เอเอฟพี - รองนายกรัฐมนตรี บูเล็นต์ อาริงก์ แห่งตุรกี กล่าววานนี้ (25) ว่า เหตุเครื่องบินขับไล่ เอฟ-4 ถูกยิงตกด้วยฝีมือกองทัพซีเรียนั้นถือเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างที่สุด ทั้งยังอ้างว่าเครื่องบินกู้ภัยของตุรกีอีกลำหนึ่งก็ถูกซีเรียโจมตีด้วย
อาริงก์แถลงต่อสื่อมวลชนหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือถึงเหตุโจมตีเครื่องบินขับไล่เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (22) ซึ่งนับเป็นชนวนความขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่าง 2 เพื่อนบ้านที่เคยมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก่อน และกรุงอังการาอาจตัดสินใจตอบโต้ด้วยการหยุดจำหน่ายไฟฟ้าให้ดามัสกัส
“การโจมตีอากาศยานโดยไม่แจ้งเตือนล่วงหน้าเช่นนี้ ถือเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างที่สุด” อาริงก์กล่าว โดยระบุว่า เครื่องบินขับไล่รุ่น เอฟ-4 แฟนทอม ถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธนำวิถีชนิดจับความร้อน บริเวณน่านฟ้าสากล
รองนายกฯ ตุรกียังกล่าวหาว่า กองทัพซีเรียยิงเครื่องบินกู้ภัยที่ถูกส่งไปค้นหานักบิน 2 รายที่สูญหาย แต่ไม่ระบุว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อใด
“เราส่งเครื่องบินคาซาลำหนึ่งออกไปพร้อมกับทีมค้นหา แต่โชคร้ายที่มันตกเป็นเป้าโจมตีจากภาคพื้นดิน”
“เมื่อกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยบัญชาการทหารแจ้งไปยังทางการซีเรีย การโจมตีจึงยุติลงทันที... ทุกคนควรทราบด้วยว่า พฤติกรรมเช่นนี้จะไม่ถูกปล่อยผ่านไปเฉยๆ โดยไม่มีการลงโทษ”
อาริงก์ระบุว่า ตุรกีจะตอบโต้ซีเรียภายในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ
ก่อนหน้านี้ นักการทูตรายหนึ่งให้สัมภาษณ์แก่เอเอฟพีว่า เครื่องบินคาซา ซีเอ็น-235 ของกองทัพตุรกี ซึ่งเป็นเครื่องบินขนส่งชนิด 2 เครื่องยนต์ ถูกระบบป้องกันทางอากาศของซีเรียโจมตี ขณะเดินทางออกค้นหาเครื่องบิน เอฟ-4
“เมื่อเครื่องบินถูกโจมตีด้วยระบบป้องกันทางอากาศ นักบินจะทราบได้ทันที” นักการทูตเผย พร้อมเสริมว่า เครื่องบินลำดังกล่าวไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับซีเรียเริ่มขมขื่นนับตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รีเซ็ป ตอยยิบ เออร์โดแกน ออกมาประณามรัฐบาลซีเรียที่ใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงอย่างป่าเถื่อน ขณะที่นักเคลื่อนไหวระบุว่า เหตุนองเลือดในซีเรียได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 15,000 คน ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ปี 2011
อาริงก์เตือนว่า ตุรกีอาจตัดสินใจหยุดส่งออกพลังงานให้แก่ดามัสกัส โดยชี้ว่า “ที่ผ่านมาเราเห็นว่าสมควรส่งออกไฟฟ้าให้ซีเรียด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม เพื่อพลเมืองซีเรียจะได้ใช้ชีวิตกันตามปกติ... วันนี้เราจะยังทำเช่นเดิมต่อไป แต่ในอีก 1-2 วันข้างหน้าจะมีการประกาศอีกครั้งว่าเราจะยังส่งออกพลังงานให้แก่ซีเรียหรือไม่”
บริษัทอักซา ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนในตุรกี ส่งออกกระแสไฟฟ้า 500 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ให้แก่ซีเรียในปีนี้ โดยไฟฟ้าส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังเมืองอาเลปโป
อาริงก์แถลงต่อสื่อมวลชนหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือถึงเหตุโจมตีเครื่องบินขับไล่เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (22) ซึ่งนับเป็นชนวนความขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่าง 2 เพื่อนบ้านที่เคยมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก่อน และกรุงอังการาอาจตัดสินใจตอบโต้ด้วยการหยุดจำหน่ายไฟฟ้าให้ดามัสกัส
“การโจมตีอากาศยานโดยไม่แจ้งเตือนล่วงหน้าเช่นนี้ ถือเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างที่สุด” อาริงก์กล่าว โดยระบุว่า เครื่องบินขับไล่รุ่น เอฟ-4 แฟนทอม ถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธนำวิถีชนิดจับความร้อน บริเวณน่านฟ้าสากล
รองนายกฯ ตุรกียังกล่าวหาว่า กองทัพซีเรียยิงเครื่องบินกู้ภัยที่ถูกส่งไปค้นหานักบิน 2 รายที่สูญหาย แต่ไม่ระบุว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อใด
“เราส่งเครื่องบินคาซาลำหนึ่งออกไปพร้อมกับทีมค้นหา แต่โชคร้ายที่มันตกเป็นเป้าโจมตีจากภาคพื้นดิน”
“เมื่อกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยบัญชาการทหารแจ้งไปยังทางการซีเรีย การโจมตีจึงยุติลงทันที... ทุกคนควรทราบด้วยว่า พฤติกรรมเช่นนี้จะไม่ถูกปล่อยผ่านไปเฉยๆ โดยไม่มีการลงโทษ”
อาริงก์ระบุว่า ตุรกีจะตอบโต้ซีเรียภายในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ
ก่อนหน้านี้ นักการทูตรายหนึ่งให้สัมภาษณ์แก่เอเอฟพีว่า เครื่องบินคาซา ซีเอ็น-235 ของกองทัพตุรกี ซึ่งเป็นเครื่องบินขนส่งชนิด 2 เครื่องยนต์ ถูกระบบป้องกันทางอากาศของซีเรียโจมตี ขณะเดินทางออกค้นหาเครื่องบิน เอฟ-4
“เมื่อเครื่องบินถูกโจมตีด้วยระบบป้องกันทางอากาศ นักบินจะทราบได้ทันที” นักการทูตเผย พร้อมเสริมว่า เครื่องบินลำดังกล่าวไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับซีเรียเริ่มขมขื่นนับตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รีเซ็ป ตอยยิบ เออร์โดแกน ออกมาประณามรัฐบาลซีเรียที่ใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงอย่างป่าเถื่อน ขณะที่นักเคลื่อนไหวระบุว่า เหตุนองเลือดในซีเรียได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 15,000 คน ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ปี 2011
อาริงก์เตือนว่า ตุรกีอาจตัดสินใจหยุดส่งออกพลังงานให้แก่ดามัสกัส โดยชี้ว่า “ที่ผ่านมาเราเห็นว่าสมควรส่งออกไฟฟ้าให้ซีเรียด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม เพื่อพลเมืองซีเรียจะได้ใช้ชีวิตกันตามปกติ... วันนี้เราจะยังทำเช่นเดิมต่อไป แต่ในอีก 1-2 วันข้างหน้าจะมีการประกาศอีกครั้งว่าเราจะยังส่งออกพลังงานให้แก่ซีเรียหรือไม่”
บริษัทอักซา ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนในตุรกี ส่งออกกระแสไฟฟ้า 500 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ให้แก่ซีเรียในปีนี้ โดยไฟฟ้าส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังเมืองอาเลปโป