(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Wise man on the hill
By Bertil Lintner
07/04/2011
เมื่อสงครามอินโดจีนขยายตัวออกไปในตอนต้นทศวรรษ 1960 ความรอบรู้อันลึกซึ้งในเรื่องวัฒนธรรมและภาษาท้องถิ่นต่างๆ ทำให้ วิลเลียม ยัง เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ผู้เติบโตขึ้นมาในครอบครัวมิชชันนารีซึ่งปฏิบัติงานในรัฐชานแห่งพม่า อยู่ในฐานะอันดีเลิศที่จะดำเนินการจัดตั้งชาวเขาเผ่าต่างๆ ให้เข้าร่วมช่วยเหลืออเมริกา ในระหว่างช่วง “สงครามลับ” ในประเทศลาว การถึงแก่กรรมของเขาเมื่อต้นเดือนนี้ที่บ้านพักในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวัย 76 ปี น่าจะถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายแห่งการสิ้นสุดของยุคๆ หนึ่งทีเดียว
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
เชียงใหม่ - แทบจะไม่มีที่นั่งว่างเอาเลยในพิธีศพซึ่งจัดขึ้น ณ โบสถ์คริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ ที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำปิง ในจังหวัดเชียงใหม่ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ผู้คนที่มาร่วมงานมีทั้งชาวอเมริกันผู้เป็นทหารผ่านศึกครั้งสงครามอินโดจีน นั่งปะปนอยู่กับชาวบ้านชาวเมืองที่เป็นคนไทยและชาวต่างประเทศ, มีทั้งมิชชันนารีนักสอนศาสนา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรอง, ชาวเขาเผ่าลาหู่ (Lahu ในภาษาไทยบางทีเรียกว่า มูเซอร์ แต่คำนี้ชาวลาหู่เองมักรู้สึกรังเกียจ มองว่าเป็นการดูหมิ่น -ผู้แปล) และชาวเขาเผ่าว้า (Wa), และกระทั่งผู้ที่เป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าจำนวนหนึ่ง
พวงหรีดไว้อาลัยที่ตั้งเรียงรายมาจากกลุ่มคนผู้ที่เคยสู้รบในสงครามลับในประเทศลาวเมื่อช่วงทศวรรษ 1960 และขนานนามพวกเขาเองว่า “สมาคมนักรบผู้ไม่มีใครรู้จัก 333” (Unknown Warriors Association 333), อดีตเจ้าหน้าที่ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development หรือ USAID), สำนักงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯ (US Drug Enforcement Administration หรือ DEA), และกระทั่งจากกองทัพรัฐชาน (Shan State Army) อันเป็นกองกำลังกบฎที่อยู่ข้ามพรมแดนเข้าไปในพม่า
พวกเขาทั้งหมดเหล่านี้ต่างเดินทางมาร่วมพิธี ด้วยความมุ่งหมายที่จะกล่าวคำอำลาต่ออดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) นามว่า วิลเลียม ยัง (William Young) ผู้ซึ่งจบชีวิตของตนเองในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากต้องทนทุกข์ทรมานด้วยอาการถุงลมโป่งพองอย่างร้ายแรง (severe emphysema) ตลอดจนอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นๆ สิริอายุได้ 76 ปี เขาถูกพบว่าเสียชีวิตในบ้านพักของเขาเองในจังหวัดเชียงใหม่ ในสภาพที่กุมปืนพกอยู่ในมือข้างหนึ่ง และไม้กางเขนที่มีพระเยซูถูกตรึงอยู่ในมืออีกข้างหนึ่ง ยัง นั้นเป็นนักรบแต่ก็เป็นชาวคริสเตียนผู้มีศรัทธาแรงกล้าด้วย ก็ดังที่แสดงให้เห็นจากจำนวนผู้คนที่มาร่วมในพิธีศพคราวนี้ ยัง กลายเป็นตำนานมานานแล้วตั้งแต่ก่อนที่เขาจะถึงแก่กรรม
ชีวิตของเขาตลอดจนของครอบครัวเขา สะท้อนให้เห็นสภาพการขึ้นๆ ลงๆ ในการเข้าเกี่ยวข้องพัวพันกับดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของชาวอเมริกัน ในรอบระยะเวลายาวนานกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ทั้งวันเวลาอันรุ่งโรจน์ที่สุด ไปจนถึงวันเวลาอันก่อให้เกิดการขัดแย้งหนักหนาสาหัสที่สุด เริ่มตั้งแต่เมื่อช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่แล้ว บุรุษเจ้าของชื่อ วิลเลียม ยัง คนก่อน ซึ่งก็คือคุรปู่ของ วิลเลียม ยัง ได้ไปก่อตั้งที่ทำการคณะมิชชันนารีเผยแพร่คริสต์ศาสนาของนิกายแบปติสต์ (Baptist) ขึ้นในเมืองเกงตุง (Kengtung) ซึ่งอยู่ในรัฐชาน ที่อยู่ทางภาคตะวันออกของพม่า
ขณะที่ชาวพื้นราบซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาเหนียวแน่น ไม่แยแสสนใจในคำสอนแห่งศาสนาคริสต์ที่เขาพร่ำสอนและชวนให้มาเข้ารีต แต่ชาวเขาเผ่าลาหู่จำนวนนับพันๆ กลับเกิดความเลื่อมใสจากคำเทศน์ของเขา ชาวลาหู่ก็คล้ายๆ กับชาวเขาอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่มีเรื่องราวเล่าสืบต่อๆ กันมานานนมเกี่ยวกับ “พระเจ้าผิวขาว” ผู้มาถึงพร้อมด้วยคัมภีร์ และจะเป็นผู้โอบอุ้มช่วยชีวิตพวกเขา
วิลเลียม ยัง คนที่เป็นคุณปู่ก็เป็นคนขาวจริงๆ เสียด้วย อีกทั้งถือพระคัมภีร์ไบเบิล คำพยากรณ์ศักดิ์สิทธิ์ดูจะกลายเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว และพิธีศีลจุ่มล้างบาป (baptism) เพื่อเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชน ก็ถูกจัดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในบริเวณภูเขาของเมืองเกงตุง บุตรชาย 2 คนของวิลเลียม ยัง ได้รับช่วงสานต่อภารกิจของเขาสืบมา แฮโรลด์ (Harold) มุ่งเผยแพร่ศาสนาในหมู่ชาวลาหู่ ส่วน วินเซนต์ (Vincent) เน้นทำงานในหมู่ชาวว้า ผู้ซึ่งยังเป็นนักล่าหัวมนุษย์อยู่เลย เมื่อตอนที่คนในตระกูลยัง เหล่านี้เริ่มเข้ามาผจญภัยในพื้นที่ของพวกเขาที่ทอดตัวคร่อมอยู่ทั้งสองฟากของชายแดนระหว่างพม่ากับจีน คนในตระกูลยัง ได้ก่อตั้งโบสถ์, โรงเรียนสอนศาสนา, และคิดประดิษฐ์นำเอาตัวอักษรโรมันมาใช้เขียนทั้งภาษาลาหู่และภาษาว้า
บุตรชายของแฮโรลด์ ผู้ใช้ชื่อว่า วิลเลียม ยัง ถือกำเนิดออกมาชมโลกในระหว่างที่ครอบครัวเดินทางไปเยือนแคลิฟอร์เนียในปี 1934 แต่เขาเจริญวัยเติบใหญ่ขึ้นในรัฐชาน และกลายเป็นผู้ที่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นต่างๆ จำนวนมากได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นต้นว่า ภาษลาหู่ และภาษาชาน (ไทใหญ่) เวลาต่อมา เขายังเรียนรู้ภาษาว้า, ภาษาไทย, และภาษาคำเมือง ที่เป็นภาษาถิ่นทางภาคเหนือของไทย ตลอดจนภาษาฮินดี และภาษาจีนจำนวนหนึ่ง ภาษาฮินดีนี้เพิ่มเข้ามาหลังจากที่ครอบครัวยัง ต้องอพยพโยกย้ายเข้าไปอยู่ในอินเดีย เมื่อตอนที่กองทัพญี่ปุ่นรุกรานพม่าในปี 1942 และวิลเลียมที่เวลานั้นยังเด็กๆ ก็ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนวู้ดสต็อก (Woodstock school) ในเมืองมุสซูรี (Mussoorie) ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาเหนือเมืองเดห์รา ดูน (Dehra Dun)
ครั้นสงคราม (โลกครั้งที่สอง) ยุติลง ครอบครัวยัง ก็เดินทางกลับมาที่พม่า โดยที่แฮโรลด์ แม้จริงๆ แล้วเป็นชาวอเมริกัน แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ให้เป็นผู้ปกครองพื้นที่ “ภูเขาว้า” (Wa Hills) ตำแหน่งหน้าที่นี้ยืนยาวไปจนกระทั่งพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1948 จากนั้นครอบครัวยัง ได้โยกย้ายเข้ามาอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดย ณ ที่นี่ แฮโรลด์ผู้บิดาได้ก่อตั้งสวนสัตว์เชียงใหม่ขึ้น ขณะที่รูธ (Ruth) ผู้มารดาก็บุกเบิกพัฒนาสถานสอนภาษาของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (American University Alumni หรือ AUA) สาขาเชียงใหม่ ซึ่งจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นสถานที่เรียนภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในนครใหญ่แห่งภาคเหนือของประเทศไทยแห่งนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาผันผ่านไปจนถึงช่วงเวลานั้น แฮโรลด์ ยัง ก็ได้มีการติดต่อเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดแล้วกับแวดวงการข่าวกรองของสหรัฐฯแล้ว ไม่ว่าจะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เป็นความสัมพันธ์กับสำนักงานกิจการด้านยุทธศาสตร์ (Office of Strategic Services หรือ OSS) และต่อมาก็กับสำนักงานซีไอเอ การติดต่อรับเอาพวกมิชชันนารีเผยแพร่ศาสนาเข้ามาร่วมงานในหน่วยงานสืบราชการลับของอเมริกันเช่นนี้ มิใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่อย่างใด ช่วงก่อนหน้านี้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างมีหน่วยงานข่าวกรองซึ่งสามารถลงรากปักฐานอย่างหนักแน่นมั่นคงตามส่วนต่างๆ ของโลกได้ สืบเนื่องจากพวกเขาเคยมีฐานะเป็นมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมทั่วพิภพมาก่อนนั่นเอง
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สหรัฐอเมริกากลับไม่มีหน่วยงานสืบราชการลับนอกประเทศซึ่งปฏิบัติการแบบมีการประสานงานระหว่างกันเอาเลย จวบจนกระทั่งถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หลังจากที่กองทัพญี่ปุ่นเข้าโจมตีฐานทัพสหรัฐฯที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ในฮาวาย เมื่อเดือนกันยายน 1941 วอชิงตันก็มีความตระหนักรับรู้อย่างซาบซึ้งว่า เป็นเรื่องสำคัญระดับสูงสุดที่จะต้องสร้างหน่วยงานเช่นนี้ขึ้นมา ความจำเป็นดังกล่าวนี้ยิ่งกลายเป็นเรื่องเร่งรัดบีบคั้นมากขึ้นอีกในช่วงเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการเริ่มต้นของยุคสงครามเย็น ซึ่งงานจารกรรมได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญสูงสุด เมื่อพิจารณาจากมุมมองทางยุทธศาสตร์
สำนักงานโอเอสเอสได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 1942 และสำนักงานซีไอเอก็เกิดขึ้นในปี 1947 ทว่าสหรัฐฯไม่เหมือนกับพวกมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมในเวลานั้น สหรัฐฯไม่ได้มีเครือข่ายสายงานปฏิบัติการเก่า ตลอดจนทรัพย์สินด้านข่าวกรองระดับท้องถิ่น ที่จะสามารถเข้าไปต่อยอดฉวยใช้ให้เป็นประโยชน์ อาจจะมีข้อยกเว้นอยู่เพียงประการเดียว นั่นก็คือ เครือข่ายพวกมิชชันนารีเผยแพร่คริสต์ศาสนา เครือข่ายผู้คนเหล่านี้ได้กระจัดกระจายตัวออกไปอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ มาเป็นเวลานานปี และสะสมความรู้อันลึกซึ้งในด้านวัฒนธรรมและภาษาของท้องถิ่น มีบางส่วน (ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ก็คือครอบครัวยัง) กระทั่งได้รับการเคารพยกย่องในระดับเกือบๆ เท่ากับพระเจ้า ภายในหมู่ชุมชนที่พวกเขามีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้คนที่นั่นเปลี่ยนมาเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชน
เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวของนิตยสารฟาร์ อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Burma in Revolt: Opium and Insurgency Since 1948 ตลอดจนหนังสืออื่นๆ ว่าด้วยพม่าอีกหลายเล่ม ปัจจุบันเขาเป็นนักเขียนที่ทำงานให้ Asia Pacific Media Services
ไมเคิล แบล็ก (Michael Black) และ เดวิด ลาวิตส์ (David Lawitts) ซึ่งทั้งเคยดำเนินการสัมภาษณ์และทำการรวบรวมคำให้สัมภาษณ์ของ วิลเลียม ยัง รวมแล้วเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง มีส่วนอยู่ในการเขียนข้อเขียนชี้นนี้
Wise man on the hill
By Bertil Lintner
07/04/2011
เมื่อสงครามอินโดจีนขยายตัวออกไปในตอนต้นทศวรรษ 1960 ความรอบรู้อันลึกซึ้งในเรื่องวัฒนธรรมและภาษาท้องถิ่นต่างๆ ทำให้ วิลเลียม ยัง เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ผู้เติบโตขึ้นมาในครอบครัวมิชชันนารีซึ่งปฏิบัติงานในรัฐชานแห่งพม่า อยู่ในฐานะอันดีเลิศที่จะดำเนินการจัดตั้งชาวเขาเผ่าต่างๆ ให้เข้าร่วมช่วยเหลืออเมริกา ในระหว่างช่วง “สงครามลับ” ในประเทศลาว การถึงแก่กรรมของเขาเมื่อต้นเดือนนี้ที่บ้านพักในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวัย 76 ปี น่าจะถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายแห่งการสิ้นสุดของยุคๆ หนึ่งทีเดียว
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
เชียงใหม่ - แทบจะไม่มีที่นั่งว่างเอาเลยในพิธีศพซึ่งจัดขึ้น ณ โบสถ์คริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ ที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำปิง ในจังหวัดเชียงใหม่ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ผู้คนที่มาร่วมงานมีทั้งชาวอเมริกันผู้เป็นทหารผ่านศึกครั้งสงครามอินโดจีน นั่งปะปนอยู่กับชาวบ้านชาวเมืองที่เป็นคนไทยและชาวต่างประเทศ, มีทั้งมิชชันนารีนักสอนศาสนา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรอง, ชาวเขาเผ่าลาหู่ (Lahu ในภาษาไทยบางทีเรียกว่า มูเซอร์ แต่คำนี้ชาวลาหู่เองมักรู้สึกรังเกียจ มองว่าเป็นการดูหมิ่น -ผู้แปล) และชาวเขาเผ่าว้า (Wa), และกระทั่งผู้ที่เป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าจำนวนหนึ่ง
พวงหรีดไว้อาลัยที่ตั้งเรียงรายมาจากกลุ่มคนผู้ที่เคยสู้รบในสงครามลับในประเทศลาวเมื่อช่วงทศวรรษ 1960 และขนานนามพวกเขาเองว่า “สมาคมนักรบผู้ไม่มีใครรู้จัก 333” (Unknown Warriors Association 333), อดีตเจ้าหน้าที่ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development หรือ USAID), สำนักงานปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯ (US Drug Enforcement Administration หรือ DEA), และกระทั่งจากกองทัพรัฐชาน (Shan State Army) อันเป็นกองกำลังกบฎที่อยู่ข้ามพรมแดนเข้าไปในพม่า
พวกเขาทั้งหมดเหล่านี้ต่างเดินทางมาร่วมพิธี ด้วยความมุ่งหมายที่จะกล่าวคำอำลาต่ออดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) นามว่า วิลเลียม ยัง (William Young) ผู้ซึ่งจบชีวิตของตนเองในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากต้องทนทุกข์ทรมานด้วยอาการถุงลมโป่งพองอย่างร้ายแรง (severe emphysema) ตลอดจนอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นๆ สิริอายุได้ 76 ปี เขาถูกพบว่าเสียชีวิตในบ้านพักของเขาเองในจังหวัดเชียงใหม่ ในสภาพที่กุมปืนพกอยู่ในมือข้างหนึ่ง และไม้กางเขนที่มีพระเยซูถูกตรึงอยู่ในมืออีกข้างหนึ่ง ยัง นั้นเป็นนักรบแต่ก็เป็นชาวคริสเตียนผู้มีศรัทธาแรงกล้าด้วย ก็ดังที่แสดงให้เห็นจากจำนวนผู้คนที่มาร่วมในพิธีศพคราวนี้ ยัง กลายเป็นตำนานมานานแล้วตั้งแต่ก่อนที่เขาจะถึงแก่กรรม
ชีวิตของเขาตลอดจนของครอบครัวเขา สะท้อนให้เห็นสภาพการขึ้นๆ ลงๆ ในการเข้าเกี่ยวข้องพัวพันกับดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของชาวอเมริกัน ในรอบระยะเวลายาวนานกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ทั้งวันเวลาอันรุ่งโรจน์ที่สุด ไปจนถึงวันเวลาอันก่อให้เกิดการขัดแย้งหนักหนาสาหัสที่สุด เริ่มตั้งแต่เมื่อช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่แล้ว บุรุษเจ้าของชื่อ วิลเลียม ยัง คนก่อน ซึ่งก็คือคุรปู่ของ วิลเลียม ยัง ได้ไปก่อตั้งที่ทำการคณะมิชชันนารีเผยแพร่คริสต์ศาสนาของนิกายแบปติสต์ (Baptist) ขึ้นในเมืองเกงตุง (Kengtung) ซึ่งอยู่ในรัฐชาน ที่อยู่ทางภาคตะวันออกของพม่า
ขณะที่ชาวพื้นราบซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาเหนียวแน่น ไม่แยแสสนใจในคำสอนแห่งศาสนาคริสต์ที่เขาพร่ำสอนและชวนให้มาเข้ารีต แต่ชาวเขาเผ่าลาหู่จำนวนนับพันๆ กลับเกิดความเลื่อมใสจากคำเทศน์ของเขา ชาวลาหู่ก็คล้ายๆ กับชาวเขาอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่มีเรื่องราวเล่าสืบต่อๆ กันมานานนมเกี่ยวกับ “พระเจ้าผิวขาว” ผู้มาถึงพร้อมด้วยคัมภีร์ และจะเป็นผู้โอบอุ้มช่วยชีวิตพวกเขา
วิลเลียม ยัง คนที่เป็นคุณปู่ก็เป็นคนขาวจริงๆ เสียด้วย อีกทั้งถือพระคัมภีร์ไบเบิล คำพยากรณ์ศักดิ์สิทธิ์ดูจะกลายเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว และพิธีศีลจุ่มล้างบาป (baptism) เพื่อเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชน ก็ถูกจัดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในบริเวณภูเขาของเมืองเกงตุง บุตรชาย 2 คนของวิลเลียม ยัง ได้รับช่วงสานต่อภารกิจของเขาสืบมา แฮโรลด์ (Harold) มุ่งเผยแพร่ศาสนาในหมู่ชาวลาหู่ ส่วน วินเซนต์ (Vincent) เน้นทำงานในหมู่ชาวว้า ผู้ซึ่งยังเป็นนักล่าหัวมนุษย์อยู่เลย เมื่อตอนที่คนในตระกูลยัง เหล่านี้เริ่มเข้ามาผจญภัยในพื้นที่ของพวกเขาที่ทอดตัวคร่อมอยู่ทั้งสองฟากของชายแดนระหว่างพม่ากับจีน คนในตระกูลยัง ได้ก่อตั้งโบสถ์, โรงเรียนสอนศาสนา, และคิดประดิษฐ์นำเอาตัวอักษรโรมันมาใช้เขียนทั้งภาษาลาหู่และภาษาว้า
บุตรชายของแฮโรลด์ ผู้ใช้ชื่อว่า วิลเลียม ยัง ถือกำเนิดออกมาชมโลกในระหว่างที่ครอบครัวเดินทางไปเยือนแคลิฟอร์เนียในปี 1934 แต่เขาเจริญวัยเติบใหญ่ขึ้นในรัฐชาน และกลายเป็นผู้ที่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นต่างๆ จำนวนมากได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นต้นว่า ภาษลาหู่ และภาษาชาน (ไทใหญ่) เวลาต่อมา เขายังเรียนรู้ภาษาว้า, ภาษาไทย, และภาษาคำเมือง ที่เป็นภาษาถิ่นทางภาคเหนือของไทย ตลอดจนภาษาฮินดี และภาษาจีนจำนวนหนึ่ง ภาษาฮินดีนี้เพิ่มเข้ามาหลังจากที่ครอบครัวยัง ต้องอพยพโยกย้ายเข้าไปอยู่ในอินเดีย เมื่อตอนที่กองทัพญี่ปุ่นรุกรานพม่าในปี 1942 และวิลเลียมที่เวลานั้นยังเด็กๆ ก็ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนวู้ดสต็อก (Woodstock school) ในเมืองมุสซูรี (Mussoorie) ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาเหนือเมืองเดห์รา ดูน (Dehra Dun)
ครั้นสงคราม (โลกครั้งที่สอง) ยุติลง ครอบครัวยัง ก็เดินทางกลับมาที่พม่า โดยที่แฮโรลด์ แม้จริงๆ แล้วเป็นชาวอเมริกัน แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ให้เป็นผู้ปกครองพื้นที่ “ภูเขาว้า” (Wa Hills) ตำแหน่งหน้าที่นี้ยืนยาวไปจนกระทั่งพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1948 จากนั้นครอบครัวยัง ได้โยกย้ายเข้ามาอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดย ณ ที่นี่ แฮโรลด์ผู้บิดาได้ก่อตั้งสวนสัตว์เชียงใหม่ขึ้น ขณะที่รูธ (Ruth) ผู้มารดาก็บุกเบิกพัฒนาสถานสอนภาษาของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (American University Alumni หรือ AUA) สาขาเชียงใหม่ ซึ่งจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นสถานที่เรียนภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในนครใหญ่แห่งภาคเหนือของประเทศไทยแห่งนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาผันผ่านไปจนถึงช่วงเวลานั้น แฮโรลด์ ยัง ก็ได้มีการติดต่อเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดแล้วกับแวดวงการข่าวกรองของสหรัฐฯแล้ว ไม่ว่าจะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เป็นความสัมพันธ์กับสำนักงานกิจการด้านยุทธศาสตร์ (Office of Strategic Services หรือ OSS) และต่อมาก็กับสำนักงานซีไอเอ การติดต่อรับเอาพวกมิชชันนารีเผยแพร่ศาสนาเข้ามาร่วมงานในหน่วยงานสืบราชการลับของอเมริกันเช่นนี้ มิใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่อย่างใด ช่วงก่อนหน้านี้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างมีหน่วยงานข่าวกรองซึ่งสามารถลงรากปักฐานอย่างหนักแน่นมั่นคงตามส่วนต่างๆ ของโลกได้ สืบเนื่องจากพวกเขาเคยมีฐานะเป็นมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมทั่วพิภพมาก่อนนั่นเอง
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สหรัฐอเมริกากลับไม่มีหน่วยงานสืบราชการลับนอกประเทศซึ่งปฏิบัติการแบบมีการประสานงานระหว่างกันเอาเลย จวบจนกระทั่งถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หลังจากที่กองทัพญี่ปุ่นเข้าโจมตีฐานทัพสหรัฐฯที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ในฮาวาย เมื่อเดือนกันยายน 1941 วอชิงตันก็มีความตระหนักรับรู้อย่างซาบซึ้งว่า เป็นเรื่องสำคัญระดับสูงสุดที่จะต้องสร้างหน่วยงานเช่นนี้ขึ้นมา ความจำเป็นดังกล่าวนี้ยิ่งกลายเป็นเรื่องเร่งรัดบีบคั้นมากขึ้นอีกในช่วงเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการเริ่มต้นของยุคสงครามเย็น ซึ่งงานจารกรรมได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญสูงสุด เมื่อพิจารณาจากมุมมองทางยุทธศาสตร์
สำนักงานโอเอสเอสได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 1942 และสำนักงานซีไอเอก็เกิดขึ้นในปี 1947 ทว่าสหรัฐฯไม่เหมือนกับพวกมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมในเวลานั้น สหรัฐฯไม่ได้มีเครือข่ายสายงานปฏิบัติการเก่า ตลอดจนทรัพย์สินด้านข่าวกรองระดับท้องถิ่น ที่จะสามารถเข้าไปต่อยอดฉวยใช้ให้เป็นประโยชน์ อาจจะมีข้อยกเว้นอยู่เพียงประการเดียว นั่นก็คือ เครือข่ายพวกมิชชันนารีเผยแพร่คริสต์ศาสนา เครือข่ายผู้คนเหล่านี้ได้กระจัดกระจายตัวออกไปอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ มาเป็นเวลานานปี และสะสมความรู้อันลึกซึ้งในด้านวัฒนธรรมและภาษาของท้องถิ่น มีบางส่วน (ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ก็คือครอบครัวยัง) กระทั่งได้รับการเคารพยกย่องในระดับเกือบๆ เท่ากับพระเจ้า ภายในหมู่ชุมชนที่พวกเขามีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้คนที่นั่นเปลี่ยนมาเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชน
เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวของนิตยสารฟาร์ อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Burma in Revolt: Opium and Insurgency Since 1948 ตลอดจนหนังสืออื่นๆ ว่าด้วยพม่าอีกหลายเล่ม ปัจจุบันเขาเป็นนักเขียนที่ทำงานให้ Asia Pacific Media Services
ไมเคิล แบล็ก (Michael Black) และ เดวิด ลาวิตส์ (David Lawitts) ซึ่งทั้งเคยดำเนินการสัมภาษณ์และทำการรวบรวมคำให้สัมภาษณ์ของ วิลเลียม ยัง รวมแล้วเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง มีส่วนอยู่ในการเขียนข้อเขียนชี้นนี้