เอเอฟพี - สื่อมวลชนทั่วโลกถูกสังหาร 66 ราย และถูกจับกุมอีกกว่า 1,000 คน ในช่วงปีที่ผ่านมา องค์กรสื่อไร้พรมแดน (อาร์เอสเอฟ) เผยวันนี้(22) พร้อมระบุว่า ซีเรีย, อียิปต์ และลิเบีย เป็นหนึ่งในประเทศที่อันตรายมากที่สุดสำหรับสื่อ
องค์กรปกป้องสื่อดังกล่าวได้จัดอันดับ 10 เมืองอันตรายที่สุดสำหรับผู้สื่อข่าว โดยไล่รายชื่อตั้งแต่กรุงไคโรของอียิปต์, เมืองมิสราตาของลิเบีย และเขตคุซดาร์ในจังหวัดบาลูชิสถาน ทางตอนใต้ของปากีสถาน
อาร์เอสเอฟ ระบุว่า ปีนี้ถือเป็นปีแห่งความสับสนวุ่นวาย ซึ่งรวมถึงกระแสปฏิวัติประชาธิปไตยในอาหรับที่นำไปสู่การโค่นล้มผู้นำเผด็จการหลายราย เหตุรุนแรงเหล่านี้ทำให้มีผู้สื่อข่าวทั่วโลกถูกจับกุมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับสถิติปี 2010
“ส่วนการชุมนุมประท้วงในประเทศของพวกเรา เช่น กรีซ, เบลารุส, ยูกันดา, ชิลี และสหรัฐฯ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สถิติการจับกุมผู้สื่อข่าวเพิ่มสูงขึ้น จาก 535 คนในปี 2010 เป็น 1,044 คนในปี 2011” อาร์เอสเอฟ ระบุในถ้อยแถลง
องค์กรดังกล่าวชี้ว่า ปีนี้มีนักข่าวถูกสังหารในตะวันออกกลางทั้งสิ้น 20 ราย และอีก 20 รายในอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยอาชญากรรมรุนแรง
“ปากีสถานเป็นประเทศอันตรายที่สุดสำหรับสื่อมวลชนเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยมีนักข่าวเสียชีวิตถึง 10 ราย และส่วนใหญ่เกิดจากการฆาตกรรม ขณะที่จีน, อิหร่าน และเอริเทรีย ยังคงเป็นคุกขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับสื่อมวลชน” อาร์เอสเอฟ ระบุ
สถานที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้สื่อข่าวในปีนี้ยังรวมถึงเมืองอาบีจานของไอเวอรีโคสต์ ซึ่งความวุ่นวายหลังเลือกตั้งนำไปสู่เหตุนองเลือดที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 3,000 ราย, รัฐเวรากรูซของเม็กซิโก ซึ่งเป็นแหล่งซ่องสุมแก๊งค้ายาเสพติด และเกาะลูซอนและมินดาเนาของฟิลิปปินส์
องค์กรปกป้องสื่อดังกล่าวได้จัดอันดับ 10 เมืองอันตรายที่สุดสำหรับผู้สื่อข่าว โดยไล่รายชื่อตั้งแต่กรุงไคโรของอียิปต์, เมืองมิสราตาของลิเบีย และเขตคุซดาร์ในจังหวัดบาลูชิสถาน ทางตอนใต้ของปากีสถาน
อาร์เอสเอฟ ระบุว่า ปีนี้ถือเป็นปีแห่งความสับสนวุ่นวาย ซึ่งรวมถึงกระแสปฏิวัติประชาธิปไตยในอาหรับที่นำไปสู่การโค่นล้มผู้นำเผด็จการหลายราย เหตุรุนแรงเหล่านี้ทำให้มีผู้สื่อข่าวทั่วโลกถูกจับกุมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับสถิติปี 2010
“ส่วนการชุมนุมประท้วงในประเทศของพวกเรา เช่น กรีซ, เบลารุส, ยูกันดา, ชิลี และสหรัฐฯ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สถิติการจับกุมผู้สื่อข่าวเพิ่มสูงขึ้น จาก 535 คนในปี 2010 เป็น 1,044 คนในปี 2011” อาร์เอสเอฟ ระบุในถ้อยแถลง
องค์กรดังกล่าวชี้ว่า ปีนี้มีนักข่าวถูกสังหารในตะวันออกกลางทั้งสิ้น 20 ราย และอีก 20 รายในอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยอาชญากรรมรุนแรง
“ปากีสถานเป็นประเทศอันตรายที่สุดสำหรับสื่อมวลชนเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยมีนักข่าวเสียชีวิตถึง 10 ราย และส่วนใหญ่เกิดจากการฆาตกรรม ขณะที่จีน, อิหร่าน และเอริเทรีย ยังคงเป็นคุกขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับสื่อมวลชน” อาร์เอสเอฟ ระบุ
สถานที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้สื่อข่าวในปีนี้ยังรวมถึงเมืองอาบีจานของไอเวอรีโคสต์ ซึ่งความวุ่นวายหลังเลือกตั้งนำไปสู่เหตุนองเลือดที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 3,000 ราย, รัฐเวรากรูซของเม็กซิโก ซึ่งเป็นแหล่งซ่องสุมแก๊งค้ายาเสพติด และเกาะลูซอนและมินดาเนาของฟิลิปปินส์