เจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ ยังไม่ได้ข้อสรุป ราคาทองคำลดลง 1% หลังมีแนวโน้มที่ดีในการขยายเพดานหนี้ อีก 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคาทองคำลดลงมากกว่า 1% ในการซื้อขายเช้าวันจันทร์ หลังจากที่สหรัฐฯ ใกล้จะได้ข้อยุติเรื่องการขยายเพดานหนี้สาธารณะ ราคาสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1,614 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ขณะที่ราคาสปอตลดลง 0.9% มาอยู่ที่ 1,611.89 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีระดับต่ำสุดที่ 1,606.79 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากเมื่อวันศุกร์อยู่ที่ 1,626 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยการเจรจาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาใกล้จะได้ข้อยุติในการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯอีก 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการตื่นตระหนกของตลาดการเงินหากสหรัฐฯ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และจะมีการเจรจากันต่อในวันจันทร์นี้
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทำเนียบขาว และผู้นำรัฐสภาจากพรรครีพับลิกัน มีความคืบหน้าที่จะผลักดันข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรกของรัฐบาลที่กำหนดจะมาถึงในวันที่ 2 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังไม่มีข้อสรปว่าแผนการขยายเพดานหนี้จะเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ เพดานหนี้สาธารณะ (Public Debt Ceiling) หมายถึง ปริมาณหนี้สูงสุด ที่รัฐบาลของประเทศนั้นๆ จะสามารถกู้ยืม หรือก่อหนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการออกพันธบัตรรัฐบาล การกู้ยืมเงินจากธนาคาร ทั้งในหรือนอกประเทศ โดยเงินที่กู้มานั้น รัฐบาลจะ นำมาใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน หรือใช้จ่ายค่าใช้จ่ายประจำทั่วไปของรัฐบาล เช่น เงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น
สหรัฐฯ ได้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะไว้ที่ระดับ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ได้กู้ยืมเต็มวงเงินดัง กล่าวแล้ว ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สามารถกู้ยืมเงินได้เพิ่มเติมอีก หากไม่มีการขยายเพดานหนี้ออกไป ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประเมินว่า สหรัฐฯ มีเงินคงเหลือเพียงพอที่จะจ่ายหนี้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ จนถึงแค่วันที่ 2 สิงหาคม 2554 เท่านั้น ดังนั้น จึงจำ เป็นที่จะต้องมีการปรับเพิ่มเพดานหนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้จ่าย และชำระหนี้เพิ่มเติมได้
สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน สหรัฐฯ ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องการปรับเพิ่มหนี้สาธารณะได้ โดยเป็นผลมาจากจากความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีโอบามา (จากพรรคเดโมแครต) กับสมาชิกสภาคองเกรสเสียงข้างมาก จากพรรครีพับลิกัน ที่ยังไม่เห็นชอบตรงกันในเงื่อนไขหลังปรับเพิ่มเพดานหนี้
ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นหนี้อยู่ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์ โดยเจ้าหนี้ 1 ใน 3 เป็นรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ อีก 1 ใน 3 เป็นกอง ทุนบำนาญสหรัฐฯ รวมถึงนักลงทุนอเมริกัน
สหรัฐฯ ติดหนี้ตัวเองก้อนใหญ่ที่สุดประมาณ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์ อยู่ในรูปของสินทรัพย์ที่กู้ยืมจากโครงการบำนาญประกันสังคม และระบบประกันสุขภาพสำหรับคนชรา
หนี้ที่ติดค้างต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ นับถึงปี 2553 โดยรัฐบาลจีนและนักลงทุนจีนถือครองหนี้ สหรัฐฯมากที่สุด 1.16 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 8% ของหนี้สิ้นทั้งหมด
เจ้าหนี้อันดับสอง ได้แก่ ญี่ปุ่น 9.12 แสนล้านดอลลาร์ ตามด้วยอังกฤษ 3.46 แสนล้านดอลลาร์ และประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน 2.3 แสนล้านดอลลาร์ บราซิลถือครองหนี้สหรัฐฯ 2.11 แสนล้านดอลลาร์ ไต้หวัน รัสเซีย และฮ่องกง ถือครองรายละกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์
ส่วนหนี้ที่สหรัฐฯ ติดค้างตัวเอง แบ่งเป็น 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับกองทุนบำนาญสหรัฐฯ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับกองทุน เงินออมอื่นๆ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับนักลงทุนรายบุคคล 5 แสนล้านดอลลาร์สำหรับรัฐบาลท้องถิ่น และ 6 แสนล้านดอลลาร์สำหรับธนาคารพาณิชย์และบริษัทประกัน
ราคาทองคำลดลงมากกว่า 1% ในการซื้อขายเช้าวันจันทร์ หลังจากที่สหรัฐฯ ใกล้จะได้ข้อยุติเรื่องการขยายเพดานหนี้สาธารณะ ราคาสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1,614 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ขณะที่ราคาสปอตลดลง 0.9% มาอยู่ที่ 1,611.89 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีระดับต่ำสุดที่ 1,606.79 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากเมื่อวันศุกร์อยู่ที่ 1,626 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยการเจรจาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาใกล้จะได้ข้อยุติในการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯอีก 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการตื่นตระหนกของตลาดการเงินหากสหรัฐฯ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และจะมีการเจรจากันต่อในวันจันทร์นี้
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทำเนียบขาว และผู้นำรัฐสภาจากพรรครีพับลิกัน มีความคืบหน้าที่จะผลักดันข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรกของรัฐบาลที่กำหนดจะมาถึงในวันที่ 2 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังไม่มีข้อสรปว่าแผนการขยายเพดานหนี้จะเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ เพดานหนี้สาธารณะ (Public Debt Ceiling) หมายถึง ปริมาณหนี้สูงสุด ที่รัฐบาลของประเทศนั้นๆ จะสามารถกู้ยืม หรือก่อหนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการออกพันธบัตรรัฐบาล การกู้ยืมเงินจากธนาคาร ทั้งในหรือนอกประเทศ โดยเงินที่กู้มานั้น รัฐบาลจะ นำมาใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน หรือใช้จ่ายค่าใช้จ่ายประจำทั่วไปของรัฐบาล เช่น เงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น
สหรัฐฯ ได้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะไว้ที่ระดับ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ได้กู้ยืมเต็มวงเงินดัง กล่าวแล้ว ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สามารถกู้ยืมเงินได้เพิ่มเติมอีก หากไม่มีการขยายเพดานหนี้ออกไป ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประเมินว่า สหรัฐฯ มีเงินคงเหลือเพียงพอที่จะจ่ายหนี้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ จนถึงแค่วันที่ 2 สิงหาคม 2554 เท่านั้น ดังนั้น จึงจำ เป็นที่จะต้องมีการปรับเพิ่มเพดานหนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้จ่าย และชำระหนี้เพิ่มเติมได้
สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน สหรัฐฯ ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องการปรับเพิ่มหนี้สาธารณะได้ โดยเป็นผลมาจากจากความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีโอบามา (จากพรรคเดโมแครต) กับสมาชิกสภาคองเกรสเสียงข้างมาก จากพรรครีพับลิกัน ที่ยังไม่เห็นชอบตรงกันในเงื่อนไขหลังปรับเพิ่มเพดานหนี้
ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นหนี้อยู่ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์ โดยเจ้าหนี้ 1 ใน 3 เป็นรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ อีก 1 ใน 3 เป็นกอง ทุนบำนาญสหรัฐฯ รวมถึงนักลงทุนอเมริกัน
สหรัฐฯ ติดหนี้ตัวเองก้อนใหญ่ที่สุดประมาณ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์ อยู่ในรูปของสินทรัพย์ที่กู้ยืมจากโครงการบำนาญประกันสังคม และระบบประกันสุขภาพสำหรับคนชรา
หนี้ที่ติดค้างต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ นับถึงปี 2553 โดยรัฐบาลจีนและนักลงทุนจีนถือครองหนี้ สหรัฐฯมากที่สุด 1.16 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 8% ของหนี้สิ้นทั้งหมด
เจ้าหนี้อันดับสอง ได้แก่ ญี่ปุ่น 9.12 แสนล้านดอลลาร์ ตามด้วยอังกฤษ 3.46 แสนล้านดอลลาร์ และประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน 2.3 แสนล้านดอลลาร์ บราซิลถือครองหนี้สหรัฐฯ 2.11 แสนล้านดอลลาร์ ไต้หวัน รัสเซีย และฮ่องกง ถือครองรายละกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์
ส่วนหนี้ที่สหรัฐฯ ติดค้างตัวเอง แบ่งเป็น 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับกองทุนบำนาญสหรัฐฯ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับกองทุน เงินออมอื่นๆ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับนักลงทุนรายบุคคล 5 แสนล้านดอลลาร์สำหรับรัฐบาลท้องถิ่น และ 6 แสนล้านดอลลาร์สำหรับธนาคารพาณิชย์และบริษัทประกัน