(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Rivals under the same heaven
By Jian Junbo
30/11/2011
ความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ของคณะรัฐบาลโอบามา ที่จะดำเนินนโยบายปิดล้อมจำกัดเขตจีนอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิเสธอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูของวอชิงตัน ที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา, ประวัติศาสตร์, ตลอดจนความหวังเกี่ยวกับความก้าวหน้าในอนาคตของจีน วิธีการที่แสดงให้เห็นถึงความขาดไร้วุฒิภาวะเช่นนี้ กำลังประสบความล้มเหลว และยังจะประสบความล้มเหลวต่อไปอีก โดยไม่สามารถทำให้การก้าวขึ้นมาอย่างสันติของจีนต้องเสียกระบวนไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ลอนดอน – นโยบายที่สหรัฐฯปฏิบัติต่อจีนในช่วงเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สามารถที่จะสรุปความได้ว่า คือการแสวงหาความสมดุลระหว่าง การปิดล้อมจำกัดเขต (containment) กับ การมีปฏิสัมพันธ์ด้วย (engagement)
การรุกในทางการทูตของคณะรัฐบาลประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า วอชิงตันกำลังทำให้ความสมดุลนี้สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการหันเหเอนเอียงไปทางข้างมุ่งปิดล้อมจำกัดเขตจีน สืบเนื่องจากหงุดหงิดผิดหวังที่ต้องประสบความล้มเหลว หลังจากใช้ความพยายามที่จะมีปฏิสัมพันธ์ด้วยและโน้มน้าวให้แดนมังกรยินยอมก้าวเข้าสู่ระเบียบระหว่างประเทศที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ
ณ การประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC) ในฮาวายเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน โอบามาได้เรียกร้องว่า จีนจะต้องเล่นตามกฎกติการะหว่างประเทศ และจะต้องแสดงความรับผิดชอบให้มากขึ้นในประชาคมระหว่างประเทศ เนื่องจากแดนมังกรเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เขากล่าวอีกว่าจีนควรที่จะเดินหน้าปรับเพิ่มค่าเงินตราของตนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป, ลดการได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ, และดำเนินการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวที่ถือว่าก้าวร้าวยิ่งไปกว่าสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้เสียอีก ได้แก่การที่โอบามาได้เริ่มต้นเปิดการเจรจาที่จะนำไปสู่การก่อตั้ง “ข้อตกลงหุ้นส่วนสองฟากฝั่งแปซิฟิก” (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) อันเป็นเขตการค้าเสรีในอาณาบริเวณเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ โดยที่ไม่รวมเอาจีนที่มีฐานะเป็นชาติเจ้าของเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก เข้าไปด้วย
ทันทีที่การประชุมสุดยอดกลุ่มเอเปกเสร็จสิ้นลง โอบามาก็เดินทางไปเยือนออสเตรเลีย ชาติพันธมิตรทางการเมืองและการทหารของสหรัฐฯ ที่นั่นเองเขาได้ประกาศว่าทหารอเมริกันจำนวน 2,500 คนจะไปประจำอยู่ในเมืองดาร์วิน (Darwin) เมืองหลวงของดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) ของออสเตรเลีย เรื่องนี้ได้รับการตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นเครื่องมือใหม่อีกชิ้นหนึ่งในการป้องปรามความเคลื่อนไหวของกองทัพเรือจีน
จากนั้น ณ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย สหรัฐฯก็ได้ผลักดันหยิบยกประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้เข้าสู่ที่ประชุม ถึงแม้ปักกิ่งได้พยายามคัดค้านแล้ว ทั้งนี้จีนมีจุดยืนที่ยึดมั่นมานานแล้วว่า กรณีพิพาททางดินแดนต่างๆ ในทะเลดังกล่าว จักต้องแก้ไขคลี่คลายด้วยวิธีการเจรจาแบบทวิภาคีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ประเทศอื่นๆ หรือองค์การระหว่างประเทศใดๆ ไม่ควรที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย
ด้วยเหตุนี้เอง สำหรับปักกิ่งแล้ว การที่วอชิงตันกระเหี้ยนกระหือรือที่จะเข้ายุ่งเกี่ยว จึงไม่ใช่เพียงแค่เป็นการจุ้นจ้านล่วงละเมิดเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการกระทำซึ่งแสดงถึงความสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อบางประเทศที่มีข้อพิพาทเรื่องดินแดนอยู่กับจีนเป็นต้นว่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อีกด้วย เรื่องนี้คือการกวนประสาทปักกิ่ง และก็ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคยิ่งยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นอีก
เมื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ ทั้งหมดนี้ ตลอดจนการกระทำอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกของคณะรัฐบาลสหรัฐฯในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภายหลังจากโอบามาได้ทำการปรับเปลี่ยนนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ โดยประกาศว่าอเมริกาจะ “หวนกลับคืนสู่เอเชีย” (return to Asia) แล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะมองเห็นว่า นโยบายที่มุ่งจะปิดล้อมจำกัดเขตจีนครั้งใหม่กำลังก่อตัวขึ้นมาแล้ว ถึงแม้ตัวโอบามาตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเขายังคงปฏิเสธเสียงแข็งเมื่ออยู่ต่อหน้าสาธารณชนก็ตามที
เพียงเมื่อไม่นานมานี้เอง โอบามาได้อนุมัติให้ขายอาวุธทันสมัย เป็นต้นว่า เครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ซี/ดี แก่ไต้หวัน ดินแดนเกาะซึ่งปักกิ่งถือว่าเป็นมณฑลที่ก่อกบฎคิดคดทรยศของจีน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความสงสัยกันว่าด้วยแรงบีบคั้นจากสหรัฐฯนั่นเอง พม่าจึงได้ระงับโครงการที่เป็นการร่วมมือกับฝ่ายจีน ในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังงานขึ้นที่มี้ตโสน (Myitsone) โดยที่กรุงเนปิดอใช้ข้อแก้ตัวที่ว่าประชาชนพม่าหวั่นกลัวว่าเขื่อนแห่งนี้อาจทำลายสิ่งแวดล้อม ตัวประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (Thein Sein) กล่าวสำทับว่า การก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ทำให้ประชาชนพม่าขุ่นเคืองไม่พอใจ อย่างไรก็ดี เหตุผลเช่นนี้ไม่ได้ทำให้ปักกิ่งเกิดความเชื่อถือ เพราะได้มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวังมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ก่อนการก่อสร้างจะเริ่มต้นขึ้น ด้วยเหตุนี้ การสั่งะงับโครงการเขื่อนแห่งนี้จึงถูกมองกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นของขวัญที่เนปิดอตั้งใจมอบให้แก่วอชิงตัน เป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่สหรัฐฯจะยกเลิกมาตรการลงโทษคว่ำบาตรพม่า วอชิงตันนั้นไม่เคยเป็นสุขเลยที่ได้เห็นความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างจีนกับพม่า มันน่าจะไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรอกที่หลังจากโครงการสร้างเขื่อนนี้ถูกระงับไปแล้ว ฮิลลารี ร็อดแฮม คลินตัน ก็เดินทางไปเยือนเนปิดอ โดยที่ครั้งนี้คือการไปเยือนพม่าครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาในรอบระยะเวลาครึ่งศตวรรษทีเดียว
นอกจากนั้น เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ระหว่างที่คลินตันเยือนเมืองเจนไน (Chennai) เมืองหลวงรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) ของอินเดีย ก็ได้เคยกล่าวคำปราศรัยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดย “เมตตากรุณา” เสนอแนะว่า อินเดียควรที่จะแสดงบทบาทให้แข็งขันมากยิ่งขึ้นในการ “นำเอเชีย” เรื่องนี้ก็ถูกมองกันโดยทั่วไปว่าคือความมุ่งมาดวาดหวังของวอชิงตันที่จะให้อินเดียกลายเป็นมหาอำนาจที่คอยทัดทานถ่วงดุลการผงาดขึ้นมาของจีน
ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ยังไม่ต้องถึงเรื่องที่สหรัฐฯมีฐานทัพทางทหารอยู่หลายต่อหลายแห่งตามประเทศต่างๆ และตามดินแดนต่างๆ ที่อยู่แวดล้อมใกล้เคียงจีน –ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, เกาะกวม, ฟิลิปปินส์, ไทย, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, อุซเบกิสถาน, และคีร์กีซสถาน—นอกจากนั้นวอชิงตันยังมีความร่วมมือทางการทหารอยู่กับมองโกเลีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, และอื่นๆ
เมื่อมองดูจากภาพรวมทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่มีข้อสงสัยเลยว่า เวลานี้สหรัฐฯกำลังพยายามหาทางดำเนินการอย่างซับซ้อนรอบด้านที่จะปิดล้อมจำกัดเขตจีน ทั้งด้วยวิธีการแบบแข็งกร้าวและวิถีทางอันนุ่มนวล ภายหลังที่วอชิงตันเลือกที่จะปรับเปลี่ยนหันมาใช้ยุทธศาสตร์ “หวนกลับคืนสู่เอเชีย” ของตน และประสบความล้มเหลวในการดึงจีนให้เข้าไปอยู่ในระบบระหว่างประเทศซึ่งนำโดยสหรัฐฯ เฉกเช่นเดียวกับที่คณะรัฐบาลอเมริกันแต่ละชุดตลอดช่วงเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ต่างก็ได้เคยลงแรงใช้ความพยายามเช่นนี้มาแล้วทั้งนั้น เมื่อครั้งที่โอบามาเยือนจีนในปี 2009 เขาพยายามที่จะขายไอเดียใหม่ว่าด้วย “กลุ่ม จี-2” (Group of Two) ซึ่งก็คือสหรัฐฯกับจีน ร่วมมือกันประสานผลประโยชน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก ทว่านายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่าบอกกับโอบามาอย่างตรงไปตรงมาว่า ปักกิ่งไม่ชอบแนวความคิดเช่นนี้
ในตอนเริ่มแรกเลย โอบามาเคยตั้งความหวังไว้ว่า การใช้หนทางเช่นนี้จะสามารถทำให้จีน “เชื่อง” ได้ นั่นคือไม่ใช่ การปิดล้อมจำกัดเขต หรือ การมีปฏิสัมพันธ์ด้วย เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำพังเท่านั้น หากแต่อาศัยสิ่งที่บางคนเรียกว่า “กับดักแห่งความเอื้อเฟื้อ” (tender trap) ด้วย อย่างไรก็ดี โอบามายังคงประสบความล้มเหลว หลังจากนั้นแล้ว เราก็สามารถมองเห็นได้ว่าวอชิงตันกำลังเปลี่ยนแปลงนโยบายของตนต่อจีนเสียใหม่ และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ไม่ควรที่จะพิจารณาว่าเป็นเพียง “คำพูดหาเสียงเลือกตั้ง” ชั่วครั้งชั่วคราวของโอบามา เพื่อให้เป็นที่พอใจของชาวพรรครีพับลิกันตลอดจนผู้มีสิทธิออกเสียงสามัญทั่วไป ตรงกันข้าม นี่คือการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับจีนในเชิงยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ โดยสอดคล้องไปในทางเดียวกับการปรับเข้าสู่ยุทธศาสตร์ “หวนกลับคืนสู่เอเชีย” ของวอชิงตัน
เมื่อมาถึงตอนนี้ ดูเหมือนวอชิงตันใกล้ที่จะแบไพ่ทุกๆ ใบเกี่ยวกับการปิดล้อมจำกัดเขตจีนอย่างซับซ้อนรอบด้านออกมาให้เห็นกันแล้ว
ในทางการทหาร วอชิงตันกำลังพยายามอย่างสุดฤทธิ์ เพื่อกระตุ้นส่งเสริมความเป็นพันธมิตรที่ตนมีอยู่กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้, กระชับเสริมความแข็งแกร่งของบรรดาฐานทัพทางทหารของตนที่ตั้งอยู่รายล้อมจีน, และเพิ่มความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ที่มีข้อพิพาททางดินแดนอยู่กับจีนในทะเลจีนใต้หรือในที่อื่นๆ
ในทางการเมือง วอชิงตันกำลังหางทางกระตุ้นยุแยงเพื่อนบ้านของจีนบางรายให้ท้าทายปักกิ่ง หรือไม่ก็ยุยงให้เกิดความไม่ลงรอยกัน นอกจากนั้นยังขายอาวุธให้แก่ไต้หวัน และกระตือรือร้นในการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นปัญหาอย่างเช่น ทิเบต, ซินเจียง (ซินเกียง), และสิทธิมนุษยชน
ในทางเศรษฐกิจ วอชิงตันกำลังเพิ่มแรงบีบคั้นต่อจีนเพื่อให้ยอมปรับเพิ่มค่าเงินเหรินหมินปี้ (เงินหยวน) และจัดวางเครื่องกีดขวางต่างๆ เพื่อกีดกันการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ตลอดจนการลงทุนของจีนในสหรัฐฯ
ดร.เจี่ยน จวินโป เป็นรองศาสตราจารย์ของสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา (Institute of International Studies Institute of International Studies) แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) มหานครเซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน ปัจจุบันเขาเป็นผู้เยี่ยมเยียนทางวิชาการ (academic visitor) ณ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ แอนด์ โพลิติคอล ซายซ์ (London School of Economics and Political Science) สหราชอาณาจักร
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Rivals under the same heaven
By Jian Junbo
30/11/2011
ความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ของคณะรัฐบาลโอบามา ที่จะดำเนินนโยบายปิดล้อมจำกัดเขตจีนอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิเสธอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูของวอชิงตัน ที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา, ประวัติศาสตร์, ตลอดจนความหวังเกี่ยวกับความก้าวหน้าในอนาคตของจีน วิธีการที่แสดงให้เห็นถึงความขาดไร้วุฒิภาวะเช่นนี้ กำลังประสบความล้มเหลว และยังจะประสบความล้มเหลวต่อไปอีก โดยไม่สามารถทำให้การก้าวขึ้นมาอย่างสันติของจีนต้องเสียกระบวนไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ลอนดอน – นโยบายที่สหรัฐฯปฏิบัติต่อจีนในช่วงเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สามารถที่จะสรุปความได้ว่า คือการแสวงหาความสมดุลระหว่าง การปิดล้อมจำกัดเขต (containment) กับ การมีปฏิสัมพันธ์ด้วย (engagement)
การรุกในทางการทูตของคณะรัฐบาลประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า วอชิงตันกำลังทำให้ความสมดุลนี้สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการหันเหเอนเอียงไปทางข้างมุ่งปิดล้อมจำกัดเขตจีน สืบเนื่องจากหงุดหงิดผิดหวังที่ต้องประสบความล้มเหลว หลังจากใช้ความพยายามที่จะมีปฏิสัมพันธ์ด้วยและโน้มน้าวให้แดนมังกรยินยอมก้าวเข้าสู่ระเบียบระหว่างประเทศที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ
ณ การประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC) ในฮาวายเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน โอบามาได้เรียกร้องว่า จีนจะต้องเล่นตามกฎกติการะหว่างประเทศ และจะต้องแสดงความรับผิดชอบให้มากขึ้นในประชาคมระหว่างประเทศ เนื่องจากแดนมังกรเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เขากล่าวอีกว่าจีนควรที่จะเดินหน้าปรับเพิ่มค่าเงินตราของตนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป, ลดการได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ, และดำเนินการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวที่ถือว่าก้าวร้าวยิ่งไปกว่าสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้เสียอีก ได้แก่การที่โอบามาได้เริ่มต้นเปิดการเจรจาที่จะนำไปสู่การก่อตั้ง “ข้อตกลงหุ้นส่วนสองฟากฝั่งแปซิฟิก” (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) อันเป็นเขตการค้าเสรีในอาณาบริเวณเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ โดยที่ไม่รวมเอาจีนที่มีฐานะเป็นชาติเจ้าของเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก เข้าไปด้วย
ทันทีที่การประชุมสุดยอดกลุ่มเอเปกเสร็จสิ้นลง โอบามาก็เดินทางไปเยือนออสเตรเลีย ชาติพันธมิตรทางการเมืองและการทหารของสหรัฐฯ ที่นั่นเองเขาได้ประกาศว่าทหารอเมริกันจำนวน 2,500 คนจะไปประจำอยู่ในเมืองดาร์วิน (Darwin) เมืองหลวงของดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) ของออสเตรเลีย เรื่องนี้ได้รับการตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นเครื่องมือใหม่อีกชิ้นหนึ่งในการป้องปรามความเคลื่อนไหวของกองทัพเรือจีน
จากนั้น ณ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย สหรัฐฯก็ได้ผลักดันหยิบยกประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้เข้าสู่ที่ประชุม ถึงแม้ปักกิ่งได้พยายามคัดค้านแล้ว ทั้งนี้จีนมีจุดยืนที่ยึดมั่นมานานแล้วว่า กรณีพิพาททางดินแดนต่างๆ ในทะเลดังกล่าว จักต้องแก้ไขคลี่คลายด้วยวิธีการเจรจาแบบทวิภาคีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ประเทศอื่นๆ หรือองค์การระหว่างประเทศใดๆ ไม่ควรที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย
ด้วยเหตุนี้เอง สำหรับปักกิ่งแล้ว การที่วอชิงตันกระเหี้ยนกระหือรือที่จะเข้ายุ่งเกี่ยว จึงไม่ใช่เพียงแค่เป็นการจุ้นจ้านล่วงละเมิดเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการกระทำซึ่งแสดงถึงความสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อบางประเทศที่มีข้อพิพาทเรื่องดินแดนอยู่กับจีนเป็นต้นว่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อีกด้วย เรื่องนี้คือการกวนประสาทปักกิ่ง และก็ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคยิ่งยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นอีก
เมื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ ทั้งหมดนี้ ตลอดจนการกระทำอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกของคณะรัฐบาลสหรัฐฯในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภายหลังจากโอบามาได้ทำการปรับเปลี่ยนนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ โดยประกาศว่าอเมริกาจะ “หวนกลับคืนสู่เอเชีย” (return to Asia) แล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะมองเห็นว่า นโยบายที่มุ่งจะปิดล้อมจำกัดเขตจีนครั้งใหม่กำลังก่อตัวขึ้นมาแล้ว ถึงแม้ตัวโอบามาตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเขายังคงปฏิเสธเสียงแข็งเมื่ออยู่ต่อหน้าสาธารณชนก็ตามที
เพียงเมื่อไม่นานมานี้เอง โอบามาได้อนุมัติให้ขายอาวุธทันสมัย เป็นต้นว่า เครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ซี/ดี แก่ไต้หวัน ดินแดนเกาะซึ่งปักกิ่งถือว่าเป็นมณฑลที่ก่อกบฎคิดคดทรยศของจีน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความสงสัยกันว่าด้วยแรงบีบคั้นจากสหรัฐฯนั่นเอง พม่าจึงได้ระงับโครงการที่เป็นการร่วมมือกับฝ่ายจีน ในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังงานขึ้นที่มี้ตโสน (Myitsone) โดยที่กรุงเนปิดอใช้ข้อแก้ตัวที่ว่าประชาชนพม่าหวั่นกลัวว่าเขื่อนแห่งนี้อาจทำลายสิ่งแวดล้อม ตัวประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (Thein Sein) กล่าวสำทับว่า การก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ทำให้ประชาชนพม่าขุ่นเคืองไม่พอใจ อย่างไรก็ดี เหตุผลเช่นนี้ไม่ได้ทำให้ปักกิ่งเกิดความเชื่อถือ เพราะได้มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวังมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ก่อนการก่อสร้างจะเริ่มต้นขึ้น ด้วยเหตุนี้ การสั่งะงับโครงการเขื่อนแห่งนี้จึงถูกมองกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นของขวัญที่เนปิดอตั้งใจมอบให้แก่วอชิงตัน เป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่สหรัฐฯจะยกเลิกมาตรการลงโทษคว่ำบาตรพม่า วอชิงตันนั้นไม่เคยเป็นสุขเลยที่ได้เห็นความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างจีนกับพม่า มันน่าจะไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรอกที่หลังจากโครงการสร้างเขื่อนนี้ถูกระงับไปแล้ว ฮิลลารี ร็อดแฮม คลินตัน ก็เดินทางไปเยือนเนปิดอ โดยที่ครั้งนี้คือการไปเยือนพม่าครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาในรอบระยะเวลาครึ่งศตวรรษทีเดียว
นอกจากนั้น เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ระหว่างที่คลินตันเยือนเมืองเจนไน (Chennai) เมืองหลวงรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) ของอินเดีย ก็ได้เคยกล่าวคำปราศรัยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดย “เมตตากรุณา” เสนอแนะว่า อินเดียควรที่จะแสดงบทบาทให้แข็งขันมากยิ่งขึ้นในการ “นำเอเชีย” เรื่องนี้ก็ถูกมองกันโดยทั่วไปว่าคือความมุ่งมาดวาดหวังของวอชิงตันที่จะให้อินเดียกลายเป็นมหาอำนาจที่คอยทัดทานถ่วงดุลการผงาดขึ้นมาของจีน
ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ยังไม่ต้องถึงเรื่องที่สหรัฐฯมีฐานทัพทางทหารอยู่หลายต่อหลายแห่งตามประเทศต่างๆ และตามดินแดนต่างๆ ที่อยู่แวดล้อมใกล้เคียงจีน –ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, เกาะกวม, ฟิลิปปินส์, ไทย, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, อุซเบกิสถาน, และคีร์กีซสถาน—นอกจากนั้นวอชิงตันยังมีความร่วมมือทางการทหารอยู่กับมองโกเลีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, และอื่นๆ
เมื่อมองดูจากภาพรวมทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่มีข้อสงสัยเลยว่า เวลานี้สหรัฐฯกำลังพยายามหาทางดำเนินการอย่างซับซ้อนรอบด้านที่จะปิดล้อมจำกัดเขตจีน ทั้งด้วยวิธีการแบบแข็งกร้าวและวิถีทางอันนุ่มนวล ภายหลังที่วอชิงตันเลือกที่จะปรับเปลี่ยนหันมาใช้ยุทธศาสตร์ “หวนกลับคืนสู่เอเชีย” ของตน และประสบความล้มเหลวในการดึงจีนให้เข้าไปอยู่ในระบบระหว่างประเทศซึ่งนำโดยสหรัฐฯ เฉกเช่นเดียวกับที่คณะรัฐบาลอเมริกันแต่ละชุดตลอดช่วงเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ต่างก็ได้เคยลงแรงใช้ความพยายามเช่นนี้มาแล้วทั้งนั้น เมื่อครั้งที่โอบามาเยือนจีนในปี 2009 เขาพยายามที่จะขายไอเดียใหม่ว่าด้วย “กลุ่ม จี-2” (Group of Two) ซึ่งก็คือสหรัฐฯกับจีน ร่วมมือกันประสานผลประโยชน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก ทว่านายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่าบอกกับโอบามาอย่างตรงไปตรงมาว่า ปักกิ่งไม่ชอบแนวความคิดเช่นนี้
ในตอนเริ่มแรกเลย โอบามาเคยตั้งความหวังไว้ว่า การใช้หนทางเช่นนี้จะสามารถทำให้จีน “เชื่อง” ได้ นั่นคือไม่ใช่ การปิดล้อมจำกัดเขต หรือ การมีปฏิสัมพันธ์ด้วย เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำพังเท่านั้น หากแต่อาศัยสิ่งที่บางคนเรียกว่า “กับดักแห่งความเอื้อเฟื้อ” (tender trap) ด้วย อย่างไรก็ดี โอบามายังคงประสบความล้มเหลว หลังจากนั้นแล้ว เราก็สามารถมองเห็นได้ว่าวอชิงตันกำลังเปลี่ยนแปลงนโยบายของตนต่อจีนเสียใหม่ และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ไม่ควรที่จะพิจารณาว่าเป็นเพียง “คำพูดหาเสียงเลือกตั้ง” ชั่วครั้งชั่วคราวของโอบามา เพื่อให้เป็นที่พอใจของชาวพรรครีพับลิกันตลอดจนผู้มีสิทธิออกเสียงสามัญทั่วไป ตรงกันข้าม นี่คือการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับจีนในเชิงยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ โดยสอดคล้องไปในทางเดียวกับการปรับเข้าสู่ยุทธศาสตร์ “หวนกลับคืนสู่เอเชีย” ของวอชิงตัน
เมื่อมาถึงตอนนี้ ดูเหมือนวอชิงตันใกล้ที่จะแบไพ่ทุกๆ ใบเกี่ยวกับการปิดล้อมจำกัดเขตจีนอย่างซับซ้อนรอบด้านออกมาให้เห็นกันแล้ว
ในทางการทหาร วอชิงตันกำลังพยายามอย่างสุดฤทธิ์ เพื่อกระตุ้นส่งเสริมความเป็นพันธมิตรที่ตนมีอยู่กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้, กระชับเสริมความแข็งแกร่งของบรรดาฐานทัพทางทหารของตนที่ตั้งอยู่รายล้อมจีน, และเพิ่มความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ที่มีข้อพิพาททางดินแดนอยู่กับจีนในทะเลจีนใต้หรือในที่อื่นๆ
ในทางการเมือง วอชิงตันกำลังหางทางกระตุ้นยุแยงเพื่อนบ้านของจีนบางรายให้ท้าทายปักกิ่ง หรือไม่ก็ยุยงให้เกิดความไม่ลงรอยกัน นอกจากนั้นยังขายอาวุธให้แก่ไต้หวัน และกระตือรือร้นในการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นปัญหาอย่างเช่น ทิเบต, ซินเจียง (ซินเกียง), และสิทธิมนุษยชน
ในทางเศรษฐกิจ วอชิงตันกำลังเพิ่มแรงบีบคั้นต่อจีนเพื่อให้ยอมปรับเพิ่มค่าเงินเหรินหมินปี้ (เงินหยวน) และจัดวางเครื่องกีดขวางต่างๆ เพื่อกีดกันการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ตลอดจนการลงทุนของจีนในสหรัฐฯ
ดร.เจี่ยน จวินโป เป็นรองศาสตราจารย์ของสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา (Institute of International Studies Institute of International Studies) แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) มหานครเซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน ปัจจุบันเขาเป็นผู้เยี่ยมเยียนทางวิชาการ (academic visitor) ณ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ แอนด์ โพลิติคอล ซายซ์ (London School of Economics and Political Science) สหราชอาณาจักร
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)