(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Little Bollywood struggles in Afghanistan
By Hejratullah Ekhtiyar
12/01/2012
เมืองจาลาลาบัด ของอัฟกานิสถาน ได้รับสมญานามว่า “ลิตเติล มุมไบ” ตามชื่อของนครในอินเดียที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง สืบเนื่องจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์อันคึกคักของที่นั่นซึ่งได้รับการขนานนามว่า “บอลลีวู้ด” (Bollywood) สำหรับ “บอลลีวู้ด” เวอร์ชั่นอัฟกานิสถาน ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแห่งนี้ ก็มีความสำเร็จพอที่จะโอ่อวดในเรื่องการดึงดูดฝูงชนผู้ตื่นเต้นยินดีทั้งหลาย ให้เข้าไปชมภาพยนตร์ที่ถ่ายทำขึ้นในท้องถิ่น ถึงแม้ภาพยนตร์เหล่านี้ต้องฉายกันภายในเต็นท์ เนื่องจากเมืองนี้ไม่มีโรงภาพยนตร์ สภาพดังกล่าวนี้สร้างความยากลำบากให้แก่พวกนักสร้างหนัง ซึ่งทั้งต้องดิ้นรนเพื่อให้มีรายได้ ขณะเดียวกันก็ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางภัยคุกคาม “ที่อาจจะถูกตัดหัวด้วยมีดของพวกตอลิบาน”
จาลาลาบัด, อัฟกานิสถาน – เมื่อมองดูทีแรกสุด พวกเต็นท์สีเขียวที่ตั้งเรียงรายเป็นแถวในเมืองจาลาลาบัด เมืองใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถาน ให้ความรู้สึกว่าน่าจะเป็นที่พำนักชั่วคราวของพวกผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วเต็นท์เหล่านี้กลับถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างออกไปมาก ในนครซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า “ลิตเติล มุมไบ” (Little Mumbai มุมไบน้อย) สืบเนื่องจากเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอัฟกานิสถานซึ่งมีความใกล้เคียงมากที่สุดกับ “บอลลีวู้ด” (Bollywood) [1] เต็นท์เหล่านี้คือโรงภาพยนตร์ของท้องถิ่น
ด้วยการจ่ายเงินค่าผ่านประตูคราวละประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ชาวเมืองจาลาลาบัดก็สามารถเข้าไปชมภาพยนตร์ที่สร้างในท้องถิ่นและพูดภาษาของพวกเขาเอง นั่นคือ ภาษา ปาชโต (Pashto)
เต็นท์โรงภาพยนตร์เหล่านี้เปิดฉายเฉพาะในวันหยุดราชการ ผ้าที่ใช้ทำเต็นท์จะมีการเย็บซ้อนกันหลายชั้นเพื่อปิดรูของเนื้อผ้า จะได้ช่วยป้องกันไม่ให้แสงสว่างตอนกลางวันแทรกตัวเข้าไป
เซรอวาร์ (Zerawar) หนุ่มวัย 23 ปี เพิ่งชมภาพยนตร์ไป 3 เรื่องติดต่อกัน ถึงแม้ความสำราญของเขาต้องถูกลดทอนลงไปบ้างจากเสียงดังข้างนอกเต็นท์ ในเมื่อพวกหนุ่มๆ ออกมาซิ่งมอเตอร์ไซค์อยู่แถวๆ นั้น
“ผมอยากให้ในจังหวัดนันการ์ฮาร์ (Nangarhar) นี่ มีโรงหนังจังเลย” เซรอวาร์ กล่าว “พวกข้าราชการของเราน่ะมัวแต่วุ่นวายอยู่กับการปล้นสะดมแย่งชิง แล้วพวกเขาก็ไม่รู้จักเข้ามาดูอะไรแบบนี้ด้วย”
ย้อนหลังกลับไปในยุคทศวรรษ 1980 เมืองจาลาลาบัดมีโรงภาพยนตร์อยู่ 2 โรง ทว่าต่างก็ลาลับไปนมนานแล้ว
นาจิโบลเลาะห์ ซาเดก (Najibollah Sadeq) ประธานสหภาพคนงานอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน กล่าวว่า การที่รัฐบาลไม่กระตือรือร้นที่จะทำอะไร ย่อมหมายความว่าแผนการที่จะสร้างโรงภาพยนตร์ไม่ได้กลายเป็นจริงขึ้นมาเลย
เขาบอกด้วยว่า สมาคมของเขาเคยไปเช่าห้องโถงตามโรงแรมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ในจังหวัดนันการ์ฮาร์ เพื่อใช้ฉายภาพยนตร์ แต่เวลานี้พวกเจ้าของโรงแรมไม่ยอมให้เช่าอีกแล้ว โดยให้เหตุผลว่ามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ
ผลก็คือ “เราจำเป็นต้องตั้งเต็นท์พวกนี้ขึ้นมา เอาไว้ฉายหนังของเราให้ประชาชนได้ดูกัน” เขากล่าว
โมฮัมหมัด ซาริฟ (Mohammad Zarif) ซึ่งทั้งเป็นผู้สร้างและเป็นผู้แสดงในภาพยนตร์เรื่อง “Upper and Lower Pashtuns United” หนึ่งในภาพยนตร์ที่กำลังฉายกันอยู่ตอนนี้ กล่าวว่า การฉายหนังในเต็นท์ต้องถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากไม่มีทางอื่นอีกแล้ว
“นักสร้างหนังและนักแสดงต่างต้องขาดทุนมากมายมหาศาล พวกเขากำลังหมดความสนใจกับเรื่องหนัง และหลายๆ คนต่างถอดใจเลิกทำอาชีพนี้กันแล้ว” เขาบอก
หลังจากที่รัฐบาลตอลิบานถูกขับไล่ออกไปในปี 2001 อัฟกานิสถานก็เปิดกว้างต้อนรับสื่อทุกชนิดทุกประเภท ในเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์นั้น ไม่มีที่ไหนจะมีผลิตภาพสูงเหมือนจาลาลาบัด โดยที่มีการสร้างภาพยนตร์มากกว่า 100 เรื่องในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
คุณค่าของงานสร้างอาจจะอยู่ในระดับแค่เตาะแตะพื้นฐาน และการแสดงในบางส่วนยังถือเป็นผลงานระดับมือสมัครเล่น กระนั้นด้วยปริมาณและความนิยมชมชื่นของภาพยนตร์ภาษาปาชโตที่ถูกสร้างกันขึ้นมา ก็ทำให้เมืองจาลาลาบัดได้สมญานามว่า “ลิตเติล มุมไบ”
การสร้างภาพยนตร์ที่นี่นับเป็นการดิ้นรนต่อสู้ที่ลำบากยากเย็นจริงๆ เริ่มตั้งแต่ไม่สามารถหาคนท้องถิ่นมาแสดงบทของตัวละครฝ่ายหญิงได้เลย เหตุผลก็คือชาวอัฟกันยังคงยึดถือขนบธรรมเนียมและค่านิยมแบบอนุรักษนิยมอย่างเคร่งครัด
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ผู้สร้างหนังต้องข้ามพรมแดนไปยังปากีสถานที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อว่าจ้างนักแสดงหญิงที่นั่น และถ่ายทำฉากของพวกเธอกันที่นั่น จากนั้นจึงนำเอาฟิล์มเหล่านี้มารวมเข้ากับส่วนที่ถ่ายทำในนันการ์ฮาร์
นักแสดงชายผู้หนึ่งที่เรียกขานกันว่า ชาอัน (Shaan) เล่าให้ฟังว่า ฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ที่เขาแสดงนั้น ไม่มีผู้หญิงมาเข้าฉากเลย “จนกระทั่งเมื่อผมดูหนังที่สร้างเสร็จแล้วนั่นแหละ ผมถึงได้เห็นนักแสดงหญิงวิ่งไปข้างน้า และตัวผมเองกำลังไล่ตามหลังเธอ” เขาเล่าอย่างขำๆ
ประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนไหวในการสร้างภาพยนตร์ในอัฟกานิสถาน โดยที่พวกสถานีโทรทัศน์ในประเทศนี้ก็มักถูกโจมตีอยู่บ่อยๆ จากการนำเอาภาพยนตร์บอลลีวู้ดมาฉายออกอากาศ เนื่องจากพวกชาวบ้านที่เป็นผู้ชมเห็นกันว่าร้อนแรงหรือกระทั่งอนาจารเกินกว่าที่จะยอมรับได้
สำหรับผู้ชมเฉกเช่นเซรอวาร์แล้ว ภาพยนตร์ที่สร้างกันในนันการ์ฮาร์และพูดภาษาปาชโต นับว่าเจ๋งที่สุด
“พวกหนังต่างชาติมีแต่เป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมและศรัทธาความเชื่อของเรา แต่หนังอัฟกันกลับให้คติแก่เราในเรื่องความรักชาติและมนุษยธรรม” เขากล่าว
กระนั้น ก็ดังที่ ซาเดก ชี้ออกมาให้เห็น พวกนักสร้างภาพยนตร์และนักแสดงชายของอัฟกานิสถาน ยังคงตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกเล่นงานทำร้ายจากกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นรุนแรงกว่าชาวบ้านทั่วๆ ไป
“ทุกๆ คืนเมื่อผมกลับบ้าน ผมต้องคอยตรวจตรารอบๆ บ้านของผม 4 รอบ ผมใช้ชีวิตอยู่ในความหวาดกลัวจริงๆ” เขาเล่า “ผู้คนไม่น้อยเลยที่เชื่อว่าถ้าใครก็ตามทำงานในแวดวงเกี่ยวกับหนัง เขาคือคนนอกรีตนอกศาสนา และเราก็เลยไม่สามารถออกไปถ่ายทำหนังกันนอกเมือง”
เขายืนยันว่า นักการศาสนาอิสลามจำนวนมากต่างพอใจกับเนื้อหาของภาพยนตร์ที่สร้างกันในท้องถิ่น ทว่าถ้าหากพวกตอลิบานติดตามผลงานของนักสร้างหนังเหล่านี้แล้ว “พวกเขาคงจะเอามีดมาตัดคอพวกเราแน่ๆ”
โมฮัมหมัด อาเซฟ บาฮาดอรี (Mohammad Asef Bahadori) มองตัวเขาเองว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาษาปาชโตขึ้นในจังหวัดนี้ แต่เขากล่าวว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่การสร้างภาพยนตร์เช่นนี้จะสามารถทำกำไรได้
“ผมสร้างหนังมาแล้ว 12 เรื่องในจังหวัดนันการ์ฮาร์ โดยที่ใช้เงินทุนของผมเอง ผมใช้เงินทองไปมากมาย แล้วก็ต้องขาดทุนมหาศาล เพราะหนังเหล่านั้นไม่สามารถทำรายได้จนคุ้มกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ตอนนี้ผมจึงเลิกสร้างหนังแล้ว” เขาบอก
“เนื่องจากไม่มีโรงหนังให้ผู้ชมเข้ามาดูและจ่ายค่าตั๋วอย่างเป็นเรื่องเป็นราว หนังจำนวนมากจึงถูกวางขายในรูปแผ่นซีดี แม้กระทั่งก่อนที่ผู้สร้างจะตัดต่อขั้นสุดท้ายเสร็จ ซีดีพวกนี้ไปขายกันตามร้านต่างๆ และทำเงินได้ได้น้อยเหลือเกิน แม้กระทั่งสัก 5% ของต้นทุนที่ลงไปก็ยังไม่ได้เลย”
โมฮัมหมัด ชาห์ (Mohammad Shah) ตัวแทนของ อัฟกัน ฟิล์ม (Afghan Film) องค์กรของรัฐซึ่งสังกัดอยู่กับกองวัฒนธรรมและสารสนเทศของรัฐบาลจังหวัดนันการ์ฮาร์ บอกว่าเขาได้หยิบยกเรื่องนี้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาทั้งหลายแล้ว แต่ไม่ได้ผลอะไร
“เราไม่ได้มีอะไรอยู่ในมือเลย เราจึงไม่สามารถทำอะไรได้ทั้งนั้น รัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุน อัฟกัน ฟิล์ม เมื่อเราพยายามพูดจากับพวกเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเขาอย่างมากก็ผงกศีรษะทว่าไม่ได้ทำอะไรเลย” เขากล่าว
ถึงแม้เต็มไปด้วยอุปสรรคสิ่งกีดขวางนานา แต่ซาเดกยังคงพยายามมองโลกในแง่ดี เขายกตัวอย่างเรื่องราวความสำเร็จ 2 เรื่องขึ้นมาสนับสนุน ได้แก่ การที่ภาพยนตร์ที่ใช้ชื่อว่า “Handprint” ชนะรางวัลที่ 1 ในเทศกาลภาพยนตร์ระดับชาติ ส่วนซีรีส์ละคร 22 ตอนที่ใช้ชื่อว่า “White Poison” ได้รับเลือกให้ฉายทางเครือข่ายโทรทัศน์แห่งชาติ
“เราลดรายจ่ายค่าอาหารสำหรับลูกๆ ของเราเอง เพื่อนำเงินมาใช้สำหรับภาพยนตร์เหล่านี้” เขากล่าว “การทำหนังอัฟกันนั้นมันไม่ได้กำไรหรอก แต่พวกเราก็ได้รับแรงขับดันให้ทำหนัง ทั้งจากความกระตือรือร้นของพวกเราเอง และจากการที่ประชาชนนิยมชมชอบหนังพวกนี้”
**หมายเหตุผู้แปล**
[1] บอลลีวู้ด (Bollywood) คำๆ นี้เป็นการนำเอาคำว่า บอมเบย์ (Bombay) ชื่อเดิมในภาษาอังกฤษของเมืองมุมไบ มาบวกเข้ากับ ฮอลลีวู้ด (Hollywood)
เฮจรอตุลเลาะห์ เอคติยาร์ เป็นผู้สื่อข่าวในจังหวัดนันการ์ฮาร์ ประเทศอัฟกานิสถาน ที่ได้รับการอบรมจาก IWPR ทั้งนี้สถาบันเพื่อการรายงานข่าวสงครามและสันติภาพ (Institute for War and Peace Reporting ใช้อักษรย่อว่า IWPR) เป็นองค์การไม่แสวงกำไรที่มุ่งพัฒนาสื่อมวลชนในดินแดนที่เป็นแนวหน้าของความขัดแย้ง, วิกฤต, และการเปลี่ยนแปลง
Little Bollywood struggles in Afghanistan
By Hejratullah Ekhtiyar
12/01/2012
เมืองจาลาลาบัด ของอัฟกานิสถาน ได้รับสมญานามว่า “ลิตเติล มุมไบ” ตามชื่อของนครในอินเดียที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง สืบเนื่องจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์อันคึกคักของที่นั่นซึ่งได้รับการขนานนามว่า “บอลลีวู้ด” (Bollywood) สำหรับ “บอลลีวู้ด” เวอร์ชั่นอัฟกานิสถาน ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแห่งนี้ ก็มีความสำเร็จพอที่จะโอ่อวดในเรื่องการดึงดูดฝูงชนผู้ตื่นเต้นยินดีทั้งหลาย ให้เข้าไปชมภาพยนตร์ที่ถ่ายทำขึ้นในท้องถิ่น ถึงแม้ภาพยนตร์เหล่านี้ต้องฉายกันภายในเต็นท์ เนื่องจากเมืองนี้ไม่มีโรงภาพยนตร์ สภาพดังกล่าวนี้สร้างความยากลำบากให้แก่พวกนักสร้างหนัง ซึ่งทั้งต้องดิ้นรนเพื่อให้มีรายได้ ขณะเดียวกันก็ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางภัยคุกคาม “ที่อาจจะถูกตัดหัวด้วยมีดของพวกตอลิบาน”
จาลาลาบัด, อัฟกานิสถาน – เมื่อมองดูทีแรกสุด พวกเต็นท์สีเขียวที่ตั้งเรียงรายเป็นแถวในเมืองจาลาลาบัด เมืองใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถาน ให้ความรู้สึกว่าน่าจะเป็นที่พำนักชั่วคราวของพวกผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วเต็นท์เหล่านี้กลับถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างออกไปมาก ในนครซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า “ลิตเติล มุมไบ” (Little Mumbai มุมไบน้อย) สืบเนื่องจากเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอัฟกานิสถานซึ่งมีความใกล้เคียงมากที่สุดกับ “บอลลีวู้ด” (Bollywood) [1] เต็นท์เหล่านี้คือโรงภาพยนตร์ของท้องถิ่น
ด้วยการจ่ายเงินค่าผ่านประตูคราวละประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ชาวเมืองจาลาลาบัดก็สามารถเข้าไปชมภาพยนตร์ที่สร้างในท้องถิ่นและพูดภาษาของพวกเขาเอง นั่นคือ ภาษา ปาชโต (Pashto)
เต็นท์โรงภาพยนตร์เหล่านี้เปิดฉายเฉพาะในวันหยุดราชการ ผ้าที่ใช้ทำเต็นท์จะมีการเย็บซ้อนกันหลายชั้นเพื่อปิดรูของเนื้อผ้า จะได้ช่วยป้องกันไม่ให้แสงสว่างตอนกลางวันแทรกตัวเข้าไป
เซรอวาร์ (Zerawar) หนุ่มวัย 23 ปี เพิ่งชมภาพยนตร์ไป 3 เรื่องติดต่อกัน ถึงแม้ความสำราญของเขาต้องถูกลดทอนลงไปบ้างจากเสียงดังข้างนอกเต็นท์ ในเมื่อพวกหนุ่มๆ ออกมาซิ่งมอเตอร์ไซค์อยู่แถวๆ นั้น
“ผมอยากให้ในจังหวัดนันการ์ฮาร์ (Nangarhar) นี่ มีโรงหนังจังเลย” เซรอวาร์ กล่าว “พวกข้าราชการของเราน่ะมัวแต่วุ่นวายอยู่กับการปล้นสะดมแย่งชิง แล้วพวกเขาก็ไม่รู้จักเข้ามาดูอะไรแบบนี้ด้วย”
ย้อนหลังกลับไปในยุคทศวรรษ 1980 เมืองจาลาลาบัดมีโรงภาพยนตร์อยู่ 2 โรง ทว่าต่างก็ลาลับไปนมนานแล้ว
นาจิโบลเลาะห์ ซาเดก (Najibollah Sadeq) ประธานสหภาพคนงานอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน กล่าวว่า การที่รัฐบาลไม่กระตือรือร้นที่จะทำอะไร ย่อมหมายความว่าแผนการที่จะสร้างโรงภาพยนตร์ไม่ได้กลายเป็นจริงขึ้นมาเลย
เขาบอกด้วยว่า สมาคมของเขาเคยไปเช่าห้องโถงตามโรงแรมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ในจังหวัดนันการ์ฮาร์ เพื่อใช้ฉายภาพยนตร์ แต่เวลานี้พวกเจ้าของโรงแรมไม่ยอมให้เช่าอีกแล้ว โดยให้เหตุผลว่ามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ
ผลก็คือ “เราจำเป็นต้องตั้งเต็นท์พวกนี้ขึ้นมา เอาไว้ฉายหนังของเราให้ประชาชนได้ดูกัน” เขากล่าว
โมฮัมหมัด ซาริฟ (Mohammad Zarif) ซึ่งทั้งเป็นผู้สร้างและเป็นผู้แสดงในภาพยนตร์เรื่อง “Upper and Lower Pashtuns United” หนึ่งในภาพยนตร์ที่กำลังฉายกันอยู่ตอนนี้ กล่าวว่า การฉายหนังในเต็นท์ต้องถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากไม่มีทางอื่นอีกแล้ว
“นักสร้างหนังและนักแสดงต่างต้องขาดทุนมากมายมหาศาล พวกเขากำลังหมดความสนใจกับเรื่องหนัง และหลายๆ คนต่างถอดใจเลิกทำอาชีพนี้กันแล้ว” เขาบอก
หลังจากที่รัฐบาลตอลิบานถูกขับไล่ออกไปในปี 2001 อัฟกานิสถานก็เปิดกว้างต้อนรับสื่อทุกชนิดทุกประเภท ในเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์นั้น ไม่มีที่ไหนจะมีผลิตภาพสูงเหมือนจาลาลาบัด โดยที่มีการสร้างภาพยนตร์มากกว่า 100 เรื่องในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
คุณค่าของงานสร้างอาจจะอยู่ในระดับแค่เตาะแตะพื้นฐาน และการแสดงในบางส่วนยังถือเป็นผลงานระดับมือสมัครเล่น กระนั้นด้วยปริมาณและความนิยมชมชื่นของภาพยนตร์ภาษาปาชโตที่ถูกสร้างกันขึ้นมา ก็ทำให้เมืองจาลาลาบัดได้สมญานามว่า “ลิตเติล มุมไบ”
การสร้างภาพยนตร์ที่นี่นับเป็นการดิ้นรนต่อสู้ที่ลำบากยากเย็นจริงๆ เริ่มตั้งแต่ไม่สามารถหาคนท้องถิ่นมาแสดงบทของตัวละครฝ่ายหญิงได้เลย เหตุผลก็คือชาวอัฟกันยังคงยึดถือขนบธรรมเนียมและค่านิยมแบบอนุรักษนิยมอย่างเคร่งครัด
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ผู้สร้างหนังต้องข้ามพรมแดนไปยังปากีสถานที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อว่าจ้างนักแสดงหญิงที่นั่น และถ่ายทำฉากของพวกเธอกันที่นั่น จากนั้นจึงนำเอาฟิล์มเหล่านี้มารวมเข้ากับส่วนที่ถ่ายทำในนันการ์ฮาร์
นักแสดงชายผู้หนึ่งที่เรียกขานกันว่า ชาอัน (Shaan) เล่าให้ฟังว่า ฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ที่เขาแสดงนั้น ไม่มีผู้หญิงมาเข้าฉากเลย “จนกระทั่งเมื่อผมดูหนังที่สร้างเสร็จแล้วนั่นแหละ ผมถึงได้เห็นนักแสดงหญิงวิ่งไปข้างน้า และตัวผมเองกำลังไล่ตามหลังเธอ” เขาเล่าอย่างขำๆ
ประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนไหวในการสร้างภาพยนตร์ในอัฟกานิสถาน โดยที่พวกสถานีโทรทัศน์ในประเทศนี้ก็มักถูกโจมตีอยู่บ่อยๆ จากการนำเอาภาพยนตร์บอลลีวู้ดมาฉายออกอากาศ เนื่องจากพวกชาวบ้านที่เป็นผู้ชมเห็นกันว่าร้อนแรงหรือกระทั่งอนาจารเกินกว่าที่จะยอมรับได้
สำหรับผู้ชมเฉกเช่นเซรอวาร์แล้ว ภาพยนตร์ที่สร้างกันในนันการ์ฮาร์และพูดภาษาปาชโต นับว่าเจ๋งที่สุด
“พวกหนังต่างชาติมีแต่เป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมและศรัทธาความเชื่อของเรา แต่หนังอัฟกันกลับให้คติแก่เราในเรื่องความรักชาติและมนุษยธรรม” เขากล่าว
กระนั้น ก็ดังที่ ซาเดก ชี้ออกมาให้เห็น พวกนักสร้างภาพยนตร์และนักแสดงชายของอัฟกานิสถาน ยังคงตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกเล่นงานทำร้ายจากกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นรุนแรงกว่าชาวบ้านทั่วๆ ไป
“ทุกๆ คืนเมื่อผมกลับบ้าน ผมต้องคอยตรวจตรารอบๆ บ้านของผม 4 รอบ ผมใช้ชีวิตอยู่ในความหวาดกลัวจริงๆ” เขาเล่า “ผู้คนไม่น้อยเลยที่เชื่อว่าถ้าใครก็ตามทำงานในแวดวงเกี่ยวกับหนัง เขาคือคนนอกรีตนอกศาสนา และเราก็เลยไม่สามารถออกไปถ่ายทำหนังกันนอกเมือง”
เขายืนยันว่า นักการศาสนาอิสลามจำนวนมากต่างพอใจกับเนื้อหาของภาพยนตร์ที่สร้างกันในท้องถิ่น ทว่าถ้าหากพวกตอลิบานติดตามผลงานของนักสร้างหนังเหล่านี้แล้ว “พวกเขาคงจะเอามีดมาตัดคอพวกเราแน่ๆ”
โมฮัมหมัด อาเซฟ บาฮาดอรี (Mohammad Asef Bahadori) มองตัวเขาเองว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาษาปาชโตขึ้นในจังหวัดนี้ แต่เขากล่าวว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่การสร้างภาพยนตร์เช่นนี้จะสามารถทำกำไรได้
“ผมสร้างหนังมาแล้ว 12 เรื่องในจังหวัดนันการ์ฮาร์ โดยที่ใช้เงินทุนของผมเอง ผมใช้เงินทองไปมากมาย แล้วก็ต้องขาดทุนมหาศาล เพราะหนังเหล่านั้นไม่สามารถทำรายได้จนคุ้มกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ตอนนี้ผมจึงเลิกสร้างหนังแล้ว” เขาบอก
“เนื่องจากไม่มีโรงหนังให้ผู้ชมเข้ามาดูและจ่ายค่าตั๋วอย่างเป็นเรื่องเป็นราว หนังจำนวนมากจึงถูกวางขายในรูปแผ่นซีดี แม้กระทั่งก่อนที่ผู้สร้างจะตัดต่อขั้นสุดท้ายเสร็จ ซีดีพวกนี้ไปขายกันตามร้านต่างๆ และทำเงินได้ได้น้อยเหลือเกิน แม้กระทั่งสัก 5% ของต้นทุนที่ลงไปก็ยังไม่ได้เลย”
โมฮัมหมัด ชาห์ (Mohammad Shah) ตัวแทนของ อัฟกัน ฟิล์ม (Afghan Film) องค์กรของรัฐซึ่งสังกัดอยู่กับกองวัฒนธรรมและสารสนเทศของรัฐบาลจังหวัดนันการ์ฮาร์ บอกว่าเขาได้หยิบยกเรื่องนี้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาทั้งหลายแล้ว แต่ไม่ได้ผลอะไร
“เราไม่ได้มีอะไรอยู่ในมือเลย เราจึงไม่สามารถทำอะไรได้ทั้งนั้น รัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุน อัฟกัน ฟิล์ม เมื่อเราพยายามพูดจากับพวกเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเขาอย่างมากก็ผงกศีรษะทว่าไม่ได้ทำอะไรเลย” เขากล่าว
ถึงแม้เต็มไปด้วยอุปสรรคสิ่งกีดขวางนานา แต่ซาเดกยังคงพยายามมองโลกในแง่ดี เขายกตัวอย่างเรื่องราวความสำเร็จ 2 เรื่องขึ้นมาสนับสนุน ได้แก่ การที่ภาพยนตร์ที่ใช้ชื่อว่า “Handprint” ชนะรางวัลที่ 1 ในเทศกาลภาพยนตร์ระดับชาติ ส่วนซีรีส์ละคร 22 ตอนที่ใช้ชื่อว่า “White Poison” ได้รับเลือกให้ฉายทางเครือข่ายโทรทัศน์แห่งชาติ
“เราลดรายจ่ายค่าอาหารสำหรับลูกๆ ของเราเอง เพื่อนำเงินมาใช้สำหรับภาพยนตร์เหล่านี้” เขากล่าว “การทำหนังอัฟกันนั้นมันไม่ได้กำไรหรอก แต่พวกเราก็ได้รับแรงขับดันให้ทำหนัง ทั้งจากความกระตือรือร้นของพวกเราเอง และจากการที่ประชาชนนิยมชมชอบหนังพวกนี้”
**หมายเหตุผู้แปล**
[1] บอลลีวู้ด (Bollywood) คำๆ นี้เป็นการนำเอาคำว่า บอมเบย์ (Bombay) ชื่อเดิมในภาษาอังกฤษของเมืองมุมไบ มาบวกเข้ากับ ฮอลลีวู้ด (Hollywood)
เฮจรอตุลเลาะห์ เอคติยาร์ เป็นผู้สื่อข่าวในจังหวัดนันการ์ฮาร์ ประเทศอัฟกานิสถาน ที่ได้รับการอบรมจาก IWPR ทั้งนี้สถาบันเพื่อการรายงานข่าวสงครามและสันติภาพ (Institute for War and Peace Reporting ใช้อักษรย่อว่า IWPR) เป็นองค์การไม่แสวงกำไรที่มุ่งพัฒนาสื่อมวลชนในดินแดนที่เป็นแนวหน้าของความขัดแย้ง, วิกฤต, และการเปลี่ยนแปลง