เอเอฟพี - ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ วันนี้ (23) เตรียมการอพยพพลเรือนจำนวนหลายหมื่นคนที่ขายแรงงานอยู่ในลิเบีย ซึ่งมีคนงานต่างชาติค่าแรงต่ำทำงานอยู่ตามไซต์ก่อสร้างจำนวนมาก
“การจัดเตรียมเรื่องการอพยพ พลเรือนของเรา ทั้งทางน้ำ และทางอากาศ จากลิเบีย กำลังจะได้ข้อสรุป” นิรูปามา เรา รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในกรุงนิวเดลี ช่วงดึกวานนี้ (22) “การอพยพแรงงานนี้ถือเป็นงานใหญ่ เราจะไม่เพียงจัดเตรียมเรื่องอากาศยาน หรือ เรืออพยพเท่านั้น แต่เราจะขออนุญาตจากทางการลิเบียให้อากาศยานของเราได้ลงจอดที่นั่น”
อนึ่ง คาดว่า มีชาวอินเดียประมาณ 18,000 คน อาศัยอยู่ในลิเบีย โดยมี 3,000 คน ทำงานให้กับบริษัทรถยนต์ และโรงพยาบาลหลายแห่งในเมืองเบนกาซี ซึ่งเกิดเหตุความรุนแรงหนักหน่วง รัฐมนตรีนิรูปามา เรา ยังกล่าวอีกว่า เรือลำเลียงสามารถรองรับผู้คนได้ 1,000 คน และขณะนี้กำลังลอยลำอยู่เหนือน่านน้ำทะเลแดง บนเส้นทางมุ่งสู่ลิเบีย ซึ่งได้รับอนุญาตจากทางการแล้ว
นอกจากนี้ ทางการบังกลาเทศ ก็ได้ประกาศว่า กำลังมองหาลู่ทางในการอพยพชาวบังกลาเทศจำนวนมากที่ทำงานอยู่ในลิเบีย บังกลาเทศเป็นประเทศยากจน ซึ่งพึ่งพารายได้จากแรงงานที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ
“ข้อกังวลสำคัญที่สุดของเรา คือ เรื่องความปลอดภัยของแรงงานชาวบังกลาเทศจำนวนกว่า 60,000 คนในลิเบีย” โมฮัมหมัด มิญารุล ควาเยส รัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศให้สัมภาษณ์กับนักข่าว “การอพยพเป็นทางเลือกหนึ่ง รัฐบาลบังกลาเทศกำลังพิจารณาเรื่องนี้ เราจะทำทุกอย่างที่ทำได้ ไม่ว่าอะไรก็ตาม เพื่อรับประกันความปลอดภัยของแรงงานชาวบังกลาเทศ แต่สถานการณ์ในลิเบียตอนนี้เปราะบางมากๆ ... หากเป็นไปได้ เราจะรับคนงานทั้งหมดกลับมายังบังกลาเทศ”
ทั้งบังกลาเทศ และศรีลังกาได้ติดต่อไปยัง องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) เพื่อขอความช่วยเหลือแผนอพยพคนงาน
“เราไม่มีอากาศยานที่จะนำพวกเขากลับมา ดังนั้น เราจะร้องขอไปยังไอโอเอ็ม” เนโอมัล เปเรรา รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยศรีลังกากล่าว “ตอนนี้ เรากำลังเจรจากับทูตจากมิตรประเทศต่างๆ เพื่อขอความช่วยเหลือด้วยเช่นกัน”
ชาวศรีลังกาขึ้นทะเบียนแรงงานในลิเบียประมาณ 1,200 คน อย่างไรก็ตาม คาดว่า ตัวเลขจริงๆ จะสูงกว่านั้นมาก
เจ้าหน้าที่รัฐบาลเนปาลในกรุงกาฐมาณฑุ ก็ระบุเช่นกันว่า กำลังหาทางอพยพ พลเรือนชาวเนปาลประมาณ 2,000 ออกจากลิเบีย
“การจัดเตรียมเรื่องการอพยพ พลเรือนของเรา ทั้งทางน้ำ และทางอากาศ จากลิเบีย กำลังจะได้ข้อสรุป” นิรูปามา เรา รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในกรุงนิวเดลี ช่วงดึกวานนี้ (22) “การอพยพแรงงานนี้ถือเป็นงานใหญ่ เราจะไม่เพียงจัดเตรียมเรื่องอากาศยาน หรือ เรืออพยพเท่านั้น แต่เราจะขออนุญาตจากทางการลิเบียให้อากาศยานของเราได้ลงจอดที่นั่น”
อนึ่ง คาดว่า มีชาวอินเดียประมาณ 18,000 คน อาศัยอยู่ในลิเบีย โดยมี 3,000 คน ทำงานให้กับบริษัทรถยนต์ และโรงพยาบาลหลายแห่งในเมืองเบนกาซี ซึ่งเกิดเหตุความรุนแรงหนักหน่วง รัฐมนตรีนิรูปามา เรา ยังกล่าวอีกว่า เรือลำเลียงสามารถรองรับผู้คนได้ 1,000 คน และขณะนี้กำลังลอยลำอยู่เหนือน่านน้ำทะเลแดง บนเส้นทางมุ่งสู่ลิเบีย ซึ่งได้รับอนุญาตจากทางการแล้ว
นอกจากนี้ ทางการบังกลาเทศ ก็ได้ประกาศว่า กำลังมองหาลู่ทางในการอพยพชาวบังกลาเทศจำนวนมากที่ทำงานอยู่ในลิเบีย บังกลาเทศเป็นประเทศยากจน ซึ่งพึ่งพารายได้จากแรงงานที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ
“ข้อกังวลสำคัญที่สุดของเรา คือ เรื่องความปลอดภัยของแรงงานชาวบังกลาเทศจำนวนกว่า 60,000 คนในลิเบีย” โมฮัมหมัด มิญารุล ควาเยส รัฐมนตรีต่างประเทศบังกลาเทศให้สัมภาษณ์กับนักข่าว “การอพยพเป็นทางเลือกหนึ่ง รัฐบาลบังกลาเทศกำลังพิจารณาเรื่องนี้ เราจะทำทุกอย่างที่ทำได้ ไม่ว่าอะไรก็ตาม เพื่อรับประกันความปลอดภัยของแรงงานชาวบังกลาเทศ แต่สถานการณ์ในลิเบียตอนนี้เปราะบางมากๆ ... หากเป็นไปได้ เราจะรับคนงานทั้งหมดกลับมายังบังกลาเทศ”
ทั้งบังกลาเทศ และศรีลังกาได้ติดต่อไปยัง องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) เพื่อขอความช่วยเหลือแผนอพยพคนงาน
“เราไม่มีอากาศยานที่จะนำพวกเขากลับมา ดังนั้น เราจะร้องขอไปยังไอโอเอ็ม” เนโอมัล เปเรรา รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยศรีลังกากล่าว “ตอนนี้ เรากำลังเจรจากับทูตจากมิตรประเทศต่างๆ เพื่อขอความช่วยเหลือด้วยเช่นกัน”
ชาวศรีลังกาขึ้นทะเบียนแรงงานในลิเบียประมาณ 1,200 คน อย่างไรก็ตาม คาดว่า ตัวเลขจริงๆ จะสูงกว่านั้นมาก
เจ้าหน้าที่รัฐบาลเนปาลในกรุงกาฐมาณฑุ ก็ระบุเช่นกันว่า กำลังหาทางอพยพ พลเรือนชาวเนปาลประมาณ 2,000 ออกจากลิเบีย