เอเอฟพี - ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประณามกฎหมายใหม่ของมาเลเซีย ซึ่งห้ามการชุมนุมประท้วงบนท้องถนน พร้อมเตือนว่า อาจเข้าข่ายจำกัดสิทธิประชาชนในการชุมนุมโดยสันติ
ในแถลงการณ์ร่วมซึ่งออก ณ กรุงเจนีวา วานนี้ (8) ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น ระบุว่า กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมโดยสันติฉบับใหม่ อาจทำให้ประชาชนในมาเลเซียหมดโอกาสที่จะแสดงความไม่พอใจรัฐบาลในที่สาธารณะ “โดยไม่ต้องหวาดกลัวการถูกคุมขังหรือคว่ำบาตร”
ภายใต้กฎหมายดังกล่าวซึ่งจะมีผลบังคับใช้หลังกษัตริย์มาเลเซียทรงให้การเห็นชอบ การชุมนุมประท้วงบนท้องถนนจะถูกสั่งห้ามโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ ยังห้ามพลเมืองมาเลเซียและบุคคลต่างด้าวที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปี เข้าร่วมชุมนุมโดยสันติด้วย
“ข้อจำกัดหลายๆ ข้อในกฎหมายฉบับนี้ ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ” ไมนา คิไอ ผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิในการชุมนุมและสมาคมโดยสันติ ระบุ
มาร์กาเร็ต เซคักเกีย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษย์ชนอีกรายหนึ่ง กล่าวว่า การห้ามประชาชนอายุต่ำกว่า 21 ปีร่วมชุมนุม ถือเป็นสิ่งที่อันตราย พร้อมเสริมว่า สิทธิในการชุมนุมและประท้วงโดยสันติเป็นเกราะป้องกันที่จำเป็นสำหรับการปกป้องสิทธิมนุษยชน
“การมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคมผ่านการประท้วงอย่างสันตินั้น มิใช่เพียงประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับเด็ก, เยาวชน และนักเรียน แต่ยังเป็นการลงทุนสำหรับสังคมโดยรวมด้วย” เขากล่าว
แฟรงก์ ลา รู ผู้เชี่ยวชาญด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เรียกร้องให้กัวลาลัมเปอร์ทบทวนกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
“การที่บุคคลสามารถแสดงออกอย่างเสรี รวมถึงประท้วงอย่างสันติ เป็นเครื่องพิสูจน์ระดับความเป็นประชาธิปไตยในประเทศนั้นๆ” เขากล่าว
นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก แห่งมาเลเซีย ออกมาปกป้องกฎหมายดังกล่าว โดยชี้ว่ามีจุดประสงค์เพื่อรับรองสิทธิในการชุมนุมโดยสันติ ซึ่งในปัจจุบันจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากตำรวจเท่านั้น พร้อมกล่าวหาผู้ที่วิจารณ์กฎหมายฉบับนี้ว่าพยายามทำให้สาธารณชนสับสน
ราซัก ยังยกย่องกฎหมายฉบับนี้ว่าเป็นอีกหนึ่งการปฏิรูปในรัฐบาลปัจจุบัน ที่ช่วยให้พลเมืองมีเสรีภาพยิ่งขึ้น
เทียน ฉัว ส.ส.ฝ่ายค้านจากพรรค พีเพิลส์ จัสติส ปาร์ตี ของอดีตรองนายกฯ อันวาร์ อิบรอฮีม ให้สัมภาษณ์ว่า กฎหมายดังกล่าวน่าจะมีผลบังคับใช้ในต้นเดือนหน้า
“การแก้ไขกฎหมายนี้จะบั่นทอนระบอบประชาธิปไตยในมาเลเซีย เพราะเป็นการปิดกั้นไม่ให้พรรคฝ่ายค้านสามารถหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนได้”
ในแถลงการณ์ร่วมซึ่งออก ณ กรุงเจนีวา วานนี้ (8) ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น ระบุว่า กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมโดยสันติฉบับใหม่ อาจทำให้ประชาชนในมาเลเซียหมดโอกาสที่จะแสดงความไม่พอใจรัฐบาลในที่สาธารณะ “โดยไม่ต้องหวาดกลัวการถูกคุมขังหรือคว่ำบาตร”
ภายใต้กฎหมายดังกล่าวซึ่งจะมีผลบังคับใช้หลังกษัตริย์มาเลเซียทรงให้การเห็นชอบ การชุมนุมประท้วงบนท้องถนนจะถูกสั่งห้ามโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ ยังห้ามพลเมืองมาเลเซียและบุคคลต่างด้าวที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปี เข้าร่วมชุมนุมโดยสันติด้วย
“ข้อจำกัดหลายๆ ข้อในกฎหมายฉบับนี้ ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ” ไมนา คิไอ ผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิในการชุมนุมและสมาคมโดยสันติ ระบุ
มาร์กาเร็ต เซคักเกีย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษย์ชนอีกรายหนึ่ง กล่าวว่า การห้ามประชาชนอายุต่ำกว่า 21 ปีร่วมชุมนุม ถือเป็นสิ่งที่อันตราย พร้อมเสริมว่า สิทธิในการชุมนุมและประท้วงโดยสันติเป็นเกราะป้องกันที่จำเป็นสำหรับการปกป้องสิทธิมนุษยชน
“การมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคมผ่านการประท้วงอย่างสันตินั้น มิใช่เพียงประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับเด็ก, เยาวชน และนักเรียน แต่ยังเป็นการลงทุนสำหรับสังคมโดยรวมด้วย” เขากล่าว
แฟรงก์ ลา รู ผู้เชี่ยวชาญด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เรียกร้องให้กัวลาลัมเปอร์ทบทวนกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
“การที่บุคคลสามารถแสดงออกอย่างเสรี รวมถึงประท้วงอย่างสันติ เป็นเครื่องพิสูจน์ระดับความเป็นประชาธิปไตยในประเทศนั้นๆ” เขากล่าว
นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก แห่งมาเลเซีย ออกมาปกป้องกฎหมายดังกล่าว โดยชี้ว่ามีจุดประสงค์เพื่อรับรองสิทธิในการชุมนุมโดยสันติ ซึ่งในปัจจุบันจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากตำรวจเท่านั้น พร้อมกล่าวหาผู้ที่วิจารณ์กฎหมายฉบับนี้ว่าพยายามทำให้สาธารณชนสับสน
ราซัก ยังยกย่องกฎหมายฉบับนี้ว่าเป็นอีกหนึ่งการปฏิรูปในรัฐบาลปัจจุบัน ที่ช่วยให้พลเมืองมีเสรีภาพยิ่งขึ้น
เทียน ฉัว ส.ส.ฝ่ายค้านจากพรรค พีเพิลส์ จัสติส ปาร์ตี ของอดีตรองนายกฯ อันวาร์ อิบรอฮีม ให้สัมภาษณ์ว่า กฎหมายดังกล่าวน่าจะมีผลบังคับใช้ในต้นเดือนหน้า
“การแก้ไขกฎหมายนี้จะบั่นทอนระบอบประชาธิปไตยในมาเลเซีย เพราะเป็นการปิดกั้นไม่ให้พรรคฝ่ายค้านสามารถหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนได้”