(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The tribes against the bunker
By Pepe Escobar
25/02/2011
มูอัมมาร์ กัดดาฟี บอกว่า การลุกฮือของชาวลิเบียที่กำลังแผ่ลามออกไปทุกทีในคราวนี้ เป็นแผนชั่วร้ายของอัลกออิดะห์ ขณะที่มวลชนที่เข้าร่วมก็เป็นฝูงชนผู้อยู่ในอาการมึนเมาด้วยเนสกาแฟผสมยาหลอนประสาท อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงนั้น สิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นไม่ใช่มายาไม่ใช่ภาพหลอนอันเกิดจากโอสถลวงจิต หากแต่เป็นการร่วมไม้ร่วมมือกันของเผ่าต่างๆ ซึ่งในที่สุดแล้วจะโค่นล้ม “จอมราชันย์” แห่งแอฟริกาผู้นี้ให้ตกลงมาจากบัลลังก์
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในลิเบียคือการปฏิวัติโดยเผ่าต่างๆ มันไม่ได้เป็นการปฏิวัติที่นำโดยปัญญาชนรุ่นหนุ่มสาวในตัวเมือง เหมือนกับที่เกิดขึ้นในอียิปต์ อีกทั้งไม่ได้เป็นการปฏิวัติของผู้ใช้แรงงาน (อันที่จริงคนงานส่วนใหญ่ในลิเบียเป็นคนงานต่างชาติด้วยซ้ำไป) ถึงแม้พวกตัวแสดงของการลุกฮือต่อต้าน มูอัมมาร์ กัดดาฟรี คราวนี้ อาจจะประกอบไปด้วยกลุ่มคนจากภาคส่วนต่างๆ ผสมปนเปทั้งชาวลิเบียสามัญธรรมดา, พวกเยาวชนที่มีการศึกษา และ/หรือ ไม่มีงานทำ, ส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางตามตัวเมือง แต่สิ่งที่มีอิทธิพลเรียงร้อยพวกเขาทั้งหมดเข้าด้วยกันก็คือ เผ่า ในท้องเรื่องว่าด้วยกระแสการก่อกบฎครั้งยิ่งใหญ่ของอาหรับแห่งปี 2011 นี้ ในบทที่พูดถึงลิเบียนั้น แม้กระทั่งอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่ใช่เป็นตัวแสดงที่จะมีบทบาทตัดสินชี้ขาดอนาคตอย่างสมบูรณ์แบบ
ลิเบียคือประเทศแห่งชนเผ่าตั้งแต่ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก ประเทศนี้มีชนเผ่า (กอบิละ qabila) อยู่ 140 เผ่า โดยที่เผ่าสำคัญๆ มีอยู่ราว 30 เผ่า หนึ่งในนั้นคือ วอฟัลละ (Warfalla) เผ่าซึ่งสามารถคุยได้ว่ามีผู้คนอยู่ในสังกัดถึง 1 ล้านคน (จากประชากรทั่วประเทศลิเบีย 6.2 ล้านคน) บ่อยครั้ง ชาวลิเบียใช้ชื่อสกุลตามชื่อเมืองที่เป็นภูมิลำเนาของพวกเขา เวลานี้ พ.อ.กัดดาฟีเที่ยวโพนทะนาว่า การลุกฮือของชาวลิเบียนั้นเป็นแผนกโลบายของอัลกออิดะห์ซึ่งอาศัยนมและเนสกาแฟผสมยาหลอนประสาทเป็นตัวขับดันฝูงชน แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นเรื่องการจับมือกันของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งมุ่งที่จะโค่นล้มจอมราชันย์แห่งแอฟริกาผู้นี้ลงจากอำนาจในท้ายที่สุด
ในเมืองเบงกาซีได้รับการปลดแอก มีผู้เขียนข้อความตัวใหญ่เบ้อเริ่มไว้บนกำแพงอาคารว่า “คัดค้านระบบเผ่า” แต่นั่นเป็นเพียงความเพ้อฝันที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง พวกนายทหารลิเบียนั้นเป็นคอลเล็คชั่นของประดาคนเด่นคนดังของเผ่าต่างๆ ซึ่งถูกกัดดาฟีล่อลวงหรือติดสินบน ทั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์แห่งการแบ่งแยกแล้วปกครองอันเคร่งครัด นับตั้งแต่ที่ระบอบปกครองนี้ถือกำเนิดขึ้นในปี 1969 เป็นต้นมา ขณะที่ทั้งในตูนิเซียและในอียิปต์นั้น กองทัพคือปัจจัยหลักที่ทำให้จอมเผด็จการต้องตกลงจากอำนาจ ทว่าในลิเบีย สภาพการณ์มีความซับซ้อนกว่ากันมาก กองทัพกลับไม่สู้มีความสำคัญเท่าใดนัก เมื่อเปรียบเทียบกับกองกำลังอาวุธท้องถิ่นที่มีลักษณะกึ่งทหาร (กำลังเหล่านี้มีทั้งที่เป็นกองกำลังส่วนบุคคลและเป็นพวกทหารรับจ้าง) และนำโดยพวกลูกๆ ตลอดจนญาติๆ ของกัดดาฟี
ทั้งกัดดาฟี และ ซออิฟ (Saif) บุตรชาย “หัวทันสมัย” ของเขา กำลังเล่นไพ่ไม่กี่ใบที่ยังเหลืออยู่ในมือ ซึ่งก็คล้ายๆ กับวิธีของฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์เป็นอย่างมาก นั่นคือ “ถ้าไม่เลือกฉัน ก็จะต้องเจอกับความปั่นป่วนวุ่นวาย” ในกรณีของวงศ์วานว่านเครือกัดดาฟีนั้น มันอยู่ในลักษณะทำนองว่า “ถ้าไม่มีฉันเสียแล้ว มันก็จะเกิดสงครามกลางเมือง หรือไม่ก็ต้องเจอกับ อุซามะห์ บิน ลาดิน” ทว่าเผ่าต่างๆ ส่วนใหญ่เวลานี้ไม่เชื่อแผนกโลบายเช่นนี้เสียแล้ว
ลู่ทางโอกาสของกัดดาฟีดูมืดมน เผ่าอะวะลัด อาลี (Awlad Ali) ที่มีอิทธิพลอยู่ตามบริเวณพรมแดนติดต่อกับอียิปต์ แสดงการต่อต้านเขา เมืองอัซ ซอวิยยะ (Az Zawiyya) ต่อต้านเขาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนเมืองอัซ-ซินตัน (Az-Zintan) ที่อยู่ห่างจากกรุงตริโปลีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 150 กิโลเมตร ก็กำลังหมุนคว้างอยู่รอบๆ ชนเผ่าวอฟัลละ ซึ่งคนในเผ่าทั้งหมดต่างต่อต้านเขา ชนเผ่าตอร์ฮุน (Tarhun) ที่มีความสำคัญมากเช่นกันเนื่องจากประชากรในเมืองหลวงตริโปลีมากกว่า 30% เป็นคนของเผ่านี้ ก็คัดค้านเขา เชก ซออิฟ อัล นัสร์ (Sheikh Saif al-Nasr) อดีตหัวหน้าของเผ่า อะวะลัด สุไลมาน (Awlad Sulaiman) ออกอากาศทางโทรทัศน์อัลญะซีเราะห์ เรียกร้องให้คนหนุ่มของเผ่าซึ่งอยู่ทางภาคใต้เข้าร่วมกับผู้ประท้วง กระทั่งเผ่า กอดัดฟะ (Qadhadfa) ซึ่งเป็นเผ่าเล็กๆ ที่กัดดาฟีสังกัดอยู่ เวลานี้ยังมีบางคนออกมาต่อต้านคัดค้านเขา
**ลิดรอนภาคประชาสังคม**
เผ่า (พร้อมด้วยโคตรตระกูลตลอดจนกลุ่มย่อยๆ ถัดๆ ลงมา) เป็นสถาบันเพียงอย่างเดียวซึ่งทำหน้าที่จัดระเบียบวางกฎเกณฑ์ ในสังคมของชาวอาหรับผู้พำนักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ซึ่งพวกนักล่าอาณานิคมชาวอิตาเลียนช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ขนานนามให้ว่าแคว้น ตริโปลิตาเนีย (Tripolitania), ไซเรนาอิกา (Cyrenaica), และ เฟซซัน (Fezzan)
หลังจากลิเบียได้รับเอกราชในปี 1951 ประเทศนี้ไม่มีพรรคการเมืองใดๆ เลย ระหว่างการปกครองในระบอบราชาธิปไตยนั้น การเมืองคือเรื่องที่เกี่ยวกับเผ่าทั้งสิ้น แต่แล้วจากการปฏิวัติของกัดดาฟีในปี 1969 ก็ได้วางกรอบใหม่ให้แก่บทบาททางการเมืองของเผ่าต่างๆ โดยที่เผ่ากลายเป็นเพียงผู้ค้ำประกันคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมและคุณค่าทางด้านศาสนาเท่านั้น สำหรับอุดมการณ์แห่งการปฏิวัติของกัดดาฟีวนเวียนอยู่รอบๆ ลัทธิสังคมนิยม –โดยที่ในทางทฤษฎีจะถือว่าประชาชนต่างหาก ไม่ใช่เผ่า เป็นเนื้อหาของประวัติศาสตร์ ในยุคของเขา พรรคการเมืองต่างๆ ก็ถูกทอดทิ้งเช่นเดียวกับยุคราชาธิปไต แต่มีการให้บทบาทแก่คณะกรรมการประชาชน และสมัชชาประชาชน พวกชนชั้นนำรุ่นเก่า (ซึ่งก็คือ พวกผู้อาวุโสของเผ่าต่างๆ) ถูกโดดเดี่ยวแยกห่างออกไป
ทว่าในเวลาต่อมาลัทธิเชิดชูเผ่าได้หวนกลับมาใหม่อีก แรกทีเดียวเป็นเพราะกัดดาฟีตัดสินใจว่าพวกตำแหน่งต่างๆ ในคณะรัฐบาลจะต้องแบ่งสรรกันตามเผ่าที่สังกัดเกี่ยวข้อง ต่อมาในระหว่างทศวรรษ 1990 กัดดาฟีได้หวนกลับไปจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกผู้นำของเผ่าต่างๆ เนื่องจากเขาต้องการให้ผู้นำเผ่าเหล่านี้ “กำจัดฝ่ายค้านตลอดจนคนทรยศประเภทต่างๆ ที่กำลังมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ” ตอนนี้เองจึงได้เกิด “หน่วยคอมมานโดทางด้านสังคมของประชาชน” (popular social commandos) ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่น, แก้ปัญหาข้อพิพาทต่างๆ ในท้องถิ่น, และจบลงด้วยการทำให้เผ่าได้รับการยกย่องนับถือในฐานะที่เป็นตัวแสดงทางการเมืองตัวหนึ่ง
กัดดาฟีพยายามทำให้มั่นใจได้ว่า เขาสามารถผูกมัดเป็นพันธมิตรอันเหนียวแน่นแข็งแกร่งอยู่กับเผ่าวอฟัลละ นอกจากนั้น ด้วยการใช้ยุทธศาสตร์ที่รวมศูนย์อยู่ในคำขวัญที่ว่า “ติดอาวุธให้ประชาชน” เขาก็สามารถจัดการให้กองทัพต้องยอมสยบยอมเชื่องเชื่อต่อเขาจนได้ สำหรับตำแหน่งสำคัญๆ ในหน่วยงานสืบราชการลับนั้น เขามอบให้เฉพาะแก่เผ่าของเขาเอง นั่นคือ เผ่ากอดัดฟะ และแก่หนึ่งในเพื่อนมิตรแห่งการปฏิวัติของเขาอย่างเผ่ามากอริฮะ (Maqariha) เท่านั้น การกระทำเช่นนี้โดยสาระสำคัญแล้วหมายความว่า มีแต่ 2 เผ่านี้เท่านั้นที่ผูกขาดภาคส่วนหลักๆ ของเศรษฐกิจ และขจัดไม่ให้เกิดฝ่ายค้านใดๆ ขึ้นมา
ผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของระบบการเมืองแบบเผ่าเช่นนี้ก็คือ ภาคประชาสังคมที่วางอยู่บนสถาบันทางประชาธิปไตยต่างๆ จะถูกทำลายไปหมด พวกชนชั้นกลางที่มีการศึกษาถูกทอดทิ้งเพิกเฉยไม่ได้อะไรกับเขาเลย
ภายหลังการจัดวางต่างๆ เหล่านี้ ลิเบียก็เข้าสู่ช่วงเวลาที่ถูกสหประชาชาติใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตร ซึ่งกินเวลาประมาณ 1 ทศวรรษ เศรษฐกิจที่อยู่ในสภาพย่ำแย่อยู่แล้ว ก็ยิ่งควงสว่านตกต่ำไปอีก ขณะที่ไม่มีการแบ่งสรรความมั่งคั่งจากน้ำมันและแก๊สอย่างเหมาะสมเป็นธรรมเอาเลย อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานต่างพุ่งขึ้นโลดลิ่ว ถ้อยคำโวหารที่นิยมหยิบยกเอามาพูดกันก็คือ นี่เป็น “ประชาธิปไตยทางตรง” ทว่าในทางเป็นจริงแล้วกลับมีแต่ “ผู้ชนะ” เพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น โดยที่คนเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของชนชั้นนายทุนแห่งรัฐที่มีแนวความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติ (reactionary state bourgeoisie) ไม่ว่าจะใส่เสื้อคลุมเป็นพวกนักปฏิรูป ซึ่งนำโดย ซออิฟ, เป็นพวกอนุรักษนิยม (ที่ซื่อสัตย์ภักดีต่อ “หนังสือคติพจน์เล่มเขียว” (Green Book) ของกัดดาฟี), หรือเป็นพวกเทคโนแครตมืออาชีพ (ซึ่งก็คือพวกที่เขม้นมองประดาข้อตกลงอันเต็มไปด้วยผลประโยชน์มากมายที่ลิเบียทำกับบริษัทต่างชาติทั้งหลาย)
**‘ไซเรนาอิกา’มาอยู่ ณ ปีที่ 0**
ไม่น่าประหลาดใจอะไรเลยที่การลุกฮือคราวนี้เริ่มต้นขึ้นที่เมืองเบงกาซี ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของแคว้นไซเรนาอิกา อันเป็นภูมิภาคที่ถูกมองเมินจากยุทธศาสตร์การพัฒนาทุกๆ อย่าง โดยที่แคว้นนี้มีโครงสร้างพื้นฐานซึ่งแสนจะย่ำแย่สุดๆ เมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นตริโปลิตาเนีย
เวลานี้ไซเรนาอิกาเปรียบได้กับมาเริ่มต้นอยู่ ณ ปีที่ 0 (ศูนย์) ช่วยไม่ได้ที่ทำให้ผู้เขียนต้องนึกเปรียบเทียบกับวันแรกๆ ของ อิรัก “ที่ได้รับการปลดแอก” เมื่อเดือนเมษายน 2003 รัฐได้หายวับไป คณะกรรมการประชาชน, กลุ่มอิสลามจารีตนิยม, และกลุ่มติดอาวุธทั้งหลาย คือผู้ที่ควบคุมดินแดนอาณาเขตอยู่ในขณะนี้ ไม่มีใครทราบว่าสภาพเช่นนี้จะวิวัฒนาการต่อไปอย่างไร ไม่มีใครทราบว่าภายหลังศึกชิงกรุงตริโปลี (สมมุติว่าฝ่ายค้านเหล่านี้ได้ครอบครองอาวุธขนาดหนักได้สักจำนวนหนึ่งกันจริงๆ) แล้ว อนาคตต่อไปจะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปได้อย่างสูงว่า คงจะเกิดอาณาเขตย่อยๆ ที่ควบคุมโดยเผ่า แต่ละอาณาเขตก็ปกครองตนเองกันไป คล้ายๆ กับที่ปรากฏอยู่ในอัฟกานิสถาน และโซมาเลีย นั่นคือในทางเป็นจริงแล้วทั่วทั้งภูมิภาคกำลังเกิดการแยกตัวเป็นส่วนย่อยๆ ถึงแม้พวกฝ่ายค้านที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศกำลังพยายามอย่างหนักหน่วงที่จะขจัดความหวั่นวิตกต่อสภาพการณ์เช่นนี้ก็ตามที
ทว่าก่อนที่จะไปสู่สภาพการณ์แห่งอนาคตดังกล่าว กัดดาฟีได้ออกมาเตือนแล้วว่าจะต้องนองเลือดกันก่อน กองกำลังทางอากาศนั้นถูกควบคุมโดยคนในตระกูลของกัดดาฟี บวกกับบุตรชายของเขาอีก 2 คนที่นั่งอยู่ในตำแหน่งสำคัญมาก นั่นคือ มูตัสซิม (Moutassim) เป็นประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ส่วน คอมิส (Khamis) เป็นผู้บัญชาการของกองกำลังอาวุธกองหนึ่ง กองทัพลิเบียนั้นมีกำลังทหารอยู่ 150,000 คน แต่พวกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพจะต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างถ้าหากพวกเขาไม่ยึดแน่นอยู่กับกัดดาฟี ตามการประมาณการที่ดูจะน่าเชื่อถือที่สุดนั้น กัดดาฟียังน่าที่จะมีทหารที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้อยู่ราว 10,000 คน ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงกองทหารรับจ้าง “ชาวแอฟริกันผิวดำ” ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางเข้าสู่ลิเบียโดยผ่านประเทศชาด
ภายหลังภูเขาไฟลูกนี้ระเบิดขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามลิเบียดูน่าที่จะแตกแยกกันไปตามเผ่าต่างๆ อย่างไรก็ดี เราต้องพูดอย่างเป็นธรรมด้วยว่า เยาวชนคนหนุ่มชาวลิเบีย (ซึ่งย่อมสามารถที่จะเรียกเป็น “เผ่า” คนหนุ่ม) ผู้ออกมาตามท้องถนนเพื่อสู้รบกับระบอบปกครองอันติดอาวุธเต็มพิกัดของกัดดาฟีนั้น เป็นพวกที่มองเห็นว่าสภาพจิตใจแบบคำนึงถึงแต่เผ่าคือเชื้อโรคร้ายที่ควรต้องถูกกำจัดกวาดล้างไป แต่แน่นอนที่สภาพจิตใจดังกล่าวย่อมไม่สามารถหายวับไปในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน ความคาดหวังดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในสภาพการณ์อันเลวร้ายในเวลานี้ (ขณะที่วิกฤตทางด้านมนุษยธรรมกำลังทำท่าจะย่างกรายเข้ามาเยือน แถมยังมีปีศาจร้ายแห่งสงครามกลางเมืองคอยหลอกหลอนอีกตนหนึ่งด้วย) ก็คือ ในที่สุดแล้ว อินเทอร์เน็ตจะสามารถส่งแรงขับดันให้ลิเบียพุ่งข้ามเลยยุคแห่งชนเผ่าไปได้ในที่สุด ทว่าก่อนจะถึงห้วงเวลานั้น ยังจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโค่นล้มระบอบกัดดาฟีลงให้ได้เสียก่อน
เปเป เอสโคบาร์ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Globalistan: How the Globalized World is Dissolving into Liquid War” (สำนักพิมพ์ Nimble Books, ปี 2007) และเรื่อง “Red Zone Blues: a snapshot of Baghdad during the surge” หนังสือเล่มใหม่ของเขาคือเรื่อง “Obama does Globalistan” (สำนักพิมพ์ Nimble Books, ปี 2009) ทั้งนี้สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ที่ pepeasia@yahoo.com
The tribes against the bunker
By Pepe Escobar
25/02/2011
มูอัมมาร์ กัดดาฟี บอกว่า การลุกฮือของชาวลิเบียที่กำลังแผ่ลามออกไปทุกทีในคราวนี้ เป็นแผนชั่วร้ายของอัลกออิดะห์ ขณะที่มวลชนที่เข้าร่วมก็เป็นฝูงชนผู้อยู่ในอาการมึนเมาด้วยเนสกาแฟผสมยาหลอนประสาท อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงนั้น สิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นไม่ใช่มายาไม่ใช่ภาพหลอนอันเกิดจากโอสถลวงจิต หากแต่เป็นการร่วมไม้ร่วมมือกันของเผ่าต่างๆ ซึ่งในที่สุดแล้วจะโค่นล้ม “จอมราชันย์” แห่งแอฟริกาผู้นี้ให้ตกลงมาจากบัลลังก์
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในลิเบียคือการปฏิวัติโดยเผ่าต่างๆ มันไม่ได้เป็นการปฏิวัติที่นำโดยปัญญาชนรุ่นหนุ่มสาวในตัวเมือง เหมือนกับที่เกิดขึ้นในอียิปต์ อีกทั้งไม่ได้เป็นการปฏิวัติของผู้ใช้แรงงาน (อันที่จริงคนงานส่วนใหญ่ในลิเบียเป็นคนงานต่างชาติด้วยซ้ำไป) ถึงแม้พวกตัวแสดงของการลุกฮือต่อต้าน มูอัมมาร์ กัดดาฟรี คราวนี้ อาจจะประกอบไปด้วยกลุ่มคนจากภาคส่วนต่างๆ ผสมปนเปทั้งชาวลิเบียสามัญธรรมดา, พวกเยาวชนที่มีการศึกษา และ/หรือ ไม่มีงานทำ, ส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางตามตัวเมือง แต่สิ่งที่มีอิทธิพลเรียงร้อยพวกเขาทั้งหมดเข้าด้วยกันก็คือ เผ่า ในท้องเรื่องว่าด้วยกระแสการก่อกบฎครั้งยิ่งใหญ่ของอาหรับแห่งปี 2011 นี้ ในบทที่พูดถึงลิเบียนั้น แม้กระทั่งอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่ใช่เป็นตัวแสดงที่จะมีบทบาทตัดสินชี้ขาดอนาคตอย่างสมบูรณ์แบบ
ลิเบียคือประเทศแห่งชนเผ่าตั้งแต่ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก ประเทศนี้มีชนเผ่า (กอบิละ qabila) อยู่ 140 เผ่า โดยที่เผ่าสำคัญๆ มีอยู่ราว 30 เผ่า หนึ่งในนั้นคือ วอฟัลละ (Warfalla) เผ่าซึ่งสามารถคุยได้ว่ามีผู้คนอยู่ในสังกัดถึง 1 ล้านคน (จากประชากรทั่วประเทศลิเบีย 6.2 ล้านคน) บ่อยครั้ง ชาวลิเบียใช้ชื่อสกุลตามชื่อเมืองที่เป็นภูมิลำเนาของพวกเขา เวลานี้ พ.อ.กัดดาฟีเที่ยวโพนทะนาว่า การลุกฮือของชาวลิเบียนั้นเป็นแผนกโลบายของอัลกออิดะห์ซึ่งอาศัยนมและเนสกาแฟผสมยาหลอนประสาทเป็นตัวขับดันฝูงชน แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นเรื่องการจับมือกันของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งมุ่งที่จะโค่นล้มจอมราชันย์แห่งแอฟริกาผู้นี้ลงจากอำนาจในท้ายที่สุด
ในเมืองเบงกาซีได้รับการปลดแอก มีผู้เขียนข้อความตัวใหญ่เบ้อเริ่มไว้บนกำแพงอาคารว่า “คัดค้านระบบเผ่า” แต่นั่นเป็นเพียงความเพ้อฝันที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง พวกนายทหารลิเบียนั้นเป็นคอลเล็คชั่นของประดาคนเด่นคนดังของเผ่าต่างๆ ซึ่งถูกกัดดาฟีล่อลวงหรือติดสินบน ทั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์แห่งการแบ่งแยกแล้วปกครองอันเคร่งครัด นับตั้งแต่ที่ระบอบปกครองนี้ถือกำเนิดขึ้นในปี 1969 เป็นต้นมา ขณะที่ทั้งในตูนิเซียและในอียิปต์นั้น กองทัพคือปัจจัยหลักที่ทำให้จอมเผด็จการต้องตกลงจากอำนาจ ทว่าในลิเบีย สภาพการณ์มีความซับซ้อนกว่ากันมาก กองทัพกลับไม่สู้มีความสำคัญเท่าใดนัก เมื่อเปรียบเทียบกับกองกำลังอาวุธท้องถิ่นที่มีลักษณะกึ่งทหาร (กำลังเหล่านี้มีทั้งที่เป็นกองกำลังส่วนบุคคลและเป็นพวกทหารรับจ้าง) และนำโดยพวกลูกๆ ตลอดจนญาติๆ ของกัดดาฟี
ทั้งกัดดาฟี และ ซออิฟ (Saif) บุตรชาย “หัวทันสมัย” ของเขา กำลังเล่นไพ่ไม่กี่ใบที่ยังเหลืออยู่ในมือ ซึ่งก็คล้ายๆ กับวิธีของฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์เป็นอย่างมาก นั่นคือ “ถ้าไม่เลือกฉัน ก็จะต้องเจอกับความปั่นป่วนวุ่นวาย” ในกรณีของวงศ์วานว่านเครือกัดดาฟีนั้น มันอยู่ในลักษณะทำนองว่า “ถ้าไม่มีฉันเสียแล้ว มันก็จะเกิดสงครามกลางเมือง หรือไม่ก็ต้องเจอกับ อุซามะห์ บิน ลาดิน” ทว่าเผ่าต่างๆ ส่วนใหญ่เวลานี้ไม่เชื่อแผนกโลบายเช่นนี้เสียแล้ว
ลู่ทางโอกาสของกัดดาฟีดูมืดมน เผ่าอะวะลัด อาลี (Awlad Ali) ที่มีอิทธิพลอยู่ตามบริเวณพรมแดนติดต่อกับอียิปต์ แสดงการต่อต้านเขา เมืองอัซ ซอวิยยะ (Az Zawiyya) ต่อต้านเขาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนเมืองอัซ-ซินตัน (Az-Zintan) ที่อยู่ห่างจากกรุงตริโปลีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 150 กิโลเมตร ก็กำลังหมุนคว้างอยู่รอบๆ ชนเผ่าวอฟัลละ ซึ่งคนในเผ่าทั้งหมดต่างต่อต้านเขา ชนเผ่าตอร์ฮุน (Tarhun) ที่มีความสำคัญมากเช่นกันเนื่องจากประชากรในเมืองหลวงตริโปลีมากกว่า 30% เป็นคนของเผ่านี้ ก็คัดค้านเขา เชก ซออิฟ อัล นัสร์ (Sheikh Saif al-Nasr) อดีตหัวหน้าของเผ่า อะวะลัด สุไลมาน (Awlad Sulaiman) ออกอากาศทางโทรทัศน์อัลญะซีเราะห์ เรียกร้องให้คนหนุ่มของเผ่าซึ่งอยู่ทางภาคใต้เข้าร่วมกับผู้ประท้วง กระทั่งเผ่า กอดัดฟะ (Qadhadfa) ซึ่งเป็นเผ่าเล็กๆ ที่กัดดาฟีสังกัดอยู่ เวลานี้ยังมีบางคนออกมาต่อต้านคัดค้านเขา
**ลิดรอนภาคประชาสังคม**
เผ่า (พร้อมด้วยโคตรตระกูลตลอดจนกลุ่มย่อยๆ ถัดๆ ลงมา) เป็นสถาบันเพียงอย่างเดียวซึ่งทำหน้าที่จัดระเบียบวางกฎเกณฑ์ ในสังคมของชาวอาหรับผู้พำนักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ซึ่งพวกนักล่าอาณานิคมชาวอิตาเลียนช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ขนานนามให้ว่าแคว้น ตริโปลิตาเนีย (Tripolitania), ไซเรนาอิกา (Cyrenaica), และ เฟซซัน (Fezzan)
หลังจากลิเบียได้รับเอกราชในปี 1951 ประเทศนี้ไม่มีพรรคการเมืองใดๆ เลย ระหว่างการปกครองในระบอบราชาธิปไตยนั้น การเมืองคือเรื่องที่เกี่ยวกับเผ่าทั้งสิ้น แต่แล้วจากการปฏิวัติของกัดดาฟีในปี 1969 ก็ได้วางกรอบใหม่ให้แก่บทบาททางการเมืองของเผ่าต่างๆ โดยที่เผ่ากลายเป็นเพียงผู้ค้ำประกันคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมและคุณค่าทางด้านศาสนาเท่านั้น สำหรับอุดมการณ์แห่งการปฏิวัติของกัดดาฟีวนเวียนอยู่รอบๆ ลัทธิสังคมนิยม –โดยที่ในทางทฤษฎีจะถือว่าประชาชนต่างหาก ไม่ใช่เผ่า เป็นเนื้อหาของประวัติศาสตร์ ในยุคของเขา พรรคการเมืองต่างๆ ก็ถูกทอดทิ้งเช่นเดียวกับยุคราชาธิปไต แต่มีการให้บทบาทแก่คณะกรรมการประชาชน และสมัชชาประชาชน พวกชนชั้นนำรุ่นเก่า (ซึ่งก็คือ พวกผู้อาวุโสของเผ่าต่างๆ) ถูกโดดเดี่ยวแยกห่างออกไป
ทว่าในเวลาต่อมาลัทธิเชิดชูเผ่าได้หวนกลับมาใหม่อีก แรกทีเดียวเป็นเพราะกัดดาฟีตัดสินใจว่าพวกตำแหน่งต่างๆ ในคณะรัฐบาลจะต้องแบ่งสรรกันตามเผ่าที่สังกัดเกี่ยวข้อง ต่อมาในระหว่างทศวรรษ 1990 กัดดาฟีได้หวนกลับไปจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกผู้นำของเผ่าต่างๆ เนื่องจากเขาต้องการให้ผู้นำเผ่าเหล่านี้ “กำจัดฝ่ายค้านตลอดจนคนทรยศประเภทต่างๆ ที่กำลังมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ” ตอนนี้เองจึงได้เกิด “หน่วยคอมมานโดทางด้านสังคมของประชาชน” (popular social commandos) ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่น, แก้ปัญหาข้อพิพาทต่างๆ ในท้องถิ่น, และจบลงด้วยการทำให้เผ่าได้รับการยกย่องนับถือในฐานะที่เป็นตัวแสดงทางการเมืองตัวหนึ่ง
กัดดาฟีพยายามทำให้มั่นใจได้ว่า เขาสามารถผูกมัดเป็นพันธมิตรอันเหนียวแน่นแข็งแกร่งอยู่กับเผ่าวอฟัลละ นอกจากนั้น ด้วยการใช้ยุทธศาสตร์ที่รวมศูนย์อยู่ในคำขวัญที่ว่า “ติดอาวุธให้ประชาชน” เขาก็สามารถจัดการให้กองทัพต้องยอมสยบยอมเชื่องเชื่อต่อเขาจนได้ สำหรับตำแหน่งสำคัญๆ ในหน่วยงานสืบราชการลับนั้น เขามอบให้เฉพาะแก่เผ่าของเขาเอง นั่นคือ เผ่ากอดัดฟะ และแก่หนึ่งในเพื่อนมิตรแห่งการปฏิวัติของเขาอย่างเผ่ามากอริฮะ (Maqariha) เท่านั้น การกระทำเช่นนี้โดยสาระสำคัญแล้วหมายความว่า มีแต่ 2 เผ่านี้เท่านั้นที่ผูกขาดภาคส่วนหลักๆ ของเศรษฐกิจ และขจัดไม่ให้เกิดฝ่ายค้านใดๆ ขึ้นมา
ผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของระบบการเมืองแบบเผ่าเช่นนี้ก็คือ ภาคประชาสังคมที่วางอยู่บนสถาบันทางประชาธิปไตยต่างๆ จะถูกทำลายไปหมด พวกชนชั้นกลางที่มีการศึกษาถูกทอดทิ้งเพิกเฉยไม่ได้อะไรกับเขาเลย
ภายหลังการจัดวางต่างๆ เหล่านี้ ลิเบียก็เข้าสู่ช่วงเวลาที่ถูกสหประชาชาติใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตร ซึ่งกินเวลาประมาณ 1 ทศวรรษ เศรษฐกิจที่อยู่ในสภาพย่ำแย่อยู่แล้ว ก็ยิ่งควงสว่านตกต่ำไปอีก ขณะที่ไม่มีการแบ่งสรรความมั่งคั่งจากน้ำมันและแก๊สอย่างเหมาะสมเป็นธรรมเอาเลย อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานต่างพุ่งขึ้นโลดลิ่ว ถ้อยคำโวหารที่นิยมหยิบยกเอามาพูดกันก็คือ นี่เป็น “ประชาธิปไตยทางตรง” ทว่าในทางเป็นจริงแล้วกลับมีแต่ “ผู้ชนะ” เพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น โดยที่คนเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของชนชั้นนายทุนแห่งรัฐที่มีแนวความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติ (reactionary state bourgeoisie) ไม่ว่าจะใส่เสื้อคลุมเป็นพวกนักปฏิรูป ซึ่งนำโดย ซออิฟ, เป็นพวกอนุรักษนิยม (ที่ซื่อสัตย์ภักดีต่อ “หนังสือคติพจน์เล่มเขียว” (Green Book) ของกัดดาฟี), หรือเป็นพวกเทคโนแครตมืออาชีพ (ซึ่งก็คือพวกที่เขม้นมองประดาข้อตกลงอันเต็มไปด้วยผลประโยชน์มากมายที่ลิเบียทำกับบริษัทต่างชาติทั้งหลาย)
**‘ไซเรนาอิกา’มาอยู่ ณ ปีที่ 0**
ไม่น่าประหลาดใจอะไรเลยที่การลุกฮือคราวนี้เริ่มต้นขึ้นที่เมืองเบงกาซี ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของแคว้นไซเรนาอิกา อันเป็นภูมิภาคที่ถูกมองเมินจากยุทธศาสตร์การพัฒนาทุกๆ อย่าง โดยที่แคว้นนี้มีโครงสร้างพื้นฐานซึ่งแสนจะย่ำแย่สุดๆ เมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นตริโปลิตาเนีย
เวลานี้ไซเรนาอิกาเปรียบได้กับมาเริ่มต้นอยู่ ณ ปีที่ 0 (ศูนย์) ช่วยไม่ได้ที่ทำให้ผู้เขียนต้องนึกเปรียบเทียบกับวันแรกๆ ของ อิรัก “ที่ได้รับการปลดแอก” เมื่อเดือนเมษายน 2003 รัฐได้หายวับไป คณะกรรมการประชาชน, กลุ่มอิสลามจารีตนิยม, และกลุ่มติดอาวุธทั้งหลาย คือผู้ที่ควบคุมดินแดนอาณาเขตอยู่ในขณะนี้ ไม่มีใครทราบว่าสภาพเช่นนี้จะวิวัฒนาการต่อไปอย่างไร ไม่มีใครทราบว่าภายหลังศึกชิงกรุงตริโปลี (สมมุติว่าฝ่ายค้านเหล่านี้ได้ครอบครองอาวุธขนาดหนักได้สักจำนวนหนึ่งกันจริงๆ) แล้ว อนาคตต่อไปจะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปได้อย่างสูงว่า คงจะเกิดอาณาเขตย่อยๆ ที่ควบคุมโดยเผ่า แต่ละอาณาเขตก็ปกครองตนเองกันไป คล้ายๆ กับที่ปรากฏอยู่ในอัฟกานิสถาน และโซมาเลีย นั่นคือในทางเป็นจริงแล้วทั่วทั้งภูมิภาคกำลังเกิดการแยกตัวเป็นส่วนย่อยๆ ถึงแม้พวกฝ่ายค้านที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศกำลังพยายามอย่างหนักหน่วงที่จะขจัดความหวั่นวิตกต่อสภาพการณ์เช่นนี้ก็ตามที
ทว่าก่อนที่จะไปสู่สภาพการณ์แห่งอนาคตดังกล่าว กัดดาฟีได้ออกมาเตือนแล้วว่าจะต้องนองเลือดกันก่อน กองกำลังทางอากาศนั้นถูกควบคุมโดยคนในตระกูลของกัดดาฟี บวกกับบุตรชายของเขาอีก 2 คนที่นั่งอยู่ในตำแหน่งสำคัญมาก นั่นคือ มูตัสซิม (Moutassim) เป็นประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ส่วน คอมิส (Khamis) เป็นผู้บัญชาการของกองกำลังอาวุธกองหนึ่ง กองทัพลิเบียนั้นมีกำลังทหารอยู่ 150,000 คน แต่พวกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพจะต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างถ้าหากพวกเขาไม่ยึดแน่นอยู่กับกัดดาฟี ตามการประมาณการที่ดูจะน่าเชื่อถือที่สุดนั้น กัดดาฟียังน่าที่จะมีทหารที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้อยู่ราว 10,000 คน ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงกองทหารรับจ้าง “ชาวแอฟริกันผิวดำ” ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางเข้าสู่ลิเบียโดยผ่านประเทศชาด
ภายหลังภูเขาไฟลูกนี้ระเบิดขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามลิเบียดูน่าที่จะแตกแยกกันไปตามเผ่าต่างๆ อย่างไรก็ดี เราต้องพูดอย่างเป็นธรรมด้วยว่า เยาวชนคนหนุ่มชาวลิเบีย (ซึ่งย่อมสามารถที่จะเรียกเป็น “เผ่า” คนหนุ่ม) ผู้ออกมาตามท้องถนนเพื่อสู้รบกับระบอบปกครองอันติดอาวุธเต็มพิกัดของกัดดาฟีนั้น เป็นพวกที่มองเห็นว่าสภาพจิตใจแบบคำนึงถึงแต่เผ่าคือเชื้อโรคร้ายที่ควรต้องถูกกำจัดกวาดล้างไป แต่แน่นอนที่สภาพจิตใจดังกล่าวย่อมไม่สามารถหายวับไปในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน ความคาดหวังดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในสภาพการณ์อันเลวร้ายในเวลานี้ (ขณะที่วิกฤตทางด้านมนุษยธรรมกำลังทำท่าจะย่างกรายเข้ามาเยือน แถมยังมีปีศาจร้ายแห่งสงครามกลางเมืองคอยหลอกหลอนอีกตนหนึ่งด้วย) ก็คือ ในที่สุดแล้ว อินเทอร์เน็ตจะสามารถส่งแรงขับดันให้ลิเบียพุ่งข้ามเลยยุคแห่งชนเผ่าไปได้ในที่สุด ทว่าก่อนจะถึงห้วงเวลานั้น ยังจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโค่นล้มระบอบกัดดาฟีลงให้ได้เสียก่อน
เปเป เอสโคบาร์ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Globalistan: How the Globalized World is Dissolving into Liquid War” (สำนักพิมพ์ Nimble Books, ปี 2007) และเรื่อง “Red Zone Blues: a snapshot of Baghdad during the surge” หนังสือเล่มใหม่ของเขาคือเรื่อง “Obama does Globalistan” (สำนักพิมพ์ Nimble Books, ปี 2009) ทั้งนี้สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ที่ pepeasia@yahoo.com