(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Rivals under the same heaven
By Jian Junbo
30/11/2011
ความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ของคณะรัฐบาลโอบามา ที่จะดำเนินนโยบายปิดล้อมจำกัดเขตจีนอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิเสธอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูของวอชิงตัน ที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา, ประวัติศาสตร์, ตลอดจนความหวังเกี่ยวกับความก้าวหน้าในอนาคตของจีน วิธีการที่แสดงให้เห็นถึงความขาดไร้วุฒิภาวะเช่นนี้ กำลังประสบความล้มเหลว และยังจะประสบความล้มเหลวต่อไปอีก โดยไม่สามารถทำให้การก้าวขึ้นมาอย่างสันติของจีนต้องเสียกระบวนไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถึงแม้ต้องเผชิญกับความเคลื่อนไหวอันแข็งกร้าวยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของวอชิงตันที่มุ่งประสงค์จะปิดล้อมจำกัดเขตจีน แต่เท่าที่ผ่านมาปักกิ่งยังคงแสดงความยับยั้งชั่งใจและความอดทน ในเดือนตุลาคม เมื่อวอชิงตันประกาศว่าจะขายอาวุธล็อตใหม่ให้ไต้หวัน ปักกิ่งแสดงปฏิกิริยาตอบโต้อย่างค่อนบ้างเบาบางเท่านั้น ในการเผชิญหน้ากับการรุกคืบในช่วงหลังๆ มานี้ของโอบามา ปักกิ่งก็ยับยั้งไม่แสดงปฏิกิริยาตอบโต้อันรุนแรงใดๆ จนกระทั่งสร้างความประหลาดใจให้แก่พวกนักจับจ้องมองจีนในโลกตะวันตกบางราย
ตัวอย่างเช่น ในที่ประชุมซัมมิตกลุ่มเอเปก ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา เพียงแค่เรียกร้องให้โอบามาเคารพผลประโยชน์แกนกลางอันชอบธรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของจีน เนื่องจากจีนก็ให้ความเคารพผลประโยชน์อันชอบธรรมของอเมริกันในภูมิภาคดังกล่าว นอกจากนั้น หูยังบอกด้วยว่าจีนมีความยินดีต้อนรับการที่สหรัฐฯจะแสดงบทบาทอันสร้างสรรค์ในเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนทางด้าน หลิว เหว่ยหมิน (Liu Weimin) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแดนมังกร เมื่อถูกถามเรื่องการที่สหรัฐฯกำลังส่งทหารไปประจำในออสเตรเลีย เขาก็ตอบด้วยภาษาดอกไม้แบบนักการทูตเพียงว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าว “น่าจะไม่ค่อยเหมาะสม”
ขณะเดียวกัน เมื่อกำลังต้องเผชิญการท้าทายจากฟิลิปปินส์และเวียดนาม ด้วยการสนับสนุนและการส่งเสริมให้กำลังใจอย่างน่าสงสัยทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมจากสหรัฐฯ บรรดาผู้นำจีนก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงความอดทนหรือกระทั่งความสะกดกลั้น ปราศจากความเคลื่อนไหวแบบตาต่อตาฟันต่อฟันใดๆ
ความยับยั้งชั่งใจและความอดทนเช่นนี้ของปักกิ่ง มีสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากกิจการภายในประเทศของแดนมังกรเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกำหนดที่จะจัดการประชุมสมัชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 ขึ้นในปีหน้า ซึ่งจะมีวาระการเปลี่ยนถ่ายคณะผู้นำระดับสูงสุดของตน สำหรับพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้วการเตรียมการสำหรับการประชุมสมัชชาถือเป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดในบรรดาเรื่องที่มีความสำคัญทั้งหลาย ในจังหวะเวลาอันสำคัญยิ่งยวดเช่นนั้น ปักกิ่งไม่ต้องการให้การเปลี่ยนผ่านอำนาจต้องได้รับผลกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอกหรือจากกิจการภายนอก การเก็บเนื้อเก็บตัวและการใช้จุดยืนไม่แข็งกร้าวต่อการละเมิดล่วงเกินจากภายนอก ถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเมืองภายในเอาไว้ ถึงอย่างไร การเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างมีเสถียรภาพและอย่างสันติ ซึ่งจะมีอิทธิพลอันยาวไกลต่ออนาคตของจีน ย่อมมีความสำคัญยิ่งกว่าชัยชนะชั่วครั้งชั่วคราวในเวทีระหว่างประเทศ
ยิ่งกว่านั้น การที่จีนตอบโต้แบบยับยั้งชั่งใจตนเองเมื่อเผชิญการปิดล้อมจำกัดเขตอย่างเป็นระบบของสหรัฐฯ ยังเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับการดำเนินยุทธศาสตร์แห่งชาติของปักกิ่งอีกด้วย นั่นก็คือ การก้าวผงาดขึ้นมาของจีนจะเป็นไปอย่างสันติ โดยไม่สนใจกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์บางเสียงในโลกตะวันตกที่อยู่ในลักษณะไม่เป็นมิตรหรือกระทั่งแสดงตัวเป็นปรปักษ์ด้วยซ้ำ แน่นอนที่ว่าการก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติและการใช้ความมานะพยายามเพื่อให้เกิดโลกที่ประสานคล้องจองกันขึ้นมา มิได้หมายความว่าจีนต้องยินยอมตามสหรัฐฯและประเทศตะวันตกอื่นๆ หรือแดนมังกรจะต้องพิสูจน์ให้ได้แน่ๆ ว่าตนเองสามารถที่จะหลีกเลี่ยงจากสงครามชนิดที่เคยบังเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในประวัติศาสตร์ ระหว่างช่วงเวลาแห่งการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจรายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของ สเปน, อังกฤษ, เยอรมนี, หรือสหรัฐอเมริกา
หากแต่ความมุ่งมั่นผูกพันที่จะก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติของจีนนั้น มีต้นตอมาจากปรัชญาดั้งเดิมของจีน ตลอดจนความสัมพันธ์ที่แดนมังกรมีอยู่กับพวกมหาอำนาจต่างชาติในอดีตที่ผ่านมา ในฐานะที่แดนมังกรเคยเป็นประเทศกึ่งเมืองขึ้นในช่วงระหว่างช่วงทศวรรษ 1840 จนถึงทศวรรษ 1940 จีนจึงความเข้าใจเป็นอันดีว่าไม่มีประเทศใดเลยที่ชอบให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงหรือทำการคุกคามข่มขู่ทางการทหาร ทั้งนี้โดยยังไม่ต้องพูดถึงการเข้ามารุกราน ด้วยทัศนะเช่นนี้เอง การก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติ จึงไม่เพียงเป็นสิ่งซึ่งแดนมังกรจะสามารถสาธิตให้เห็นจริงว่าประชาชนจีนมีความมุ่งมั่นผูกพันอย่างจริงจังกับโลกโดยรวมเท่านั้น การก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติยังเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงส่งของชาวจีนต่อบรรพชนของตนเองผู้ซึ่งได้เคยใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาอันน่าเศร้าใจดังกล่าว
นอกจากนั้น จีนยังไม่ได้มีวัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์แห่งการล่าอาณานิคม เป็นความจริงที่ในประวัติศาสตร์ยุคราชวงศ์ของจีนนั้น มีสงครามเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ทว่าสงครามดังกล่าวส่วนใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในระหว่างชาวจีนที่เป็นชาวฮั่นด้วยกันเอง หรือระหว่างชาวฮั่นกับชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อย มีบางช่วงบางสมัยเหมือนกัน ราชสำนักแห่งจักรวรรดิจีนได้ส่งกองทัพออกไปรุกรานดินแดนต่างๆ ซึ่งในทุกวันนี้เป็นประเทศเวียดนามและคาบสมุทรเกาหลี โดยที่ในสมัยนั้น ดินแดนเหล่านี้ถือเป็นรัฐเมืองขึ้นในระบบระหว่างประเทศที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง สำหรับการรุกรานยุโรปและเอเชียของจักรวรรดิมองโกล ถือได้ว่าเป็นข้อยกเว้นที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กล่าวมานี้ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ในเวลานั้นชาวมองโกลก็มองว่าตนเองมีความเหนือล้ำกว่าชาวจีน และปฏิเสธไม่ยอมรับวัฒนธรรมจีน
ถึงอย่างไรข้อเท็จจริงยังคงมีอยู่ว่า กำแพงเมืองจีนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อขัดขวางพวกผู้รุกรานที่มาจากดินแดนทะเลทรายและทุ่งหญ้าทางตอนเหนือ ขณะที่กองเรืออันยิ่งใหญ่ของ เจิ้ง เหอ (Zheng He) ก็ไม่ได้เข้าไปยึดครองเอาดินแดนของอนารยชนทั้งหลายมาเป็นอาณานิคม หรือไปปล้นชิงยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของผู้คนเหล่านั้น
ในวัฒนธรรมจีนนั้น แนวความคิดเกี่ยวกับ “ใต้หล้า” (Tian Xia) มีความแตกต่างจาก “โลก” (World) ในแนวความคิดของฝ่ายตะวันตก แนวความคิดเรื่องใต้หล้า มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างใต้สวรรค์ลงมามีลักษณะเป็นองค์รวมและมีบูรณาการกัน และแต่ละส่วนสามารถที่จะอยู่ร่วมกันกับส่วนอื่นๆ ได้ ขณะที่ “โลก” (World) หมายถึงการแบ่งแยกเป็น “พวกเรา” และ “พวกเขา” ขณะที่ภายใน “พวกเรา” (us, we) มีการบุรณาการกันและเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ทว่าข้างนอก “พวกเรา” ออกไปนั้น “พวกเขา” (they) เป็นพวกนอกรีตนอกศาสนา เป็นศัตรูที่ควรแม้กระทั่งถูกสังหารไปเสีย ถ้าพาก “พวกเขา” ไม่ยอมรับวัฒนธรรมและคุณค่า “ของเรา”
จากทัศนะมุมมองเช่นนี้เอง จีนจึงเชื่อว่าการก้าวผงาดขึ้นมาของตนสามารถที่จะดำเนินไปได้อย่างสันติและเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายอื่นๆ ได้จริงๆ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯในฐานะที่เป็นอภิมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวในปัจจุบัน รวมทั้งส่วนอื่นๆ ของโลกตะวันตกด้วย ต่างก็ดูจะเชื่อว่า จีนซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป มีระบบการเมืองและระบบสังคมที่ผิดแผกออกไป ตลอดจนไม่มีเจตนารมณ์ที่จะยอมรับคุณค่าและระบบของฝ่ายตะวันตก ควรที่จะถูกปิดล้อมจำกัดเขต และ “ถูกทำให้ถอยลงไป” (taken down) เหมือนอย่างที่ จอน ฮันต์สแมน (Jon Huntsman) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำจีน ได้พูดเอาไว้ในการให้สัมภาษณ์ทางทีวีครั้งหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อจีนบอกปัดไม่เอาด้วยที่จะหลอมรวมเข้าไปในระบบระหว่างประเทศที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ตลอดจนไม่ยอมรับคุณค่าต่างๆ แบบตะวันตก โอมามาก็เริ่มต้นหมดความอดทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนยังคงก้าวผงาดเด่นขึ้นไปเรื่อยๆ ขณะที่สหรัฐฯกำลังจ่อมจมติดแหง็กอยู่ในวิกฤตทางการเงินและทางเศรษฐกิจอย่างล้ำลึก
แต่การอยู่ร่วมกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯจักเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าหากวอชิงตันยังคงเดินหน้ามุ่งดำเนินนโยบายปิดล้อมจำกัดเขตจีน ขณะที่ปักกิ่งยังต้องคอยแสดงการยับยั้งชั่งใจและอดทน ตลอดจนคอยเก็บเนื้อเก็บตัว
ปัญหาที่ว่า จะบริหารจัดการกับการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนกันอย่างไร ถือเป็นความท้าทายใหญ่สำหรับวอชิงตัน และก็สำหรับปักกิ่งด้วย เป็นเรื่องสำคัญที่สหรัฐฯไม่ควรปฏิบัติต่อจีนเหมือนพวกมหาอำนาจที่ก้าวผงาดขึ้นมาใหม่ทั้งหลายในประวัติศาสตร์ ส่วนทางปักกิ่งก็ควรเสาะแสวงหนทางที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและใช้ในทางปฏิบัติได้มากขึ้น มารับมือกับการท้าทายของวอชิงตัน
เป็นที่กระจ่างชัดเจนว่า จีนกับสหรัฐฯจำเป็นที่จะต้องร่วมมือประสานงานกันในกิจการระหว่างประเทศทั้งหลาย ไม่เพียงในระดับทวิภาคีเท่านั้น แต่ยังในระดับภูมิภาคและระดับโลกอีกด้วย การบอกปัดไม่ยอมรับความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติของจีน โดยมองว่าเป็นเพียงเรื่องตลกนั้น ไม่ใช่ท่าทีที่ฉลาดหรือแสดงถึงการมีวุฒิภาวะแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อคณะรัฐบาลสหรัฐฯรีบเร่งปิดล้อมจำกัดเขตจีน ภายหลังประสบความล้มเหลวไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่จะเอาแดนมังกรเข้ามาอยู่ในปริมณฑลของตนได้แล้ว ก็มีแต่จะทำให้โอบามาตลอดจนเพื่อนร่วมงานของเขาในวอชิงตันดูกำลังทำตัวเป็นเด็กๆ และหยาบคายดูหมิ่นผู้อื่นเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว หนทางที่ดีที่สุดคือการนั่งลงและทำความเข้าใจถึงความผิดแผกแตกต่างระหว่างอารยธรรมทั้งสอง จากนั้นก็มองหาจุดต่างๆ ที่ร่วมกันได้ของพวกเขา การปิดล้อมจำกัดเขตเป็นหนทางที่เลวร้ายที่สุดและโง่เขลาที่สุดในการรับมือ หรือ ในการบริหารจัดการกับการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน
ดร.เจี่ยน จวินโป เป็นรองศาสตราจารย์ของสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา (Institute of International Studies Institute of International Studies) แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) มหานครเซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน ปัจจุบันเขาเป็นผู้เยี่ยมเยียนทางวิชาการ (academic visitor) ณ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ แอนด์ โพลิติคอล ซายซ์ (London School of Economics and Political Science) สหราชอาณาจักร
Rivals under the same heaven
By Jian Junbo
30/11/2011
ความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ของคณะรัฐบาลโอบามา ที่จะดำเนินนโยบายปิดล้อมจำกัดเขตจีนอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิเสธอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูของวอชิงตัน ที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา, ประวัติศาสตร์, ตลอดจนความหวังเกี่ยวกับความก้าวหน้าในอนาคตของจีน วิธีการที่แสดงให้เห็นถึงความขาดไร้วุฒิภาวะเช่นนี้ กำลังประสบความล้มเหลว และยังจะประสบความล้มเหลวต่อไปอีก โดยไม่สามารถทำให้การก้าวขึ้นมาอย่างสันติของจีนต้องเสียกระบวนไป
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถึงแม้ต้องเผชิญกับความเคลื่อนไหวอันแข็งกร้าวยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของวอชิงตันที่มุ่งประสงค์จะปิดล้อมจำกัดเขตจีน แต่เท่าที่ผ่านมาปักกิ่งยังคงแสดงความยับยั้งชั่งใจและความอดทน ในเดือนตุลาคม เมื่อวอชิงตันประกาศว่าจะขายอาวุธล็อตใหม่ให้ไต้หวัน ปักกิ่งแสดงปฏิกิริยาตอบโต้อย่างค่อนบ้างเบาบางเท่านั้น ในการเผชิญหน้ากับการรุกคืบในช่วงหลังๆ มานี้ของโอบามา ปักกิ่งก็ยับยั้งไม่แสดงปฏิกิริยาตอบโต้อันรุนแรงใดๆ จนกระทั่งสร้างความประหลาดใจให้แก่พวกนักจับจ้องมองจีนในโลกตะวันตกบางราย
ตัวอย่างเช่น ในที่ประชุมซัมมิตกลุ่มเอเปก ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา เพียงแค่เรียกร้องให้โอบามาเคารพผลประโยชน์แกนกลางอันชอบธรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของจีน เนื่องจากจีนก็ให้ความเคารพผลประโยชน์อันชอบธรรมของอเมริกันในภูมิภาคดังกล่าว นอกจากนั้น หูยังบอกด้วยว่าจีนมีความยินดีต้อนรับการที่สหรัฐฯจะแสดงบทบาทอันสร้างสรรค์ในเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนทางด้าน หลิว เหว่ยหมิน (Liu Weimin) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแดนมังกร เมื่อถูกถามเรื่องการที่สหรัฐฯกำลังส่งทหารไปประจำในออสเตรเลีย เขาก็ตอบด้วยภาษาดอกไม้แบบนักการทูตเพียงว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าว “น่าจะไม่ค่อยเหมาะสม”
ขณะเดียวกัน เมื่อกำลังต้องเผชิญการท้าทายจากฟิลิปปินส์และเวียดนาม ด้วยการสนับสนุนและการส่งเสริมให้กำลังใจอย่างน่าสงสัยทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมจากสหรัฐฯ บรรดาผู้นำจีนก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงความอดทนหรือกระทั่งความสะกดกลั้น ปราศจากความเคลื่อนไหวแบบตาต่อตาฟันต่อฟันใดๆ
ความยับยั้งชั่งใจและความอดทนเช่นนี้ของปักกิ่ง มีสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากกิจการภายในประเทศของแดนมังกรเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกำหนดที่จะจัดการประชุมสมัชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 ขึ้นในปีหน้า ซึ่งจะมีวาระการเปลี่ยนถ่ายคณะผู้นำระดับสูงสุดของตน สำหรับพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้วการเตรียมการสำหรับการประชุมสมัชชาถือเป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดในบรรดาเรื่องที่มีความสำคัญทั้งหลาย ในจังหวะเวลาอันสำคัญยิ่งยวดเช่นนั้น ปักกิ่งไม่ต้องการให้การเปลี่ยนผ่านอำนาจต้องได้รับผลกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอกหรือจากกิจการภายนอก การเก็บเนื้อเก็บตัวและการใช้จุดยืนไม่แข็งกร้าวต่อการละเมิดล่วงเกินจากภายนอก ถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเมืองภายในเอาไว้ ถึงอย่างไร การเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างมีเสถียรภาพและอย่างสันติ ซึ่งจะมีอิทธิพลอันยาวไกลต่ออนาคตของจีน ย่อมมีความสำคัญยิ่งกว่าชัยชนะชั่วครั้งชั่วคราวในเวทีระหว่างประเทศ
ยิ่งกว่านั้น การที่จีนตอบโต้แบบยับยั้งชั่งใจตนเองเมื่อเผชิญการปิดล้อมจำกัดเขตอย่างเป็นระบบของสหรัฐฯ ยังเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับการดำเนินยุทธศาสตร์แห่งชาติของปักกิ่งอีกด้วย นั่นก็คือ การก้าวผงาดขึ้นมาของจีนจะเป็นไปอย่างสันติ โดยไม่สนใจกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์บางเสียงในโลกตะวันตกที่อยู่ในลักษณะไม่เป็นมิตรหรือกระทั่งแสดงตัวเป็นปรปักษ์ด้วยซ้ำ แน่นอนที่ว่าการก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติและการใช้ความมานะพยายามเพื่อให้เกิดโลกที่ประสานคล้องจองกันขึ้นมา มิได้หมายความว่าจีนต้องยินยอมตามสหรัฐฯและประเทศตะวันตกอื่นๆ หรือแดนมังกรจะต้องพิสูจน์ให้ได้แน่ๆ ว่าตนเองสามารถที่จะหลีกเลี่ยงจากสงครามชนิดที่เคยบังเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในประวัติศาสตร์ ระหว่างช่วงเวลาแห่งการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจรายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของ สเปน, อังกฤษ, เยอรมนี, หรือสหรัฐอเมริกา
หากแต่ความมุ่งมั่นผูกพันที่จะก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติของจีนนั้น มีต้นตอมาจากปรัชญาดั้งเดิมของจีน ตลอดจนความสัมพันธ์ที่แดนมังกรมีอยู่กับพวกมหาอำนาจต่างชาติในอดีตที่ผ่านมา ในฐานะที่แดนมังกรเคยเป็นประเทศกึ่งเมืองขึ้นในช่วงระหว่างช่วงทศวรรษ 1840 จนถึงทศวรรษ 1940 จีนจึงความเข้าใจเป็นอันดีว่าไม่มีประเทศใดเลยที่ชอบให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงหรือทำการคุกคามข่มขู่ทางการทหาร ทั้งนี้โดยยังไม่ต้องพูดถึงการเข้ามารุกราน ด้วยทัศนะเช่นนี้เอง การก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติ จึงไม่เพียงเป็นสิ่งซึ่งแดนมังกรจะสามารถสาธิตให้เห็นจริงว่าประชาชนจีนมีความมุ่งมั่นผูกพันอย่างจริงจังกับโลกโดยรวมเท่านั้น การก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติยังเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงส่งของชาวจีนต่อบรรพชนของตนเองผู้ซึ่งได้เคยใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาอันน่าเศร้าใจดังกล่าว
นอกจากนั้น จีนยังไม่ได้มีวัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์แห่งการล่าอาณานิคม เป็นความจริงที่ในประวัติศาสตร์ยุคราชวงศ์ของจีนนั้น มีสงครามเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ทว่าสงครามดังกล่าวส่วนใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในระหว่างชาวจีนที่เป็นชาวฮั่นด้วยกันเอง หรือระหว่างชาวฮั่นกับชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อย มีบางช่วงบางสมัยเหมือนกัน ราชสำนักแห่งจักรวรรดิจีนได้ส่งกองทัพออกไปรุกรานดินแดนต่างๆ ซึ่งในทุกวันนี้เป็นประเทศเวียดนามและคาบสมุทรเกาหลี โดยที่ในสมัยนั้น ดินแดนเหล่านี้ถือเป็นรัฐเมืองขึ้นในระบบระหว่างประเทศที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง สำหรับการรุกรานยุโรปและเอเชียของจักรวรรดิมองโกล ถือได้ว่าเป็นข้อยกเว้นที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กล่าวมานี้ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ในเวลานั้นชาวมองโกลก็มองว่าตนเองมีความเหนือล้ำกว่าชาวจีน และปฏิเสธไม่ยอมรับวัฒนธรรมจีน
ถึงอย่างไรข้อเท็จจริงยังคงมีอยู่ว่า กำแพงเมืองจีนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อขัดขวางพวกผู้รุกรานที่มาจากดินแดนทะเลทรายและทุ่งหญ้าทางตอนเหนือ ขณะที่กองเรืออันยิ่งใหญ่ของ เจิ้ง เหอ (Zheng He) ก็ไม่ได้เข้าไปยึดครองเอาดินแดนของอนารยชนทั้งหลายมาเป็นอาณานิคม หรือไปปล้นชิงยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของผู้คนเหล่านั้น
ในวัฒนธรรมจีนนั้น แนวความคิดเกี่ยวกับ “ใต้หล้า” (Tian Xia) มีความแตกต่างจาก “โลก” (World) ในแนวความคิดของฝ่ายตะวันตก แนวความคิดเรื่องใต้หล้า มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างใต้สวรรค์ลงมามีลักษณะเป็นองค์รวมและมีบูรณาการกัน และแต่ละส่วนสามารถที่จะอยู่ร่วมกันกับส่วนอื่นๆ ได้ ขณะที่ “โลก” (World) หมายถึงการแบ่งแยกเป็น “พวกเรา” และ “พวกเขา” ขณะที่ภายใน “พวกเรา” (us, we) มีการบุรณาการกันและเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ทว่าข้างนอก “พวกเรา” ออกไปนั้น “พวกเขา” (they) เป็นพวกนอกรีตนอกศาสนา เป็นศัตรูที่ควรแม้กระทั่งถูกสังหารไปเสีย ถ้าพาก “พวกเขา” ไม่ยอมรับวัฒนธรรมและคุณค่า “ของเรา”
จากทัศนะมุมมองเช่นนี้เอง จีนจึงเชื่อว่าการก้าวผงาดขึ้นมาของตนสามารถที่จะดำเนินไปได้อย่างสันติและเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายอื่นๆ ได้จริงๆ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯในฐานะที่เป็นอภิมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวในปัจจุบัน รวมทั้งส่วนอื่นๆ ของโลกตะวันตกด้วย ต่างก็ดูจะเชื่อว่า จีนซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป มีระบบการเมืองและระบบสังคมที่ผิดแผกออกไป ตลอดจนไม่มีเจตนารมณ์ที่จะยอมรับคุณค่าและระบบของฝ่ายตะวันตก ควรที่จะถูกปิดล้อมจำกัดเขต และ “ถูกทำให้ถอยลงไป” (taken down) เหมือนอย่างที่ จอน ฮันต์สแมน (Jon Huntsman) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำจีน ได้พูดเอาไว้ในการให้สัมภาษณ์ทางทีวีครั้งหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อจีนบอกปัดไม่เอาด้วยที่จะหลอมรวมเข้าไปในระบบระหว่างประเทศที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ตลอดจนไม่ยอมรับคุณค่าต่างๆ แบบตะวันตก โอมามาก็เริ่มต้นหมดความอดทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนยังคงก้าวผงาดเด่นขึ้นไปเรื่อยๆ ขณะที่สหรัฐฯกำลังจ่อมจมติดแหง็กอยู่ในวิกฤตทางการเงินและทางเศรษฐกิจอย่างล้ำลึก
แต่การอยู่ร่วมกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯจักเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าหากวอชิงตันยังคงเดินหน้ามุ่งดำเนินนโยบายปิดล้อมจำกัดเขตจีน ขณะที่ปักกิ่งยังต้องคอยแสดงการยับยั้งชั่งใจและอดทน ตลอดจนคอยเก็บเนื้อเก็บตัว
ปัญหาที่ว่า จะบริหารจัดการกับการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนกันอย่างไร ถือเป็นความท้าทายใหญ่สำหรับวอชิงตัน และก็สำหรับปักกิ่งด้วย เป็นเรื่องสำคัญที่สหรัฐฯไม่ควรปฏิบัติต่อจีนเหมือนพวกมหาอำนาจที่ก้าวผงาดขึ้นมาใหม่ทั้งหลายในประวัติศาสตร์ ส่วนทางปักกิ่งก็ควรเสาะแสวงหนทางที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและใช้ในทางปฏิบัติได้มากขึ้น มารับมือกับการท้าทายของวอชิงตัน
เป็นที่กระจ่างชัดเจนว่า จีนกับสหรัฐฯจำเป็นที่จะต้องร่วมมือประสานงานกันในกิจการระหว่างประเทศทั้งหลาย ไม่เพียงในระดับทวิภาคีเท่านั้น แต่ยังในระดับภูมิภาคและระดับโลกอีกด้วย การบอกปัดไม่ยอมรับความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติของจีน โดยมองว่าเป็นเพียงเรื่องตลกนั้น ไม่ใช่ท่าทีที่ฉลาดหรือแสดงถึงการมีวุฒิภาวะแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อคณะรัฐบาลสหรัฐฯรีบเร่งปิดล้อมจำกัดเขตจีน ภายหลังประสบความล้มเหลวไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่จะเอาแดนมังกรเข้ามาอยู่ในปริมณฑลของตนได้แล้ว ก็มีแต่จะทำให้โอบามาตลอดจนเพื่อนร่วมงานของเขาในวอชิงตันดูกำลังทำตัวเป็นเด็กๆ และหยาบคายดูหมิ่นผู้อื่นเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว หนทางที่ดีที่สุดคือการนั่งลงและทำความเข้าใจถึงความผิดแผกแตกต่างระหว่างอารยธรรมทั้งสอง จากนั้นก็มองหาจุดต่างๆ ที่ร่วมกันได้ของพวกเขา การปิดล้อมจำกัดเขตเป็นหนทางที่เลวร้ายที่สุดและโง่เขลาที่สุดในการรับมือ หรือ ในการบริหารจัดการกับการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน
ดร.เจี่ยน จวินโป เป็นรองศาสตราจารย์ของสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา (Institute of International Studies Institute of International Studies) แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) มหานครเซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน ปัจจุบันเขาเป็นผู้เยี่ยมเยียนทางวิชาการ (academic visitor) ณ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ แอนด์ โพลิติคอล ซายซ์ (London School of Economics and Political Science) สหราชอาณาจักร