ASTVผู้จัดการ - สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานภาพผลกระทบโดยรวม ตลอดจนวิธีรับมือของรัฐบาลต่ออุทกภัยครั้งร้ายแรงของไทย ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 336 ราย ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ทั้งยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตร อุตสาหกรรม และกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนคนไทยเกือบ 2.5 ล้านคน
ผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลไทยเผยตัวเลขความเสียหายจากภัยน้ำท่วมใหญ่อยู่ที่ 1.0-1.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ทว่า ตัวเลขดังกล่าวน่าจะสูงขึ้นอีก หากกรุงเทพฯ อันเป็นเมืองหลวงจมน้ำ
ด้าน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีการคลัง กล่าวกับรอยเตอร์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า เศรษฐกิจไทยอาจหดตัวลง 1.1% ในไตรมาสที่ 4 จากปีก่อนหน้า และการเติบโตในปีนี้อาจขึ้นได้เพียง 2% กว่าๆ เท่านั้น ซึ่งลดลงจาก 3.7% ที่คาดการณ์ไว้ในสัปดาห์ก่อนหน้า
ส่วน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ว่า เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้อาจโตได้น้อยกว่า 3% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้โดย ธปท.ที่ 4.1% โดยจะมีการเปิดเผยตัวเลขอีกครั้งในวันศุกร์ (28)
ขณะที่บริษัททางด้านการเงินระหว่างประเทศอย่าง ซิตี้มองว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะโตขึ้น 2.2% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.7% เช่นเดียวกับบาร์เคลย์ส แคปิตอล ก็ลดตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลงเหลือ 2.9% จาก 3.7%
ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม
อุทกภัยครั้งใหญ่ครั้งนี้ทำให้นิคมอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ต้องปิดตัวไปแล้วถึง 7 แห่ง ส่งผลกระทบต่อโรงงานอย่างน้อย 9,859 โรง ทำคนตกงานร่วม 660,000 คน รวมไปถึงสินค้าอุตสาหกรรมมากมายต้องขาดตลาด โดยเฉพาะชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสินค้าทางการเกษตร
กระทรวงพาณิชย์ คาดว่า การส่งออก ซึ่งเท่ากับ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในแต่ละปี จะลดลง 13% ในไตรมาสที่ 4 และตัวเลขการส่งออกอาจกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ไม่เกิน 15% ในปีหน้า
รอยเตอร์ ระบุว่า ประเทศไทยเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงยังเป็นฐานการผลิต และการส่งออกรถยนต์ของภูมิภาค ทำให้เมื่อเกิดภัยพิบัติจึงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตรถยนต์เป็นวงกว้าง โดยในสัปดาห์นี้ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ได้ประกาศระงับการผลิตรถยนต์ที่โรงงานหลายแห่งในญี่ปุ่น และอเมริกาเหนือแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก ทว่า นาข้าวร่วม 1.55 ล้านเฮกตาร์ (ราว 9.7 ล้านไร่) ต้องจมอยู่ใต้น้ำ ทำให้รัฐบาลลดตัวเลขประมาณผลผลิตลงเหลือ 21 ล้านตัน จาก 25 ล้านตัน
น.ส.กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่า น้ำท่วมหนักครั้งนี้ทำลายข้าวไปร่วม 2 ล้านตัน และยังทำให้การขนส่งข้าวล่าช้าออกไปด้วย โดยคาดว่าการส่งออกข้าวในปี 2012 อาจตกลงจากปีนี้ 30% โดยประมาณ เหลือราว 7.0-7.5 ล้านตัน
ด้าน นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา ชี้ว่า นักท่องเที่ยวอาจเดินทางมาเยือนไทยต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ 500,000-1,000,000 คน จาก 19 ล้านคน ขณะที่สนามบินดอนเมืองต้องปิดให้บริการในวันอังคาร (25) เนื่องจากน้ำทะลักเข้าทางวิ่งอย่างฉับพลัน
นอกจากนี้ สาขาของธนาคารต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 295 สาขาก็จำเป็นต้องปิดทำการ โดยเฉพาะในหลายพื้นที่ทางเหนือของกรุงเทพฯ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมด้วย
มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลจะทุ่มเงินกว่า 1 แสนล้านบาทในการฟื้นฟูบูรณะหลังเหตุการณ์น้ำท่วม
ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีเพิ่งตกลงกันได้ว่าจะลดค่าใช้จ่ายภาครัฐลง 10% หรือราว 8 หมื่นล้านบาท ในปีปัจจุบัน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบเพิ่มการขาดดุลงบประมาณจาก 3.5 แสนล้านบาท เป็น 4 แสนล้านบาท
ในสัปดาห์นี้ คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติมาตรการมูลค่า 3.25 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบริษัท พ่อค้าแม่ค้า และประชาชนทั่วไป ที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยผ่านโครงการเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (soft laon) ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดให้ หรือเป็นผู้ค้ำประกันบางส่วน
นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะพิจารณาการลดหย่อนภาษีสำหรับบริษัทจำนวนมาก ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้อีกด้วย
คณะรัฐมนตรีของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ยังประกาศให้วันที่ 27-31 ตุลาคม เป็นวันหยุดราชการใน 21 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพฯ เพื่อช่วยประชาชนรับมือกับภัยน้ำท่วม โดยที่ตลาดการเงินต่างๆ ยังเปิดให้บริการอยู่
นโยบายการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.5% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไปจนถึงปีหน้า แต่ก็มีบางคนที่มองว่า น่าจะมีการลดดอกเบี้ยลงเร็วๆ นี้ หากเศรษฐกิจยังไม่มีสัญญาณไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารกลางของไทยจะทบทวนนโยบายกันอีกครั้งในวันที่ 30 พฤศจิกายน
ในวันอังคาร (25) ธปท.เผยว่า กำลังร่วมมือกับธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือบีโอเจ ในการอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินแก่พวกบริษัทญี่ปุ่นและกิจการในเครือที่อยู่ในไทย ด้วยการเปิดทางให้แบงก์ญี่ปุ่นกู้ยืมโดยตรงจากแบงก์ชาติของไทย โดยใช้พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ยิ่งไปกว่านั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับทางการของประเทศอย่างเช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และยุโรป เกี่ยวกับการอัดฉีดสภาพคล่องสกุลเงินบาทในลักษณะนี้แก่บริษัทต่างประเทศอื่นๆ
ผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลไทยเผยตัวเลขความเสียหายจากภัยน้ำท่วมใหญ่อยู่ที่ 1.0-1.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ทว่า ตัวเลขดังกล่าวน่าจะสูงขึ้นอีก หากกรุงเทพฯ อันเป็นเมืองหลวงจมน้ำ
ด้าน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีการคลัง กล่าวกับรอยเตอร์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า เศรษฐกิจไทยอาจหดตัวลง 1.1% ในไตรมาสที่ 4 จากปีก่อนหน้า และการเติบโตในปีนี้อาจขึ้นได้เพียง 2% กว่าๆ เท่านั้น ซึ่งลดลงจาก 3.7% ที่คาดการณ์ไว้ในสัปดาห์ก่อนหน้า
ส่วน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ว่า เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้อาจโตได้น้อยกว่า 3% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้โดย ธปท.ที่ 4.1% โดยจะมีการเปิดเผยตัวเลขอีกครั้งในวันศุกร์ (28)
ขณะที่บริษัททางด้านการเงินระหว่างประเทศอย่าง ซิตี้มองว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะโตขึ้น 2.2% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.7% เช่นเดียวกับบาร์เคลย์ส แคปิตอล ก็ลดตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลงเหลือ 2.9% จาก 3.7%
ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม
อุทกภัยครั้งใหญ่ครั้งนี้ทำให้นิคมอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ต้องปิดตัวไปแล้วถึง 7 แห่ง ส่งผลกระทบต่อโรงงานอย่างน้อย 9,859 โรง ทำคนตกงานร่วม 660,000 คน รวมไปถึงสินค้าอุตสาหกรรมมากมายต้องขาดตลาด โดยเฉพาะชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสินค้าทางการเกษตร
กระทรวงพาณิชย์ คาดว่า การส่งออก ซึ่งเท่ากับ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในแต่ละปี จะลดลง 13% ในไตรมาสที่ 4 และตัวเลขการส่งออกอาจกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ไม่เกิน 15% ในปีหน้า
รอยเตอร์ ระบุว่า ประเทศไทยเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงยังเป็นฐานการผลิต และการส่งออกรถยนต์ของภูมิภาค ทำให้เมื่อเกิดภัยพิบัติจึงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตรถยนต์เป็นวงกว้าง โดยในสัปดาห์นี้ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ได้ประกาศระงับการผลิตรถยนต์ที่โรงงานหลายแห่งในญี่ปุ่น และอเมริกาเหนือแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก ทว่า นาข้าวร่วม 1.55 ล้านเฮกตาร์ (ราว 9.7 ล้านไร่) ต้องจมอยู่ใต้น้ำ ทำให้รัฐบาลลดตัวเลขประมาณผลผลิตลงเหลือ 21 ล้านตัน จาก 25 ล้านตัน
น.ส.กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่า น้ำท่วมหนักครั้งนี้ทำลายข้าวไปร่วม 2 ล้านตัน และยังทำให้การขนส่งข้าวล่าช้าออกไปด้วย โดยคาดว่าการส่งออกข้าวในปี 2012 อาจตกลงจากปีนี้ 30% โดยประมาณ เหลือราว 7.0-7.5 ล้านตัน
ด้าน นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา ชี้ว่า นักท่องเที่ยวอาจเดินทางมาเยือนไทยต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ 500,000-1,000,000 คน จาก 19 ล้านคน ขณะที่สนามบินดอนเมืองต้องปิดให้บริการในวันอังคาร (25) เนื่องจากน้ำทะลักเข้าทางวิ่งอย่างฉับพลัน
นอกจากนี้ สาขาของธนาคารต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 295 สาขาก็จำเป็นต้องปิดทำการ โดยเฉพาะในหลายพื้นที่ทางเหนือของกรุงเทพฯ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมด้วย
มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลจะทุ่มเงินกว่า 1 แสนล้านบาทในการฟื้นฟูบูรณะหลังเหตุการณ์น้ำท่วม
ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีเพิ่งตกลงกันได้ว่าจะลดค่าใช้จ่ายภาครัฐลง 10% หรือราว 8 หมื่นล้านบาท ในปีปัจจุบัน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบเพิ่มการขาดดุลงบประมาณจาก 3.5 แสนล้านบาท เป็น 4 แสนล้านบาท
ในสัปดาห์นี้ คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติมาตรการมูลค่า 3.25 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบริษัท พ่อค้าแม่ค้า และประชาชนทั่วไป ที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยผ่านโครงการเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (soft laon) ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดให้ หรือเป็นผู้ค้ำประกันบางส่วน
นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะพิจารณาการลดหย่อนภาษีสำหรับบริษัทจำนวนมาก ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้อีกด้วย
คณะรัฐมนตรีของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ยังประกาศให้วันที่ 27-31 ตุลาคม เป็นวันหยุดราชการใน 21 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพฯ เพื่อช่วยประชาชนรับมือกับภัยน้ำท่วม โดยที่ตลาดการเงินต่างๆ ยังเปิดให้บริการอยู่
นโยบายการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.5% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไปจนถึงปีหน้า แต่ก็มีบางคนที่มองว่า น่าจะมีการลดดอกเบี้ยลงเร็วๆ นี้ หากเศรษฐกิจยังไม่มีสัญญาณไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารกลางของไทยจะทบทวนนโยบายกันอีกครั้งในวันที่ 30 พฤศจิกายน
ในวันอังคาร (25) ธปท.เผยว่า กำลังร่วมมือกับธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือบีโอเจ ในการอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินแก่พวกบริษัทญี่ปุ่นและกิจการในเครือที่อยู่ในไทย ด้วยการเปิดทางให้แบงก์ญี่ปุ่นกู้ยืมโดยตรงจากแบงก์ชาติของไทย โดยใช้พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ยิ่งไปกว่านั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับทางการของประเทศอย่างเช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และยุโรป เกี่ยวกับการอัดฉีดสภาพคล่องสกุลเงินบาทในลักษณะนี้แก่บริษัทต่างประเทศอื่นๆ