เอเจนซีส์ - พันธบัตรคลังเมืองเบียร์ที่นำออกมาขายในวันพุธ(23) แล้วปรากฏว่าขายได้ไม่หมด ถูกระบุเป็น ‘หายนะ’ ซึ่งส่งสัญญาณเตือนอย่างแรงว่า วิกฤตหนี้ของยูโรโซนเริ่มคุกคามแม้กระทั่งพี่ใหญ่เยอรมนี ขณะที่เบอร์ลินและปารีส สองพี่เอื้อยของเขตยูโรโซน ยังคงแตกคอกันเรื่องแนวทางแก้ไขเชิงโครงสร้างระยะยาว
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี, ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซีของฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติของอิตาลี นัดพบกันที่สตาร์สบูร์กในฝรั่งเศส วันพฤหัสบดี (24) ซึ่งคาดว่าจะมีการหารือเกี่ยวกับแผนการปฏิรูปอิตาลีที่เสนอโดยมอนติ ซึ่งเป็นอดีตกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู)
การประชุมนี้ยังเป็นที่คาดหวังว่า จะช่วยนำอิตาลีหลุดพ้นจากยุคของซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี อดีตผู้นำฉาวที่ลาออกไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะถึงการประชุมนี้ มีเหตุการณ์หนึ่งที่ตอกย้ำความรุนแรงของวิกฤตยูโรโซน ได้แก่ การที่เยอรมนีนำพันธบัตรออกประมูลเมื่อวันพุธ (23) แต่ขายได้ไม่ถึงครึ่งของทั้งหมดที่มีมูลค่า 6,000 ล้านยูโร ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเมืองเบียร์ระยะ 10 ปีพุ่งขึ้น 0.145% อยู่ที่ 2.056% สูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรคลังสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกนับจากต้นเดือนตุลาคม และยังฉุดให้ค่าเงินยูโรลดลงอยู่ที่ 1.336 ยูโรต่อดอลลาร์ และตลาดหุ้นยุโรปดิ่งทำสถิติต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์
ทั้งนี้ พันธบัตรใหม่เสนออัตราดอกเบี้ย 2% ต่ำที่สุดเท่าที่เยอรมนีเคยนำพันธบัตรระยะ 10 ปีออกระดมทุน
สมาชิกอาวุโสของพรรคคริสเตียน เดโมแครตส์ (ซีดียู) ของแมร์เคิล พยายามลดทอนความสำคัญของความล้มเหลวนี้ ขณะที่นักการเมืองพรรคอื่นเรียงหน้าออกมาโจมตีนายกฯหญิง
แฟรงก์ เชฟเฟลอร์ สมาชิกสภาที่ไม่เคยเชื่อมั่นในยูโรจากพรรคฟรี เดโมแครตส์ (เอฟดีพี) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล วิพากษ์ว่าเหตุการณ์นี้บ่งชี้ว่า วิกฤตหนี้หยั่งรากลึกและคืบคลานถึงเยอรมนีแล้ว
คาร์สเตน ชไนเดอร์ โฆษกฝ่ายงบประมาณของโซเชียล เดโมแครตส์ (เอสพีดี) ซึ่งเป็นพรรคกลางซ้ายในสภา สำทับว่านี่เป็นสัญญาณชัดเจนครั้งแรกว่าเยอรมนีไม่สามารถรอดพ้นจากวิกฤตที่เริ่มต้นที่กรีซเมื่อสองปีก่อน และลุกลามใน 17 ชาติยูโรโซน ดังนั้น แมร์เคิลและรัฐมนตรีคลังต้องบอกความจริงกับประชาชนถึงต้นทุนและความเสี่ยงที่ประเทศกำลังเผชิญ
ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ต้นทุนการกู้ยืมของเกือบทุกชาติในยูโรโซน แม้แต่ประเทศที่เคยถูกมองว่าปลอดภัยอย่างฝรั่งเศส ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ ล้วนพุ่งทะยานเนื่องจากนักลงทุนที่ตื่นตระหนกพากันทิ้งพันธบัตรของชาติเหล่านี้เพราะมองว่าไม่ได้ปลอดความเสี่ยงอีกต่อไป
ล่าสุดนักลงทุนยังขวัญเสียจากรายงานที่ว่า เบลเยียมกำลังบังคับให้ฝรั่งเศสจ่ายเพิ่มเพื่ออุ้ม เดกเซีย ธนาคารที่ประสบวิกฤตและต้องอยู่ภายใต้แผนฟื้นฟูมูลค่า 90,000 ล้านยูโร จากที่ตกลงกันเมื่อหลายเดือนก่อน
นอกจากนี้ ยังมีรายงานพิเศษจากฟิตช์ เรทติ้งที่ชี้ว่า ปารีสมีช่องทางจำกัดในการรองรับผลกระทบต่อสถานะการคลังของประเทศจากแนวโน้มเศรษฐกิจขาลงรอบใหม่ หรือการอัดฉีดช่วยเหลือธนาคาร และเรื่องนี้จะกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือที่อยู่ที่ AAA ในขณะนี้
แมร์เคิลนั้นตัดสินใจว่าจะไม่ยอมตามแรงกดดันในตลาดการเงิน จึงยังคงยืนกรานต่อต้านเสียงเรียกร้องโดยเฉพาะจากฝรั่งเศส ให้ยอมให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) รับบทผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายสำหรับชาติยูโรโซน
ในการแถลงต่อสภาล่างเมื่อวันพุธ แมร์เคิลเตือนว่าไม่ควรนำภารกิจในการต่อสู้ภาวะเงินเฟ้ออันเคร่งครัดของอีซีบีมาเสี่ยง ด้วยการพิมพ์ธนบัตรใหม่มาซื้อพันธบัตรรัฐบาลชาติสมาชิก รวมทั้งตอบโต้การเรียกร้องของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องการออกพันธบัตรร่วมยูโรว่า 'ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง’
แมร์เคิลยังไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตให้กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินของยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) กู้ยืมจากอีซีบีหรือไอเอ็มเอฟ แต่ทางออกทางเดียวจากวิกฤตในความเห็นของผู้นำเมืองเบียร์คือ สหภาพการเมืองยุโรปที่ก่อตั้งขึ้นโดยอิงกับยูโรโซน
ทว่า เดวิด ไมลส์ ผู้วางนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ มองว่าข้อเสนอของแมร์เคิลบ่งชี้ความเสี่ยงที่จะต้องมีชาติใน 17 ชาติหลุดจากยูโรโซน
สอดคล้องกับการสำรวจความคิดเห็นที่สำนักข่าวรอยเตอร์สจัดทำขึ้นและเผยแพร่ออกมาเมื่อวันพุธ ซึ่งพบว่านักวิชาการ อดีตผู้วางนโยบาย และนักคิดอิสระชื่อดัง 14 จาก 20 คน เห็นพ้องว่า องค์ประกอบของยูโรโซนอาจมีการเปลี่ยนแปลง
นักเศรษฐศาสตร์ 10 คนมองตรงกันว่า ยูโรโซนใหม่ที่จะมีสมาชิกน้อยลงอาจเป็นวิธีแก้ปัญหา โดย 7 คนในจำนวนนี้ฟันธงว่า ผู้ที่ต้องไปคือกรีซ
เจฟฟรีย์ แซคส์ ผู้อำนวยการเอิร์ธ อินสติติวท์ ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก ขานรับว่า ยูโรโซนสามารถและควรอยู่รอด แต่ไม่ใช่ในวิถีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี, ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซีของฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติของอิตาลี นัดพบกันที่สตาร์สบูร์กในฝรั่งเศส วันพฤหัสบดี (24) ซึ่งคาดว่าจะมีการหารือเกี่ยวกับแผนการปฏิรูปอิตาลีที่เสนอโดยมอนติ ซึ่งเป็นอดีตกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู)
การประชุมนี้ยังเป็นที่คาดหวังว่า จะช่วยนำอิตาลีหลุดพ้นจากยุคของซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี อดีตผู้นำฉาวที่ลาออกไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะถึงการประชุมนี้ มีเหตุการณ์หนึ่งที่ตอกย้ำความรุนแรงของวิกฤตยูโรโซน ได้แก่ การที่เยอรมนีนำพันธบัตรออกประมูลเมื่อวันพุธ (23) แต่ขายได้ไม่ถึงครึ่งของทั้งหมดที่มีมูลค่า 6,000 ล้านยูโร ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเมืองเบียร์ระยะ 10 ปีพุ่งขึ้น 0.145% อยู่ที่ 2.056% สูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรคลังสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกนับจากต้นเดือนตุลาคม และยังฉุดให้ค่าเงินยูโรลดลงอยู่ที่ 1.336 ยูโรต่อดอลลาร์ และตลาดหุ้นยุโรปดิ่งทำสถิติต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์
ทั้งนี้ พันธบัตรใหม่เสนออัตราดอกเบี้ย 2% ต่ำที่สุดเท่าที่เยอรมนีเคยนำพันธบัตรระยะ 10 ปีออกระดมทุน
สมาชิกอาวุโสของพรรคคริสเตียน เดโมแครตส์ (ซีดียู) ของแมร์เคิล พยายามลดทอนความสำคัญของความล้มเหลวนี้ ขณะที่นักการเมืองพรรคอื่นเรียงหน้าออกมาโจมตีนายกฯหญิง
แฟรงก์ เชฟเฟลอร์ สมาชิกสภาที่ไม่เคยเชื่อมั่นในยูโรจากพรรคฟรี เดโมแครตส์ (เอฟดีพี) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล วิพากษ์ว่าเหตุการณ์นี้บ่งชี้ว่า วิกฤตหนี้หยั่งรากลึกและคืบคลานถึงเยอรมนีแล้ว
คาร์สเตน ชไนเดอร์ โฆษกฝ่ายงบประมาณของโซเชียล เดโมแครตส์ (เอสพีดี) ซึ่งเป็นพรรคกลางซ้ายในสภา สำทับว่านี่เป็นสัญญาณชัดเจนครั้งแรกว่าเยอรมนีไม่สามารถรอดพ้นจากวิกฤตที่เริ่มต้นที่กรีซเมื่อสองปีก่อน และลุกลามใน 17 ชาติยูโรโซน ดังนั้น แมร์เคิลและรัฐมนตรีคลังต้องบอกความจริงกับประชาชนถึงต้นทุนและความเสี่ยงที่ประเทศกำลังเผชิญ
ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ต้นทุนการกู้ยืมของเกือบทุกชาติในยูโรโซน แม้แต่ประเทศที่เคยถูกมองว่าปลอดภัยอย่างฝรั่งเศส ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ ล้วนพุ่งทะยานเนื่องจากนักลงทุนที่ตื่นตระหนกพากันทิ้งพันธบัตรของชาติเหล่านี้เพราะมองว่าไม่ได้ปลอดความเสี่ยงอีกต่อไป
ล่าสุดนักลงทุนยังขวัญเสียจากรายงานที่ว่า เบลเยียมกำลังบังคับให้ฝรั่งเศสจ่ายเพิ่มเพื่ออุ้ม เดกเซีย ธนาคารที่ประสบวิกฤตและต้องอยู่ภายใต้แผนฟื้นฟูมูลค่า 90,000 ล้านยูโร จากที่ตกลงกันเมื่อหลายเดือนก่อน
นอกจากนี้ ยังมีรายงานพิเศษจากฟิตช์ เรทติ้งที่ชี้ว่า ปารีสมีช่องทางจำกัดในการรองรับผลกระทบต่อสถานะการคลังของประเทศจากแนวโน้มเศรษฐกิจขาลงรอบใหม่ หรือการอัดฉีดช่วยเหลือธนาคาร และเรื่องนี้จะกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือที่อยู่ที่ AAA ในขณะนี้
แมร์เคิลนั้นตัดสินใจว่าจะไม่ยอมตามแรงกดดันในตลาดการเงิน จึงยังคงยืนกรานต่อต้านเสียงเรียกร้องโดยเฉพาะจากฝรั่งเศส ให้ยอมให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) รับบทผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายสำหรับชาติยูโรโซน
ในการแถลงต่อสภาล่างเมื่อวันพุธ แมร์เคิลเตือนว่าไม่ควรนำภารกิจในการต่อสู้ภาวะเงินเฟ้ออันเคร่งครัดของอีซีบีมาเสี่ยง ด้วยการพิมพ์ธนบัตรใหม่มาซื้อพันธบัตรรัฐบาลชาติสมาชิก รวมทั้งตอบโต้การเรียกร้องของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องการออกพันธบัตรร่วมยูโรว่า 'ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง’
แมร์เคิลยังไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตให้กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินของยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) กู้ยืมจากอีซีบีหรือไอเอ็มเอฟ แต่ทางออกทางเดียวจากวิกฤตในความเห็นของผู้นำเมืองเบียร์คือ สหภาพการเมืองยุโรปที่ก่อตั้งขึ้นโดยอิงกับยูโรโซน
ทว่า เดวิด ไมลส์ ผู้วางนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ มองว่าข้อเสนอของแมร์เคิลบ่งชี้ความเสี่ยงที่จะต้องมีชาติใน 17 ชาติหลุดจากยูโรโซน
สอดคล้องกับการสำรวจความคิดเห็นที่สำนักข่าวรอยเตอร์สจัดทำขึ้นและเผยแพร่ออกมาเมื่อวันพุธ ซึ่งพบว่านักวิชาการ อดีตผู้วางนโยบาย และนักคิดอิสระชื่อดัง 14 จาก 20 คน เห็นพ้องว่า องค์ประกอบของยูโรโซนอาจมีการเปลี่ยนแปลง
นักเศรษฐศาสตร์ 10 คนมองตรงกันว่า ยูโรโซนใหม่ที่จะมีสมาชิกน้อยลงอาจเป็นวิธีแก้ปัญหา โดย 7 คนในจำนวนนี้ฟันธงว่า ผู้ที่ต้องไปคือกรีซ
เจฟฟรีย์ แซคส์ ผู้อำนวยการเอิร์ธ อินสติติวท์ ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก ขานรับว่า ยูโรโซนสามารถและควรอยู่รอด แต่ไม่ใช่ในวิถีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน