เอเจนซี - ปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯ ก้าวผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจ และธำรงรักษาความเป็นอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกมาได้ยืนยาวหลายสิบปี ก็คือความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
ในขณะเดียวกัน คนอเมริกันจำนวนมากก็ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นพวกอนุรักษนิยมที่มีศรัทธาความเชื่อในทางศาสนาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสร้างสรรพสิ่งทั้งปวง
บางครั้งบางคราวทั้งสองด้านนี้ก็เกิดการขัดแย้งเกิดการปะทะกัน
กรณีล่าสุดคือที่มลรัฐเทนเนสซี มลรัฐทางภาคใต้ที่เป็นฐานอันแข็งแกร่งของ “ที ปาร์ตี้” พวกนักเคลื่อนไหวอนุรักษนิยมสุดขั้ว
รัฐสภาของมลรัฐเทนเนสซีทำท่าจะอนุมัติร่างกฎหมายฉบับหนึ่งภายในวันอังคาร (10) นี้ ซึ่งจะอนุญาตให้บรรดาครูอาจารย์ตามโรงเรียนภาครัฐสามารถที่จะประกาศท้าทายความรู้ทางวิทยาศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหัวข้อต่างๆ อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และทฤษฎีวิวัฒนาการ พูดง่ายๆ ก็คือบอกกับนักเรียนในห้องเรียนว่าไม่เชื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ และจะไม่ถูกพิจารณาลงโทษแต่อย่างใด
เวลานี้สมาคมครูสอนวิทยาศาสตร์แห่งเทนเนสซี และสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของชาวอเมริกันสาขาเทนเนสซี ซึ่งเป็นตัวตั้งตั้วตีสำคัญที่สุดในการคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้ กำลังเรียกร้องให้ บิล แฮสแลม ผู้ว่าการมลรัฐซึ่งเป็นชาวพรรครีพับลิกัน ใช้อำนาจวีโต้ยับยั้งเพื่อไม่ให้กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้
พวกเขาบอกว่าร่างกฎหมายนี้คือการทำให้พวกนักการศึกษาที่เชื่อในเรื่อง “การออกแบบอย่างมีปัญญา” (Intelligent Design) ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่จะสอนแนวความคิดซึ่งเป็น “วิทยาศาสตร์จอมปลอม”
ทั้งนี้ “การออกแบบอย่างมีปัญญา” เชื่อว่า มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า รูปแบบของชีวิตนั้นพัฒนาขึ้นมา ภายใต้ทิศทางที่กำหนดโดยปัญญาที่อยู่ในระดับสูงกว่าของมนุษย์
ขณะที่สมาชิกซึ่งเป็นชาวเทนเนสซีของบัณฑิตยสถานทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ ก็ส่งจดหมายถึงพวกสมาชิกรัฐสภาของมลรัฐ โต้แย้งว่าร่างกฎหมายนี้จะ “ให้การศึกษาแก่นักเรียนอย่างผิดๆ, ก่อให้เกิดอันตรายต่อชื่อเสียงในระดับชาติของมลรัฐนี้, และบั่นทอนความพยายามของมลรัฐที่จะทำการแข่งขันในเศรษฐกิจระดับโลกที่ขับดันโดยวิทยาศาสตร์”
อย่างไรก็ตาม พวกที่คัดค้านทำท่าจะเป็นฝ่ายปราชัย ในเมื่อผู้ว่าการมลรัฐแฮสแลม แสดงท่าทีว่าถ้าร่างกฎหมายนี้ผ่านรัฐสภา เขาก็ยินดีลงนามให้มีผลบังคับใช้
อันที่จริง ถ้าหากออกกฎหมายนี้มาจริงๆ เทนเนสซีก็ใช่ว่าจะโดดเดี่ยว แต่จะเข้าร่วมกับอีก 9 มลรัฐในสหรัฐฯ ซึ่งมีกฎหมายที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กันนี้
ในขณะเดียวกัน คนอเมริกันจำนวนมากก็ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นพวกอนุรักษนิยมที่มีศรัทธาความเชื่อในทางศาสนาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสร้างสรรพสิ่งทั้งปวง
บางครั้งบางคราวทั้งสองด้านนี้ก็เกิดการขัดแย้งเกิดการปะทะกัน
กรณีล่าสุดคือที่มลรัฐเทนเนสซี มลรัฐทางภาคใต้ที่เป็นฐานอันแข็งแกร่งของ “ที ปาร์ตี้” พวกนักเคลื่อนไหวอนุรักษนิยมสุดขั้ว
รัฐสภาของมลรัฐเทนเนสซีทำท่าจะอนุมัติร่างกฎหมายฉบับหนึ่งภายในวันอังคาร (10) นี้ ซึ่งจะอนุญาตให้บรรดาครูอาจารย์ตามโรงเรียนภาครัฐสามารถที่จะประกาศท้าทายความรู้ทางวิทยาศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหัวข้อต่างๆ อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และทฤษฎีวิวัฒนาการ พูดง่ายๆ ก็คือบอกกับนักเรียนในห้องเรียนว่าไม่เชื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ และจะไม่ถูกพิจารณาลงโทษแต่อย่างใด
เวลานี้สมาคมครูสอนวิทยาศาสตร์แห่งเทนเนสซี และสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของชาวอเมริกันสาขาเทนเนสซี ซึ่งเป็นตัวตั้งตั้วตีสำคัญที่สุดในการคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้ กำลังเรียกร้องให้ บิล แฮสแลม ผู้ว่าการมลรัฐซึ่งเป็นชาวพรรครีพับลิกัน ใช้อำนาจวีโต้ยับยั้งเพื่อไม่ให้กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้
พวกเขาบอกว่าร่างกฎหมายนี้คือการทำให้พวกนักการศึกษาที่เชื่อในเรื่อง “การออกแบบอย่างมีปัญญา” (Intelligent Design) ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่จะสอนแนวความคิดซึ่งเป็น “วิทยาศาสตร์จอมปลอม”
ทั้งนี้ “การออกแบบอย่างมีปัญญา” เชื่อว่า มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า รูปแบบของชีวิตนั้นพัฒนาขึ้นมา ภายใต้ทิศทางที่กำหนดโดยปัญญาที่อยู่ในระดับสูงกว่าของมนุษย์
ขณะที่สมาชิกซึ่งเป็นชาวเทนเนสซีของบัณฑิตยสถานทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ ก็ส่งจดหมายถึงพวกสมาชิกรัฐสภาของมลรัฐ โต้แย้งว่าร่างกฎหมายนี้จะ “ให้การศึกษาแก่นักเรียนอย่างผิดๆ, ก่อให้เกิดอันตรายต่อชื่อเสียงในระดับชาติของมลรัฐนี้, และบั่นทอนความพยายามของมลรัฐที่จะทำการแข่งขันในเศรษฐกิจระดับโลกที่ขับดันโดยวิทยาศาสตร์”
อย่างไรก็ตาม พวกที่คัดค้านทำท่าจะเป็นฝ่ายปราชัย ในเมื่อผู้ว่าการมลรัฐแฮสแลม แสดงท่าทีว่าถ้าร่างกฎหมายนี้ผ่านรัฐสภา เขาก็ยินดีลงนามให้มีผลบังคับใช้
อันที่จริง ถ้าหากออกกฎหมายนี้มาจริงๆ เทนเนสซีก็ใช่ว่าจะโดดเดี่ยว แต่จะเข้าร่วมกับอีก 9 มลรัฐในสหรัฐฯ ซึ่งมีกฎหมายที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กันนี้