(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The myth of the 'China model' in Africa
By Jian Junbo
13/09/2011
สหรัฐอเมริกากำลังออกมารณรงค์โจมตีสิ่งที่เรียกว่า การพัฒนาประเทศด้วย “แนวทางจีน” ซึ่งลักษณะเด่นของมันก็คือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่นำโดยรัฐและเป็นเผด็จการรวบอำนาจ วอชิงตันระบุว่าพวกประเทศในแอฟริกากำลังสนอกสนใจแนวทางพัฒนาเช่นนี้ พร้อมกันนั้นก็กล่าวหาปักกิ่งอย่างอ้อมๆ ว่ากระทำตัวเป็นนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ เป็นความจริงอยู่หรอกที่หลายๆ ชาติแอฟริกาต้องการลอกเลียนแบบการก้าวผงาดขึ้นมาของประเทศจีน ทว่าเนื้อแท้แล้วพวกเขาไม่ได้มีระบบการเมืองแบบรวมศูนย์อำนาจและประวัติศาสตร์แห่งการรวมชาติเป็นหนึ่งเดียวอย่างที่แดนมังกรมี ส่วนการที่โลกตะวันตกเกิดวิตกจริตในเรื่องนี้ขึ้นมาในตอนนี้นั้น เพียงเพราะรู้สึกหมดปัญญาไม่สามารถแก้ไขสภาพการณ์ที่อิทธิพลของพวกเขาในกาฬทวีปกำลังหดหายลงไปเรื่อยๆ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถ้าหากเราติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นถึงสิ่งที่ฝ่ายตะวันตกพยายามเรียกว่าเป็น “แนวทางจีน” แล้ว เราก็จะพบว่า มีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากระหว่าง “แนวทางจีน” กับไอเดียว่าด้วย “ฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) ซึ่งประดิษฐ์คำขึ้นโดย โจชัว คูเปอร์ ราโม (Joshua Cooper Ramo) นักวิชาการชาวอเมริกันในปี 2004 และจากนั้นก็แพร่หลายกว้างขวางออกไปโดยชาวตะวันตกที่มุ่งใช้คำนี้ในลักษณะขัดแย้งตรงกันข้ามกับ “ฉันทามติวอชิงตัน” (Washington Consensus) ตามความคิดของราโม คำว่าฉันทามติปักกิ่งหมายความถึง เศรษฐกิจที่พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วในระบบที่ถูกรัฐควบคุมอย่างแน่นหนา ขณะที่ฉันทามติวอชิงตันหมายถึงตลาดเสรี และการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย เมื่อพิจารณาจากมุมมองนี้ คำว่าแนวทางจีน ก็เป็นเพียงชื่ออีกชือหนึ่งของ “ฉันทามติปักกิ่ง” ซึ่งเป็นตราประทับที่ถูกจีนปฏิเสธไปแล้วเช่นเดียวกัน
เนื่องจากในทางภายในประเทศ ปักกิ่งไม่ได้ยอมรับแนวความคิดเรื่อง “แนวทางจีน” ในทางระหว่างประเทศ แดนมังกรจึงปฏิเสธการดำรงอยู่ของ “แนวทางจีน” เช่นเดียวกัน หลิว กุ้ยจิน (Liu Guijin) ผู้แทนพิเศษของจีนในกิจการด้านแอฟริกา เคยพูดเอาไว้ระหว่างการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า จีนไม่ได้กำลังส่งเสริมสนับสนุนแนวทางการพัฒนาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ ด้วยความมุ่งหมายที่จะใช้แนวทางดังกล่าวเพื่อตอบโต้ต่อสู้กับแนวทางที่เลือกโดยฝ่ายตะวันตก “สิ่งที่เรากำลังทำอยู่คือการแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ของเรา” เขากล่าว “เชื่อผมเถอะ จีนไม่ได้ต้องการส่งออกอุดมการณ์ของเรา, การปกครองของเรา, แบบอย่างแนวทางของเราเลย เราไม่ได้ถือว่ามันเป็นแบบอย่างแนวทางที่สมบูรณ์พร้อมแล้วด้วยซ้ำไป” [5]
การที่ประเทศอื่นๆ จะลอกเลียนประสบการณ์ในการพัฒนาของจีนนั้น ถ้าหากไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องนับว่าเป็นเรื่องลำบากยากเย็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงวัฒนธรรมอันพิเศษไม่เหมือนใครของแดนมังกร ทั้งนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวัฒนธรรมย่อมส่งอิทธิพลต่อกระบวนการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยของจีนอย่างแน่นอน ลักษณะที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งของวัฒนธรรมจีน ซึ่งแสดงบทบาทอย่างมีความหมายในการสนับสนุนและธำรงรักษาระบบการเมืองและเศรษฐกิจของจีนในทุกวันนี้เอาไว้ ก็คือ “มหาเอกภาพ” (Great Unification)
แนวความคิดนี้มีรากเหง้าต้นกำเนิดจากการรวมประเทศจีนให้เป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยราชวงศ์ฉินในปี 221 ก่อน ค.ศ. นับจากนั้นมา การรวมตัวเป็นเอกภาพกันก็ค่อยๆ แฝงฝังหยั่งรากลึกลงไปในวัฒนธรรมจีน ตลอดยุคสมัยต่างๆ ในประวัติศาสตร์ ภายหลังผ่านระยะแห่งการแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ ไปแล้ว จีนก็จะกลับมารวมชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้งเสมอมา
ในประเทศที่ใหญ่โตมหึมาเฉกเช่นแดนมังกร “มหาเอกภาพ” นี้เรียกร้องให้ต้องมีการรวมศูนย์ นั่นหมายความว่าจีนจำเป็นที่ต้องมีระบบการเมืองและเศรษฐกิจแบบพิเศษ ในแอฟริกานั้น เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์และความเป็นจริงแล้วก็จะพบว่า หลายๆ แห่งได้ดำเนินกระบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ทว่าการมีการรวมศูนย์ในระดับสูงลิ่วอย่างที่บังเกิดขึ้นในจีน ยังถือเป็นแนวความคิดทียากแก่การยินยอมและยอมรับ ขณะที่พวกผู้ปกครองในประเทศแอฟริกาบางรายอาจรู้สึกอิจฉาอำนาจทางการเมืองที่มีการรวมศูนย์อย่างสูงยิ่งของปักกิ่ง “การปฏิวัติดอกมะลิ” (Jasmine revolutions) ซึ่งปะทุขึ้นในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางในช่วงหลังๆ นี้ ก็เป้นบทพิสูจน์อันดีว่าชาติจำนวนมากทีเดียวปฏิเสธไม่ยอมรับการรวมศูนย์ขนาดนั้น
ในระยะเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้เติบโตจากประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจน จนกลายเป็นชาติเจ้าของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก จึงเป็นธรรมดาที่ประเทศแอฟริกาบางรายจะเกิดความกระตือรือร้นต้องการค้นหา “เคล็ดลับ” ของจีน แล้วนำมาส่งเสริมการพัฒนาของพวกเขาเอง อย่างไรก็ตาม ชาติแอฟริกาทั้งหลายไม่สามารถที่จะลอกเลียบแบบอย่างแนวทางของจีนกันอย่างง่ายๆ ได้หรอก พวกเขาจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และตระหนักถึงแนวทางแห่งการพัฒนาของพวกเขาเอง
อย่างไรก็ดี ยังคงมีคำถามว่าทำไมจู่ๆ สหรัฐฯจึงเกิดความวิตกห่วงใยขึ้นมาว่า สิ่งที่เรียกว่า แบบอย่างแนวทางจีน อาจจะกลายเป็นแบบอย่างแนวทางที่นิยมกันในแอฟริกาขึ้นมา? เรื่องนี้น่าจะมีสาเหตุสืบเนื่องจากความรู้สึกอับจนสิ้นปัญญาของสหรัฐฯเอง เมื่อได้เห็นจีนสามารถขยายผลประโยชน์ทางธุรกิจและอิทธิพลของตนในกาฬทวีปอย่างไม่หยุดยั้ง
ในสภาพที่สหรัฐฯเองต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้เศรษฐกิจกลับฟื้นตัวขึ้นมา ขณะที่ยังต้องพัวพันอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ถึง 2 สงคราม ทั้งในอัฟกานิสถานและอิรัก พร้อมๆ กับที่จะต้องปรับเปลี่ยนจุดเน้นหนักทางยุทธศาสตร์ของตนไปยัง “การหวนกลับคืนสู่เอเชีย” วอชิงตันในระยะขั้นตอนนี้จึงแทบไม่อาจกระดิกตัวทำอะไรได้เลยในแอฟริกา ด้วยเหตุนี้กาฬทวีปจึงยังคงเป็น “ทวีปแห่งความล้มเหลว” สำหรับสหรัฐฯ กระนั้นวอชิงตันก็ยังคงมีความขุ่นแค้นไม่พอใจในเรื่องที่ปักกิ่งกำลังก้าวเข้าไปในทวีปนี้อย่างคึกคัก
รายงานชิ้นหนึ่งของโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นเมื่อวันที่ 9 กันยายน กล่าวเอาไว้ดังนี้ [6]
“ขณะที่พวกชาติตะวันตกยังคงเป็นผู้เล่นที่ทรงความสำคัญในภาคพลังงานของแอฟริกาอยู่นั้น การที่จีนเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันมากยิ่งขึ้นทุกทีในด้านโครงสร้างพื้นฐาน, ภาคเหมืองแร่, และโทรคมนาคมของแอฟริกา ก็กำลังก่อให้เกิด “ความหงุดหงิดไม่พอใจอันล้ำลึก” ขึ้นในโลกตะวันตก เดวิด ชินน์ (David Shinn) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศบูร์กินาฟาโซ และเอธิโอเปีย กล่าวให้ความเห็น
เขาอธิบายว่า การแข่งขันกันในภาคต่างๆ เหล่านี้ ปกติแล้วมักอยู่ในรูปที่พวกวิสาหกิจขนาดใหญ่ของจีนซึ่งได้รับการหนุนหลังทางการเงินจากปักกิ่งที่กำลังกระเป๋าหนักมีเงินถุงเงินถัง ทำการต่อสู้ช่วงชิงกับพวกบริษัทชาติตะวันตกที่มักต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของบรรดาผู้ถือหุ้น อีกทั้งโดยทั่วไปแล้วมักกระทำการอย่างเป็นอิสระจากความปรารถนาของรัฐบาลของประเทศพวกเขาเอง
ตามความเห็นของชินน์ ระบบของรัฐบาลที่มีความแตกต่างกันเช่นนี้ “กำลังก่อให้เกิดความกังวลใจขึ้นมาจริงๆ” เนื่องจาก “สหรัฐฯและฝ่ายตะวันตกมองว่า จีนต่างหากที่กำลังเป็นผู้เข้าไปเติมเต็มช่องว่างทุกๆ ชนิด ซึ่งโลกตะวันตกเคยคิดว่าในที่สุดแล้วพวกเขาจะเป็นผู้ที่เข้าไปเติมเต็ม”
จีนแซงหน้าสหรัฐฯไปแล้วจนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของแอฟริกาเมื่อปี 2009 ทั้งนี้ตามตัวเลขต่างๆ ... ของโออีซีดี (OECD ซึ่งย่อมาจาก Organization for Economic Cooperation and Development องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) ขณะที่ย้อนหลังไปเพียงแค่ถึงปี 2000 ปริมาณการค้าที่สหรัฐฯทำกับแอฟริกา ยังอยู่ในระดับ 3 เท่าตัวของการค้าของจีนกับกาฬทวีปอยู่เลย
ชินน์บอกว่า ในสายตาของพวกผู้นำแอฟริกาจำนวนมากแล้ว การที่จีนมีศักยภาพที่จะเคลื่อนไหวกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว บวกกับการที่แดนมังกรใช้นโยบายไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ เหล่านี้จึงมักทำให้ปักกิ่งดูเป็นหุ้นส่วนที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจมากกว่าฝ่ายตะวันตก ซึ่งนโยบายของพวกเขาที่ใช้อยู่ในทวีปนี้นั้น มักมีการผูกโยงเรื่องต่างๆ เข้ากับเงื่อนไขในด้านธรรมาภิบาล และการปฏิรูปทางด้านสิทธิมนุษยชน”
ถ้าเช่นนั้นแล้วจีนยังสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้เป็นที่พออกพอใจของวอชิงตันและฝ่ายตะวันตก? ควรที่จะต้องชี้ให้เห็นกันด้วยว่า ภาคส่วนเศรษฐกิจและพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจีนเข้าไปเกี่ยวพันพัวพันด้วยในแอฟริกานั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นภาคส่วนและพื้นที่ซึ่งฝ่ายตะวันตกปฏิเสธไม่ปรารถนาเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย สืบเนื่องจากเหตุผลในด้านความรุนแรง หรือไม่ก็ผลตอบแทนต่ำ กระนั้นก็ตาม ฝ่ายตะวันตกยังคงพร่ำบ่นร้องทุกข์ว่าจีนเข้าไปแข่งขันช่วงชิงผลประโยชน์กับพวกเขา
หรือว่าจีนควรที่จะถอนตัวยกเลิกการทำธุรกิจทั้งหมดของตนในแอฟริกาเสียเลย? เป็นเรื่องประหลาดๆ ซึ่งควรหยิบยกขึ้นมาตั้งเป็นข้อสังเกตว่า “ความวิตกกังวล” ของฝ่ายตะวันตกเช่นนี้ บังเกิดขึ้นในขณะเดียวกันกับที่ทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรปต่างกำลังมุ่งหาทางให้จีนเข้าไปลงทุนให้มากขึ้น
ในโลกทุกวันนี้ที่แต่ละประเทศต่างต้องพึ่งพิงอาศัยกันและกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐฯแม้ยังคงเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงรายเดียวของพื้นพิภพ แต่ก็สมควรที่จะวางตัวเป็นคน “ใจกว้าง” ควรที่จะมีใจใหญ่เพียงพอจนยินดีต้อนรับกิจกรรมทางธุรกิจของจีนในแอฟริกา เพราะถึงอย่างไร การแข่งขันกันอย่างสันติก็เป็นคุณสมบัติแกนกลางอย่างหนึ่งของระบบทุนนิยมตะวันตกมิใช่หรือ
หมายเหตุ
5. In Africa, U.S. Watches China's Rise, Ayyaantoo Online News, Sep 2, 2011.
6. Is the West losing out to China in Africa? CNN, Sep 9, 2011.
ดร.เจี่ยน จวินโป เป็นรองศาสตราจารย์ของสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา (Institute of International Studies Institute of International Studies) แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) มหานครเซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน ปัจจุบันเขาเป็นผู้เยี่ยมเยียนทางวิชาการ (academic visitor) ณ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ แอนด์ โพลิติคอล ซายซ์ (London School of Economics and Political Science) สหราชอาณาจักร
The myth of the 'China model' in Africa
By Jian Junbo
13/09/2011
สหรัฐอเมริกากำลังออกมารณรงค์โจมตีสิ่งที่เรียกว่า การพัฒนาประเทศด้วย “แนวทางจีน” ซึ่งลักษณะเด่นของมันก็คือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่นำโดยรัฐและเป็นเผด็จการรวบอำนาจ วอชิงตันระบุว่าพวกประเทศในแอฟริกากำลังสนอกสนใจแนวทางพัฒนาเช่นนี้ พร้อมกันนั้นก็กล่าวหาปักกิ่งอย่างอ้อมๆ ว่ากระทำตัวเป็นนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ เป็นความจริงอยู่หรอกที่หลายๆ ชาติแอฟริกาต้องการลอกเลียนแบบการก้าวผงาดขึ้นมาของประเทศจีน ทว่าเนื้อแท้แล้วพวกเขาไม่ได้มีระบบการเมืองแบบรวมศูนย์อำนาจและประวัติศาสตร์แห่งการรวมชาติเป็นหนึ่งเดียวอย่างที่แดนมังกรมี ส่วนการที่โลกตะวันตกเกิดวิตกจริตในเรื่องนี้ขึ้นมาในตอนนี้นั้น เพียงเพราะรู้สึกหมดปัญญาไม่สามารถแก้ไขสภาพการณ์ที่อิทธิพลของพวกเขาในกาฬทวีปกำลังหดหายลงไปเรื่อยๆ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถ้าหากเราติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นถึงสิ่งที่ฝ่ายตะวันตกพยายามเรียกว่าเป็น “แนวทางจีน” แล้ว เราก็จะพบว่า มีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากระหว่าง “แนวทางจีน” กับไอเดียว่าด้วย “ฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) ซึ่งประดิษฐ์คำขึ้นโดย โจชัว คูเปอร์ ราโม (Joshua Cooper Ramo) นักวิชาการชาวอเมริกันในปี 2004 และจากนั้นก็แพร่หลายกว้างขวางออกไปโดยชาวตะวันตกที่มุ่งใช้คำนี้ในลักษณะขัดแย้งตรงกันข้ามกับ “ฉันทามติวอชิงตัน” (Washington Consensus) ตามความคิดของราโม คำว่าฉันทามติปักกิ่งหมายความถึง เศรษฐกิจที่พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วในระบบที่ถูกรัฐควบคุมอย่างแน่นหนา ขณะที่ฉันทามติวอชิงตันหมายถึงตลาดเสรี และการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย เมื่อพิจารณาจากมุมมองนี้ คำว่าแนวทางจีน ก็เป็นเพียงชื่ออีกชือหนึ่งของ “ฉันทามติปักกิ่ง” ซึ่งเป็นตราประทับที่ถูกจีนปฏิเสธไปแล้วเช่นเดียวกัน
เนื่องจากในทางภายในประเทศ ปักกิ่งไม่ได้ยอมรับแนวความคิดเรื่อง “แนวทางจีน” ในทางระหว่างประเทศ แดนมังกรจึงปฏิเสธการดำรงอยู่ของ “แนวทางจีน” เช่นเดียวกัน หลิว กุ้ยจิน (Liu Guijin) ผู้แทนพิเศษของจีนในกิจการด้านแอฟริกา เคยพูดเอาไว้ระหว่างการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า จีนไม่ได้กำลังส่งเสริมสนับสนุนแนวทางการพัฒนาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ ด้วยความมุ่งหมายที่จะใช้แนวทางดังกล่าวเพื่อตอบโต้ต่อสู้กับแนวทางที่เลือกโดยฝ่ายตะวันตก “สิ่งที่เรากำลังทำอยู่คือการแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ของเรา” เขากล่าว “เชื่อผมเถอะ จีนไม่ได้ต้องการส่งออกอุดมการณ์ของเรา, การปกครองของเรา, แบบอย่างแนวทางของเราเลย เราไม่ได้ถือว่ามันเป็นแบบอย่างแนวทางที่สมบูรณ์พร้อมแล้วด้วยซ้ำไป” [5]
การที่ประเทศอื่นๆ จะลอกเลียนประสบการณ์ในการพัฒนาของจีนนั้น ถ้าหากไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องนับว่าเป็นเรื่องลำบากยากเย็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงวัฒนธรรมอันพิเศษไม่เหมือนใครของแดนมังกร ทั้งนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวัฒนธรรมย่อมส่งอิทธิพลต่อกระบวนการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยของจีนอย่างแน่นอน ลักษณะที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งของวัฒนธรรมจีน ซึ่งแสดงบทบาทอย่างมีความหมายในการสนับสนุนและธำรงรักษาระบบการเมืองและเศรษฐกิจของจีนในทุกวันนี้เอาไว้ ก็คือ “มหาเอกภาพ” (Great Unification)
แนวความคิดนี้มีรากเหง้าต้นกำเนิดจากการรวมประเทศจีนให้เป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยราชวงศ์ฉินในปี 221 ก่อน ค.ศ. นับจากนั้นมา การรวมตัวเป็นเอกภาพกันก็ค่อยๆ แฝงฝังหยั่งรากลึกลงไปในวัฒนธรรมจีน ตลอดยุคสมัยต่างๆ ในประวัติศาสตร์ ภายหลังผ่านระยะแห่งการแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ ไปแล้ว จีนก็จะกลับมารวมชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้งเสมอมา
ในประเทศที่ใหญ่โตมหึมาเฉกเช่นแดนมังกร “มหาเอกภาพ” นี้เรียกร้องให้ต้องมีการรวมศูนย์ นั่นหมายความว่าจีนจำเป็นที่ต้องมีระบบการเมืองและเศรษฐกิจแบบพิเศษ ในแอฟริกานั้น เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์และความเป็นจริงแล้วก็จะพบว่า หลายๆ แห่งได้ดำเนินกระบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ทว่าการมีการรวมศูนย์ในระดับสูงลิ่วอย่างที่บังเกิดขึ้นในจีน ยังถือเป็นแนวความคิดทียากแก่การยินยอมและยอมรับ ขณะที่พวกผู้ปกครองในประเทศแอฟริกาบางรายอาจรู้สึกอิจฉาอำนาจทางการเมืองที่มีการรวมศูนย์อย่างสูงยิ่งของปักกิ่ง “การปฏิวัติดอกมะลิ” (Jasmine revolutions) ซึ่งปะทุขึ้นในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางในช่วงหลังๆ นี้ ก็เป้นบทพิสูจน์อันดีว่าชาติจำนวนมากทีเดียวปฏิเสธไม่ยอมรับการรวมศูนย์ขนาดนั้น
ในระยะเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้เติบโตจากประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจน จนกลายเป็นชาติเจ้าของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก จึงเป็นธรรมดาที่ประเทศแอฟริกาบางรายจะเกิดความกระตือรือร้นต้องการค้นหา “เคล็ดลับ” ของจีน แล้วนำมาส่งเสริมการพัฒนาของพวกเขาเอง อย่างไรก็ตาม ชาติแอฟริกาทั้งหลายไม่สามารถที่จะลอกเลียบแบบอย่างแนวทางของจีนกันอย่างง่ายๆ ได้หรอก พวกเขาจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และตระหนักถึงแนวทางแห่งการพัฒนาของพวกเขาเอง
อย่างไรก็ดี ยังคงมีคำถามว่าทำไมจู่ๆ สหรัฐฯจึงเกิดความวิตกห่วงใยขึ้นมาว่า สิ่งที่เรียกว่า แบบอย่างแนวทางจีน อาจจะกลายเป็นแบบอย่างแนวทางที่นิยมกันในแอฟริกาขึ้นมา? เรื่องนี้น่าจะมีสาเหตุสืบเนื่องจากความรู้สึกอับจนสิ้นปัญญาของสหรัฐฯเอง เมื่อได้เห็นจีนสามารถขยายผลประโยชน์ทางธุรกิจและอิทธิพลของตนในกาฬทวีปอย่างไม่หยุดยั้ง
ในสภาพที่สหรัฐฯเองต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้เศรษฐกิจกลับฟื้นตัวขึ้นมา ขณะที่ยังต้องพัวพันอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ถึง 2 สงคราม ทั้งในอัฟกานิสถานและอิรัก พร้อมๆ กับที่จะต้องปรับเปลี่ยนจุดเน้นหนักทางยุทธศาสตร์ของตนไปยัง “การหวนกลับคืนสู่เอเชีย” วอชิงตันในระยะขั้นตอนนี้จึงแทบไม่อาจกระดิกตัวทำอะไรได้เลยในแอฟริกา ด้วยเหตุนี้กาฬทวีปจึงยังคงเป็น “ทวีปแห่งความล้มเหลว” สำหรับสหรัฐฯ กระนั้นวอชิงตันก็ยังคงมีความขุ่นแค้นไม่พอใจในเรื่องที่ปักกิ่งกำลังก้าวเข้าไปในทวีปนี้อย่างคึกคัก
รายงานชิ้นหนึ่งของโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นเมื่อวันที่ 9 กันยายน กล่าวเอาไว้ดังนี้ [6]
“ขณะที่พวกชาติตะวันตกยังคงเป็นผู้เล่นที่ทรงความสำคัญในภาคพลังงานของแอฟริกาอยู่นั้น การที่จีนเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันมากยิ่งขึ้นทุกทีในด้านโครงสร้างพื้นฐาน, ภาคเหมืองแร่, และโทรคมนาคมของแอฟริกา ก็กำลังก่อให้เกิด “ความหงุดหงิดไม่พอใจอันล้ำลึก” ขึ้นในโลกตะวันตก เดวิด ชินน์ (David Shinn) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศบูร์กินาฟาโซ และเอธิโอเปีย กล่าวให้ความเห็น
เขาอธิบายว่า การแข่งขันกันในภาคต่างๆ เหล่านี้ ปกติแล้วมักอยู่ในรูปที่พวกวิสาหกิจขนาดใหญ่ของจีนซึ่งได้รับการหนุนหลังทางการเงินจากปักกิ่งที่กำลังกระเป๋าหนักมีเงินถุงเงินถัง ทำการต่อสู้ช่วงชิงกับพวกบริษัทชาติตะวันตกที่มักต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของบรรดาผู้ถือหุ้น อีกทั้งโดยทั่วไปแล้วมักกระทำการอย่างเป็นอิสระจากความปรารถนาของรัฐบาลของประเทศพวกเขาเอง
ตามความเห็นของชินน์ ระบบของรัฐบาลที่มีความแตกต่างกันเช่นนี้ “กำลังก่อให้เกิดความกังวลใจขึ้นมาจริงๆ” เนื่องจาก “สหรัฐฯและฝ่ายตะวันตกมองว่า จีนต่างหากที่กำลังเป็นผู้เข้าไปเติมเต็มช่องว่างทุกๆ ชนิด ซึ่งโลกตะวันตกเคยคิดว่าในที่สุดแล้วพวกเขาจะเป็นผู้ที่เข้าไปเติมเต็ม”
จีนแซงหน้าสหรัฐฯไปแล้วจนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของแอฟริกาเมื่อปี 2009 ทั้งนี้ตามตัวเลขต่างๆ ... ของโออีซีดี (OECD ซึ่งย่อมาจาก Organization for Economic Cooperation and Development องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) ขณะที่ย้อนหลังไปเพียงแค่ถึงปี 2000 ปริมาณการค้าที่สหรัฐฯทำกับแอฟริกา ยังอยู่ในระดับ 3 เท่าตัวของการค้าของจีนกับกาฬทวีปอยู่เลย
ชินน์บอกว่า ในสายตาของพวกผู้นำแอฟริกาจำนวนมากแล้ว การที่จีนมีศักยภาพที่จะเคลื่อนไหวกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว บวกกับการที่แดนมังกรใช้นโยบายไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ เหล่านี้จึงมักทำให้ปักกิ่งดูเป็นหุ้นส่วนที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจมากกว่าฝ่ายตะวันตก ซึ่งนโยบายของพวกเขาที่ใช้อยู่ในทวีปนี้นั้น มักมีการผูกโยงเรื่องต่างๆ เข้ากับเงื่อนไขในด้านธรรมาภิบาล และการปฏิรูปทางด้านสิทธิมนุษยชน”
ถ้าเช่นนั้นแล้วจีนยังสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้เป็นที่พออกพอใจของวอชิงตันและฝ่ายตะวันตก? ควรที่จะต้องชี้ให้เห็นกันด้วยว่า ภาคส่วนเศรษฐกิจและพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจีนเข้าไปเกี่ยวพันพัวพันด้วยในแอฟริกานั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นภาคส่วนและพื้นที่ซึ่งฝ่ายตะวันตกปฏิเสธไม่ปรารถนาเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย สืบเนื่องจากเหตุผลในด้านความรุนแรง หรือไม่ก็ผลตอบแทนต่ำ กระนั้นก็ตาม ฝ่ายตะวันตกยังคงพร่ำบ่นร้องทุกข์ว่าจีนเข้าไปแข่งขันช่วงชิงผลประโยชน์กับพวกเขา
หรือว่าจีนควรที่จะถอนตัวยกเลิกการทำธุรกิจทั้งหมดของตนในแอฟริกาเสียเลย? เป็นเรื่องประหลาดๆ ซึ่งควรหยิบยกขึ้นมาตั้งเป็นข้อสังเกตว่า “ความวิตกกังวล” ของฝ่ายตะวันตกเช่นนี้ บังเกิดขึ้นในขณะเดียวกันกับที่ทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรปต่างกำลังมุ่งหาทางให้จีนเข้าไปลงทุนให้มากขึ้น
ในโลกทุกวันนี้ที่แต่ละประเทศต่างต้องพึ่งพิงอาศัยกันและกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐฯแม้ยังคงเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงรายเดียวของพื้นพิภพ แต่ก็สมควรที่จะวางตัวเป็นคน “ใจกว้าง” ควรที่จะมีใจใหญ่เพียงพอจนยินดีต้อนรับกิจกรรมทางธุรกิจของจีนในแอฟริกา เพราะถึงอย่างไร การแข่งขันกันอย่างสันติก็เป็นคุณสมบัติแกนกลางอย่างหนึ่งของระบบทุนนิยมตะวันตกมิใช่หรือ
หมายเหตุ
5. In Africa, U.S. Watches China's Rise, Ayyaantoo Online News, Sep 2, 2011.
6. Is the West losing out to China in Africa? CNN, Sep 9, 2011.
ดร.เจี่ยน จวินโป เป็นรองศาสตราจารย์ของสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา (Institute of International Studies Institute of International Studies) แห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University) มหานครเซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน ปัจจุบันเขาเป็นผู้เยี่ยมเยียนทางวิชาการ (academic visitor) ณ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ แอนด์ โพลิติคอล ซายซ์ (London School of Economics and Political Science) สหราชอาณาจักร