ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ ขณะที่บารัค โอบามา เป็นผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตค่อนข้างแน่นอนแล้ว แต่ฝั่งรีพับลิกันยังคงต้องเฟ้นหาตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวลงชิงเก้าอี้ผู้นำประเทศต่อไป กระบวนการสรรหาผู้สมัครได้ประเดิมการเลือกตั้งขั้นต้นแบบคอคัสสนามแรกไปแล้วที่มลรัฐไอโอวา เมื่อวันอังคาร ที่ 3 มกราคม ก่อนที่มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์จะเปิดคูหาเลือกตั้งแบบไพรมารีในวันที่ 10 มกราคม ส่วนมลรัฐและเขตปกครองที่เหลือจะทยอยเลือกผู้สมัครของพรรคนับจากนี้ไปอีก 6 เดือน โดยตัวแทนเข้าชิงประธานาธิบดีพรรครีพับลิกันจะได้รับการตัดสิน ณ ที่ประชุมใหญ่ในมลรัฐฟลอริดา ช่วงปลายสิงหาคม ส่วนการประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครตจะจัดขึ้นที่มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา ต้นเดือนกันยายน
มิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่าการมลรัฐแมสซาชูเซตส์ เก็บชัยนัดแรกในไอโอวาชนิดหืดจับ โดยเอาชนะริค แซมทอรัม อดีตวุฒิสมาชิกจากมลรัฐเพนซิลเวเนีย ไปเพียง 8 คะแนนเท่านั้น โดยชาวรีพับลิกันในไอโอวาลงคะแนนให้รอมนีย์ 30,015 คะแนน (24.55%) ส่วนแซนทอรัมได้ไป 30,007 คะแนน (24.54%) ขณะที่รอน พอล ส.ส.ลายครามจากเทกซัส ตามมาเป็นอันดับสามที่คะแนน 21.5 %
แม้ไอโอวาจะเป็นมลรัฐขนาดเล็ก มีจำนวนคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) เพียง 25 จากทั้งหมด 538 คนทั่วประเทศ แต่มลรัฐเล็กๆ แห่งนี้ตัดสินอนาคตของผู้ลงสมัครมาแล้วนักต่อนัก เนื่องจากประชากรไอโอวาได้ชื่อว่า มีความศึกษาดี และมีอัตราการว่างงานเพียง 6% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของประเทศที่ 8.6% เสียงของไอโอวาจึงถือได้ว่า เป็นเสียงคุณภาพ ในสหรัฐฯ มีสำนวนว่า “three tickets out of Iowa” หรือไอโอวามีตั๋วแค่ 3 ใบเท่านั้น ซึ่งมีที่มาจากสถิติตั้งแต่ปี 1972 ผู้ได้รับเลือกเป็นตัวผู้สมัครพรรคคนสุดท้ายมักไม่เคยได้รับคะแนนเสียงต่ำกว่าอันดับ 3 ในมลรัฐไอโอวา สถิติยังบอกว่า ชาวไอโอวาเลือกประธานาธิบดีเดโมแครต 5 ใน 6 คนล่าสุด โดยการเลือกตั้งขั้นต้นครั้งที่แล้ว บารัค โอบามา ก็ชนะฮิลลารี คลินตัน ในศึกชิงตำแหน่งผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่สนามนี้เช่นกัน ผลการเลือกตั้งที่นี่จึงเป็นสัญญาณบอกผู้สมัครตั้งแต่เนิ่นๆ ว่า ใครควรถอนตัว และใครควรฮึดสู้ต่อ
ทั้งนี้ มิตต์ รอมนีย์ ในวัย 64 ปี เป็นตัวเต็งที่จะคว้าตั๋วตัวแทนรีพับลิกัน แม้ดูเหมือนเขาไม่มีเสียงสนับสนุนมากนักในมลรัฐไอโอวา ซึ่งมีกลุ่มคริสเตียนอนุรักษนิยม ฐานเสียงสำคัญของริค แซนทอรัม เป็นผู้กว้างขวาง แต่รอมนีย์ก็ยังคว้าชัยมาได้
ด้วยฐานะระดับมหาเศรษฐีจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน รอมนีย์ซื้อโฆษณาโทรทัศน์ในมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ และมลรัฐเซาท์แคโรไลนา ไปแล้วหลายสิบล้านดอลลาร์ อีกทั้งยังทุ่มเงินหาเสียงในฟลอริดา ซึ่งเป็นมลรัฐที่คะแนนของผู้ออกเสียงไม่มีความแน่นอน (swing state) ทั้ง 3 มลรัฐนี้จะมีการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) แบบไพรมารี ภายในเดือนนี้ ตั้งแต่วันที่ 10, 21 และ 31 มกราคมตามลำดับ
ผลงานสำคัญของมิตต์ รอมนีย์ ที่ได้รับการกล่าวถึง คือ การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งว่ากันว่ากลายเป็นต้นแบบนโยบายประกันสุขภาพของประธานาธิบดีบารัค โอบามา อีกทั้งความโดดเด่นในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเดโมแครต “คนๆ นี้เป็นประธานาธิบดีที่ล้มเหลว” เป็นหนึ่งในประโยคเด็ดต่อว่าต่อขานโอบามาของรอมนีย์
อย่างไรก็ตาม สถิติที่โอบามาพอจะอุ่นใจได้อย่างหนึ่งคือ ประธานาธิบดี 2 คนล่าสุด ต่างครองตำแหน่ง 2 สมัยติดต่อกัน ทว่า การตกเป็นเป้านิ่งให้ผู้สมัครรีพับลิกันดาหน้ากันเข้าเล่นงานในประเด็นเศรษฐกิจที่กลายเป็นจุดอ่อน กำลังทำให้เขานั่งไม่ติด เสมือนเป็นการตอกย้ำแผลของเดโมแครต ทั้งปัญหาอัตราการว่างงานสูงลิบ การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยังไม่กระเตื้อง และวิกฤตยูโรโซนที่ทำท่าจะสะเทือนถึงสหรัฐฯ แม้เดโมแครตสามารถผ่านกฎหมายขยายระยะเวลาลดภาษีเงินได้ (payroll tax cut) ออกไปอีก 2 เดือน ในช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมา ทำให้คะแนนนิยมโอบามาขยับขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังไม่ถึง 50% อยู่ดี
ผลสำรวจคะแนนนิยมในตัวโอบามาจากสำนัก “แกลลอปโพล” ระหว่าง 21-23 ธันวาคม ระบุว่า ผู้นำสหรัฐฯ มีคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 47% หลังคะแนนตกต่ำตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา แต่นับว่ายังมีภาษีดีกว่า เมื่อเทียบกับจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีรีพับลิกันคนก่อน ซึ่งมีคะแนนนิยมตกไปที่ 32% และมีคน "ไม่เอาบุช" ถึง 64% ก่อนหมดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัย 2
โอบามามีกำหนดการแถลงนโยบายประจำปี (State of Union) ในวันที่ 24 มกราคม เป็นหนึ่งในโอกาสสำคัญที่จะได้ประกาศนโยบายจุดขายแก่มวลชนทั้งประเทศ ก่อนเข้าสู่ฤดูกาลหาเสียงและเปิดศึกโจมตีนโยบายคู่แข่งอย่างเต็มตัว
***กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ***
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ประชาชนสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง ในการเลือกตั้งขั้นต้นจะเป็นการเลือกตัวแทน (delegate) ของมลรัฐและเขตปกครองต่างๆ ให้เข้าไปเลือกตัวผู้สมัครของพรรคคนสุดท้ายในการประชุมใหญ่ ซึ่งฝ่ายรีพับลิกันจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 สิงหาคม ณ เมืองแทมปา มลรัฐฟลอริดา ส่วนเดโมแครตจะมีขึ้นระหว่าง 3-6 กันยายน ณ เมืองชาร์ลอตต์ มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา
ระบบการเลือกตั้งขั้นต้นตามมลรัฐต่างๆ นี้ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ กล่าวคือ "ไพรมารี" (primary) และ “คอคัส” (caucus)
มลรัฐส่วนใหญ่ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบไพรมารี ซึ่งผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะลงคะแนนเป็นการลับในคูหาเหมือนการเลือกตั้งทั่วไป ส่วนการเลือกตั้งแบบคอคัสมีใช้ในไม่กี่มลรัฐ ที่โดดเด่นก็คือ มลรัฐไอโอวา โดยผู้ที่ลงทะเบียนกับพรรคที่ตนรักจะนัดหมายประชุมกันตามโรงเรียน สถานีดับเพลิง หรืออาคารสาธารณะ ฯลฯ เพื่ออภิปรายถึงตัวผู้สมัครและประเด็นต่างๆ ก่อนการลงคะแนนเลือก “ตัวแทน” ที่ให้สัญญาว่าจะเข้าไปเลือกผู้สมัครตามที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องการในการประชุมระดับเคาน์ตี้ ซึ่งก็จะมีการเลือกตัวแทนระดับมลรัฐ เพื่อส่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของพรรคระดับประเทศ เวทีที่จะรู้ว่าใครเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค
เมื่อได้ตัวผู้สมัครเป็นที่เรียบร้อย ในวันเลือกตั้งทั่วประเทศ 6 พฤศจิกายน ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิ์เลือก “คณะผู้เลือกตั้ง” (electoral college) ที่ให้คำมั่นว่าจะเลือกผู้สมัครคนนั้นๆ คณะผู้เลือกตั้งเหล่านี้เป็นผู้ทำหน้าที่เลือกผู้นำสหรัฐฯ ที่แท้จริง
อนึ่ง จำนวนคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละมลรัฐจะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคิดตามจำนวนประชากร บวกกับจำนวนวุฒิสมาชิกที่ทุกมลรัฐมี 2 คนเท่ากัน เช่น แคลิฟอร์เนีย มลรัฐที่มีประชากรมากที่สุด มี ส.ส. 53 คน ผนวกกับ ส.ว. 2 คน ก็จะมีเสียงคณะผู้เลือกตั้ง 55 เสียง ขณะที่ดิสตริกออฟโคลัมเบีย เขตปกครองพิเศษที่ตั้งของกรุงวอชิงตัน มีคณะผู้เลือกตั้งเพียง 3 เสียงเท่านั้น
ปัจจุบัน คณะผู้เลือกตั้งมีทั้งหมด 538 คน ประธานาธิบดีคือผู้ที่คณะผู้เลือกตั้งลงคะแนนให้เกิน 50% หรือ 270 เสียง มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า ผู้ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน (popular vote) มากกว่า อาจไม่ได้เป็นประธานาธิบดีเสมอไป ตั้งแต่ปี 1804 สหรัฐฯ มีประธานาธิบดี 4 ราย ที่ได้คะแนนนิยมแพ้คู่แข่ง แต่กลับชนะการเลือกตั้ง เช่น กรณีเมื่อปี 2000 อัล กอร์ มีคะแนนนิยม 48.38% ชนะจอร์จ บุช ที่มี 47.87% แต่บุชกลับได้เป็นประธานาธิบดีจากคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 271 เสียง
ทั้งนี้ เนื่องจากระบบ “ผู้ชนะกินรวบ” (Winner-take-all) ทำให้ผู้ชนะป๊อบปูลาร์โหวตแม้เพียงคะแนนเดียว ก็ได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งมลรัฐ เพราะฉะนั้นคะแนนรีพับลิกันในฐานเสียงของเดโมแครต เช่น แคลิฟอร์เนีย อิลลินอยส์ และนิวยอร์ก จึงเสมือนไร้ค่า เช่นเดียวกันกับคะแนนเสียงเดโมแครตในมลรัฐเทกซัส ซึ่งรีพับลิกันยึดเป็นฐานที่มั่น
แม้จะเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่กล่าวกันว่าระบบนี้ทำให้มลรัฐขนาดเล็กมีความสำคัญมากขึ้น ตามเจตนารมณ์ความเสมอภาคของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ เช่น แคลิฟอร์เนียที่มีประชากรคิดเป็น 12.03% แต่คณะผู้เลือกตั้ง 55 คน เป็นเสียงเพียง 10.22% ขณะที่มลรัฐไวโอมิงมีประชากร 0.18% ของประเทศ แต่ได้เสียงคณะผู้เลือกตั้ง 0.56%
มิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่าการมลรัฐแมสซาชูเซตส์ เก็บชัยนัดแรกในไอโอวาชนิดหืดจับ โดยเอาชนะริค แซมทอรัม อดีตวุฒิสมาชิกจากมลรัฐเพนซิลเวเนีย ไปเพียง 8 คะแนนเท่านั้น โดยชาวรีพับลิกันในไอโอวาลงคะแนนให้รอมนีย์ 30,015 คะแนน (24.55%) ส่วนแซนทอรัมได้ไป 30,007 คะแนน (24.54%) ขณะที่รอน พอล ส.ส.ลายครามจากเทกซัส ตามมาเป็นอันดับสามที่คะแนน 21.5 %
แม้ไอโอวาจะเป็นมลรัฐขนาดเล็ก มีจำนวนคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) เพียง 25 จากทั้งหมด 538 คนทั่วประเทศ แต่มลรัฐเล็กๆ แห่งนี้ตัดสินอนาคตของผู้ลงสมัครมาแล้วนักต่อนัก เนื่องจากประชากรไอโอวาได้ชื่อว่า มีความศึกษาดี และมีอัตราการว่างงานเพียง 6% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของประเทศที่ 8.6% เสียงของไอโอวาจึงถือได้ว่า เป็นเสียงคุณภาพ ในสหรัฐฯ มีสำนวนว่า “three tickets out of Iowa” หรือไอโอวามีตั๋วแค่ 3 ใบเท่านั้น ซึ่งมีที่มาจากสถิติตั้งแต่ปี 1972 ผู้ได้รับเลือกเป็นตัวผู้สมัครพรรคคนสุดท้ายมักไม่เคยได้รับคะแนนเสียงต่ำกว่าอันดับ 3 ในมลรัฐไอโอวา สถิติยังบอกว่า ชาวไอโอวาเลือกประธานาธิบดีเดโมแครต 5 ใน 6 คนล่าสุด โดยการเลือกตั้งขั้นต้นครั้งที่แล้ว บารัค โอบามา ก็ชนะฮิลลารี คลินตัน ในศึกชิงตำแหน่งผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่สนามนี้เช่นกัน ผลการเลือกตั้งที่นี่จึงเป็นสัญญาณบอกผู้สมัครตั้งแต่เนิ่นๆ ว่า ใครควรถอนตัว และใครควรฮึดสู้ต่อ
ทั้งนี้ มิตต์ รอมนีย์ ในวัย 64 ปี เป็นตัวเต็งที่จะคว้าตั๋วตัวแทนรีพับลิกัน แม้ดูเหมือนเขาไม่มีเสียงสนับสนุนมากนักในมลรัฐไอโอวา ซึ่งมีกลุ่มคริสเตียนอนุรักษนิยม ฐานเสียงสำคัญของริค แซนทอรัม เป็นผู้กว้างขวาง แต่รอมนีย์ก็ยังคว้าชัยมาได้
ด้วยฐานะระดับมหาเศรษฐีจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน รอมนีย์ซื้อโฆษณาโทรทัศน์ในมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ และมลรัฐเซาท์แคโรไลนา ไปแล้วหลายสิบล้านดอลลาร์ อีกทั้งยังทุ่มเงินหาเสียงในฟลอริดา ซึ่งเป็นมลรัฐที่คะแนนของผู้ออกเสียงไม่มีความแน่นอน (swing state) ทั้ง 3 มลรัฐนี้จะมีการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) แบบไพรมารี ภายในเดือนนี้ ตั้งแต่วันที่ 10, 21 และ 31 มกราคมตามลำดับ
ผลงานสำคัญของมิตต์ รอมนีย์ ที่ได้รับการกล่าวถึง คือ การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งว่ากันว่ากลายเป็นต้นแบบนโยบายประกันสุขภาพของประธานาธิบดีบารัค โอบามา อีกทั้งความโดดเด่นในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเดโมแครต “คนๆ นี้เป็นประธานาธิบดีที่ล้มเหลว” เป็นหนึ่งในประโยคเด็ดต่อว่าต่อขานโอบามาของรอมนีย์
อย่างไรก็ตาม สถิติที่โอบามาพอจะอุ่นใจได้อย่างหนึ่งคือ ประธานาธิบดี 2 คนล่าสุด ต่างครองตำแหน่ง 2 สมัยติดต่อกัน ทว่า การตกเป็นเป้านิ่งให้ผู้สมัครรีพับลิกันดาหน้ากันเข้าเล่นงานในประเด็นเศรษฐกิจที่กลายเป็นจุดอ่อน กำลังทำให้เขานั่งไม่ติด เสมือนเป็นการตอกย้ำแผลของเดโมแครต ทั้งปัญหาอัตราการว่างงานสูงลิบ การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยังไม่กระเตื้อง และวิกฤตยูโรโซนที่ทำท่าจะสะเทือนถึงสหรัฐฯ แม้เดโมแครตสามารถผ่านกฎหมายขยายระยะเวลาลดภาษีเงินได้ (payroll tax cut) ออกไปอีก 2 เดือน ในช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมา ทำให้คะแนนนิยมโอบามาขยับขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังไม่ถึง 50% อยู่ดี
ผลสำรวจคะแนนนิยมในตัวโอบามาจากสำนัก “แกลลอปโพล” ระหว่าง 21-23 ธันวาคม ระบุว่า ผู้นำสหรัฐฯ มีคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 47% หลังคะแนนตกต่ำตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา แต่นับว่ายังมีภาษีดีกว่า เมื่อเทียบกับจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีรีพับลิกันคนก่อน ซึ่งมีคะแนนนิยมตกไปที่ 32% และมีคน "ไม่เอาบุช" ถึง 64% ก่อนหมดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัย 2
โอบามามีกำหนดการแถลงนโยบายประจำปี (State of Union) ในวันที่ 24 มกราคม เป็นหนึ่งในโอกาสสำคัญที่จะได้ประกาศนโยบายจุดขายแก่มวลชนทั้งประเทศ ก่อนเข้าสู่ฤดูกาลหาเสียงและเปิดศึกโจมตีนโยบายคู่แข่งอย่างเต็มตัว
***กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ***
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ประชาชนสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง ในการเลือกตั้งขั้นต้นจะเป็นการเลือกตัวแทน (delegate) ของมลรัฐและเขตปกครองต่างๆ ให้เข้าไปเลือกตัวผู้สมัครของพรรคคนสุดท้ายในการประชุมใหญ่ ซึ่งฝ่ายรีพับลิกันจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 สิงหาคม ณ เมืองแทมปา มลรัฐฟลอริดา ส่วนเดโมแครตจะมีขึ้นระหว่าง 3-6 กันยายน ณ เมืองชาร์ลอตต์ มลรัฐนอร์ทแคโรไลนา
ระบบการเลือกตั้งขั้นต้นตามมลรัฐต่างๆ นี้ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ กล่าวคือ "ไพรมารี" (primary) และ “คอคัส” (caucus)
มลรัฐส่วนใหญ่ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบไพรมารี ซึ่งผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะลงคะแนนเป็นการลับในคูหาเหมือนการเลือกตั้งทั่วไป ส่วนการเลือกตั้งแบบคอคัสมีใช้ในไม่กี่มลรัฐ ที่โดดเด่นก็คือ มลรัฐไอโอวา โดยผู้ที่ลงทะเบียนกับพรรคที่ตนรักจะนัดหมายประชุมกันตามโรงเรียน สถานีดับเพลิง หรืออาคารสาธารณะ ฯลฯ เพื่ออภิปรายถึงตัวผู้สมัครและประเด็นต่างๆ ก่อนการลงคะแนนเลือก “ตัวแทน” ที่ให้สัญญาว่าจะเข้าไปเลือกผู้สมัครตามที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องการในการประชุมระดับเคาน์ตี้ ซึ่งก็จะมีการเลือกตัวแทนระดับมลรัฐ เพื่อส่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของพรรคระดับประเทศ เวทีที่จะรู้ว่าใครเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค
เมื่อได้ตัวผู้สมัครเป็นที่เรียบร้อย ในวันเลือกตั้งทั่วประเทศ 6 พฤศจิกายน ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิ์เลือก “คณะผู้เลือกตั้ง” (electoral college) ที่ให้คำมั่นว่าจะเลือกผู้สมัครคนนั้นๆ คณะผู้เลือกตั้งเหล่านี้เป็นผู้ทำหน้าที่เลือกผู้นำสหรัฐฯ ที่แท้จริง
อนึ่ง จำนวนคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละมลรัฐจะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคิดตามจำนวนประชากร บวกกับจำนวนวุฒิสมาชิกที่ทุกมลรัฐมี 2 คนเท่ากัน เช่น แคลิฟอร์เนีย มลรัฐที่มีประชากรมากที่สุด มี ส.ส. 53 คน ผนวกกับ ส.ว. 2 คน ก็จะมีเสียงคณะผู้เลือกตั้ง 55 เสียง ขณะที่ดิสตริกออฟโคลัมเบีย เขตปกครองพิเศษที่ตั้งของกรุงวอชิงตัน มีคณะผู้เลือกตั้งเพียง 3 เสียงเท่านั้น
ปัจจุบัน คณะผู้เลือกตั้งมีทั้งหมด 538 คน ประธานาธิบดีคือผู้ที่คณะผู้เลือกตั้งลงคะแนนให้เกิน 50% หรือ 270 เสียง มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า ผู้ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน (popular vote) มากกว่า อาจไม่ได้เป็นประธานาธิบดีเสมอไป ตั้งแต่ปี 1804 สหรัฐฯ มีประธานาธิบดี 4 ราย ที่ได้คะแนนนิยมแพ้คู่แข่ง แต่กลับชนะการเลือกตั้ง เช่น กรณีเมื่อปี 2000 อัล กอร์ มีคะแนนนิยม 48.38% ชนะจอร์จ บุช ที่มี 47.87% แต่บุชกลับได้เป็นประธานาธิบดีจากคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 271 เสียง
ทั้งนี้ เนื่องจากระบบ “ผู้ชนะกินรวบ” (Winner-take-all) ทำให้ผู้ชนะป๊อบปูลาร์โหวตแม้เพียงคะแนนเดียว ก็ได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งมลรัฐ เพราะฉะนั้นคะแนนรีพับลิกันในฐานเสียงของเดโมแครต เช่น แคลิฟอร์เนีย อิลลินอยส์ และนิวยอร์ก จึงเสมือนไร้ค่า เช่นเดียวกันกับคะแนนเสียงเดโมแครตในมลรัฐเทกซัส ซึ่งรีพับลิกันยึดเป็นฐานที่มั่น
แม้จะเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่กล่าวกันว่าระบบนี้ทำให้มลรัฐขนาดเล็กมีความสำคัญมากขึ้น ตามเจตนารมณ์ความเสมอภาคของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ เช่น แคลิฟอร์เนียที่มีประชากรคิดเป็น 12.03% แต่คณะผู้เลือกตั้ง 55 คน เป็นเสียงเพียง 10.22% ขณะที่มลรัฐไวโอมิงมีประชากร 0.18% ของประเทศ แต่ได้เสียงคณะผู้เลือกตั้ง 0.56%