(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Democratic gap narrows in Singapore
By Megawati Wijaya
09/05/2011
การที่พรรคเวิร์กเกอร์ปาร์ตี้ (WP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญในสิงคโปร์ ทำคะแนนได้ดีขึ้นมากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 7 ที่ผ่านมา เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกของผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ชอบพรรคพีเพิลส์แอคชั่นปาร์ตี้ (PAP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปกครองประเทศตลอดมานั้น ได้พบช่องทางสำหรับการระบายออกแล้ว แต่ขณะเดียวกัน การที่นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง เร่งรีบจัดแจงแถลงขออภัย เกี่ยวกับความผิดพลาดบกพร่องของPAP ก็กำลังถูกจับตามองว่า คือสัญญาณของความเปลี่ยนแปลงของพรรคของเขา ในเรื่องความสัมพันธ์กับประชาชนผู้ออกเสียง
*รายงานข่าวชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
สิงคโปร์ - บรรดาผู้ออกเสียงชาวสิงคโปร์พากันลงคะแนนส่งให้พรรคพีเพิลส์ แอคชั่น ปาร์ตี้ (People's Action Party หรือ PAP) ได้กลับคืนสู่อำนาจอีกคำรบหนึ่งเมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยให้พรรคซึ่งปกครองประเทศมาอย่างยาวนานรายนี้ได้ที่นั่งไปถึง 81 ที่นั่งจากจำนวนเก้าอี้ในรัฐสภาที่มีการแข่งขันชิงชัยกันรวมทั้งสิ้น 87 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านก็สามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุดเป็นประวัติการณ์เหมือนกัน โดยชนะได้คะแนนของผู้ออกเสียงถึงร่วมๆ 40% และทำให้การเลือกตั้งคราวนี้กลายเป็นครั้งที่ย่ำแย่ที่สุดของพรรคPAP นับแต่ที่ประเทศนี้ได้รับเอกราชในปี 1965 เป็นต้นมา
จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง 2.21 ล้านคน มีผู้ออกไปใช้สิทธิมากมายเป็นสถิติใหม่ถึง 2.06 ล้านคน โดยที่การเลือกตั้งคราวนี้ยังถือเป็นครั้งที่มีการแข่งขันกันอย่างกว้างขวางที่สุดตั้งแต่ปี 1972 ทีเดียว กล่าวคือ มีเขตเลือกตั้งเพียงเขตเดียวเท่านั้นที่ผู้สมัครของPAPชนะไปเลยโดยไม่มีผู้ลงชิงชัยด้วย เขตดังกล่าวป็นเขตที่มีการเลือกตั้งแบบยกทีมจำนวน 5 คน และทีมของPAPนำโดย ลีกวนยู รัฐมนตรีผู้ชี้แนะ (Minister Mentor) และเป็นผู้ก่อตั้งพรรคนี้ขึ้นมา ในการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ มีจำนวนที่นั่งมากกว่านี้นักหนาที่ชนะกันแบบไม่ต้องมีการแข่งขัน สืบเนื่องจากฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครมาต่อกรกับคนของPAP
“ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงได้ตัดสินแล้ว และผมรู้สึกเป็นเกียรติที่พวกเขาได้ให้ความไว้วางใจแก่พรรค PAP อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการมอบอำนาจอาญาสิทธิ์อย่างชัดเจนให้พรรคเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป” เป็นคำแถลงของนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง ผู้เป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีลีกวนยู หลังจากที่มีการประกาศผลการนับคะแนนแล้ว
ในการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้านี้เมื่อปี 2006 มีที่นั่งในสภาเพียงแค่ 47 ที่นั่งจากทั้งหมด 84 เก้าอี้ที่ฝ่ายค้านส่งผู้สมัครลงแข่งขันด้วย ในคราวนั้นพรรค PAP ชนะโดยได้คะแนนเสียงประมาณ 66% แต่กวาดที่นั่งไปได้ถึง 82 ที่นั่ง สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ระบบเลือกตั้งแบบยกทีม (group representation constituency (GRC) system) ระบบนี้มีการรวมเขตเลือกตั้งหลายๆ เขตให้ใหญ่ขึ้น แต่ละเขตใหญ่มีที่นั่งรัฐสภาจำนวนระหว่าง 4 ถึง 6 ที่นั่ง ผู้ออกเสียงจะลงคะแนนเลือกทีมผู้สมัครของพรรคใดพรรคหนึ่งชนิดยกทีม โดยที่ฝ่ายค้านและพวกนักวิเคราะห์ต่างมีความเห็นว่า ระบบนี้ทำให้พรรค PAP ได้เปรียบมาก
การเลือกตั้งที่ผ่านๆ มา ฝ่ายค้านไม่เคยชนะได้ที่นั่งแบบยกทีมนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว จวบจนกระทั่งในคราวนี้เมื่อทีมของพรรคเวิร์กเกอร์ส ปาร์ตี้ ออฟ สิงคโปร์ (Workers' Party of Singapore หรือ WP) ที่นำโดย โหลว เธีย เกียง (Low Thia Khiang) เลขาธิการพรรค สามารถบดบี้เอาชนะทีมของพรรค PAP ที่นำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ จอร์จ เหยา (George Yeo) ณ เขตเลือกตั้งใหญ่ในย่านอัลจูเนียด (Aljunied) ซึ่งมีที่นั่งจำนวน 5 ที่นั่ง “พวกคุณสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมาในค่ำคืนนี้” โหลวกล่าวในระหว่างปราศรัยกับผู้สนับสนุนของเขาภายหลังทราบว่าได้รับชัยชนะ “นี่คือหลักหมายทางการเมืองอันสำคัญหลักหมายหนึ่งในประเทศสิงคโปร์แห่งยุคใหม่”
พรรค WP ยังสามารถรักษาที่นั่งเดิมในเขตเฮากัง (Hougang) ซึ่งเป็นเขตที่มีที่นั่งเดียวเดี่ยวๆ (single member constituency หรือ SMC) ดังนั้นจึงทำให้ในเวลานี้พรรคฝ่ายค้านพรรคนี้มี ส.ส.อยู่ในสภาทั้งสิ้น 6 คน ตัวเลขนี้เท่ากับเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว และกำลังเพิ่มความหวังใหม่ๆ ขึ้นมาว่า เสียงที่เป็นทางเลือกอื่นนอกเหนือจากพรรคPAP จะเป็นที่รับฟังกันบ้างในระหว่างการอภิปรายถกเถียงในเรื่องนโยบาย
สำหรับพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ อีก 5 พรรค ได้แก่ พรรคสิงคโปร์ เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Singapore Democratic Party หรือ SDP), พรรคเนชั่นแนล โซลิดาริตี้ ปาร์ตี้ (National Solidarity Party หรือ NSP), พรรครีฟอร์ม ปาร์ตี้ (Reform Party หรือ RP), พรรคสิงคโปร์ พีเพิลส์ ปาร์ตี้ (Singapore People's Party) , และพรรคสิงคโปร์ เดโมเครติก อัลไลแอนซ์ (Singapore Democratic Alliance หรือ SDA) ต่างก็ส่งผู้สมัครเข้าต่อกรกับพรรค PAP ในบางเขต ทว่ายังคงไม่สามารถเอาชนะพรรครัฐบาลได้
อเล็กซ์ อาว (Alex Au) บล็อกเกอร์คนสำคัญมาก และเป็นผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองที่มีผู้คนเฝ้าติดตามรับฟังความคิดเห็น เสนอมุมมองว่าการที่พรรค WP ค่อนข้างประสบความสำเร็จมากในคราวนี้ เนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ ประการ เป็นต้นว่า การทำงานพื้นฐานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ, ผู้สมัครหลายคนมีคุณสมบัติแข็งแกร่ง, และการนำเสนอแบรนด์ของพรรคอย่างกระจ่างชัดเจน บรรดานักวิเคราะห์การเมืองทั้งหลายจะต้องเฝ้ารอคอยผลการศึกษาและผลการสำรวจที่คาดว่าน่าจะมีออกมามากทีเดียว เพื่อหาคำตอบชนิดที่มีรายละเอียดมากขึ้นสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมพรรคฝ่ายค้านบางพรรคจึงประสบความสำเร็จ และพรรคอื่นๆ กลับล้มเหลวในการเลือกตั้งคราวนี้
**ผู้ออกเสียงไม่พอใจรัฐบาลและฝ่ายค้านก็เข้มแข็งขึ้น**
การเลือกตั้งในปีนี้จัดขึ้นท่ามกลางภูมิหลังที่เศรษฐกิจสิงคโปร์มีอัตราการเจริญเติบโตที่แข็งแกร่งมาก แต่ขณะเดียวกันประชาชนระดับรากหญ้าก็กำลังรู้สึกวิตกกังวลยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องค่าครองชีพที่สูงเอาๆ, การที่มีคนงานต่างชาติไหลทะลักเข้ามามากมาย, และการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ตลอดจนราคาค่าเช่าห้องพักขยับพุ่งพรวด
เนื่องจากในสิงคโปร์ไม่มีการทำโพลสอบถามความคิดเห็นของผู้ออกเสียงก่อนการเลือกตั้ง ทำให้เป็นเรื่องลำบากที่จะตรวจวัดในเชิงสถิติ เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของคนที่ไปหย่อนบัตร ก่อนหน้าการเข้าคูหาลงคะแนน ในทางเศรษฐกิจนั้น นครรัฐแห่งนี้สามารถเด้งตัวขึ้นมาจากวิกฤตการณ์ในภาคการเงินทั่วโลกเมื่อช่วงปี 2008-09 โดยที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (gross domestic product หรือ GDP) มีอัตราการเติบโตแบบปีต่อปีสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 14.5% ในปี 2010 แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างระอุดุเดือดตามเวทีแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ต่างๆ ตลอดจนในสื่อทางเลือกอื่นๆ ซึ่งเปิดเผยให้ทราบว่า ชาวสิงคโปร์จำนวนมากทีเดียวกำลังรู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆ
“ผมสังเกตเห็นว่าในหมู่ประชาชนหลายๆ ภาคส่วน มีความรู้สึกกระสับกระส่ายไม่สงบจิตสงบใจในบางด้านบางอย่าง กระทั่งมีอาการของความดื้อรั้นใคร่ที่จะแสดงการต่อต้านให้เห็นด้วยซ้ำไป” พี เอ็น บัลจี (P N Balji) บรรณาธิการผู้มีประสบการณ์สูง พูดเอาไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้ว เขาชี้ด้วยว่า “เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ที่แสดงบทบาทอันสำคัญยิ่งยวดตลอดมา แสดงบทบาทในชีวิตของประชาชนตั้งแต่ออกจากครรภ์มารดาไปจนถึงเวลาที่ถูกตั้งศพอยู่บนเชิงตะกอน มาถึงตอนนี้จึงเกิดอาการของการหมุนเหวี่ยงกลับแบบบูมเมอแรง พวกเขากำลังประณามรัฐบาลสำหรับทุกๆ อย่างที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาในสิงคโปร์”
บัลจีคิดประดิษฐ์คำว่า “วิวัฒนาการดอกกล้วยไม้” (Orchid Evolution) ขึ้นมา เลียนแบบคำว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” (Jasmine Revolution) ที่หมายถึงการลุกฮือของประชาชนในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ทั้งนี้เพื่อมุ่งสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกหงุดหงิดโกรธกริ้วอย่างใหม่ๆ ในหมู่ชาวสิงคโปร์ ความหงุดหงิดนี้สามารถสังเกตเห็นได้จากการที่พวกเขากำลังใช้สื่อสังคมของพวกเขาในการแสดงออกซึ่งความไม่พอใจรัฐบาลกันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
พวกพรรคฝ่ายค้านทั้งหลายของสิงคโปร์ก็ได้พยายามหาประโยชน์อย่างเต็มที่จากความไม่สบอารมณ์นี้ ในตลอดทั้ง 9 วันของช่วงระยะเวลาแห่งการรณรงค์หาเสียงอย่างเข้มข้น ปรากฏว่าการปราศรัยหาเสียงของพวกเขาแต่ละครั้ง สามารถเรียกระดมผู้เข้าร่วมได้เป็นพันๆ หมื่นๆ คน โดยที่มีการพูดโจมตีในเรื่องต่างๆ ที่รัฐบาลประสบความล้มเหลวไม่ได้ทำตามความต้องการของประชาชนในช่วงระยะแวลา 5 ปีที่ผ่านมา
การปราศรัยหาเสียงครั้งสุดท้ายของพรรค WP ซึ่งจัดขึ้นที่สนามกีฬาเซรังกูน (Serangoon Stadium) ประมาณกันว่าสามารถดึงดูดประชาชนได้ราวๆ 35,000 – 40,000 คน ภาพต่างๆ ที่โพสต์กันทางออนไลน์ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบกันอย่างชัดเจนโต้งๆ ระหว่างฝูงชนขนาดใหญ่ของฝ่ายพรรค WP กับการหาเสียงของฝ่ายPAP ที่มีผู้เข้าร่วมน้อยกว่า
การเลือกตั้งคราวนี้ยังได้เห็นสภาพที่ฝ่ายค้านแสดงความสามัคคีมุ่งมั่นสนับสนุนให้เกิดเป็นแนวร่วมกันมากขึ้น พรรคฝ่ายค้านต่างๆ ได้ดำเนินการเจรจาต่อรองกันตั้งแต่ก่อนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งนานทีเดียว โดยที่แต่ละพรรคต่างมีการหลีกทางให้แก่กัน หากมีความรู้สึกว่าในเขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครของตนมีโอกาสน้อยกว่าผู้สมัครของพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ในการเอาชนะผู้สมัครจากพรรค PAP
การตกลงกันได้เช่นนี้เปิดทางให้พรรคฝ่ายค้านทั้งหลายซึ่งมีทรัพยากรต่างๆ ค่อนข้างจำกัดจำเขี่ยกว่าฝ่ายรัฐบาล สามารถที่จะลงแข่งขันได้จนแทบจะครบทุกเขตเลือกตั้ง อีกทั้งหลีกเลี่ยงการต่อสู้ในลักษณะ 3 เส้า 4 เส้า อันเป็นสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตซึ่งกลายเป็นการทำให้ฝ่ายค้านเสียงแตก และเป็นประโยชน์แก่พรรค PAP
“ปืนทุกกระบอก (ของฝ่ายค้าน) ล้วนแล้วแต่เล็งตรงไปในทิศทางเดียวเท่านั้น นั้นก็คือเล็งใส่พรรค PAP” เจี่ย ตี ลิก (Chia Ti Lik) เลขาธิการพรรคโซเชียลลิสต์ ฟรอนต์ (Socialist Front หรือ SF) กล่าวเอาไว้ในที่ประชุมสัมมนาทางการเมืองนัดหนึ่งตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว พรรค SF ได้ถอนตัวออกจากการลงแข่งขันตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งเสียอีก โดยแถลงว่าต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสภาพการแข่งขันแบบ 3 เส้า
เมกาวตี วิชยะ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในสิงคโปร์ สามารถติดต่อกับเธอทางอีเมล์ได้ที่ megawati.wijaya@gmail.com
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Democratic gap narrows in Singapore
By Megawati Wijaya
09/05/2011
การที่พรรคเวิร์กเกอร์ปาร์ตี้ (WP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญในสิงคโปร์ ทำคะแนนได้ดีขึ้นมากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 7 ที่ผ่านมา เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกของผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ชอบพรรคพีเพิลส์แอคชั่นปาร์ตี้ (PAP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปกครองประเทศตลอดมานั้น ได้พบช่องทางสำหรับการระบายออกแล้ว แต่ขณะเดียวกัน การที่นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง เร่งรีบจัดแจงแถลงขออภัย เกี่ยวกับความผิดพลาดบกพร่องของPAP ก็กำลังถูกจับตามองว่า คือสัญญาณของความเปลี่ยนแปลงของพรรคของเขา ในเรื่องความสัมพันธ์กับประชาชนผู้ออกเสียง
*รายงานข่าวชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
สิงคโปร์ - บรรดาผู้ออกเสียงชาวสิงคโปร์พากันลงคะแนนส่งให้พรรคพีเพิลส์ แอคชั่น ปาร์ตี้ (People's Action Party หรือ PAP) ได้กลับคืนสู่อำนาจอีกคำรบหนึ่งเมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยให้พรรคซึ่งปกครองประเทศมาอย่างยาวนานรายนี้ได้ที่นั่งไปถึง 81 ที่นั่งจากจำนวนเก้าอี้ในรัฐสภาที่มีการแข่งขันชิงชัยกันรวมทั้งสิ้น 87 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านก็สามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุดเป็นประวัติการณ์เหมือนกัน โดยชนะได้คะแนนของผู้ออกเสียงถึงร่วมๆ 40% และทำให้การเลือกตั้งคราวนี้กลายเป็นครั้งที่ย่ำแย่ที่สุดของพรรคPAP นับแต่ที่ประเทศนี้ได้รับเอกราชในปี 1965 เป็นต้นมา
จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง 2.21 ล้านคน มีผู้ออกไปใช้สิทธิมากมายเป็นสถิติใหม่ถึง 2.06 ล้านคน โดยที่การเลือกตั้งคราวนี้ยังถือเป็นครั้งที่มีการแข่งขันกันอย่างกว้างขวางที่สุดตั้งแต่ปี 1972 ทีเดียว กล่าวคือ มีเขตเลือกตั้งเพียงเขตเดียวเท่านั้นที่ผู้สมัครของPAPชนะไปเลยโดยไม่มีผู้ลงชิงชัยด้วย เขตดังกล่าวป็นเขตที่มีการเลือกตั้งแบบยกทีมจำนวน 5 คน และทีมของPAPนำโดย ลีกวนยู รัฐมนตรีผู้ชี้แนะ (Minister Mentor) และเป็นผู้ก่อตั้งพรรคนี้ขึ้นมา ในการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ มีจำนวนที่นั่งมากกว่านี้นักหนาที่ชนะกันแบบไม่ต้องมีการแข่งขัน สืบเนื่องจากฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครมาต่อกรกับคนของPAP
“ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงได้ตัดสินแล้ว และผมรู้สึกเป็นเกียรติที่พวกเขาได้ให้ความไว้วางใจแก่พรรค PAP อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการมอบอำนาจอาญาสิทธิ์อย่างชัดเจนให้พรรคเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป” เป็นคำแถลงของนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง ผู้เป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีลีกวนยู หลังจากที่มีการประกาศผลการนับคะแนนแล้ว
ในการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้านี้เมื่อปี 2006 มีที่นั่งในสภาเพียงแค่ 47 ที่นั่งจากทั้งหมด 84 เก้าอี้ที่ฝ่ายค้านส่งผู้สมัครลงแข่งขันด้วย ในคราวนั้นพรรค PAP ชนะโดยได้คะแนนเสียงประมาณ 66% แต่กวาดที่นั่งไปได้ถึง 82 ที่นั่ง สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ระบบเลือกตั้งแบบยกทีม (group representation constituency (GRC) system) ระบบนี้มีการรวมเขตเลือกตั้งหลายๆ เขตให้ใหญ่ขึ้น แต่ละเขตใหญ่มีที่นั่งรัฐสภาจำนวนระหว่าง 4 ถึง 6 ที่นั่ง ผู้ออกเสียงจะลงคะแนนเลือกทีมผู้สมัครของพรรคใดพรรคหนึ่งชนิดยกทีม โดยที่ฝ่ายค้านและพวกนักวิเคราะห์ต่างมีความเห็นว่า ระบบนี้ทำให้พรรค PAP ได้เปรียบมาก
การเลือกตั้งที่ผ่านๆ มา ฝ่ายค้านไม่เคยชนะได้ที่นั่งแบบยกทีมนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว จวบจนกระทั่งในคราวนี้เมื่อทีมของพรรคเวิร์กเกอร์ส ปาร์ตี้ ออฟ สิงคโปร์ (Workers' Party of Singapore หรือ WP) ที่นำโดย โหลว เธีย เกียง (Low Thia Khiang) เลขาธิการพรรค สามารถบดบี้เอาชนะทีมของพรรค PAP ที่นำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ จอร์จ เหยา (George Yeo) ณ เขตเลือกตั้งใหญ่ในย่านอัลจูเนียด (Aljunied) ซึ่งมีที่นั่งจำนวน 5 ที่นั่ง “พวกคุณสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมาในค่ำคืนนี้” โหลวกล่าวในระหว่างปราศรัยกับผู้สนับสนุนของเขาภายหลังทราบว่าได้รับชัยชนะ “นี่คือหลักหมายทางการเมืองอันสำคัญหลักหมายหนึ่งในประเทศสิงคโปร์แห่งยุคใหม่”
พรรค WP ยังสามารถรักษาที่นั่งเดิมในเขตเฮากัง (Hougang) ซึ่งเป็นเขตที่มีที่นั่งเดียวเดี่ยวๆ (single member constituency หรือ SMC) ดังนั้นจึงทำให้ในเวลานี้พรรคฝ่ายค้านพรรคนี้มี ส.ส.อยู่ในสภาทั้งสิ้น 6 คน ตัวเลขนี้เท่ากับเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว และกำลังเพิ่มความหวังใหม่ๆ ขึ้นมาว่า เสียงที่เป็นทางเลือกอื่นนอกเหนือจากพรรคPAP จะเป็นที่รับฟังกันบ้างในระหว่างการอภิปรายถกเถียงในเรื่องนโยบาย
สำหรับพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ อีก 5 พรรค ได้แก่ พรรคสิงคโปร์ เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Singapore Democratic Party หรือ SDP), พรรคเนชั่นแนล โซลิดาริตี้ ปาร์ตี้ (National Solidarity Party หรือ NSP), พรรครีฟอร์ม ปาร์ตี้ (Reform Party หรือ RP), พรรคสิงคโปร์ พีเพิลส์ ปาร์ตี้ (Singapore People's Party) , และพรรคสิงคโปร์ เดโมเครติก อัลไลแอนซ์ (Singapore Democratic Alliance หรือ SDA) ต่างก็ส่งผู้สมัครเข้าต่อกรกับพรรค PAP ในบางเขต ทว่ายังคงไม่สามารถเอาชนะพรรครัฐบาลได้
อเล็กซ์ อาว (Alex Au) บล็อกเกอร์คนสำคัญมาก และเป็นผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองที่มีผู้คนเฝ้าติดตามรับฟังความคิดเห็น เสนอมุมมองว่าการที่พรรค WP ค่อนข้างประสบความสำเร็จมากในคราวนี้ เนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ ประการ เป็นต้นว่า การทำงานพื้นฐานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ, ผู้สมัครหลายคนมีคุณสมบัติแข็งแกร่ง, และการนำเสนอแบรนด์ของพรรคอย่างกระจ่างชัดเจน บรรดานักวิเคราะห์การเมืองทั้งหลายจะต้องเฝ้ารอคอยผลการศึกษาและผลการสำรวจที่คาดว่าน่าจะมีออกมามากทีเดียว เพื่อหาคำตอบชนิดที่มีรายละเอียดมากขึ้นสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมพรรคฝ่ายค้านบางพรรคจึงประสบความสำเร็จ และพรรคอื่นๆ กลับล้มเหลวในการเลือกตั้งคราวนี้
**ผู้ออกเสียงไม่พอใจรัฐบาลและฝ่ายค้านก็เข้มแข็งขึ้น**
การเลือกตั้งในปีนี้จัดขึ้นท่ามกลางภูมิหลังที่เศรษฐกิจสิงคโปร์มีอัตราการเจริญเติบโตที่แข็งแกร่งมาก แต่ขณะเดียวกันประชาชนระดับรากหญ้าก็กำลังรู้สึกวิตกกังวลยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องค่าครองชีพที่สูงเอาๆ, การที่มีคนงานต่างชาติไหลทะลักเข้ามามากมาย, และการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ตลอดจนราคาค่าเช่าห้องพักขยับพุ่งพรวด
เนื่องจากในสิงคโปร์ไม่มีการทำโพลสอบถามความคิดเห็นของผู้ออกเสียงก่อนการเลือกตั้ง ทำให้เป็นเรื่องลำบากที่จะตรวจวัดในเชิงสถิติ เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของคนที่ไปหย่อนบัตร ก่อนหน้าการเข้าคูหาลงคะแนน ในทางเศรษฐกิจนั้น นครรัฐแห่งนี้สามารถเด้งตัวขึ้นมาจากวิกฤตการณ์ในภาคการเงินทั่วโลกเมื่อช่วงปี 2008-09 โดยที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (gross domestic product หรือ GDP) มีอัตราการเติบโตแบบปีต่อปีสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 14.5% ในปี 2010 แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างระอุดุเดือดตามเวทีแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ต่างๆ ตลอดจนในสื่อทางเลือกอื่นๆ ซึ่งเปิดเผยให้ทราบว่า ชาวสิงคโปร์จำนวนมากทีเดียวกำลังรู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆ
“ผมสังเกตเห็นว่าในหมู่ประชาชนหลายๆ ภาคส่วน มีความรู้สึกกระสับกระส่ายไม่สงบจิตสงบใจในบางด้านบางอย่าง กระทั่งมีอาการของความดื้อรั้นใคร่ที่จะแสดงการต่อต้านให้เห็นด้วยซ้ำไป” พี เอ็น บัลจี (P N Balji) บรรณาธิการผู้มีประสบการณ์สูง พูดเอาไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้ว เขาชี้ด้วยว่า “เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ที่แสดงบทบาทอันสำคัญยิ่งยวดตลอดมา แสดงบทบาทในชีวิตของประชาชนตั้งแต่ออกจากครรภ์มารดาไปจนถึงเวลาที่ถูกตั้งศพอยู่บนเชิงตะกอน มาถึงตอนนี้จึงเกิดอาการของการหมุนเหวี่ยงกลับแบบบูมเมอแรง พวกเขากำลังประณามรัฐบาลสำหรับทุกๆ อย่างที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาในสิงคโปร์”
บัลจีคิดประดิษฐ์คำว่า “วิวัฒนาการดอกกล้วยไม้” (Orchid Evolution) ขึ้นมา เลียนแบบคำว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” (Jasmine Revolution) ที่หมายถึงการลุกฮือของประชาชนในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ทั้งนี้เพื่อมุ่งสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกหงุดหงิดโกรธกริ้วอย่างใหม่ๆ ในหมู่ชาวสิงคโปร์ ความหงุดหงิดนี้สามารถสังเกตเห็นได้จากการที่พวกเขากำลังใช้สื่อสังคมของพวกเขาในการแสดงออกซึ่งความไม่พอใจรัฐบาลกันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
พวกพรรคฝ่ายค้านทั้งหลายของสิงคโปร์ก็ได้พยายามหาประโยชน์อย่างเต็มที่จากความไม่สบอารมณ์นี้ ในตลอดทั้ง 9 วันของช่วงระยะเวลาแห่งการรณรงค์หาเสียงอย่างเข้มข้น ปรากฏว่าการปราศรัยหาเสียงของพวกเขาแต่ละครั้ง สามารถเรียกระดมผู้เข้าร่วมได้เป็นพันๆ หมื่นๆ คน โดยที่มีการพูดโจมตีในเรื่องต่างๆ ที่รัฐบาลประสบความล้มเหลวไม่ได้ทำตามความต้องการของประชาชนในช่วงระยะแวลา 5 ปีที่ผ่านมา
การปราศรัยหาเสียงครั้งสุดท้ายของพรรค WP ซึ่งจัดขึ้นที่สนามกีฬาเซรังกูน (Serangoon Stadium) ประมาณกันว่าสามารถดึงดูดประชาชนได้ราวๆ 35,000 – 40,000 คน ภาพต่างๆ ที่โพสต์กันทางออนไลน์ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบกันอย่างชัดเจนโต้งๆ ระหว่างฝูงชนขนาดใหญ่ของฝ่ายพรรค WP กับการหาเสียงของฝ่ายPAP ที่มีผู้เข้าร่วมน้อยกว่า
การเลือกตั้งคราวนี้ยังได้เห็นสภาพที่ฝ่ายค้านแสดงความสามัคคีมุ่งมั่นสนับสนุนให้เกิดเป็นแนวร่วมกันมากขึ้น พรรคฝ่ายค้านต่างๆ ได้ดำเนินการเจรจาต่อรองกันตั้งแต่ก่อนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งนานทีเดียว โดยที่แต่ละพรรคต่างมีการหลีกทางให้แก่กัน หากมีความรู้สึกว่าในเขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครของตนมีโอกาสน้อยกว่าผู้สมัครของพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ในการเอาชนะผู้สมัครจากพรรค PAP
การตกลงกันได้เช่นนี้เปิดทางให้พรรคฝ่ายค้านทั้งหลายซึ่งมีทรัพยากรต่างๆ ค่อนข้างจำกัดจำเขี่ยกว่าฝ่ายรัฐบาล สามารถที่จะลงแข่งขันได้จนแทบจะครบทุกเขตเลือกตั้ง อีกทั้งหลีกเลี่ยงการต่อสู้ในลักษณะ 3 เส้า 4 เส้า อันเป็นสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตซึ่งกลายเป็นการทำให้ฝ่ายค้านเสียงแตก และเป็นประโยชน์แก่พรรค PAP
“ปืนทุกกระบอก (ของฝ่ายค้าน) ล้วนแล้วแต่เล็งตรงไปในทิศทางเดียวเท่านั้น นั้นก็คือเล็งใส่พรรค PAP” เจี่ย ตี ลิก (Chia Ti Lik) เลขาธิการพรรคโซเชียลลิสต์ ฟรอนต์ (Socialist Front หรือ SF) กล่าวเอาไว้ในที่ประชุมสัมมนาทางการเมืองนัดหนึ่งตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว พรรค SF ได้ถอนตัวออกจากการลงแข่งขันตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งเสียอีก โดยแถลงว่าต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสภาพการแข่งขันแบบ 3 เส้า
เมกาวตี วิชยะ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในสิงคโปร์ สามารถติดต่อกับเธอทางอีเมล์ได้ที่ megawati.wijaya@gmail.com
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)