เอเจนซีส์ - ผู้หญิงไทยเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถบริหารจัดการด้านการเงิน เก่งกาจโดดเด่นที่สุดในย่านเอเชีย-แปซิฟิก เหนือล้ำกว่าหญิงนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย ซึ่งตามมาเป็นที่ 2 และ 3 ตลอดจนสตรีเวียดนามและสิงคโปร์ ที่ติดอันดับ 4 และ 5 ยิ่งไม่ต้องพูดถึงผู้หญิงอินเดีย, จีน หรือญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ ซึ่งติดอันดับล่างลงมาไกลกว่านั้นอีก ทั้งนี้ตามผลการสำรวจของ มาสเตอร์การ์ด เวิลด์ไวด์ จัดทำขึ้นเป็นครั้งปฐมฤกษ์ และนำออกเผยแพร่เมื่อวันอังคาร(1)
ผลการสำรวจและจัดอันดับที่มีชื่อเป็นทางการว่า “ดัชนีความรู้ความสามารถทางด้านการเงิน” (Financial Literacy Index) ซึ่งมาสเตอร์การ์ดจัดขึ้นคราวนี้เป็นครั้งปฐมฤกษ์ แสดงให้เห็นว่า สตรีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นผู้ที่มีความคล่องแคล่วฉับไวด้านการเงินอยู่พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีอายุเกิน 30 ปี, แต่งงานแล้วและออกทำงาน ถึงแม้ยังสามารถที่จะเพิ่มความสามารถทางด้านนี้ให้แก่ผู้หญิงได้อีก โดยเฉพาะกลุ่มอายุน้อยๆ ลงมา
ดัชนีของมาสเตอร์การ์ด ที่คิดคะแนนและจัดอันดับโดยอาศัยผลการสำรวจผู้บริโภคในตลาดต่างๆ 24 แห่งทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา คราวนี้ ปรากฏว่า ผู้หญิงไทยเข้าป้ายอันดับ 1 โดยทำคะแนนรวมได้ 73.9 และทำคะแนนได้สูงสุดในหมวด การวางแผนทางการเงิน (87.0) และ การลงทุน (69.3) เหนือล้ำกว่าตลาดเอเชีย-แปซิฟิกอื่นๆ อีก 13 แห่งที่ทำการสำรวจ
สำหรับอันดับ 2 และ 3 เป็นประเทศพัฒนาแล้วทางแถบแปซิฟิก ได้แก่ นิวซีแลนด์ (คะแนนรวม71.3) และ ออสเตรเลีย (70.2) ส่วนอันดับ 4 คือ ผู้หญิงเวียดนาม (70.1) และสตรีสิงคโปร์ ติดที่ 5 (69.4)
“มีอะไรบางอย่างที่ควรต้องพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องที่สตรีไทยและเวียดนามสามารถทำคะแนนได้ในอันดับที่สูงมากๆ เช่นนี้ กล่าวคือ ตลาดเหล่านี้เป็นพื้นที่ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็วยิ่ง จึงทำให้สตรีมีประสบการณ์แบบผู้ประกอบการด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าและสำคัญอย่างยิ่ง” จอร์เจ็ตต์ ตัน รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายสื่อสาร ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของ มาสเตอร์การ์ด เวิลด์ไวด์ ระบุในคำแถลงที่เผยแพร่ในวันอังคาร
“พวกเธอยังได้สัมผัสกับการวางแผนทางการเงิน และแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ อีกด้วย” เธอกล่าวต่อ
การสำรวจและจัดอันดับดัชนีนี้ ประกอบด้วย 3 หมวดใหญ่ ได้แก่ หมวดแรก การบริหารจัดการเงินๆ ทองๆ ระดับพื้นฐาน ซึ่งมุ่งตรวจสอบทักษะของผู้ตอบคำถามในด้านการจัดทำงบประมาณ, การออม, และความรับผิดชอบในการใช้สินเชื่อ หมวดสอง การวางแผนทางการเงิน ที่มุ่งประเมินความรู้ในด้านผลิตภัณฑ์, บริการ, และแนวความคิดต่างๆ ทางการเงิน รวมั้งความสามารถในการวางแผนระยะยาวสำหรับการตอบสนองความจำเป็นทางการเงิน หมวดสาม การลงทุน ที่จะประเมินความเข้าใจพื้นฐานของพวกเธอเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนประเภทต่างๆ, ผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่างๆ, ตลอดจนพวกเธอมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการลงทุนเหล่านี้ขนาดไหน
ผลการจัดอันดับคราวนี้ชี้ว่า สตรีในตลาดกำลังพัฒนาอย่าง ฟิลิปปินส์ (คะแนนรวม 68.2), อินโดนีเซีย (66.5), และมาเลเซีย (66.0) มีความรู้ความสามารถทางด้านการเงินมากกว่าผู้หญิงในชาติยักษ์ใหญ่โตเร็วอย่าง อินเดีย (61.4) และ จีน (60.1) หรือพวกชาติพัฒนาแล้วในเอเชียตะวันออกอย่าง ญี่ปุ่น (59.9) และ เกาหลีใต้ (55.9)
ผลการสำรวจและจัดอันดับที่มีชื่อเป็นทางการว่า “ดัชนีความรู้ความสามารถทางด้านการเงิน” (Financial Literacy Index) ซึ่งมาสเตอร์การ์ดจัดขึ้นคราวนี้เป็นครั้งปฐมฤกษ์ แสดงให้เห็นว่า สตรีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นผู้ที่มีความคล่องแคล่วฉับไวด้านการเงินอยู่พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีอายุเกิน 30 ปี, แต่งงานแล้วและออกทำงาน ถึงแม้ยังสามารถที่จะเพิ่มความสามารถทางด้านนี้ให้แก่ผู้หญิงได้อีก โดยเฉพาะกลุ่มอายุน้อยๆ ลงมา
ดัชนีของมาสเตอร์การ์ด ที่คิดคะแนนและจัดอันดับโดยอาศัยผลการสำรวจผู้บริโภคในตลาดต่างๆ 24 แห่งทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา คราวนี้ ปรากฏว่า ผู้หญิงไทยเข้าป้ายอันดับ 1 โดยทำคะแนนรวมได้ 73.9 และทำคะแนนได้สูงสุดในหมวด การวางแผนทางการเงิน (87.0) และ การลงทุน (69.3) เหนือล้ำกว่าตลาดเอเชีย-แปซิฟิกอื่นๆ อีก 13 แห่งที่ทำการสำรวจ
สำหรับอันดับ 2 และ 3 เป็นประเทศพัฒนาแล้วทางแถบแปซิฟิก ได้แก่ นิวซีแลนด์ (คะแนนรวม71.3) และ ออสเตรเลีย (70.2) ส่วนอันดับ 4 คือ ผู้หญิงเวียดนาม (70.1) และสตรีสิงคโปร์ ติดที่ 5 (69.4)
“มีอะไรบางอย่างที่ควรต้องพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องที่สตรีไทยและเวียดนามสามารถทำคะแนนได้ในอันดับที่สูงมากๆ เช่นนี้ กล่าวคือ ตลาดเหล่านี้เป็นพื้นที่ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็วยิ่ง จึงทำให้สตรีมีประสบการณ์แบบผู้ประกอบการด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าและสำคัญอย่างยิ่ง” จอร์เจ็ตต์ ตัน รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายสื่อสาร ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของ มาสเตอร์การ์ด เวิลด์ไวด์ ระบุในคำแถลงที่เผยแพร่ในวันอังคาร
“พวกเธอยังได้สัมผัสกับการวางแผนทางการเงิน และแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ อีกด้วย” เธอกล่าวต่อ
การสำรวจและจัดอันดับดัชนีนี้ ประกอบด้วย 3 หมวดใหญ่ ได้แก่ หมวดแรก การบริหารจัดการเงินๆ ทองๆ ระดับพื้นฐาน ซึ่งมุ่งตรวจสอบทักษะของผู้ตอบคำถามในด้านการจัดทำงบประมาณ, การออม, และความรับผิดชอบในการใช้สินเชื่อ หมวดสอง การวางแผนทางการเงิน ที่มุ่งประเมินความรู้ในด้านผลิตภัณฑ์, บริการ, และแนวความคิดต่างๆ ทางการเงิน รวมั้งความสามารถในการวางแผนระยะยาวสำหรับการตอบสนองความจำเป็นทางการเงิน หมวดสาม การลงทุน ที่จะประเมินความเข้าใจพื้นฐานของพวกเธอเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนประเภทต่างๆ, ผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่างๆ, ตลอดจนพวกเธอมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการลงทุนเหล่านี้ขนาดไหน
ผลการจัดอันดับคราวนี้ชี้ว่า สตรีในตลาดกำลังพัฒนาอย่าง ฟิลิปปินส์ (คะแนนรวม 68.2), อินโดนีเซีย (66.5), และมาเลเซีย (66.0) มีความรู้ความสามารถทางด้านการเงินมากกว่าผู้หญิงในชาติยักษ์ใหญ่โตเร็วอย่าง อินเดีย (61.4) และ จีน (60.1) หรือพวกชาติพัฒนาแล้วในเอเชียตะวันออกอย่าง ญี่ปุ่น (59.9) และ เกาหลีใต้ (55.9)