ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - หากจะพูดถึงโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ยังได้รับการจดจำและกล่าวขานถึงมากที่สุด คงหนีไม่พ้นการอับปางของเรือ "อาร์เอ็มเอส ไททานิก" ในปี 1912 ซึ่งว่ากันว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนในยุคหลังๆหันมาคลั่งไคล้เรื่องราวของมหันตภัยต่างๆ จุดจบอันน่าเศร้าของไททานิกยังอยู่ในความสนใจของผู้คนทุกยุคสมัย แม้เศษซากของมันจะนอนสงบนิ่งอยู่ในสุสานใต้มหาสมุทรมานานถึง 100 ปีแล้วก็ตาม
ปัจจุบันนี้ เรื่องราวของไททานิกกลายเป็นจุดขายสำหรับธุรกิจหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาพยนต์, หนังสือ, เพลง, บทกวี หรือแม้กระทั่งพิพิธภัณฑ์ต่างๆที่นำเอาข้าวของเครื่องใช้จากเรือไททานิกไปจัดแสดง นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักหลายสิบชีวิตยอมจ่ายเงินหลายพันดอลลาร์เพื่อซื้อที่นั่งบนเรือดำน้ำลงไปชมสุสานเรือไททานิกกันถึงก้นมหาสมุทรแอตแลนติก
ซากเรือไททานิกจมอยู่ก้นมหาสมุทรอย่างโดดเดี่ยวมานานหลายทศวรรษ จนกระทั่งเทคโนโลยีเรือดำน้ำค้นหามันพบในปี 1985 ทำให้ความเป็นมาของเรือสำราญ "ไม่มีวันจม" ลำนี้กลับมาเป็นที่กระหายใคร่รู้ของชาวโลกอีกครั้ง
สิบกว่าปีต่อมา ผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน หยิบยกชะตากรรมของเรือไททานิกมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่กวาดรางวัลลูกโลกทองคำ 4 สาขา และรางวัลออสการ์อีก 11 สาขาในปี 1997 ภาพยนตร์เรื่องนี้ติดอันดับหนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลถึง 12 ปีซ้อน และยังทำให้มีผู้ผลิตสารคดีเกี่ยวกับเรือไททานิกติดตามมาอีกนับไม่ถ้วน
ไททานิก เป็นเรือเดินสมุทรของบริษัท ไวท์ สตาร์ ไลน์ ต่อขึ้นที่เมืองเบลฟาสต์ของไอร์แลนด์โดยใช้เวลาตั้งแต่ปี 1909-1911 ออกเดินทางเที่ยวแรกและเที่ยวสุดท้ายจากเมืองเซาแธมป์ตันของอังกฤษสู่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 10 เมษายน ปี 1912 โดยมีผู้โดยสารและลูกเรือร่วมเดินทางกว่า 2,200 ชีวิต ต้องนำเนื้อสัตว์และปลาขึ้นไปประกอบอาหารกว่า 130,000 ปอนด์ ไอศกรีมอีก 1,750 ปอนด์ ขณะที่เรือชูชีพมีอยู่เพียง 20 ลำ จากที่ออกแบบไว้ให้สามารถติดตั้งได้ถึง 32 ลำ
ระหว่างเดินทาง ลูกเรือไททานิกได้รับสัญญาณเตือนให้ระวังภูเขาน้ำแข็งมากกว่า 30 ครั้ง แต่ไม่ได้แจ้งให้กัปตันรับทราบ จนกระทั่งเรือชนเข้ากับก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาในเวลา 11.40 น. ของวันที่ 14 เมษายน และจมลงสู่ก้นมหาสมุทรลึกกว่า 4,000 เมตรนอกชายฝั่งนิวฟันด์แลนด์ ในเวลา 2.20 น. ของวันที่ 15 เมษายน
ลอว์เรนซ์ บีสลีย์ หนึ่งในผู้รอดชีวิต เล่าว่า ตอนแรกผู้คนบนเรือไม่มีใครเชื่อว่าไททานิกกำลังจะจม แถมยังพูดติดตลกกันเสียอีกว่า เรือคงต้องจอดพักเพื่อพ่นสีทับรอยถลอกจากการชนภูเขาน้ำแข็ง เหตุเพราะคำโฆษณาที่ว่าเรือลำนี้ “ไม่มีวันจม” ซึ่งทุกคนต่างเชื่อเช่นนั้น
การอับปางลงของเรือซึ่งว่ากันว่า “แม้แต่พระเจ้าก็ยังจมไม่ได้” อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โศกนาฏกรรมไททานิกยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำ และถูกหยิบยกมาเป็นบทเรียนสอนใจคนทุกยุคทุกสมัย
เหตุการณ์จริงที่เศร้าสลดเหมือนนิยายเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไททานิกถูกกล่าวถึงมานานนับร้อยปี คนจำนวนมากยังประทับใจกับคุณธรรมของสุภาพบุรุษเศรษฐีที่ยอมเสียสละให้ผู้หญิงและเด็กขึ้นเรือชูชีพไปก่อน หรือผู้โดยสารชั้นหนึ่งบางคนที่ยอมติดอยู่บนเรือ เพื่อให้คนอื่นๆมีชีวิตรอด
กระนั้นก็ตาม สถิติการรอดชีวิตบนเรือไททานิกยังผันแปรตามจำนวนเงินในกระเป๋าอย่างเห็นได้ชัด ร้อยละ 60 ของผู้โดยสารชั้น 1 มีโอกาสกลับไปเล่าประสบการณ์ระทึกให้ลูกหลานฟัง ขณะที่ผู้โดยสารชั้น 2 และลูกเรือรอดชีวิตเพียงร้อยละ 42 และ 25 หลากกิจกรรมรำลึก 100 ปี โศกนาฏกรรมกลางสมุทร
เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปีการอับปางของเรือไททานิก ซึ่งถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเดินเรือ ทั่วโลกจึงพร้อมใจกันจัดกิจกรรมมากมายทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงชะตากรรมของเรือสำราญที่ยิ่งใหญ่ลำนี้
หนึ่งในนั้นคือการนำเอาภาพยนตร์ “ไททานิก” ฉบับปี 1997 มาปัดฝุ่นใหม่ด้วยเทคนิคภาพสามมิติ โดยฝีมือผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน คนเดิม ซึ่งเรียกความสนใจได้ไม่น้อยทั้งจากเยาวชนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยชมเวอร์ชั่นก่อน และคนวัยผู้ใหญ่ที่อยากเห็นฉากรักโรแมนติกของ แจ๊ค กับ โรส ในรูปแบบที่สมจริงกว่าเดิม
สำหรับผู้ที่ใฝ่ฝันอยากสัมผัสการเดินทางไปพร้อมกับเรือไททานิกเหมือนเมื่อ 100 ปีก่อน เรือสำราญ เอ็มเอส บัลมอรัล ของอังกฤษก็จัดทริป “ย้อนรอยไททานิก” ซึ่งเพิ่งออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเซาแธมป์ตันไปเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา การเดินทางครั้งนี้มีผู้โดยสารจาก 28 ชาติ รวมทั้งสิ้น 1,309 คน เท่ากับจำนวนผู้โดยสารบนเรือไททานิกเมื่อปี 1912 โดยมีค่าใช้จ่ายคนละ 2,799-5,995 ปอนด์ อาหารที่เสิร์ฟบนเรือก็คัดลอกจากเมนูบนเรือไททานิกทุกประการ และเรือลำนี้จะหยุดทอดสมอในจุดที่ไททานิกล่มกลางมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อให้ผู้โดยสารทำพิธีสวดมนต์ให้กับดวงวิญญาณผู้เสียชีวิต ก่อนจะเดินทางต่อไปยังนครนิวยอร์ก
เมืองเบลฟาสต์ของไอร์แลนด์ซึ่งเป็นจุดกำเนิดเรือไททานิก ก็มีการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ “ไททานิก เบลฟาสต์” ขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา โดยทางการไอร์แลนด์คาดหวังว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และดึงดูดนักเดินทางจากทั่วโลกให้มาเยือนเมืองเบลฟาสต์ หลังจากที่ไอร์แลนด์เหนือต้องเผชิญเหตุรุนแรงจากกลุ่มแบ่งแยก จนกลายเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับนักท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990
ข่าวดีปิดท้ายสำหรับผู้ที่อยากให้ความทรงจำของไททานิกคงอยู่ต่อไปชั่วลูกหลาน องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งองค์การสหประชาชาติ(ยูเนสโก)เพิ่งประกาศในเดือนเมษายนนี้ ให้ซากเรือไททานิกซึ่งจมอยู่ก้นมหาสมุทรในเขตน่านน้ำสากลตกอยู่ในความคุ้มครองของยูเนสโก ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้ทะเลปี 2009 ซึ่งจะมีผลให้ชาติภาคีอนุสัญญามีสิทธิ์สั่งห้ามทำลายหรือซื้อขายโบราณวัตถุที่ได้จากเรือไททานิก ตลอดจนมีส่วนร่วมปกปักรักษาให้มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อไป.
ปัจจุบันนี้ เรื่องราวของไททานิกกลายเป็นจุดขายสำหรับธุรกิจหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาพยนต์, หนังสือ, เพลง, บทกวี หรือแม้กระทั่งพิพิธภัณฑ์ต่างๆที่นำเอาข้าวของเครื่องใช้จากเรือไททานิกไปจัดแสดง นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักหลายสิบชีวิตยอมจ่ายเงินหลายพันดอลลาร์เพื่อซื้อที่นั่งบนเรือดำน้ำลงไปชมสุสานเรือไททานิกกันถึงก้นมหาสมุทรแอตแลนติก
ซากเรือไททานิกจมอยู่ก้นมหาสมุทรอย่างโดดเดี่ยวมานานหลายทศวรรษ จนกระทั่งเทคโนโลยีเรือดำน้ำค้นหามันพบในปี 1985 ทำให้ความเป็นมาของเรือสำราญ "ไม่มีวันจม" ลำนี้กลับมาเป็นที่กระหายใคร่รู้ของชาวโลกอีกครั้ง
สิบกว่าปีต่อมา ผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน หยิบยกชะตากรรมของเรือไททานิกมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่กวาดรางวัลลูกโลกทองคำ 4 สาขา และรางวัลออสการ์อีก 11 สาขาในปี 1997 ภาพยนตร์เรื่องนี้ติดอันดับหนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลถึง 12 ปีซ้อน และยังทำให้มีผู้ผลิตสารคดีเกี่ยวกับเรือไททานิกติดตามมาอีกนับไม่ถ้วน
ไททานิก เป็นเรือเดินสมุทรของบริษัท ไวท์ สตาร์ ไลน์ ต่อขึ้นที่เมืองเบลฟาสต์ของไอร์แลนด์โดยใช้เวลาตั้งแต่ปี 1909-1911 ออกเดินทางเที่ยวแรกและเที่ยวสุดท้ายจากเมืองเซาแธมป์ตันของอังกฤษสู่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 10 เมษายน ปี 1912 โดยมีผู้โดยสารและลูกเรือร่วมเดินทางกว่า 2,200 ชีวิต ต้องนำเนื้อสัตว์และปลาขึ้นไปประกอบอาหารกว่า 130,000 ปอนด์ ไอศกรีมอีก 1,750 ปอนด์ ขณะที่เรือชูชีพมีอยู่เพียง 20 ลำ จากที่ออกแบบไว้ให้สามารถติดตั้งได้ถึง 32 ลำ
ระหว่างเดินทาง ลูกเรือไททานิกได้รับสัญญาณเตือนให้ระวังภูเขาน้ำแข็งมากกว่า 30 ครั้ง แต่ไม่ได้แจ้งให้กัปตันรับทราบ จนกระทั่งเรือชนเข้ากับก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาในเวลา 11.40 น. ของวันที่ 14 เมษายน และจมลงสู่ก้นมหาสมุทรลึกกว่า 4,000 เมตรนอกชายฝั่งนิวฟันด์แลนด์ ในเวลา 2.20 น. ของวันที่ 15 เมษายน
ลอว์เรนซ์ บีสลีย์ หนึ่งในผู้รอดชีวิต เล่าว่า ตอนแรกผู้คนบนเรือไม่มีใครเชื่อว่าไททานิกกำลังจะจม แถมยังพูดติดตลกกันเสียอีกว่า เรือคงต้องจอดพักเพื่อพ่นสีทับรอยถลอกจากการชนภูเขาน้ำแข็ง เหตุเพราะคำโฆษณาที่ว่าเรือลำนี้ “ไม่มีวันจม” ซึ่งทุกคนต่างเชื่อเช่นนั้น
การอับปางลงของเรือซึ่งว่ากันว่า “แม้แต่พระเจ้าก็ยังจมไม่ได้” อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โศกนาฏกรรมไททานิกยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำ และถูกหยิบยกมาเป็นบทเรียนสอนใจคนทุกยุคทุกสมัย
เหตุการณ์จริงที่เศร้าสลดเหมือนนิยายเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไททานิกถูกกล่าวถึงมานานนับร้อยปี คนจำนวนมากยังประทับใจกับคุณธรรมของสุภาพบุรุษเศรษฐีที่ยอมเสียสละให้ผู้หญิงและเด็กขึ้นเรือชูชีพไปก่อน หรือผู้โดยสารชั้นหนึ่งบางคนที่ยอมติดอยู่บนเรือ เพื่อให้คนอื่นๆมีชีวิตรอด
กระนั้นก็ตาม สถิติการรอดชีวิตบนเรือไททานิกยังผันแปรตามจำนวนเงินในกระเป๋าอย่างเห็นได้ชัด ร้อยละ 60 ของผู้โดยสารชั้น 1 มีโอกาสกลับไปเล่าประสบการณ์ระทึกให้ลูกหลานฟัง ขณะที่ผู้โดยสารชั้น 2 และลูกเรือรอดชีวิตเพียงร้อยละ 42 และ 25 หลากกิจกรรมรำลึก 100 ปี โศกนาฏกรรมกลางสมุทร
เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปีการอับปางของเรือไททานิก ซึ่งถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเดินเรือ ทั่วโลกจึงพร้อมใจกันจัดกิจกรรมมากมายทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงชะตากรรมของเรือสำราญที่ยิ่งใหญ่ลำนี้
หนึ่งในนั้นคือการนำเอาภาพยนตร์ “ไททานิก” ฉบับปี 1997 มาปัดฝุ่นใหม่ด้วยเทคนิคภาพสามมิติ โดยฝีมือผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน คนเดิม ซึ่งเรียกความสนใจได้ไม่น้อยทั้งจากเยาวชนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยชมเวอร์ชั่นก่อน และคนวัยผู้ใหญ่ที่อยากเห็นฉากรักโรแมนติกของ แจ๊ค กับ โรส ในรูปแบบที่สมจริงกว่าเดิม
สำหรับผู้ที่ใฝ่ฝันอยากสัมผัสการเดินทางไปพร้อมกับเรือไททานิกเหมือนเมื่อ 100 ปีก่อน เรือสำราญ เอ็มเอส บัลมอรัล ของอังกฤษก็จัดทริป “ย้อนรอยไททานิก” ซึ่งเพิ่งออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเซาแธมป์ตันไปเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา การเดินทางครั้งนี้มีผู้โดยสารจาก 28 ชาติ รวมทั้งสิ้น 1,309 คน เท่ากับจำนวนผู้โดยสารบนเรือไททานิกเมื่อปี 1912 โดยมีค่าใช้จ่ายคนละ 2,799-5,995 ปอนด์ อาหารที่เสิร์ฟบนเรือก็คัดลอกจากเมนูบนเรือไททานิกทุกประการ และเรือลำนี้จะหยุดทอดสมอในจุดที่ไททานิกล่มกลางมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อให้ผู้โดยสารทำพิธีสวดมนต์ให้กับดวงวิญญาณผู้เสียชีวิต ก่อนจะเดินทางต่อไปยังนครนิวยอร์ก
เมืองเบลฟาสต์ของไอร์แลนด์ซึ่งเป็นจุดกำเนิดเรือไททานิก ก็มีการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ “ไททานิก เบลฟาสต์” ขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา โดยทางการไอร์แลนด์คาดหวังว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และดึงดูดนักเดินทางจากทั่วโลกให้มาเยือนเมืองเบลฟาสต์ หลังจากที่ไอร์แลนด์เหนือต้องเผชิญเหตุรุนแรงจากกลุ่มแบ่งแยก จนกลายเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับนักท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990
ข่าวดีปิดท้ายสำหรับผู้ที่อยากให้ความทรงจำของไททานิกคงอยู่ต่อไปชั่วลูกหลาน องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งองค์การสหประชาชาติ(ยูเนสโก)เพิ่งประกาศในเดือนเมษายนนี้ ให้ซากเรือไททานิกซึ่งจมอยู่ก้นมหาสมุทรในเขตน่านน้ำสากลตกอยู่ในความคุ้มครองของยูเนสโก ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้ทะเลปี 2009 ซึ่งจะมีผลให้ชาติภาคีอนุสัญญามีสิทธิ์สั่งห้ามทำลายหรือซื้อขายโบราณวัตถุที่ได้จากเรือไททานิก ตลอดจนมีส่วนร่วมปกปักรักษาให้มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อไป.