฝรั่งเศส ขณะที่พี่น้องร่วมชาติของเธอยังต้องลำบากทุกข์ยากทั้งเนื่องจากถูกอิสราเอลยึดครอง, ภาวะสงคราม, และความยากจน
เนื่องจากกระแสอาหรับสปริงนั่นแหละ ที่ทำให้ยัสเซอร์ อาราฟัต กลายเป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การจดจำและควรที่จะได้รับความยุติธรรม ในท่ามกลางเพื่อนบ้านที่มีแต่จอมเผด็จการ มีแต่เขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ผู้รักประชาธิปไตยที่แท้จริง และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมทุกๆ คนจึงต้องการให้เขาสิ้นชีวิตลงไป
**หมายเหตุผู้แปล**
[1] องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (Palestinian National Authority หรือ PNA) หรือ องค์การบริหารปาเลสไตนล์ (Palestinian Authority หรือ PA) (อิสราเอลเรียกองค์การนี้ว่า PA ขณะที่ฝ่ายปาเลสไตน์เรียกว่า PNA) จัดตั้งขึ้นในปี1994 เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บริหารปกครองดินแดนส่วนต่างๆ ใน เวสต์แบงก์ (West Bank เขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน) และ ฉนวนกาซา (Gaza Strip) ซึ่งได้ถูกอิสราเอลเข้ายึดครอง ในรูปแบบของการให้ชาวปาเลสไตน์ได้ปกครองตนเองอย่างจำกัด ทั้งนี้เป็นไปตาม “ข้อตกลงออสโล” (Oslo Accords) ระหว่างองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization หรือ PLO) กับรัฐบาลอิสราเอล องค์การนี้ถูกกำหนดว่าจะมีอายุเพียง 5 ปี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายทำการเจรจากันเพื่อกำหนดสถานะในขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม จวบจนถึงปี 2012 หรือก็คือ PA ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้วกว่า 17 ปี ก็ยังคงไม่สามารถจัดทำกำหนดสถานะขั้นสุดท้ายกันได้ (ข้อมูลจาก Wikipedia และ Mideastweb)
[2] ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำคนสำคัญของชาวปาเลสไตน์ในช่วงปลายปี 1967 ภายหลัง “สงคราม 6 วัน” ระหว่างอิสราเอลกับฝ่ายอาหรับในเดือนมิถุนายน 1967 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการที่ฝ่ายอาหรับพ่ายแพ้ย่อยยับ และอิสราเอลสามารถยึดครองดินแดนของอาหรับได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้ง เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[3] เมืองรามัลเลาะห์ (Ramallah) เป็นเมืองของชาวปาเลสไตน์ซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางของเขตเวสต์แบงก์ ห่างจากนครเยรูซาเลมไปทางเหนือราว 10 กิโลเมตร ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงด้านการบริหารปกครองโดยพฤตินัยขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[4] สงครามปี 1948 หมายถึงสงครามที่สู้รบกันระหว่างรัฐอิสราเอลกับกองทหารพันธมิตรของรัฐอาหรับและกองกำลังอาหรับปาเลสไตน์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล ในอิสราเอลเรียกสงครามคราวนี้ว่าเป็น “สงครามแห่งเอกราช” หรือ “สงครามปลดแอก” ส่วนในโลกอาหรับเรียกว่า “ความหายนะ” (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[5] กลุ่มฮามาส (Hamas) เป็นอักษรย่อภาษาอาหรับของ “ขบวนการต่อต้านนิยมอิสลาม Islamic Resistance Movement” โดยที่ ฮามาส เป็นคำในภาษาอาหรับซึ่งแปลว่า “ความกระตือรือร้น” กลุ่มฮามาสคือพรรคการเมืองแนวทางเคร่งครัดหลักศาสนาอิสลามของชาวปาเลสไตน์นิกายสุหนี่ ซึ่งเป็นผู้ปกครองดินแดนฉนวนกาซามาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2007 ภายหลังจากชนะได้เสียงส่วนข้างมากในรัฐสภาปาเลสไตน์ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2006 จากนั้นก็ยังความปราชัยให้แก่องค์การการเมืองของพรรคฟาตาห์ ในการปะทะกันด้วยความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทางสหภาพยุโรป, สหรัฐฯ, แคนาดา, อิสราเอล, และญี่ปุ่น ประกาศว่าฮามาสเป็นองค์การก่อการร้าย แต่บรรดาชาติอาหรับและประเทศอื่นๆ เช่น รัสเซีย ไม่เห็นว่าเป็นเช่นนั้น (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[6] กลุ่มฟาตาห์ (Fatah) เป็นพรรคการเมืองสำคัญพรรคหนึ่งของชาวปาเลสไตน์ และเป็นฝักฝ่ายที่ใหญ่ที่สุดขององค์การปลดแอกปาเลสไตน์ (PLO) ซึ่งมีลักษณะเป็นสมาพันธ์ของพรรคและกลุ่มการเมืองต่างๆ หลายหลาก ถึงแม้ฟาตาห์ถือเป็นฝ่ายซ้ายของแวดวงการเมืองชาวปาเลสไตน์ แต่ลักษณะเด่นที่สุดของพรรคก็เป็นพวกชาตินิยมมากกว่าเป็นนักสังคมประชาธิปไตย โดยทั่วไปแล้วเห็นกันว่า ฟาตาห์มีความเกี่ยวข้องพัวพันอย่างแข็งขันกับการต่อสู้ปฏิวัติในอดีต และปัจจุบันก็ยังคงมีกลุ่มหัวรุนแรง/ก่อการร้ายในสังกัดอยู่จำนวนหนึ่ง
ในช่วงที่ ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้ก่อตั้งกลุ่มนี้ยังมีชีวิตอยู่นั้น ฟาตาห์ถูกมองว่ามีความเป็นเอกภาพสูงมากภายใต้การนำของตัวอาราฟัตเอง แต่หลังจากเขาสิ้นชีวิตลงในปี 2004 ก็มองเห็นชัดเจนมากขึ้นว่าขบวนการนี้มีความแตกต่างหลากหลายในทางแนวความคิดอุดมการณ์
ภายหลังที่ฟาตาห์พ่ายแพ้สูญเสียเสียงข้างมากให้แก่ฮามาสในการเลือกตั้งรัฐสภาปาเลสไตน์ปี 2006 พรรคได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีทั้งหมด เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน แต่ชัยชนะของฮามาสก็นำไปสู่การแตกแยกระหว่างพรรคการเมืองหลักของชาวปาเลสไตน์ทั้งสองพรรคนี้ โดยที่ฟาตาห์ยังคงควบคุมองค์การบริหารปาเลสไตน์ (PNA) ในเขตเวสต์แบงก์เอาไว้ กระทั่งในเดือนเมษายน 2011 เจ้าหน้าที่ของทั้งฮามาสและฟาตาห์ประกาศว่า ทั้งสองพรรคบรรลุข้อตกลงขั้นต้นที่จะรวมตัวกันเป็นรัฐบาลหนึ่งเดียว โดยที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งในปี 2012 นี้ด้วย (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[7] ข้อตกลงออสโล (Oslo Accords) เป็นข้อตกลงฉบับแรกที่เกิดขึ้นจากการเจรจาโดยตรงระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) การเจรจากระทำเป็นความลับในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ และสำเร็จเสร็จสิ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 1993 จากนั้นจึงไปลงนามกันอย่างเป็นทางการที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 13 กันยายน 1993 ข้อตกลงฉบับนี้มีลักษณะเป็นแผนแม่บทสำหรับการเจรจากันและความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคตระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ซึ่ง “ประเด็นปัญหาสถานะสุดท้าย” ที่ยังคั่งค้างอยู่ระหว่างทั้งสองฝ่ายจะได้รับการพิจารณาและตกลงกัน ทว่าจวบจนกระทั่งบัดนี้ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถสร้างความคืบหน้าในเรื่องนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาสำคัญประการหนึ่งของข้อตกลงออสโล ก็ทำให้มีการก่อตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) ขึ้นมาทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารปกครองภายในดินแดนส่วนต่างๆ ของเวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา ขณะที่เรียกร้องให้กองทหารอิสราเอลถอนตัวออกไปจากดินแดนเหล่านี้ (ข้อมูลจาก Wikipedia)
ซามี มูบายเอด เป็นนักวิเคราะห์การเมืองชาวซีเรีย เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Steel & Silk: Men and Women Who Shaped Syria 1900-2000 (Cune Press 2005)
The murder of Yasser Arafat
By Sami Moubayed
13/07/2012
หลักฐานกำลังปรากฏเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาเกือบๆ 8 ปีที่ผ่านมาภายหลังการถึงแก่มรณกรรมของเขา ว่าแท้ที่จริงแล้ว ยัสเซอร์ อาราฟัต เสียชีวิตด้วยการถูกฆาตกรรม โดยน่าจะถูกวางยาพิษด้วยสารกัมมันตรังสีพอโลเนียม สำหรับตัวการสำคัญที่น่าสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อเหตุคราวนี้ คนหนึ่งคืออดีตนายกรัฐมนตรี เอเรียล ชารอน ของอิสราเอล ส่วนอีกคนหนึ่งคือ โมฮัมหมัด ดาห์ลัน อดีตหัวหน้าใหญ่ฝ่ายความมั่นคงของปาเลสไตน์ ทว่าก็มีคนอื่นๆ อีกไม่ใช่น้อย ซึ่งรู้สึกยินดีปรีดาที่ได้เห็นการสิ้นชีพของบุรุษผู้มีคุณสมบัติอันค่อนข้างหายากประการหนึ่งในโลกอาหรับ นั่นก็คือ ความเป็นผู้นิยมชมชื่นประชาธิปไตย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ในเดือนกรกฎาคม 2009 ฟารุค อัล-คัดดูมิ (Farouk al-Kaddoumi) สมาชิกอาวุโสของพรรคฟาตาห์ ได้กล่าวหา โมฮัมหมัด ดาห์ลัน อดีตหัวหน้าใหญ่ด้านความมั่นคงปลอดภัยขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) อย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนว่า เป็นผู้สังหาร ยัสเซอร์ อาราฟัต ในการให้สัมภาษณ์ อัล-ญะซีเราะห์ จากประเทศจอร์แดน คัดดูมิ ได้เปิดเผยเนื้อหาของเอกสารลับฉบับหนึ่ง (ซึ่งเขาอ้างว่าอาราฟัตเป็นผู้นำออกมาให้เขาดูด้วยตนเอง) ระบุถึงการพบปะหารือกันระหว่าง เอเรียล ชารอน, มาหมุด อับบาส, ดาห์ลัน, ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ วิลเลียม เบิร์นส์ (William Burns), และเจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) อีกจำนวนหนึ่ง การประชุมหารือกันคราวนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อพูดถึงการกำจัดอาราฟัต และ อับดุล อาซิส รันติซี (Abdul Aziz Rantisi) ผู้นำของกลุ่มฮามาส (รันติซี ถูกอิสราเอลลอบสังหารไปในที่สุดในเดือนเมษายน 2004)
คัดดูมิ บอกว่าเขาได้แนะนำอาราฟัตให้หลบหนีออกไปจากเมืองรามัลเลาะห์ เนื่องจากเห็นว่าภัยคุกคามชีวิตของผู้นำปาเลสไตน์ผู้นี้เป็นเรื่องจริงจังที่ไม่ควรประมาท แต่อาราฟัตผู้ชราตอบปฏิเสธอย่างห้วนๆ เหนือสิ่งอื่นใดเลยอาราฟัตเป็นผู้ที่มีศรัทธาอย่างแน่วแน่มั่นคงในเรื่องชะตากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เขารอดชีวิตมาได้ราวกับปาฏิหาริย์จากเหตุการณ์เครื่องบินตกในลิเบีย ทั้งๆ ที่บุคคลอื่นๆ ทั้งหมดที่อยู่บนเครื่องบินลำนั้นต่างเสียชีวิต ในการแถลงตอบโต้ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว ซึ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วตลอดทั่วทั้งอาณาบริเวณที่มีชาวปาเลสไตน์พำนักอาศัยอยู่ อับบาสบอกว่า “คัดดูมิอ้างว่ามีเอกสารที่มีอายุ 5 ปีแล้วอยู่ในความครอบครอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ (ว่าข้อกล่าวหาของเขาเป็นความจริง) แล้วทำไมเขาจึงไม่เปิดเผยหลักฐานเหล่านี้ในทันทีเลยล่ะ”
อับบาส ซึ่งมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดทั้งกับ คัดดูมิ และ อาราฟัต มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 แล้ว ระบุว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้เป็น “การโกหกหลอกลวง” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อบิดเบือนภาพลักษณ์ของเขา ทางด้าน คัดดูมิ นั้นยังได้เรียกร้องให้จัดตั้งคณะสอบสวนระหว่างประเทศชุดหนึ่งขึ้นมาดำเนินการติดตามสืบสวนการถึงแก่มรณกรรมของอาราฟัต ทำนองเดียวกับคณะสอบสวนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อติดตามสืบสวนการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี ราฟิค ฮาริรี (Rafik Hariri) ของเลบานอนในปี 2005
ในเรื่องการลอบวางยาพิษอาราฟัตนั้น น่าจะไม่ใช่เป็นงานยากลำบากอะไรนัก พวกที่รู้จักเขาดีต่างสามารถหยิบยกเล่าขานเรื่องราวจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรักษาความปลอดภัยของเขามีความหย่อนยานหละหลวมขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เขามักรับประทานอาหารที่คนแปลกหน้าหยิบยื่นให้อยู่เป็นประจำ และพร้อมเข้าจุมพิตหรือสวมกอดใครก็ตามซึ่งพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ ระหว่างติดอยู่ในกรุงเบรุตซึ่งถูกปิดล้อมในปี 1982 อาราฟัตมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องการไปหาที่นอนใกล้ๆ กับพวกด่านตรวจค้นของอิสราเอล ด้วยความเชื่อว่า ชารอน จะต้องไม่ติดตามค้นหาเขาในบริเวณที่ใกล้ๆ กับสถานที่พำนักอาศัยของศัตรูถึงขนาดนั้น
ท่านผู้อ่านหลายๆ คนอาจตั้งคำถามขึ้นมาว่า ทำไมกรณีของอาราฟัตจึงกลับมาถือกันว่ามีความสำคัญอย่างมากมายขนาดนี้ในทุกวันนี้ ในเมื่อมีชาวอาหรับนับพันๆ กำลังล้มตายลงไปในแต่ละวันในการลุกฮือก่อกบฏที่ซีเรีย (ถ้าหากจะต้องหยิบยกอะไรขึ้นมาเป็นตัวอย่าง) รวมทั้งยังมีคนอื่นๆ อีกมากมายที่ถูกสังหารด้วยน้ำมือของระบอบปกครองลิเบียในเดือนกุมภาพันธ์ 2011
คำตอบที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ ยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นผู้นำชาวอาหรับเพียงคนเดียวซึ่งหากยังคงมีชีวิตอยู่จนถึงวันนี้ ก็จะรักษาตัวให้รอดพ้นจากกระแส “อาหรับสปริง” (Arab Spring) ได้อย่างสบายๆ ในยุคสมัยที่มีแต่ทรราชชาวอาหรับและผู้เผด็จการทางทหาร เขาเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการประชาธิปไตยเพียงคนเดียวในโลกอาหรับ (แน่นอนล่ะ อาจจะมีข้อยกเว้นในกรณีของเลบานอน) ซึ่งเป็นคำอธิบายว่าทำไมบุคคลร่วมสมัยของเขาทั้งหลายทั้งปวงจึงพากันจงเกลียดจงชังเขา และปรารถนาที่จะเห็นวาระสิ้นสุดของประธานองค์การปลดแอกปาเลสไตน์รายนี้
ขณะที่พวกเขาต่างพากันรีดเค้นเอาจากคนร่ำรวยในประเทศของพวกเขา และฉวยโอกาสใช้ประโยชน์เอาจากอุดมการณ์การต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์จนเหือดแห้ง อาราฟัตกลับเป็นบุคคลที่โดดเด่นในเรื่องไม่มีความเห็นแก่ตัว เขาอุทิศชีวิตทั้งชีวิตของเขาให้แก่อุดมการณ์ที่เขาเชื่อมั่นยึดถืออย่างมั่นคง เขาไม่คิดที่จะยกอำนาจให้เป็นมรดกสืบทอดแก่ทายาทที่ตัวเขาเป็นผู้ทำการเลือกสรร และไม่เคยเลยที่เขาจะทำการปราบปรามเล่นงานพวกที่วิพากษ์วิจารณ์เขา หรือยิงทิ้งพลเมืองชาวปาเลสไตน์แม้แต่คนเดียว ในช่วงเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีภายหลังข้อตกลงออสโล (Oslo Accords) ปี 1993
ไม่มีรูปปั้นอนุสาวรีย์ของอาราฟัตตั้งตระหง่านประดับประดาภูมิทัศน์ในดินแดนฉนวนกาซาหรือดินแดนฝั่งตะวันตกแม่น้ำจอร์แดน (เวสต์แบงก์) เลยแม้แต่รูปเดียวในห้วงวาระแห่งการครองอำนาจของเขาในทศวรรษ 1990 ไม่เหมือนกับพวกผู้นำอาหรับคนอื่นๆ ซึ่งมีกองทัพอันใหญ่โตมหึมาเอาไว้พึ่งพาอาศัยในยามสงคราม, มีกองกำลังตำรวจลับเอาไว้ใช้ในยามสันติ, และมีกลไกลสื่อมวลชนของรัฐอันใหญ่โตมโหฬาร อาราฟัตกลับไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย เขาไม่มีกองกำลังอาวุธที่เป็นกองทัพอย่างแท้จริง, ไม่มีคุกมืดใต้ดินเอาไว้กักขังจองจำเหล่าปรปักษ์ของเขา, และในยุคสมัยของสื่อสารมวลชนตลอดจนโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เขาคือภัยพิบัติที่เดินได้และพูดได้
ขณะที่ผู้นำอาหรับที่ร่วมสมัยเดียวกับเขา ต่างสวมชุดสูทแบบตะวันตกซึ่งรีดเรียบ และร่างกายหน้าตาดูสะอาดสะอ้านโกนเคราเกลี้ยงเกลา แลดูเหมือนๆ กับพวกผู้นำของประเทศยุโรปทั้งหลาย อาราฟัตกลับมีหน้าตาท่าทางของผู้นำขบวนการต่อต้านอย่างชัดเจน เขาสวมชุดเครื่องแบบทหารสีกากีที่ยับยู่ยี่อยู่เป็นประจำ และมักมีปืนพกซุกอยู่ที่ข้างเอว เขาเป็นกระจกสะท้อนภาพลักษณ์แห่งประชาชนของเขาที่สมบูรณ์แบบจริงๆ เป็นตัวแทนของการปฏิวัติและการต้านทานศัตรูต่างชาติผู้ยึดครอง
ในจอร์แดน เขาเคยรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับเหล่าทหารของเขาตามค่ายทหารแห่งต่างๆ , นอนหลับนิทราในแคมป์ของพวกเขา, และใช้เวลาอย่างมีคุณภาพกับพวกเขา ในกรุงเบรุต เขาเข้าร่วมงานแต่งงาน, งานศพ, และใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับพวกเขา แม้กระทั่งเมื่อมีตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐอยู่ในเมืองรามัลเลาะห์ และนครกาซา เขาก็ไม่เคยเปลี่ยนสีแปรธาตุทรยศต่อชาวปาเลสไตน์ เขาจะปรากฏตัวตามโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยที่ในภาพซึ่งปรากฏทางโทรทัศน์ครั้งหนึ่ง เขาก้มตัวลงจูบเท้าของเด็กชายชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับบาดเจ็บผู้หนึ่ง พวกที่วิพากษ์วิจารณ์เขาโต้แย้งว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเพียงการแสดงละคร ไม่ได้แตกต่างอะไรจากการที่เขาออกมาบริจาคเลือดให้แก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายในเหตุการณ์โจมตีในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001
เป็นความจริงทีเดียวว่าพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะเป็นการแสดง แต่มันก็มีมนตร์ขลังสะกดประชาชนของเขา แล้วเขาเป็นคนทุจริตคอร์รัปชั่นหรือเปล่า อาราฟัตนั้นคือนักคอร์รัปชั่นชั้นเลิศทีเดียว เขาทราบดีว่าจะต้องใช้อะไรมาล่อหลอกให้ผู้คนตกเข้าไปในวงโคจรทางการเมืองของเขา และต้องจ่ายกันสักขนาดไหนจึงจะทำให้พวกเขาปิดปากเงียบกริบไปตลอดกาล แต่ความชำนาญช่ำชองเช่นนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นคุณสมบัติของภรรยาของเขาด้วย เธอผู้นี้ใช้ชีวิตแบบไลฟ์สไตล์ฟุ่มเฟือยหรูหราในตูนีเซียและฝรั่งเศส ขณะที่พี่น้องร่วมชาติของเธอยังต้องลำบากทุกข์ยากทั้งเนื่องจากถูกอิสราเอลยึดครอง, ภาวะสงคราม, และความยากจน
เนื่องจากกระแสอาหรับสปริงนั่นแหละ ที่ทำให้ยัสเซอร์ อาราฟัต กลายเป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การจดจำและควรที่จะได้รับความยุติธรรม ในท่ามกลางเพื่อนบ้านที่มีแต่จอมเผด็จการ มีแต่เขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ผู้รักประชาธิปไตยที่แท้จริง และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมทุกๆ คนจึงต้องการให้เขาสิ้นชีวิตลงไป
**หมายเหตุผู้แปล**
[1] องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (Palestinian National Authority หรือ PNA) หรือ องค์การบริหารปาเลสไตนล์ (Palestinian Authority หรือ PA) (อิสราเอลเรียกองค์การนี้ว่า PA ขณะที่ฝ่ายปาเลสไตน์เรียกว่า PNA) จัดตั้งขึ้นในปี1994 เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บริหารปกครองดินแดนส่วนต่างๆ ใน เวสต์แบงก์ (West Bank เขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน) และ ฉนวนกาซา (Gaza Strip) ซึ่งได้ถูกอิสราเอลเข้ายึดครอง ในรูปแบบของการให้ชาวปาเลสไตน์ได้ปกครองตนเองอย่างจำกัด ทั้งนี้เป็นไปตาม “ข้อตกลงออสโล” (Oslo Accords) ระหว่างองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization หรือ PLO) กับรัฐบาลอิสราเอล องค์การนี้ถูกกำหนดว่าจะมีอายุเพียง 5 ปี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายทำการเจรจากันเพื่อกำหนดสถานะในขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม จวบจนถึงปี 2012 หรือก็คือ PA ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้วกว่า 17 ปี ก็ยังคงไม่สามารถจัดทำกำหนดสถานะขั้นสุดท้ายกันได้ (ข้อมูลจาก Wikipedia และ Mideastweb)
[2] ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำคนสำคัญของชาวปาเลสไตน์ในช่วงปลายปี 1967 ภายหลัง “สงคราม 6 วัน” ระหว่างอิสราเอลกับฝ่ายอาหรับในเดือนมิถุนายน 1967 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการที่ฝ่ายอาหรับพ่ายแพ้ย่อยยับ และอิสราเอลสามารถยึดครองดินแดนของอาหรับได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้ง เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[3] เมืองรามัลเลาะห์ (Ramallah) เป็นเมืองของชาวปาเลสไตน์ซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางของเขตเวสต์แบงก์ ห่างจากนครเยรูซาเลมไปทางเหนือราว 10 กิโลเมตร ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงด้านการบริหารปกครองโดยพฤตินัยขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[4] สงครามปี 1948 หมายถึงสงครามที่สู้รบกันระหว่างรัฐอิสราเอลกับกองทหารพันธมิตรของรัฐอาหรับและกองกำลังอาหรับปาเลสไตน์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล ในอิสราเอลเรียกสงครามคราวนี้ว่าเป็น “สงครามแห่งเอกราช” หรือ “สงครามปลดแอก” ส่วนในโลกอาหรับเรียกว่า “ความหายนะ” (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[5] กลุ่มฮามาส (Hamas) เป็นอักษรย่อภาษาอาหรับของ “ขบวนการต่อต้านนิยมอิสลาม Islamic Resistance Movement” โดยที่ ฮามาส เป็นคำในภาษาอาหรับซึ่งแปลว่า “ความกระตือรือร้น” กลุ่มฮามาสคือพรรคการเมืองแนวทางเคร่งครัดหลักศาสนาอิสลามของชาวปาเลสไตน์นิกายสุหนี่ ซึ่งเป็นผู้ปกครองดินแดนฉนวนกาซามาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2007 ภายหลังจากชนะได้เสียงส่วนข้างมากในรัฐสภาปาเลสไตน์ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2006 จากนั้นก็ยังความปราชัยให้แก่องค์การการเมืองของพรรคฟาตาห์ ในการปะทะกันด้วยความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทางสหภาพยุโรป, สหรัฐฯ, แคนาดา, อิสราเอล, และญี่ปุ่น ประกาศว่าฮามาสเป็นองค์การก่อการร้าย แต่บรรดาชาติอาหรับและประเทศอื่นๆ เช่น รัสเซีย ไม่เห็นว่าเป็นเช่นนั้น (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[6] กลุ่มฟาตาห์ (Fatah) เป็นพรรคการเมืองสำคัญพรรคหนึ่งของชาวปาเลสไตน์ และเป็นฝักฝ่ายที่ใหญ่ที่สุดขององค์การปลดแอกปาเลสไตน์ (PLO) ซึ่งมีลักษณะเป็นสมาพันธ์ของพรรคและกลุ่มการเมืองต่างๆ หลายหลาก ถึงแม้ฟาตาห์ถือเป็นฝ่ายซ้ายของแวดวงการเมืองชาวปาเลสไตน์ แต่ลักษณะเด่นที่สุดของพรรคก็เป็นพวกชาตินิยมมากกว่าเป็นนักสังคมประชาธิปไตย โดยทั่วไปแล้วเห็นกันว่า ฟาตาห์มีความเกี่ยวข้องพัวพันอย่างแข็งขันกับการต่อสู้ปฏิวัติในอดีต และปัจจุบันก็ยังคงมีกลุ่มหัวรุนแรง/ก่อการร้ายในสังกัดอยู่จำนวนหนึ่ง
ในช่วงที่ ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้ก่อตั้งกลุ่มนี้ยังมีชีวิตอยู่นั้น ฟาตาห์ถูกมองว่ามีความเป็นเอกภาพสูงมากภายใต้การนำของตัวอาราฟัตเอง แต่หลังจากเขาสิ้นชีวิตลงในปี 2004 ก็มองเห็นชัดเจนมากขึ้นว่าขบวนการนี้มีความแตกต่างหลากหลายในทางแนวความคิดอุดมการณ์
ภายหลังที่ฟาตาห์พ่ายแพ้สูญเสียเสียงข้างมากให้แก่ฮามาสในการเลือกตั้งรัฐสภาปาเลสไตน์ปี 2006 พรรคได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีทั้งหมด เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน แต่ชัยชนะของฮามาสก็นำไปสู่การแตกแยกระหว่างพรรคการเมืองหลักของชาวปาเลสไตน์ทั้งสองพรรคนี้ โดยที่ฟาตาห์ยังคงควบคุมองค์การบริหารปาเลสไตน์ (PNA) ในเขตเวสต์แบงก์เอาไว้ กระทั่งในเดือนเมษายน 2011 เจ้าหน้าที่ของทั้งฮามาสและฟาตาห์ประกาศว่า ทั้งสองพรรคบรรลุข้อตกลงขั้นต้นที่จะรวมตัวกันเป็นรัฐบาลหนึ่งเดียว โดยที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งในปี 2012 นี้ด้วย (ข้อมูลจาก Wikipedia)
[7] ข้อตกลงออสโล (Oslo Accords) เป็นข้อตกลงฉบับแรกที่เกิดขึ้นจากการเจรจาโดยตรงระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) การเจรจากระทำเป็นความลับในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ และสำเร็จเสร็จสิ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 1993 จากนั้นจึงไปลงนามกันอย่างเป็นทางการที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 13 กันยายน 1993 ข้อตกลงฉบับนี้มีลักษณะเป็นแผนแม่บทสำหรับการเจรจากันและความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคตระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ซึ่ง “ประเด็นปัญหาสถานะสุดท้าย” ที่ยังคั่งค้างอยู่ระหว่างทั้งสองฝ่ายจะได้รับการพิจารณาและตกลงกัน ทว่าจวบจนกระทั่งบัดนี้ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถสร้างความคืบหน้าในเรื่องนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาสำคัญประการหนึ่งของข้อตกลงออสโล ก็ทำให้มีการก่อตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) ขึ้นมาทำหน้าที่รับผิดชอบการบริหารปกครองภายในดินแดนส่วนต่างๆ ของเวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา ขณะที่เรียกร้องให้กองทหารอิสราเอลถอนตัวออกไปจากดินแดนเหล่านี้ (ข้อมูลจาก Wikipedia)
ซามี มูบายเอด เป็นนักวิเคราะห์การเมืองชาวซีเรีย เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Steel & Silk: Men and Women Who Shaped Syria 1900-2000 (Cune Press 2005)