เอเอฟพี - รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้คำสั่งศาลบีบบังคับให้ “กูเกิล” และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายย่อย เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในอีเมลของแนวร่วมเว็บไซต์จอมแฉ “วิกิลีกส์” รายงานเผยวานนี้ (9)
หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล อ้างเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งระบุว่า บริษัท โซนิก (Sonic) ซึ่งให้บริการอินเทอร์เน็ต ถูกบีบให้เผยข้อมูลในอีเมลของ เจค็อบ เอปเพลโบม วัย 28 ปี ซึ่งเป็นอาสาสมัครของวิกิลีกส์
โซนิกอธิบายว่า บริษัทพยายามคัดค้านคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่ก็พ่ายแพ้ในทางกฎหมาย จึงต้องยอมเผยข้อมูลที่ถูกส่งผ่านอีเมลของแอปเพลโบม ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาให้แก่สหรัฐฯ วอลล์สตรีทระบุ
กูเกิล และโซนิก ต่างเรียกร้องให้มีการแจ้งคำสั่งศาลไปยังแอปเพลโบม เนื่องจากเขายังไม่ถูกจับฐานก่ออาชญากรรมแต่อย่างใด
วิกิลีกส์สร้างความเคืองแค้นให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯ โดยนำเอกสารลับว่าด้วยสงครามอัฟกานิสถานและอิรักไปเปิดโปงทางอินเทอร์เน็ต ทั้งยังนำโทรเลขลับที่นักการทูตสหรัฐฯ ทั่วโลกติดต่อถึงกันออกมาเผยแพร่อีกด้วย
คำสั่งลับจากศาลในครั้งนี้ทำให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับอำนาจของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์หรือโทรศัพท์มือถือ ทั้งยังเกิดคำถามว่า กฎหมายความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Communications Privacy Act) ขัดต่อรัฐธรรมนูญซึ่งปกป้องประชาชนจากการค้นและจับกุมโดยไร้เหตุผลหรือไม่
หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล อ้างเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งระบุว่า บริษัท โซนิก (Sonic) ซึ่งให้บริการอินเทอร์เน็ต ถูกบีบให้เผยข้อมูลในอีเมลของ เจค็อบ เอปเพลโบม วัย 28 ปี ซึ่งเป็นอาสาสมัครของวิกิลีกส์
โซนิกอธิบายว่า บริษัทพยายามคัดค้านคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่ก็พ่ายแพ้ในทางกฎหมาย จึงต้องยอมเผยข้อมูลที่ถูกส่งผ่านอีเมลของแอปเพลโบม ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาให้แก่สหรัฐฯ วอลล์สตรีทระบุ
กูเกิล และโซนิก ต่างเรียกร้องให้มีการแจ้งคำสั่งศาลไปยังแอปเพลโบม เนื่องจากเขายังไม่ถูกจับฐานก่ออาชญากรรมแต่อย่างใด
วิกิลีกส์สร้างความเคืองแค้นให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯ โดยนำเอกสารลับว่าด้วยสงครามอัฟกานิสถานและอิรักไปเปิดโปงทางอินเทอร์เน็ต ทั้งยังนำโทรเลขลับที่นักการทูตสหรัฐฯ ทั่วโลกติดต่อถึงกันออกมาเผยแพร่อีกด้วย
คำสั่งลับจากศาลในครั้งนี้ทำให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับอำนาจของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์หรือโทรศัพท์มือถือ ทั้งยังเกิดคำถามว่า กฎหมายความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Communications Privacy Act) ขัดต่อรัฐธรรมนูญซึ่งปกป้องประชาชนจากการค้นและจับกุมโดยไร้เหตุผลหรือไม่