ASTVผู็้จัดการสุดสัปดาห์ - และแล้วการยิงจรวดเพื่อนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ตามคำกล่าวอ้างของเกาหลีเหนือ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี วันเกิดประธานาธิบดี คิม อิลซอง ผู้นำตลอดกาลของแดนโสมแดง ซึ่งนานาประเทศวิตกกังวลว่าจะเป็นการแอบแฝงทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป ก็เกิดขึ้นในที่สุดเมื่อวันศุกร์ที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา โดยสหรัฐฯ และบรรดาชาติพันธมิตรต่างเบาใจไปได้เปลาะหนึ่ง เนื่องจากการยิงจรวดครั้งนั้นล้มเหลวไม่เป็นท่า แต่นั่นไม่ได้หมายถึงว่าความสงบจะคืนสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกอย่างถาวร เมื่อ คิม จองอึน ผู้นำหนุ่มคนใหม่ยังประกาศเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์ของตนท้าทายมหาอำนาจโลก ไม่หวั่นมาตรการแซงก์ชันใดๆ แม้ประเทศจะขาดแคลนอาหาร และประชาชนต้องอดอยากปากแห้งก็ตาม
เกาหลีเหนือใช้ฤกษ์วันศุกร์ที่ 13 ปล่อยจรวดอึนฮา-3 ออกจากฐาน ในเวลา 07.39 น.ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเมืองไทย 05.39 น.) ท่ามกลางความแตกตื่นของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร โดยเฉพาะเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทว่า เพียงไม่นานหลังทะยานขึ้นฟ้า จรวดก็ระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยงๆ และตกลงในทะเลเหลือง ทางตะวันตกของประเทศ ใกล้กับชายแดนจีน โดยทางการเปียงยางยืดอกออกมายอมรับความล้มเหลวครั้งนี้ด้วยตนเอง กลายเป็นความอับอาย และปัญหาท้าทายครั้งใหญ่ ครั้งแรก ของผู้นำคิมรุ่นที่ 3 ซึ่งเพิ่งจะสืบทอดอำนาจมาได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
แม้การยิงจรวดจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่พิธีเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 100 ปีของบิดาผู้ก่อตั้ง “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี” ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปในปี 1994 ก็ยังดำเนินต่อไปอย่างยิ่งใหญ่ นับตั้งแต่เย็นวันที่ 13 คิม จองอึน ได้นำฝูงชนหลายหมื่นคนทั้งทหาร และพลเรือน ออกมาเดินขบวนเพื่อเชิดชูเกียรติปู่ และบิดา อดีตผู้นำ คิม อิลซอง และ คิม จองอิล รวมทั้งร่วมพิธีเปิดอนุสาวรีย์ขนาดยักษ์ของ 2 ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพิธีที่วางแผนมาเพื่อสร้างความจงรักภักดีต่อตระกูลคิม และเพิ่มอำนาจแก่ผู้นำหนุ่มคนใหม่ วัย 20 กว่าปี ซึ่งยังขาดทั้งประสบการณ์ และบารมี
ส่วนสำคัญของพิธีดังกล่าวนั้นอยู่ที่การเดินสวนสนามของทหารในวันที่ 15 เมษายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของอดีตประธานาธิบดี คิม อิลซอง มีการอวดแสนยานุภาพกองทัพโสมแดง รวมถึงอาวุธกว่า 880 ชิ้น ที่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าเป็นการแสดงสรรพาวุธครั้งใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือ โดยในจำนวนอาวุธเหล่านั้นยังมีขีปนาวุธที่ปรากฏต่อสายตาชาวโลกเป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ อีกหนึ่งสิ่งที่สร้างความประหลาดใจในพิธีวันนั้นคือ การกล่าวปราศรัยต่อสาธารณชนครั้งแรกของผู้นำหนุ่มคนใหม่ ในรอบ 4 เดือนที่เขาเข้ารับตำแหน่งสูงสุดทั้งทางทหาร พรรค และรัฐ แทนบิดา ซึ่งเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา
ในการปราศรัยเป็นเวลา 20 นาที เขากล่าวว่า “สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่อ่อนแอ บัดนี้ได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นมหาอำนาจทางการเมืองและทางการทหารแล้ว” พร้อมกับยกย่องปู่แท้ๆ ของเขาเองว่าเป็นผู้เอาชนะ “การล่าอาณานิคมที่ป่าเถื่อนที่สุดถึง 2 ครั้งได้ในรุ่นเดียว” โดยหมายถึงการยึดครองเกาหลีของญี่ปุ่น และสงครามเกาหลีปี 1950-53 ที่เปียงยางอ้างว่า เป็นชัยชนะเหนือสหรัฐฯ ตลอดจนเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดำเนินรอยตามผู้เป็นพ่อ คำพูดเหล่านี้นักวิเคราะห์หลายคนชี้ว่า เป็นการตอกย้ำว่าเขาคือทายาทของ “ราชวงศ์คิม” อีกทั้งการลอกเลียนแบบผู้ก่อตั้งประเทศ ตั้งแต่กิริยาท่าทาง, ทรงผม, วิธีท่วงทำนองการพูด, ตลอดจนเสื้อนอกสีดำสไตล์เหมา เจ๋อตงนั้น ก็เพื่ออาศัยเงาของ “ปู่” ในการสถาปนาอำนาจของตนให้แข็งแกร่งมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป
ด้าน ประชาคมโลก ทันทีที่เปียงยางยิงจรวด คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็เรียกประชุมฉุกเฉิน ซึ่งสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ ไม่เว้นแม้แต่จีน และปากีสถาน ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดเกาหลีเหนือที่สุด มีมติร่วมกัน ให้เพิ่มมาตรการแซงก์ชัน เพื่อลงโทษการยิงจรวดดังกล่าว ที่ระบุว่าเป็นการละเมิดมติยูเอ็นปี 1718 และ 1874 อย่างร้ายแรง โดยจะเพิ่มบัญชีดำ นิติบุคคล และรายการใหม่ๆ พร้อมกับทบทวนรายชื่อบุคคล และบริษัทโสมแดง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการขีปนาวุธนำวิถี และนิวเคลียร ์ซึ่งสมควรถูกอายัดทรัพย์สินภายใต้มาตรการระหว่างประเทศ นอกจากนี้ คณะมนตรียังเรียกร้องให้เปียงยางระงับการดำเนินการใหม่ๆ ที่ใช้ “เทคโนโลยีขีปนาวุธนำวิถี” ทั้งหมดเพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้ ขณะที่วอชิงตัน ซึ่งบรรลุข้อตกลงแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือด้านอาหาร กับการที่เปียงยางจะระงับกิจกรรมนิวเคลียร์ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็ตัดสินใจล้มเลิกแผนส่งอาหาร 240,000 ตันเพื่อช่วยเหลือชาวโสมแดงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือ ภายใต้ผู้นำโสมแดงคนใหม่ ซึ่งรับปากว่า จะเสริมสร้างกองทัพให้แข็งแกร่งขึ้นไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ไม่ได้ยี่หระต่อแรงกดดันเหล่านั้น โดยประกาศจะแก้แค้นนานาประเทศที่รวมหัวกันรุมประณาม พร้อมฉีกสัญญายุติโครงการนิวเคลียร์เป็นการตอบโต้ ทั้งนี้ มีสัญญาณบ่งบอกถึงการพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลรุ่นใหม่ ที่อาจยิงได้ไกลกว่า 4,000 กิโลเมตร จากนุกที่เห็นในขบวนพาเหรดวันฉลอง 100 ปี ยิ่งไปกว่านั้น พวกนักวิเคราะห์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ต่างกล่าวโดยอ้างภาพถ่ายดาวเทียม ว่า โสมแดงยังมีการเตรียมการอยู่ที่เมืองปุงเกรี อันเป็นสถานที่พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ในปี 2006 และ 2009 ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า เกาหลีเหนือกำลังจะทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เร็วๆ นี้ เช่นที่เคยเกิดขึ้นหลังการปล่อยจรวดใน 2 ปีดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่า เปียงยางไม่ได้คิดที่จะล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์ของตนแน่นอน แม้ประชาชนในประเทศหลายล้านคนเผชิญความอดอยาก และต้องการความช่วยเหลือทางอาหารมากเพียงใด
เกาหลีเหนือใช้ฤกษ์วันศุกร์ที่ 13 ปล่อยจรวดอึนฮา-3 ออกจากฐาน ในเวลา 07.39 น.ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเมืองไทย 05.39 น.) ท่ามกลางความแตกตื่นของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร โดยเฉพาะเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทว่า เพียงไม่นานหลังทะยานขึ้นฟ้า จรวดก็ระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยงๆ และตกลงในทะเลเหลือง ทางตะวันตกของประเทศ ใกล้กับชายแดนจีน โดยทางการเปียงยางยืดอกออกมายอมรับความล้มเหลวครั้งนี้ด้วยตนเอง กลายเป็นความอับอาย และปัญหาท้าทายครั้งใหญ่ ครั้งแรก ของผู้นำคิมรุ่นที่ 3 ซึ่งเพิ่งจะสืบทอดอำนาจมาได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
แม้การยิงจรวดจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่พิธีเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 100 ปีของบิดาผู้ก่อตั้ง “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี” ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปในปี 1994 ก็ยังดำเนินต่อไปอย่างยิ่งใหญ่ นับตั้งแต่เย็นวันที่ 13 คิม จองอึน ได้นำฝูงชนหลายหมื่นคนทั้งทหาร และพลเรือน ออกมาเดินขบวนเพื่อเชิดชูเกียรติปู่ และบิดา อดีตผู้นำ คิม อิลซอง และ คิม จองอิล รวมทั้งร่วมพิธีเปิดอนุสาวรีย์ขนาดยักษ์ของ 2 ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพิธีที่วางแผนมาเพื่อสร้างความจงรักภักดีต่อตระกูลคิม และเพิ่มอำนาจแก่ผู้นำหนุ่มคนใหม่ วัย 20 กว่าปี ซึ่งยังขาดทั้งประสบการณ์ และบารมี
ส่วนสำคัญของพิธีดังกล่าวนั้นอยู่ที่การเดินสวนสนามของทหารในวันที่ 15 เมษายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของอดีตประธานาธิบดี คิม อิลซอง มีการอวดแสนยานุภาพกองทัพโสมแดง รวมถึงอาวุธกว่า 880 ชิ้น ที่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าเป็นการแสดงสรรพาวุธครั้งใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือ โดยในจำนวนอาวุธเหล่านั้นยังมีขีปนาวุธที่ปรากฏต่อสายตาชาวโลกเป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ อีกหนึ่งสิ่งที่สร้างความประหลาดใจในพิธีวันนั้นคือ การกล่าวปราศรัยต่อสาธารณชนครั้งแรกของผู้นำหนุ่มคนใหม่ ในรอบ 4 เดือนที่เขาเข้ารับตำแหน่งสูงสุดทั้งทางทหาร พรรค และรัฐ แทนบิดา ซึ่งเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา
ในการปราศรัยเป็นเวลา 20 นาที เขากล่าวว่า “สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่อ่อนแอ บัดนี้ได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นมหาอำนาจทางการเมืองและทางการทหารแล้ว” พร้อมกับยกย่องปู่แท้ๆ ของเขาเองว่าเป็นผู้เอาชนะ “การล่าอาณานิคมที่ป่าเถื่อนที่สุดถึง 2 ครั้งได้ในรุ่นเดียว” โดยหมายถึงการยึดครองเกาหลีของญี่ปุ่น และสงครามเกาหลีปี 1950-53 ที่เปียงยางอ้างว่า เป็นชัยชนะเหนือสหรัฐฯ ตลอดจนเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดำเนินรอยตามผู้เป็นพ่อ คำพูดเหล่านี้นักวิเคราะห์หลายคนชี้ว่า เป็นการตอกย้ำว่าเขาคือทายาทของ “ราชวงศ์คิม” อีกทั้งการลอกเลียนแบบผู้ก่อตั้งประเทศ ตั้งแต่กิริยาท่าทาง, ทรงผม, วิธีท่วงทำนองการพูด, ตลอดจนเสื้อนอกสีดำสไตล์เหมา เจ๋อตงนั้น ก็เพื่ออาศัยเงาของ “ปู่” ในการสถาปนาอำนาจของตนให้แข็งแกร่งมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป
ด้าน ประชาคมโลก ทันทีที่เปียงยางยิงจรวด คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็เรียกประชุมฉุกเฉิน ซึ่งสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ ไม่เว้นแม้แต่จีน และปากีสถาน ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดเกาหลีเหนือที่สุด มีมติร่วมกัน ให้เพิ่มมาตรการแซงก์ชัน เพื่อลงโทษการยิงจรวดดังกล่าว ที่ระบุว่าเป็นการละเมิดมติยูเอ็นปี 1718 และ 1874 อย่างร้ายแรง โดยจะเพิ่มบัญชีดำ นิติบุคคล และรายการใหม่ๆ พร้อมกับทบทวนรายชื่อบุคคล และบริษัทโสมแดง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการขีปนาวุธนำวิถี และนิวเคลียร ์ซึ่งสมควรถูกอายัดทรัพย์สินภายใต้มาตรการระหว่างประเทศ นอกจากนี้ คณะมนตรียังเรียกร้องให้เปียงยางระงับการดำเนินการใหม่ๆ ที่ใช้ “เทคโนโลยีขีปนาวุธนำวิถี” ทั้งหมดเพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้ ขณะที่วอชิงตัน ซึ่งบรรลุข้อตกลงแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือด้านอาหาร กับการที่เปียงยางจะระงับกิจกรรมนิวเคลียร์ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็ตัดสินใจล้มเลิกแผนส่งอาหาร 240,000 ตันเพื่อช่วยเหลือชาวโสมแดงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือ ภายใต้ผู้นำโสมแดงคนใหม่ ซึ่งรับปากว่า จะเสริมสร้างกองทัพให้แข็งแกร่งขึ้นไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ไม่ได้ยี่หระต่อแรงกดดันเหล่านั้น โดยประกาศจะแก้แค้นนานาประเทศที่รวมหัวกันรุมประณาม พร้อมฉีกสัญญายุติโครงการนิวเคลียร์เป็นการตอบโต้ ทั้งนี้ มีสัญญาณบ่งบอกถึงการพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลรุ่นใหม่ ที่อาจยิงได้ไกลกว่า 4,000 กิโลเมตร จากนุกที่เห็นในขบวนพาเหรดวันฉลอง 100 ปี ยิ่งไปกว่านั้น พวกนักวิเคราะห์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ต่างกล่าวโดยอ้างภาพถ่ายดาวเทียม ว่า โสมแดงยังมีการเตรียมการอยู่ที่เมืองปุงเกรี อันเป็นสถานที่พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ในปี 2006 และ 2009 ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า เกาหลีเหนือกำลังจะทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เร็วๆ นี้ เช่นที่เคยเกิดขึ้นหลังการปล่อยจรวดใน 2 ปีดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่า เปียงยางไม่ได้คิดที่จะล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์ของตนแน่นอน แม้ประชาชนในประเทศหลายล้านคนเผชิญความอดอยาก และต้องการความช่วยเหลือทางอาหารมากเพียงใด