เอเอฟพี - ออสเตรเลียเตรียมบันทึกภาพชาวเรือผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกถูกส่งไปยังมาเลเซียภายใต้สัญญาแลกเปลี่ยนผู้ลี้ภัยกับกรุงกัวลาลัมเปอร์ และจะโพสต์ลงเว็บไซต์ยูทิวบ์เพื่อข่มขู่ไม่ให้ผู้ลี้ภัยกลุ่มอื่นๆ ลักลอบเข้ามาในดินแดนของตนอีก ทางการเผยวันนี้ (2)
สัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลออสเตรเลีย และมาเลเซีย บรรลุข้อตกลงแลกเปลี่ยนผู้ลี้ภัย ซึ่งเปิดทางให้ออสเตรเลียสามารถส่งผู้ลี้ภัย 800 คนเข้าไปยังมาเลเซียได้ แลกกับการที่ออสเตรเลียเองจะรับผู้ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 4,000 คนจากมาเลเซีย
คริส โบเวน รัฐมนตรีกระทรวงการอพยพออสเตรเลีย ระบุว่า การโพสต์วิดีโอลงยูทิวบ์จะช่วยส่งสารไปถึงบรรดานักค้ามนุษย์และลูกค้าของพวกเขาว่า หากยังฝืนเดินทางเข้ามาในออสเตรเลียอีกก็จะถูกส่งไปยังมาเลเซีย
“เรารู้ดีว่านักค้ามนุษย์พวกนี้ชอบพูดโกหก พวกเขาจะหลอกลูกค้าว่า “คุณไม่โดนแบบนั้นแน่” เพราะต้องการได้เงินจากผู้ลี้ภัยที่จนตรอก” โบเวนให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เอบีซี
“เราเชื่อว่าเป็นการยุติธรรมที่จะแสดงให้เห็นว่านโยบายใหม่ของรัฐบาลเริ่มนำมาใช้จริงแล้ว”
ออสเตรเลียจะบันทึกภาพขณะเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยจากศูนย์กักกันบนเกาะคริสต์มาสเพื่อส่งขึ้นเครื่องบินไปมาเลเซีย จนกระทั่งพวกเขาไปถึงที่พักพิงใหม่
แม้ผู้ลี้ภัยที่อาศัยเรือประมงลักลอบเข้าไปในออสเตรเลียส่วนใหญ่จะมาจากอิรัก, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และศรีลังกา แต่โบเวนยืนยันว่าคนเหล่านี้น่าจะมีโอกาสเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ และจะได้เห็นวิดีโอที่รัฐบาลออสเตรเลียโพสต์ไว้แน่นอน
“เราทราบมาว่า ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เฝ้าติดตามสถานการณ์ในออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด พวกเขาจะติดตามการประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบาย และดูว่าเราจัดการกับผู้ลี้ภัยอย่างไร” โบเวน เผย
นักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนองค์การนิรโทษกรรมสากล และฮิวแมนไรต์วอตช์ ต่างคัดค้านสัญญาแลกเปลี่ยนผู้ลี้ภัยกับมาเลเซีย พร้อมกล่าวหาออสเตรเลียว่าพยายามปัดความรับผิดชอบ และไม่เคารพสิทธิมนุษยชนของชาวเรือเหล่านี้ โดยส่งพวกเขาไปยังประเทศซึ่งไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
สัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลออสเตรเลีย และมาเลเซีย บรรลุข้อตกลงแลกเปลี่ยนผู้ลี้ภัย ซึ่งเปิดทางให้ออสเตรเลียสามารถส่งผู้ลี้ภัย 800 คนเข้าไปยังมาเลเซียได้ แลกกับการที่ออสเตรเลียเองจะรับผู้ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 4,000 คนจากมาเลเซีย
คริส โบเวน รัฐมนตรีกระทรวงการอพยพออสเตรเลีย ระบุว่า การโพสต์วิดีโอลงยูทิวบ์จะช่วยส่งสารไปถึงบรรดานักค้ามนุษย์และลูกค้าของพวกเขาว่า หากยังฝืนเดินทางเข้ามาในออสเตรเลียอีกก็จะถูกส่งไปยังมาเลเซีย
“เรารู้ดีว่านักค้ามนุษย์พวกนี้ชอบพูดโกหก พวกเขาจะหลอกลูกค้าว่า “คุณไม่โดนแบบนั้นแน่” เพราะต้องการได้เงินจากผู้ลี้ภัยที่จนตรอก” โบเวนให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เอบีซี
“เราเชื่อว่าเป็นการยุติธรรมที่จะแสดงให้เห็นว่านโยบายใหม่ของรัฐบาลเริ่มนำมาใช้จริงแล้ว”
ออสเตรเลียจะบันทึกภาพขณะเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยจากศูนย์กักกันบนเกาะคริสต์มาสเพื่อส่งขึ้นเครื่องบินไปมาเลเซีย จนกระทั่งพวกเขาไปถึงที่พักพิงใหม่
แม้ผู้ลี้ภัยที่อาศัยเรือประมงลักลอบเข้าไปในออสเตรเลียส่วนใหญ่จะมาจากอิรัก, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และศรีลังกา แต่โบเวนยืนยันว่าคนเหล่านี้น่าจะมีโอกาสเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ และจะได้เห็นวิดีโอที่รัฐบาลออสเตรเลียโพสต์ไว้แน่นอน
“เราทราบมาว่า ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เฝ้าติดตามสถานการณ์ในออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด พวกเขาจะติดตามการประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบาย และดูว่าเราจัดการกับผู้ลี้ภัยอย่างไร” โบเวน เผย
นักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนองค์การนิรโทษกรรมสากล และฮิวแมนไรต์วอตช์ ต่างคัดค้านสัญญาแลกเปลี่ยนผู้ลี้ภัยกับมาเลเซีย พร้อมกล่าวหาออสเตรเลียว่าพยายามปัดความรับผิดชอบ และไม่เคารพสิทธิมนุษยชนของชาวเรือเหล่านี้ โดยส่งพวกเขาไปยังประเทศซึ่งไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ