เอเอฟพี - รัฐมนตรีคลังยูโรโซนเมื่อวันศุกร์ (21) เห็นพ้องปลดล็อกเงินช่วยเหลืองวดถัดไปมูลค่า 8,000 ล้านยูโรแก่รัฐบาลกรีซ เจ้าหน้าที่ทูตอียูเผย คลายความกังวลต่อความเป็นไปได้ที่อาจต้องหยุดพักชำระหนี้
ทูตรายหนึ่งเผยว่า คณะรัฐมนตรีคลังของ 17 ชาติสมาชิกยุโรป มีมติอนุมัติเงินกู้งวดที่ 6 แก่กรีซ อ้างถึงเงินอัดฉีดประทังชีวิตจากแพกเกจเงินกู้รอบแรกที่มีมูลค่าทั้งสิ้น 110,000 ล้านยูโร ที่สองเจ้าหนี้รายใหญ่ ทั้ง อียู และไอเอ็มเอฟ ทยอยจ่ายให้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
เงินช่วยเหลือก้อนนี้มีความสำคัญมากสำหรับกรีซ เนื่องจากหากอียูไม่อนุมัติความช่วยเหลือครั้งนี้ เอเธนส์ก็จะประสบปัญหาไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนและเงินบำนาญข้าราชการในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากเงินในคลังร่อยหรอ อย่างไรก็ตาม เงินกู้งวดนี้ยังจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เสียก่อน
ทั้งนี้ เงินช่วยเหลืองวดดังกล่าวถูกขวางตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายน ขณะที่คณะกรรมการตรวจสอบบัญชีระหว่างประเทศอันประกอบด้วยตัวแทนจากอียู ธนาคารกลางยุโรปและไอเอ็มเอฟ ไม่พอใจต่อความพยายามปฏิรูปของรัฐบาลกรีซ
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันพฤหัสบดี(20) รัฐสภากรีซลงมติผ่านมาตรการรัดเข็มที่หนักหน่วงขึ้นของรัฐบาลตามคำเรียกร้องของคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีระหว่างประเทศ แม้ความเคลื่อนไหวนี้ได้จุดชนวนการประท้วงรุนแรงตามท้องถนนสายต่างๆ
กระนั้นก็ยังมีคำถามว่าด้วยวิกฤตหนี้พอกพูนเท่าภูเขา กรีซจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างไรโดยปราศจากการแผ่เชื้อลามไปยังชาติอื่นๆอย่างอิตาลีและสเปนที่ก็กำลังเผชิญทางเศรษฐกิจอันหนักหน่วงเช่นกัน ท่ามกลางความเห็นที่แตกต่างระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนีเกี่ยวกับการลดหนี้ให้แก่เอเธนส์
ทูตรายหนึ่งเผยว่า คณะรัฐมนตรีคลังของ 17 ชาติสมาชิกยุโรป มีมติอนุมัติเงินกู้งวดที่ 6 แก่กรีซ อ้างถึงเงินอัดฉีดประทังชีวิตจากแพกเกจเงินกู้รอบแรกที่มีมูลค่าทั้งสิ้น 110,000 ล้านยูโร ที่สองเจ้าหนี้รายใหญ่ ทั้ง อียู และไอเอ็มเอฟ ทยอยจ่ายให้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
เงินช่วยเหลือก้อนนี้มีความสำคัญมากสำหรับกรีซ เนื่องจากหากอียูไม่อนุมัติความช่วยเหลือครั้งนี้ เอเธนส์ก็จะประสบปัญหาไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนและเงินบำนาญข้าราชการในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากเงินในคลังร่อยหรอ อย่างไรก็ตาม เงินกู้งวดนี้ยังจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เสียก่อน
ทั้งนี้ เงินช่วยเหลืองวดดังกล่าวถูกขวางตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายน ขณะที่คณะกรรมการตรวจสอบบัญชีระหว่างประเทศอันประกอบด้วยตัวแทนจากอียู ธนาคารกลางยุโรปและไอเอ็มเอฟ ไม่พอใจต่อความพยายามปฏิรูปของรัฐบาลกรีซ
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันพฤหัสบดี(20) รัฐสภากรีซลงมติผ่านมาตรการรัดเข็มที่หนักหน่วงขึ้นของรัฐบาลตามคำเรียกร้องของคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีระหว่างประเทศ แม้ความเคลื่อนไหวนี้ได้จุดชนวนการประท้วงรุนแรงตามท้องถนนสายต่างๆ
กระนั้นก็ยังมีคำถามว่าด้วยวิกฤตหนี้พอกพูนเท่าภูเขา กรีซจะสามารถอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างไรโดยปราศจากการแผ่เชื้อลามไปยังชาติอื่นๆอย่างอิตาลีและสเปนที่ก็กำลังเผชิญทางเศรษฐกิจอันหนักหน่วงเช่นกัน ท่ามกลางความเห็นที่แตกต่างระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนีเกี่ยวกับการลดหนี้ให้แก่เอเธนส์